วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรต : ทรัพย์สิ่งใด มีอยู่ในเรือน ทรัพย์นั้น ของเราทั้งสอง
มีอยู่เท่า ๆ กัน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ แต่ฉันไม่ได้ทำที่พึ่ง
แก่ตน ฉันเป็นคนยากจน เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น
ครั้งนั้น ท่านได้ว่ากล่าวตักเตือนฉัน ห้ามไม่ให้ทำ
กรรมชั่วว่า ท่านจักไม่ได้สุคติเพราะกรรมชั่ว.

ติสสา : ท่านไม่เชื่อถือเรา เพราะริษยาเรา ขอท่านจงดูวิบาก
แห่งกรรมชั่วเช่นนี้ เมื่อก่อนนางทาสี และเครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลาย ได้มีแล้วในเรือนของท่าน แต่เดี๋ยวนี้
ทาสีเหล่านั้น พากันห้อมล้อมคนอื่น โภคะทั้งหลาย
ก็ไม่มีแก่ท่านแน่แท้ บัดนี้กฎุมพีผู้เป็นบิดาของบุตร
เรา ยังไปตลาดอยู่ ท่านอย่าเพิ่งไปจากที่นี่เสียก่อน
บางทีเขาจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง.

นางเปรต : ฉันเป็นผู้เปลือยกายมีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น การเปลือยกายและมีรูปร่าง
น่าเกลียด เป็นต้นนี้ เป็นการทำความละอาย ของหญิง
ทั้งหลายให้กำเริบ ขออย่าให้ท่านกฎุมพีได้เห็นฉันเลย.

ติสสา : ถ้าอย่างนั้น ฉันจะให้สิ่งไรหรือทำบุญอะไร ให้แก่
ท่าน ท่านจึงจะได้ความสุขสำเร็จความปรารถนา
ทั้งปวงได้.

นางเปรต : ขอท่านจงนิมนต์ภิกษุจากสงฆ์มา ๔ รูป จากบุคคล
๔ รูป รวมเป็น ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร แล้วอุทิศส่วน
บุญให้ฉัน เมื่อทำอย่างนั้น ฉันจึงจะได้ความสุข สำเร็จ
ความปรารถนาทั้งปวงได้. นางติสสารับคำแล้ว
นิมนต์ภิกษุ ๘ รูป ให้ฉันภัตตาหาร ให้ครองไตรจีวร
แล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้นางเปรต ในทันตาเห็นนั่น

เอง วิบาก คือ ข้าว น้ำ และเครื่องนุ่งห่ม ได้เกิดขึ้น
นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ในขณะนั้นเอง นางเปรตมี
ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้า
แคว้นกาสี ประดับด้วยผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร เข้า
ไปหานางติสสา ผู้เป็นหญิงร่วมสามี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ติสสา : ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่อง
สว่างไสวไปทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ท่าน
มีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลสำเร็จ
แก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เพราะกรรมอะไร ดูก่อน นางเทพธิดา ผู้มี
อานุภาพมาก ฉันขอถามท่าน เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์
ได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และ
มีรัศมีอันสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร.

เทพธิดา : เมื่อก่อนฉันชื่อมัตตา ท่านชื่อ ติสสา เป็นหญิงร่วม
สามีกับท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจากมนุษยโลกนี้
ไปยังเปตโลก.
ฉันอนุโมทนาทานที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน
คุณพี่ ขอท่านพร้อมด้วยญาติทุกคน จงมีอายุยืนนาน
คุณพี่ ผู้งดงาม

ท่านจงประพฤติธรรมและให้ทานในโลกนี้แล้ว จัก
เข้าถึงฐานะอันไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี อันเป็นที่
อยู่แห่งท้าววสวัตตี ท่านกำจัดมลทินคือความตระหนี่
พร้อมทั้งราก อันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้ จะเข้าถึงโลก
สวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพํ อหมฺปิ ชานามิ ยถา ตฺวํ
จณฺฑิกา อหุ ความว่า คำที่ท่านกล่าว เราเป็นผู้ดุร้ายและมีวาจา
หยาบทั้งหมดนั้น แม้ข้าพเจ้าก็รู้ว่าท่านเป็นผู้ร้าย มักโกรธมีวาจา
หยาบ มักริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด. บทว่า อฺญฺจ โข ตํ
ปุจฺฉามิ ความว่า บัดนี้ เราขอถามท่านสักอย่างหนึ่งอีก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เกนาสิ ปํสุกุนฺถิตา ความว่า ท่านเป็นผู้เปื้อนด้วยหยากเยื่อ
และฝุ่น เป็นผู้มีร่างกายเกลื่อนกล่นโดยประการทั้งปวง เพราะ
กรรมอะไร.
บทว่า สีสํ นฺหาตา แปลว่า ท่านสระผมแล้ว. บทว่า
อธิมตฺตํ แปลว่า มีประมาณยิ่งกว่า. บทว่า สมลงฺกตตรา แปลว่า
ประดับด้วยดี คือดียิ่ง. บาลีว่า อธิมตฺตา ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า
เป็นผู้เมา คือ เป็นผู้เมาด้วยมานะอย่างยิ่ง คืออาศัยมานะ. บทว่า
ตยา แปลว่า อันนางผู้เจริญ. บทว่า สามิเกน สมนฺตยิ ความว่า
ท่านกล่าวเจรจาปราศัยกับสามี.

บทว่า ขชฺชสิ กจฺฉุยา ความว่า ท่านถูกโรคหิดกัด คือ
เบียดเบียน. บทว่า เภสชฺชหารี แปลว่า ผู้หายา คือ ผู้นำโอสถ
มา. บทว่า อุภโย แปลว่า ทั้งสองคน, อธิบายว่า ท่านกับเรา.
บทว่า วนนฺตํ แปลว่าสู่ป่า. บทว่า ตฺวญฺจ เภสชฺชมาหริ ความว่า
ส่วนท่านหายาที่นำอุปการะมาแก่ตน ตามที่หมอบอกให้. บทว่า

อหญฺจ กปิกจฺฉุโน ความว่า แต่ฉันได้นำเอาผลหมามุ่ย คือผลไม้
ที่มีผัสสะชั่วมาให้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เครือเถาที่เป็นเอง
ท่านเรียกว่า กปิกจฺฉุ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงนำเอาใบและผลของ
เครือเถาที่เป็นเองมา. บทว่า เสยฺยํ ตฺยาหํ สโมกิรึ ความว่า ดิฉัน
เอาผลและใบหมามุ่ยโปรยรอบที่นอนท่าน.

บทว่า สหายานํ แปลว่า มิตร. บทว่า สมโย แปลว่า การ
ประชุม. บทว่า าตีนํ ได้แก่ พวกพ้อง. บทว่า สมิติ แปลว่า
การประชุม. บทว่า อามนฺติตา ความว่า ท่านอันดิฉันเชิญโดย
การกระทำมงคล. บทว่า สสามินี ความว่า หญิงผู้ร่วมสามี คือ
ผู้ร่วมผัว. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า โน จ โขหํ ความว่า
ส่วนเราเขามิได้เชื้อเชิญเลย. บทว่า ทุสฺสํ ตฺยาหํ ตัดเป็น ทุสฺสํ เต
อหํ. บทว่า อปานุทึ ได้แก่ ดิฉันได้ลัก คือ ได้ถือเอาโดยอาการ
ขโมย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ปจฺจคฺฆํ ได้แก่ ใหม่เอี่ยม. หรือมีค่ามาก. บทว่า
อตาเรสึ ได้แก่ ทิ้งไป. บทว่า คูถคนฺธินี ได้แก่ ผู้มีกลิ่นเหมือน
กลิ่นคูถ คือ ฟุ้งไปด้วยกลิ่นอุจจาระ.
บทว่า ยํ เคเห วิชฺชเต ธนํ ความว่า เราทั้งสอง คือ ท่านและ
ดิฉัน มีทรัพย์ที่เกิดขึ้นในเรือนเสมอกัน คือ เท่ากันทีเดียว. บทว่า
สนฺเตสุ แปลว่า มีอยู่. บทว่า ทีปํ ได้แก่ ที่พึ่ง. ท่านกล่าวหมายเอา
บุญกรรม.

นางเปรตนั้นครั้นบอกเนื้อความที่นางติสสาถามอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะประกาศความผิดที่ตนไม่กระทำตามคำของนางติสสานั้น
ในกาลก่อนกระทำอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ในเวลานั้นนั่นเอง
ท่านได้กล่าวสอนเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเทว แปลว่า ในกาลนั้นนั่นแหละ
คือ ในเวลาที่เราตั้งอยู่ในอัตภาพมนุษย์นั่นเอง. บาลีว่า ตเถว ดังนี้
ก็มี, อธิบายว่า กรรมที่เกิดขึ้นในบัดนี้ ฉันใด กรรมนั้นก็เป็น
อย่างนั้นเหมือนกัน. นางเปรตแสดงอ้างถึงตนว่า มํ. บทว่า ตฺวํ
ได้แก่ ซึ่งนางติสสา. บทว่า อวจ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. ก็เพื่อจะ
แสดงถึงอาการที่นางติสสากล่าว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ปาปกมฺมํ

กรรมชั่ว. บาลีว่า ปาปกมฺมานิ ดังนี้ก็มี. นางเปรตกล่าวว่า ท่าน
กระทำกรรมชั่วอย่างเดียว แต่ท่านไม่ได้สุคติด้วยดี เพราะกรรมชั่ว
โดยที่แท้ ได้แต่สุคติเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านได้กล่าว คือโอวาท
เราในกาลก่อน โดยอาการใด กรรมนั้นก็ย่อมมีโดยอาการนั้น
เหมือนกัน.

นางติสสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๓ คาถา โดยนัยมี
อาทิว่า วามโต มํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ท่านไม่เชื่อถือเรา ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า วามโต มํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ความว่า ท่านเชื่อเรา
โดยอาการผิดตรงกันข้าม คือ ท่านยึดถือเราแม้ผู้แสวงหาประโยชน์

แก่ท่าน ก็ทำให้เป็นข้าศึก. บทว่า มํ อุสูยสิ แปลว่า ท่านริษยาเรา
คือ ทำความริษยาเรา. ด้วยบทว่า ปสฺส ปาปานํ กมฺมานํ วิปาโก
โหติ ยาทิโส นี้ นางเปรตแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของกรรมชั่ว
ที่ร้ายกาจมากนั้น โดยประจักษ์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เต อฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า ทาสีในเรือนของ
ท่าน และเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ที่ท่านหวงแหนไว้ในกาลก่อน บัดนี้
บำเรอคนอื่น คือ คนอื่นใช้สอย. จริงอยู่ บทว่า อิเม นี้ ท่านกล่าว
โดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น โภคา โหนฺติ สสฺสตา ความว่า
ธรรมดาว่าโภคะเหล่านี้ ไม่แน่นอน คือไม่ยั่งยืนเป็นของชั่วกาล
มีอันจะต้องละทิ้งไป อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำความริษยา
และความตระหนี่เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่โภคะนั้น.

บทว่า อิทานิ ภูตสฺส ปิตา ความว่า บัดนี้ กฎุมพีผู้เป็นบิดา
ของเจ้า ภูตะผู้เป็นบุตรของเรา. บทว่า อาปณา ความว่า เขาจักมา
คือจักกลับจากตลาดมายังเรือน. บทว่า อปฺเปว เต ทเท กิญฺจิ
ความว่า กฎุมพีมาถึงเรือนแล้วคงจะให้ไทยธรรมบางอย่าง อันควร
ที่จะให้แก่ท่านบ้าง. บทว่า มา สุ ตาว อิโต อคา ความว่า นางติสสา
เมื่อจะอนุเคราะห์นางเปรตนั้นจึงกล่าวว่า อันดับแรก ท่านอย่าได้
ไปจากนี้ คือจากที่ดินหลังเรือนนี้.

นางเปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน จึง
กล่าวคาถามีอาทิว่า ดิฉันเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกปีนเมตํ อิตฺถีนํ ความว่า ความเป็น
คนเปลือยกายและมีรูปร่างน่าเกลียดเป็นต้นนี้ เป็นของน่าละอาย

คือ ควรจะปกปิดสำหรับหญิงทั้งหลาย เพราะเป็นอวัยวะควรจะต้อง
ปกปิด. บทว่า มา มํ ภูตปิตาทฺทส ความว่า นางเปรตละอายพลาง
กล่าวว่า เพราะฉะนั้น กฎุมพีผู้เป็นบิดาของเจ้าภูตะ อย่าได้พบ
ดิฉันเลย.

นางติสสา ครั้นได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสงสารกล่าวคาถา
ว่า เอาเถอะ เราจะให้อะไรแก่ท่านสักอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิปาต ใช้ในอรรถว่า ตักเตือน. บทว่า กึ วา
ตฺยาหํ ทมฺมิ ความว่า เราจะให้อะไรแก่ท่าน คือ จะให้ผ้าหรือ
อาหาร. บทว่า กึ วา เตธ กโรมหํ ความว่า เราจะทำอุปการะอะไร
แก่ท่านสักอย่าง ในที่นี้ คือในเวลานี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า จตฺตาโร ภิกฺขู
สงฺฆโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร ภิกฺขู สงฺฆโต
จตฺตาโร ปน ปุคฺคเล ความว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป บริโภคตาม
ความพอใจ อย่างนี้คือ จากภิกษุสงฆ์ คือ จากสงฆ์ ๔ รูป จาก
บุคคล ๔ รูป ดังนี้แล้วอุทิศส่วนบุญนั้นแก่เรา คือ จงให้ปัตติทาน
แก่เราเถิด. บทว่า ตทาหํ สุขิตา เหสฺสํ ความว่า ในเวลาที่ท่าน
อุทิศส่วนบุญแก่เรา เราได้รับความสุข คือถึงความสุขแล้ว จัก
เป็นผู้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง.

นางติสสา ครั้นได้ฟังดังนั้น จึงได้แจ้งความนั้น แก่สามี
ของตน ในวันที่ ๒ จึงให้ภิกษุ ๘ รูป ฉันแล้ว อุทิศส่วนบุญแก่
นางเปรต, ทันใดนั้นเอง นางเปรตก็ได้รับทิพยสมบัติ จึงกลับไป
หานางติสสา. เพื่อจะแสดงความนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
จึงได้ตั้ง ๓ คาถามีอาทิว่า นางรับคำแล้ว.

ฝ่ายนางติสสา ได้สอบถามนางเปรตผู้เข้าไปยืนอยู่แล้ว
ด้วย ๓ คาถา มีอาทิว่า มีวรรณะงามยิ่งนัก. ฝ่ายนางเปรต จึงแจ้ง
เรื่องของตนด้วยคาถาว่า เราชื่อมัตตา แล้วได้ให้อนุโมทนาแก่
นางติสสา ด้วยคาถาเป็นต้นว่า ขอท่านจงมีอายุยืนเถิด ดังนี้แล้ว
ได้ให้โอวาท ด้วยคาถาว่า จงประพฤติธรรมในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ทานที่ท่านให้แล้ว.
บทว่า อโสกํ วิรชํ €านํ ความว่า ชื่อว่า อโสกะ เพราะไม่มีความ
เศร้าโศก อนึ่ง ฐานะอันเป็นทิพย์ ชื่อว่า วีรชะ เพราะไม่มีธุลี คือ
เหงื่อไคล ทั้งหมดนั้น นางเทพธิดา กล่าวหมายเอาเทวโลก. บทว่า

อาวาสํ ได้แก่สถานที่. บทว่า วสวตฺตินํ ได้แก่ เทพทั้งหลายผู้
แผ่อำนาจของตน โดยความเป็นอธิบดี อันเป็นทิพย์. บทว่า สมูลํ
ได้แก่ เป็นไปกับด้วยโลภะและโทสะ. จริงอยู่ โลภะและโทสะ ชื่อว่า
เป็นมูลของความตระหนี่. บทว่า อนินฺทิตา ได้แก่ใคร ๆ ไม่ติเตียน
คือ ควรสรรเสริญ. บทว่า สคฺคมุเปหิ €านํ ความว่า จงดำรงฐานะ

อันเป็นทิพย์ อันได้นามว่า สัคคะ เพราะเลิศด้วยดี ด้วยอารมณ์
ทั้งหลายมีรูป เป็นต้น, อธิบายว่า มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น นางติสสา บอกเรื่องราวนั้นแก่กฎุมพี. กฎุมพี
จึงได้เรียนแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล แด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น
อัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.
มหาชนได้ฟังธรรมนั้น กลับได้ความสลดใจ จึงกำจัดมลทินมีความ
ตระหนี่เป็นต้น เป็นผู้ยินดีในทานและศีลเป็นต้น มีสุคติเป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามัตตาเปติวัตถุที่ ๓

อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ ๔
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตชื่อว่า นันทา จึงตรัสคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กาฬี ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก ยัง
มีอุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่า นันทิเสน เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส.
ส่วนภริยาของเขา ชื่อว่า นันทา ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
เป็นคนตระหนี่ ดุร้าย กล่าววาจาหยาบ ไม่เคารพยำเกรงสามี
ด่าบริภาษแม่ผัว ด้วยวาจาว่าเป็นโจร. สมัยต่อมานางนันทานั้น

ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในกำเนิดเปรต แสดงตนในที่ไม่ไกลหมู่บ้าน
นั้นนั่นเอง. นันทิเสนอุบาสกเห็นนางนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
ท่านมีผิวพรรณดำ มีรูปร่างน่าเกลียด ตัว
ขรุขระดูน่ากลัว มีตาเหลือง มีเขี้ยวงอกออก

เหมือนหมู เราไม่เข้าใจว่า ท่านจะเป็นมนุษย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬี แปลว่า มีสีดำ. จริงอยู่
วรรณะของนางเปรตนั้น เป็นเสมือนถ่านที่ถูกเผาแล้ว. บทว่า
ผรุสา ได้แก่ มีตัวขรุขระ. บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า ดูน่าสะพึงกลัว
คือ มีอาการน่ากลัว. บาลีว่า ภารุทสฺสนา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า

เห็นเข้าน่ากลัวอย่างหนัก คือ ไม่น่าดู เพราะมีผิวพรรณน่าเกลียด
เป็นต้น. บทว่า ปิงฺคลา แปลว่า ผู้มีนัยน์ตาเหลือง. บทว่า กฬารา
ผู้มีเขี้ยวเหมือนหมู. บทว่า น ตํ มฺามิ มานุสึ ความว่า เราไม่
สำคัญท่านว่าเป็นมนุษย์ แต่เราสำคัญท่านว่า เป็นนางเปรต.
นางเปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศตนจึงกล่าวคาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านนันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา
เป็นภรรยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจาก
มนุษยโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อหํ นนฺทา นนฺทิเสน ความว่า
พี่นันทิเสนขา ดิฉันชื่อว่า นันทา. บทว่า ภริยา เต ปุเร อหุํ ความว่า
ในชาติก่อน ดิฉันได้เป็นภรรยาของพี่. เบื้องหน้าแต่นี้ไป อุบาสก
นั้นจึงถามว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึงจาก
มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ลำดับนั้นนางเปรต จึงได้ตอบกะนันทิเสนอุบาสกว่า
ดิฉัน เป็นหญิงดุร้าย มีวาจาหยาบคาย ไม่
เคารพพี่ กล่าวคำชั่วหยาบกะพี่ จึงจากมนุษยโลก
นี้ ไปสู่เปตโลก.

นันทิเสนอุบาสก จึงถามอีกว่า :-
เอาเถอะ เราจะให้ผ้านุ่งแก่เจ้า เจ้าจงนุ่งผ้า
นี้ ครั้นนุ่งผ้านี้แล้ว จงมา ฉันจะนำเจ้าไปสู่เรือน
เจ้าไปเรือนแล้ว จักได้ผ้า ข้าว และน้ำ ทั้งจักได้
ชมบุตรและลูกสะใภ้ของเธออีกด้วย.
ลำดับนั้น นางเปรตจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา แก่นันทิเสน
อุบาสกนั้นว่า :-

ผ้านั้น ถึงพี่จะให้ที่มือของฉัน ด้วยมือ
ของพี่เอง ก็ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ฉันได้ ขอพี่
จงเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้
ปราศจากราคะ ผู้เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว
และน้ำ แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ดิฉัน เมื่อท่านทำ
อย่างนั้น ดิฉันจักมีความสุข สำเร็จความปรารถนา
ทั้งปวง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระสังคีติกาจารย์ กล่าว ๔ คาถานี้ว่า :-
นันทิเสนอุบาสก รับคำแล้ว ได้ให้ทาน
เป็นอันมาก คือข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และ
เสนาสนะ ร่ม ของหอม ดอกไม้ และรองเท้า
หลากชนิด เลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีล ปราศจากราคะเป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว

และน้ำแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางในทันตาเห็น
วิบาก คือข้าว เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ก็เกิดขึ้น
นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้น นางเปรตมี
ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอย่างดี มีค่ายิ่ง
กว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร
เข้าไปหาสามี.

ต่อแต่นั้น เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างอุบาสกกับนางเปรต
ว่า :-
ดูก่อน เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก
ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกาย
พรึก ท่านมีวรรณะงดงามเช่นนี้ เพราะกรรม
อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ
กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่
พอใจ เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูก่อน

เทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน เมื่อ
เป็นมนุษย์ ท่านทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพ
รุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้

พี่นันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา
เป็นภริยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วช้า จึงจาก
มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ดิฉันได้อนุโมทนา
ทานที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ดูก่อน
คฤหบดี ขอท่านพร้อมด้วยญาติทั้งปวง จงมีอายุ
ยืนนานเถิด ดูก่อนคฤหบดี ท่านประพฤติธรรม

และให้ทานในโลกนี้แล้ว จะเข้าถึงถิ่นฐานอันไม่
เศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดภัย อันเป็นที่อยู่
ของท้าววสวัตตี กำจัดมลทินคือความตระหนี่
พร้อมทั้งราก ใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึง
โลกสวรรค์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํ วิปุลมากิริ ความว่า ท่าน
พึงยังมหาทานให้เป็นไป ในเขตแห่งพระทักขิไณยบุคคล เหมือน
หว่านพืชคือไทยธรรม. คำที่เหลือ เหมือนเรื่องที่ถัดกันมานั่นแล.

นางเทพธิดานั้น ครั้นประกาศทิพยสมบัติของตน และเหตุแห่ง
ทิพยสมบัตินั้น แก่นันทิเสนอุบาสกอย่างนี้แล้ว จึงได้ไปยังสถานที่
อยู่ของตนตามเดิม. อุบาสกแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงกราบทูล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ ๔

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต
มฏฺ€กุณฺฑลี ดังนี้. ข้อที่จะพึงกล่าวในเรื่องมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่าน
ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มัฏฐกุณฑลีวิมานวัตถุ ในอรรถกถา
วิมานวัตถุ ชื่อ ปรมัตถทีปนี เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว
ไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุนั้นนั่นแหละ.

ก็ในที่นี้ เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านยกขึ้นรวบรวมไว้ใน
บาลีวิมานวัตถุ เพราะมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเป็นเทวดาในวิมานก็จริง
ถึงกระนั้น เพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น เพื่อจะกำจัดความเศร้าโศกของ
อทินนปุพพกะพราหมณ์ ผู้ไปป่าช้า เดินเวียนรอบป่าช้าร้องไห้
เพราะความเศร้าโศกถึงบุตร จึงแปลงรูปเทวดาของตน เป็นคน

มีร่างกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง ประคองแขนทั้ง ๒ คร่ำครวญ
อยู่ แสดงตนโดยอาการที่ถูกทุกข์ครอบงำ เหมือนเปรต. แม้จะ
เป็นเปรตโดยอ้อม ก็ย่อมได้ เพราะปราศจากอัตตภาพมนุษย์ ดังนั้น
พึงเห็นว่า เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านจึงยกขึ้นรวบรวมไว้ใน
บาลีเปตวัตถุ.
จบ อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากัณหเปตวัตถุที่ ๖
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภอุบาสกคนหนึ่งลูกตาย จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อุฏฺเ€หิ กณฺห กึ เสสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี ยังมีบุตรของอุบาสกคนหนึ่ง
ทำกาละแล้ว. อุบาสกนั้น เพียบพร้อมไปด้วยลูกศรคือ ความ
เศร้าโศก เพราะการตายของลูกนั้น ไม่อาบน้ำ ไม่กินข้าว ไม่
จัดแจงการงาน ไม่ไปยังที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า บ่นเพ้ออย่างเดียว
พลางกล่าวว่า พ่อ เป็นลูกที่รัก เจ้า ละทิ้งพ่อไปไหนเสียก่อน.

ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติผล ของอุบาสกนั้น รุ่งขึ้นแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว
จึงทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป ส่วนพระองค์มีพระอานนทเถระเป็น
ปัจฉาสมณะ ได้เสด็จไปยังประตูเรือนของอุบาสกนั้น. คนทั้งหลาย

จึงได้แจ้งแก่อุบาสกว่า พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว. ลำดับนั้น
คนในเรือนของอุบาสกนั้น จึงพากันตบแต่งเสนาสนะที่ประตู
เรือน แล้วนิมนต์พระศาสดาให้ประทับนั่ง ประคองอุบาสกพาเข้า
ไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดาทรงเห็นเธอนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

จึงตรัสถามว่า อุบาสก ท่านเสียใจอะไรหรือ? เมื่ออุบาสกกราบทูล
ให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า อุบาสก โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย ฟัง
ถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว ไม่เศร้าโศกถึงบุตรที่ตายไป
ดังนี้แล้ว อันอุบาสกนั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า :-

ในอดีตกาล ในกรุงทวารวดี มีพระราชาพี่น้องกัน ๑๐ คน
คือ พระเจ้าวาสุเทพ พลเทพ จันทเทพ สุริยเทพ อัคคิเทพ
วรุณเทพ อัชชุนเทพ ปัชชุนเทพ ฆฏบัณฑิตเทพ และอังกุรเทพ.
ในเจ้าเหล่านั้น โอรสผู้เป็นที่รักของวาสุเทพมหาราช ได้ทิวงคตลง.
เพราะเหตุนั้น พระราชา จึงถูกความเศร้าโศกครอบงำ ทรงละ
พระราชกรณียกิจทุกอย่าง ยึดแม่แคร่เตียง ทรงบรรทมบ่นเพ้อไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในเวลานั้น ฆฏบัณฑิตเทพ ทรงพระดำริว่า เว้นเราเสียคนอื่น
ใครเล่า ที่ชื่อว่า สามารถจะหลีกเลี่ยงความเศร้าโศกพี่ชายเรา
ย่อมไม่มี เราจะขจัดความเศร้าโศกของพี่ชายเราด้วยอุบาย. ท่าน
ฆฏบัณฑิต จึงแปลงเพศเป็นคนบ้า แหงนดูอากาศ เที่ยวไปทั่ว
พระนครพลางกล่าวว่า ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ท่านจงให้กระต่าย
แก่เราเถิด. ชาวพระนครทั้งสิ้น พากันแตกตื่นว่า ฆฏบัณฑิตเป็นบ้า
เสียแล้ว.

เวลานั้น อำมาตย์ชื่อว่า โรหิไณยไปเฝ้าพระเจ้าวาสุเทพ
เมื่อจะสั่งสนทนากับพระเจ้าวาสุเทพ จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ขอพระองค์
จงลุกขึ้นเถิด จักมัวบรรทมอยู่ทำไม จะมีประ-
โยชน์อะไรแก่พระองค์ ด้วยการบรรทมอยู่เล่า
ข้าแต่พระเกสวะ บัดนี้ พระภาดาร่วมอุทรของ
พระองค์ผู้เป็นดุจพระทัย และนัยน์เนตรเบื้องขวา
ของพระองค์ มีลมกำเริบคลั่งเพ้อถึงกระต่าย.

บรรดาบทเหล่านั้น อำมาตย์เรียกพระเจ้าวาสุเทพ โดย
พระโคตรว่า กัณหะ. บทว่า โก อตฺโถ สุปเนน เต ได้แก่ ความ
เจริญอะไร จะมีแก่พระองค์ด้วยการบรรทม. บทว่า สโก ภาตา
ได้แก่ พระภาดาร่วมอุทร. บทว่า หทยํ จกฺขุ จ ทกฺขิณํ ความว่า
เสมือนกับดวงหทัย และพระเนตรเบื้องขวา. บทว่า ตสฺส วาตา

พลียนฺติ ความว่า ลมบ้าหมู เกิดแก่พระภาดาร่ำไป มีกำลังแรง
กำเริบ ครอบงำ. บทว่า สสํ ชปฺปติ ความว่า บ่นเพ้อว่า จงให้
กระต่ายแก่เราเถิด. ด้วยบทว่า เกสวะ ได้ยินว่า ฆฏบัณฑิตนั้น
เขาเรียกว่า เกสวะ เพราะมีผมงาม เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียก
พระองค์โดยพระนาม.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2019, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงความที่พระเจ้าวาสุเทพ ได้
สดับคำของอำมาตย์นั้นแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทม พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง จึงตรัสคาถานี้ว่า :-
พระเจ้าเกสวะ ได้สดับคำของโรหิไณย-
อำมาตย์นั้นแล้ว ผู้ถูกความเศร้าโศกถึงพระภาดา
ครอบงำ ก็รีบเสด็จลุกขึ้นทันที.

พระราชา เสด็จลุกขึ้นแล้ว รีบลงจากปราสาท แล้วเสด็จไป
หาฆฏบัณฑิต จับมือทั้ง ๒ ของฆฏบัณฑิตไว้มั่น เมื่อจะเจรจากับ
ท่าน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
เหตุไรหนอ เธอจึงทำตัวเหมือนคนบ้า
เที่ยวไปทั่วนครทวารกะนี้ บ่นเพ้อว่า กระต่าย
กระต่าย เธอปรารถนากระต่ายเช่นไร ฉันจะให้
นายช่างทำกระต่ายทองคำ กระต่ายแก้วมณี กระ
ต่ายโลหะ กระต่ายเงิน กระต่ายสังข์ กระต่าย
สิลา กระต่ายแก้วประพาฬ ให้แก่เธอ หรือกระ-
ต่ายอื่นที่เที่ยวหากินอยู่ในป่าก็มีอยู่ ฉันจะให้เขา
นำกระต่ายเหล่านั้นมาให้แก่เธอ เธอปรารถนา
กระต่ายเช่นไรเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมตฺตรูโปว แปลว่าเป็นเหมือน
คนบ้า. บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า ทฺวารกํ ได้แก่เที่ยวไป
ตลอดทวารวดีนคร. บทว่า สโส สโสติ ลปสิ ความว่า บ่นเพ้อว่า
กระต่าย กระต่าย. บทว่า โสวณฺณมยํ แปลว่า สำเร็จด้วยทองคำ.

บทว่า โลหมยํ แปลว่า สำเร็จด้วยโลหะทองแดง. บทว่า รูปิยมยํ
แปลว่า สำเร็จด้วยเงิน. ท่านปรารถนาสิ่งใด ก็จงบอกมาเถอะ.
เมื่อเป็นเช่นนั้นเธอเศร้าโศก เพราะอะไร. พระเจ้าวาสุเทพเชื้อเชิญ
ฆฏบัณฑิตด้วยกระต่ายว่า กระต่ายแม้เหล่าอื่น ที่เที่ยวหากินอยู่

ในป่าก็มีอยู่ในป่า เราจักนำกระต่ายนั้นมาให้แก่เธอ เจ้า ผู้มีหน้า
อันเจริญ เธอปรารถนากระต่ายเช่นไร ก็จงบอกมาเถอะ ดังนี้
ด้วยความประสงค์ว่าฆฏบัณฑิต ต้องการกระต่าย. ฆฏบัณฑิต
ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าพระองค์ ไม่ปรารถนากระต่ายที่อาศัย
อยู่บนแผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจาก
ดวงจันทร์ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์โปรด
นำกระต่ายนั้นมาประทานแก่ข้าพระองค์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอหร แปลว่า โปรดให้นำลงมา.
พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นจึงถึงความโทมนัสว่า พระภาดา
ของเราเป็นบ้าเสียแล้ว โดยมิต้องสงสัย จึงตรัสคาถาว่า :-

ดูก่อน พระญาติ เธอจักละชีวิตอันสดชื่น
ไปเสียเป็นแน่ เพราะเธอปรารถนากระต่ายจาก
ดวงจันทร์ ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา.
พระเจ้าเกสวะตรัสเรียกน้องชายว่า ญาติ ในพระคาถานั้น.
ในพระคาถานี้มีอธิบายดังนี้ว่า :- ญาติกันเป็นที่รักของเราผู้
ปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เห็นจะละชีวิตอันน่ารื่นรมย์ยิ่ง
ของตนเสียเป็นแน่.

ฆฏบัณฑิตได้ฟังพระดำรัสของพระราชาก็ได้ยืนนิ่งเสีย เมื่อ
จะแสดงความนี้ว่า ข้าแต่พี่ชาย พระองค์เมื่อรู้ว่า หม่อมฉันปรารถนา
กระต่ายจากดวงจันทร์ ครั้นไม่ได้กระต่ายนั้น จักสิ้นชีวิต เพราะ
เหตุไร พระองค์ไม่ได้โอรสที่ตายไปแล้วจึงเศร้าโศกถึง จึงกล่าว
คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหโคตร ถ้าพระองค์
ทรงพร่ำสอนผู้อื่นอย่างที่ทรงทราบไซร้ เพราะ
เหตุไร แม้ทุกวันนี้พระองค์ก็ยังทรงเศร้าโศก
ถึงบุตรที่ตายแล้ว ในกาลก่อนเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เจ กณฺห ชานาสิ ความว่า
ข้าแต่ท้าวกัณหมหาราชผู้พี่ชาย ผิว่า พระองค์ทรงทราบอย่างนี้ว่า
ชื่อว่า วัตถุที่ไม่พึงได้ ก็ไม่พึงปรารถนา. บทว่า ยถฺํ ความว่า
ท่านพอรู้อย่างนี้ อย่าได้กระทำโดยประการที่ท่านพร่ำสอนผู้อื่น.
บทว่า กสฺมา ปุเร มตํ ปุตฺตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร
แม้ในวันนี้ ท่านก็ยังเศร้าโศกถึงบุตรที่ตายไป ในที่สุด ๔ เดือน
แต่เดือนนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฆฏบัณฑิต ยืนอยู่ที่ระหว่างถนนอย่างนั้นแล ทูลว่า อันดับแรก
หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่ปรากฏอยู่อย่างนี้ ส่วนพระองค์เศร้าโศก
เพื่อต้องการสิ่งที่ไม่ปรากฏ เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึง
กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ก็มนุษย์ หรืออมนุษย์ ไม่พึงได้ตาม
ปรารถนาว่า ขอบุตรของเราที่เกิดมาจงอย่าตาย
เลย พระองค์จะพึงได้โอรสที่ทิวงคตแล้ว ที่ไม่
ควรได้แต่ที่ไหน. ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหะโคตร
พระองค์ทรงกันแสงถึงโอรสที่ทิวงคตแล้ว ซึ่ง
ไม่สามารถจะนำคืนมาด้วยมนต์ รากยา โอสถ
หรือทรัพย์ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ความว่า ดูก่อนพี่ชาย มนุษย์
หรือว่า เทวดา ไม่พึงได้ คือไม่อาจได้ตามที่พระองค์ปรารถนาว่า
ขอบุตรของเรา ผู้เกิดมาอย่างนี้แล้ว อย่าตายไปเลย. อธิบายว่า ก็
ความปรารถนานั้น ท่านจะได้แต่ที่ไหน คือ ท่านอาจจะได้ด้วย
เหตุไร เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรได้นี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควร
จะได้.

บทว่า มนฺตา แปลว่า ด้วยการประกอบมนต์. บทว่า
มูลเภสชฺชา แปลว่า ด้วยรากยา. บทว่า โอสเธหิ ได้แก่ โอสถ
นานาชนิด. บทว่า ธเนน วา ได้แก่ แม้ด้วยทรัพย์นับได้ร้อยโกฏิ,
ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะนำโอรสผู้ละไป
แล้ว ที่พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงนั้นมา ด้วยการประกอบมนต์เป็นต้น
อย่างนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร