วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระสังคีติกาจารย์ครั้นแสดงคติของสัตว์ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้
อย่างนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงคติของคนผู้ทำบุญไว้ จึงกล่าวคาถา
๗ คาถาว่า ก็ผู้ได้ทำคุณงามความดีไว้ในปางก่อน ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคํ เต ปริปูเรนฺติ ความว่า ทายก
ทั้งหลายได้ทำคุณงามความดีไว้ในชาติก่อน ยินดียิ่งในบุญอัน
ว่าด้วยการให้ทาน ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ย่อมทำ

สวรรค์ คือ เทวโลกให้บริบูรณ์ ด้วยรูปสมบัติของตนและด้วย
บริวารสมบัติ. บทว่า โอภาเสนฺติ จ นนฺทนํ ความว่า ไม่ใช่ทำ
นันทนวันให้บริบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ย่อมครอบงำ
นันทนวันแม้สว่างไสว อยู่ตามสภาวะด้วยรัศมีแห่งต้นกัลปพฤกษ์
เป็นต้น และให้สว่างไสวโชติช่วงด้วยความโชติช่วงแห่งผ้าและ
อาภรณ์ และด้วยรัศมีแห่งร่างกายของตน.

บทว่า กามกามิโน ความว่า มีเครื่องใช้สอยตามปรารถนา
ในกามคุณตามที่ต้องการ. บทว่า อุจฺจากุเลสุ ได้แก่ ตระกูลสูง
มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า สโภเคสุ ได้แก่ มีสมบัติมาก.
บทว่า ตโต จุตา ความว่า ครั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว.

บทว่า กูฏาคาเร จ ปาสาเท ได้แก่ ในกูฏาคารและปราสาท.
บทว่า พีชิตงฺคา ได้แก่ มีเรือนร่างที่ถูกเขาพัดวีอยู่. บทว่า
โมราหตฺเถหิ ได้แก่ ถือพัดวีชนีประดับด้วยแววหางนกยูง. บทว่า
ยสสฺสิโน อธิบายว่า มีบริวารรื่นรมย์อยู่.

บทว่า องฺกโต องฺกํ คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ในเวลาเป็นทารก
พวกญาติและนางนมพากันกะเดียดไป อธิบายว่า ไม่ไปตามพื้นดิน.
บทว่า อุปติฏฺ€นฺติ แปลว่า คอยบำรุงอยู่. บทว่า สุเขสิโน ได้แก่
ผู้ปรารถนาความสุข อธิบายว่า คอยบำบัดทุกข์แม้มีประมาณน้อยว่า
ความหนาวหรือความร้อนอย่าได้มี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า นยิทํ กตปุฺานํ ความว่า สวนใหญ่ของเทวดา
ดาวดึงส์เหล่าไตรทศ ชื่อว่า นันทนวัน ใกล้ป่าใหญ่นี้ ไม่มีความ
เศร้าโศก น่ารื่นรมย์ใจ ไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ อธิบายว่า ผู้ที่
ไม่ได้ทำบุญไว้ไม่อาจได้.

ด้วยบทว่า อิธ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้ที่ได้ทำบุญไว้เป็น
พิเศษในมนุษยโลกนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ คือในปัจจุบัน.
บทว่า ปรตฺถ คือ ในสัมปรายภพ.
บทว่า เตสํ ได้แก่ อันเทพทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สหพฺยกามานํ ได้แก่ ปรารถนาความเป็นสหาย. บทว่า
โภคสมงฺคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยโภคะทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ บันเทิงใจอยู่. คำที่เหลือ
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร ตามควร
แก่อัธยาศัยของมหาชน ผู้ประชุมกันในที่นั้น มีโกลิยอำมาตย์เป็น
ประมุข ผู้มีใจสลด ในเมื่อเปรตเหล่านั้นประกาศถึงคติของกรรม
ที่ตนทำไว้โดยทั่วไป และคติของบุญกรรมด้วยประการอย่างนี้.
ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑

อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภเปรตผู้เป็นญาติ ของท่านพระสานุวาสีเถระ จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี พระราชโอรส
ของพระราชาทรงพระนามกิตวะ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน
เมื่อเสด็จกลับทรงทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระองค์
หนึ่งนามว่า สุเนตต์ กำลังเที่ยวบิณฑบาต ออกจากพระนคร เป็น
ผู้เมาด้วยความเมา เพราะความเป็นใหญ่ มีจิตคิดประทุษร้ายว่า

สมณะโล้นนี้ ไม่กระทำอัญชลีอะไร ๆ แก่เรา เดินไป เสด็จลงจาก
คอช้างแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม? จึงรับบาตรจากมือ
แล้ว ทุ่มลงที่พื้นดินให้แตกไป. ลำดับนั้น พระราชโอรสนั้นมีความ
อาฆาตในฐานะอันไม่สมควร มีจิตคิดประทุษร้าย พระปัจเจก-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พุทธเจ้านั้น ผู้ไม่แสดงความวิการ เพราะท่านถึงความคงที่ ผู้
มีจิตผ่องใส อันตกแต่ง (ประกอบ) ด้วยโสมนัสเวทนา แผ่ไปด้วย
อำนาจกรุณา ตรวจดูอยู่ในที่ทุกสถาน จึงตรัสว่า ท่านไม่รู้จักเรา
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะดอกหรือ ท่านมองดูอยู่
จะทำอะไรเราได้ เมื่อไม่อาจจึงหลีกไป. ก็พอพระราชโอรสหลีกไป

เท่านั้น ก็เกิดความเร่าร้อนในร่างกายเป็นกำลัง เปรียบเหมือน
ความเร่าร้อนแห่งไฟในนรก. เพราะวิบากกรรมนั้น พระราชโอรส
นั้น จึงมีกายถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากครอบงำ ถูกทุกขเวทนา
อย่างแรงกล้าเสียดแทง ทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.

พระราชโอรสนั้น นอนหงาย นอนคว่ำ กลิ้งเกลือก พลิกขวา
พลิกซ้าย โดยประการเป็นอันมากในที่นั้น ไหม้อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี จุติจาก
อัตตภาพนั้นแล้ว เสวยทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหาย ในหมู่เปรต
ตลอดกาลนับประมาณมิได้ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว ในพุทธุปบาท
กาลนี้ บังเกิดในเกวัฏฏคาม ใกล้กุณฑินคร, เขาเกิดญาณอันระลึก

ชาติได้, เพราะเหตุนั้น เขาเมื่ออนุสรณ์ถึงทุกข์ที่ตนเคยเสวยใน
กาลก่อน แม้เจริญวัยแล้ว ก็ไม่ยอมไปจับปลากับพวกหมู่ญาติ
เพราะกลัวบาป. เมื่อพวกญาติเหล่านั้นพากันไป เขาก็แอบเสีย

ไม่ปรารถนาจะฆ่าปลา และเขาก็ไปทำลายข่าย หรือจับปลาเป็น ๆ
มาปล่อยในน้ำเสีย พวกญาติ เมื่อไม่ชอบใจการกระทำเช่นนั้นของ
เขา จึงไล่เขาออกจากบ้าน. แต่เธอมีพี่ชายอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีความ
รักเขามาก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ อาศัยกุณฑินคร อยู่ในสานุบรรพต.
ลำดับนั้น บุตรชาวประมงนั้น ถูกพวกญาติทอดทิ้ง เที่ยวเร่ร่อน
ไปทุกแห่งที่ถึงสถานที่แห่งนั้นแล้ว เข้าไปหาพระเถระในเวลาฉัน
ภัตตาหาร พระเถระถามเธอแล้ว รู้ว่าเธอต้องการอาหาร จึงให้
ภัตตาหารแก่เธอ เธอบริโภคภัตตาหารเสร็จแล้ว รู้เรื่องนั้นแล้ว
รู้ถึงความเลื่อมใสในธรรมกถา จึงกล่าวว่า จักบวชไหมคุณ?

เธอเรียนถวายว่า จักบวช ขอรับ. พระเถระ ครั้นให้เธอบรรพชา
แล้ว พร้อมกับเธอ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระ-
ศาสดา ตรัสกะพระเถระนั้นว่า อานนท์ เธอ พึงช่วยอนุเคราะห์
สามเณรนี้เถิด. แต่เพราะสามเณรไม่เคยกระทำกุศลไว้ เธอจึง
มีลาภน้อย. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เธอ จึง

แนะให้เธอตักน้ำดื่มให้เต็มหม้อ เพื่อให้ภิกษุบริโภค. อุบาสกและ
อุบาสิกาทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงเริ่มตั้งนิตยภัตเป็นอันมากแก่เธอ.

สมัยต่อมา เธอได้อุปสมบทแล้ว บรรลุพระอรหัต เป็นพระ
เถระ พร้อมกับภิกษุ ๑๒ รูป ได้อยู่ที่สานุบรรพต. ฝ่ายพวกญาติ
ของเธอ ประมาณ ๕๐๐ คน มิได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ สร้างแต่
บาปธรรมมีมัจฉริยะเป็นต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต. ฝ่าย
มารดาบิดาของเขา ระลึกอยู่ว่า ในกาลก่อนผู้นี้ ถูกพวกเราขับไล่

ออกจากเรือน จึงไม่เข้าไปหาเธอ ส่งพี่ชายที่รักใคร่ชอบใจในเธอ
ไป. ในเวลาที่พระเถระเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน เธอยันเข่าขวา
ลงที่พื้นดิน กระทำอัญชลี แสดงตน ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า มาตา
ปิตา จ เต ภนฺเต มารดา บิดา ของท่านขอรับ. เพื่อจะแสดงความ
เกี่ยวพันกันแห่งคาถา ๕ คาถาเบื้องต้น มีอาทิว่า กุณฺฑินาคริโย
เถโร ดังนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงยกขึ้นตั้งไว้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระชาวกุณฑินคร รูปหนึ่ง อยู่ที่
ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐปาทะ เป็นสมณะ
ผู้มีอินทรีย์ อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชาย
ของท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนา ทำ
กรรมอันลามก จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก เปรต
เหล่านั้นถึงทุคคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบาก
ยิ่งนัก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสดุ้ง

หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตน
แก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่านตน
เดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่า ประนมมือ
แสดงตนแก่พระเถระ พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็น
ผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้น จึงบอกให้พระเถระ
รู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายของท่าน ไปสู่เปตโลก

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านเกิดใน
ยมโลก เสวยทุกขเวทนา เพราะทำบาปกรรมไว้
จึงจากโลกนี้ ไปสู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดา
บิดา ของท่านทั้ง ๒ นั้น มีช่องปากเท่ารูเข็ม
ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัว
สะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจ

แสดงตนแก่ท่านได้ ขอท่านจงเป็นผู้มีความกรุณา
อนุเคราะห์แก่มารดาบิดาเถิด จงให้ทาน แล้วอุทิศ
ส่วนกุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอัน
ทารุณ จักยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ เพราะทาน
อันท่านให้แล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑินาคริโย เถโร ได้แก่พระ-
เถระผู้เกิดเติบโตในนครมีชื่ออย่างนี้ บาลีว่า กุณฺฑิกนคโร เถโร
ดังนี้ก็มี บาลีนั้น ความก็อย่างนี้. บทว่า สานุวาสินิวาสิโก ได้แก่
ผู้มีปกติอยู่ที่สานุบรรพต. บทว่า โปฏฺ€ปาโทติ นาเมน ได้แก่ เขามี
ชื่อว่า โปฏฐปาทะ. บทว่า สมโณ แปลว่า เป็นผู้สงบบาป. บทว่า
ภาวิตินฺทฺริโย ความว่า ผู้อบรมสัทธินทรีย์เป็นต้นแล้ว ด้วยอริยมรรค

ภาวนา คือเป็นพระอรหันต์. บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระสานุวาสีเถระ
นั้น. บทว่า ทุคฺคตา ได้แก่ ผู้ไปสู่ทุกคติ. บทว่า สูจิกฏฺฏา ได้แก่
ผู้มีช่องปากเท่ารูเข็ม เพราะเป็นผู้เศร้าหมองด้วยของเน่าเปื่อย คือ
อึดอัดอยู่ ได้แก่ ถูกความหิวกระหายอันได้นามว่า สูจิกา บีบคั้นแล้ว
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูจิกณฺ€า ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มีช่องปาก

เสมือนกับรูเข็ม. บทว่า กิลนฺตา ได้แก่ ผู้มีกายและจิตลำบาก.
บทว่า นคฺคิโน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างเปลือย คือไม่มีท่อนผ้า. บทว่า
กิสา ได้แก่ ผู้มีร่างกายซูบผอม เพราะมีร่างกายเหลือแต่เพียง
หนังหุ้มกระดูก. บทว่า อุตฺตสนฺตา ได้แก่ ถึงความหวาดเสียว
เพราะความเกรงกลัวว่า สมณะนี้เป็นบุตรของเรา. บทว่า มหตฺตาสา

ได้แก่ เกิดมหาภัยขึ้น เพราะอาศัยกรรมที่ตนได้ทำไว้ในปางก่อน.
บทว่า น ทสฺเสนฺติ ความว่า ไม่แสดงตน คือ ไม่ยอมเผชิญหน้ากัน.
บทว่า กุรูริโน แปลว่า ผู้มีการงานทารุณ.

บทว่า ตสฺส ภาตา ได้แก่ เปรตผู้เป็นพี่ชายของสานุวาสีเถระ.
บทว่า วิตริตฺวา แปลว่า เป็นผู้รีบข้ามไปแล้ว, อธิบายว่า มีภัย
เกิดแต่ความสะดุ้ง เพราะเกรงกลัว. อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า วิตุริตฺวา
ดังนี้ก็มี อธิบายว่าเป็นผู้รีบด่วน คือ รีบไป. บทว่า เอกปเถ คือ
ในหนทางสำหรับเดินได้คนเดียว. บทว่า เอกโก คือ ไปคนเดียว ไม่มี
เพื่อน. บทว่า จตุกุณฺฑิโก ภวิตฺวาน ความว่า ชื่อว่า จตุกุณฺฑิโก

เพราะเสวยทุกขเวทนา คือ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยองค์ ๔ อธิบาย
ว่า ใช้เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ เดินและยืน (คลานไป) อธิบายว่า เป็น
อย่างนั้น. จริงอยู่ เปรตนั้น ได้กระทำอย่างนั้นว่า การปกปิดอวัยวะ
อันยังหิริให้กำเริบ ย่อมมีแต่นี้. บทว่า เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า
อ้างคือ แสดงตนแก่พระเถระ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อมนสิกตฺวา ได้แก่ ไม่ทำไว้ในใจ คือ ไม่นึกถึง
อย่างนี้ว่า ผู้นี้ ชื่ออย่างนี้. บทว่า โส จ ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า
ภาตา เปตคโต อหํ มีวาจาประกอบความว่า เปรตนั้น กล่าวอย่างนี้
ว่า เราเป็นพี่ชายในอัตภาพที่เป็นอดีต, บัดนี้ เราเป็นเปรตมาใน
ที่นี้ ดังนี้แล้วจึงให้พระเถระรับรู้.

ก็เพื่อจะแสดงประการที่จะให้พระเถระรับรู้ได้ จึงได้กล่าว
คาถา ๓ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า มาตา ปิตา จ ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า มาตา ปิตา จ เต แปลว่า มารดาและบิดาของท่าน.
บทว่า อนุกมฺปสฺสุ ความว่า จงอนุเคราะห์ คือจงทำความเอ็นดู.
บทว่า อนฺวาทิสาหิ แปลว่า เจาะจง. บทว่า โน ได้แก่ พวกเรา.
บทว่า ตว ทินฺเนน ได้แก่ ด้วยทานที่ท่านให้แล้ว.

พระเถระ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เพื่อจะแสดงข้อที่เปรตนั้น
ปฏิบัติ จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวไป
บิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมกันในที่เดียวกัน
เพราะเหตุแห่งภัตกิจ, พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ
ทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหาร
ที่ท่านได้แล้วแก่กระผมเถิด กระผมจักทำสังฆ-
ทาน เพื่ออนุเคราะห์หมู่ญาติ ภิกษุเหล่านั้น จึง
มอบถวายพระเถระ พระเถระจึงนิมนต์สงฆ์

ถวายสังฆทานแล้ว อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา
บิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอทานนี้ จง
สำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย
จงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง
โภชนะอันประณีต สมบูรณ์ มีแกงและกับหลาย
อย่าง เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลังเปรตผู้
เป็นพี่ชาย มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไป
แสดงตนแก่พระเถระ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ โภชนะเป็นอันมาก ที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว
แต่ขอท่านจงดู ข้าพเจ้าทั้งหลาย ยังเป็นคนเปลือย
กายอยู่ ขอท่านจงพยายาม ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2019, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้ผ้านุ่งห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บผ้าจาก
กองหยากเหยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อัน
มาจากจาตุรทิศ ครั้นถวายแล้ว ได้อุทิศส่วนกุศล
ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ
ทานนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายเถิด ขอพวกญาติ
ของเรา จงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศ
นั้นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น

ภายหลังเปรตเหล่านั้น นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
แล้ว ได้มาแสดงตนแก่พระเถระ กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีผิวพรรณ
ดี มีกำลัง มีความสุข มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม มากกว่า
ผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช ผ้านุ่ง
ผ้าห่มทั้งหลาย ของพวกเราไพบูลย์และมีค่า
มาก คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปือกไม้ ผ้าฝ้าย

ผ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้น แขวนอยู่
ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่
พอใจ ขอท่านจงพยายาม ให้พวกข้าพเจ้าได้
บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฏี มุงด้วยใบไม้
แล้วได้ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วได้

อุทิศส่วนกุศล ให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ
เจตนาว่า ขอผลแห่งการถวายกุฏีนี้ จงสำเร็จแก่
พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความ
สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือน
ทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่น ๆ อัน
บุญกรรมกำหนดแบ่งไว้เป็นส่วน ๆ เกิดขึ้นแล้ว

แก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้
ไม่เหมือนกับเรือนในมนุษยโลก เรือนของพวก
เราในเปตโลกนี้ งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง
๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทวโลก แต่พวกเรายังไม่
มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายาม
ให้พวกข้าพเจ้า ได้ดื่มด้วยเถิด พระเถระจึงตัก

น้ำเต็มธรรมกรก แล้วถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ
แล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาบิดาและพี่ชาย
ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวก
ญาติของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุข

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำดื่ม คือ
สระโบกขรณีกว้าง ๔ เหลี่ยม ลึกมีน้ำเย็น มีท่า
ราบเรียบดี น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้
ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบลเต็มด้วยละออง
เกสรบัว อันร่วงหล่นบนวารี ได้เกิดขึ้น เปรต
เหล่านั้น อาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดง
ตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้า มากเพียงพอแล้ว บาป

ย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพ-
เจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาค อันมีก้อน
กรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายาม ให้พวก
ข้าพเจ้า ได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระ
ได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้น
แล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วย
อุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติ

ของเรา ขอพวกญาติของเรา จงมีความสุขเถิด
ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลาย ได้
พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้วกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า เป็นผู้อันท่าน
อนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่ง ผ้าห่ม

เรือน น้ำดื่ม และ ยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย จึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนี มีความ
กรุณาในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เถโร จริตฺวา ปิณฺฑาย ความว่า
พระเถระเที่ยวจาริกไปบิณฑบาต. บทว่า ภิกฺขู อฺเ จ ทฺวาทส
ความว่า ภิกษุผู้อยู่กับพระเถระและภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป ประชุม

ร่วมในที่เดียวกัน. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะส่วนพิเศษแห่งภัตเป็นเหตุ. อธิบายว่า เพราะภัตกิจ
เป็นเหตุ คือ เพราะการฉันเป็นเหตุ. บทว่า เต โดยภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า ยถา ลทฺธํ แปลว่า ตามที่ได้. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้.

บทว่า นิยฺยาทยึสุ แปลว่า ได้ให้แล้ว. บทว่า สงฺฆํ นิมนฺตยิ
ความว่า นิมนต์ภิกษุ ๑๒ รูปนั่นแหละ เพื่อฉันภัตตาหารนั้น โดย
สังฆุทเทศ อุทิศสงฆ์. บทว่า อนฺวาทิสิ ได้แก่ อุทิศให้. บรรดา
ญาติเหล่านั้น เพื่อจะแสดงญาติที่ตนเจาะจงเหล่านั้น จึงกล่าวคำ
ว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดา และพี่ชาย ขอผลทานนี้จง
สำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติจงมีความสุขเถิด.

บทว่า สมนนฺตรานุทฺทิฏฺเ€ แปลว่า พร้อมกับการอุทิศ
นั่นเอง. บทว่า โภชนํ อุปปชฺชถ ความว่า โภชนะย่อมเกิดแก่เปรต
เหล่านั้น. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า โภชนะเช่นไร? จึงกล่าวว่า
โภชนะอันสะอาด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรสพฺยญฺชนํ
ได้แก่ ประกอบด้วยกับข้าวมีรสต่าง ๆ หรือว่า มีรสหลายอย่างและ
มีกับข้าวหลายอย่าง. บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การได้โภชนะ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อุทฺทสฺสยี ภาตา ความว่า เปรตผู้เป็นพี่ชาย แสดง
ตนแก่พระเถระ. บทว่า วณฺณวา พลวา สุขี ความว่า เพราะการได้
โภชนะนั้น ทันใดนั้นเอง เปรตนั้นสมบูรณ์ด้วยรูป สมบูรณ์ด้วย
กำลัง มีความสุขทีเดียว. บทว่า ปหูตํ โภชนํ ภนฺเต ความว่า
ท่านผู้เจริญ โภชนะมากมาย คือมิใช่น้อย อันเราได้แล้ว เพราะ

อานุภาพทานของท่าน. บทว่า ปสฺส นคฺคามฺหเส ความว่า ท่านจงดู
แต่พวกเราเป็นคนเปลือยกาย เพราะฉะนั้น ขอท่านจงบากบั่น
กระทำความพยายามอย่างนั้นเถิด ขอรับ. บทว่า ยถา วตฺถํ ลภามเส
ความว่า ขอท่านทั้งหลายจงพยายามโดยประการ คือ โดยความ
พยายามที่ข้าพเจ้าทั้งหมดพึงได้ผ้าเถิด.

บทว่า สงฺการกูฏมฺหา ได้แก่ จากกองหยากเยื่อในที่นั้น ๆ.
บทว่า อุจฺจินิตฺวาน ได้แก่ ถือเอาโดยการแสวงหา. บทว่า นนฺตเก
ได้แก่ ท่อนผ้าที่เขาทิ้งมีชายขาด. ก็เพราะผ้าเหล่านั้น ชื่อว่า
เป็นผ้าท่อนเก่าขาดรุ่งริ่ง พระเถระเอาผ้าเหล่านั้นทำเป็นจีวรถวาย
สงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำผ้าท่อนเก่าให้เป็นผืนผ้า
แล้วอุทิศสงฆ์ผู้มาจากจตุรทิศ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ
จาตุทฺทิเส อท ความว่า ได้ถวายแก่สงฆ์ ผู้มาจากทิศทั้ง ๔.
ก็บทว่า สงฺเฆ จาตุทฺทิเส นี้ เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถแห่ง
จตุตถีวิภัติ.

บทว่า สุวตฺถวสโน แปลว่า เป็นผู้นุ่งห่มผ้าดี. บทว่า
เถรสฺส ทสฺสยีตุมํ ความว่า แสดงตน คืออ้างตน ได้แก่ปรากฏ
ตนแก่พระเถระ. ผ้าชื่อว่าปฏิจฉทา เพราะเป็นที่ปกปิด

บทว่า กูฏาคารนิเวสนา ได้แก่ เรือนที่เป็นปราสาท และ
ที่อยู่อาศัยอื่นจากปราสาทนั้น. จริงอยู่ บทว่า กูฏาคารนิเวสนา
นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า วิภตฺตา ได้แก่ ที่เขาจัด
แบ่งโดยสันฐาน ๔ เหลี่ยมเท่ากัน ยาว และกลม. บทว่า ภาคโส
มิตา แปลว่า กำหนดเป็นส่วน ๆ. บทว่า โน ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย
บทว่า อิธ ได้แก่ เปตโลกนี้. ศัพท์ว่า อปิ ในบทว่า อปิ ทิพฺเพสุ
นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า ในเทวโลก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กรกํ ได้แก่ ธมกรก. บทว่า ปูเรตฺวา แปลว่า เต็ม
ด้วยน้ำ. บทว่า วาริกิญฺชกฺขปูริตา ได้แก่ เหนือน้ำในที่นั้น ๆ
ดารดาษเต็มด้วยเกสรปทุมและอุบล เป็นต้น บทว่า ผลนฺติ แปลว่า
ย่อมบาน อธิบายว่า แตกออกที่ส้นเท้าและริม ๆ เท้าเป็นต้น.

บทว่า อาหิณฺฑมานา ได้แก่ เที่ยวไปอยู่. บทว่า ขญฺชาม
แปลว่า เขยกไป. บทว่า สกฺขเร กุสกณฺฏเก ได้แก่ ในภูมิภาค
อันมีก้อนกรวด และหน่อหญ้าคา อธิบายว่า เหยียบลงที่ก้อนกรวด
และหน่อหญ้าคา. บทว่า ยานํ ได้แก่ ยานชนิดใดชนิดหนึ่ง มีรถ
และล้อเลื่อนเป็นต้น. บทว่า สิปาฏิกํ ได้แก่ รองเท้าชั้นเดียว.

ม อักษรในบทว่า รเถน มาคมุํ นี้ ทำการเชื่อมบท คือ
มาด้วยรถ. บทว่า อุภยํ แปลว่า ด้วยการให้ทั้ง ๒ คือ ด้วยการ
ให้ยาน และด้วยการให้ปัจจัย ๔ มีภัตเป็นต้น จริงอยู่ ในการให้
๒ อย่างนั้น แม้การให้เภสัช ท่านก็สงเคราะห์ด้วยการให้น้ำดื่ม
คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงตรัสว่า
เปรตเหล่านี้ ย่อมเสวยทุกข์อย่างใหญ่ในบัดนี้ ฉันใด แม้ท่านก็
ฉันนั้น เป็นเปรตในอัตตภาพอันเป็นลำดับอันเป็นอดีต แต่อัตตภาพ
นี้ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ดังนี้แล้ว อันพระเถระทูลอาราธนา จึงทรง

แสดงเรื่องสุตตเปรตแล้วทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว
มหาชนได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ ได้เป็นผู้ยินดีในบุญ
กรรมมีทานและศีลเป็นต้นแล
จบ อรรถกถาสานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถารถการีเปติวัตถุที่ ๓
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรง
ปรารภนางเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า
เวฬุริยถมฺภํ รุจิรํ ปภสฺสรํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่ากัสสปะ หญิงคนหนึ่งสมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ
มีกัลยาณมิตรเป็นที่อิงอาศัย เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา ได้สร้าง
อาวาสไว้แห่งหนึ่ง น่าดูยิ่ง มีฝา เสา บันได และพื้นภูมิอันวิจิตร
อันจำแนกไว้ด้วยดี นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งในอาวาสนั้น อังคาส
ด้วยอาหารอันประณีต แล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์. สมัยต่อมา
นางทำกาละแล้ว เกิดเป็นนางวิมานเปรต อาศัยสระชื่อรถการะที่

ขุนเขาหิมพานต์ ด้วยอำนาจบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ด้วยอานุภาพบุญ
ที่นางถวายอาวาสแก่สงฆ์ วิมานอันล้วนด้วยรัตนะทุกอย่าง กว้าง
ขวาง โดยรอบน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง งดงามเสมือน
นันทนวัน ณ สระโบกขรณี ย่อมเกิดขึ้นแก่นางและนางเองก็มี
ผิวพรรณดังทองคำ งดงามน่าชมน่าเลื่อมใส.

นางเว้นจากพวกบุรุษเสีย เสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ ที่นั้น
เมื่อนางไม่มีบุรุษอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานาน ก็เกิดความเบื่อหน่าย
ขึ้น นางรำคาญขึ้นแล้วคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ จึงทิ้งมะม่วงสุกอัน
เป็นทิพย์ลงในแม่น้ำ. คำทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในเรื่อง
นางกรรณมุณฑเปรตนั่นแหละ. ก็ในเรื่องนี้ ยังมีมาณพคนหนึ่ง

ชาวกรุงพาราณสี เห็นผลมะม่วงผลหนึ่ง ในบรรดามะม่วงสุก
เหล่านั้น ในแม่น้ำคงคา จึงไปสู่ที่อยู่ของนางโดยทำนองนั้น นาง
เห็นดังนั้น จึงนำเขาไปยังที่อยู่ของตน กระทำปฏิสันถารแล้วนั่ง.
เขาเห็นความสมบูรณ์ของสถานที่อยู่ของนางเมื่อจะถามจึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นสู่
วิมานมีเสาเป็นวิการแห่งแก้วไพฑูรย์ งามผุดผ่อง
มีรูปภาพอันวิจิตรต่าง ๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจ
พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า ฉะนั้น.
อนึ่ง รัสมีของท่านมีสีดังทองคำ ท่านมีรูปอัน
อุดม น่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์
อันประเสริฐ มีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ
ก็สระโบกขรณีของท่านเหล่านี้ มีอยู่โดยรอบ

มีบัวต่าง ๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน
กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ, ในสระโบกขรณีนั้น
หาเปือกตมและจอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชม
น่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวแวะเวียนไปในน้ำทุกเมื่อ
หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะ พากันมาประชุม
ร่ำร้องอยู่ เสียงร่ำร้องของหงส์ในสระโบกขรณี

ของท่านมิได้ขาดเสียง ดุจเสียงกลอง ท่านมียศ
งามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก้งดำดี
มีหน้ายิ้มแย้ม พูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวง
งามรุ่งเรืองยิ่งนัก. วิมานนี้ปราศจากละอองธุลี
ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทนวันอัน
ให้เกิดความยินดี เพลิดเพลินเจริญใจ ดูก่อน

นารีผู้มีร่างน่าดูน่าชม เราปรารถนาเพื่อจะอยู่
บันเทิงกับท่าน ในสวนนันทนวันของท่านนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ โยคว่าในวิมานนั้น. บทว่า
อจฺฉสิ ได้แก่ ท่านนั่งอยู่ในเวลาที่ปรารถนาแล้ว ๆ. มาณพเรียก
นางเปรตนั้นว่า เทวิ. บทว่า มหานุภาเว ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
อานุภาพทิพย์อันใหญ่. บทว่า ปถทฺธนิ ได้แก่ ทางไกลอันเป็น

ทางของตน อธิบายว่า ทางพื้นอากาศ. บทว่า ปณฺณรเสว จนฺโท
ความว่า โชติช่วงอยู่ ดุจพระจันทร์อันมีดวงบริบูรณ์ในวันเพ็ญ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วณฺโณ จ เต กนกสฺส สนฺนิโภ ความว่า ก็ผิวพรรณ
ของท่านดุจทองสิงคีอันสุกปลั่ง น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก. ด้วยเหตุนั้น
มาณพจึงกล่าวว่า มีรูปอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก. บทว่า อตุเล
ได้แก่ อันควรค่ามาก. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อตุเล เป็นคำเรียก
เทวดา อธิบายว่า มีรูปไม่มีใครเหมือน. บทว่า นตฺถิ จ ตุยฺห สามิโก
ความว่า ก็สามีของท่านไม่มีหรือ.

บทว่า ปหูตมลฺยา ได้แก่ มีดอกไม้หลายชนิด มีดอกบัวเป็นต้น.
บทว่า สุวณฺณจุณฺเณหิ แปลว่า ด้วยทรายทอง. บทว่า สมนฺตโมตฺถตา
แปลว่า เกลื่อนกล่นโดยรอบ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสระโบกขรณี
ทั้งหลายนั้น. บทว่า ปงฺโก ปณโก จ ความว่า ไม่มีเปือกตมหรือ
จอกแหนในน้ำ.

บทว่า หํสา จิเม ทสฺสนียา มโนรมา ความว่า หงส์เหล่านี้
ดูน่าเป็นสุข น่ารื่นรมย์ใจ. บทว่า อนุปริยนฺติ ได้แก่ ท่องเที่ยวไป.
บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ในทุกฤดูกาล. บทว่า สมยฺย แปลว่า ประชุม
กัน. บทว่า วคฺคู แปลว่า ไพเราะ. บทว่า อุปนทนฺติ แปลว่า
เพรียกร้องอยู่. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงไม่แตกพร่า คือ
มีเสียงกลมกล่อม. บทว่า ทุนฺทุภีนํ ว โฆโส ความว่า เสียงร้อง
ของพวกหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน ดุจเสียงกลอง เพราะเป็น
เสียงไพเราะและกลมกล่อม.

บทว่า ททฺทลฺลมานา ได้แก่ รุ่งเรืองอย่างยิ่ง. บทว่า ยสสา
ได้แก่ ผู้มีเทพฤทธิ์. บทว่า นาวาย ได้แก่ ในเรือโกรน. จริงอยู่
มาณพเห็นนางเปรตนั่งอยู่บนบัลลังก์อันมีค่ามากในเรือทองคำ
กำลังเล่นกีฬาในน้ำ ณ สระโบกขรณีอันมีกอปทุม จึงได้กล่าว
อย่างนั้น. บทว่า อวลมฺพ ความว่า ลงนั่งไม่อิงพนัก. คำว่า

ติฏฺ€สิ นี้ เป็นคำห้ามการไป เพราะฐานะศัพท์ มีอันห้ามการไป
เป็นอรรถ. บาลีว่า นิสชฺชสิ ดังนี้ก็มี พึงเห็นความแห่งบทว่า
นิสชฺชสิ เป็น นิสีทสิ นั่นเอง. บทว่า อาฬารปมฺเห ได้แก่
มีขนตาดำ ยาว งอน. บทว่า หสิเต แปลว่า มีหน้ายิ้มแย้มร่าเริง
ยิ่งนัก. บทว่า ปิยํวเท แปลว่า พูดจาน่ารักใคร่. บทว่า
สพฺพงฺคกลฺยาณิ แปลว่า งามด้วยอวัยวะทั้งปวง คือ มีอวัยวะ
ทุกส่วนงดงาม. บทว่า วิโรจสิ แปลว่า รุ่งเรืองยิ่งนัก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วิรชํ แปลว่า ปราศจากธุลี คือ ไม่มีโทษ. บทว่า
สเม €ิตํ ได้แก่ ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ หรือตั้งอยู่ที่ภาคพื้น
อันเสมอ เพราะงดงามทั้ง ๔ ด้าน อธิบายว่า งามรอบด้าน. บทว่า
อุยฺยานวนฺตํ ได้แก่ ประกอบด้วยสวนนันทนวัน. บทว่า รตินนฺทิ-
วฑฺฒนํ ความว่า ชื่อว่ารตินันทิวัฑฒนะ เพราะทำความยินดีและ

ความเพลิดเพลินใจให้เจริญ, อธิบายว่า ทำสุขและปีติให้เจริญ.
คำว่า นาริ เป็นคำร้องเรียกนางเปรตนั้น. บทว่า อโนมทสฺสเน
ได้แก่ เห็นเข้าไม่น่าติเตียน เพราะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์.
บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ผู้กระทำความบันเทิงใจ. บทว่า อิธ แปลว่า
ในสวนนันทนวันนี้ หรือในวิมานนี้. บทว่า โมทิตุํ มีวาจาประกอบ
ความว่า เราปรารถนาเพื่อจะอภิรมย์.

เมื่อมาณพนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว วิมานเปติเทวดานั้นเมื่อ
จะให้คำตอบแก่มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านจงกระทำกรรมอันจะให้ท่านได้
เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของท่าน
จงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอัน
บันเทิงในที่นี้แล้ว จักได้อยู่ร่วมกับเราสมความ
ประสงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรหิ กมฺมํ อิธ เวทนียํ ความว่า
ท่านจงทำ คือพึงได้ประสบกุศลกรรมอันเผล็ดผล คือ ให้ผลใน
ทิพยสถานนี้. บทว่า อิธ นิหิตํ ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปในวิมานนี้,
บาลีว่า อิธ นินฺนํ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า จิตของท่านจงน้อม โอน
เอื้อมไปในที่นี้. บทว่า มมํ แปลว่า ซึ่งเรา. บทว่า ลจฺฉสิ แปลว่า
จักได้.

มาณพนั้นได้ฟังคำของนางวิมานเปรตนั้นแล้ว จากที่นั้น
ไปยังถิ่นมนุษย์ ตั้งจิตนั้นไว้ในที่นั้น กระทำบุญกรรมอันเกิดแต่จิต
นั้น ไม่นานนัก กระทำกาละแล้วบังเกิดในวิมานนั้น เข้าถึงความ
เป็นสหายกับนางเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว
คาถาสุดท้ายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร