วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฆฏบัณฑิต เมื่อจะแสดงอีกว่า ข้าแต่พี่ชาย ขึ้นชื่อว่า ความ
ตายนี้ ใคร ๆ ไม่อาจจะห้ามได้ ด้วยทรัพย์ ด้วยชาติ ด้วยวิชชา
ด้วยศีล หรือด้วยภาวนาได้ จึงแสดงธรรมแด่พระราชาด้วยคาถา
๕ คาถาว่า :-

กษัตริย์ทั้งหลาย แม้จะมีแว่นแคว้น มี
ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทรัพย์และธัญญาหาร
มาก จะไม่ทรงชรา จะไม่ทรงสวรรคต ไม่มีเลย.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ และคนอื่น ๆ จะ
ไม่แก่ จะไม่ตาย เพราะชาติของตน ก็ไม่มีเลย

ชนเหล่าใด ร่ายมนต์อันประกอบด้วยองค์
๖ อันพราหมณ์คิดไว้แล้ว ชนเหล่านั้นและชน
เหล่าอื่นจะไม่แก่ และไม่ตาย เพราะวิชาของตน
ก็ไม่มีเลย.

แม้พวกฤาษีเหล่าใด เป็นผู้สงบ มีตน
สำรวมแล้ว มีตปะ แม้พวกฤาษี ผู้มีตปะเหล่านั้น
ย่อมละร่างกายไปตามกาล
พระอรหันต์ทั้งหลาย มีตนอันอบรมแล้ว
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป ยัง
ทอดทิ้งร่างกายนี้ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหทฺธนา ได้แก่ ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์
มาก เพราะมีทรัพย์ที่ฝังไว้นั่นแหละมาก. บทว่า มหาโภคา ได้แก่
ประกอบด้วยโภคสมบัติมาก เช่นกับโภคสมบัติของเทพ. บทว่า
รฏ€วนฺโต แปลว่า มีแว่นแคว้นมาก. บทว่า ปหูตธนธฺาเส
ได้แก่ ผู้มีทรัพย์และธัญญาหาร หาที่สุดมิได้ โดยทรัพย์และธัญญา-
หาร ซึ่งจะต้องใช้จ่ายเป็นประจำ ที่เก็บฝังไว้ เพื่อใช้ได้ถึง ๓ ปี

หรือ ๔ ปี. บทว่า เตปิ โน อชรามรา ความว่า กษัตริย์มีพระเจ้า
มันธาตุ และพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นต้น ผู้มีสมบัติมากถึงอย่างนั้น
จะเป็นผู้ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่มีเลย คือ ตั้งอยู่ใกล้ปากมรณะ โดยแท้
ทีเดียว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เอเต ได้แก่ กษัตริย์ตามที่กล่าวแล้ว เป็นต้น. บทว่า
อฺเ ได้แก่ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีอัมพัฏฐะมาณพเป็นต้น
ผู้เป็นอยู่อย่างนั้น. บทว่า ชาติยา ความว่า เป็นผู้ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่มีเลย เพราะชาติของตนเป็นเหตุ.

บทว่า มนฺตํ ได้แก่เวท. บทว่า ปริวตฺเตนฺติ แปลว่า ย่อม
สาธยาย และย่อมบอก, อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริวตฺเตนฺติ ได้แก่
ร่ายเวททำการบูชาเพลิง พร้อมพร่ำมนต์ไปด้วย. บทว่า ฉฬงฺคํ
ได้แก่ออกเสียงอ่านถูกจังหวะ คล่อง และไพเราะ กัปปะ ได้แก่
รู้จักแบบแผนทำกิจวิธีต่าง ๆ นิรุตติ ได้แก่ รู้จักมูลศัพท์ และ
คำแปลศัพท์ ไวยากรณ์ ได้แก่ รู้จักตำราภาษา โชติศาสตร์ ได้แก่

รู้จักดาวหาฤกษ์ และผูกดวงชะตา ฉันโทวิจิติ ได้แก่ รู้จักคณะฉันท์
และแต่งได้. บทว่า พฺรหฺมจินฺติตํ ได้แก่ พรหมคิด คือกล่าวเพื่อ
ประโยชน์แก่พวกพราหมณ์. บทว่า วิชฺชาย ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
วิชาเสมือนพรหม, อธิบายว่า แม้ท่านเหล่านั้น จะไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่มีเลย.

บทว่า อิสโย ความว่า ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหา
พรตที่ประพฤติประจำ และพรตที่ประพฤติตามกาลกำหนดเป็นต้น
และปฏิกูลสัญญา เป็นต้น. บทว่า สนฺตา ได้แก่ สงบกายวาจา
เป็นสภาวะ. บทว่า สฺตตฺตา ได้แก่ มีจิตสำรวม ด้วยการสำรวม
กิเลส มีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า ตปัสสี เพราะมี ตปะ กล่าวคือ ทำกาย
ให้เร่าร้อน. อนึ่ง บทว่า ตปสฺสิโน แปลว่า ผู้สำรวม. ด้วยคำว่า

ตปสฺสิโน นั้น ท่านแสดงว่า เป็นผู้อาศัยตปะอย่างนั้น และเป็น
ผู้ปรารถนา เพื่อจะหลุดพ้นจากสรีระ ก็เป็นผู้สำรวม ย่อมละ
สรีระได้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิสโย ชื่อว่า อิสยะ เพราะ
อรรถว่า แสวงหาอธิสีลสิกขาเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้สงบ เพราะเข้าไป
สงบบาปธรรม อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออธิสีลสิกขานั้น ก็เพื่อประโยชน์
แก่อธิสีลสิกขานั้น. ชื่อว่า มีตนสำรวมแล้ว เพราะสำรวมจิตไว้

ในอารมณ์อันเดียวกัน ชื่อว่า ตปัสสี เพราะมีความเพียรเครื่อง
เผาบาป โดยประกอบความเพียรชอบ. บัณฑิตพึงประกอบความว่า
ผู้ที่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ชื่อว่า ตปัสสี เพราะทำกิเลส
มีราคะเป็นต้น ให้เร่าร้อน. บทว่า ภาวิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตอันอบรม
แล้ว ด้วยกัมมัฏฐานภาวนา อันมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อฆฏบัณฑิตกล่าวธรรมอย่างนี้ พระราชาได้ทรงสดับ
ดังนั้น เป็นผู้ปราศจากลูกศรคือความโศก มีใจเลื่อมใส เมื่อจะ
สรรเสริญฆฏบัณฑิต จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า

เธอดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ
เราผู้เร่าร้อนให้หายไป เหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ
ที่ราดด้วยน้ำมัน ฉะนั้น เธอบรรเทาความโศก
ถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำ ได้ถอน
ขึ้นแล้วหนอ ซึ่งลูกศรคือความโศกอันเสียบแทง
ที่หทัยของเรา เราเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก
อันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว เราจะไม่

เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้ฟังคำของเธอ
ชนเหล่าใดผู้มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์กันแลกัน
ชนเหล่านั้น ย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังกันและกัน
ให้หายโศก เหมือนเจ้าชายฆฏบัณฑิตทำพระ-
เชษฐา ให้หายโศก ฉะนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆโฏ เชฏฺ€ํ ว ภาตรํ ความว่า
เหมือนฆฏบัณฑิต ทำพระเชษฐาของตน ผู้ถูกความเศร้าโศก เพราะ
บุตรตายไปครอบงำ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเพราะบุตรนั้น ด้วย
ความที่ตนเป็นผู้ฉลาดในอุบาย และด้วยธรรมกถา ฉันใด แม้ผู้อื่น
ผู้มีปัญญา มีความอนุเคราะห์ก็ฉันนั้น ย่อมกระทำอุปการะแก่ญาติ
ทั้งหลาย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยสฺส เอตาทิสา โหนฺติ นี้ เป็นคาถาแห่งพระองค์
ผู้ตรัสรู้ยิ่ง. คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ฆฏบัณฑิต ย่อม
ไปตาม คือติดตาม พระเจ้าวาสุเทพ ผู้อันความเศร้าโศก เพราะ
บุตรครอบงำ ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต เพื่อกำจัดความเศร้าโศก
ด้วยประการใด คือ ด้วยเหตุใด. อำมาตย์ ผู้เป็นบัณฑิต ก็เช่นนั้น
อันผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงได้, ความเศร้าโศกของท่านจักมีแต่ที่ไหน
ฉะนี้แล. คาถาที่เหลือ มีอรรถดังกล่าวแล้ว ในหนหลังนั่นแล.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง
ตรัสว่า อย่างนั้นอุบาสก โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย ฟังถ้อยคำของ
บัณฑิตทั้งหลายแล้ว ขจัดความเศร้าโศกเพราะบุตรเสียได้ ดังนี้แล้ว
จึงประกาศสัจจะประชุมชาดก. ในที่สุดสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผลแล.
จบ อรรถกถากัณหเปตวัตถุที่ ๖

อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๗
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรตธนบาล จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า นคฺโค
ทุพฺพณฺณรูโปสิ.

ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติในนครเอรกัจฉะ-
ปัณณรัฐ ยังมีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่า ธนปาลกะ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่มีความเลื่อมใส เป็นคนตระหนี่ เป็นนัตถิกทิฏฐิบุคคล กิริยา
ของเขาปรากฏตามพระบาลีนั่นแหละ. เขาทำกาละแล้วบังเกิด
เป็นเปรตในกันตารทะเลทราย เขามีร่างกายประมาณเท่าลำต้นตาล

มีผิวหนังปูดขึ้นหยาบ มีผมยุ่งเหยิง น่าสะพึงกลัว มีรูปพรรณ
น่าเกลียด มีรูปขี้เหร่พิลึก เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว เขาไม่ได้เมล็ดข้าว
หรือหยาดน้ำตลอด ๕๕ ปี มีคอ ริมฝีปาก และลิ้นแห้งผาก ถูกความ
หิวกระหายครอบงำ เที่ยวงุ่นง่านไปทางโน้นทางนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี
โดยลำดับ พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีบรรทุกสินค้าเต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียน
ไปยังอุตตราปถชนบท ขายสินค้า แล้วเอาเกวียนบรรทุกสินค้าที่ได้
กลับมา ในเวลาเย็น ถึงแม่น้ำแห้งสายหนึ่ง จึงปลดเกวียนไว้ในที่นั้น

พักแรมอยู่ราตรีหนึ่ง ลำดับนั้น เปรตนั้นถูกความกระหายครอบงำ
มาเพื่อต้องการน้ำดื่ม ไม่ได้น้ำดื่มแม้สักหยาดเดียวในที่นั้น หมดหวัง
ขาอ่อนล้มลง เหมือนตาลรากขาดฉะนั้น. พวกพ่อค้าเห็นดังนั้น จึง
พากันถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านเปลือยกายมีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เห็นกระดูกซี่โครง แน่ะ
เพื่อนยาก ท่านเป็นใครกันหนอ.
ลำดับนั้นเปรตตอบว่า :-
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตทุกข์ยาก
เกิดในยมโลก ทำกรรมชั่วไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่
เปตโลก.
ครั้นอ้างตนดังนี้แล้ว ถูกพ่อค้าถามถึงกรรมที่เขาทำอีกว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกายวาจาและ
ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร จึงจากโลกนี้ไป
ยังเปตโลก.
เมื่อจะแสดงประวัติของตน ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เดิมแต่ที่ที่ตนเกิดในกาลก่อน และเมื่อจะให้โอวาทแก่พวกพ่อค้า
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ความว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช*
(ม. พระเจ้าปัณณราช (ปณฺณานํ).) ปรากฏ
นามว่า เอรกัจฉะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นเศรษฐี
อยู่ในพระนครนั้น ประชาชนเรียกข้าพเจ้าว่า
ธนปาลเศรษฐี ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน
ทองคำ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมาย
เหลือที่จะนับ แม้ข้าพเจ้า จะมีทรัพย์มากมายถึง
เพียงนั้น ก็ไม่รักที่จะให้ทาน ปิดประตูบริโภค
อาหาร ด้วยคิดว่า พวกยาจก อย่าได้เห็นเรา

ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
ได้ด่าพวกยาจกและห้ามปรามมหาชน ผู้ให้ทาน
ทำบุญเป็นต้น ด้วยคำว่า ผลแห่งทานไม่มี ผล
แห่งการสำรวมจักมีแต่ที่ไหน ได้ทำลายสระน้ำ
บ่อน้ำ ที่ขุดไว้ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำ
และสะพานในที่เดินลำบาก ที่เขาปลูกสร้างให้
พินาศไป ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้

เลย ทำแต่กรรมชั่วไว้ จุติจากชาตินั้นแล้ว เกิด
ในเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหาย
ตลอด ๕๕ ปี ตั้งแต่ตายแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่ได้กิน
ข้าวและน้ำเลย แม้แต่น้อย การสงวนทรัพย์ คือ
ไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นความพินาศ ของสัตว์
ทั้งหลาย ความฉิบหายก็คือ ความสงวนทรัพย์
ได้ยินว่า เปรตทั้งหลายรู้ว่า การสงวนทรัพย์ คือ

การไม่ให้แก่ใคร ๆ เป็นความพินาศ เมื่อก่อน
ข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นอัน
มาก ไม่ให้ทาน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่ง
แก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผลแห่งกรรมของตน จึง
เดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว
ข้าพเจ้าจักตาย จักตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัส มี
๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกเป็นห้อง ๆ ล้อมด้วย
กำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรก

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นั้น ล้วนแล้วด้วยทองแดง ลุกเป็นเปลวเพลิง
ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์
โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจักต้องเสวยทุกข-
เวทนา ในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การเสวย
ทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็นผลของกรรมชั่ว เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกอัน
เร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้
ทำกรรมชั่ว ในที่ไหน ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่แจ้งหรือ
ที่ลับ ถ้าว่าพวกท่านจักกระทำ หรือกำลังทำกรรม
ชั่วนั้นไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไป ในที่ไหน ๆ
ก็ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ขอท่านทั้งหลาย จงเลี้ยง
มารดา จงเลี้ยงบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
ในตระกูล เป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ และพราหมณ์
ท่านทั้งหลาย จักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนฺนานํ ได้แก่ พระราชาของ
รัฐชื่อว่า ทสันนา ผู้มีชื่ออย่างนั้น บทว่า เอรกจฺฉํ ได้แก่ เป็นชื่อ
ของพระนครนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในนครนั้น. บทว่า ปุเร ได้แก่
ในกาลก่อน คือ ในอัตภาพอันเป็นอดีต. บทว่า ธนปาโลติ มํ วิทู
ความว่า พวกชนเรียกเราว่า ธนปาลเศรษฐี. เปรตเมื่อจะแสดงว่า

ขึ้นชื่อว่า ทรัพย์เช่นนี้นั้น ย่อมติดตามเป็นประโยชน์แก่เรา ใน
กาลนั้นนั่นแล จึงกล่าวคาถาว่า อสีติ ดังนี้เป็นต้น. มีโยชนาว่า
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสีติ สกฏวาหานํ ความว่า ๒๐ ขาริกะ
เป็น ๑ วาหะ ที่ท่านเรียกว่า ๑ เกวียน ข้าพเจ้ามีเงินและกหาปณะ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๘๐ เล่มเกวียน. บทว่า ปหูตํ เม ชาตรูปํ เชื่อมความว่า แม้ทองคำ
ก็มีมากมาย คือ มีประมาณหลายหาบ.

บทว่า น เม ทาตุํ ปิยํ อหุ ความว่า ข้าพเจ้า ไม่ได้มีความ
รักที่จะให้ทาน. บทว่า มา มํ ยาจนกาทฺทสุํ ความว่า ปิดประตูเรือน
บริโภค ด้วยหวังว่า พวกยาจกอย่าได้เห็นเรา. บทว่า กทริโย
ได้แก่ มีความตระหนี่เหนียวแน่น. บทว่า ปริภาสโก ความว่า
เห็นเขาให้ทาน ก็ขู่ให้กลัว. บทว่า ททนฺตานํ กโรนฺตานํ เป็น

ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ, แปลว่า ผู้ให้ทาน ผู้ทำบุญ.
บทว่า พหู ชเน แปลว่า ซึ่งสัตว์เป็นอันมาก. ข้าพเจ้าห้ามคือ
ป้องกันชนเป็นอันมาก ผู้เป็นกลุ่มของคนผู้ให้ทาน หรือทำบุญ
จากบุญกรรม.

บทว่า วิปาโก นตฺถิ ทานสฺส เป็นต้น เป็นบทแสดงเหตุ
การห้ามในการให้ทานเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปาโก
นตฺถิ ทานสฺส ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งการทำทานไม่มี
มีแต่บุญ บุญ อย่างเดียว ฉะนั้น ทรัพย์จึงพินาศไปถ่ายเดียว.
บทว่า สํยมสฺส แปลว่า การสำรวมศีล. บทว่า กุโต ผลํ ความว่า
ผลจะได้แต่ที่ไหน, อธิบายว่า การรักษาศีลไม่มีประโยชน์เลย

บทว่า อารามานิ ความว่า สวนดอกไม้และสวนผลไม้. บทว่า
ปปาโย ได้แก่ ศาลาน้ำ. บทว่า ทุคฺเค ได้แก่ สถานที่ที่ไปลำบาก
เพราะมีน้ำและมีโคลน. บทว่า สงฺกมนานิ ได้แก่ สะพาน. บทว่า
ตโต จุโต แปลว่า จุติจากมนุษยโลกนั้น. บทว่า ปญฺจปฺาส

แปลว่า ๕๕ ปี. บทว่า ยโต กาลงฺกโต อหํ แก้เป็น ยถา กาลกโต อหํ
แปลว่า เหมือนข้าพเจ้าตายไปแล้ว คือตั้งแต่ข้าพเจ้าตายไป. บทว่า
นาภิชานามิ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ได้รู้อะไร ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ
ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โย สํยโม โส วินาโส ความว่า การสำรวมก็คือ
การไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ ด้วยอำนาจความโลภเป็นต้นนั้น ชื่อว่า
เป็นความพินาศของสัตว์เหล่านี้ เพราะเปรตที่เกิดในกำเนิดเปรต
เป็นเหตุแห่งความวอดวายอย่างใหญ่หลวง. ด้วยคำว่า โย วินาโส
โส สํยโม นี้ เปรตแสดงว่า ประโยชน์ตามที่กล่าวแล้ว เป็นประโยชน์
อย่างแน่นอน. หิ ศัพท์ในคำว่า เปตา หิ กิร ชานนฺติ นี้ เป็นนิบาต

ใช้ในอวธารณะ, กิร ศัพท์ เป็นนิบาติ ใช้ใน อรุจิสูจนัตถะ.
ได้ยินว่า พวกเปรตเท่านั้น จึงจะรู้ความนี้ว่า การสงวนคือ การ
ไม่บริจาคไทยธรรม เป็นเหตุแห่งความพินาศ เพราะตนถูกความ
หิวกระหาย ครอบงำอยู่โดยเห็นได้ชัด ไม่ใช่พวกมนุษย์. ข้อนี้
ไม่สมควรเลย เพราะแม้พวกมนุษย์ก็ยังถูกความหิวกระหายเป็นต้น

ครอบงำปรากฏอยู่เหมือนพวกเปรต. แต่พวกเปรตรู้เรื่องนั้นดีกว่า
เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในอัตภาพก่อนปรากฏชัด. ด้วยเหตุนั้น
เปรตนั้นจึงกล่าวว่า ในชาติก่อน เราสงวนทรัพย์ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํยมิสฺสํ ความว่า แม้ตนเองก็ได้
กระทำการสงวน คือ การย่นและย่อจากบุญกิริยา มีการให้ทาน
เป็นต้น. บทว่า พหุเก ธเน ได้แก่ เมื่อทรัพย์เป็นอันมากมีอยู่.

บทว่า ตํ แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า โว แปลว่า ท่าน
ทั้งหลาย. บาลีที่เหลือว่า ภทฺทํ โว พึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า
กรรมอันเจริญ คือ กรรมดี ได้แก่ กรรมงาม จงมีแก่พวกท่าน.
บทว่า ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา มีอธิบายว่า พวกท่านมีประมาณเท่าใด
คือ มีประมาณเพียงใด มาประชุมกันในที่นี้ ทั้งหมดนั้น จงฟังคำ

ของข้าพเจ้า. บทว่า อาวี ได้แก่ คำประกาศ โดยปรากฏแก่คน
เหล่าอื่น. บทว่า รโห ได้แก่ คำลี้ลับ โดยเป็นคำไม่ปรากฏแก่ชน
เหล่าอื่น. อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย อย่าทำ คือ อย่ากระทำ ซึ่ง
กรรมชั่วช้าลามก ได้แก่อกุศลกรรม ในที่แจ้ง ด้วยอำนาจกายปโยค
มีปาณาติปาตเป็นต้น และวจีปโยค มีมุสาวาทเป็นต้น หรือในที่ลับ
ด้วยอำนาจอกุศลกรรมมีอภิชฌาเป็นต้น.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สเจ ตํ ปาปกํ กมฺมํ ความว่า ก็ถ้าพวกท่านจัก
กระทำกรรมชั่วนั้นในอนาคต หรือกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน, ความ
หลุดพ้นจากทุกข์อันเป็นผลของกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า ความหลุดพ้น
ด้วยอำนาจ ความเป็นผู้มีอายุน้อย เป็นต้น ในอบาย ๔ มีนรกเป็นต้น
และในหมู่มนุษย์ ย่อมไม่มี. บทว่า อุปฺปจฺจาปิ ปลายตํ ความว่า
แม้เมื่อพวกท่านจะออกไปก็ตามที ก็พ้นไปไม่ได้เลย. บาลีว่า

อุเปจฺจ ก็มี. อธิบายว่า เมื่อพวกท่าน แม้จงใจคือแกล้ง หนีไปโดย
ประสงค์ว่า กรรมชั่ว จักติดตามพวกท่านผู้หนีไปทางโน้นทางนี้
ความพ้นจากกรรมชั่วนั้น ย่อมไม่มี แต่เมื่อความประชุมแห่งปัจจัย
อื่น มีคติและกาลเป็นต้น ยังมีอยู่ กรรมชั่วนั้น ยังให้ผลได้เหมือนกัน.
ก็ความนี้ พึงแสดงด้วยคาถานี้ว่า :-

บุคคลจะอยู่ในอากาศ ในท่ามกลาง
มหาสมุทร หรือเข้าไปสู่ช่องเขา จะพึงพ้นจาก
กรรมชั่วไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้น
ใด พึงพ้นจากกรรมชั่ว ส่วนแห่งภาคพื้นนั้นก็
ไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺเตยฺยา แปลว่า เกื้อกูลแก่
มารดา. บทว่า โหถ ความว่า ท่านจงกระทำอุปัฏฐากเป็นต้นแก่
มารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า เปตฺเตยฺยา ก็พึงทราบอย่างนั้น. บทว่า
กุเล เชฏฺ€าปจายิกา แปลว่า เป็นผู้กระทำการนอบน้อมแก่ผู้ใหญ่
ในตระกูล. บทว่า สามฺา ได้แก่ เป็นผู้บูชาสมณะ. บทว่า

พฺรหฺมฺา ก็เหมือนกัน มีอธิบายว่า ผู้บูชาท่านผู้ลอยบาป. ด้วย
บทว่า เอวํ สคฺคํ คิมสฺสถ นี้ มีอธิบายว่า ท่านทั้งหลาย กระทำบุญ
โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว จักเข้าถึงเทวโลก. ก็ในเรื่องนี้ บทที่
ไม่ได้จำแนกไว้โดยอรรถ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในขัลลาฏิย-
เปติวัตถุเป็นต้นในหนหลัง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พวกพานิชเหล่านั้น ได้สดับคำของเปรตทั้งหลาย เกิดความ
สังเวช เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น จึงเอาภาชนะตักน้ำดื่มมา ให้
เขานอนลงแล้ว กรอกเข้าทางปาก. แต่นั้นน้ำที่มหาชนลาดลง
หลายครั้ง ก็ไม่ไหลลงสู่ลำคอ เพราะพลังแห่งกรรมชั่วของเปรต
นั้น. จักกำจัดความกระหายได้ที่ไหนเล่า. พ่อค้าเหล่านั้นจึงถาม

เปรตว่า ท่านได้ความโปร่งใจอะไรบ้างไหม? เปรตนั้นตอบว่า
ถ้าน้ำที่ชนมีประมาณเพียงนี้ กรอกเข้าไปตลอดเวลาเพียงเท่านี้
แม้เพียงสักหยดเดียวก็ไม่เข้าไปในลำคอเรา กลับไหลเข้าลำคอ
ของคนอื่นไปหมด, ความหลุดพ้นไปจากกำเนิดเปรตนี้ จงอย่ามีเลย.
ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสังเวชยิ่งนัก
พากันกล่าวว่า ก็อุบายอะไร ๆ เพื่อระงับความกระหายมีบ้างไหม?

เปรตตอบว่า เมื่อกรรมชั่วนี้สิ้นไป เมื่อพวกญาติถวายทานแต่
พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต อุทิศทานให้แก่เรา,
เราก็จักพ้นจากความเป็นเปรตนี้ไปได้. พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้น
จึงพากันไปกรุงสาวัตถี เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้น
รับสรณคมน์และศีล ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน ตลอด ๗ วัน แล้วอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดง
ธรรมแก่บริษัททั้ง ๔. และมหาชนละมลทิน คือความตระหนี่ มี
โลภะเป็นต้น ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๗

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
จูฬเสษฐีเปรต ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นคฺโค กิโส
ปพฺพชิโตสิ ภนฺเต ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีคฤหบดีผู้หนึ่ง เป็นคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เอื้อเฟื้อ
ต่อการบำเพ็ญบุญ ได้นามว่า จูฬเศรษฐี. เขาทำกาละแล้ว บังเกิด
ในหมู่เปรต. ร่างกายของเขาปราศจากเนื้อและเลือด มีเพียงกระดูก
เส้นเอ็นและหนัง ศีรษะโล้น ปราศจากผ้า. แต่ธิดาของเขา ชื่อว่า
อนุลา อยู่ในเรือนของสามี ในอันธกวินทนคร มีความประสงค์จะ

ให้พราหมณ์บริโภคอาหารอุทิศบิดา จึงจัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทาน
มีข้าวสารเป็นต้น. เปรตรู้ดังนั้น ไปในที่นั้นโดยอากาศ โดยความ
หวัง ถึงกรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ถูกพระเจ้า-
เทวทัตต์ส่งไป ให้ปลงพระชนมชีพพระบิดา ไม่เข้าถึงความหลับ
เพราะความเดือดร้อน และความฝันร้ายนั้น จึงขึ้นไปบนปราสาท
จงกรมอยู่ เห็นเปรตนั้น เหาะไปอยู่จึงถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบรรพชิต
เปลือยกาย ซูบผอม เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร
ท่านจะไปไหนในราตรีเช่นนี้ ขอท่านจงบอก
กาลที่ท่านจะไปแก่เราเถิด เราสามารถจะให้
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่าน ด้วยความอุตสาหะ
ทุกอย่าง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิโต ได้แก่ สมณะ. ได้ยินว่า
พระราชากล่าวกะเขาว่า ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกายซูบผอมเป็นต้น
ด้วยความสำคัญว่า ผู้นี้เป็นสมณะเปลือย เพราะเขาเป็นคนเปลือยกาย
และเป็นคนศีรษะโล้น. บทว่า กิสฺสเหตุ แปลว่า มีอะไรเป็นเหตุ.
บทว่า สพฺเพน วิตฺตํ ปฏิปาทเย ตุวํ ความว่า เราจะมอบทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจ อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ พร้อมด้วย
โภคะทุกอย่าง หรือด้วยความอุตสาหะทุกอย่าง ตามความเหมาะสม
แก่อัธยาศัยของท่าน ไฉนหนอเราพึงสามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา คือ จงบอกเหตุแห่งการมาของ
ท่านนั้นแก่เรา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตถูกพระราชาถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกประวัติของตน
จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
เมื่อก่อนกรุงพาราณสี มีกิตติคุณเลื่องลือ
ไปไกล ข้าพระองค์เป็นคฤหบดี ผู้มั่งคั่งอยู่ใน
กรุงพาราณสีนั้น แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
ไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส
ได้ถึงวิสัยแห่งพญายม เพราะความเป็นผู้ทุศีล
ข้าพระองค์ลำบากแล้ว เพราะความหิวเสียดแทง
เพราะกรรมชั่วเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-

องค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ มนุษย์
แม้เหล่าอื่น มีปกติไม่ให้ทานและไม่เชื่อว่า ผล
แห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า มนุษย์แม้เหล่านั้นจัก
เกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์
ฉะนั้น ธิดาของข้าพระองค์ บ่นอยู่เนือง ๆ ว่า
เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา บิดา ลุง ป้า น้า
อา ปู่ ย่า ตา ยาย พวกพราหมณ์กำลังบริโภค
ทาน อันธิดาของข้าพระองค์ตบแต่งแล้ว ข้า-
พระองค์จะไปยังเมือง อันธกวินทนคร เพื่อ
บริโภคอาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรฆุฏฺ€ํ ได้แก่ เลื่องลือ ด้วย
อำนาจกิตติคุณไปไกลทีเดียว, อธิบายว่า ขจรไป คือปรากฏในที่
ทุกสถาน. บทว่า อฑฺฒโก แปลว่า เป็นคนมั่งคั่ง คือมีสมบัติมาก.
บทว่า ทีโน แปลว่า มีจิตตระหนี่ คือมีอัธยาศัยในการไม่ให้. ด้วย
เหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า อทาตา ผู้ไม่ให้. บทว่า เคธิตมโน อามิสสฺมึ

ได้แก่ ผู้มีจิตข้องอยู่ คือ ถึงความติดอยู่ ในอามิสคือกาม. บทว่า
ทุสฺสีเลน ยมวิสยมฺหิ ปตฺโต ความว่า ข้าพเจ้าได้ถึงวิสัยแห่งพญายม
คือ เปตโลก ด้วยกรรมคือความเป็นผู้ทุศีลที่ตนได้ทำไว้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โส สูจิกาย กิลมิโต ความว่า ข้าพเจ้านั้น ลำบาก
เพราะความหิว อันได้นามว่า สูจิกา เพราะเป็นเสมือนเข็ม เพราะ
อรรถว่า เสียดแทง เสียดแทงอยู่ไม่ขาดระยะ. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า
กิลมโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า เตหิ ความว่า ด้วยบาปกรรม อันเป็น
เหตุที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ทีโน ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อเปรตนั้น
ระลึกถึงกรรมชั่วนั้น โทมนัสอย่างยิ่ง เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น

เปรตจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า เตเนว ได้แก่ เพราะความทุกข์
อันเกิดแต่ความหิวนั้นนั่นเอง. บทว่า าตีสุ ยามิ ความว่า ข้าพเจ้า
จึงไป คือ ไปถึงที่ใกล้ของหมู่ญาติ. บทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ ได้แก่
เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ปรารถนาอามิส อธิบายว่า ปรารถนา
อามิสบางอย่าง. บทว่า อทานสีลา น จ สทฺทหนฺติ ทานผลํ โหติ

ปรมฺหิ โลเก ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทานฉันใด แม้
คนเหล่าอื่นก็มีปกติไม่ให้ทานฉันนั้นเหมือนกัน และไม่เชื่อว่า ผล
แห่งทาน จะมีในปรโลกอย่างแท้จริง, อธิบายว่า แม้พวกชนเหล่านั้น
เป็นเปรตเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงเหมือนข้าพเจ้า.

บทว่า ลปเต แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า อภิกฺขณํ แปลว่า
เนือง ๆ คือโดยส่วนมาก. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรตกล่าวว่า
กระไร เปรตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักให้ทานเพื่อมารดาบิดา ปู่ ย่า
ตา ยาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตูนํ ได้แก่ มารดาและบิดา หรือ
อา และลุง. บทว่า ปิตามหานํ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา และยาย. บทว่า
อุปกฺขฏํ ได้แก่ จัดแจง. บทว่า ปริวิสยนฺติ แปลว่าให้บริโภค.
บทว่า อนฺธกวินฺทํ ได้แก่ นครอันมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ภุตฺตุํ ได้แก่
เพื่อบริโภค. เบื้องหน้าแต่นั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้
เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอก เหตุที่มีจริง
แก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผล ควรเชื่อถือได้แล้ว
จักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระ-
ดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกวินทนครนั้น แต่ไม่ได้
รับผลแห่งทานนั้น เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่

บริโภคภัตร เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา
ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรต กลับมายังกรุงราชคฤห์
อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์
ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน
พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้น กลับมาอีก
จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้
ท่านอิ่มหนำตลอดกาลนานมีอยู่ไซร้ ขอท่านจง
บอกเหตุนั้นแก่เรา
จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาส
พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำ และ
จงทรงถวายจีวรแล้ว จงอุทิศกุศลนั้น เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงการ
บำเพ็ญกิจอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำ ตลอด
กาลนาน ลำดับนั้นพระราชา เสด็จออกจาก

ปราสาททันที ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่
สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์แล้วทรงกราบ
ทูลเรื่องราว แด่พระตถาคต ทรงอุทิศส่วนกุศล
ให้แก่จูฬเศรษฐีเปรต, จูฬเศรษฐีเปรตนั้น อัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร