วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 10:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในข้อว่า สีหเสยฺยํ นี้ ได้แก่ เสยยา (การนอน) ๔ อย่าง คือ
กามโภคี เสยยา (นอนอย่างผู้บริโภคกาม) เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต)
สีหเสยยา (นอนอย่างสีหะ) ตถาคตเสยยา (นอนอย่างพระตถาคต). พึง
ทราบการนอนเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บริโภคกามโดยมาก
ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้นผู้นี้จึงชื่อว่า กามโภคีเสยยา. จริงอยู่
บรรดาผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมาก ชื่อว่า ย่อมไม่นอนตะแคงข้างขวา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากบุคคลใด ย่อมนอนหงาย เพราะฉะนั้น บุคคล
นั้น จึงชื่อว่า เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต หรือ คนที่ตายไปแล้ว.) จริงอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อนอนตะแคงข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือด
น้อย และเพราะกระดูกตรงที่ต่อกันไม่เป็นปกติ จึงได้แต่นอนหงายเท่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย สีหะผู้มิคราช เป็นผู้มีใจเป็นของตน ย่อมสำเร็จการนอนโดย
ข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อว่า สีหเสยยา. จริงอยู่ สีหะผู้

มิคราช วางเท้าหน้าทั้งสองไว้ที่หนึ่ง วางเท้าหลังสองเท้าไว้ที่หนึ่ง และเอา
หางใส่ไว้ระหว่างขาอ่อน แล้วกำหนดโอกาส (คือ การปรากฏ) ทั้งเท้าหน้า
เท้าหลังและหาง อันตนวางไว้ แล้วจึงนอนวางศีรษะบนสองเท้าหน้า เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้มีอำนาจมาก แม้นอนตลอดวันตื่นขึ้นมาก็ไม่สะดุ้งตื่น (ตกใจ

ตื่น) เมื่อจะลุกขึ้นก็ยกศีรษะขึ้นกำหนดดูการปรากฏของเท้าหน้าเป็นต้นตามที่
ตนวางไว้ ถ้าว่าการปรากฏของเท้าเป็นต้น เคลื่อนไปสู่ที่ไรๆ จากที่วางไว้
แต่เดิม ย่อมจะไม่เป็นผู้มีใจเป็นของๆ ตน ด้วยคิดว่า ลักษณะนี้ไม่ควรแก่
ความเป็นผู้กล้าหาญโดยชาติของตน แล้วก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ ไม่ออก
ไปหาอาหาร ก็ถ้าว่า เท้าหน้าเป็นต้น ที่ตนตั้งไว้แล้ว ไม่เคลื่อนผิดปกติไป

ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีร่าเริง และคิดว่า อาการนี้สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ
ของตนโดยชาติ แล้วจะลุกขึ้น แสดงท่าหาวของสีหะ สะบัดสร้อยคอ และบันลือ
สีหนาทสิ้นสามครั้ง แล้วจึงออกไปแสวงหาอาหาร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อนึ่ง การนอนประกอบด้วยญาณที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ว่า ตถาคตเสยยา. ในบรรดาการนอนเหล่านั้น สีหเสยยา มาในที่นี้ จริง
อยู่ ชื่อว่า สีหเสยยา เพราะความเป็นอิริยาบถ อันอุดมด้วยเดช.

คำว่า ปาเท ปาทํ ได้แก่ วางเท้าซ้ายเหลื่อมไปบนเท้าที่รองรับ
หน่อยหนึ่ง. เพราะว่า เมื่อข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า หรือเข่ากระทบกับเข่า
เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ จิตก็ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ไม่ผาสุก.
ก็การนอนนั้น เข่าและข้อเท้า ย่อมไม่เสียดสีกันโดยอาการใด เมื่อวางเท้า
เหลื่อมกันไป โดยอาการนั้นแล้ว ทุกขเวทนานั้นย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อม
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ผาสุก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า วางเท้าซ้อนเท้า (เหลื่อมเท้า) ดังนี้.

คำว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ และปัญญา
เป็นเครื่องรู้พร้อม. ก็สติสัมปชัญญะ อันภิกษุกำหนดถือเอาดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้.

คำว่า อุฏฺ€านสฺํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งสัญญาในอันที่จะ
ลุกขึ้นไว้ในจิต กำหนดเวลาที่จะลุกขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักลุกขึ้น ในเวลาชื่อ
โน้น ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนี้แล้วนอน ก็ควรเพื่อจะลุกขึ้นในเวลาตาม
ที่เธอกำหนดไว้.

คำว่า สาตจฺจํ เนปกฺกํ อธิบายว่า ภิกษุประกอบแล้ว ประกอบ
เนืองๆ แล้วยังวิริยะ กล่าวคือ ความเพียร (อันเป็นไปติดต่อกัน) ชื่อว่า
สาตัจจะ เพราะยังความเพียรนั้นให้เป็นไปทั่ว และยังปัญญากล่าวคือ เนปักกะ
(ปัญญาเป็นเครื่องรักษา) อันถึงความแก่รอบ ให้เป็นไปอยู่นั้นแหละ จึง
ชื่อว่า ประกอบเนืองๆ ในชาคริยานุโยค อยู่. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสความเพียรเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. แม้ปัญญา ก็มีคติเช่นวิริยะนั่น-
แหละ. คือ เมื่อตรัสเรื่องวิริยะในโลกิยะ วิริยะนั้นก็เป็นโลกิยะ ตรัสวิริยะ
ในโลกุตตระ ก็เป็นโลกุตตระ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำว่า โพธิปกฺขิยานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย อันเป็นไป
ในฝ่ายแห่งมรรคญาณ กล่าวคือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดไว้มีประมาณ ๓๗ เมื่อ
จะทรงแสดงองค์แห่งการตรัสรู้นั่นแหละ อันสามารถเป็นไปโดยความเป็นอัน
เดียวกันในอารมณ์หนึ่งแห่งภาวนาแม้เป็นโลกีย์ จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา
เป็นอาทิ. โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเหมือนที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง แล.

:b8: :b8: :b8:

ผมนอนทุกท่าเลย สลับไปมา และลองสังเกตดูในคืนหนึ่งๆ
เวลาพริกตัวไปมา โดยส่วนมากแล้วจะรู้ตัว แต่ท่านอนคว้ำไม่ได้
กล่าวไว้ในพระไตรปิฏกเลย และผมก็ไม่ค่อยนอนเท่าไหร่ คืนหนึ่งๆ
พริกไปมาก็ประมาณไม่เกิน +๑๒ ครั้ง ครับ อาการนอนโกนก็น้อยลง
กว่าเมื่อก่อน เมื่อสติเริ่มดีขึ้น รู้สึกตัวเร็วกว่าเมื่อก่อน ปัจจุบันนี้ผมนอน
ที่พื้นปูผ้านอน ใช้หมอนสี่เหลี่ยมสูงหน่อย ต่อไปอาจเปลี่ยนไปใช้หมอน
ไม้แบบเมื่อก่อนผมเคยใช้ตอนบวช พับได้ เก็บไว้ได้ง่าย เล็กดี สูงพอ
ประมาณ แล้วใช้ผ้าพับปูรองก่อนแล้วค่อยนอนเป็นการนอนแบบสร้างเสริม
สติไปด้วยครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนเราจะนอนหลับดีนั้นก็ย่อมมีเหตุมาจากการคิดดี พูดดี ทำดี
ด้วย คนเราจะสุขภาพดีก็เช่นกันล้วนเนื่องมาจากการคิดดี พูดดี
ทำดีทั้งนั้นอย่างเช่นพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เป็นตัวอย่างและเรื่อง
ชาดกต่างๆ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 138 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร