วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่ เสวยราช-
สมบัติ ในแคว้นปัญจาละราช เมื่อวันคืนล่วงไป
พระองค์เสด็จสวรรคต พระนางเจ้าอุพพรีมเหสี
เสด็จไปยังพระเมรุมาศ แล้วทรงกรรแสงอยู่ เมื่อ
พระนางไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็ทรงกรรแสง
ว่า พรหมทัต พรหมทัต ก็ดาบสผู้เป็นมุนี
สมบูรณ์ด้วยจรณญาณ ได้มาที่พระนางอุพพรี

ประทับอยู่นั้น ท่านได้ถามชนทั้งหลาย ที่มาประ-
ชุมกันในที่นั้นว่า นี้เป็นพระเมรุมาศของใครกัน
มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นภริยา
ของใครกัน ไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่
ซึ่งเสด็จไปแล้ว ไกลจากโลกนี้ คร่ำครวญอยู่ว่า
พรหมทัต พรหมทัต ชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่
นั้น กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นพระ-

เมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต ข้าแต่ท่านผู้นิร-
ทุกข์ นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต
มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นพระมเหสีของ
ท้าวเธอ เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระ-
ราชสวามี ซึ่งเสด็จไปไกลจากโลกนี้ ทรงกรร-
แสงอยู่ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า
ปญฺจาลานํ ได้แก่ชาวปัญจาลรัฐ หรือได้แก่ ปัญจาลรัฐนั่นเอง.
จริงอยู่ ชนบทแม้หนึ่งชนบท เขาแสดงออกด้วยคำเป็นอันมากว่า
ปญฺจาลานํ ด้วยถ้อยคำอันดาดดื่น ด้วยอำนาจแห่งพระราชกุมาร
ชาวชนบท. บทว่า รเถสโภ ความว่า ได้เป็นเสมือนผู้ยิ่งใหญ่
ในรถ คือ รถคันใหญ่. บทว่า ตสฺส อาฬาหนํ ได้แก่ สถานที่เป็น
ที่ถวายพระเพลิง พระสรีระของพระราชาพระองค์นั้น.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อิสิ ความว่า ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหา
ซึ่งคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่ประทับของ
พระนางอุพพรีนั้น คือ ในสุสาน. บทว่า อาคจฺฉิ แปลว่า ได้ไปแล้ว.
บทว่า สมฺปนฺนจรโณ ความว่า ผู้ถึงพร้อมคือ ผู้ประกอบด้วยคุณ
คือ จรณะ ๑๕ ประการ เหล่านี้คือ สีลสัมปทา ความเป็นผู้คุ้มครอง
ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ ประการมีศรัทธาเป็นต้น และรูปา-
วจรฌาน ๔ ประการ. บทว่า มุนิ ความว่า ชื่อว่ามุนิ เพราะรู้
คือ รู้ชัด ซึ่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า โส จ ตตฺถ
อปุจฺฉิตฺถ ความว่า พระดาบสนั้น ได้สอบถามถึงคนผู้อยู่ในที่นั้น.
บทว่า เย ตตฺถ สุ สมาคตา ได้แก่ เหล่าคนผู้มาประชุมกันที่ป่าช้า
นั้น. ศัพท์ว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า เย ตตฺถาสุํ
สมาคตา ดังนี้ก็มี. บทว่า อาสุํ ความว่า ได้มีแล้ว.

บทว่า นานาคนฺธสเมริตํ ความว่า มีกลิ่น นานาชนิด หอมฟุ้ง
อบอวลไปโดยรอบ. บทว่า อิโต แปลว่า จากมนุษยโลก. ด้วยคำว่า
ทูรคตํ หญิงนี้กล่าวเพราะค่าที่ตนไปสู่ปรโลก. บทว่า พฺรหฺมทตฺตาติ
วทติ ความว่า พระนางร้องเรียกด้วยอำนาจความรำพรรณ โดยระบุ
ถึงชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บทว่า พฺรหฺมทตฺตสฺส ภทฺทนฺเต พฺรหฺมทตฺตสฺส มาริส
อธิบายว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีกายและจิตปลอดโปร่ง ผู้นิรทุกข์
นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต หญิงนี้ เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้นนั่นเอง ขอความเจริญ จงมีแก่
ท่าน และจงมีแด่พระเจ้าพรหมทัตนั้น ประโยชน์สุขย่อมมีแด่พระ-

มเหสีเช่นนั้น ผู้สถิตอยู่ในปรโลก ด้วยความคิดถึงเนืองนิตย์ถึงหิต
ประโยชน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระดาบสนั้น ครั้นสดับคำของคนเหล่านั้นแล้ว
ด้วยอาศัยความอนุเคราะห์ จึงไปยังสำนักของพระนางอุพพรี เพื่อ
จะบันเทาความเศร้าโศกของพระนางอุพพรี จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัต ถูก
เผาในป่าช้านี้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์แล้ว บรรดา
พระเจ้าพรหมทัตเหล่านั้น พระนางทรง
กรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า
นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์. บทว่า พฺรหฺมทตฺตสฺสนามกา ได้แก่
มีชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต. บทว่า เตสํ กมนุโสจสิ ความว่า พระนาง
ทรงพระกรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน บรรดาพระเจ้า
พรหมทัตที่นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์นั้น. ดาบสถามว่า พระนางเกิด
ความเศร้าโศก เพราะอาศัยพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ไหนกัน.

ก็พระนางอุพพรี ถูกฤาษีนั้นถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะบอกถึง
พระเจ้าพรหมทัตที่ตนประสงค์ จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชาพระองค์ใด
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจูฬนี ทรงเป็นใหญ่
อยู่ในแคว้นปัญจาละ ดิฉันเศร้าโศกถึงพระ-
ราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระราชสวามี ทรงประ-
ทานสิ่งของที่น่าปรารถนาทุกอย่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จูฬนีปุตฺโต ได้แก่พระโอรส
ของพระราชา ผู้ทรงพระนามอย่างนั้น. บทว่า สพฺพกามทํ ได้แก่
ผู้ทรงประทานสิ่งทั้งปวงที่น่าต้องการน่าปรารถนาแก่ดิฉัน, หรือ
ผู้ให้สิ่งที่สรรพสัตว์ต้องการ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระนางอุพพรี กล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสจึงกล่าว คาถา
๒ คาถาอีกว่า :-
พระราชาทุกพระองค์ ทรงพระนามว่า
พรหมทัตเหมือนกันทั้งหมด ล้วนเป็นพระราช-
โอรสของพระเจ้าจูฬนี เป็นใหญ่อยู่ในแคว้น
ปัญจาละ พระนางเป็นพระมเหสี ของพระ-
ราชาเหล่านั้นทั้งหมด โดยลำดับกันมา เพราะ
เหตุไร พระนางจึงเว้นพระราชา พระองค์ก่อน ๆ
เสีย มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์หลัง
เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพวาเหสุํ ความว่า พระราชา
เหล่านั้นทั้งหมดนับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์ เป็นพระราชโอรสของ
พระเจ้าจูฬนี พระนามว่า พรหมทัต ได้เป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ.
ความพิเศษมีความเป็นพระราชา เป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้มีแต่พระ-
ราชาแม้พระองค์เดียว ในพระราชาเหล่านั้น.

บทว่า มเหสิตฺตมการยิ ความว่า ก็ท่านได้กระทำ ให้เป็น
พระอัครมเหสี ของพระราชาทั้งหมดนั้น โดยลำดับ อธิบายว่า
ถึงโดยลำดับ ด้วยบทว่า กสฺมา พระดาบสถามว่า ท่านเว้น
พระราชาพระองค์ก่อน ๆ ในบรรดาพระราชาเหล่านี้ ผู้ไม่พิเศษ
โดยคุณและโดยเป็นพระสวามี มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์
หลัง พระองค์เดียวเท่านั้น เป็นเพราะเหตุไร คือ ด้วยเหตุไร?

พระนางอุพพรี ได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดสลดพระทัย จึงกล่าว
คาถากะดาบสอีกว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ดิฉันเกิดเป็นแต่หญิง
ตลอดกาลนานเท่านั้นหรือ หรือจะเกิดเป็นชาย
บ้าง ท่านพูดถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง ในสงสาร
เป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตุเม คือ ในตน. บทว่า อิตฺถิภูตาย
แปลว่า เกิดเป็นผู้หญิง. บทว่า ทีฆรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน.
จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เมื่อดิฉันเป็นผู้หญิง ก็คงเป็น
ผู้หญิงอยู่ตลอดกาลเท่านั้น. หรือว่า จะเป็นผู้ชายได้บ้าง. บทว่า
ยสฺสา เม อิตฺถิภูตาย ความว่า ข้าแต่ท่านพระมหามุนี ท่านพูด
ถึงคือกล่าวถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง เป็นมเหสี ในสงสารมากมาย

ถึงเพียงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อาหุ เม อิตฺถิภูตาย ดังนี้ก็มี.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อา เป็นนิบาต ใช้ในอนุสสรณัตถะ.
บทว่า อาหุ เม ความว่า ดิฉันเอง ได้ระลึกถึง คือได้รู้ทั่วถึงข้อนี้.
มีวาจาประกอบความว่า เมื่อดิฉันเป็นหญิง คือเกิดเป็นผู้หญิง

ดิฉันเกิดไป ๆ มา ๆ ตลอดกาลเพียงเท่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะเหตุไร? เพราะเมื่อดิฉันเป็นหญิง ท่านได้ทำดิฉันให้เป็น
มเหสีของพระราชาทุกพระองค์โดยลำดับ ข้าแต่พระมหามุนี
ท่านได้กล่าวถึงฉันในสงสารเป็นอันมาก เพราะเหตุไร?

พระดาบสครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า การกำหนด
แน่นอนนี้ ไม่มีในสงสารว่า หญิงก็ต้องเป็นหญิง ชายก็ต้องเป็นชาย
อยู่นั่นเอง จึงกล่าวคาถาว่า :-

บางคราวพระนางเกิดเป็นหญิง บางคราว
ก็เกิดเป็นชาย บางคราวก็เกิดในกำเนิดปสุสัตว์
ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลายอันเป็นอดีต ย่อม
ไม่ปรากฏอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อิตฺถี อหุ ปุริโส ความว่า
บางคราวท่านก็เป็นหญิง บางคราวก็เป็นชาย จะเป็นหญิงหรือเป็น
ชายอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้เกิดในกำเนิดปสุสัตว์บ้าง
คือ บางคราวก็ไปสู่ภาวะปสุสัตว์บ้าง คือ บางคราวก็เกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานบ้าง. บทว่า เอวเมตํ อตีตานํ ปริยนฺโต น ทิสฺสติ

ความว่า ที่สุดแห่งอัตภาพอันเป็นอดีต อันเกิดเป็นหญิง เป็นชาย
และเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น อย่างนี้ คือตามที่กล่าวแล้วนี้ ย่อม
ไม่ปรากฏ แก่ผู้เห็นด้วยญาณจักษุ คือ ด้วยความอุตสาหะใหญ่
สำหรับพระองค์ คืออย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ที่สุดแห่ง
อัตภาพ ของเหล่าสัตว์ผู้วนเวียนอยู่ในสงสารทั้งหมด ย่อมไม่ปรากฏ
คือรู้ไม่ได้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ไม่มีที่สุด
และเบื้องต้นอันใคร ๆ ไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้น
และที่สุดของเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่อง
ปิดกั้น ผูกพันด้วยตัณหา แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ย่อมไม่ปรากฏ.

พระมเหสี ได้ฟังธรรมที่พระดาบสนั้น เมื่อจะประกาศ
ความที่สงสารไม่มีที่สุด และความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน
แสดงไว้แล้วอย่างนี้ มีหทัยสลดในสงสาร และมีใจเลื่อมใสในธรรม
ปราศจากลูกศรคือความเศร้าโศก เมื่อจะประกาศความเลื่อมใส
และความปราศจากเศร้าโศกของตน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ
ดิฉัน ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำ
ดับไฟที่ลาดด้วยน้ำมันฉะนั้น ท่านบันเทาความ
เศร้าโศก ถึงพระสวามีของดิฉัน ผู้ถูกความ
เศร้าโศกครอบงำแล้ว ถอนได้แล้วหนอ ซึ่งลูกศร
ความเศร้าโศก อันเสียดแทงที่หทัยของดิฉัน

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพระมหามุนี ดิฉันเป็นผู้มีลูกศร
คือความเศร้าโศกอันถอนขึ้นได้แล้ว เป็นผู้เย็น
สงบ ดิฉันไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้
ฟังคำของท่าน.
ความของคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง
นั่นแล.

บัดนี้ พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระนาง
อุพพรี ผู้มีพระหทัยสลด จึงได้ตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-
พระนางอุพพรี ฟังคำสุภาษิตของดาบส
ผู้เป็นสมณะนั้นแล้ว ถือบาตรและจีวรออกบวช
เป็นบรรพชิต ครั้นออกบวชแล้ว เจริญเมตตาจิต
เพื่อเข้าถึงพรหมโลก พระนางอุพพรีนั้น เมื่อ
ท่องเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่งจากบ้านหนึ่ง สู่นิคม
และราชธานีทั้งหลาย ได้เสด็จสวรรคต ที่บ้าน

อุรุเวลา พระนางเบื่อหน่ายความเป็นหญิง เจริญ
เมตตาจิต เพื่อบังเกิดในพรหมโลก จึงได้เป็นผู้
เข้าถึงพรหมโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ ดาบสนั้น. บทว่า
สุภาสิตํ ได้แก่ คำอันเป็นสุภาษิต, อธิบายว่า ซึ่งธรรม. บทว่า
ปพฺพชิตา สนฺตา ได้แก่ เข้าถึงบรรพชา หรือบวชแล้ว เป็นผู้มี
กายวาจาสงบ. ด้วยบทว่า เมตฺตจิตฺตํ พระนางอุพพรี กล่าวถึงจิต

ที่เกิดพร้อมด้วยเมตตา คือ ฌานที่มีเมตตาเป็นอารมณ์ โดยยก
จิตขึ้นเป็นประธาน. บทว่า พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา ความว่า ก็และ
พระนางเมื่อเจริญเมตตาจิตนั้น ก็เจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ไม่ใช่
เพื่อเป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่
เสด็จอุบัติ ดาบสและปริพาชกผู้เจริญธรรมมีพรหมวิหารเป็นต้น
ก็เจริญเพียงเพื่อภวสมบัติเท่านั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า คามา คามํ ได้แก่ จากบ้านหนึ่ง ไปบ้านหนึ่ง. บทว่า
อาภาเวตฺวา แปลว่า เจริญแล้ว คือ พอกพูนแล้ว. บางอาจารย์
กล่าวว่า อภาเวตฺวา ก็มี. อ อักษร ของบทว่า อภาเวตฺวา ของ
อาจารย์บางพวกนั้น เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อิตฺถิ จิตฺตํ วิราเชตฺวา

ความว่า คลายความคิด คือ ความมีอัธยาศัย ได้แก่ ความชอบใจ
ในความเป็นหญิง คือ เป็นผู้มีจิตปราศจากความยินดี ในความ
เป็นหญิง. บทว่า พฺรหฺมโลกูปคา ความว่า ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
โดยการถือปฏิสนธิ. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรง
กระทำความเศร้าโศก ของอุบาสิกานั้น โดยจตุสัจจเทศนาเบื้องบน.
ในเวลาจบสัจจะ อุบาสิกานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. และ
เทศนา ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

จูฬวรรคที่ ๓
อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑
เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรตพรานตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อภิชฺชมาเน วาริมฺหิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงพาราณสี ได้มีพรานคนหนึ่งอยู่ในบ้าน
ชื่อว่า จุนทัฏฐิละ เลยวาสภคาม ฝั่งแม่น้ำคงคาในด้านอีกทิศหนึ่ง
เขาล่าเนื้อในป่าย่างเนื้อล่ำ ๆ กิน ที่เหลือเอาห่อใบไม้หามมาเรือน
พวกเด็กเล็ก ๆ เห็นเขาที่ประตูบ้านจึงวิ่งเหยียดมือร้องขอว่า จง
ให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้เนื้อแก่เด็กเหล่านั้นคนละน้อย ๆ.

ภายหลังวันหนึ่ง พวกเด็กเห็นเขาที่ประตูบ้าน ผู้ไม่ได้เนื้อ ประดับ
ดอกราชพฤกษ์และหอบเอาไปบ้านเป็นจำนวนมาก จึงวิ่งเหยียด
มือร้องขอว่า จงให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้ดอกนมแมว
แก่เด็กเหล่านั้นคนละดอก.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 06:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นสมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วบังเกิดในหมู่เปรต เป็นผู้
เปลือยกายมีรูปน่าเกลียด เห็นเข้าน่าสะพึงกลัว ไม่รู้จักข้าวและ
น้ำแม้แต่ในความฝัน ทัดทรงกำดอกราชพฤกษ์และดอกโกสุมบน
ศีรษะ คิดว่าเราจักได้อะไร ๆ ในสำนักของพวกญาติในจุนทัฏฐิลคาม
เมื่อน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย จึงเดินทวนกระแสน้ำไป.

ก็สมัยนั้น อำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า โกลิยะ ปราบ
ปัจจันตนครซึ่งกำเริบเสิบสานให้สงบแล้วก็กลับมา จึงส่งพล
บริวารมีพลช้าง และพลม้าเป็นต้นไปทางบก ส่วนตนเองมาทางเรือ
ตามกระแสแม่น้ำคงคา เห็นเปรตนั้นกำลังเดินไปอย่างนั้น เมื่อจะ
ถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มี
ร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่ง ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่ง
ร่างกายเดินไปในน้ำที่ไหลไม่ขาดสายในแม่น้ำ
คงคานี้ ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชมาเน ได้แก่ ไม่แยกกัน
คือ ยังติดกันโดยการย่างเท้า. บทว่า วาริมฺหิ คงฺคาย ได้แก่ น้ำใน
แม่น้ำคงคา. บทว่า อิธ คือ ในที่นี้. บทว่า ปุพฺพทฺธเปโตว ความว่า
มีร่างกายข้างหน้ากึ่งหนึ่ง ไม่เหมือนเปรต คือเหมือนเทพบุตร

ไม่นับเนื่องในกำเนิดเปรต. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า อย่างไร? ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นผู้ทัดทรงดอกไม้ประดับประดา. อธิบายว่า ประดับ
ประดาด้วยดอกไม้ คล้องไว้ที่ศีรษะ. บทว่า กสฺส วาโส ภวิสฺสติ
ความว่า ที่อยู่ของท่าน อยู่ในบ้านไหน หรือในประเทศไหน ท่าน
จงบอกเรื่องนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำที่เปรตนั้นและโกลิยอำมาตย์กล่าว
ในกาลไร พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาว่า :-
เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้าน
จุนทัฏฐิละอันอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุง
พาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้กรุงพาราณสี ก็
มหาอำมาตย์อันปรากฏชื่อว่า โกลิยะเห็นเปรต
นั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าสีเหลืองแก่เปรต

นั้น เมื่อเรือหยุดเดินได้ให้ข้าวสตูและคู่ผ้าแก่
อุบาสกช่างกัลบก เมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะให้ช่าง
กัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที
ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้
ตกแต่งร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมสำเร็จ
แก่เปรตนั้นผู้อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิต
ผู้มีปัญญาพึงให้ทักษิณบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์
แก่เปรตทั้งหลาย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จุนฺทฏฺ€ิลํ ได้แก่ บ้านอันมีชื่อ
อย่างนั้น. บทว่า อนฺตเร วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก ได้แก่
ในระหว่างวาสภคามและกรุงพาราณสี. จริงอยู่ บทว่า อนฺตเร
วาสภคามํ พาราณสึ จ สนฺติเก นี้ เป็นทุติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง
ฉัฏฐีวิภัติ เพราะประกอบด้วย อนฺตรา ศัพท์. จริงอยู่ บ้านนั้น
อยู่ในที่ใกล้กรุงพาราณสีแล. ก็ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า ในระหว่าง
วาสภคามและกรุงพาราณสี ข้าพเจ้าจักไปบ้านชื่อว่า จุนทัฏฐิลคาม
ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี.

บทว่า โกลิโย อิติ วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า
โกลิยะ. บทว่า สตฺตุํ ภตฺตญฺจ ได้แก่ ข้าวสตู และภัต. บทว่า
ปีตกญฺจ ยุคํ อทา ความว่า ได้ให้คู่ผ้าคู่หนึ่งสีเหลือง คือ สีเหมือน
ทองคำ. หากเมื่อเขาถามว่า ได้ให้เมื่อไร? จึงกล่าวตอบว่า ได้ให้
เมื่อเรือหยุด. บทว่า กปฺปกสฺส อทาปยิ มีวาจาประกอบความว่า
ได้หยุดเรือซึ่งกำลังแล่น ได้ให้แก่อุบาสกช่างกัลบกคนหนึ่งในที่นั้น

เมื่อโกลิยอำมาตย์ให้คู่ผ้านั้น. บทว่า €าเน คือ โดยทันที ได้แก่
ในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า เปตสฺส ทิสฺสถ ความว่า ได้ปรากฏใน
ร่างของเปรต คือ ผ้านุ่งและผ้าห่มได้สำเร็จแก่เปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ภายหลังเปรตนั้นนุ่งห่มดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้
ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ อธิบายว่า นุ่งห่มผ้าดีแล้ว ประดับ

ประดาตกแต่งด้วยอาภรณ์คือดอกไม้. บทว่า €าเน €ิตสฺส เปตสฺส
อุปกปฺปถ ความว่า ก็เพราะทักษิณานั้นตั้งอยู่ในฐานะอันควรแก่
พระทักขิไณยบุคคล ย่อมสำเร็จ คือ ได้ถึงการประกอบเป็นพิเศษ
แก่เปรตนั้น. บทว่า ตสฺมา ทชฺเชถ เปตานํ อนุกมฺปาย ปุนปฺปุนํ
ความว่า พึงให้ทักษิณาบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรต คือ เพื่ออุทิศ
เปรต.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น โกลิยมหาอำมาตย์นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น
จึงให้สำเร็จทานวิธีมาตามกระแสน้ำ เมื่อพระอาทิตย์อุทัยได้ถึง
กรุงพาราณสี. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาทางอากาศ เพื่อ
อนุเคราะห์เปรตเหล่านั้น ได้ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฝ่าย
โกลิยมหาอำมาตย์ลงจากเรือแล้ว หรรษาร่าเริง นิมนต์พระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระองค์
ทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ เพื่ออนุเคราะห์
ข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ. โกลิยมหาอำมาตย์
นั้นได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงให้สร้างสาขา
มณฑปใหญ่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ในขณะนั้นนั่นเอง ให้ประดับ

ประดาด้วยผ้าต่างชนิดอันวิจิตรด้วยสีย้อมต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน
และด้านข้าง ๆ ทั้ง ๔ ด้าน ได้ให้ปูอาสนะถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในที่นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่
ตบแต่งไว้.

ลำดับนั้น มหาอำมาตย์นั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
บูชาด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้ว
นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลคำที่ตนกล่าวและคำโต้ตอบ
ของเปรตในหนหลัง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า ขอสงฆ์จงมา. พร้อมกับที่พระองค์ทรงพระดำริ

นั่นแล ภิกษุสงฆ์อันพุทธานุภาพกระตุ้นเตือน จึงพากันแวดล้อม
พระธรรมราชา ดุจฝูงหงส์ทองพากันแวดล้อมพญาหงส์ธตรฐ.
ในขณะนั้นนั่นเอง มหาชนพากันประชุมด้วยถ้อยคำ จักมีพระธรรม
เทศนาอันยิ่ง. มหาอำมาตย์เห็นด้วยดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงอังคาส
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำด้วยขาทนียะ

และโภชนียะอันประณีต. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว เพื่ออนุเคราะห์มหาชนจึงทรงอธิษฐานว่า ขอคนชาวบ้าน
ใกล้กรุงพาราณสีจงประชุมกันเถิด. ก็มหาชนทั้งหมดนั้นได้ประชุม
กันด้วยกำลังพระฤทธิ์. และพระองค์ได้ทรงทำเปรตเป็นอันมาก
ให้ปรากฏแก่มหาอำมาตย์. บรรดาเปรตเหล่านั้น บางพวกนุ่งผ้า

ท่อนเก่าขาดวิ่น บางพวกเอาผมของตนเองปิดอวัยวะที่ละอาย
บางพวกเปลือยกายมีรูปเหมือนตอนเกิด ถูกความหิวกระหาย
ครอบงำ มีหนังหุ้มห่อไว้ มีร่างกายเพียงแต่กระดูก เที่ยวหมุนเคว้ง
ไปข้างโน้นข้างนี้ ปรากฏแก่มหาชนโดยประจักษ์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร
คือบันดาลด้วยพระฤทธิ์ โดยประการที่เปรตเหล่านั้นประชุมพร้อม
กันประกาศความชั่วที่ตนทำแก่มหาชน. พระสังคีติกาจารย์เมื่อ
จะแสดงเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาด
รุ่งริ่ง บางพวกนุ่งผม หลีกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่
เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล ไม่ได้
ก็กลับมา บางพวกสลบแล้ว เพราะความหิว
กระหาย นอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน บางพวก
ล้มลงที่แผ่นดินในที่ที่ตนวิ่งไปนั้น ร้องไห้ร่ำไร
ว่า เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน จึง

ได้ถูกไฟคือ ความหิว ความกระหายเผาอยู่ ดุจ
ถูกไฟเผาในที่ร้อน เมื่อก่อนพวกเรามีธรรมอัน
ลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล
เมื่อไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ ไม่กระทำที่พึ่งแก่ตน.
เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่เราไม่ทำการแจกจ่าย
ให้ทานและไม่ได้ให้อะไร ๆ ในบรรพชิตผู้

ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีเขาไม่ทำ
เกียจคร้าน ใคร่แต่ความสำราญ และกินมาก
ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง ด่าว่าปฏิคาหกผู้รับ
โภชนะ. เรือน ทาส ทาสี และเครื่องอาภรณ์ของ
เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา
พวกเขาไปบำเรอคนอื่นหมด พวกเรามีแต่ส่วน
ของความทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้วจักไปเกิด

ในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน ตระกูลคน
จัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก
นี่เป็นคติของความตระหนี่. ส่วนทายกทั้งหลาย
ผู้ได้ทำกุศลไว้ในชาติก่อน ปราศจากความ
ตระหนี่ ย่อมทำสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมทำ

สวนนันทนวันให้สว่างไสว รื่นรมย์อยู่เวชยันต-
ปราสาท สำเร็จความปรารถนาในสิ่งที่น่าใคร่
ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง
มีโภคะมาก คือ ในตระกูลคนมีเรือนยอด และ
ปราสาทราชมณเฑียร มีบัลลังก์ลาดด้วยผ้า
โกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับ

ด้วยแววหางนกยูง คอยพัดอยู่. ในเวลาเป็นทารก
ก็ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย หมู่ญาติ พี่เลี้ยง
นางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชน
ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและ
เย็นตลอดชาติ. สวนใหญ่ของเทวดาเหล่าไตรทศ
ชื่อว่านันทนวัน เป็นสถานที่ไม่เศร้าโศก น่า
รื่นรมย์นี้ ย่อมไม่มีแก่ชนผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ความ
สุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแต่คนผู้

ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดา
เหล่าไตรทศ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่า
บุคคลผู้ทำบุญไว้ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์
เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตุนฺนวสนา แปลว่า นุ่งผ้าขี้ริ้ว
รุ่งริ่ง. บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า เกสนิวาสนา แปลว่า
เอาผมนั่นแหละปิดอวัยวะที่น่าอาย. บทว่า ภตฺตาย คจฺฉนฺติ ความว่า
หยุดอยู่เฉพาะที่ไหน ๆ ไม่ได้ ย่อมเดินไปเพื่อต้องการอาหารด้วย
หวังใจว่า ไฉนพวกเราไปจากนี้แล้ว จะพึงได้อะไร ๆ จะเป็นอาหาร
ที่เขาทิ้งก็ตาม อาเจียนก็ตาม ครรภมลทินเป็นต้นก็ตาม ในที่ใด
ที่หนึ่ง. บทว่า ปกฺกมนฺติ ทิโสทิสํ ความว่า หลีกจากทิศไปสู่ทิศ
สิ้นที่มีระยะห่างหลายโยชน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ทูเร แปลว่า ในที่ไกลมาก. บทว่า เอเก ได้แก่ เปรต
บางพวก. บทว่า ปธาวิตฺวา ได้แก่ วิ่งเข้าไปเพื่อต้องการอาหาร.
บทว่า อลทฺธาว นิวตฺตเร ความว่า ครั้นไม่ได้ข้าวหรือน้ำดื่มอะไร ๆ
เลยก็พากันกลับ. บทว่า ปมุจฺฉิตา ความว่า เกิดสลบเพราะความ
ทุกข์อันเกิดแต่ความหิวและความกระหายเป็นต้น. บทว่า ภนฺตา
แปลว่า กลิ้งเกลือกไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา ความว่า เมื่อความ
สลบนั้นนั่นแลเกิดขึ้น ก็ซูบซีดล้มลงบนแผ่นดิน เหมือนบุคคลยืน
ขว้างก้อนดินลงไปฉะนั้น

บทว่า ตตฺถ คือในที่ที่ตนเดินไป. บทว่า ภูมิยํ ปฏิสุมฺภิตา
ความว่า ล้มลงบนภาคพื้น เพราะไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ด้วย
ความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวเป็นต้น เหมือนตกไปในเหวฉะนั้น.
หรือว่าในที่ที่ไปนั้น เป็นผู้หมดหวังเพราะไม่ได้อาหารเป็นต้น
ก็ล้มลงบนภาคพื้น เหมือนถูกใคร ๆ โบยตีตรงหน้า. บทว่า ปุพฺเพ
อกตกลฺยาณา แปลว่า ผู้ไม่ได้ทำคุณความดีอะไรไว้ในภพก่อน. บทว่า
อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป ความว่า ถูกไฟคือความหิวกระหายแผดเผา
ย่อมเสวยทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนถูกไฟเผาในที่ร้อนในฤดูแล้ง.

บทว่า ปุพฺเพ คือในอดีตภพ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่
ชื่อว่าผู้มีสภาวะอันลามก เพราะมีความริษยา และความตระหนี่
เป็นต้น. บทว่า ฆรณี ได้แก่ หญิงผู้เป็นแม่เรือน. บทว่า กุลมาตโร
ได้แก่ ผู้เป็นมารดาของทารกในตระกูล หรือเป็นมารดาของบุรุษ
ในตระกูล. บทว่า ทีปํ แปลว่าที่พึ่ง อธิบายว่า บุญ. จริงอยู่
บุญนั้นท่านเรียกว่า ปติฏฺ€า เพราะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
ในสุคติ. บทว่า นากมฺห แปลว่า ไม่ทำไว้แล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ปหูตํ แปลว่า มาก. บทว่า อนฺนปานมฺปิ ได้แก่ ข้าว
และน้ำ. ศัพท์ว่า สุ ในบทว่า อปิสฺสุ อวกิรียติ เป็นเพียงนิบาต.
เออก็ข้าวแลน้ำเราไม่ได้กระทำ คือ ทิ้งเสีย. บทว่า สมฺมคฺคเต
ได้แก่ เมื่อเราดำเนินชอบคือปฏิบัติชอบ. บทว่า ปพฺพชิเต แปลว่า
แก่นักบวช. จริงอยู่ บทว่า ปพฺพชิเต นี้เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถ
จตุตถีวิภัติ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อบรรพชิตผู้ดำเนินชอบ
มีอยู่ คือ เมื่อได้บรรพชิต. บทว่า น จ กิญฺจิ อทมฺหเส ความว่า
พวกเปรตผู้ถูกความเดือดร้อนครอบงำกล่าวว่า เราไม่ได้ให้ไทยธรรม
แม้เพียงเล็กน้อย.

บทว่า อกมฺมกามา ความว่า ชื่อว่า อกัมมกามะ เพราะ
ปรารถนาอกุศลกรรมที่คนดีทั้งหลายไม่พึงกระทำ หรือชื่อว่า
กัมมกามะ เพราะปรารถนากุศลกรรมที่คนดีพึงทำ ชื่อว่า อกัมมกามะ
เพราะไม่ปรารถนากุศลกรรม อธิบายว่า ไม่มีฉันทะในกุศลกรรม.
บทว่า อลสา ได้แก่ เป็นคนเกียจคร้าน คือ ไม่มีความเพียรในการ
กระทำกุศล. บทว่า สาทุกามา ได้แก่ ปรารถนาสิ่งที่สำราญ

และอร่อย. บทว่า มหคฺฆสา แปลว่า ผู้กินจุ. แม้ด้วยบททั้ง ๒
ท่านแสดงไว้ว่า ได้โภชนะที่ดีและอร่อยแล้วไม่ให้อะไร ๆ แก่
ผู้ต้องการ บริโภคเองเท่านั้น. บทว่า อาโลปปิณฺฑทาตาโร ได้แก่
ให้ก้อนข้าวแม้เพียงคำเดียว. บทว่า ปฏิคฺคเห ได้แก่ ผู้รับก้อนข้าว
นั้น. บทว่า ปริภาสิมฺหเส ได้แก่ กล่าวกดขี่ อธิบายว่า ดูหมิ่นและ
เย้ยหยัน.

บทว่า เต ฆรา มีอธิบายว่า ในกาลก่อน พวกเราได้กระทำ
ความรักว่าเรือนของเรา เรือนเหล่านั้นตั้งอยู่ตามเดิม บัดนี้ สิ่ง
อะไร ๆ ก็ไม่สำเร็จแก่พวกเรา. แม้ในบทว่า ตา จ ทาสิโย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตาเนวาภรณานิ โน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า เต ได้แก่ มีเรือนเป็นต้นเหล่านั้น.
บทว่า อฺเ ปริจาเรนฺติ ความว่า กระทำการประกอบให้พิเศษ
ด้วยการบริโภคเป็นต้น. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคิโน ความว่า
พวกเปรตกล่าวติเตียนตนว่า ก็เมื่อก่อน พวกเราขวนขวายแต่การ
เล่นอย่างเดียว ละทิ้งสมบัติไม่รู้ที่ทำให้สมบัตินั้นติดตัวไป แต่บัดนี้
เราเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์อันเกิดแต่ความหิว และความกระหาย
เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายจุติจากกำเนิดเปรตแล้ว
แม้จะเกิดในมนุษย์ ก็เป็นคนมีชาติเลว มีความประพฤติเหมือน
คนกำพร้าทีเดียว ด้วยเศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น
เพื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว ๒ คาถาโดยนัยมีอาทิว่า เวณี
วา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณี วา ได้แก่ เกิดในตระกูล

ช่างสาน อธิบายว่า เป็นช่างสานไม้ไผ่ ช่างสานไม้อ้อ. วา ศัพท์
มีอรรถไม่แน่นอน. บทว่า อวฺา แปลว่า ดูหมิ่น อธิบายว่า
ดูแคลน. บาลีว่า วมฺภนา ตัดพ้อ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถูกผู้อื่น
เบียดเบียน. บทว่า รถการี ได้แก่ ช่างหนัง. บทว่า ทุพฺภิกา ได้แก่
ผู้มักประทุษร้ายมิตร คือผู้เบียดเบียนมิตร. บทว่า จณฺฑาลี แปลว่า

เป็นคนชาติจัณฑาล. บทว่า กปณา ได้แก่ วณิพก คือผู้ได้รับความ
สงสารอย่างยิ่ง. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ เกิดในตระกูลช่างกัลบก
ในบททั้งปวงมีวาจาประกอบความว่า มีบ่อย ๆ อธิบายว่า ย่อมเกิด
ในตระกูลต่ำเหล่านี้แล้ว ๆ เล่า ๆ.

บทว่า เตสุ เตเสฺวว ชายนฺติ ความว่า เกิดในเปรตทั้งหลาย
เพราะมลทิน คือความตระหนี่ จุติจากเปรตแล้วบังเกิดในตระกูล
คนกำพร้าแม้พวกอื่น มีตระกูลนายพราน และตระกูลคนเทหยากเยื่อ
ซึ่งถูกตัดพ้อมาก และเข็ญใจอย่างยิ่งอันเป็นตระกูลต่ำ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นคติของคนตระหนี่ ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร