วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 22:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ความว่า การบูชา เป็นอันทายก
ผู้อุทิศให้อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด
กระทำแก่พวกเรา และทายกเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ผล เพราะ
ให้ผลในสันดานเป็นที่บังเกิดแห่งกรรมอันสำเร็จด้วยการบริจาค
นั้นนั่นแล.

ก็ในข้อนี้มีผู้ท้วงถามว่า ก็เฉพาะพวกญาติผู้เข้าถึงเปตวิสัย
ย่อมได้เหตุสมบัติเท่านั้นหรือ หรือว่า คนอื่นก็ได้. ก็ในข้อนี้ พวกเรา
ไม่จำต้องกล่าว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน (ทสกนิบาต
อังคุตรนิกาย) ว่า :-

ชานุสโสณีพราหมณ์ ทูลถามว่า "ท่านพระโคดมผู้เจริญ
พวกข้าพเจ้า ได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำบุญด้วย-
เชื่อว่า ทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติ-
สาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว จงบริโภคทานนี้. ท่านโคดมผู้เจริญ ทาน
นั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วละหรือ ญาติสาโลหิต

ผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้บริโภคทานนั้นละหรือ?" พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะ
อันควรแล ย่อมไม่สำเร็จในฐานะที่ไม่ควร.
ชานุสโสณี. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ฐานะที่ควรเป็นไฉน ฐานะ
ที่ไม่ควรเป็นไฉน?

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลก
นี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในนรก
นั้น เขาตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของพวกสัตว์นรก ดูก่อน
พราหมณ์ นี้แลเป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน
แก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานนั้น ตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของ
สัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนพราหมณ์. นี้แล ก็จัด
เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทานแก่ผู้สถิตย์อยู่เลย.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติปาต ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ ฯลฯ ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมยังอัตตภาพให้เป็นไปในเทวโลก
นั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์
แม้นี้ก็เป็นฐานะอันไม่สมควร ไม่เป็นที่สำเร็จแห่งทาน แก่ผู้สถิตย์
อยู่เลย.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา
ย่อมเข้าถึงเปตวิสัย เขาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตวิสัยนั้น
ย่อมตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ ผู้เกิดในเปต-

วิสัยนั้น ก็หรือว่าย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป ในเปตวิสัยนั้น ย่อม
ตั้งอยู่ในเปตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัย ที่พวกมิตร อำมาตย์ หรือ
พวกญาติสาโลหิตของเขา เพิ่มให้จากมนุษยโลกนี้, ดูก่อนพราหมณ์
นี้แล เป็นฐานะอันสมควร อันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทาน แก่ผู้
สถิตย์อยู่แล.

ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วนั้น ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ใครเล่าจะ
บริโภคฐานะอันสมควรนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ พวกญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วแม้เหล่าอื่น ของเขาย่อมเข้าถึงฐานะอันสมควรนั้น
ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วเหล่านั้น ย่อมบริโภคฐานะอันควรนั้น.
ชานุสโสณีพราหมณ์. ท่านโคดมผู้เจริญก็ถ้าญาติสาโลหิต
ผู้ละไปแล้วนั้นนั่นแล ย่อมไม่เข้าถึงฐานะอันสมควรนั้นไซร้ ทั้ง
ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว แม้เหล่าอื่นของเขาก็ย่อมไม่เข้าถึงฐานะ
อันควรนั้น ใครเล่า จะบริโภคฐานะอันควรนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
โอกาสแล ที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว โดยกาลนาน
เช่นนี้. ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ถึงทายกก็ย่อมเป็นผู้ไม่ไร้ผลแล.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง ความไม่มีเหตุที่พวกผู้เกิดในเปรต-
วิสัย จะได้รับสมบัติ มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น อย่างอื่น
ในเปตวิสัยนั้น และการยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่พวกญาติ
ให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า น หิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ ความว่า
ในเปตวิสัยนั้น กสิกรรมที่พวกเปรตจะอาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบาย
ไม่มีเลย. บทว่า โครกฺเขตฺถ น วิชฺชติ ความว่า ในเปตวิสัยนั้น
ไม่ใช่จะไม่มีแต่กสิกรรมอย่างเดียวเท่านั้น ถึงโครักขกรรม ที่

พวกเปรตเหล่านั้น อาศัยเลี้ยงชีพอย่างสบายก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า
วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ ความว่า ถึงพาณิชยกรรมอันเป็นเหตุให้
เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติ ก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า หิรฺเน กยากยํ
ความว่า ในเปตวิสัยนั้น แม้การซื้อขายด้วยเงินตรา อันจะเป็นเหตุ

ให้เปรตเหล่านั้น ได้รับสมบัติก็ไม่มีเช่นกัน. บทว่า อิโต ทินฺเนน
ยาเปนฺติ เปตา กาลคตา ตหึ ความว่า อนึ่ง เปรตเหล่านั้น ย่อม
เลี้ยงชีพคือ ยังอัตตภาพให้เป็นไป ด้วยทานที่ญาติหรือมิตร อำมาตย์
ให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้อย่างเดียว. บทว่า เปตา ได้แก่ เหล่าสัตว์
ผู้เกิดในเปตวิสัย. บทว่า กาลคตา ได้แก่ ผู้จะไปตามเวลาตาย
ของตน. ปาฐะว่า กาลกตา ดังนี้ก็มี. ความว่า ผู้ทำกาละแล้ว คือ
ผู้ตายไปแล้ว ได้แก่ ผู้ถึงมรณะ. บทว่า ตหึ ได้แก่ ในเปตวิสัยนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความตามที่กล่าวแล้ว โดยอุปมา
จึงตรัส ๒ คาถาว่า อุนฺนเม อุทกํ วุฏฺ€ํ ดังนี้เป็นต้น. ความ ๒ คาถา
นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ฝนตกลงในที่ดอน คือ ในประเทศที่ดอน
ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม คือ ย่อมไหลไปตามภูมิภาคที่ลุ่ม ฉันใด ทาน
ที่พวกญาติให้จากมนุษยโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมสำเร็จ

แก่พวกเปรต คือ ย่อมไม่พรากพ้นไปจากการเกิดผล. จริงอยู่
เปตโลก เป็นฐานะอันสมควร เพื่อการสำเร็จแห่งทานเหมือนที่ลุ่ม
เป็นฐานะอันสมควรแก่การไหลไปแห่งน้ำ. สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ นี้แหละ เป็นฐานะอันสมควร ซึ่งเป็นที่

สำเร็จแห่งทานของผู้สถิตย์อยู่. อนึ่งทานที่พวกมนุษย์ให้แล้วแต่
มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่พวกเปรต โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน
เหมือนห้วงน้ำ คือแม่น้ำใหญ่ เต็มด้วยน้ำที่ไหลมาจากซอกเขา
ห้วงระแหง หนอง และบึงแล้ว ไหลบ่าไปเต็มสาครฉะนั้น.

เพราะเหตุที่เปรตทั้งหลายถูกความหวังครอบงำว่า พวกเรา
จะได้อะไรสักอย่างจากที่นี้ แม้มายังเรือนของญาติก็ไม่อาจขอร้องว่า
ท่านทั้งหลายจงให้สิ่งชื่อนี้แก่พวกเรา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า
กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงวัตถุที่ระลึกเหล่านี้ของญาติเหล่านั้น
จึงพึงให้ทักษิณา จึงตรัสคาถาว่า อทาสิ เม ดังนี้เป็นต้น

คำแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงสิ่งนี้
ทั้งหมดว่า คนโน้นให้ทรัพย์หรือธัญญาหารชื่อนี้แก่เรา คนโน้น
ถึงความพยายามด้วยตนเอง ได้กระทำกิจชื่อนี้แก่เรา คนโน้นชื่อว่า
เป็นญาติเพราะเกี่ยวพันทางฝ่ายมารดาหรือบิดาของเรา คนโน้น
ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะสามารถรักษาด้วยอำนาจความสิเนหา
คนโน้นชื่อว่าเป็นสหายเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันของเรา จึงพึงให้

ทักษิณา คือพึงมอบให้ทานแก่เปรตทั้งหลาย. บาลีว่า ทกฺขิณา
ทชฺชา ดังนี้ก็มี. แปลว่า พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย. ด้วย
บทว่า ทกฺขิณา ทชฺชา นั้น ท่านกล่าวอธิบายว่า กุลบุตรเมื่ออนุสรณ์
คือ หวนระลึกถึงอุปการะที่ญาติกระทำไว้ในกาลก่อน โดยนัยมี
อาทิว่า คนโน้นได้ให้เรา. จริงอยู่ บทว่า อนุสฺสรํ นี้ เป็นปฐมาวิภัติ
ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีทุกขธรรม มี
ความร้องไห้และความเศร้าโศกเป็นต้น เป็นเบื้องหน้า เพราะ
ความตายของญาตินั่นเอง คงดำรงอยู่ ไม่ให้อะไร ๆ แก่ญาติผู้
ล่วงลับไปแล้วนั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้และความเศร้าโศก
เป็นต้น นั้นของสัตว์เหล่านั้น เป็นเพียงทำตนให้เดือดร้อนอย่างเดียว
เท่านั้น ทุกขธรรมมีความร้องไห้และความเศร้าโศกเป็นต้นนั้น
ย่อมไม่ยังประโยชน์อะไร ๆ ให้สำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย จึงตรัส
คาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงย้ำถึงทักษิณาที่
พระเจ้ามคธถวายว่ามีประโยชน์ จึงตรัสความของคำเหล่านั้นมี
อาทิว่า อยญฺจ โข ดังนี้ในภายหลัง.

เพราะเหตุที่พระราชาเมื่อทรงถวายทักษิณานี้ ชื่อว่าแสดง
ออกถึงญาติธรรม โดยกระทำกิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ
ให้ปรากฏแก่ชนเป็นอันมาก คือทรงกระทำการแสดงออกให้ปรากฏ
ว่า แม้ท่านทั้งหลายก็พึงบำเพ็ญญาติธรรมในญาติทั้งหลายให้

บริบูรณ์ ด้วยอาการอย่างนี้แหละ. อนึ่ง เมื่อพระองค์ทำให้พวกเปรต
เหล่านั้นได้รับทิพยสมบัติ ชื่อว่าทำการบูชาแก่เปรตทั้งหลายให้ยิ่ง,
เมื่อให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้สำราญด้วยข้าว
และน้ำเป็นต้น ชื่อว่าตามเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อทำ
จาคเจตนาอันมีคุณมีการอนุเคราะห์เป็นต้น เป็นเครื่องประกอบ

ให้เกิด ชื่อว่าทรงขวนขวายบุญหาประมาณมิได้ ฉะนั้น บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำพระราชาให้ร่าเริงด้วยคุณตามที่
เป็นจริงเหล่านี้ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า โส าติธมฺโม ดังนี้
เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าติธมฺโม ได้แก่ การกระทำ
กิจที่พวกญาติพึงกระทำแก่พวกญาติ. บทว่า อุฬารา แปลว่า
ให้แพร่หลาย กว้างขวาง. บทว่า พลํ ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า
ปสุตํ แปลว่า สั่งสมแล้ว. ก็ในคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า โส าติธมฺโม
จ อยํ นิทสฺสิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอ้างธรรมิกถา
กะพระราชา. จริงอยู่ การแสดงอ้างในที่นี้ หมายถึงการแสดง

ญาติธรรม. พระองค์ทรงชักชวนด้วยคำนี้ว่า และทรงกระทำ
การบูชาแก่พวกเปรตให้ยิ่ง. ก็การสรรเสริญในคำว่า ยิ่ง นี้ เป็น
การชักชวนให้ทำการบูชาบ่อย ๆ. ทรงให้อาจหาญด้วยคำนี้ว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
และทรงเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย. จริงอยู่ ในที่นี้ การเพิ่ม
ให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการให้อาจหาญโดยการเพิ่มอุตสาหะ
ในการเพิ่มให้พลังแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้. ทรง
ให้ร่าเริงด้วยคำนี้ว่า พระองค์ชื่อว่าทรงขวนขวายบุญหาประมาณ
มิได้. ในที่นี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในที่นี้ การระบุถึงการ
ประสพบุญ ก็คือการทำให้ร่าเริง โดยการสรรเสริญคุณตาม
ความเป็นจริงของบุญนั้น.

ก็ในเวลาจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐
ผู้มีใจสลดด้วยการพรรณนาโทษของการเกิดในเปตวิสัย ผู้เริ่ม
โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ในวันที่ ๒ ก็ทรงแสดงติโรกุฑฑเทศนา
กัณฑ์นี้แหละ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมาภิสมัยเช่นนั้น
นั่นแหละได้มีด้วยอาการอย่างนี้ ถึง ๗ วันแล.
จบ อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถาปัญจปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๖
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภถึง
นางเปรตผู้เคี้ยวกินบุตร ๕ คน จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า มีภรรยาของกฎุมพีคนหนึ่ง ในหมู่บ้านไม่ไกล
แต่กรุงสาวัตถี เป็นหญิงหมัน. พวกญาติของกฎุมพีคนนั้น ได้พากัน
กล่าวดังนี้ว่า ภรรยาของเจ้าเป็นหมัน พวกเราจะนำหญิงสาวคนอื่น
มาให้เจ้า. เพราะความสิเนหาในภรรยานั้น เขาจึงไม่ปรารถนา
(ภรรยาอื่น). ลำดับนั้น ภรรยาของกฎุมพีนั้น ทราบเรื่องนั้นแล้ว
จึงกล่าวกะสามีอย่างนี้ว่า นาย ฉันเป็นหมัน ควรจะนำหญิงอื่นมา
(เป็นภรรยา) วงศ์ตระกูลของท่านจะได้ไม่ขาดสูญ. เธอเมื่อถูก

ภรรยารบเร้าจะแต่งงานกะหญิงอื่น. ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์.
หญิงหมันมีความริษยาเป็นปกติ คิดว่า หญิงนี้ได้บุตรแล้ว จักเป็น
ใหญ่แก่เรือนนี้ จึงหาอุบายให้ครรภ์ของนางตกไป จึงเกลี่ยกล่อม
ปริพาชิกาคนหนึ่งด้วยข้าวและน้ำเป็นต้น ให้ทำครรภ์ของนาง
ให้ตกไป นางเมื่อครรภ์ตกไปก็ได้แจ้งให้มารดาของตนทราบ
มารดาให้ประชุมพวกญาติของตนแล้วแจ้งความนั้นให้ทราบ. ญาติ

เหล่านั้นได้กล่าวกะหญิงหมันดังนี้ว่า เจ้าทำครรภ์ของหญิงนี้
ให้ตก หญิงหมันตอบว่า ฉันไม่ได้ทำให้ตก ก็จงสบถ. หญิงหมัน
กล่าวเท็จทำการสบถว่า ถ้าฉันทำครรภ์ให้ตก ฉันก็จะพึงมีทุคติ
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ถูกความหิวกระหายครอบงำ ขอให้คลอดบุตร
ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ครั้งละ ๕ คน แล้วกินเสีย ก็ยังไม่อิ่ม ขอให้
ฉันมีกลิ่นเหม็นเป็นนิจ และถูกแมลงวันไต่ตอม. ไม่นานนักนาง
ก็ทำกาละบังเกิดเป็นนางเปรต มีรูปร่างขี้เหร่อยู่ไม่ไกลบ้านนั้น
นั่นเอง.

ในกาลนั้น พระเถระ ๘ รูป ออกพรรษาในชนบท มายังกรุง
สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระศาสดา จึงเข้าไปพักในราวป่าอันสมบูรณ์
ด้วยร่มเงาและน้ำ ไม่ไกลแต่บ้านนั้น. ลำดับนั้น นางเปรตนั้นได้
แสดงตนแก่พระเถระทั้งหลาย. ในพระเถระเหล่านั้น พระสังฆเถระ
ได้ซักถามนางเปรตนั้นด้วยคาถาว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เจ้าเปลือยกาย มีรูปพรรณขี้เหร่ ส่งกลิ่น
เหม็นเน่าฟุ้ง แมลงวันจับเป็นกลุ่ม เจ้าเป็นใคร
มายืนอยู่ในที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคฺคา แปลว่า ผู้ไม่มีผ้า. บทว่า
ทุพฺพณฺณรูปาสิ ความว่า เจ้าเป็นผู้มีรูปขี้เหร่ คือประกอบด้วย
รูปน่าเกลียดพิลึก. บทว่า ทุคฺคนฺธา คือ มีกลิ่นไม่น่าปรารถนา.
บทว่า ปูติ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นเหมือนซากศพ เหม็นคลุ้งออกจากกาย.
บทว่า มกฺขิกาหิ ปริกิณฺณา ได้แก่ พวกแมลงวันหัวเขียวจับกลุ่มอยู่
โดยรอบ. บทว่า กา นุ ตฺวํ ติฏฺ€ติ ความว่า เจ้าเป็นใคร มีรูปเห็น
ปานนี้ มายืนอยู่ที่นี้, อธิบายว่า เที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้

ลำดับนั้น นางเปรตนั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนั้น เมื่อ
จะประกาศตน จะให้เหล่าสัตว์เกิดความสลดจึงได้กล่าว ๓ คาถานี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ถึงทุคติเกิดใน
ยมโลก เพราะกระทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลก
นี้ไปสู่เปตโลก. เวลาเช้าดิฉันคลอดบุตร ๕ คน
เวลาเย็นอีก ๕ คน แล้วกินลูกเหล่านั้นทั้งหมด
ถึงลูก ๑๐ คนเหล่านั้น ก็ไม่อาจบันเทาความหิว
ของดิฉันได้ หัวใจของดิฉันเร่าร้อนหมกหมุ่น

เพราะความหิว ดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ขอ
ท่านจงดูดิฉันผู้ถึงความวอดวายเช่นนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น นางเปรตเรียกพระเถระด้วยความ
เคารพว่า ภทนฺเต. บทว่า ทุคฺคตา แปลว่า ถึงทุคติ. บทว่า
ยมโลกิกา ได้แก่ รู้แจ้งเปตโลกอันได้นามว่า ยมโลก โดยภาวะ
ที่นับเนื่องในเปตโลกนั้น. บทว่า อิโต คตา ความว่า จากมนุษยโลก
นี้แล้วไป คือเกิดยังเปตโลก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กาเลน ได้แก่ ในเวลาราตรีสว่าง. จริงอยู่ บทว่า
กาเลน นี้ เป็นตติยาวิภัติใช้ในอรรถสัตตมีวิภัติ. บทว่า ปญฺจ ปุตฺตานิ
แปลว่า ซึ่งบุตร ๕ คน. จริงอยู่ บทว่า ปุตฺตานิ นี้ ท่านกล่าวด้วย
ลิงควิปลาศ. บทว่า สายํ ปญฺจ ปุนาปเร ได้แก่ คลอดบุตรอื่นอีก
ในเวลาเย็น. มีวาจาประกอบความว่า กินบุตรทั้ง ๕ คน. บทว่า

วิชายิตฺวาน ความว่า คลอดบุตรวันละ ๑๐ คน. บทว่า เตปิ นา
โหนฺติ เม อลํ ความว่า บุตรทั้ง ๑๐ คนนั้น ไม่เพียงพอเพื่อบันเทา
ความหิวของเราสักวันหนึ่ง. ก็ในที่นี้ เพื่อสะดวกแก่คาถา ท่าน
จึงกล่าวให้เป็นทีฆะว่า นา. บทว่า ปริฑยฺหติ ธูมายติ ขุทาย หทยํ มม
ความว่า ส่วนแห่งหทัยของดิฉัน ผู้อันความหิวบีบคั้น ย่อมหม่นไหม้

เดือดร้อน คือเร่าร้อนอยู่ทุกด้าน ด้วยไฟในท้อง. บทว่า ปานียํ
น ลเภ ปาตุํ ความว่า ดิฉันถูกความกระหายครอบงำ เมื่อเที่ยวไป
ในที่นั้น ๆ ไม่ได้ เพื่อจะดื่มน้ำ. บทว่า ปสฺส มํ พฺยสนํ คตํ ความว่า
นางเปรตได้ประกาศทุกข์ที่ตนเสวย แก่พระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงดูดิฉันผู้ถึงความวอดวายเช่นนี้ อันทั่วไปและไม่ทั่วไป
แก่การเข้าถึงความเป็นเปรตเถิด.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะถามถึงกรรมที่นางเปรตนั้น
กระทำ จึงกล่าวคาถาว่า
เมื่อก่อน เธอทำความชั่วอะไรไว้ด้วยกาย
วาจา และ ใจ หรือเธอกินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะ
วิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺกฏํ ได้แก่ ทุจริต. บทว่า
กิสฺสกมฺมวิปาเกน ได้แก่ ด้วยวิบากแห่งกรรมเช่นไร อธิบายว่า
ด้วยวิบากแห่งปาณาติบาต หรืออทินนาทานเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เกน กมุมวิปาเกน ด้วยวิบากแห่งกรรม
อะไร.
ลำดับนั้น นางเปรตเมื่อจะประกาศกรรมที่ตนกระทำแก่
พระเถระ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อก่อน หญิงร่วมผัวของดิฉันคนหนึ่ง
มีครรภ์ ดิฉันคิดชั่วต่อเขา มีจิตคิดประทุษร้าย
ได้กระทำครรภ์ให้ตกไป เขามีครรภ์ ๒ เดือน
เท่านั้น ไหลออกเป็นโลหิต ในกาลนั้น มารดา
ของเขาโกรธดิฉัน เชิญพวกญาติมาประชุมซัก
ถาม ให้ดิฉันทำการสบถ และขู่เข็ญให้ดิฉันกลัว
ดิฉันนั้นได้กล่าวคำสบถและมุสาวาทอย่าง

ร้ายกาจว่า ถ้าดิฉันทำชั่วดังนั้น ขอให้ดิฉันกิน
เนื้อบุตรเถิด ดิฉันมีกายอันเปื้อนด้วยหนองและ
โลหิตกินเนื้อบุตรทั้งหลาย เพราะวิบากแห่งกรรม
คือการทำให้ครรภ์ตกและการพูดมุสาวาททั้ง ๒
นั้น.

หญิงผู้ร่วมผัว ท่านเรียกว่า สปตี ในคาถานั้น. บทว่า
ตสฺสา ปาปํ อเจตยึ ได้แก่ ได้คิดถึงกรรมชั่วหยาบแก่หญิงร่วมผัว
นั้น. บทว่า ปทุฏฺ€มนสา แปลว่า มีจิตคิดประทุษร้าย หรือมีจิตชั่ว.
บทว่า เทฺวมาสิโก ได้แก่ เขาตั้งครรภ์เพียง ๒ เดือน ชื่อว่า
เทฺวมาสิกะ มีครรภ์ ๒ เดือน. บทว่า โลหิตฺเว ปคฺฆริ ความว่า

ครรภ์วิบัติไหลออกเป็นโลหิต. บทว่า ตทสฺสา มาตา กุปิตา มยฺหํ
าตี สมานยิ ความว่า ในกาลนั้น มารดาของหญิงร่วมผัวนั้น
โกรธดิฉัน จึงประชุมพวกญาติของตน. ปาฐะว่า ตตสฺสา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตตสฺสา นั้น แยกบทเป็น ตโต อสฺสา

บทว่า สปถํ แปลว่า การสาปแช่ง. บทว่า ปริภาสาปยิ
ได้แก่ ขู่ให้กลัว. บทว่า สปถํ มุสาวาทํ อภาสิสํ ความว่า เมื่อดิฉัน
แสดงถึงกรรมชั่วที่ตนทำนั้นแหละว่าไม่ได้ทำ กล่าวมุสาวาท คือ
คำที่ไม่เป็นจริง ได้แก่คำสบถว่า ถ้ากรรมชั่วนั้น ดิฉันได้ทำแล้ว
ขอให้ดิฉันพึงเป็นเช่นนี้. บทว่า ปุตฺตมงฺสานิ ขาทามิ สเจ ตํ ปกตํ

มยา นี้ เป็นบทแสดงอาการที่กระทำสบถในเวลานั้น, อธิบายว่า
ถ้าดิฉันได้ทำความชั่ว คือ การทำครรภ์ให้ตกไปนั้น, ในอนาคต
คือในการที่ดิฉันเกิดในภพใหม่ ขอให้ดิฉันพึงกินเฉพาะเนื้อบุตร
ของดิฉันเท่านั้น. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ ปาณาติบาตกรรม
ที่หญิงหมันนั้นกระทำ ด้วยการทำให้ครรภ์ตกไปนั้น. บทว่า

มุสาวาทสฺส จ ได้แก่ มุสาวาทกรรมด้วย. บทว่า อุภยํ ได้แก่
ด้วยวิบากแห่งกรรมทั้ง ๒. จริงอยู่ บทว่า อุภยํ นี้ เป็นปฐมาภัติ
ใช้ในอรรถตติยาวิภัติ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า ปุพฺพ-
โลหิตมกฺขิตา ความว่า ดิฉันเปื้อนหนองและเลือดด้วยอำนาจการ
ไหลออกและด้วยอำนาจการแตกออก เคี้ยวกินเนื้อบุตร.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อสุรกาย
ทำบุญปนบาป
ดื่มสุราเที่ยวบาร์
ตื่นเช้ามาเข้าวัดทำบุญ
รู้ได้ตั้งแต่ตอนยังเป็นมนุษย์
:b39:
เปรต
ขี้โลภขี้โกรธขี้หลงขี้หึงขี้หวงขี้เกียจขี้อิจฉาตาร้อน
ลักเล็กขโมยน้อยหยิบฉวยมาเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับอนุญาต
กิเลสตนทำร้ายจิตตน/ดูจิตตนเองให้ถูกตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ว่าแต่ละขณะกระเพื่อมขึ้นหรือลงตามกรรมที่ทำไปด้วยความมี/เป็น/เห็นได้ด้วยความไม่รู้และมีตัวตนทำ
(กรรม=เจตสิก)ดูพฤติกรรมผู้คนที่หลงทำตามๆกันเป็นไปตามกรรมที่สะสมไว้โดยขาดสุตมยปัญญาไงคะ
:b12:
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 01 พ.ค. 2019, 00:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
บอกว่าให้เริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์จนกว่าจะละคลายความติดใจจะไปทำและละไม่รู้ตามคำสอนได้นะคะ
:b12:
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
บอกว่าให้เริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์จนกว่าจะละคลายความติดใจจะไปทำและละไม่รู้ตามคำสอนได้นะคะ
:b12:
:b16: :b16:


แค่ฟังยังไม่พอครับ ต้อง

+ อ่าน ฟัง พูด เขียน เรียนรู้พิจารณา
น้อมมาปฏิบัติขัดเกาจิตใจให้ใสสะอาด
ให้ปราศจากกิเลสไร้มลทิน ถึงจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ขาดสูญ สู่แดนพระนิพพาน

+ ความเพียรยังมีน้อย เพราะคอยฟังจากคนอื่น
สู้ฝืนอดทน ตนอ่านเองยังจะดีกว่า
พัฒนาตนจากเป็นผู้ฟัง ตั้งใจหันไปสู่การอ่าน
ไม่นานก็จะกลายเป็นผู้เขียน เรียนรู้น้อมนำมาปฏิบัติ
ขจัดขัดเกากาย วาจา ใจ เป็นหนทางไปสู่ความสงบสุขเอ๋ย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2019, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
บอกว่าให้เริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์จนกว่าจะละคลายความติดใจจะไปทำและละไม่รู้ตามคำสอนได้นะคะ
:b12:
:b16: :b16:


แค่ฟังยังไม่พอครับ ต้อง

+ อ่าน ฟัง พูด เขียน เรียนรู้พิจารณา
น้อมมาปฏิบัติขัดเกาจิตใจให้ใสสะอาด
ให้ปราศจากกิเลสไร้มลทิน ถึงจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ขาดสูญ สู่แดนพระนิพพาน

+ ความเพียรยังมีน้อย เพราะคอยฟังจากคนอื่น
สู้ฝืนอดทน ตนอ่านเองยังจะดีกว่า
พัฒนาตนจากเป็นผู้ฟัง ตั้งใจหันไปสู่การอ่าน
ไม่นานก็จะกลายเป็นผู้เขียน เรียนรู้น้อมนำมาปฏิบัติ
ขจัดขัดเกากาย วาจา ใจ เป็นหนทางไปสู่ความสงบสุขเอ๋ย

:b12:
เวลาที่เกิดพบพระพุทธเจ้า
มีตำราให้อ่านอย่างนั้นหรือ
พระพุทธเจ้าเทศนาให้ฟังค่ะ
มีตำราก่อนหรือฟังเสียงก่อน
คิดไตร่ตรองเหตุผลให้เข้าใจสิคะ
ถ้าไม่ฟังจะรู้จักไหมว่าคนไหนคือพระพุทธเจ้าค๊ะ
คำสอนคือความจริงทุกคำมีไว้ให้ศึกษาโดยการฟังไม่ใช่อ่านตามความคิดเห็นผิดๆของตนเองค่ะ
https://youtu.be/hXww3--VQrQ
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
sssboun เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
บอกว่าให้เริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์จนกว่าจะละคลายความติดใจจะไปทำและละไม่รู้ตามคำสอนได้นะคะ
:b12:
:b16: :b16:


แค่ฟังยังไม่พอครับ ต้อง

+ อ่าน ฟัง พูด เขียน เรียนรู้พิจารณา
น้อมมาปฏิบัติขัดเกาจิตใจให้ใสสะอาด
ให้ปราศจากกิเลสไร้มลทิน ถึงจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ขาดสูญ สู่แดนพระนิพพาน

+ ความเพียรยังมีน้อย เพราะคอยฟังจากคนอื่น
สู้ฝืนอดทน ตนอ่านเองยังจะดีกว่า
พัฒนาตนจากเป็นผู้ฟัง ตั้งใจหันไปสู่การอ่าน
ไม่นานก็จะกลายเป็นผู้เขียน เรียนรู้น้อมนำมาปฏิบัติ
ขจัดขัดเกากาย วาจา ใจ เป็นหนทางไปสู่ความสงบสุขเอ๋ย

:b12:
เวลาที่เกิดพบพระพุทธเจ้า
มีตำราให้อ่านอย่างนั้นหรือ
พระพุทธเจ้าเทศนาให้ฟังค่ะ
มีตำราก่อนหรือฟังเสียงก่อน
คิดไตร่ตรองเหตุผลให้เข้าใจสิคะ
ถ้าไม่ฟังจะรู้จักไหมว่าคนไหนคือพระพุทธเจ้าค๊ะ
คำสอนคือความจริงทุกคำมีไว้ให้ศึกษาโดยการฟังไม่ใช่อ่านตามความคิดเห็นผิดๆของตนเองค่ะ
https://youtu.be/hXww3--VQrQ
:b12:
:b32: :b32:



ประเด็นนี้ คุณโรสพูดถูก

อ้างคำพูด:
เวลาที่เกิดพบพระพุทธเจ้า
มีตำราให้อ่านอย่างนั้นหรือ
พระพุทธเจ้าเทศนาให้ฟังค่ะ
มีตำราก่อนหรือฟังเสียงก่อน


ตอนนั้น ตำรายังไม่มี พูดให้ฟัง จบไปตอนหนึ่งนะ

แล้วตอนนี้ ณ ปัจจุบันกาลนี้ พระพุทธเจ้าอยู่ไหน ไหน คุณโรสช่วยพากันไปเฝ้าเพื่อฟังธรรมหน่อยสิ เพื่อจะไม่ได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แม่สุจินยังงั้นหรอ ไม่น่าใช่ ไม่น่าหรอก ไม่ใช่ๆเลยแหละ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรตนั้น ครั้นประกาศวิบากแห่งกรรมของตนอย่างนี้แล้ว
จึงได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย
ผู้เจริญ ดิฉันเป็นภรรยาของกฎุมพีชื่อโน้นในบ้านนี้เอง เป็นหญิง
มีความริษยาเป็นปกติ กระทำกรรมชั่วจึงบังเกิดในกำเนิดเปรต
อย่างนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดังดิฉันขอโอกาส ขอท่านทั้งหลาย
จงไปยังเรือนของกฎุมพีคนนั้นเถิด กฎุมพีนั้นจักถวายทานแก่ท่าน

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงให้เขาอุทิศทักษิณานั้นแก่ดิฉัน เมื่อเป็น
เช่นนี้ ดิฉันจะหลุดพ้นจากเปตโลกนี้. พระเถระทั้งหลายได้ฟัง
ดังนั้นแล้ว เมื่อจะอนุเคราะห์นางตั้งอยู่ในสภาวะการยกขึ้น เข้าไป
บิณฑบาตยังบ้านกฎุมพีนั้น. กฎุมพีเห็นพระเถระทั้งหลายแล้วเกิด
ความเลื่อมใส ต้อนรับแล้วรับบาตร นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ เริ่ม

ให้ฉันด้วยอาหารอันประณีต. พระเถระทั้งหลายแจ้งเรื่องนั้นแก่
กฎุมพี แล้วจึงให้เขาอุทิศทานนั้น แก่นางเปรตนั้น. ก็ขณะนั้น
นั่นเอง นางเปรตนั้นปราศจากทุกข์นั้นแล้วได้รับสมบัติอันยิ่ง
แสดงตนแก่กฎุมพีในเวลาราตรี. ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย
ไปยังกรุงสาวัตถีโดยลำดับ กราบทูลความนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้พร้อมมูลกันอยู่
โดยยกเรื่องนั้นขึ้นเป็นอุบัติเหตุ. ในเวลาจบเทศนา มหาชนได้รับ
ความสลดใจ เว้นขาดจากความริษยาและความตระหนี่. เทศนานั้น
ได้มีประโยชน์แก่มหาชนด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปัญจปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๖

อรรถกถาสัตตปุตตขาทกเปติวัตถุที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
นางเปรตผู้กินบุตร ๗ คน จึงตรัสคำนี้มีคำเริ่มต้นว่า นคฺคา
ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งในหมู่บ้านตำบลหนึ่งไม่ไกลกรุง
สาวัตถี ได้มีบุตร ๒ คน ตั้งอยู่ในปฐมวัย สมบูรณ์ด้วยรูปโฉม
ประกอบด้วยศีลและอาจาระ. มารดาของบุตรทั้ง ๒ นั้น คิดว่าเรา
เป็นผู้มีบุตร จึงดูหมิ่นสามีด้วยกำลังแห่งบุตร. สามีนั้นถูกภรรยา
ดูหมิ่น มีใจเบื่อหน่าย จึงนำหญิงอื่นมาครอง. ไม่นานนัก หญิงนั้น

ก็ตั้งครรภ์. ลำดับนั้น ภรรยาหลวงเป็นหญิงมีความริษยาเป็นปกติ
เอาอามิสไปล่อหมอคนหนึ่ง ให้หมอนั้นทำครรภ์ของหญิงนั้นซึ่ง
ตั้งมา ๓ เดือน ให้ตก. ลำดับนั้น หญิงนั้นอันพวกญาติและพี่น้อง
ชายถามว่า เธอทำครรภ์ของนางนี้ให้ตกไปหรือ จึงกล่าวมุสาว่า

ไม่ได้ทำให้ตกไป คนเหล่านั้นไม่เชื่อจึงกล่าวว่า เธอจงสบถ แล้ว
ได้กระทำสบถว่า ขอให้ดิฉันคลอดบุตรทั้งเช้า ทั้งเย็น ครั้งละ ๗ คน
แล้วเคี้ยวกินเนื้อบุตร ขอให้ดิฉันมีกลิ่นเหม็น และแมลงวันจับกลุ่ม
อยู่เป็นนิจ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร