วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้ จะนำหลักคร่าวๆแห่งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมมาวางเทียบ กับ คคห.คุณโรส ผู้หนักในแสนล้านโกฎิขณะ ในคคห.ไม่มีตัวตน (อนัตตา) แต่ก็มีกายใจของเรา ของคุณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Rosarin
มองดูตัวเองเห็นที่อยู่ตรงหน้าดูสิ จำมันทุกอย่างแล้วจำผิดด้วย

ตถาคตบอกว่า ไม่มีตัวตน หรือ คน หรือสัตว์ หรือสิ่งของ

มีแต่อุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ว่า มีตัวตน เป็นตัวตนเรา

ตรงไหมก็ตัวเองกำลังคิดพูดทำเองไม่พึ่งคำ

ที่เป็น 1 คำวาจาสัจจะของตถาคตตรงๆ

ตรงที่กายใจตัวเอง กำลังมีตรง 1 ทาง

ไม่เห็น หรือคะ มันดับถึงแสนโกฏิขณะ

สลับกันทีละ 1 ทางไม่ปนกันไม่ซ้ำขณะ

ดับแล้วถึง 1ล้านขณะ แสนครั้ง เดี๋ยวนี้ 555 มันนับไม่ถ้วนไปแล้วคร่า

คุณรู้สึกตัวตรงจุดไหน ที่กายคุณ มีอยู่ตรงกับ 1 คำไหนของตถาคตอยู่ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ หรือคะ...มีแต่อวิชชาเกิด
viewtopic.php?f=1&t=57491&p=445415#p445415


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้คำนี้แล้วกัน คือ คำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ส่วน คือ

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงาม เจริญก้าวหน้า และควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อกำหนดสำหรับควบคุมความประพฤติ ไม่ให้เสื่อมเสีย และฝึกฝนให้ประพฤติดีงามเป็นคุณเกื้อกูลยิ่งขึ้น วินัย มี ๒ อย่าง คือ

๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือ วินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือโดยสาระ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔

๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือ พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ ฯลฯ

(วินัยมีความหมายกว้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สูตร พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคลาธิษฐาน, ถ้าพูดว่าพระสูตรมักหมายถึงพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง, ทั้งยิ่งเกิน (อภิอติเรก) คือมากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งพิเศษ (อภิวิเสส) คือ เหนือกว่าธรรมอย่างปกติ, หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆ ล้วนๆ ซึ่งจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับ จนจบความอย่างบริบูรณ์ โดยไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชน หรือ เหตุการณ์ อันแสดงโดยเว้นบัญญัติโวหาร มุ่งตรงต่อสภาวธรรม ที่ต่อมานิยมจัดเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน, เมื่อพูดว่า "อภิธรรม" บางทีหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก

บางทีหมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ตามที่ได้นำมาอธิบาย และเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวที่ประมวลแสดงไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ, บางที เพื่อให้ชัดว่าหมายถึงอภิธรรมปิฎก ก็พูดว่า "อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์"

พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรม และคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือ เหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนำหลักการทั้ง ๓ คัมภีร์มาวางแบแล้ว ก็จะเห็นว่า คุณโรสพูดเน้นหลักอภิธรรม แต่เป็นอพิทำแนวผสมผสานอุปมาเหมือนผลไม้พันผสมซึ่งกลายพันธ์เดิมไปแล้ว หมายความว่า ยกเอาของเขามาแล้วมาอธิบายผสมความคิดความเห็นของตนเข้าไป จึงเรียกว่า ผลไม้พันธ์ผสม ผลใหญ่แต่ไม่มีรสชาติ กินไม่อร่อย :b32: คิกๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร