ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57420
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  walaiporn [ 16 ก.ค. 2019, 13:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

อ้างคำพูด:
พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.




เป็นเรื่อง อริยสัจ 4


ส่วนผู้ที่อ่าน(ตรงนี้) จะเข้าใจหรือให้ความหมายว่าอย่างไรนั้น
ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น จะรู้ชัดสภาวะตามความเป็นจริงที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ
เมื่อรู้(เฉพาะตน) เรื่อง ศิล จึงโน้มน้าวจิตเข้าสู่เรื่อง ศิล


student เขียน:

ผมเคยสงสัยมาตลอดว่า ข้อความนี้หมายถึงอะไร
แม้ว่าจะมีการแปลออกมาตลอด ก็ยังเก็บความสงสัยนั้นอยู่

ผมจึงมาพิจารณาว่า
เป็นคำพูดที่สื่อสารระหว่างคนไม่รู้จักกัน2คน
ความหมายที่ท่านแสดงจึงเป็นความหมายที่ แสดงความหมายของพุทธศาสนา
แสดงลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้า ท่านจะสอนให้เห็นทั้งเหตุเกิด และการที่จะดับเหตุของธรรมนั้น

เช่น การลักขโมย
พระพุทธเจ้าจะชี้ให้เห็นเหตุคือ อยากได้ของคนอื่น
และพระพุทธเจ้าจะแสดงการดับลงความอยากได้ของคนอื่น ด้วยธรรมะ เช่น การรักษาศีล5
นั่นคือ ไม่ว่าในโลกใบนี้จะมีธรรมในรูปแบบไหน พระพุทธเจ้าก็จะสามารถแสดงเหตุของธรรมนั้นๆได้
และจะแสดงความดับลงของเหตุนั้น

นี่คือความหมายที่ผมเข้าใจ หลังจากสงสัยมานานหลายปี ว่าคำพูดของอัสสชิเถระ หมายถึงอะไร

เจ้าของ:  walaiporn [ 16 ก.ค. 2019, 13:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

อ้างคำพูด:
พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.



ตรงนี้ จะแบ่งวรรคประโยค
เผื่ออาจจะ โยนิโสมนสิการ




ที่มาของคาถา เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา

โยนิโสมนสิการ/การกำหนดรู้ ตอนที่ 3


คาถาในพระไตรปิฏก : มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธ์
เรื่องสาริปุตตโมคคลานวัตถุ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

————–

โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๕, พ.ศ. ๒๕๓๓,
พ.ศ. ๒๕๓๖)

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคต ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้

==========================

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา

สองบทว่า น ตฺยาหํ สกฺโกมิ ตัดบทว่า น เต อหํ สกฺโกมิ แปลว่า สำหรับท่าน เราไม่อาจ.
แต่ว่า พระเถระถึงปฏิสัมภิทาญาณในธรรมวินัยนี้ จะไม่อาจเพื่อแสดงธรรมเพียงเท่านี้หามิได้



โดยที่แท้ ท่านคิดว่า เราจักปลูกความเคารพในธรรมแก่ผู้นี้
ได้ถือเอาข้อที่การแสดงธรรมในพุทธวิสัยโดยอาการทั้งปวงไม่ใช่วิสัยของท่าน จึงกล่าวอย่างนั้น.



บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่าธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด.
พระเถระแสดงทุกขสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.



บาทคาถาว่า เตสํเหตุ ํ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น
พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย.



บาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า
พระตถาคตตรัสความดับคือความไม่เป็นไป แห่งสัจจะแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วย
พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.



ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย.
เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย.



อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ นี้ สัจจะแม้ ๒ เป็นอันพระเถระแสดงแล้วอย่างนี้ว่า
ความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้นและอุบายแห่งความดับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.



บาทคาถาว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว มีความว่า
แม้ถ้าว่า ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณ มาตรว่าโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น
อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้าค้นหาแล้ว



บาทคาถาว่า ปจฺจพฺยถา ปทมโสกํ มีความว่า
พวกข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มีความโศกนั้น.
อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว.




กึ่งคาถาว่า อทิฏฺฐํ อพฺภุติตํ พหุเกหิ กปฺปนหุเตหิ มีความว่า ทางอันไม่มีความโศกนี้
ชื่ออันข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วงไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์
สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อมใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้






หมายเหตุ;


"ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณมาตรว่าโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น
อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้าค้นหาแล้ว"


คำว่า ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้น
ได้แก่ ทุกข์(อุปาทานขันธ์ 5) ความดับทุกข์(ดับตัณหา)


คำว่า คือคุณมาตรว่าโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น
ได้แก่ สภาวะทุกข์และความดับทุกข์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ผู้ที่อธิบายได้ หรือ อ่านแล้ว หรือ ฟังแล้วเข้าใจ มีเฉพาะผู้ที่ได้โสดาปัตติผลนี้เท่านั้น(สภาวะจิตดวงสุดท้าย)





"พวกข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มีความโศกนั้น.
อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว"


คำว่า ค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด
ได้แก่ ค้นหาทางที่ไม่มีชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส



คำว่า ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มีความโศกนั้น.อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว
ได้แก่ อริยสาวก




"ชื่อ อันข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วงไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์
สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อมใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้"


คำว่า ชื่อ อันข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วงไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์
ได้แก่ อริยสัจ 4





คำว่า มีความเสื่อมใหญ่ตลอดกาลนาน
ได้แก่ ชรา มรณะ



คำว่า เพราะเหตุที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้
ได้แก่ ไม่แจ้งอริยสัจ 4

เจ้าของ:  walaiporn [ 16 ก.ค. 2019, 14:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

walaiporn เขียน:
อ้างคำพูด:
พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.




เป็นเรื่อง อริยสัจ 4


ส่วนผู้ที่อ่าน(ตรงนี้) จะเข้าใจหรือให้ความหมายว่าอย่างไรนั้น
ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น จะรู้ชัดสภาวะตามความเป็นจริงที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ
เมื่อรู้(เฉพาะตน) เรื่อง ศิล จึงโน้มน้าวจิตเข้าสู่เรื่อง ศิล


student เขียน:

ผมเคยสงสัยมาตลอดว่า ข้อความนี้หมายถึงอะไร
แม้ว่าจะมีการแปลออกมาตลอด ก็ยังเก็บความสงสัยนั้นอยู่

ผมจึงมาพิจารณาว่า
เป็นคำพูดที่สื่อสารระหว่างคนไม่รู้จักกัน2คน
ความหมายที่ท่านแสดงจึงเป็นความหมายที่ แสดงความหมายของพุทธศาสนา
แสดงลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้า ท่านจะสอนให้เห็นทั้งเหตุเกิด และการที่จะดับเหตุของธรรมนั้น

เช่น การลักขโมย
พระพุทธเจ้าจะชี้ให้เห็นเหตุคือ อยากได้ของคนอื่น
และพระพุทธเจ้าจะแสดงการดับลงความอยากได้ของคนอื่น ด้วยธรรมะ เช่น การรักษาศีล5
นั่นคือ ไม่ว่าในโลกใบนี้จะมีธรรมในรูปแบบไหน พระพุทธเจ้าก็จะสามารถแสดงเหตุของธรรมนั้นๆได้
และจะแสดงความดับลงของเหตุนั้น

นี่คือความหมายที่ผมเข้าใจ หลังจากสงสัยมานานหลายปี ว่าคำพูดของอัสสชิเถระ หมายถึงอะไร









walaiporn เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนผู้ที่อ่าน(ตรงนี้) จะเข้าใจหรือให้ความหมายว่าอย่างไรนั้น
ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น จะรู้ชัดสภาวะตามความเป็นจริงที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ



เคยอ่านสิ่งที่คุณstudent ได้เขียนบันทึกในเว็บบอร์ด
สภาวะที่มีเกิดขึ้นภายในนั้น(การรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต)
และ ศิล ที่คุณเข้าใจนั้น บวกประกอบกับการทำ
บ่งบอกตัวถึงสภาวะว่า ดำเนินอยู่ในสัมมาทิฏฐิ
เช่น การลักขโมย

หรือ การทาน ไม่มีการตำหนิต่อการทำทานของผู้อื่น
บางครั้ง บางคนมองการกระทำของผู้อื่น เช่น พระ
การทำบุญกับพระ บางคนมองเห็นแล้ว ตำหนิ
เพราะว่า ขาดการศึกษา หรือศึกษาแต่นำมาใช้ไม่ถูกทาง


คำเรียกต่างๆ อาจจะมีบ้างที่ใช้คำไม่ตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เกิดจากการขาดศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ตรงนี้สมัยก่อน วลัยพรก็เคยเป็นแบบนั้นเหมือนกัน

ฉะนั้น เวลาคุยกับใคร จะมองสภาวะเป็นหลัก มากกว่าคำเรียกต่างๆ(ปริยัติ)
ถ้ารู้แจ้งตัวสภาวะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปริยัติ สามารถฝึกได้

อยากจะพูด หรือแสดงความคิดตามความเป็นจริง(ไม่ใช่จำคำของคนอื่น แล้วนำมาใช้)
เท่ากับเป็นการฝึกทักษะเรื่องปริยัติ หมายถึง ต้องหาความรู้เพิ่ม
ได้แก่ พระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้




มีแก้ไขข้อความหลายครั้ง ไม่ว่ากันนะ
แบบ ระวังเรื่องคำพูด ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นติดอุปกิเลส
ถึงจะเคยอ่านสภาวะที่คุณเขียนไว้นะ ไม่บ่งบอกว่า ติดอุปกิเลส ก็ตาม ก็ต้องระวังไว้

"ขึ้นชื่อว่า การเกิด ไม่ว่าจะเกิดในฐานะใด ล้วนเป็นทุกข์"

เจ้าของ:  walaiporn [ 19 ก.ค. 2019, 15:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

walaiporn เขียน:
ว่าด้วยสัทธานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้
เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล


จบ สูตรที่ ๑.







สำหรับโสดาบัน(สัทธานุสารี) ที่ยังพอใจวัฏฏะ


๘. วิสาขาสูตร

[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดาเป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนางวิสาขา
ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง

นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละเสียแล้ว
เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถีหรือ ฯ

วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ

วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านพึงเป็นผู้มีผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ

วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตรและหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑
ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ



ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก
เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก

เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก
เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ

เจ้าของ:  walaiporn [ 21 ก.ค. 2019, 16:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

รายละเอียดเรื่องโสดาบัน สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี



เอกาภิญญาสูตร
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

พระโสดาบันผู้เอกพิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี
เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี
เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ
เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 357&Z=5374







สอุปาทิเสสสูตร

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ... ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ... ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 018&Z=8096





โกศลสูตรที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
คนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์ ๑
คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์ ๒
คนหนึ่งย่อมจำอัปปมาณารมณ์ ๓
คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ ๔ ว่า หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัญญา ๔ ประการนี้
อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้เป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสัญญานั้น
เมื่อหน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 448&Z=1589





ผลของผู้ที่อบรมกายและอบรมจิต(สมถะและวิปัสสนา)

๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ

จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ

จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น

จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว

หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 182&Z=4496






ขยายการอธิบายของคำว่า "กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ"


ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า

[๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

[๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.


[๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้
ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา


ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด


ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว
กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น
ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 767&Z=5796

หน้า 3 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/