วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2019, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


...นำคำสอนองค์หลวงปู่สังวาลย์ ธัมมสาโร วัดป่าเขามโนราห์ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

" คำว่าหวังความสุข คือ หวังความสุขที่จิตใจของตนเป็นผู้ปฏิบัติ มีอะไรก็ทำความสงบ มีอะไรก็ทำความเพียรของตน อยู่กับหน้าที่ ทำหน้าที่ของตนพอจบวันจบเวลา ก็มีความสุข ไม่ได้ไปคุย ไม่ได้ไปนินทราใคร ไม่ได้ไปโวยวายกับใคร อยู่กับสิ่งที่เป็นหน้าที่ เรามีไร่ก็ปฏิบัติไร่ เรามีนาก็ปฏิบัตินา ปฏิบัติโต๊ะนั่งของเราให้มันสะอาด ปฏิบัติปากกาของเราให้ได้ เรามีร่างกายก็ปฏิบัติร่างกายของเราในวันนั้นให้มันเอี่ยมอ่องให้มันสะอาดเหมือนกับจิตของเรา จิตเราไม่ไปว้าวุ่น จิตเราไม่ไปแสดงนู้นแสดงนี่ ความสุขอยู่กับเราทั้งหมด จึงเรียกว่าสุขในชั่วกระพริบตา ยังหาปัญญาที่จะออกส่องแสงหนีออกจากทุกข์ได้
เราจึงบอก ความสุขคืออะไร ความสุขก็คือ "ใจ" สังขารร่างกายทุกอย่างไม่เป็นความสุขหรอก ความสุขที่สุดก็คือ ใจ ..ผู้รู้ ก็คือใจ.. ผู้ตื่นก็ก็ใจ..ผู้เบิกบานก็คือใจ ผู้ตรัสรู้เห็นธรรม มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ก็คือ ใจ "











การรู้ธรรมในขั้นพระโสดาบันและการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตมรรค

การ รู้ โดยไม่คิดนั่นเอง คือ การเดิน วิปัสสนา ที่ละเอียดที่สุด
ตราบใดที่ยังเห็นว่า จิต คือตัวเราเป็นของ ๆ เรา ที่ต้องช่วยให้ จิต หลุดพ้น ตราบนั้น ตัณหา หรือ สมุทัย ก็จะสร้าง ภพของจิตว่าง ขึ้นมาร่ำไป ขอย้ำว่า ขั้นนี้ จิต จะดำเนิน วิปัสสนา เอง ไม่ใช่ ผู้ปฎิบัติ จงใจกระทำ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลย ที่จงใจ หรือ ตั้งใจ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ได้ มีแต่ จิต เค้าปฏิวัติตนเองไป เท่านั้น

การรู้ธรรมในขั้นพระโสดาบันและการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตมรรค

เมื่อ จิต ทรงตัว รู้ แต่ ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมี บางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่ จิตไม่สำคัญมั่นหมาย
ว่า มันคืออะไร เพียงแค่ รู้เฉย ๆ ถึงความ เกิด ดับ นั้น เท่านั้น

ในขั้นนี้ เป็นการเดิน วิปัสสนาขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิต จะก้าวกระโดดต่อไปเอง

การเข้าสู่ มรรค ผล นั้น รู้ มีตลอดแต่ไม่คิดและไม่สำคัญมั่นหมายใน_สังขารละเอียดทีผุดขึ้นมานั้น บางอาจารย์ จะสอนผิด ๆ ว่า

ในเวลาบรรลุ มรรค ผล จิตดับความรับรู้ หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สูญญัง" สูญ อย่างนั้นเป็นการ สูญหายไปแบบ "อุทเฉททิฏฐิ"

สภาพของ มรรค ผล ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่ จิต ดับความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่ง เรียกว่า"วิสัญญี" หรือ ที่คนโบราณเรียกว่า "พรหมลูกฟัก" เท่านั้นเอง

เมื่อ จิต ถอยออกจาก อริยมรรค และ อริยะผล ที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้

สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว

นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือ

"ไม่เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัว จิต เอง เป็นตัวเรา แต่ ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่" เพราะขั้นความเห็น กับความยึดนั้น มันคนละขั้นกัน

เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า พระโสดาบัน แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั่นเอง

แต่ตัว จิต ผู้รู้ จะยิ่งเด่นดวงขึ้น ตามลำดับ จนเมื่อบรรลุ พระอานาคามี แล้ว จิต ผู้รู้ จะเด่นดวงเต็มที่

เพราะพ้นจากอำนาจของ กาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้นแสดงถึงกำลังของสมาธิอันเต็มเปี่ยม

เพราะ สิ่งที่เป็นอันตรายต่อ สมาธิ คือ กาม ได้ถูกล้างออกจาก จิต หมดแล้ว

ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพของ มนุษย์ ได้อีกแล้ว

นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มี ครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่า เมื่อถึงขั้นที่ จิตผู้รู้ หมดจดผ่องใส แล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบ ผู้รู้ ให้ทำลาย ผู้รู้ พบ จิต ให้ทำลาย จิต" จุดนี้ ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหาร ที่จะนำมาพูดเล่น ๆ ได้ ความจริงก็คือ สอนว่า "ยังจะต้องปล่อยวาง ความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง" มันละเอียดเสียจน ผู้ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก

เพราะความจริงตัว จิตผู้รู้ นั้น ยังเป็นของที่ตกอยู่ในอำนาจของ ไตรลักษณ์ บางครั้ง ยังมีอาการหมองลงนิด ๆ พอให้ สังเกตเห็นความเป็น ไตรลักษณ์ ของมัน

แต่ ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรม เรื่อง จิต มาดีแล้ว จะเห็น ความยึดมั่น นั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ รู้ทัน เท่านั้น จิต จะประคองตัวอยู่ที่ รู้ โดยไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริงๆ ถึงจุดหนึ่ง จิต จะปล่อยวาง ความยึดถือจิต "จิต จะเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใด ๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก

แยกรูปถอดคือความคิดปรุงแต่งสู่ความว่าง แยกความว่างสู่มหาสูญญตา

********************
พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)













" ไม่มีอะไรเที่ยง สักอย่าง
ทุกอย่างเป็นเช่นนั้น ของมัน
หู มีปัญหา กับเสียง
ตา มีปัญหา กับแสงสี
จมูก มีปัญหา กับลมหายใจ
ปากลิ้น มีปัญหา กับรสชาติ
ร่างกาย มีปัญหา กับเรี่ยวแรง
ใจ...อยู่ของใจ
มีปัญหา น้อยที่สุด

เฒ่าแก่แล้วนี้
หู ก็หนวก
ตา ก็ฟาง
ฮูดัง ก็หายใจไม่อิ่ม
กิน ก็ไม่มีรสชาติ
ร่างกายไปมา ก็หมดแรง มันหมดไปทุกอย่าง

ดับไป...ทีละน้อย."

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร