วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 11:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


https://www.youtube.com/watch?v=Q79o9CYOzd8

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการ
ที่เราห้ามแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส
พระองค์ทรงห้ามวิบากว่า เมื่อบุคคลนั้นให้ทานอยู่ วิบาก คือผล
ที่จะพึงได้รับต่อไป ย่อมไม่มี. บทว่า สํยมสฺส กุโต ผลํ ความว่า
ก็ผลแห่งศีล จักมีแต่ที่ไหน, อธิบายว่า ผลแห่งศีลนั้นย่อมไม่มี

โดยประการทั้งปวง. บทว่า นตฺถิ อาจริโย นาม ความว่า ใคร ๆ
ผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ผู้ให้ศึกษาอาจารและสมาจาระ ย่อมไม่มี,
อธิบายว่า ก็ว่าโดยสภาวะทีเดียว สัตว์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนแล้ว หรือ
ยังไม่ได้ฝึกตน ย่อมมีได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ใคร จักฝึก
ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึก ดังนี้

บทว่า สมตุลฺยานิ ภูตานิ ความว่า สัตว์เหล่านี้ ทั้งหมด
เป็นผู้เสมอกันและกัน, อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ผู้ใหญ่ จักมีแต่ที่ไหน คือ ขึ้นชื่อว่า บุญอันเป็นเหตุให้ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ย่อมไม่มี. บทว่า นตฺถิ ผลํ ความว่า สัตว์
ทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในกำลังของตนอันใดกระทำความเพียร ย่อม

บรรลุสมบัติทั้งหลาย ตั้งต้นแต่ความเป็นผู้เลิศด้วยความสวยงาม
ในหมู่มนุษย์ จนถึงความเป็นพระอรหัตต์ พระองค์ย่อมห้ามกำลัง
แห่งความเพียรนั้น. บทว่า วีริยํ วา นตฺถิ กุโต อุฏฺ€านโปริสํ นี้
ท่านกล่าวได้ด้วยอำนาจการปฏิเสธวาทะที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า
นี้เป็นไปด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
หามิได้. บทว่า นตฺถิ ทานผลํ นาม ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่ง

ทานอะไร ๆ ย่อมไม่มี อธิบายว่า การบริจาคไทยธรรมย่อมไร้ผล
ทีเดียว เหมือนเถ้าที่เขาวางไว้. บทว่า เวรินํ ในบทว่า น วิโสเธติ
เวรินํ ความว่า ย่อมไม่ทำบุคคลผู้มีเวร คือ ผู้ทำบาปไว้ ด้วย
อำนาจเวรและด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น ให้
หมดจดจากวัตรมีทานและศีลเป็นต้น, คือ แม้ในบางคราว ก็ไม่

ทำให้หมดจดได้. บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบท
แสดงอาการที่ตนห้ามคนเหล่าอื่น จากทานเป็นต้นในกาลก่อน
แต่บทว่า ชื่อว่า ผลแห่งทานย่อมไม่มีเป็นต้น พึงเห็นว่า เป็นบท
แสดงการยึดมั่นผิด ๆ แห่งตน. บทว่า สทฺเธยฺยํ แปลว่า พึงได้.
เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็พึงได้อย่างไร? ท่านจึงตอบว่า
อันเกิดแต่สิ่งที่น้อมมาเอง อย่างแน่นอน. อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้รับความสุขหรือความทุกข์ ย่อมได้ด้วยอำนาจความแปรปรวน
ไปอย่างแน่นอนทีเดียว ไม่ใช่เพราะกรรมที่ตนทำไว้เลย และไม่ใช่
เพราะ พระอิศวร นิรมิตรขึ้นเลย. ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา ปิตา
ภาตา ท่านกล่าวหมายถึงความไม่มีผลแห่งการปฏิบัติชอบ และการ
ปฏิบัติผิดในมารดาเป็นต้น. บทว่า โลโก นตฺถิ อิโต ปรํ ความว่า
ชื่อว่า ปรโลกไร ๆ จากอิธโลกนี้ ย่อมไม่มี, อธิบายว่า สัตว์ย่อม

ขาดสูญไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง. บทว่า นินฺนํ ได้แก่ มหาทาน. บทว่า
หุตํ ได้แก่ สักการะเพื่อแขก, ท่านหมายถึงความไม่มีผลทั้งสองนั้น
จึงห้ามว่า นตฺถิ. บทว่า สุนิหิตํ แปลว่า ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า น
วิชฺชติ ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวการให้ทานแก่สมณพราหมณ์
ว่าเป็นขุมทรัพย์ อันเป็นเครื่องติดตามนั้น ย่อมไม่มี, อธิบายว่า ทาน
ที่ให้แก่สมณพราหมณ์นั้น เป็นเพียงวัตถุแห่งคำพูดเท่านั้น.

บทว่า น โกจิ กญฺจิ หนติ ความว่า บุรุษใด พึงฆ่าบุรุษอื่น
คือ พึงตัดศีรษะของบุรุษอื่น ในข้อนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ใคร ๆ
ย่อมไม่ฆ่าใคร ๆ ได้ คือ ย่อมเป็นเสมือนผู้ฆ่า เพราะตัดกายของ
สัตว์ทั้งหลาย. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า การประหารด้วยศัสตราเป็น
อย่างไร ท่านจึงตอบว่า ใช้ศัสตราเข้าไปในระหว่าง อันเป็นช่อง
กาย ๗ ช่อง, อธิบายว่า สอดสัตราเข้าไป ในระหว่างคือ ในช่อง

อันเป็นช่องของกาย ๗ ช่อง มีปฐวีเป็นต้น เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้ง
หลาย จึงเป็นเหมือนถูกศัสตรา มีดาบเป็นต้น. สับฟัน แต่แม้กาย
ที่เหลือ ย่อมไม่ขาดไป เพราะมีสภาวะเที่ยง เหมือนมีชีวะ ฉะนั้น.

บทว่า อจฺเฉชฺชาเภชฺโช หิ ชีโว ความว่า ชีพของเหล่าสัตว์นี้
ไม่พึงถูกตัด ไม่พึงถูกทำลายด้วยศัสตราเป็นต้น เพราะมีสภาวะ
เที่ยง. บทว่า อฏฺ€ํโส คุฬปริมณฺฑโล ความว่า ก็ชีพนั้น บางคราว
มี ๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย. บทว่า โยชนานํ สตํ
ปญฺจ ความว่า ชีพนั้นถึงภาวะล้วน สูงประมาณได้ ๕๐๐ โยชน์.

ด้วยบทว่า โก ชีวํ เฉตฺตุมรหติ นี้ ท่านกล่าวว่า ใครเล่าควรเพื่อจะ
ตัดชีพอันเที่ยงแท้ คือไม่มีพิการ ด้วยศัสตราเป็นต้น, คือ ชีพนั้น
ใคร ๆ ไม่ควรให้กำเริบ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สุตฺตคุเฬ ได้แก่ หลอดด้าย ที่เขาม้วนทำไว้. บทว่า
ขิตฺเต ได้แก่ ซัดไป ด้วยอำนาจไม่ได้คลายออก. บทว่า นิพฺเพเ€นฺตํ
ปลายติ ความว่า หลอดด้ายอันด้ายคลี่อยู่ ที่เขาซัดไปบนภูเขา
หรือบนต้นไม้ ย่อมกลิ้งไปได้ คือ แต่เมื่อด้ายหมด ก็ไปไม่ได้.
บทว่า เอวเมวํ ความว่า หลอดด้ายนั้น อันด้ายคลี่คลายอยู่ จึงกลิ้ง
ไปได้ เมื่อสิ้นด้ายย่อมไปไม่ได้ ฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อคลี่คลายหลอดคือภาวะของสัตว์ ย่อมหนีไปได้ คือ ย่อมเป็น
ไปได้ ตลอดเวลาที่กล่าวได้ว่าสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป
พ้นจากนั้นหาเป็นไปได้ไม่.

บทว่า เอวเมว จ โส ชีโว ความว่า คนบางคนออกจากบ้าน
อันเป็นที่อยู่ของตนแล้วเข้าไปยังบ้านอื่น จากบ้านนั้น ด้วยกรณียะ
บางอย่างฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากร่างนี้แล้ว ก็
เข้าไปสู่ร่างอื่นอีก ด้วยอำนาจกำหนดกาล. บทว่า โพนฺทึ ได้แก่
ร่างกาย.

บทว่า จุลฺลาสีติ แปลว่า ๘๔. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่
มหากัป. ในมหากัปป์นั้น อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อเทวดาผู้
วิเศษ นำหยาดน้ำด้วยปลายหญ้าคา ครั้งละหยาดทุก ๆ ร้อยปี
จากสระใหญ่ มีสระอโนดาดเป็นต้น ออกไป ด้วยความบากบั่น
อันนี้ เมื่อสระนั้นแห้งไปถึง ๗ ครั้ง ชื่อว่า เป็นมหากัปอันหนึ่ง
จึงกล่าวว่า ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัปนี้ เป็นประมาณแห่งสงสาร.

บทว่า เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็น
อันธพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิตทั้งหมดนั้น. บทว่า สํสารํ เขปยิตฺวาน
ความว่า ยังสงสาร อันกำหนดด้วยกาล ตามที่กล่าวแล้วให้สิ้นไป
ด้วยอำนาจการเกิดร่ำไป. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสเร ความว่า
จักกระทำความสิ้นสุดแห่งวัฏฏทุกข์. สงสารนั้น มีการกำหนดว่า
ทั้งบัณฑิต ก็ไม่สามารถจะชำระตนให้หมดจดในระหว่างได้ ถัด
จากนั้นถึงพวกชนพาล ก็เป็นไปไม่ได้เลย.

บทว่า มิตานิ สุขทุกฺขานิ โทเณหิ ปิฏเกหิ จ ความว่า ชื่อว่า
สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเหมือนนับด้วยทะนาน ด้วยตะกร้า
ได้แก่ ด้วยภาชนะเป็นเครื่องนับ และสุขทุกข์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
เกิดแต่การน้อมไปอย่างแน่นอน เป็นอันปริมาณได้โดยเฉพาะ เพราะ
ปริมาณได้โดยกำหนดตามกาลที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พระชินเจ้า
ย่อมทราบเรื่องนี้นั้นทั้งหมด คือ ท่านผู้ดำรงอยู่ชินภูมิย่อมรู้ชัดอย่าง

เดียว เพราะก้าวล่วงสงสารได้ ส่วนหมู่สัตว์นอกนั้น ผู้ลุ่มหลงย่อม
วนเวียนอยู่ในสงสาร.
บทว่า เอวํทิฏฺ€ิ ปุเร อาสึ ความว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์ได้
เป็นนัตถิกทิฏฐิบุคคล ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า สมฺมูฬฺโห โมหปารุโต
ได้แก่ เป็นคนหลงเพราะสัมโมหะ อันเป็นเหตุแห่งทิฏฐิตามที่กล่าว
แล้ว อธิบายว่า ก็คนผู้ถูกโมหะอันเกิดพร้อมด้วยทิฏฐินั้นครอบงำ
คือเป็นดุจพืชแห่งหญ้าคาที่ปิดบังไว้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นันทกเปรตครั้นแสดงบาปกรรมที่ตนทำด้วยอำนาจความเห็น
ชั่วอันเกิดขึ้นแก่ตนในกาลก่อนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงผล
แห่งบาปกรรมนั้นที่ตนจะต้องเสวยในอนาคต จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ภายใน ๖ เดือนเราจักตาย ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ ได้แก่
แสนปี, บาลีที่เหลือว่า อติกฺกมิตฺวา แปลว่า ล่วง บัณฑิตพึงนำมา
เชื่อมเข้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วสฺสานิ สตสหสฺสานิ นี้ เป็น
ปฐมาวิภัติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัติ, อธิบายว่า เมื่อแสนปีล่วงไปแล้ว.
บทว่า โฆโส สุยฺยติ ตาวเท ความว่า ในขณะที่เวลามีประมาณ
เท่านี้ล่วงไปนั่นแหละ เราได้ยินเสียงในนรกนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาของพวกท่านผู้ไหม้อยู่ในนรกนี้ ล่วง
ไปประมาณหนึ่งแสนปี. บทว่า ลกฺโข เอโส มหาราช สตภาค-
วสฺสโกฏิโย ความว่า ข้าแต่มหาราช ๑๐๐ ส่วนโกฏิปี จัดเป็น
กำหนด คือเป็นเขตกำหนดอายุของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไหม้อยู่ในนรก.
ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ๑๐ ทสกะ เป็น ๑๐๐, ๑๐ ร้อย เป็น
๑,๐๐๐ สิบพัน ๑๐ หน เป็น ๑๐๐,๐๐๐, ร้อยแสน เป็น ๑ โกฏิ,
แสนโกฏิปีด้วยอำนาจโกฏิเหล่านั้น จัดเป็นหนึ่งร้อยโกฏิปี. ก็ร้อย

โกฏิปีนั้นแล พึงทราบด้วยการคำนวณปีเฉพาะสัตว์นรก ไม่ใช่
สำหรับมนุษย์หรือเทวดา. แสนโกฏิปีเป็นอันมากเช่นนี้ เป็นอายุ
ของสัตว์นรกด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชนผู้ไหม้อยู่ในนรกสิ้น
แสนโกฏิปี ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายผู้ไหม้อยู่ในนรกเช่นนี้ เพราะกรรม
เช่นใด เพื่อจะแสดงบาปกรรมเช่นนั้นโดยคำลงท้าย ท่านจึงกล่าว

ว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล และเป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ ดังนี้.
บทว่า เวทิสฺสํ แปลว่า จักได้เสวยแล้ว.

นันทกเปรตครั้นแสดงผลแห่งความชั่วที่ตนจะพึงเสวย
ในอนาคตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะทูลเรื่องที่พระราชาตรัส
ถามว่า ท่านมีอานุภาพอย่างนี้เพราะพรหมจรรย์อะไร ดังนี้แล้ว
จะให้พระราชานั้นดำรงอยู่ในสรณะและศีล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดทรงสดับ. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สีเลสุโปสเถ รตา ได้แก่ ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล.

บทว่า อทา แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ มรรคมี
องค์ ๘ และอมตบทนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาอันเปรตชักชวนให้สมาทานศีลและสรณะอย่างนี้
แล้ว มีพระทัยเลื่อมใส เบื้องต้นจึงระบุถึงอุปการะที่เปรตนั้น
กระทำแก่พระองค์ เมื่อจะตั้งอยู่ในสรณะเป็นต้น จึงกล่าวคาถา
๓ คาถามีอาทิว่า ผู้ปรารถนาความเจริญ ดังนี้ เมื่อจะทรงประกาศ
ถึงความที่ทรงละทิฏฐิชั่วที่พระองค์ยึดถือในกาลก่อน จึงตรัส
คาถาว่า เราโปรย (แกลบในที่ลมแรง) เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอผุณามิ มหาวาเต ความว่า
ดูก่อนเทวดา เราจะโปรยคือขจัดทิฏฐิชั่วนั้น ณ ที่ลมคือธรรมเทศนา
ของท่าน เหมือนโปรยแกลบไปที่ลมแรงซึ่งกำลังพัดอยู่. บทว่า
นทิยา วา สีฆคามิยา อธิบายว่า หรือว่าเราจะลอยทิฏฐิชั่วเหมือน
ลอยหญ้า ไม้ ใบไม้ และสะเก็ด ลงในแม่น้ำใหญ่ที่มีกระแสอันเชี่ยว.

บทว่า วมามิ ปาปิกํ ทิฏฺ€ึ ความว่า เราจะละทิ้งทิฏฐิชั่วที่อยู่ในใจ
ของเรา. พระราชากล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ยินดีแล้วในพระศาสนา
ดังนี้. มีวาจาประกอบความว่า เพราะเหตุที่เรายินดี คือ ยินดียิ่ง
ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย อันนำอมตะ
มาโดยส่วนเดียว ฉะนั้น เราจะคายพิษคือทิฏฐินั้น.

คาถาสุดท้ายว่า อิทํ วตฺวาน ดังนี้ พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายได้ตั้งไว้แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโมกฺโข ได้แก่
บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก. บทว่า รถมารุหิ ความว่า พระราชา
เสด็จขึ้นสู่ราชรถของพระองค์อันเป็นรถพระที่นั่งเสด็จ ครั้นเสด็จ
ขึ้นแล้วได้ถึงพระนครของพระองค์ในวันนั้นนั่นเอง ด้วยอานุภาพ

ของเทวดา แล้วเสด็จเข้าพระราชวัง. สมัยต่อมาท้าวเธอตรัสบอก
เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่พระเถระ
ทั้งหลาย. พระเถระทั้งหลายจึงยกขึ้นสู่สังคายนาในตติยสังคีติ.
จบ อรรถกถานันทกเปตวัตถุที่ ๓

อรรถกถาเรวดีเปติวัตถุที่ ๔
เรื่องนางเรวดีเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุฏฺเ€หิ เรวเต สุปาปธมฺเม
ดังนี้. เพราะเหตุที่เรื่องนั้นไม่มีพิเศษไปกว่า เรวตีวิมานวัตถุ เพราะ
ฉะนั้น คำใดที่ควรกล่าวในอัตถุปปัตติเหตุ และในคาถานั้น คำนั้น
พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อปรมัตถทีปนี
นั่นแหละ. ก็เรื่องนี้แม้พระสังคีติกาจารย์จะยกขึ้นสู่สังคายนาใน
บาลีวิมานวัตถุ ด้วยอำนาจนันทิยเทพบุตร ก็พึงทราบว่ายกขึ้นสู่
สังคายนา แม้ในบาลีเปตวัตถุว่า เรวตีเปติวัตถุ ด้วยอำนาจคาถา
ที่เนื่องด้วยนางเรวดี.
จบ อรรถกถาเรวตีเปติวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2019, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕
เรื่องอุจฉุเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิทํ มม อุจฺฉุวนํ มหนฺตํ
ดังนี้. เหตุเกิดของเรื่องนั้น เป็นอย่างไร?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
บุรุษคนหนึ่งมัดลำอ้อย เดินกัดอ้อยลำหนึ่งไป. ลำดับนั้น อุบาสก
คนหนึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม พร้อมด้วยเด็กอ่อนเดินไปข้าง
หลัง ๆ. เด็กเห็นอ้อยแล้วร้องไห้ว่า จงให้, อุบาสกเห็นเด็กร้องไห้
เมื่อจะสงเคราะห์บุรุษนั้น จึงได้เจรจากับบุรุษนั้น ส่วนบุรุษนั้น

ไม่เจรจาอะไร ๆ กับอุบาสกนั้น ไม่ให้แม้ท่อนอ้อยแก่เด็ก อุบาสก
จึงแสดงเด็กนั้นแล้วกล่าวว่า เด็กนี้ร้องไห้นัก ท่านจงให้ท่อนอ้อย
แก่เด็กนี้ท่อนหนึ่ง บุรุษนั้นได้ฟังดังนั้น อดทนไม่ได้ เกิดขัดเคือง
จิต จึงขว้างลำอ้อยลำหนึ่งไปข้างหลังโดยไม่เอื้อเฟื้อ

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต ด้วยอำนาจ
ความโลภที่ครอบงำอยู่นาน. ชื่อว่าผลแห่งกรรมนั้น ย่อมเห็น สมกับ
กรรมของตน เพราะเหตุนั้น จึงเกิดเป็นไร่อ้อยใหญ่แน่นทึบไปด้วย
อ้อย ประมาณเท่าท่อนสากมีสีเหมือนดอกอัญชัน เต็มสถานที่
ประมาณ ๘ กรีส. พอเขาเข้าไปจะถือเอาอ้อย เพราะอยากจะกิน
อ้อยก็ตีเขา เพราะเหตุนั้นเขาจึงสลบล้มลง.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปบิณฑบาต
ยังกรุงราชคฤห์ ได้เห็นเปรตนั้นในระหว่างทาง เปรตนั้นเห็นพระ
เถระแล้วจึงถามถึงกรรมที่ตนทำ. คาถาคำถามและคำตอบที่เปรต
และพระเถระกล่าว ความว่า :-

ไร่อ้อยใหญ่นี้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า เป็นผล
บุญไม่น้อย แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกินอ้อยนั้นไม่ได้
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผล
แห่งกรรมอะไร. ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อนถูกใบอ้อย
บาด พยายามตะเกียกตะกาย เพื่อจะบริโภคสัก
หน่อยก็ไม่ได้สมหวัง กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก
นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร. อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความ
หิวและความกระหายเบียดเบียน แล้วหมุนล้มไป

ที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรนอยู่
ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่ สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม
อะไร. ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรน
ไปมา ย่อมไม่ประสบความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน
ข้าพเจ้าจะบริโภคอ้อยนั้นได้อย่างไร.
พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า :-

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อชาติก่อนท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำ
กรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอกเนื้อความนั้นกะ
ท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้
(คือ) ท่านเดินกัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่ง
เดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกินอ้อย จึงบอก
แก่ท่าน ท่านก็ไม่พูดอะไร ๆ แก่เขา เขาจึงได้
พูดวิงวอนว่า ขอท่านพึงให้อ้อยเถิด ท่านได้ให้

อ้อยแก่บุรุษนั้นโดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรม
นั้น. เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลังซิ ครั้นถือ
เอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้น
แหละ ท่านจักเป็นผู้เบิกบาน ร่าเริง บันเทิงใจ.
เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง ครั้นแล้วจึง
ได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรต
นั้นจึงได้เป็นผู้เบิกบาน ร่าเริงบันเทิงใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส อธิบายว่า แห่งกรรมเช่นไร.
บทว่า หฺามิ ได้แก่ ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อน คือ ถึงความคับแค้น,
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หฺามิ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน อธิบายว่า
ย่อมบีบคั้นโดยพิเศษ. บทว่า ขชฺชามิ แปลว่า ถูกใบอ้อยบาด
อธิบายว่า ถูกใบอ้อยเฉือน เหมือนถูกศัสตราที่คมเช่นใบดาบเฉือน.

บทว่า วายมามิ ได้แก่ เราทำความพยายามจะกินอ้อย. บทว่า
ปริสกฺกามิ แปลว่า ตะเกียกตะกาย. บทว่า ปริภุญฺชิตุํ ความว่า
เพื่อจะบริโภคน้ำอ้อย อธิบายว่า เพื่อจะเคี้ยวอ้อย. บทว่า ฉินฺนถาโม
แปลว่า สิ้นกำลัง คือกำลังขาดไป อธิบายว่า กำลังสิ้นไป. บทว่า
กปโณ ได้แก่ เป็นคนกำพร้า. บทว่า ลาลปามิ ความว่า เราถูก
ทุกข์ครอบงำจึงบ่นเพ้อไปมากมาย.

บทว่า วิฆาโต แปลว่า มีความคับแค้น หรือถูกขจัดกำลัง.
บทว่า ปริปตามิ ฉมายํ ความว่า เมื่อไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ จึงล้มลง
ที่พื้นดิน. บทว่า ปริวตฺตามิ แปลว่า ย่อมหมุนไป. บทว่า วาริจโรว
แปลว่า เหมือนปลา. บทว่า ฆมฺเม ได้แก่ บนบกอันร้อนเร่าด้วย
ความร้อน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สนฺตสฺสิโต ได้แก่ กระหายนัก เพราะริมฝีปาก คอ
และเพดาลถึงความเหือดแห้งไป. บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ ความสุข
อันเป็นความสำราญ. บทว่า น วินฺเท แปลว่า ย่อมไม่ได้. บทว่า
ตํ แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า วิชาน แปลว่า จงรู้. บทว่า ปยาโต
แปลว่า เริ่มจะไป. บทว่า อนฺวคจฺฉิ แปลว่า ติดตาม. บทว่า
ปจฺจาสนฺโต แปลว่า หวังเฉพาะ. บทว่า เอตํ ในบทว่า ตสฺเสตํ
กมฺมสฺส นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า แห่งกรรมนั้น. บทว่า
ปิฏฺ€ิโต คณฺเหยฺยาสิ ความว่า พึงถือเอาอ้อยทางเบื้องหลังของตน
นั่นแหละ. บทว่า ปโมทิโต ได้แก่ บันเทิงใจ.

บทว่า คเหตฺวาน ตํ ขาทิ ยาวทตฺถํ ความว่า นันทเปรต
ถือเอาอ้อยโดยทำนองที่พระเถระสั่ง แล้วเคี้ยวกินตามชอบใจ
ถือเอามัดอ้อยมัดใหญ่ น้อมเข้าไปถวายพระเถระ พระเถระเมื่อ
จะอนุเคราะห์เขา จึงให้เขานั่นแหละ ถือเอามัดอ้อยนั้นไปยังพระ-

เวฬุวันมหาวิหาร ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันอ้อยนั้น แล้วกระทำอนุโมทนา เปรตมีจิต
เลื่อมใส ถวายบังคมแล้วก็ไป ตั้งแต่นั้นมา เขาก็บริโภคอ้อยตาม
ความสบาย.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์.
ก็ประวัติของเปรตนี้นั้นได้ปรากฏในมนุษยโลก. ลำดับนั้น พวก
มนุษย์เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามเรื่องนั้น พระศาสดาตรัสเรื่อง
นั้นแก่มนุษย์เหล่านั้นโดยพิสดาร แล้วทรงแสดงธรรม. พวกมนุษย์
ได้สดับธรรมนั้นแล้วได้เป็นผู้เว้นขาดจากความตระหนี่ ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรต ๒ ตน จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาวตฺถิ
นาม นครํ ดังนี้

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลมีพระโอรส ๒ พระองค์
น่าเลื่อมใส กำลังอยู่ในปฐมวัย มัวเมาในความเป็นหนุ่ม กระทำ
กรรมคือคบหาภรรยาของคนอื่น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ที่หลังคู. ในเวลากลางคืน เปรตเหล่านั้นพากันรำพันด้วยเสียง
อันน่าสพึงกลัว พวกมนุษย์ได้ฟังเสียงนั้น พากันสะดุ้งกลัว คิดว่า
เมื่อพวกเราทำอย่างนี้ อวมงคลนี้ย่อมสงบ จึงพากันถวายมหาทาน

แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
และอุบาสิกาทั้งหลาย เพราะได้ยินเสียงนั้น อันตรายอะไร ๆ ย่อม
ไม่มีแก่พวกท่าน เพื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งเสียงนั้นแล้วแสดงธรรม
แก่มนุษย์เหล่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า :-

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร
สองพระองค์ เป็นพระราชโอรสอยู่ในกรุงสาวัตถี
ข้างหิมวันตประเทศ พระราชกุมารทั้งสองพระ-
องค์นั้น เป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความ

ยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่
ทรงเห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็น
มนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต
ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่ว
ของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระ-
ทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม
อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญ

อันนำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำ
ตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่า
กามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิด
ในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและความ
กระหาย เมื่อก่อนในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของใน
ที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์
ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วกลับเสื่อมลง ย่อมตาย

เพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษ
อันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่าง
นี้แล้ว ละความมัวเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว
พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้เห็น
ด้วยญาณของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ เราได้ฟัง
มาอย่างนี้ โดยที่ปรากฏในโลก.
บทว่า กามสฺสาทาภินนฺทิโน ได้แก่ มีปกติเพลิดเพลินด้วย
อำนาจความยินดีในกามคุณ. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนสุเข คิทฺธา ได้แก่
เป็นผู้ติด คือข้องในอารมณ์รักว่าความสุขที่เป็นปัจจุบัน. บทว่า
น เต ปสฺสึสุนาคตํ ความว่า พระราชกุมารทั้งสองนั้นละทุจริต
ประพฤติสุจริต ไม่คิดถึงสุขที่จะพึงได้ในเทวดาและมนุษย์ในอนาคต
คือในกาลต่อไป.

บทว่า เตธ โฆเสนฺตุทิสฺสนฺตา ความว่า เปรตเหล่านั้นเมื่อ
ก่อนเป็นราชโอรส มีรูปไม่ปรากฏร้องคร่ำครวญอยู่ในที่ใกล้กรุง
สาวัตถีนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า คร่ำครวญว่าอย่างไร? ท่านจึง
กล่าวว่า ตนได้ทำกรรมชั่วไว้ในกาลก่อน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกเหตุแห่งการคร่ำครวญของเปรต
เหล่านั้น โดยเหตุและผล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคล
มีอยู่มาก ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูสุ วต สนฺเตสุ ได้แก่ เมื่อ
พระทักขิไณยเป็นอันมากมีอยู่. บทว่า เทยฺยธมฺเม อุปฏฺ€ิเต ความว่า
แม้เมื่อไทยธรรมที่ควรให้อันเป็นของตนอันไว้แล้วในที่ใกล้ อธิบาย
ว่า อันจะได้อยู่. บทว่า ปริตฺตํ สุขาวหํ มีวาจาประกอบความว่า
เราไม่อาจทำบุญอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขในอนาคตแม้มี
ประมาณน้อย แล้วทำตนให้มีความสวัสดี คือ ให้ปราศจากอุปัท-
วันตราย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กึ ตโต ปาปกํ อสฺส ความว่า ชื่อว่ากรรมอันเป็นบาป
คือลามกกว่านั้น จะพึงกลายเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร. บทว่า ยํ โน
ราชกุลา จุตา ความว่า เพราะบาปกรรมอันใด พวกเราจึงจุติจาก
ราชสกุล เกิดในเปตวิสัยนี้ คือ บังเกิดในหมู่เปรตเพียบพร้อมไปด้วย
ความหิวกระหายเที่ยวไปอยู่.

บทว่า สามิโน อิธ หุตฺวาน ความว่า เมื่อก่อน ราชบุตร
เป็นเจ้าของเที่ยวไปในที่ใดในโลกนี้ แต่ไม่เป็นเจ้าของในที่นั้นนั่นเอง
ด้วยบทว่า มนุสฺสา อุนฺนโตนตา ท่านแสดงว่า ในเวลาเป็นมนุษย์
ราชกุมารเหล่านั้นเป็นเจ้าของ ทำกาละแล้วเสื่อมลงด้วยอำนาจกรรม
เพราะความหิวกระหาย ท่านจงเห็นปกติของสงสาร.

บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา อิสฺสรมทสมฺภวํ ความว่า
นรชนรู้โทษ กล่าวคือการเกิดในอบายอันเกิดด้วยความเมา ใน
ความเป็นใหญ่นี้ แล้วละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย ขวนขวาย
เอาแต่บุญ. บทว่า ภเว สคฺคคโต นโร ความว่า พึงไปสวรรค์ คือ
เทวโลกเท่านั้น

พระศาสดาครั้นตรัสประวัติของเปรตเหล่านั้นด้วยประการ
ดังนี้แล้ว ทรงให้อุทิศทานที่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกระทำแก่
พวกเปรตเหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรม อันเหมาะแก่อัธยาศัยของ
บริษัทผู้ประชุมกัน เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ
กตานํ กมฺมานํ ดังนี้

ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง
วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์
เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย
พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่

ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน
พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์
อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น
ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-

ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส
ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน
สวนแล้วเสด็จเข้าไปยังเมืองราชคฤห์ ได้ทรง

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสุเนตตะ ผู้มีตน
อันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วย
หิริ ยินดีในอาหาร เฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จ
ลงจากคอช้าง แล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง
พระผู้เป็นเจ้า แล้วจับบาตรของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ยกขึ้นสูงแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก
ทรงพระศรวลหลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความ

กรุณาว่าเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด (ตก)
อยู่ในนรก ได้เสวยผลอันเผ็ดร้อน ของกรรม
อันหยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาล ทำบาป
หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำ
บ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง
เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรก หลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย
ฤๅษี ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย ผู้มีวัตร

อันงาม ได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็น
ปานนี้ และเปรตผู้เป็นพระราชโอรสเสวยทุกข์
เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นหลายปี จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจความมัวเมาในความเป็นใหญ่
อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่
เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อน
น้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญ
ในปัจจุบัน เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้า
ถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตานํ กมฺมานํ วิปาโกมถเย
มนํ ความว่า ผลแห่งอกุศลกรรมที่พระราชโอรสกระทำไว้ในชาติก่อน
เกิดเป็นผลอันยิ่ง ย่ำยี ครอบงำ จิตของคนอันธพาล อธิบายว่าพึงยัง
ประโยชน์ของตนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งจะทำความพินาศให้แก่คนเหล่าอื่น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงผลแห่งอกุศลกรรมนั้น อันเป็นเครื่องย่ำยีจิต
พร้อมด้วยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า รูเป ได้แก่ เพราะเหตุแห่งรูป อธิบายว่า เพราะ
ได้รูปารมณ์ตามที่ปรารถนา ที่น่าชอบใจเป็นนิมิตร. แม้ในบทว่า
สทฺเท ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อจะทรงแสดงกำหนดความที่กล่าวแล้วโดยทั่วไป โดยเป็น
ความไม่ทั่วไปอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า การฟ้อน การขับ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ซึ่งความยินดีในกาม. บทว่า
ขิฑฺฑํ ได้แก่ การเล่นด้วยสหายเป็นต้น. บทว่า คิริพฺพชํ ได้แก่
กรุงราชคฤห์.

บทว่า อิสึ ความว่า ชื่อว่า ฤๅษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น อันเปนของพระอเสกขะ. บทว่า สุเนตฺตํ
ได้แก่ อตฺตทนฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตอันฝึกแล้วด้วยการฝึกอย่างสูง. บท
ว่า สมาหิตํ ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วย
พระอรหัตตผล. บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตคเต รตํ ได้แก่ ผู้ยินดี คือ

สันโดษในอาหารที่อยู่ในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร อันได้มาด้วย
การแสวงหา คือ ด้วยการภิกษาจาร.

บทว่า ลทฺธา ภนฺเตติ จาพฺรวิ ความว่า ตรัสเพื่อให้เกิดความ
คุ้นเคยว่า ท่านขอรับ ท่านภิกษาบ้างไหม. บทว่า อุจฺจํ ปคฺคยฺห
ได้แก่ ยกบาตรขึ้นให้สูง.

บทว่า ถณฺฑิเล ปตฺตํ ภินฺทิตฺวา ได้แก่ ทำลายบาตรให้แตก
โยนไปในภูมิประเทศอันแข็ง. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ หลีกไปหน่อย
หนึ่ง. ก็พระราชโอรสเมื่อจะหลีกไปหน่อยหนึ่ง. ก็พระราชโอรส
เมื่อจะหลีกไปจึงกล่าวว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ ดูก่อน
ภิกษุ ท่านจักทำอะไรเราดังนี้ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แลดูด้วย
ความกรุณาว่า คนอันธพาลได้ทำความพินาศอันใหญ่หลวงให้แก่
ตน โดยเหตุอันไม่สมควรเลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร