วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2019, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป



แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์
แก่นของสภาวะวิปัสสนา ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง



สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์




อินทรีย์ 5

อนุโลมญาณ
มัคคญาณ
ผลญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2019, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของโสดาบันและอนาคามี ที่สามารถแจ้งนิพพาน ตามความเป็นจริง


walaiporn เขียน:
กามเหสสูตรที่ ๑


[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

จบสูตรที่ ๒





walaiporn เขียน:
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป



แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์
แก่นของสภาวะวิปัสสนา ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง



สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์




อินทรีย์ 5

อนุโลมญาณ
มัคคญาณ
ผลญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แจ้งนิพพาน

ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ " สีลวิสุทธิ"

ได้แก่ ความรู้ชัดใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กล่าวคือ การรู้ชัดในเรื่องของเหตุและปัจจัย

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

กล่าวโดยย่อ
เหตุมี ผลย่อมมี
เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

ทำให้รู้ว่า เพราะเหตุใด สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่ง ส่งผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
บางสิ่ง ไม่ส่งผลกระทบทางใจ(เฉยๆ)



สิ่งที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทางใจทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของ กรรม(การกระทำทางกาย วาจา ใจ) ที่กระทำไว้ในแต่ละขณะๆ
และการให้ผลของกรรม(จึงส่งผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด)
ส่งมาให้ได้รับผลในรูปแบบของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต


เมื่อรู้ชัดในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมมาทิฏฐิ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความเห็นดังนี้ว่
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

กล่าวคือ เชื่อในพระพุทธเจ้า และพระธรรมคำสอนที่ทรงตรัสสอนไว้ โดยไม่ต้องให้มีใครมาบอก
เชื่อในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม เพราะรู้ชัดด้วยตนเอง



เป็นเหตุปัจจัยให้ ปัญญาพละ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ การเห็นด้วยปัญญา(การแทงตลอดในอริยสัจ 4 ด้วยตนเอง)

ทุกข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 (ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5)
เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา
ข้อปฏิบัติเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8



เป็นที่มาของธรรมฐิติญาณ(ละอุปาทานขันธ์ 5)

รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดีในที่ใกล้ก็ดี
เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ


สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดีในที่ใกล้ก็ดี
สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดีในที่ใกล้ก็ดี
วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ


เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี
เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน
ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มีชราและมรณะจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้น มีความสิ้นความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่าเพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของเวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่าเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลายความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่าเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่าเมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่าธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มีวิญญาณจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาลความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มีสังขารจึงไม่มี ๑
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ ฯ






๕. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ

[๑๐๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น
มิได้กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็น

ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นอะไร
คือ ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น อย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา





๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน

[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
“ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงมิได้บอก

สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราได้บอกว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’

เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”






เมื่อนำมากล่าวถึงข้อปฏิบัติ ในแง่ของปริยัติหรือพระธรรมคำสอน
ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ได้แก่ ดับเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา

กล่าวคือ ให้กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
โดยการยังศัรทธาในพระพุทธเจ้า ให้มีเกิดขึ้นในใจตน(คือ เชื่อพระพุทธเจ้า)
และปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

ด้วยเหตุปัจจัยนี้
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

เมื่อกระทำดังนี้เนืองๆ ผลที่ได้รับสูงสุดคือ

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่




เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
ทำให้ไม่รู้ว่า เพราะเหตุใด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำไมจึงส่งผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ จึงสานต่อ คือ ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา เช่น เขาว่าเรา เราต้องว่าเขา
โดยมีตัณหาเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดการกระทำ จึงกลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก


เมื่อนำมากล่าวถึงข้อปฏิบัติ ในแง่ของภาษาชาวบ้าน

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ส่งผลกระทบทางใจ(เวทนา/สุข,ทุกข์,เฉยๆ)
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(ตัณหา อุปาทาน ภพ)

ให้กระทำไว้ในใจ แล้วอดทน อดกลั้น กดข่มใจ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก

ทำไมต้องอดทน อดกลั้น กดข่มใจ
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ที่มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของ กรรมเก่า ได้แก่ การกระทำที่เคยกระทำไว้ในอดีตทางกาย วาจา ใจ
แล้วการให้ผลของการกระทำนั้นๆ ส่งมาให้ได้รับผล ในรูปแบบของ ผัสสะ ได้แก่ สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ด้วยเหตุปัจจัยนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น จึงมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด



ทั้งๆที่ตามความเป็นจริงแล้ว ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น
เป็นการทำงานระหว่างอายตนะภายนอกและภายใน
คือ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ อายตนะทั้งหลาย ย่อมทำงานเป็นปกติ

เหตุปัจจัยที่ทำให้ ผัสสะ ดูบิดเบี้ยวไปในความรู้สึก เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่
เช่น ตาเห็นรูป แทนที่จะเห็นเป็นเพียงแค่รูป กลับกลายเป็นเห็นเป็นตัวตน เขา เรา เกิดขึ้นแทน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:19, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณวรรคที่ ๑
๑. อาวรณสูตร

[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถิ่นมิทธะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง
ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต
ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือน

จบสูตรที่ ๑





อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ความไม่รู้ในทุกข์
ในเหตุให้เกิดทุกข์
ในความดับทุกข์
ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา
และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.









อุปทานขันธ์ ๕ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ในส่วนของทุกขอริยสัจ
กิเลสหรือสังโยชน์ต่างๆที่มีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕


อย่าประมาท เมื่อสะสมบ่อยเข้ากลายเป็นอาจิณกรรม
หากไปโผล่ตอนขณะทำกาละ ไม่มีใครรู้ดีนอกจากตนเองที่มีเกิดขึ้นตอนลมหายใจเฮือกสุดท้าย





อีกอย่าง เครื่องสัญญามันชำรุด ก็เลยเขียนความรู้เดิมๆในสมัยที่ยังไม่แจ้งนิพพาน
มันก็เลยเอามาแบบนี้ว่า เพราะอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
ทว่าลักษณะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอวิชชาคือ
ความไม่รู้ในทุกข์
ในเหตุให้เกิดทุกข์
ในความดับทุกข์
ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์

ปริยัติก็เลยเพี้ยนเป็นว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
แบบทำนองว่าอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา
เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า

ถ้าในกระทู้ไหน ที่วลัยพรมีเขียนว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
บอกด้วยนะ เดี๋ยวไปแก้ข้อความให้ใหม่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นแหละครับ ที่ผมบอกว่า..

อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง

อริยะสัจ ๔ คือ ความรู้เห็นตามจริง สัจจะ คือ ความจริง :b1: :b1: :b1: ซึ่งโดยแท้จริงแล้วขณะที่จิตทำกิจ ขณะนั้นเป็นมรรค เมื่อจิตกำกิจสำเร็จนั่นคือผล ผลนี่เมื่อสะสังโยชน์จิตก็จะรู้เห็นตามจริงไม่กลับกลายอีก

ผมจึงมักจะบอกว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง โดยแท้จริงแล้วสิ่งที่จะทำให้เห็นจริงได้นั้น คือ พระอริยะสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ที่จิตทำกิจนั่นเอง ขณะที่จิตทำกิจก็ใคร่ครวญพิจารณาความจริงอยู่ ขณะนั้นยังเป็นมรรค เมื่อตัดสังโยชน์ถึงผลนั่นล่ะคือความจริง ดังนั้นจึงมีแต่พระอริยะสาวกเท่านั้นที่รู้จริงพระอริยะสัจ ๔ คนที่ท่องจำเอานั้นชื่อว่าเพียงผู้ศึกษาเมื่อโอปนะยิโกก็ได้เป็นความคิดชอบ ซึ่งชักนำเป็นทัศนะคติแนวความคิดเห็นแบบสะสมเหตุไป :b1: :b1: :b1: จนเมื่อจิตทำกิจจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเรียกว่าองค์มรรค อนาสวะ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 05:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
นั่นแหละครับ ที่ผมบอกว่า..

อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง

อริยะสัจ ๔ คือ ความรู้เห็นตามจริง สัจจะ คือ ความจริง :b1: :b1: :b1: ซึ่งโดยแท้จริงแล้วขณะที่จิตทำกิจ ขณะนั้นเป็นมรรค เมื่อจิตกำกิจสำเร็จนั่นคือผล ผลนี่เมื่อสะสังโยชน์จิตก็จะรู้เห็นตามจริงไม่กลับกลายอีก

ผมจึงมักจะบอกว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง โดยแท้จริงแล้วสิ่งที่จะทำให้เห็นจริงได้นั้น คือ พระอริยะสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ที่จิตทำกิจนั่นเอง ขณะที่จิตทำกิจก็ใคร่ครวญพิจารณาความจริงอยู่ ขณะนั้นยังเป็นมรรค เมื่อตัดสังโยชน์ถึงผลนั่นล่ะคือความจริง ดังนั้นจึงมีแต่พระอริยะสาวกเท่านั้นที่รู้จริงพระอริยะสัจ ๔ คนที่ท่องจำเอานั้นชื่อว่าเพียงผู้ศึกษาเมื่อโอปนะยิโกก็ได้เป็นความคิดชอบ ซึ่งชักนำเป็นทัศนะคติแนวความคิดเห็นแบบสะสมเหตุไป :b1: :b1: :b1: จนเมื่อจิตทำกิจจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเรียกว่าองค์มรรค อนาสวะ


ตอนผมเห็นว่า ความทุกข์ ความเศร้าหมองที่ใจ เป็นเพียงสิ่งปรุงแต่งแล้วยึดถือไปเองควรละ จิตก็ไปเกาะไอความทุกข์ ความเศร้าหมองที่กำหนดไว้เป็นนิมิตก้อนควันนั้นอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ปล่อย ปล่อยแล้วก็ดับทันที

ตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเลย แต่เพราะสิ่งที่ได้เห็นนั้นแหละจึงหมุนเข้ามาศึกษาพระธรรมคำสอน กลับกลายเป็นว่ารู้มากเกินไป ไปยุ่งไปปรุงทำให้ไม่ยอมเห็นตามเป็นจริง

ก็ขอบอกเตือนเอาไว้ว่า การฟังอ่านการฟังธรรมะหากทำในใจโดยแยบคายแล้ว ฟังสั้น ๆ เพียงบทเดียวก็เห็นทุกข์และความดับทุกข์ได้แล้ว ตัวอย่างได้มีมาแล้ว เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

รู้ทุกข์จึงละสมุทัย เห็นนิโรธจึงเจริญมรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
นิวรณวรรคที่ ๑
๑. อาวรณสูตร

[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้
ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถิ่นมิทธะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง
ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต
ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือน

จบสูตรที่ ๑





อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ความไม่รู้ในทุกข์
ในเหตุให้เกิดทุกข์
ในความดับทุกข์
ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา
และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.









อุปทานขันธ์ ๕ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ในส่วนของทุกขอริยสัจ
กิเลสหรือสังโยชน์ต่างๆที่มีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕


อย่าประมาท เมื่อสะสมบ่อยเข้ากลายเป็นอาจิณกรรม
หากไปโผล่ตอนขณะทำกาละ ไม่มีใครรู้ดีนอกจากตนเองที่มีเกิดขึ้นตอนลมหายใจเฮือกสุดท้าย





อีกอย่าง เครื่องสัญญามันชำรุด ก็เลยเขียนความรู้เดิมๆในสมัยที่ยังไม่แจ้งนิพพาน
มันก็เลยเอามาแบบนี้ว่า เพราะอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
ทว่าลักษณะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอวิชชาคือ
ความไม่รู้ในทุกข์
ในเหตุให้เกิดทุกข์
ในความดับทุกข์
ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์

ปริยัติก็เลยเพี้ยนเป็นว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
แบบทำนองว่าอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา
เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า

ถ้าในกระทู้ไหน ที่วลัยพรมีเขียนว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
บอกด้วยนะ เดี๋ยวไปแก้ข้อความให้ใหม่





ก่อนอื่น มีบางสิ่งที่ลบออก นำกลับมาคืนที่เดิม ไม่งั้นไม่ครบที่เคยเขียนไว้
เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่รู้อริยสัจ 4
ไม่รู้ทุกข์
ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์
ไม่รู้จักความดับทุกข์
ไม่รู้จักวิธีถึงความดับทุกข์




เมื่อวาน ก็รู้สึกถึงความแปลกๆที่มีเกิดขึ้น ตอนแรกคิดว่าเราคงสับสนประโยคที่เราเขียนหรือเปล่า
เอ.. ที่เขียนไว้ สมองมันคงกระเทือบกระเทือน จึงทำให้คิดแบบนี้ว่า
"อีกอย่าง เครื่องสัญญามันชำรุด ก็เลยเขียนความรู้เดิมๆในสมัยที่ยังไม่แจ้งนิพพาน
มันก็เลยเอามาแบบนี้ว่า เพราะอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
ทว่าลักษณะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของอวิชชาคือ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์"

ก็เลยคิดเอาเองว่า ท่าทางสมองเพี้ยน ก็เลยคิดว่า
"ปริยัติก็เลยเพี้ยนเป็นว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4 แบบทำนองว่าอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า

ก็งงๆ ไม่เข้าใจตัวเอง ก็เลยเขียนแบบนั้นว่า
"ถ้าในไหน ที่วลัยพรมีเขียนว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4 บอกด้วยนะ เดี๋ยวไปแก้ข้อความให้ใหม่"

แต่กลับไปทบทวนที่เขียนไว้ คำอธิบายทุกอย่างที่เขียนไว้ ก็ตรงกับสภาวะ และตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ แต่ยังรู้สึกแปลกๆทำนองว่า ทำไมจึงเขียนแบบนั้น ทั้งๆที่ก็เขียนหมด

ตกกลางคืน จิตนำสิ่งที่เขียนเอาไว้มาทบทวน ทำไมเราจึงเขียนแบบนั้น "อีกอย่าง เครื่องสัญญามันชำรุด ก็เลยเขียนความรู้เดิมๆในสมัยที่ยังไม่แจ้งนิพพาน มันก็เลยเอามาแบบนี้ว่า เพราะอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4
ปริยัติก็เลยเพี้ยนเป็นว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4 แบบทำนองว่าอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า"



พอรู้สึกแปลกๆ แบบนึกถึงคำพูดว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4 แบบทำนองว่าอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า

อีกอย่างทบทวนสภาวะที่ตอนอยู่ในตอนนี้ รูปราคะ อรูปราคะ ไม่มีนั้น ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกตั้งแต่ตอนที่มีสมาธิวิโมกข์ 8 แล้วมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เสื่อม(คลุกคลีหมู่คณะ/ถูกถ่ายเทสมาธิไปหมด)
ด้วยปัจจัยนี้ทำให้ทำความเพียรหนักเพื่อให้จิตมาตั้งมั่นเหมือนที่เคยเป็น ก็กลับมาปกติเพียงแต่ไม่ได้มากเหมือนของเก่า พอรู้ว่า สมาธิก็เสื่อมได้ ก็ทำให้มีเกิดขึ้นได้อีก ตั้งแต่นั้นมาไม่สนใจเรื่องสมาธิ
อีกอย่างจะว่าทำความเพียรก็ไม่ใช่ แบบจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอิริยาบทต่างๆโดยอัตโนมัติ

ต่อมา ถีนะ ไม่เคยมีเกิดขึ้นอีก แบบว่า "หลับ" ไม่เคยมีเกิดขึ้นอีกนะจะ 9 ปีแล้วนะ

ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ตั้งแต่สมองกระทบกระเทือน ความรู้สึกต่างๆก็เหมือนไม่มี
แต่ผลของการทำความเพียรหนัก ทำให้เกิดความรู้ชัดในจิต ขณะผัสสะเกิด
แม้จะมีความรู้สึกจะเกิดแป๊บๆเหมือนงูแลบลิ้น ก็รู้ทันนะ สักแต่ว่าเกิด ไม่มีปรุงต่อ
เช่นคำว่า(ไอ้นี่) แต่นึกไม่ออกว่าจะพูดอะไร อะไรทำนองนั้น

วันนี้หาข้อมูลในกูเกิ้ลเกี่ยวกับอวิชชาอาสวะว่ามีมั๊ย แบบนึกถึงคำว่ากิเลสนะ
ที่หาเพราะสงสัยว่า คำเรียกแบบนี้มาใหม่ แล้วมีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นมามั๊ย มาปรากฏว่า มีอยู่จริงๆ
ตอนที่อ่านเจอเกี่ยวกับอวิชชาอาสวะ เพียงแค่เรารู้ใช้คำเรียกแบบคนที่ไม่รู้ปริยัติ ก็แบบเรียกเองว่า อวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา ก็เลยคิดว่า เหมือนคนบ้าที่บอกว่าตัวเองไม่บ้า

ความที่ว่า รู้ทันเรื่องอุปกิเลส ตรงนี้สมัยก่อนเจอจนจำได้ขึ้นใจ
เมื่อไม่สนใจคำเรียกต่างๆ ตัณหาก็เลยเป็นหมัน อุปกิเลสก็ขาดออกจากจิต ไม่มีกำเริบขึ้นอีก

เมื่อตอนที่อ่าน อาสวะ ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

เพราะอวิชชาเกิด เหตุเกิดแห่งอาสวะจึงมีเพราะอวิชชาดับ
๑. สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา
๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ
๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ

เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัยและมานานุสัยที่ว่า ‘เป็นเรา’ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”

สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙




ถ้าถามว่า อ่านแล้วรู้สึกยังไง
คำตอบ เฉยๆนะ อาจจะเฉยเพราะจากสมองมั๊ง ก็เลยไม่รู้สึกอะไร
แต่อย่างไร ก็ทำให้รู้ว่า ปริยัติไม่เพี้ยน สิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะจิตพิจรณาทำนองนั้น ก็ตรงกับที่เราเขียนไว้ว่า

"เครื่องสัญญามันชำรุด ก็เลยเขียนความรู้เดิมๆ(สมัยที่ไม่รู้ปริยัติ) มันก็เลยเอามาแบบนี้ว่า เพราะอวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอริยสัจ 4 ตอนนี้สภาวะเกิดเปลี่ยน ข้อมูลเก่าจบแล้ว มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นแทน ในจิตจึงมีเกิดขึ้นแบบนี้ว่า"อวิชชา ทำให้ไม่แจ้งอวิชชา"



นี่นึกออกละว่า ทำไมจิตจึงเกิดพิจรณา ณ ขณะ เพราะตอนที่เขียนเรื่องการเกิดและวิธีการการดับเหตุปัจจัยของภพชาติปัจจุบัน และเรื่องการเกิดและวิธีการดับเหตุปัจจัยของภพชาติการเกิดในวัฏสาร

เขียนไปด้วย ไม่ใช่เขียนอย่างเดียว มีทบทวนแล้วซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ที่เคยเขียนทิ้งไว้ตั้งแต่ 2016 แล้วนำมาเขียนซ้ำ 2017 และอีกครั้ง 2019 ไม่มีการกลับกลายหรือเปลี่ยนแปลงอีก มีตรงที่ลบออกเรื่อง
"เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เป็นเหตุปัจจัยทำให้ไม่รู้อริยสัจ 4
ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้จักวิธีถึงความดับทุกข์"

ก็ยังงงๆว่า ทำไมจึงลบออก ทั้งนี้ที่เขียนอธิบายไว้ตรงกับสภาวะทั้งหมด จึงได้แค่มอง ยังไม่คิดทำสิ่งใด ปล่อยทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินสภาวะ โดยปราศจากไปเพิ่มเติมหรือแก้ไขอะไรเพิ่มอีก จะว่าไปแล้ว มองหลายครั้งนะ มองแล้วมองอีก ก็ยังไม่เข้าใจจิตว่า ทำไมจึงเขียนตรงท้ายแบบนั้น ที่แท้สภาวะของการรู้เห็นรู้ เปลี่ยนไป

นี่เป็นข้อมูลที่เคยเขียนไว้ปี 2016 หลังจากที่เจอสภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่ 2 ที่คิดเองว่าเกิดจากหัวใจวาย แล้วไม่ตาย ก็กลับมามีชีวิตรอดได้อีกครั้ง แต่จริงแล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต ไม่ได้มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิเหมือนกับครั้งที่ 1

ถ้ากระทบกระเทือนสมอง ก็ยังมองไม่ออก แยกสภาวะก็ไม่ออก เช่นเดียวกับการเจ็บป่วย เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ที่ทำให้ต้องเจออาการลิ้มเลือดอุดเส้นเลือดในสมอง ทำให้ประสาทการรับรู้ การสัมผัสสะ ก็เลยพิการ(การรู้สึกทางใจ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด

[๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ
กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

[๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา
ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน





นิวรณวรรคที่ ๑
๑. อาวรณสูตร
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการเป็นไฉน นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ
กามฉันทะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้จักประโยชน์ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัด ส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ ไม่ละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ
สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็จักไม่ซัด ไม่ส่ายไหลไม่ผิดทาง พึงไหลไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัดในสิ่งที่พอพัดไปได้ ฉันใด

ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแลหนอ ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว
จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑








จิตเป็นสมาธิแล้ว รู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในน้ำอันใส

...ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์,
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;
เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย,
นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ
และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ;” ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว
จากอาสวะ คือ กาม
อาสวะ คือ ภพ
อาสวะ คือ อวิชชา.
ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว”
เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส ที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุ (ไม่บอด) ยืนอยู่บนฝั่ง ณ ที่นั้น :
เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น.
เขาจำจะสำนึกใจอย่างนี้ ว่า “ห้วงน้ำนี้ใสไม่ขุ่นมัวเลย : หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” :
อุปมานี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน,

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า
“นี้เป็นทุกข์,
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;
เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย,
นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ
และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ;” ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว
จากอาสวะ คือ กาม
อาสวะ คือ ภพ
อาสวะ คือ อวิชชา.
ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว”
เธอนั้นรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

- มู. ม. ๑๒/๕๐๙/๔๗๗.





เจโตขีลสูตร
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม
จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๒ ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๓ ฯลฯ ในสิกขา ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๔ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ มีจิตขัดเคือง ผูกใจเจ็บ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ มีจิตขัดเคืองผูกใจเจ็บในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม
จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายามนี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙




ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แลกระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ
เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการอธิบายเกี่ยวกับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติในวัฏสงสาร เกิดจากอวิชชาที่มีอยู่ เวลาอธิบายจะแบบนี้


ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้
อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้





ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ
เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลาย จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย
เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล
เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา
เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
เราและเธอทั้งหลายถอนภวตัณหาได้แล้ว
ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญทำให้มากด้วยดี
โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คืออะไร

คือ
๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔
๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕
๖. โพชฌงค์ ๗
๗. อริยมรรคมีองค์ ๘

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง
เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มากด้วยดี
โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน
ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย




หมายเหตุ;

เกี่ยวกับอริยสัจ 4 พระสูตรที่นำมาแสดงในที่นี้ เป็นเรื่องของกิเลส ได้แก่ เพราะอวิชชาที่มีอยู่ เหตุปัจจัยของมีเกิดขึ้นอวิชชาได้แก่ อวิชชาอสวะ ต้องอ่านพระสูตร ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

อาสววาร
[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ

เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ เป็นไฉน?
ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
เหตุเกิดแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ








๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒) พระสูตรนี้ก็มีเกิดขึ้นจากการแต่งขึ้นมาใหม่ โดยนำพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้หลายหมวด มาสอดแทรกลงในเรื่อง ธัมมานุปัสสนา ที่นำเรื่องอริยสัจ 4 (แต่งขึ้นมาใหม่) มาแสดง

ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 257&Z=6764

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คุณสมบัติของโสดาบันและอนาคามี ที่สามารถแจ้งนิพพาน ตามความเป็นจริง


walaiporn เขียน:
กามเหสสูตรที่ ๑


[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

จบสูตรที่ ๒





walaiporn เขียน:
การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป



แก่นของสภาวะสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ ได้แก่ มีรูปนาม เป็นอารมณ์
แก่นของสภาวะวิปัสสนา ได้แก่ วิโมกข์ 3 ที่มีเกิดขึ้นขณะเกิดมรรค ผล ตามความเป็นจริง



สภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามีเพียง ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๘. สังขารุเปกขาญาณ
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์(อินทรีย์ 5 อนุโลมญาณ มัคคญาณ ผลญาณ)









หลังจากมีสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)เกิดขึ้น ครั้งที่ 1 (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล)
"นิพพาน คือ การดับภพ" นี่เป็นความรู้ครั้งแรก ที่มีเกิดขึ้นในจิต



ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ 5
ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง ได้แก่ ความดับภพ




โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ได้แก่ การละอุปาทานขันธ์ 5

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ(สภาวะจิตดวงสุดท้ายครั้งที่1)
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง ได้แก่ ดับตัณหา(การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน)
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์



ตัณหาทิวาร
[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี
ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหาเป็นไฉน?
ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ
ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม
เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็นเหตุให้เกิด
ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา

ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหาอย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้.





"สีลวิสุทธิ"
ได้แก่ ความรู้ชัดใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กล่าวคือ การรู้ชัดในเรื่องของเหตุและปัจจัย

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

กล่าวโดยย่อ
เหตุมี ผลย่อมมี
เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

ทำให้รู้ว่า เพราะเหตุใด สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่ง ส่งผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
บางสิ่ง ไม่ส่งผลกระทบทางใจ(เฉยๆ)

สิ่งที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทางใจทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของ กรรม(การกระทำทางกาย วาจา ใจ) ที่กระทำไว้ในแต่ละขณะๆ
และการให้ผลของกรรม(จึงส่งผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด)
ส่งมาให้ได้รับผลในรูปแบบของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต


เมื่อรู้ชัดในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมมาทิฏฐิ มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ได้แก่ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

กล่าวคือ เชื่อในพระพุทธเจ้า และพระธรรมคำสอนที่ทรงตรัสสอนไว้ โดยไม่ต้องให้มีใครมาบอก
เชื่อในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม เพราะรู้ชัดด้วยตนเอง




เมื่อนำมากล่าวในแง่ของการนำมากระทำ
เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต


ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


1. ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ให้กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
โดยการไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
อดทน อดกลั้น กดข่มใจ ระงับ ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น


บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ย่อมไม่ด่าตอบ
เขาขึ้งโกรธ ย่อมไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง
เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าพอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้
นี้เรียกว่า การปฏิบัติอดทน ฯ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ


ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับรอง
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ... ย่อมไม่รับรอง
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ




2.กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย
จักษุนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

หู ...จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ
เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำพวกเราตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร

ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน
หรือเป็นของเนื่องด้วยตนของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย
ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ


[๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ
เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หาเป็นดั่งนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน
หรือเป็นของเนื่องด้วยตนของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ




*สิ่งที่มีเกิดขึ้นตามมา(ผล) ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ทุกอย่าง*


[อนิจจัง ไม่เที่ยง แปรปรวนตามเหตุและปัจจัย]

[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยง
จักษุอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็นของไม่เที่ยง
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจนั้นก็ไม่เที่ยง
ใจอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็ไม่เที่ยง
รูปอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า



[อนิจจานุปัสสนา รู้ชัดในความไม่เที่ยง ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ



[จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของตัณหาและอุปาทาน]
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ






[ทุกขัง เป็นทุกข์ เพราะถือมั่น]

[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์
จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็นทุกข์
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์
ใจอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

[๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์
รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์
ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า



[ทุกขานุปัสสนา รู้ชัดในความเป็นทุกข์ ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ



[จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของตัณหาและอุปาทาน]
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ






[อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ของเขา หรือของใคร บังคับบัญชาไม่ได้ เกิด-ดับ ตามเหตุและปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เหตุมี ผลย่อมมี เหตุไม่มี ผลจะมาจากไหน ที่ยังมีผลส่่งมาให้ได้รับอยู่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่]

[๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุก็เป็นอนัตตา
จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า

หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจเป็นอนัตตา
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า



[อนัตตานุปัสสนา รู้ชัดในอนัตตาที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ]
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา
แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นอนัตตา
รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุ ที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า



[จิตหลุดพ้นจากตัณหาและอุปาทาน]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ






หมายเหตุ;

"เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว"

"หลุดพ้นแล้ว" ได้แก่ จากการครอบงำของตัณหาและอุปาทาน

"ชาติสิ้นแล้ว" ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม ไม่มี

"พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว" ได้แก่ มรรค มีองค์ 8

"กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"
กิจในอริยสัจ ได้แก่ ความดับทุกข์ และการดับเหตุแห่งทุกข์






ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่, หกอย่าง เหล่าไหนเล่า ?
หกอย่าง คือ :-
เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม (สทฺธมฺมนิยโต) ;
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม (อปริหานธมฺโม) ;
ทุกข์ดับไปทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว;
เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น) ;

เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ ;
และเห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการ แห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 พ.ค. 2019, 11:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2019, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. นิพเพธิกสูตร

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ



ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม



ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม



ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ


คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม



ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น
เพราะความดับแห่งผัสสะ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวก
ย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ






เหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ(ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูก)

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.



ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย! (อีกอย่างหนึ่ง)เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไร ?

คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.


ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.







ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.


ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.


สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2019, 15:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ปฏิจจสมุปบาท ถ้านำมากล่าวเนื่องด้วยชีวิต

และขณะทำกาละ(ตาย)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี






๔. อนุราธสูตร

ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

[๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
ครั้งนั้นอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วจึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า
ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมไม่เกิดอีกอีกก็หามิได้ ๑.

เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.

เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุราธะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านพระอนุราธะ พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติในฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลาแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิดความคิดว่า
ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าว ตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๑๑] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นสัตว์บุคคลหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๒] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในรูปหรือ
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสัญญาหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๓] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๑๔] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึงความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑
อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์



หมายเหตุ;

ทุกข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5

ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพาน(ดับตัณหาและอวิชชา)






ตั้งแต่ที่คนทั่วๆไปเรียกว่า ป่วย

สำหรับเรา สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต(ป่วย) เป็นเรื่องของการละอุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้าย กล่าวคือ มรณะ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ

1. ขณิกมรณะ เช่น หัวใจเต้นสลับหยุดเต้น ที่เกิดจากหัวใจขาดเลือด อาการที่มีเกิดขึ้นชัดคือ หากหยุดเดิน 5 วินาที จะรู้สึกวูบ เหมือนคนจะเป็นลม บ้างครั้งมีอาการหน้ามืด เกิดระยะสั้นๆ ประมาณ 10-20 นาที

หากหยุดเดิน 8 วินาที สลับหัวใจเต้นเร็ว จะรู้สึกวูบ มีอาการเหมือนจะขาดใจ(หายใจไม่ออก) เกิดระยะสั้นๆ ประมาณ 10-20 นาที

กว่าจะรู้ว่าอาการที่เราเรียกว่า วูบๆ เกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ(เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ) ที่ยังมีเป็นอยู่ แต่เกิดน้อยลง ต่างกับเมื่อก่อน จะตายเนืองๆ(หายใจไม่ออก) ทรมาณมาก

ใจสั่น ในความหมายแพทย์ หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ

สมาธิช่วยทำให้ไม่ทรมาณมาก เช่น เมื่อเกิดใจไม่ดี แล้วเริ่มวูบ หายใจไม่ออก จะหยุดทุกสิ่งที่ทำอยู่ จะนั่ง 90 องศา(หัวสูง) ขาเหยียดยาว รู้ตามความเป็นจริง แปบเดียวจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สำหรับผู้ที่มีสภาวะรู้ชัดรูป,นาม ตามความเป็นจริง จะไม่ต้องตั้งใจทำสมาธิ ไม่มีความพยายามทำให้จิตตั้งเป็นสมาธิ ขณะรู้อยู่ว่า หายใจไม่ออก ก็แค่รู้ว่ามีสภาวะเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง จิตตั้งเป็นสมาธิเป็นอัตโนมัติ แล้วเข้าสู่ความว่าง(กายหาย) สลับมารู้ที่กาย เกิด-ดับ จนกระทั่งรู้ว่า อาการวูบและใจสั่นหายไป จึงกลับมาทำงานปกติ เท่าที่สังเกตุมา จิตจะเป็นสมาธิประมาณ 1 ชม.



2. สมมติมรณะ หมายถึง ที่เรียกว่า มรณะ/ตาย จะตายด้วยเหตุปัจจัยก็ตาม ที่ชื่อว่า สมมุติมรณะ คนทั่วๆไป ที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5



3. สมุจเฉทมรณะ ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะขณะเกิดมรรค ผล (อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ) ได้แก่

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

อนาคามิมรรค อนาคามิผล

อรหันตมรรค อรหันตผล



เพิ่มเติมรายละเอียดสภาวะมรณะ

ที่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อนิพพาน(ดับภพ)

โดยพระสูตร ๔. อนุราธสูตร ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร