วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 12:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้ เป็นสาโลหิตของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงชาติก่อน ข้า-
พระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาแก่เขาว่า ขออย่า
ให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์
ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว
จักเข้าถึงนรก อันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป
เป็นสถานที่ร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน

ให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรก
นั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรก
อันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้
เกิดความน่ากลัว มีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว
บุรุษนี้ ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่ง
ว่า ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะ

พึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์
จึงไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษ
นี้อย่าได้ดับไปเสีย เพราะคำของข้าพระองค์เลย
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า ขอท่านจงมี
ชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาโลหิโต ได้แก่ มีโลหิตเสมอกัน
คือ เชื่อมกันโดยกำเนิด, อธิบายว่า เป็นญาติกัน. บทว่า ปุริมาย
ชาติยา คือในอัตภาพก่อน. บทว่า มา ปาปธมฺโม นิรยํ ปตายํ
มีวาจาประกอบความว่า ข้าพระองค์ได้เห็นผู้นี้แล้ว ได้มีความ
กรุณาว่า ขออย่าให้บุรุษผู้มีธรรมอันเลวทรามนี้ ตกนรกเลย คือ
อย่าได้เข้าถึงนรกเลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สตฺตุสฺสทํ ความว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว
อีกอย่างหนึ่ง หนาแน่นด้วยเหตุอันหยาบช้า มีการจองจำ ๕ อย่าง
เป็นต้น ๗ อย่าง เหล่านี้คือ การจองจำ ๕ อย่าง คือ เทโลหะร้อน ๆ
เข้าไปในปาก ให้ขึ้นภูเขาอันเต็มด้วยถ่านเพลิง ใส่เข้าในหม้อเหล็ก
ให้เข้าไปยังป่าอันพร้อมด้วยดาบ ให้ลงไปในชลาลัยในนรก โยนทิ้ง
ลงไปในมหานรก. อธิบายว่า ก่อสั่งสมจนมาก ๆ ขึ้นไป. บทว่า
มหาภิตาปํ ได้แก่ ทุกข์ใหญ่ หรือความเร่าร้อนอันเกิดแต่กองไฟ
ใหญ่. บทว่า กฏุกํ แปลว่า ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ภยานกํ แปลว่า
ให้เกิดความกลัว.

บทว่า อเนกภาเคน คุเณน ได้แก่ ด้วยอานิสงส์ หลายส่วน.
บทว่า อยเมว สูโล นิรเยน เตน ความว่า หลาวนี้แหละ ประเสริฐ
กว่านรก อันเป็นที่เกิดของบุรุษนี้นั้น. จริงอยู่ บทว่า นิรเยน นี้
เป็นตติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัติ. บทว่า เอกนฺตติพฺพํ
ความว่า มีความทุกข์อันแรงกล้าโดยส่วนเดียวแท้ คือ เป็นทุกข์ใหญ่
อย่างแน่นอน.

บทว่า อินญฺจ สุตฺวา วจนํ มเมโส ความว่า บุรุษนี้ ฟังถ้อยคำ
ของเรานี้ ที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อิโต จุโต เคลื่อนจากอัตภาพนี้
แล้ว เป็นต้น เป็นผู้เข้าถึงทุกข์ เป็นเหมือนเข้าถึงทุกข์ในนรก ตาม
คำของเรา. บทว่า วิชเหยฺย ปาณํ ความว่า พึงสละชีวิตของตน.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า มา เม กโต อธิบายว่า

เราไม่ได้พูดคำนี้ ในที่ใกล้แห่งบุรุษนี้ว่า ขอชีวิตของบุรุษนี้ จง
อย่าดับพร้อมกับเราเลย. โดยที่แท้ เราพูดเพียงเท่านี้ว่า จงมีชีวิต
อยู่เถอะท่านผู้เจริญ เพราะชีวิตนั่นแหละ ประเสริฐ.

เมื่อเปรตประกาศความประสงค์ของตนอย่างนี้ พระราชา
เมื่อทรงให้โอกาสเพื่อจะถามประวัติของเปรตนั้นอีก จึงตรัสคาถา
นี้ว่า :-
เรื่องของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนา
จะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา
เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าพระองค์ ได้ให้ปฏิญญาไว้ในกาลนั้น
แน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ผู้ไม่เลื่อมใส
บัดนี้ ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดย
พระองค์จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอ
เชิญพระองค์ ตรัสถามข้าพระองค์ ตามพระ
ประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่
สามารถจะกราบทูลได้.

นี้เป็นพระคาถาตรัสและคาถาโต้ตอบระหว่างพระราชากับเปรต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺโต แปลว่า อันข้าพเจ้า
รู้แล้ว. บทว่า อิจฺฉามเส แปลว่า ข้าพระองค์ ย่อมปรารถนา.
บทว่า โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า น จ กุชฺฌิตพฺพํ ความว่า
ไม่ควรทำความโกรธว่า คนเหล่านี้ ได้ถามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.

บทว่า อทฺธา แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า ปฏิฺา เม
ความว่า เมื่อว่าโดยความรู้ เราได้ปฏิญญา คือให้โอกาสว่า ท่าน
จงถาม. บทว่า ตทา อหุ คือ ได้มีในกาลนั้น คือในการเห็นครั้งแรก.
บทว่า นาจิกฺขณา อปฺปสนฺนสฺส โหติ ความว่า ไม่ได้พูดแก่ผู้ที่
ไม่เลื่อมใส. จริงอยู่ ผู้เลื่อมใสเท่านั้นย่อมกล่าวอะไร ๆ แก่ผู้

เลื่อมใส แต่ในเวลานั้น ท่านไม่มีความเลื่อมใสในเรา และเราก็ไม่มี
ความเลื่อมใสในท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความปรารถนา
ที่จะกล่าวปฏิญญา. แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาท่าน มีวาจา
ที่จะให้ท่านพอเชื่อถือได้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ชื่อว่า
มีวาจาพอเชื่อถือได้. บทว่า ปุจฺฉสฺสุ มํ กามํ ยถา วิสยฺหํ ความว่า

ขอพระองค์จงซักถามเรื่องตามที่พระองค์ทรงปรารถนากะข้า-
พระองค์เถิด. แต่ข้าพระองค์จักกราบทูลตามสมควรแก่กำลัง
ความรู้ของตน โดยประการที่ข้าพระองค์สามารถจะกราบทูลได้.
เมื่อเปรตให้โอกาสแก่การถามอย่างนี้ พระราชา จึงตรัส
คาถาว่า :-

เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควร
เชื่อสิ่งนั้น แม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ
ก็ขอให้ลงโทษ ถอดยศเราเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งหมด โดยประการนั้นนั่นแล
ก็แลถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้ว ไม่เชื่อ ดูก่อนเทพยดา ขอท่านจงลง
นิยสกรรม และนิคคหกรรมแก่เราเถิด. อีกอย่างหนึ่งบทว่า
ยํ กิญฺจหํ จกฺขุนา ปสฺสิสฺสามิ ความว่า เราจักเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์แห่งจักษุจึงไม่เห็น. บทว่า สนฺพมฺปิ
ตาหํ อภิสทฺทเหยฺยํ ความว่า เราควรเชื่อสิ่งที่ท่านได้เห็น ได้ยิน
หรือสิ่งอื่น, อธิบายว่า จริงอยู่ เรามีความเชื่อเช่นนั้น ในท่าน.
ส่วนเนื้อความแห่งบทหลัง ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
เปรตได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า :-

ขอสัจจปฏิญญา ของพระองค์นี้ จงมีแก่ข้า-
พระองค์ พระองค์ได้ฟังธรรมที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว
จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความต้องการ
อย่างอื่น ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายข้าพระองค์ จัก
กราบทูลธรรมทั้งหมดที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว
บ้าง หรือไม่ได้สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ตามที่
ข้าพระองค์รู้.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระราชาและเปรตทั้งสองนั้น จึงมีคาถา
เป็นเครื่องตรัสโต้ตอบกันดังนี้ว่า :-
พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-

ท่านขี่ม้าอันประดับประดาแล้วเข้าไปยัง
สำนักของบุรุษที่ถูกเสียบหลาว ม้าขาวตัวนี้เป็น
ม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชมนี้ เป็นผลแห่งกรรม
อะไร
เปรตกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทาง
ลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโค ศีรษะ
หนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์
และบุคคลอื่น เหยียบบนศีรษะโคนั้น เดินไป
ได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม
นี้เป็นผลแห่งกรรมนั่นเอง
พระเจ้าสักขระตรัสถามว่า :-

ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมี
กลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิแห่งเทวดา
เป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่เป็นคนเปลือยกาย นี้เป็น
ผลแห่งกรรมอะไร.
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-

เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ
ทั้งมีจิตเลื่อมใสอยู่เป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลาย
ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีเป็นทิพย์
สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น
ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่

ในธรรม มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระ-
องค์มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผล

แห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์
อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บน
บก ไม่มีความประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิต
คิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ จึง
เป็นคนเปลือยกาย เป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-

ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจ
ทำบาปจริง ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม
ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร?
เปรตกราบทูลว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มนุษย์เหล่าใด มีความดำริชั่วร้าย เป็น
ผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เพราะกายแตก
ตายไป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกใน
สัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่น
ปรารถนาสุคติ ยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอัน
สงเคราะห์แล้ว เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้า
ถึงสุคติในสัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปฺปฏิฺา ตว เมสา โหตุ
ความว่า ขอความปฏิญญาของท่านนี้ จงเป็นความสัจจสำหรับ
ข้าพระองค์ว่า ข้าพเจ้าพึงเชื่อสิ่งนั้นทั้งหมด. บทว่า สุตฺวาน
ธญฺมํ ลภ สุปฺปสาทํ ความว่า ท่านฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว จงได้
ความเลื่อมใส เป็นอันดี. บทว่า อฺตฺถิโก ได้แก่ ข้าพระองค์
ไม่มีความประสงค์จะรู้. บทว่า ยถา ปชานํ ได้แก่ ตามที่คนอื่นรู้อยู่
อธิบายว่า ตามที่พระองค์รู้แล้วหรือว่า ตามที่ข้าพระองค์รู้แล้ว.

บทว่า กิสฺเสตํ กมฺมสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นั่นเป็นผล
แห่งกรรมอะไร คือ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า เอตํ เป็นเพียงนิบาต ก็อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เป็น
ผลของกรรมอะไรของท่าน.

บทว่า จิกฺขลฺลมคฺเค แปลว่า ในทางมีโคลน. บทว่า นรกํ
ได้แก่ บ่อ. บทว่า เอกาหํ ตัดเป็น เอกํ อหํ. บทว่า นรกสฺมึ นิกฺขิปึ
ความว่า เราทอดศีรษะโค ๑ ศีรษะ ในบ่อที่มีโคลนโดยประการที่
ผู้เดินจะไม่เหยียบเปือกตม. บทว่า ตสฺส ได้แก่ เอาศีรษะโคทำเป็น
สะพานนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ธมฺเม €ิตานํ ได้แก่ ผู้ประพฤติเป็นธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ. บทว่า มนฺเตมิ ได้แก่ กล่าว คือ ระบุถึง. บทว่า
ขิฑฺฑตฺถิโก ได้แก่ ประสงค์จะหัวเราะเล่น. บทว่า โน จ ปทุฏฺ€จิตฺโต
ได้แก่ ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายเจ้าของผ้า อธิบายว่า ไม่มีความประสงค์
จะลัก ทั้งไม่ประสงค์จะทำให้เสียหาย.

บทว่า อกีฬมาโน ได้แก่ ไม่ประสงค์ คือ มีจิตคิดประทุษร้าย
เพราะความโลภเป็นต้น. บทว่า กึ ตสฺส กมฺมสฺส วิปากมาหุ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิบากทุกข์อันเผ็ดร้อนของกรรม
ชั่วนั้น คือที่ทำไว้อย่างนั้นไว้เพียงไร.

บทว่า ทุฏฺ€สงฺกปฺปมนา ได้แก่ ผู้มีวิตกทางใจอันประทุษร้าย
ด้วยอำนาจความดำริในกามเป็นต้น, ด้วยคำว่า ทุฏฺ€สงฺกปฺปมนา
นั้น ท่านกล่าวถึงมโนทุจริต. บทว่า กาเยน วาจาย จ สงฺกิลิฏฺ€า
ได้แก่ มีความเศร้าหมองด้วยกายและวาจา ด้วยอำนาจปาณาติบาต
เป็นต้น. บทว่า อาสมานา ได้แก่ หวัง คือปรารถนา.

เมื่อเปรตแสดงจำแนกกรรมและผลแห่งกรรมโดยสังเขป
อย่างนี้แล้ว พระราชาไม่ทรงเชื่อข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็น
ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือเราจะพึงเห็น
อย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำ
ให้เราเชื่อถือเรื่องนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ กินฺติ ชาเนยฺยมหํ อเวจฺจ
ความว่า เราจะพึงเชื่อโดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ถึงวิบากของกรรมดี
และกรรมชั่วที่เธอกล่าวจำแนกไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนผู้มีความ
ดำริชั่วย่อมเศร้าหมองด้วยกายและวาจา และโดยนัยมีอาทิว่า
ก็คนเหล่าอื่นย่อมปรารถนาสุคติ ดังนี้นั้นได้อย่างไร คือโดยเหตุไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กึ วาหํ ทิสฺวา อภิสทฺทเหยฺยํ ความว่า เราเห็นอย่างไร
อันเป็นตัวอย่างที่ประจักษ์จะพึงเชื่อได้. บทว่า โก วาปิ มํ
สทฺทหาเปยฺย มํ ความว่า หรือใครเป็นวิญญูชน คือ เป็นบัณฑิต
จะพึงให้เราเชื่อข้อนั้น ท่านจงแนะนำบุคคลนั้น.
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นแก่พระราชานั้น
โดยเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้สดับแล้ว ก็
จงเชื่อเถิดว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว
เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง ก็พึงมีสัตว์
ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก
นี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่
สุคติ ทุคติ อันเลวและประณีต ก็ไม่มีในมนุษย-
โลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก ทำ

กรรมดีและกรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ทุคติ
เลวบ้าง ประณีตบ้าง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
วิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ
เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อม
พวกชนผู้ได้เสวยผลอันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็น
บาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา จ แปลว่า ทั้งได้ทรงเห็น
โดยประจักษ์. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ ทรงสดับธรรมแล้วทรงรู้ คือ
ทรงรู้ตามซึ่งนัยตามแนวแห่งธรรมนั้น. บทว่า กลฺยาณปาปสฺส
ความว่า จงทรงเชื่อเถิดว่า สุขนี้เป็นวิบากแห่งกุศลกรรม และ
ทุกข์นี้เป็นวิบากแห่งอกุศลกรรม. บทว่า อุภเย อสนฺเต ความว่า

เมื่อกรรมทั้งสอง คือ กรรมดีและกรรมชั่วมีอยู่. บทว่า สิยา นุ
สตฺตา สุคตา ทุคฺคตา วา ความว่า เนื้อความดังนี้ว่า สัตว์เหล่านี้
ไปสุคติหรือทุคติ หรือว่า เป็นผู้มั่งคั่งในสุคติหรือเป็นผู้เข็ญใจ
ในทุคติ ดังนี้ จะพึงมีอยู่หรือ คือจะพึงเกิดได้อย่างไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บัดนี้ เปรตจะประกาศเนื้อความตามที่กล่าวแล้วโดยผิด
แผกกัน และโดยคล้อยตามกัน ด้วยคาถา ๒ คาถาว่า โน เจตฺถ
กมฺมานิ และ ยสฺมา จ กมฺมานิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
หีนา ปณีตา ได้แก่ ผู้เลวและหยิ่งโดยตระกูล รูปร่าง ความไม่มีโรค
และบริวารเป็นต้น.

บทว่า ทฺวยชฺช กมฺมานํ วิปากมาหุ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวคือแสดงวิบากแห่งสุจริต และทุจริตแห่งกรรมทั้งสองอย่าง
ในวันนี้ คือ ในบัดนี้. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ข้อนั้น คืออะไร?
จึงกล่าวว่า การเสวยสุขและทุกข์ อธิบายว่า ควรจะเสวยอิฏฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์. บทว่า ตา เทวตาโย ปริจารยนฺติ ความว่า เหล่า

ชนผู้ได้รับวิบากอันอำนวยสุขโดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเทพยดาใน
เทวโลก เปี่ยมด้วยทิพยสุขบำเรออินทรีย์ทั้งหลาย. บทว่า ปจฺเจนฺติ
พาลา ทฺวยตํ อปสฺสิโน ความว่า ชนเหล่าใดเป็นคนพาลไม่เห็น คือ
ไม่เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมทั้งสอง ชนเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวาย
ในบาป เมื่อเสวยวิบากอันอำนวยความทุกข์ให้ ย่อมไหม้ คือ ย่อม
ได้รับทุกข์ เพราะกรรมในนรกเป็นต้น.

เปรตหมายเอาการย้อนถามว่า ก็ท่านเชื่อกรรมและผล
แห่งกรรมอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงเสวยทุกข์เห็นปานนี้ จึงกล่าว
คาถาว่า :-

กรรมที่ข้าพระองค์ทำไว้ในชาติก่อน ซึ่ง
เป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ในบัดนี้ มิได้
มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้จะให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม
ที่นอน ที่นั่ง ข้าว และน้ำแก่สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ข้าพระองค์
มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือย
กาย มีความเป็นผู้ฝืดเคือง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2019, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มตฺถิ กมฺมานิ สยํกตานิ ความว่า
เพราะเหตุที่บุญกรรมอันตนเองกระทำไว้ในกาลก่อน อันเป็นเหตุ
ให้ได้รับเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นในบัดนี้ ไม่ได้มีปรากฏแก่ข้าพระองค์.
บทว่า ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย ความว่า ผู้ใดพึงให้ทานแก่
สมณพราหมณ์แล้วพึงอุทิศส่วนบุญแก่ข้าพระองค์ว่า ขอบุญนี้จง

ถึงแก่เปรตโน้น ผู้นั้นย่อมไม่มี. บทว่า เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ
วุตฺติ ความว่า เพราะเหตุทั้งสองนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือยกาย
ไม่มีผ้าในบัดนี้ ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อหวังจะให้เปรตนั้นได้
เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ดูก่อนยักษ์ เหตุอะไร ๆ ที่จะให้ท่านได้
เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุที่ควรเชื่อ พอ
จะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้น
แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ความว่า เหตุอะไร ๆ อัน
เป็นเหตุให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่ม พึงมีอยู่หรือหนอแล. บทว่า ยทตฺถิ
ตัดเป็น ยทิ อตฺถิ แปลว่า ถ้ามีอยู่.
ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะทูลบอกเหตุนั้นแก่พระราชา จึงได้
กล่าวคาถาว่า :-

ในนครเวสาลีนี้ ยังมีภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า
กัปปิตกะ เป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระ-
อรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
สำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอัน
สูงสุด มีวาจาน่าคบเป็นสหาย รู้ความประสงค์
ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี
พูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติ

อยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดา
และมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตก ไม่มีทุกข์
ไม่มีตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่
ถือเราถือเขา ไม่คดกาย วาจา ใจ ไม่มีอุปธิ
สิ้นกิเลสเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา ๓
มีความรุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะเป็น
ผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆ เห็นก็ไม่รู้
ว่าเป็นคนดี ในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียก

ท่านว่า มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ หนัก
แน่นไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปใน
โลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่
แก่ภิกษุนั้น แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และท่านรับผ้านั้น
แล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์ผู้นุ่งห่ม
ผ้าเรียบร้อย.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กปฺปิตโก นาม เปรตกล่าว
หมายเอาพระอุปัชฌายะของท่านพระอุบาลีเถระภายในชฏิล ๑,๐๐๐
องค์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่ใกล้นครเวสาลีนี้. บทว่า ฌายี ได้แก่
ผู้ได้ฌาน ด้วยฌานอันสัมปยุตต์ด้วยอรหัตตผล. บทว่า สีติภูโต
ได้แก่ ผู้ถึงความเยือกเย็น ด้วยการเข้าไปสงบความกระวนกระวาย
และความเร่าร้อนแห่งกิเลสทั้งปวง. บทว่า อุตฺตมทิฏฺ€ิปตฺโต
ได้แก่ ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิอันเป็นผลสูงสุด คือ อรหัตตผล.

บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาอ่อนหวาน. บทว่า สุวโจ
แปลว่า ผู้ว่าง่าย. บทว่า สฺวาคโม แปลว่า ผู้มาดีไปดี. บทว่า
สุปฺปฏิมุตฺตโก แปลว่า ผู้มีวาจาหลุดพ้นด้วยดี อธิบายว่า ผู้มีปกติ
กล่าวหลุดพ้น. บทว่า อรณวิหารี แปลว่า ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา-
วิหารธรรม.

บทว่า สนฺโต แปลว่า ผู้สงบกิเลส บทว่า วิธูโม ได้แก่
ผู้ปราศจากควัน คือ มิจฉาวิตก. บทว่า อนีโฆ แปลว่า ผู้ไม่มี
ทุกข์. บทว่า นิราโส แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า มุตฺโต แปลว่า
ผู้หลุดพ้นจากภพทั้งปวง. บทว่า วิสลฺโล แปลว่า ผู้ปราศจาก
ลูกศรมีราคะเป็นต้น. บทว่า อมโม แปลว่า ผู้ปราศจากการถือ

ว่าเราว่าเขา. บทว่า อวงฺโก ได้แก่ ผู้ปราศจากการคด มีคดกาย
เป็นต้น. บทว่า นิรูปธี แปลว่า ผู้ละอุปธิมีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง
เป็นต้น. บทว่า สพฺพปปญฺจขีโณ แปลว่า ผู้สิ้นธรรมเครื่องเนิ่นช้า
มีตัณหาเป็นต้น. บทว่า ชุติมา ได้แก่ ผู้รุ่งเรืองด้วยญาณอัน
ยอดเยี่ยม. บทว่า อปฺปฺาโต ได้แก่ ชื่อว่าผู้ไม่ปรากฏเพราะ
เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้ปกปิดคุณ.

บทว่า ทิสฺวาปิ น จ สุชาโน ความว่า แม้เห็นโดยความ
ลึกซึ้ง ก็ไม่เข้าใจได้ดีว่า มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา
อย่างนี้. บทว่า ชานนฺติ ตํ ยกฺขภูตา อเนชํ ความว่า ก็ท่านผู้
ประเสริฐ ย่อมรู้จักท่านผู้หนักแน่น คือผู้ปราศจากตัณหาว่า
เป็นพระอรหันต์. บทว่า กลฺยาณธมฺมํ ได้แก่ ผู้มีคุณมีศีลดีงาม
เป็นต้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตสฺส โยคว่า แก่ท่านพระกัปปิตกมหาเถระนั้น.
บทว่า เอกยุคํ ได้แก่ คู่ผ้าคู่หนึ่ง. บทว่า ทุเว วา ได้แก่ หรือว่า
คู่ผ้าสองคู่. บทว่า มมุทฺทิสิตฺวาน ได้แก่ อุทิศข้าพระองค์. บทว่า
ปฏิคฺคหีตานิ จ ตานิ อสฺสุ ความว่า และคู่ผ้าเหล่านั้นพึงเป็นของ
อันพระเถระนั้นรับแล้ว. บทว่า สนฺนทฺธทุสฺสํ ได้แก่ ผู้ทำการ
นุ่งห่มผ้า อธิบายว่า ได้ผ้าแล้ว คือนุ่งห่มผ้าแล้ว.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามถึงที่อยู่ของพระเถระว่า :-
บัดนี้ พระสมณะนั้นอยู่ประเทศไหน เรา
จักไปพบท่านได้ที่ไหน ใครจักพึงแก้ไขความ
สงสัยสนเท่ห์อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็น
ของเราได้ในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺมึ ปเทเส แปลว่า ในประเทศ
ไหน. บทว่า โย มชฺช ตัดเป็น โย อชฺช, ม อักษรทำการเชื่อมบท.
ลำดับนั้น เปรตจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านอยู่ที่เมือง กปินัจจนา มีหมู่เทวดาเป็น
อันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนามจริงแท้ และเป็น
ผู้ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปินจฺจนายํ ได้แก่ ในประเทศ
อันได้โวหารว่า กปินัจจนา เพราะเป็นที่ฟ้อนรำของพวกลิง. บทว่า
สจฺจนาโม ได้แก่ ผู้มีนามตามเป็นจริง คือผู้มีนามไม่ผิดแผกด้วย
คุณนามมีอาทิว่า ผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้
หลุดพ้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนั้น พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไป
ยังสำนักของพระเถระในขณะนั้นทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจักไปทำตามที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จัก
ให้พระสมณะนั้นครองผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้า
เหล่านั้นอันพระสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และ
เราจักคอยดูท่านนุ่งห่มผ้าเป็นอันดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสามิ แปลว่า จักกระทำ.
ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะแสดงว่า พระเถระย่อมแสดงธรรม
แก่เทพยดาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหา
จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าลิจฉวี ข้าพระองค์ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้า
หาบรรพชิตในเวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหา
บรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรมเนียม
ที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์
เสด็จเข้าไปหาในเวลาอันสมควร ก็จักทรงเห็น
ภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัด ในที่นั้นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า
ทูลขอร้อง. บทว่า โว ลิจฺฉวิ เนส ธมฺโม ความว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาอันไม่สมควรนี้ ไม่เป็น
ธรรมเนียมของพระองค์ผู้เป็นพระราชา. บทว่า ตตฺเถว คือในที่นั้น
นั่นเอง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนี้ พระราชาทรงรับคำแล้ว เสด็จไป
พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ให้คนถือคู่ผ้า ๘ คู่ ในเวลาอันสมควร
อีก แล้วเข้าไปหาพระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับคู่ผ้า
๘ คู่นี้. พระเถระได้ฟังดังนั้น เพื่อจะสั่งสนทนาด้วย จึงทูลว่า ข้าแต่
มหาบพิตร เมื่อก่อนพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญทาน มีแต่จะเบียดเบียน
สมณพราหมณ์เท่านั้น มีพระประสงค์จะถวายผ้าอันประณีต

อย่างไรได้. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอก
เหตุแก่ท่าน จึงได้ตรัสบอกถึงการที่เปรตมา และเรื่องที่เปรตกับ
พระองค์กล่าว แก่พระเถระ จึงได้ถวายผ้าแล้วอุทิศเปรต. ด้วย
เหตุนั้น เปรตจึงนุ่งห่มผ้าอันเป็นทิพย์ ประดับตกแต่ง ขึ้นม้า
ได้ปรากฏข้างหน้าพระเถระและพระราชา. พระราชาครั้นทรงเห็น
ดังนั้นแล้ว ทรงพอพระทัย เบิกบานพระหฤทัย เกิดปีติโสมนัส

ตรัสว่า เราเห็นผลแห่งกรรมโดยประจักษ์หนอ บัดนี้ เราจักไม่
กระทำความชั่ว จักกระทำแต่บุญเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้ทรงกระทำ
สักขีพยานกับเปรตนั้น. และเปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี ตั้งแต่วันนี้ ถ้าพระองค์ละอธรรม ประพฤติธรรมไซร้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จักเป็นสักขีพยานแก่พระองค์ และ
ข้าพระองค์จักมายังสำนักของพระองค์ และขอพระองค์จงให้บุรุษ

ผู้ที่ถูกหลาวเสียบ หลุดจากหลาวโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น
ก็จักรอดชีวิต ประพฤติธรรมพ้นจากทุกข์ และพระองค์จงเข้าไป
หาพระเถระตามกาลอันควร ฟังธรรม บำเพ็ญบุญดังนี้แล้วก็ไป.

ลำดับนั้นพระราชาไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปยังพระนคร
รีบให้ประชุมบริษัทลิจฉวี ให้คนเหล่านั้นอนุญาต ให้บุรุษนั้น
พ้นจากหลาว รับสั่งพวกพยาบาลว่า จงทำบุรุษนี้ ให้หายโรค.
ก็แล ครั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว จึงตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ผู้ที่ทำกรรมอันเป็นเหตุไปสู่นรกแล้ว ดำรงอยู่ จะพึงพ้นจากนรก

หรือไม่หนอ. พระเถระทูลว่า พึงพ้นได้ มหาบพิตร ถ้าผู้นั้นทำบุญ
ให้มากก็พ้นได้ จึงให้พระราชาตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พระราชา
ตั้งอยู่ในสรณะและศีลนั้นแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ ได้
เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบเป็นผู้หายโรค เกิด
ความสังเวช บวชในหมู่ภิกษุ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตต์.
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงได้กล่าวคาถา
ทั้งหลายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวด
ล้อมไปด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จไปใน
พระนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังพระนครนั้น
แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ในนิเวศน์ของ
พระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ทรงสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว ได้เวลาอัน
สมควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ รับสั่งให้
หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้า
ไปในประเทศนั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น

สมณะรูปหนึ่ง ผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่
โคจร เป็นผู้เยือกเย็น นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้น
ได้ตรัสถามสมณะนั้น ถึงความเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย การอยู่สำราญ และตรัสบอกนามของ
พระองค์ให้ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน
เป็นกษัตริย์ลิจฉวี อยู่ในเมืองเวสาลี ชาวลิจฉวี
เรียกดิฉันว่า อัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่
นี้ ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉันมาในที่นี้
ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมีความ
ปลาบปลื้มใจนัก.

พระเถระทูลถามว่า :-
สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น
พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร แต่ที่ไกลทีเดียว
เพราะพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตรย่อม
แตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีกทำลาย เมื่อก่อน
สมณะทั้งหลาย มีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจาก
เขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิต
เช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตร ทำการ

เบียดเบียนแล้ว มหาบพิตร ไม่เคยพระราชทาน
แม้แต่น้ำมัน สักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทาง
ให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้าจากมือคนตาบอด
เสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวม
เช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตร ทรง
เห็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจกจ่ายกับอาตมภาพ
ทั้งหลายเล่า.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร