วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรจำไว้ให้ขึ้นใจเกี่ยวกับ "อริยสัจ 4"
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ มี 2 แบบ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


1. อริยสัจ 4

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์







ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์






ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์








ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในโสดาบัน
กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 มี.ค. 2019, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


2. อริยสัจ 4

ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ





ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ







ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้
อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้





หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในอนาคามี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 23:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในโสดาบัน
กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล




หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในอนาคามี

.................................................

หมายเหตุนี้หมายถึงอะไรหรอคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ธัมมะเกิดที่เหตุ
จะดับต้องดับที่เหตุ
เหตุคือไม่รู้แปลว่ามีกิเลสอวิชชา
แก้ได้ด้วยปัญญาและปัญญาเกิดได้ตามลำดับ
เริ่มที่ฟังและจะรู้และเข้าใจชัดถูกตรงตามคำสอนได้ต้องกำลังทำสุตมยปัญญาตรงปัจจุบัน
onion onion onion
https://youtu.be/GaH-4-cJmVk


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 07:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ควรจำไว้ให้ขึ้นใจเกี่ยวกับ "อริยสัจ 4"
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ มี 2 แบบ


ขอหลักฐานด้วยป้าว่ามี ๒ แบบ
กล่าวไว้ตรงไหนครับ ขอความรู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
หมายเหตุ;

ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในโสดาบัน
กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล



หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในอนาคามี

.................................................

หมายเหตุนี้หมายถึงอะไรหรอคับ








ธรรมมา เขียน:
walaiporn เขียน:
ควรจำไว้ให้ขึ้นใจเกี่ยวกับ "อริยสัจ 4"
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ มี 2 แบบ


ขอหลักฐานด้วยป้าว่ามี ๒ แบบ
กล่าวไว้ตรงไหนครับ ขอความรู้ครับ




ปฏิปทาวรรคที่ ๒

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 083&Z=4299




ถ้าอ่านพระธรรมที่พุทธเจ้าทรงตรัสไว้ แล้วยังไม่เข้าใจอีก
จะบอกแค่ว่า พระธรรม ไม่ใช่แค่การท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องปฏิบัติจนแจ้งแก่ตน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


3. ส่วนตรงนี้ "อริยสัจ 4"
เกิดขึ้นจากการแต่งขึ้นมาใหม่โดยท่านพระพุทธโฆษาจารย์ มีเขียนอยู่ในหนังสือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งท่านได้เขียนไว้ว่า เขียนตามความรู้ที่มีอยู่ ทั้งที่ยังไม่แจ้งนิพพาน





ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง









อีกนัยหนึ่ง สัจจ 4 มีปวัจจิ(ความหมุนไป) ปวัตตะ(เหตุให้หมุนไป) และนิวัตติ(เหตุให้หมุนกลับ) เป็นลักษณะโดนลำดับกัน อนึ่งมีความเป็นสังขตะ ตัณหา(ความกระหาย) ความเป็นอสังขตะและทัสสนะ(ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นลักษณะโดยลำดับกันอย่างนั้น

[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้

ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้ ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ

ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต

ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้

พระโยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาทมีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ 4 (แบบที่ 1)
เพื่ออธิบายเรื่อง อุปาทานขันธ์ 5 ของผู้ที่ไม่รู้สภาวะที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสักกายทิฏฐิ
หมายถึงปถุชน(อวิชชา)และโสดาบัน(ขาดสิกขา)


ปถุชน ที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เกิดจากไม่แจ้งอริยสัจ 4(บบที่1) จึงการกระทำตามตัณหา ทิฏฐิ

สำหรับโสดาบัน เมื่อมรรค ผล เกิดขึ้นแล้ว จึงบอกว่า แจ้งอริยสัจ 4 ในที่นี้หมายถึง การละสักกายทิฏฐิ

การเขียนอธิบายอริยสัจ จะเปลี่ยนไป จาก ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ตรงที่ถูกตัดออก เพราะถูกทำลายเป็นสมุจเฉท
จะเหลือเพียง ตัณหา ความดับตัณหา และ มรรค 8



อริยสัจ 4 ตรงนี้ ทรงตรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่แจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

"ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด"

ฉะนั้น ถ้าจะอธิบายเรื่อง อุปาทานขันธ์ 5 สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอุปาทานขันธ์ 5 เวลาอธิบายจะใช้
อริยสัจ 4 แบบที่ 1 ในการอธิบายเรื่องของการเกิดสักกายทิฏฐิ เป็นเรื่องของตน ไม่ใช่เรื่องกรรมและวิบากกรรม

ถ้าอธิบายเรื่องกรรมและวิบากกรรม จะใช้อริยสัจ 4 แบบที่ 2 ในการอธิบายของความมีเกิดขึ้นของอุปาทาน 4




สำหรับ อริยสัจ 4 (แบบที่2) เพื่ออธิบายเรื่อง อุปาทาน 4
หมายถึงโสดาบันประเภท กายสักขีที่ได้อรูปฌาน ไม่ใช่วิโมกข์ 8 และทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต
ได้แก่ ยังไม่แจ้งนิพพานด้วยตนเอง(การดับตัณหา)

กล่าวคือ วัฏฏะ (ความเวียนว่ายตายเกิด) ถึงจะสั้น ก็ถือว่า ชาติ ชรา มรณะฯลฯ ยังมีอยู่





พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับอุปาทานทั้งหมด

๕. ญาติกสูตร

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่คิญชกาวาส [มหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่ลับทรงเร้นอยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า

เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม

จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


เพราะอาศัยหูและเสียง ฯลฯ
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


[๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้หรือ

ภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุเธอจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้
ธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ


บทว่า อทฺทสา ความว่า เล่ากันว่า ในครั้งนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามนสิการปัจจยาการแต่ต้น ทรงรำพึงว่า "สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้." สังขารได้ปรากฏเป็นกลุ่มเดียวกันจนถึงภวัคคพรหม.

พระศาสดาทรงละมนสิการแล้ว เมื่อจะทรงกระทำการสาธยายด้วยพระวาจา ได้ทรงจบพระเทศนาลงตามอนุสนธิ เมื่อทรงพระรำพึงว่า มีใครได้ฟังธรรมปริยายนี้บ้างไหมหนอ จึงได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล.

บทว่า อสฺโสสิ โน ได้แก่ ได้ฟังแล้วหรือหนอ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺโสสิ โน ความว่า ได้ฟังแล้วหรือไม่ได้ฟังเราผู้กำลังกล่าวอยู่.

ในบทว่า อุคฺคณฺหาหิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุฟังนิ่งอยู่ทำให้คล่อง ชื่อว่าย่อมศึกษา. เมื่อสืบต่อบทต่อบททำให้คุ้นเคยด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมเล่าเรียน. เมื่อกระทำความคล่องโดยประการทั้งสอง ให้บรรลุความทรงจำได้ ชื่อว่าย่อมทรงจำไว้ได้.

บทว่า อตฺถสญฺหิโต ได้แก่ อาศัยเหตุ.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่ เป็นที่ประดิษฐานเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.

วัฏฏะ (ความเวียนว่ายตายเกิด) และวิวัฏฏะ (พระนิพพาน)
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

๓. ทุกขนิโรธสูตร ,๔. โลกนิโรธสูตร, ๕. ญาติกสูตร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

viewtopic.php?f=1&t=57420

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ 4 การท่องจำ สามารถท่องจำได้
ส่วนการแจ้งสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย

ตรงนี้หนึ่งสภาวะแล้วนะ


ยังมีอีก "นิพพาน" ที่พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์สาวก
ซ่อนอยู่ในอริยสัจ 4 ในความดับทุกข์ และมรรค อริยมรรค มีองค์ 8

เพียงแต่ปฏิบัติถึงหรือยัง
ถ้ายังปฏิบัติไม่ถึง ย่อมไม่สามารถรู้ทั่วในเรื่องอินทรีย์ 5


สติปัฏฐาน 4 ท่องจำได้
แต่รู้หรือยังว่า มีสภาวะใดซ่อนอยู่ไว้ในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 11 เม.ย. 2019, 22:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะถึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
“วิธีการ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ถึงที่สุด ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ซึ่งเป็นอริยะ
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านี้ มีอยู่อย่างไรเล่า ?” อันนี้ไซร้

พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวด อย่างไรกันเล่า ?
สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย” ดังนี้ :
นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง :

และ “นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ :
นี้เป็น อนุปัสสนา หมวดที่สอง.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ธัมมะเกิดที่เหตุ
จะดับต้องดับที่เหตุ
เหตุคือไม่รู้แปลว่ามีกิเลสอวิชชา
แก้ได้ด้วยปัญญาและปัญญาเกิดได้ตามลำดับ
เริ่มที่ฟังและจะรู้และเข้าใจชัดถูกตรงตามคำสอนได้ต้องกำลังทำสุตมยปัญญาตรงปัจจุบัน
onion onion onion
https://youtu.be/GaH-4-cJmVk


มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)



walaiporn เขียน:
๕. ญาติกสูตร

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่คิญชกาวาส [มหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่ลับทรงเร้นอยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า

เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม

จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


เพราะอาศัยหูและเสียง ฯลฯ
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


[๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้หรือ

ภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุเธอจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้
ธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ


บทว่า อทฺทสา ความว่า เล่ากันว่า ในครั้งนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามนสิการปัจจยาการแต่ต้น ทรงรำพึงว่า "สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้." สังขารได้ปรากฏเป็นกลุ่มเดียวกันจนถึงภวัคคพรหม.

พระศาสดาทรงละมนสิการแล้ว เมื่อจะทรงกระทำการสาธยายด้วยพระวาจา ได้ทรงจบพระเทศนาลงตามอนุสนธิ เมื่อทรงพระรำพึงว่า มีใครได้ฟังธรรมปริยายนี้บ้างไหมหนอ จึงได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล.

บทว่า อสฺโสสิ โน ได้แก่ ได้ฟังแล้วหรือหนอ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺโสสิ โน ความว่า ได้ฟังแล้วหรือไม่ได้ฟังเราผู้กำลังกล่าวอยู่.

ในบทว่า อุคฺคณฺหาหิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุฟังนิ่งอยู่ทำให้คล่อง ชื่อว่าย่อมศึกษา. เมื่อสืบต่อบทต่อบททำให้คุ้นเคยด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมเล่าเรียน. เมื่อกระทำความคล่องโดยประการทั้งสอง ให้บรรลุความทรงจำได้ ชื่อว่าย่อมทรงจำไว้ได้.

บทว่า อตฺถสญฺหิโต ได้แก่ อาศัยเหตุ.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่ เป็นที่ประดิษฐานเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.

วัฏฏะ (ความเวียนว่ายตายเกิด) และวิวัฏฏะ (พระนิพพาน)
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

๓. ทุกขนิโรธสูตร ,๔. โลกนิโรธสูตร, ๕. ญาติกสูตร








walaiporn เขียน:
ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะถึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
“วิธีการ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ถึงที่สุด ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ซึ่งเป็นอริยะ
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านี้ มีอยู่อย่างไรเล่า ?” อันนี้ไซร้

พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวด อย่างไรกันเล่า ?
สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย” ดังนี้ :
นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง :

และ “นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ :
นี้เป็น อนุปัสสนา หมวดที่สอง.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 03:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมชอบที่ท่านโพสท์หลายๆกระทู้นะ มีประโยชน์หลายอย่างมีแนวทางที่ผมเห็นแล้ว รู้แล้ว ประจักษ์ได้ด้วยตนเองแต่ยังไม่แยบคายพอเมื่อเห็นในพระสูตรก็ทำให้เข้าใจในทันที :b8: :b8: :b8:

แต่ในหลายๆอย่างแบ่งไปตามพระอริยะภูมิธรรมที่เข้าถึงก็ดี แบ่งไปตามความแยบคายขอแต่ละฐานะก็ดี มันทำให้ปุถุชนที่ยังไม่เคยรับรู้สัมผัสแม้ในโลกียะจะมองถึงความยากเกินไปให้เข้าถึง ดังนั้นลองเปลี่ยนเป็น ใช้คำว่า

1. เบื้องต้นพึงพิจารณาเห็น ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

2. ท่ามกลางพึงพิจารณาเห็นสืบต่อ ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

3. เบื้องสุดพึงพิจารณาเห็นสืบต่อ ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

ซึ่งคนที่ถึงธรรมต่างๆได้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ไม่อย่างนั้นบางคนรับรู้ได้นิดหน่อยก็จะหลงตามไปได้ว่า ตนบรรลุธรรมใดธรรมหนึ่งแล้วด้วยปรัะการที่อ้างกล่าวดังนี้ที่ท่านกกล่าวไว้

ทำให้ธรรมที่ท่านเข้าถึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าถึง แต่มีหลักในการเจริญ ผลปฏิบัติที่สามารถสัมผัสที่เข้าถึงได้ตามจริง ความรักษา ความคงไว้ไม่ให้เสื่อม หากถึงผลนี้ๆไม่ได้ให้เพียรสะสมอย่างไร โดยไม่หลง อยู่ด้วยสติ สัมปะชัญญะอย่างไร รู้ประมาณแบบไหน คลาย อัตตา มานะทิฏฐิอย่างไรให้ดำรงในทางสายกลาง ผมเชื่อว่าจะมีประโยชน์มากๆ :b8: :b8: :b8: :b1: :b1: :b1:

(ความรู้สึกที่สัมผัสได้ ดูคล้ายน้องเมที่รักผมนะ :b17: :b17: :b17: )

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 03:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
ผมชอบที่ท่านโพสท์หลายๆกระทู้นะ มีประโยชน์หลายอย่างมีแนวทางที่ผมเห็นแล้ว รู้แล้ว ประจักษ์ได้ด้วยตนเองแต่ยังไม่แยบคายพอเมื่อเห็นในพระสูตรก็ทำให้เข้าใจในทันที :b8: :b8: :b8:

แต่ในหลายๆอย่างแบ่งไปตามพระอริยะภูมิธรรมที่เข้าถึงก็ดี แบ่งไปตามความแยบคายขอแต่ละฐานะก็ดี มันทำให้ปุถุชนที่ยังไม่เคยรับรู้สัมผัสแม้ในโลกียะจะมองถึงความยากเกินไปให้เข้าถึง ดังนั้นลองเปลี่ยนเป็น ใช้คำว่า

1. เบื้องต้นพึงพิจารณาเห็น ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

2. ท่ามกลางพึงพิจารณาเห็นสืบต่อ ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

3. เบื้องสุดพึงพิจารณาเห็นสืบต่อ ทุกข์อย่างนี้ๆ..ฯลฯ..จนแยบคาย เพื่อให้ใจน้อมไปในความหน่ายสิ่งนี้ๆ..เมื่อเห็นแล้วดังนี้ จะยังความแจ้งชัดให้ใจ อันถึงผลอย่างนี้ๆ..ฯลฯ..ได้

ซึ่งคนที่ถึงธรรมต่างๆได้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ไม่อย่างนั้นบางคนรับรู้ได้นิดหน่อยก็จะหลงตามไปได้ว่า ตนบรรลุธรรมใดธรรมหนึ่งแล้วด้วยปรัะการที่อ้างกล่าวดังนี้ที่ท่านกกล่าวไว้

ทำให้ธรรมที่ท่านเข้าถึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าถึง แต่มีหลักในการเจริญ ผลปฏิบัติที่สามารถสัมผัสที่เข้าถึงได้ตามจริง ความรักษา ความคงไว้ไม่ให้เสื่อม หากถึงผลนี้ๆไม่ได้ให้เพียรสะสมอย่างไร โดยไม่หลง อยู่ด้วยสติ สัมปะชัญญะอย่างไร รู้ประมาณแบบไหน คลาย อัตตา มานะทิฏฐิอย่างไรให้ดำรงในทางสายกลาง ผมเชื่อว่าจะมีประโยชน์มากๆ :b8: :b8: :b8: :b1: :b1: :b1:

(ความรู้สึกที่สัมผัสได้ ดูคล้ายน้องเมที่รักผมนะ :b17: :b17: :b17: )


คริคริ



คุณป้าวัลลัยพร เธอโพสต์ไว้ดีแล้ว เม ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
ไม่ได้แวะมาคุยกะป้านานแล้วเรยแวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ


มั่วตามเคยแหละเธอช่างอากาศ ซ่อมแอร ซ่อมพัดลมไปตามเรื่องเธอเหอะ

ที่แนะนำไปนั่นมันทางสายเธอ


คุณอากาศ เธอไม่รู้ว่า
ในอริยะทุกระดับ และในมหาสติปัฎฐาน ต้องมีอริยสัจ ทุกระดับ อ่ะจ๊ะ


อ่อ คุณอากาศ หนุพีเอมไป ไปรับด้วย

smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร