วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มาณพนั้นรับคำของนางเปรตนั้นแล้ว
ได้กระทำกรรมอันเป็นกุศลส่งผลให้เกิดในวิมาน
นั้น ครั้นแล้วได้เข้าถึงความเป็นสหายของนาง
เวมานิกเปรตนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
สัมปฏิจฉนัตถะ. บทว่า ตสฺสา ได้แก่ นางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า
ปฏิสฺสุณิตฺวา ได้แก่ รับคำของนางเวมานิกเปรตนั้น. บทว่า ตหึ
เวทนียํ ได้แก่ กุศลกรรมอันมีผลเป็นสุขที่จะพึงได้รับกับนาง
เวมานิกเปรตนั้น ในวิมานนั้น. บทว่า สหพฺยตํ คือ ซึ่งความอยู่
ร่วมกัน. มีวาจาประกอบความว่า มาณพนั้นเข้าถึงความเป็น
สหายกับนางเวมานิกเปรตนั้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

เมื่อคนเหล่านั้นเสวยทิพยสมบัติในวิมานนั้น ตลอดกาลนาน
อย่างนี้ เพราะสิ้นกรรม บุรุษจึงกระทำกาละ แต่หญิงเพราะบุญ
กรรมของตนถึงเขตสมบัติ จึงอยู่จนครบอายุในวิมานนั้น ตลอด
พุทธันดรหนึ่ง. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ใน
พระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
จาริกไปบนภูเขา เห็นวิมานและนางเวมานิกเปรตนั้น จึงถาม
ด้วยคาถามีอาทิว่า วิมานมีเสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์งดงามผุดผ่อง
และนางเวมานิกเปรตนั้นได้เล่าประวัติของตนทั้งหมดแก่ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ตั้งแต่ต้น. พระเถระได้ฟังดังนั้นมายังกรุง
สาวัตถีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
กระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท
ผู้ถึงพร้อมแล้ว มหาชนได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญธรรม
มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ
อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
เปรต ๔ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสานิ
เอโก สาลี ปุนาปโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี
มีพ่อค้าโกงคนหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรมมีการโกงด้วย
ตราชั่งเป็นต้น. เขาถือเอาฟ่อนข้าวสาลี เคล้าด้วยดินแดง ทำให้
หนักกว่าเดิม ปนกับข้าวสาลีแดงแล้วขาย. บุตรของเขาโกรธว่า
คุณพ่อไม่ยอมให้เกียรติยกย่องมิตรสหายของเรา ผู้มาสู่เรือนเสีย
เลย ได้ถือเอาเชือกหนัก ๒ เส้น ตีศีรษะมารดา. หญิงสะใภ้ของ
เขา ลักกินเนื้อที่เก็บไว้สำหรับชนทั้งปวงแล้ว เมื่อถูกชนเหล่านั้น

ซักไซร้จึงให้คำสบถว่า ถ้าเรากินเนื้อนั้นจริง ก็ขอให้เราพึงเฉือน
เนื้อสันหลังของตนแล้วกินทุก ๆ ภพไปเถิด. ฝ่ายภริยาของเขา
เมื่อชนทั้งหลายพากันขออุปกรณ์บางอย่าง ก็ตอบว่า ไม่มี เมื่อ
ถูกชนเหล่านั้นรบเร้า จึงได้ทำสบถด้วยมุสาวาทว่า ถ้าเรากล่าว
ถึงสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มีไซร้ ขอให้เราพึงเป็นผู้มีคูถเป็นอาหาร ในที่
ที่เกิดแล้วเถิด.

สมัยต่อมาชนทั้ง ๔ คนนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ในดงไฟไหม้ ในคน ๔ คนนั้น พ่อค้าโกง ใช้มือทั้งสองข้าง กอบ
เอาแกลบที่ลุกโพลงด้วยผลกรรมแล้ว เกรี่ยลงบนศีรษะของตนเอง
เสวยทุกข์เป็นอันมาก, บุตรของเขาก็ใช้ค้อนเหล็กตีศีรษะตนเอง
เสวยทุกข์ไม่ใช่น้อยเลย หญิงสะใภ้ของเขา ด้วยผลกรรม จึงใช้

เล็บทั้งหลายที่ทั้งกว้างและยาวยิ่งนัก คมเป็นอย่างดี กรีดเนื้อ
แผ่นหลังของตนเองกิน เสวยทุกข์หาประมาณมิได้. พอภริยา
ของเขา น้อมนำข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์ดี ปราศจากด่างดำ
เข้าไปเท่านั้น ก็กลายสำเร็จเป็นคูถ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่หนอน
นานาชนิด มีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดยิ่งนัก, ภริยานั้นเอามือทั้ง
สองข้างกอบคูถนั้นกิน เสวยทุกข์อย่างมหันต์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อชนทั้ง ๔ คนเหล่านั้น เกิดในหมู่เปรตเสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อจาริก
ไปบนภูเขา วันหนึ่งไปถึงที่นั้น เห็นเปรตเหล่านั้น จึงถามถึงกรรม
ที่เปรตเหล่านั้น กระทำด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านทั้ง ๔ คนนี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบ
ข้าวสาลีที่ไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะตนเอง
อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก ส่วน
คนที่เป็นหญิง เอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือด
ของตนเอง ส่วนท่านกินคูถอันเป็นของไม่สะอาด
ไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสานิ ได้แก่ ข้าวรีบ. บทว่า
เอโก แปลว่า ผู้หนึ่ง. บทว่า สาลึ แปลว่า ข้าวสาลี. จริงอยู่ บทว่า
สาลึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. อธิบายว่า
โปรยแกลบแห่งข้าวสาลี ที่ไฟลุกโชนลงบนศีรษะของตน. บทว่า
ปุนาปโร ตัดเป็น ปุน อปโร แปลว่า อีกคนหนึ่ง. จริงอยู่ ท่าน

กล่าวหมายถึงผู้ตีศีรษะมารดาแล้วเอาฆ้อนเหล็กตีศีรษะตนเองจนถึง
ศีรษะแตก. บทว่า สกมํสสโลหิตํ มีวาจาประกอบความว่า ย่อมกิน
เนื้อหลัง และเลือดของตนเอง. บทว่า อกนฺตํ แปลว่า ไม่น่าชอบใจ
คือ น่าเกลียด. บทว่า กิสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นี้เป็นผลแห่ง
บาปกรรมชนิดไหน ซึ่งพวกท่านเสวย ณ บัดนี้.

เมื่อพระเถระถามถึงกรรมที่ชนเหล่านั้น กระทำอย่างนี้
ภริยาของพ่อค้าโกง เมื่อจะแจ้งถึงกรรมที่ชนทั้งหมดนั้นกระทำไว้
จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
เมื่อก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีดิฉัน
ผู้เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกง
ข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูกสะใภ้ของดิฉัน
ลักกินเนื้อแล้ว กลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท
ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก เป็นหญิง
แม่เรือน เป็นใหญ่แก่สกุลทั้งปวง เมื่อสิ่งของมี
อยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้
อะไร ๆ จากของที่มีอยู่เลยปกปิดไว้ด้วยมุสาวาท
ว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ที่มีไว้ไซร้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตรแห่ง
ข้าวสาลีอันมีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถ
เพราะวิบากแห่งกรรม คือมุสาวาทของดิฉัน ก็
กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบ-
สูญ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถ
อันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.

นางเปรตเมื่อจะแสดงถึงบุตรจึงได้กล่าวว่า อยํ ในคาถานั้น.
บทว่า หึสติ แปลว่า ใช้กำลังเบียดเบียน อธิบายว่า ใช้ไม้ฆ้อนตี.
บทว่า กูฏวาณิโช แปลว่า พ่อค้าเลวทราม อธิบายว่า ทำการค้าด้วย
การหลอกลวง. บทว่า มํสานิ ขาทิตฺวา ความว่า กินเนื้อที่ทั่วไป
แก่คนเหล่าอื่นแล้ว หลอกลวงชนเหล่านั้น ด้วยมุสาวาทว่า เรา
ไม่ได้กิน.

บทว่า อคารินี ได้แก่ หญิงแม่เจ้าเรือน. บทว่า สนฺเตสุ
ความว่า เมื่อเครื่องอุปกรณ์ที่ชนเหล่าอื่นขอยังมีอยู่นั่นแล. บทว่า
ปริคุหามิ แปลว่า ปกปิด. จริงอยู่ คำว่า ปริคุหามิ นี้ ท่านกล่าว
ด้วยกาลวิปลาส. บทว่า มา จ กิญฺจิ อิโต อทํ ความว่า เราไม่ได้
ให้แม้เพียงสิ่งอะไร ๆ จากสิ่งอันเป็นของของเรานี้ แก่ชนเหล่าอื่น

ผู้ต้องการ. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า ปกปิดด้วยมุสาวาทว่า สิ่งนี้
ไม่มีอยู่ในเรือนของเรา.
บทว่า คูถํ เม ปริวตฺตติ ความว่า ข้าวสาลีมีกลิ่นหอม
ย่อมเปลี่ยนไป คือ แปรไปโดยความเป็นคูถ ด้วยอำนาจกรรม
ของเรา. บทว่า อวญฺฌานิ แปลว่า ไม่สูญเปล่า คือ ไม่ไร้ผล.
บทว่า น หิ กมฺมํ วินสฺสติ ความว่า กรรมตามที่ตนได้สั่งสมไว้
ยังไม่ให้ผล จะไม่สูญไปไหนเลย. บทว่า กิมินํ ได้แก่ มีหนอน
คือ เกิดเป็นหมู่หนอนขึ้น. บทว่า มีฬฺหํ แปลว่า คูถ. คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

พระเถระ ครั้นสดับคำของนางเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕
เรื่องแห่งกุมารเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อจฺเฉรรูปํ สุคตสฺส
าณํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีอุปุปัตติเหตุเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี อุบาสกและอุบาสิกาเป็นอันมาก
เป็นหมู่กันโดยธรรม สร้างมณฑปหลังใหญ่ไว้ในพระนคร ประดับ
มณฑปนั้นด้วยผ้านานาพรรณ นิมนต์พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์
มาแต่เช้าตรู่ ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนั่งบนอาสนะ
ที่ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีควรแก่ค่ามาก บูชาด้วยสักการะมี
ของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้ว ให้มหาทานเป็นไป. บุรุษคนหนึ่ง

มีจิตถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม พอเห็นดังนั้น ทนต่อสักการะ
นั้นไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ ทิ้งเสียที่กองหยากเหยื่อ
ยังจะดีกว่า กว่าการที่จะถวายแก่สมณะโล้นเหล่านี้ ซึ่งหาดีมิได้
เลย. พวกอุบาสกอุบาสิกาได้ฟังดังนั้น เกิดความสลดใจพากันคิดว่า
การที่บุรุษนี้ขวนขวายสร้างกรรมชั่ว อันเป็นเหตุให้ผิดในภิกษุ

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานถึงอย่างนี้ จัดว่าเป็นกรรมอันหนัก
หนอ ดังนี้แล้ว จึงได้บอกเรื่องนั้น แก่มารดาของเขาแล้วกล่าวว่า
ไป เธอจงไปขอขมาโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์
สาวก. มารดารับคำแล้ว เมื่อจะขู่บุตรให้ยินยอม จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า และเยี่ยมภิกษุสงฆ์ แสดงโทษที่บุตรกระทำ
ไว้ให้ขมาโทษแล้ว ได้กระทำการบูชา ด้วยการถวายข้าวยาคู

ตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น
ไม่นานนักบุตรก็ทำกาละ บังเกิดในท้องของหญิงแพศยา ผู้เลี้ยง
ชีพด้วยกรรมที่เศร้าหมอง. ก็พอบุตรเกิดขึ้นเท่านั้น มารดารู้ว่าเป็น
เด็กชาย ก็ให้เขาไปทิ้งเสียที่ป่าช้า. บุตรนั้น อันพลังแห่งบุญของ
ตนคุ้มครองรักษาไว้ในที่นั้น ไม่ถูกอะไร ๆ เบียดเบียน จึงหลับ
เป็นสุขเหมือนหลับที่ตักของมารดา. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เทวดาพากันรับคุ้มครองรักษาบุตรนั้นไว้.

ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหา-
กรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทอดพระเนตร
เห็นเด็กนั้นที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า จึงได้เสด็จไปยังป่าช้า ในเวลา
พระอาทิตย์ขึ้น. มหาชนประชุมกันว่า พระศาสดาเสด็จมาในที่นี้
เห็นจะมีเหตุอะไรในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่บริษัทผู้
ประชุมกันแล้วว่า เด็กคนนี้ไม่มีใครรู้จัก บัดนี้ถูกทอดทิ้งไว้ใน
ป่าช้า ไร้ที่พึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น เด็กนั้นก็จักได้รับสมบัติอันโอฬาร

ในอนาคต ปัจจุบัน และอภิสัมปรายภพแล้ว ถูกพวกมนุษย์เหล่านั้น
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติปางก่อน เด็กคนนี้ทำกรรม
อะไรไว้ ดังนี้จึงทรงประกาศ กรรมที่เด็กกระทำไว้ และสมบัติที่
เด็กพึงได้รับในอนาคต โดยนัยเป็นต้นว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หมู่ชนได้กระทำการบูชาอย่างโอฬาร
แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่
จิตของเด็กนั้นกลับกลายเป็นอย่างอื่น จึงได้กล่าว
วาจาหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษดังนี้แล้ว

จึงแสดงธรรมอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของบริษัทที่พากันมา
ประชุมแล้ว จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง
ด้วยพระองค์เองในเบื้องบน. ในเวลาจบสัจจะ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้
ตรัสรู้ธรรม. ก็กฎุมพีคนหนึ่ง ผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้รับเด็กนั้น
ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นบุตรของเรา. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เด็กนี้ อันบุญกรรมมีประมาณเท่านี้
รักษาไว้แล้ว และมหาชนพากันกระทำการอนุเคราะห์ ดังนี้แล้ว จึง
เสด็จไปยังพระวิหาร.

สมัยต่อมา เมื่อกฎุมพีนั้น ทำกาละแล้ว เธอก็ปกครองทรัพย์
ที่กฎุมพีนั้นมอบให้เก็บรวมทรัพย์ไว้ ได้เป็นคฤหบดี มีสมบัติ
มากในพระนครนั้นเอง ได้เป็นผู้ยินดีในการให้ทานเป็นต้น. ภายหลัง
วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า น่าอัศจรรย์
พระศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เด็กชื่อแม้นั้น ในกาลนั้น

เป็นคนอนาถา แต่บัดนี้เสวยสมบัติมาก และกระทำอย่างโอฬาร
พระศาสดา ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่เธอจะมีสมบัติแต่เพียงเท่านี้ โดยที่แท้ ในเวลาสิ้นอายุ จัก
บังเกิด เป็นโอรสของท้าวสักกเทวราช ในภพชั้นดาวดึงษ์ และจัก
ได้สมบัติอันเป็นทิพย์. ภิกษุทั้งหลายและมหาชน ได้ฟังดังนั้นแล้ว

คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผู้เห็นกาลไกล ทรง
สดับเหตุนั้นแล้ว เสด็จไป เมื่อเขาพอเกิดมาเท่านั้นก็ถูกทิ้งใน
ป่าช้าผีดิบ เสด็จไปในที่นั้น กระทำการสงเคราะห์เธอดังนี้แล้ว
จึงพากันชมเชยญาณพิเศษของพระศาสดา แล้วได้กราบทูลประวัติ
ของเด็กนั้นในอัตภาพนั้น. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดง
ความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลว่า บุคคล
บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย. กุมารนี้ถูก
ทอดทิ้งในป่าช้าเป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือ
ตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็ก งูใหญ่
ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้
สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเล็บเท้าทั้งสองของ
เด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอกก็พากันมาเดินเวียน
รักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง

ส่วนฝูงกาพากันมาเอาขี้ตาไปทิ้ง มนุษย์และ
อมนุษย์ไร ๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใคร ๆ
ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาดให้เป็นยามิได้มี และ
ไม่ได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม ทั้งไม่ได้เรี่ย -
รายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญา

กว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กอันบุคคล
นำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงซึ่งความทุกข์
อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อนเนยใสหวั่นไหวอยู่
มีความสงสัยว่า รอดหรือไม่รอด เหลืออยู่แต่สัก
ว่าชีวิต ครั้นได้รับพยากรณ์ว่า เด็กนี้จักเป็นผู้มี
สกุลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้

พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า
อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา
นี้เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ ที่เขา
ประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว
จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉรรูปํ ได้แก่ มีสภาวะน่า
อัศจรรย์. บทว่า สุคตสฺส าณํ ได้แก่ พระญาณแห่งพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอันไม่ทั่วไปกับสาวกอื่น ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาพระ-
สัพพัญญุตญาณมีอาสยานุสยญาณเป็นต้นเท่านั้น. เพื่อจะเลี่ยง
คำถามว่า พระญาณนี้นั้น ไม่เป็นวิสัยของพระสาวกอื่น เป็นอย่างไร
จึงกล่าวว่า พระศาสดาทรงพยากรณ์ตามชั้นของบุคคล. ด้วยคำนั้น
ท่านแสดงว่า ความที่พระญาณเป็นภาวะน่าอัศจรรย์ ย่อมรู้ได้ด้วย
เทศนาของพระศาสดาเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงพยากรณ์ พระองค์จึงตรัสว่า บุคคล
บางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ดังนี้. ความแห่งคำนั้นมีอธิบาย
ดังนี้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้ มีกุศลธรรมมาก เป็นผู้เสื่อมจาก
ชาติเป็นต้น ด้วยอำนาจอกุศลที่ตนได้แล้วเป็นปัจจัยก็มี บางพวกมี
มีบุญน้อยก็มี บางพวกมีบุญธรรมน้อยกว่าก็มี เป็นผู้รุ่งเรือง เพราะ
ความเป็นบุญรุ่งเรืองมากด้วยเหตุมีเขตุตสมบัติเป็นต้น ก็มี.

บทว่า สิวถิกาย แปลว่า ในป่าช้า. บทว่า องฺคุฏฺ€เสฺนเหน
ได้แก่ ด้วยน้ำนมอันไหลออกจากนิ้วมือ อธิบายว่า ด้วยน้ำนมอัน
ไหลออกจากนิ้วมือของเทวดา. บทว่า น ยกฺขภูตา น สรีสปา วา
ความว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปีศาจภูต ยักขภูต
หรืองูใหญ่น้อยที่เที่ยวไป หรือเดินไป ไม่พึงเบียดเบียน คือไม่พึง
ทำร้าย.

บทว่า ปลิหึสุ ปาเท ความว่า เลียเท้าทั้งสองด้วยลิ้นของตน.
บทว่า ธงฺกา แปลว่า พวกเหยี่ยว. บทว่า ปริวตฺตยนฺติ ความว่า
เที่ยวเวียนรักษาไป ๆ มา ๆ เพื่อให้รู้ว่าไม่มีโรคว่า ใคร ๆ อย่าพึง
เบียดเบียนกุมารนั้นเลย. บทว่า คพฺภาสยํ แปลว่า มลทิลครรภ์.
บทว่า ปกฺขิคณา ได้แก่ ฝูงนกมีแร้ง และเหยี่ยวเป็นต้น. บทว่า
หรนฺติ แปลว่า ขจัดไป. บทว่า อกฺขิมูลํ ได้แก่ ขี้ตา.

บทว่า เกจิ ได้แก่ พวกเป็นมนุษย์ แต่อมนุษย์จัดแจงรักษา.
บทว่า โอสธํ ได้แก่ ยาอันบำบัดโรคในกาลนั้น และกาลต่อไป.
ด้วยบทว่า สาสปธูปนํ วา ท่านแสดงว่า ผู้ที่จะทำยาด้วยเมล็ด
พรรณผักกาด เพื่อจะรักษาเด็กผู้แรกเกิดนั้น ไม่มี. บทว่า
นตฺขตฺตโยคมฺปิ น อคฺคเหสุํ ความว่า ไม่ยึดเอาแม้ด้วยการประกอบ
ฤกษ์, อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่กระทำกรรมแรกเกิดให้แก่เธออย่างนี้ว่า

เด็กนี้เกิดในฤกษ์โน้น ดีถิโน้น ครู่โน้น. บทว่า น สพฺพธฺานิปิ
อากิรึสุ ความว่า เมื่อจะกระทำมงคล ไม่ได้กระทำข้าวเปลือกมี
ข้าวสาลีเป็นต้นอันเจือด้วยน้ำมันเมล็ดพรรณผักกาดที่เขาประกอบ
ให้เป็นยาแก่เด็กนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เอตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น. บทว่า อุตฺตมกิจฺฉปตฺตํ
ความว่า ได้รับความยากอย่างยิ่ง คือ ได้รับทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า
รตฺตาภตํ ได้แก่ ที่เขานำมาในราตรี. บทว่า โนนีตปิณฺฑํ วิย ได้แก่
เสมือนกับก้อนเนยใส, ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นเพียงชิ้นเนื้อ.
บทว่า ปเวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่โดยภาวะที่มีกำลังน้อย. บทว่า
สํสยํ ความว่า ชื่อว่ามีความสงสัย เพราะมีความสงสัยว่า เขาจะ
มีชีวิตอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า ชีวิตสาวเสสํ ได้แก่ เหลืออยู่แต่เพียง
ชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่มีทรัพย์อันเป็นเหตุดำรงชีวิต.

บทว่า อคฺคกุลิโก ภวิสฺสติ โภคโต จ ความว่า จักเป็นผู้
มีสกุลสูง คือ มีสกุลสูงสุดอันมีโภคะเป็นเหตุ คือด้วยอำนาจโภคะ.

คาถาว่า กิสฺส วตํ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า อุบาสกผู้อยู่ใน
สำนักของพระศาสดากราบทูลด้วยอำนาจคำถามถึงกรรมที่เขา
ทำไว้ และคาถานั้นแลอุบาสกผู้ประชุมกันอยู่ในป่าช้าได้กล่าวไว้
แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส แปลว่า พึงเป็นกรรมอะไร.
บทว่า วตํ ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า กิสฺส มีวาจาประกอบ
การเปลี่ยนวิภัติอีกว่า วัตรและพรหมจรรย์ที่เธอสั่งสมไว้ดีเช่นไร.

บทว่า เอตาทิสํ ความว่า ชื่อว่าเห็นปานนั้น เพราะเกิดในท้อง
หญิงแพศยา ถูกทอดทิ้งในป่าช้า. บทว่า พฺยสนํ แปลว่า ความพินาศ.
บทว่า ตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น, อธิบายว่า มีประการดังกล่าว
แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอยู่ตลอดราตรีด้วยน้ำนมที่ไหลออกจาก
นิ้วมือ และโดยนัยมีอาทิว่า เด็กนี้จักมีสกุลสูงแห่งนครนี้. บทว่า
อิทฺธึ ได้แก่ เทวฤทธิ์ อธิบายว่า ทิพยสมบัติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกอุบาสกเหล่านั้นทูลถามแล้ว
ได้ทรงพยากรณ์ในเวลานั้น โดยประการที่พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายเมื่อจะแสดงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มหาชนได้ทำการบูชาอย่างโอฬาร แก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้น
มิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ-
คายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอัน
มารดาตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้น
แล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุง
พระตถาคต ซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร
ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหม-

จรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหม-
จรรย์ที่เขาประพฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศ
เช่นนี้แล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่
ในมนุษยโลกนี้ สิ้น ๑๐๐ ปี เป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยกามคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความ
เป็นสหายแห่งท้าววาสวะในสัมปรายภพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชนตา ได้แก่ หมู่ชน อธิบายว่า
คณะแห่งอุบาสก. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการบูชานั้น. บทว่า
อสฺส ได้แก่ ของทารกนั้น. บทว่า จิตฺตสฺสหุ อฺถตฺตํ ความว่า
ในภพก่อน จิตของเขามีภาวะเป็นอย่างอื่น คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เคารพ
ไม่มีปีติ. บทว่า อสพฺภํ ได้แก่ ได้กล่าววาจาหยาบอันไม่ควรที่จะฟัง
ในที่ประชุมแห่งสาธุชน.

บทว่า โส ได้แก่ เด็กนี้นั้น. บทว่า ตํ วิตกฺกํ ได้แก่ วิตก
อันลามกนั้น. บทว่า ปวิโนทยิตฺวา ได้แก่ สงบระงับด้วยสัญญัติ
ที่มารดากระทำ. บทว่า ปีตึ ปสาทํ ปฏิลทฺธา ได้แก่ กลับได้ คือ
ทำปีติและความเลื่อมใสให้เกิด. บทว่า ผาคุยา อุปฏฺ€าสิ ได้แก่ บำรุง
ด้วยการถวายข้าวยาคู. บทว่า สตฺตรตฺตํ แปลว่า ตลอด ๗ วัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2019, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตสฺส วตํ ตํ ปน พฺรหฺมจริยํ ความว่า ความเลื่อมใส
และการให้แห่งจิตของตนซึ่งมีประการดังเรากล่าวในหนหลังนั้น
เป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของบุคคลนี้ อธิบายว่า ไม่มีสิ่งไรอื่น.
บทว่า €ตฺวาน ความว่า ตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละจนสิ้น
อายุ. บทว่า อภิสมฺปรายํ ได้แก่ ในภพใหม่. บทว่า สหพฺยตํ
คจฺฉติ วาสวสฺส ได้แก่ จักเข้าถึงความเป็นสหาย โดยความเป็น
บุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพ. ก็คำว่า สหพฺยตํ คจฺฉติ วาสวสฺส
นี้ เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอันเป็นอนาคต. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเสรินีเปรต จึงได้ตรัสพระคาถามีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทฺพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในหัตถินีบุรี ในแคว้นกุรุรัฐ มีหญิงคนหนึ่งชื่อว่า
เสรินี ได้เป็นผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีวิต. ก็ภิกษุทั้งหลายจากที่นั้น ๆ
ได้มาประชุมกันในหัตถินีบุรีนั้น เพื่อต้องการทำอุโบสถ. ได้มี
ภิกษุจำนวนมากมาประชุมกันอีก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นดังนั้น จึง
จัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในการบำเพ็ญทานเป็นอันมาก มีเมล็ดงา
และข้าวสารเป็นต้น และมีเนยใส เนยข้น และน้ำผึ้งเป็นต้น บำเพ็ญ

มหาทาน. ก็สมัยนั้น นางคณิกาคนนั้นไม่มีศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส
จิตถูกกลุ้มรุมด้วยมลทินคือความตระหนี่ แม้จะถูกพวกมนุษย์
เหล่านั้นให้กำลังใจว่า มาซิเธอ ก่อนอื่นจงอนุโมทนาทานนี้ ก็
ประกาศยืนยันความไม่เลื่อมใสแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า จะประโยชน์
อะไรด้วยทานที่ให้แก่พวกสมณะโล้น การบริจาคสิ่งของมีประมาณ
เล็กน้อย จักมีแต่ไหน.

สมัยต่อมา นางทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต ที่หลังคู แห่ง
ปัจจันตนครแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น อุบาสกชาวเมืองหัตถินีบุรีคนหนึ่ง
ไปยังนครนั้นเพื่อการค้า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังหลังคู
ด้วยประโยชน์เช่นนั้น. นางเห็นเขาที่นั้น ก็จำได้เป็นคนเปลือย
มีร่างกายเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัวยิ่งนัก
ได้ยืนแสดงตนอยู่ในที่ไม่ไกล. อุบาสกนั้น เห็นนางนั้นแล้ว ถาม
เป็นคาถาว่า :-

ท่านเปลือยกาย มีรูปพรรณน่าเกลียด ซูบ
ผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูก่อนนางผู้ซูบผอม
จนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหนอ มายืนอยู่ที่นี้.
ฝ่ายนางเปรต จึงประกาศตนแก่อุบาสกนั้นด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์
ได้ยาก เกิดในยมโลก ทำกรรมอันลามกไว้ จึง
จากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางถูกอุบาสกนั้น ถามถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยคาถาอีกว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ หรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึง
จากโลกนี้ไปสู่เปตโลก
จึงบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ และประโยชน์ที่เขาพึงกระทำ
ให้แก่ตนอีก ด้วยคาถา ๖ คาถานี้ว่า :-

ดิฉัน ได้ค้นหาทรัพย์มาได้กึ่งมาสก ในที่
ที่ไม่มีใครหวงห้าม เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉันไม่
ได้กระทำที่พึ่งแก่ตนไว้ ดิฉันกระหายน้ำ เข้าไป
ยังแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับว่างเปล่าไป ในเวลาร้อน
ดิฉันเข้าไปยังร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป
ทั้งลมก็กลับกลายเป็นเปลวไฟไป เผาร่างของ
ดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันควรจะเสวย

ทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่ท่านกล่าว
แล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น
ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วยบอกแก่มารดา
ดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เขาจากโลกนี้ไปยังเปตโลก เพราะทำ
บาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐

ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้
นั้นเถิด ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน
แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้น
ดิฉันก็จะมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า
ในถิ่นที่เป็นท่าของแม่น้ำ และสระน้ำเป็นต้น ที่ใคร ๆ ไม่หวงห้าม
คือ ในที่ที่พวกมนุษย์อาบและทำกิจด้วยน้ำเช่นนั้น. บทว่า วิจินึ
อฑฺฒมาสกํ ความว่า ดิฉันถูกความโลภครอบงำ ค้นหา คือแสวงหา
ได้ทรัพย์เพียงกึ่งมาสก ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้อะไร ๆ
สักอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ที่พวกมนุษย์วางลืมไว้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
อนาวเฏสุ ติตฺเถสุ ความว่า เมื่อสมณพราหมณ์ อันเป็นที่พึ่ง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของสัตว์ทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์อันเนื่องด้วย
ความพยายามของปวงสัตว์ ซึ่งไม่มีใครหวงห้าม โดยการเข้าไปหา
มีอยู่. บทว่า วิจินึ อฑฺฒมาสกํ ความว่า ดิฉันมีจิตถูกมลทินคือ
ความตระหนี่กลุ้มรุม จึงไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ จึงเก็บทรัพย์
ไว้เป็นพิเศษกึ่งมาสก จึงไม่สั่งสมบุญไว้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ดิฉัน จึงไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้
เป็นต้น.

บทว่า ตสิตา ได้แก่ ผู้กระหายแล้ว. บทว่า ริตฺตกา
ความว่า แม่น้ำที่กาพอจะพึงดื่มได้ ไหลไปอยู่ ก็กลับกลายเป็น
แม่น้ำว่างเปล่าจากน้ำ มีเพียงทราย เพราะกรรมชั่วของดิฉัน.
บทว่า อุณฺเหสุ ได้แก่ ในฤดูร้อน. บทว่า อาตโป ปริวตฺตติ
ความว่า ที่ที่มีร่มเงา เมื่อดิฉันเข้าไป ก็กลับกลายเป็นแดดไป.

บทว่า อคฺคิวณฺโณ ได้แก่ มีสัมผัสเช่นกับไฟ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แผดเผาฟุ้งตลบไป ดังนี้เป็นต้น. นางเปรตเรียก
อุบาสกนั้น ด้วยความเคารพว่า ภนฺเต ในบทว่า เอตญฺจ ภนฺเต
อรหามิ นี้ อธิบายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดิฉัน สมควรเสวยทุกข์อัน
เกิดแต่ความกระหาย เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วนี้ และทุกข์อย่างอื่น

อันลามก ทารุณ กว่านั้น เพราะดิฉันได้กระทำกรรมชั่ว อันเกิด
แต่การกระทำนั้น. บทว่า วชฺเชสิ แปลว่า พึงกล่าว.

บทว่า เอตฺถ นิกฺขิตฺตํ อนกฺขาตํ ความว่า ดิฉันไม่ได้บอกว่า
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ เก็บไว้ในที่นี้. บัดนี้ นางเปรตเมื่อจะแสดง
ปริมาณของทรัพย์นั้น จึงกล่าวว่า ทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ ดิฉันได้เก็บ
ซ่อนไว้ภายใต้เตียง ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปลฺลงฺกสฺส ได้แก่บัลลังก์อันเป็นที่นอนของตนในกาลก่อน. บทว่า

ตโต ความว่า ขอมารดา จึงถือเอาทรัพย์ส่วนหนึ่ง จากทรัพย์ที่
ดิฉันฝังไว้ แล้วจงให้ทานอุทิศถึงดิฉัน. บทว่า ตสฺสา ได้แก่
มารดาของดิฉัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อนางเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้ อุบาสกนั้นรับคำของนางนั้น
แล้ว พิจารณากรณียกิจของตนในที่นั้น จึงไปยังหัตถินีนคร แจ้ง
เรื่องนั้นแก่มารดาของนาง. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า :-

อุบาสกนั้น รับคำของนางเปรตนั้นแล้ว
กลับไปสู่หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า
ข้าพเจ้าเห็นธิดาของท่าน เขาตกทุกข์ เกิดใน
ยมโลก เพราะได้กระทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ ไปสู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่าน

ไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอกแก่มารดาของดิฉัน
ด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิด
อยู่ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลก
นี้ไปสู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่ ๔๐๐,๐๐๐
ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใคร ๆ
ขอมารดาของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้

นั้น มาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทานแล้ว
จงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉัน จัก
มีความสุข สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดา
ของนางเปรตนั้น ถือเอาทรัพย์ที่นางเปรตซ่อนไว้
นั้น มาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญไปให้
นางเปรต นางเปรตเป็นผู้มีความสุข แม้มารดา
ของนาง ก็เป็นอยู่สบาย.
คาถาเหล่านั้น รู้ได้ง่ายทีเดียว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มารดาของนางได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์
อุทิศไปให้นาง. เพราะเหตุนั้น นางตั้งอยู่ในความสมบูรณ์ ด้วย
เครื่องอุปกรณ์ที่ได้มา แสดงตนแก่มารดา บอกเหตุนั้นให้ทราบ
มารดาแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.
เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสรินีเปติวัตถุที่ ๖

อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นรนาริปุรกฺขโต ยุวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ยังมีพรานคนหนึ่ง เที่ยวล่าเนื้อ
เลี้ยงชีพตลอดคืนและวัน. พรานนั้น ได้มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นมิตร.
อุบาสกนั้น เมื่อไม่อาจจะให้นายพรานนั้น กลับจากความชั่วตลอด
กาลได้ จึงชักชวนในการบุญตอนราตรีว่า มาเถอะสหาย ท่านจง
งดเว้นจากปาณาติบาต ในตอนกลางคืน. เขางดเว้นในตอนกลางคืน
กระทำปาณาติบาตในตอนกลางวันเท่านั้น.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ใกล้
กรุงราชคฤห์ เสวยทุกข์อย่างใหญ่ ตลอดส่วนกลางวัน เพียบพร้อม
พรั่งพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ในกลางคืน. ท่านนารทะเห็นดังนั้น
จึงสอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วย
เทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วยกามคุณ
อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์
ในกลางวัน ท่านได้กระทำกรรมอะไรไว้ใน
ชาติก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรนาริปุรกฺขโต ความว่า อัน
เทพบุตร เทพธิดา ผู้บำรุงบำเรอ พากันแวดล้อมเข้านั่งใกล้.
บทว่า ยุวา แปลว่า ยังหนุ่มแน่น. บทว่า รชนีเยหิ แปลว่า อันเป็น
เหตุให้ใคร่ คือเป็นเหตุเกิดความกำหนัด. บทว่า กามคุเณหิ
ได้แก่ด้วยส่วนแห่งกาม. บทว่า โสภสิ อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรือง

ด้วยความพรั่งพร้อมในกลางคืน. ด้วยเหตุนั้น ท่านนารทะจึงกล่าว
ว่า เสวยทุกข์ในตอนกลางวัน ดังนี้ อธิบายว่า เสวยเหตุคือ ความ
คับแค้นมีประการต่าง ๆ ในตอนกลางวัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
รชนี ได้แก่ ในตอนกลางคืน. บทว่า เยหิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
กิมกาสิ ปุริมาย ชาติยา ความว่า ในชาติก่อนแต่ชาตินี้ ท่านได้
กระทำกรรมอะไรอันเป็นทางให้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ขอท่าน
จงบอกกรรมนั้นเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร