วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2019, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2019, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2019, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


24 ธค. 2009

ชีวิตคนเรามีแค่นี้เอง กิเลสที่พอกหนาอยู่ในจิตใจ
เพราะอวิชชาครอบงำไว้ จึงทำให้สร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้อยู่ตลอดเวลา

ภพชาติจึงไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะตัณหา ความทะยานอยาก มีเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ
มีแล้ว ยังตะเกียกตะกายทำให้มีมากขึ้นไปเรื่อยๆ

พอตายโครม!!!!! … หมดกันเลย จบสิ้นทันที เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างเดียว
มีแต่เหตุที่เคยสร้างเอาไว้ ดีและชั่ว ตามความเป็นจริง ที่ถูกบันทึกลงไว้ในจิต

ชีวิตคนเรามีแค่นี้เองนะ ยังดีนะ กุศลของเรายังมีที่ได้มาเจริญสติปัฏฐาน 4
ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่า ป่านนี้ชีวิตของเราจะเป็นยังไงบ้าง
อาจจะสนุกสนาน ใช้ชีวิตไปแบบในสิ่งที่ตัวเองต้องการทำ และ มีแต่ความอยากมี อยากได้ ต่อไปเรื่อยๆ
ตอนนี้ไม่อยากมี ไม่อยากได้อะไรทั้งสิ้น ก็จะเจริญสติแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดลมหายใจ


เจริญสติ ได้แก่ เดินจงกรม ต่อด้วยทำสมาธิ
และพยายามหยุดสร้างเหตุทางกาย วาจา ใจ ใช้หนี้เก่า ไม่ทำกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้น
หากบางครั้งยังมีพลาดพลั้งกระทำอยู่ ทำไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ก็ยอมรับผลที่รับผลของการกระทำ
จึงทำให้เกิดการสำรวม สังวร ระวังให้มากกว่าที่เคยกระทำอยู่ การอดกลั้น ข่มใจที่ไม่ทำตามใจตัณหา แรกๆลำบาก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2019, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นึกถึงพระพุทธเจ้า "อกาลิโก"

วันนี้ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 16.47 น.





๕. ทันตภูมิสูตร (๑๒๕)

[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะอยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงพระดำเนินทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับสมณุทเทสอจิรวตะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๓๘๙] พระราชกุมารชยเสนะ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้รับสั่งกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ
สมณุทเทสอจิรวตะถวายพระพรว่า ดูกรพระราชกุมาร ข้อนั้นถูกต้องแล้วๆ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ

ช. ดีแล้ว ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

[๓๙๐] อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ได้
เพราะถ้าอาตมภาพพึงแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์
และพระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยาก
จะเป็นความลำบากของอาตมภาพ ฯ

ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด
บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ ฯ

อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพจะพึงแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์
ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่ควรเถิด
อย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย ฯ

ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด
ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในภาวะของตนตามที่ควร
ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่านอัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป ฯ




[๓๙๑] ลำดับนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะได้แสดงธรรม ตามที่ได้สดับตามที่ได้ศึกษามาแก่พระราชกุมารชยเสนะ
เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกล่าวแล้วอย่างนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว
ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ





ครั้งนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะ เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเรื่องราว เท่าที่ได้สนทนากับพระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

[๓๙๒] เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า
ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน
ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ
แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา
ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ



[๓๙๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก
หรือโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่เขาฝึกดี หัดดีแล้ว อีกคู่หนึ่งเขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย

ดูกรอัคคิเวสสนะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก
หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาฝึกดี หัดดีแล้วนั้น อันเขาฝึกแล้ว จึงเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้ ใช่ไหม ฯ

อ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ส่วนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดแล้วนั้น อันเขาไม่ได้ฝึกเลย จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้ว เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดี หัดดีแล้วนั้น ได้ไหม ฯ

อ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ
แต่พระราชกุมารชยเสนะ ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา
ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

[๓๙๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้าน หรือนิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือกันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้นแล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง

อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร

สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย

สหายที่ยืนบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้ว จูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่ง แล้วเอ่ยถามสหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร

สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เราเพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา แล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย เดี๋ยวนี้เอง

และสหายคนขึ้นไปทีหลังก็พูดว่า เราก็เพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน
เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน

สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย
ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราชกุมารชยเสนะ
ถูกกองอวิชชาใหญ่ ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว


พระราชกุมารชยเสนะนั้นแล ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง ซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้



ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้ จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะได้ พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใส แล้วจะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์ ฯ


อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา ๒ ข้อนี้จักทำข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้ง แก่พระราชกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน
เพราะอุปมาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาค ฯ




[๓๙๕] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานผู้ชำนาญป่าช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะพ่อพรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้องมันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด

พรานผู้ชำนาญป่าช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอช้างหลวง ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้

ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือป่าช้างอยู่

พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

พระราชามหากษัตริย์จึงตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย nความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการเถิด

ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการ

ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้น

ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้

ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับอาหาร คือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า คราวนี้ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการทิ้ง

ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ ใน

เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรุกและการถอย

ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการยิ่งขึ้นด้วยคำว่า ยืนพ่อ เท้าพ่อ

ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการเท้า

ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูกโล่ห์ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้นถูกควาญช้างให้ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อนไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์ สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความนับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติของพระราชา ฉันใด ฯ


[๓๙๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น
ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมาเขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว
ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่




ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้


ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ

เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว

ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...

ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ...

ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ



[๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฯ



[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย

จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา

จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต

จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม

เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

เข้าตติยฌาน ...

ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ



[๓๙๙] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว

ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้ ฯ

หมายเหตุ;
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล






[๔๐๐] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้ ฯ


หมายเหตุ;
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
อนาคามิมรรค อนาคามิผล





[๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ

เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


หมายเหตุ;
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
อรหัตตมรรค อรหัตตผล




[๔๐๒] ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต่อ ทำนอง คำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ เธอเป็นผู้กำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้ หมดกิเลส เพียงดังน้ำฝาดแล้ว เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักขิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาแห่งอื่นเปรียบมิได้ ฯ




[๔๐๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ
ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก

ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลาง ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก

ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่าภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างมิได้ฝึก

ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก

ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ฯ



[๔๐๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว

ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง
ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว

ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว

ถ้าภิกษุมัชฌิมะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว

ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2019, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. จูฬสัจจกสูตร
เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ

เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอนและเป็นพระอรหันต์
[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม
จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้


ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด
ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้.


ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน.

หมายเหตุ;

การละอุปาทานขันธ์ 5 ตามลำดับ ได้แก่
โสดาปัตติมรรค ได้แก่ สัทธานุสารี,ธัมมานุสารี,กายสักขี(สัมมาสมาธิ)
โสดาปัตติผล ได้แก่ สัทธาวิมุตบุคคล,ทิฏฐิปัตตบุคคล,กายสักขีบุคคล

สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล

อนาคามิมรรค อนาคามิผล





[๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์
ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด
ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้ จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว
มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ.

ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ
คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑ ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑ ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.
เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อข้ามพ้น
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้วย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท.





๑๐. กีฏาคิริสูตร
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้
แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส
แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติ เหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น
ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา แล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า

พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้
เราไม่รู้คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงาม มีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา แล้วประพฤติ
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ
ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผล ที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ
ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่
ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา แล้วประพฤติ พึงหวังได้"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2019, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พยสนสูตร

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ

ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2019, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ปัญญาสูตร

[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าเสื่อมสุด
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว
เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม
สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันเทียวแล
เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ฯ

จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่นลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อมไปจากปัญญา
โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

ปัญญาอันให้ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุดในโลก
ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


29 มี.ค. 2019

การระลึกในอดีตชาติ การรู้เห็นจะแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดเป็นคนนั้นนี้ เกิดเป็นอะไรในแต่ละชาติ ทำนองนั้น

สำหรับเรานั้น สิ่งที่รู้เห็น มีตอนเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้ายในครั้งที่ 1 สิ่งที่มองเห็นเป็นเหมือนกำลังถูกดูดเข้าไปในจักรวาล ระหว่างอยู่กลางทางเดิน ทั้งสองฝั่ง เหมือนมีหนังกลางแปลงขนาดย่อทุกพื้นที่ในจักรวาล แบบเยอะมาก ดูไม่ทันหรอกว่าในแต่ละชาติเกิดเป็นอะไร ใช้ความเร็วสูงมาก มองเห็นแค่รู้ว่าเหมือนจอหนังแบบย่อลง แต่พอจะมองเห็นว่า เหมือนมีหนังฉายอยู่

ก็คิดว่า ไม่รู้ว่าเคยเกิดมีนานเท่าไหร่ ถ้าไม่ทุกข์ ยังไม่ทำความเพียร ก็คงไม่ได้รู้เห็นแบบนี้ได้
ส่วนการระลึกในแต่ละชาติ ที่มองเห็นและจำได้ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด จึงทำให้เกิดการทำความเพียรหนัก




22 พค.2009
ก็ปฏิบัติตามปกติ สมาธิก็เกิดแบบปกติอย่างต่อเนื่อง รู้ตัวตลอดเวลา สักพักกำลังของสมาธิเปลี่ยนไป
แรกๆยังไม่คงที่ ขึ้นๆลง จำได้เกิดภวังค์จิต แต่ไม่ได้นับว่ากี่ครั้ง
เพราะทุกครั้งที่เกิดภวังค์จิต สมาธิจะมีกำลังแรงขึ้นกว่าเดิม โอภาสจะสว่างมากๆ
ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน สมาธิเริ่มแรงขึ้นๆๆๆเรื่อยๆ โอภาสสว่างมากๆ สว่างไปหมด ความรู้สึกตอนนั้นบอกไม่ถูก
เหมือนถูกดูดเข้าไปในอะไรสักอย่างมันสว่างมากๆ รู้สึกเหมือนคนที่กำลังจะขาดใจ นี่เองกระมังอาการของคนที่กำลังจะขาดใจตาย มีภาพต่างๆผุดขึ้นมา เกิด-ดับๆๆๆ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร
ช่วงเสี้ยววินาทีสุดท้ายที่เรารู้สึกว่ามันจะขาดใจแล้ว คือมันรู้ แค่รู้ บอกไม่ถูก
เสียงนาฬิกาปลุกที่ตั้งเวลาไว้ ดังขึ้น กำลังของสมาธิลดลง เราหลุดออดมาจากสภาวะตรงนั้น


ตอนที่หลุดออกมาจากสภาวะนั้นใหม่ๆ ความรู้สึกที่รู้สึกตอนนั้นคือ ทุกสิ่งทุกอย่างมันชั่งว่างเปล่าเสียจริงๆ
เหมือนไม่มีอะไรเลย สมองกลวงๆ ไม่มีความคิด มันว่างไปหมด ความคิดสักนิดก็ไม่มี ความรู้สึกต่างๆไม่มี ไม่ว่าจะความสุข ความอิ่มเอิบ ฯลฯ แม้แต่ร่างกายของตัวเองแท้ ยังรู้สึกเหมือนอะไรสักอย่าง ที่ไม่ใช่ร่างกาย เหมือนเราเพียงแค่อาศัยอยู่ประมาณนี้ เพิ่งรู้นะว่าความว่าง ว่างที่แท้จริงน่ะมันเป็นยังไง ขนาดหลุดออกมาแล้ว ไม่ได้เข้าไปเต็มตัว

พลังของสมาธิมีกำลังแรงมากๆแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อนเลย ยังงงๆ กับสภาวะนั้นอยู่
เกี่ยวกับความว่าง มันว่างจริงๆนะ มันไม่มีอะไรเลย เหมือนไม่มีใคร ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มันว่างไปหมด


มันบอกไม่ถูก รู้แต่ว่า มีความกลัวกับความเฉยๆมันสลับกัน คือ เหมือนจะจำสภาวะตรงนั้นได้
จำได้ว่าเรากลัว กลัวมากๆ กลัวตอนช่วงที่มีความรู้สึกว่าถูกดูดเข้าไป
สมาธิตอนนั้นแรงมากๆ เหมือนลมบ้าหมู บอกไม่ถูก แต่ตอนที่ว่ากลัวมากๆ
แต่มันกลับมามีสติ สัมปชัญญะรู้ตัวดี เรารู้แล้ว ที่เราคิดว่า เรากำลังจะตายมาหลายวันนี่คืออะไร
เจอสภาวะเมื่อวานนี้ถึงได้เข้าใจ นี่เราเหมือนตายไปแล้วแค่ครึ่งชีวิต แล้วหลุดออกมาได้ ใช่ตอนที่เรากลัวมากๆ คือเราคิดว่าเรากำลังจะตาย แล้วภาพต่างๆก็ผุดขึ้นมา เกิด-ดับ เร็วมากๆ จับไม่ได้ ว่าคือภาพอะไร
รู้แต่ว่าช่วงนั้นใจมันจะขาด แว่บแรกคือกลัวตาย แต่ก็มีสติบอกว่า ตายเป็นตาย ถ้าตายไปตอนนี้มันก็คุ้ม เพราะรู้ว่าจะไปเกิดที่ไหน เลยปล่อยเลย อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิด มันเลยกลายเป็นแค่รู้ แค่รู้อย่างเดียว
ช่วงวินาทีสุดท้าย ที่กำลังถูกดูดเข้าไปเต็มตัว เสียงนาฬิกาที่ตั้งไว้ดังขึ้น เรารู้สึกว่าหลุดออกมาเลย
กำลังของสมาธิผ่อนแรงลง จิตนี่มันชั่งมหัศจรรย์จริงๆ เหมือนอีกมิติหนึ่งที่ซ่อนอยู่




สภาวะตรงนี้น่ะ เกือบจะจริง แต่ยังไม่สุดๆของสภาวะทั้งหมด

ส่วนสภาวะเต็มๆน่ะ ในบล็อก หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอหรอก ลบทิ้งไปตั้งแต่ปีพศ. 2552

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2019, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2019, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ปฏิจจสมุปบาท ถ้านำมากล่าวเนื่องด้วยชีวิต
แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง

ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
ฯลฯ


และขณะทำกาละ(ตาย)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี




ถ้านำมากล่าวในแง่ของการรู้เห็นตามความเป็นจริง แบ่งออกเป็น ๔

๑. รู้อดีต
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี


๒. รู้ปัจจุบัน
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
ฯลฯ
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี


๓. รู้อนาคต
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ


๔. ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต
หมายถึงผู้ที่หนาแน่นด้วยอวิชชา
จึงกระทำกรรมตามโลภะ โทสะ โมหะ ที่มีเกิดขึ้น
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดการกระทำ


เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่รู้อริยสัจ 4
ไม่รู้ทุกข์
ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์
ไม่รู้จักความดับทุกข์
ไม่รู้จักวิธีถึงความดับทุกข์


เมื่อไม่แจ้งอริยสัจ 4 เป็นเหตุปัจจัยทำให้
ไม่รู้จักอดีต
ไม่รู้จักอนาคต
ไม่รู้จักทั้งอดีตและอนาคต
ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท






ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ




การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ









ที่เคยเขียนไว้ตรง การอธิบายสับสน นำมาปนกัน

เดี๋ยวลบออกค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2019, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
๑. รู้อดีต
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี








walaiporn เขียน:
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน



[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ...

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น




หมายเหตุ;

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล










ตรงนี้เป็นเรื่อง กรรม


walaiporn เขียน:
๑. รู้อดีต
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี






ตรงนี้เป็นสภาวะขณะเกิดอนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

walaiporn เขียน:
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน



[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ...

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น




หมายเหตุ;

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล










ที่เคยเขียนไว้ ไม่ตรงกับสภาวะ คือ นำเรื่องกรรม มีใช้กับสภาวะอนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
จะลบทิ้งค่ะ






ส่วนตรงนี้ ที่เคยเขียนอธิบายไว้ ตรงกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ



walaiporn เขียน:
"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ "


ตรงนี้ไม่เรียกว่า ปัญญา
แต่เป็นสภาวะอนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่เกิดจากอินทรีย์ 5

แล้วสภาวะตรงนี้ ไม่สาธารณะ
กล่าวคือ มีเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่ได้วิโมกข์ 8 เท่านั้น





หากไม่ได้วิโมกข์ 8 จะมีเกิดขึ้นเฉพาะ แค่นี้เท่านั้น

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร