วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 01:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กตฺถ คจฺฉาม ภทฺทํ โว กตฺถ ทานํ ปทียติ เป็นบท
แสดงถึงอาการถามของยาจกเหล่านั้น. จริงอยู่ ในที่นี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า :- ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเราได้ยินว่า
อสัยหเศรษฐีย่อมให้ทาน ดังนี้ จึงพากันมา, เขาให้ทานกันที่ไหน
หรือว่า เราจะไปทางไหน ผู้ที่ไปทางไหน สามารถจะได้ทาน.
บทว่า เตสาหํ ปุฏฺโ€ อกฺขามิ ความว่า ถูกพวกคนเดินทางเหล่านั้น
ถามถึงฐานะที่จะได้อย่างนี้ จึงให้เกิดความคารวะขึ้นว่า เราเป็น

ผู้ไม่สามารถเพื่อจะให้อะไร ๆ แก่คนเช่นนี้ ในบัดนี้ได้ เพราะ
ไม่เคยทำบุญไว้ในปางก่อน แต่เราจะแสดงโรงทานแก่คนเหล่านี้
ให้เกิดปีติขึ้น ด้วยการบอกอุบายแห่งการได้ แม้ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ ก็จะประสบบุญเป็นอันมากได้ จึงเหยียดแขนขวาออกชี้
บอกเรือนอสัยหเศรษฐีแก่คนเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น รุกขเทวดา
จึงกล่าวว่า ท่านจงประคองแขนขวา ดังนี้เป็นต้น

บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า ด้วยเหตุเพียงการ
อนุโมทนาทานที่คนอื่นทำแล้ว โดยการประกาศทานของคนอื่นนั้น
โดยเคารพ บัดนี้ ฝ่ามือของเราเป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ และเป็น
เหมือนต้นทิพยพฤกษ์ ให้สิ่งที่น่าใคร่ คือให้สิ่งที่ต้องการที่ปรารถนา
ชื่อว่าให้สิ่งที่น่าใคร่และน่าปรารถนา. ก็เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือของ

ท่านจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่หลั่งไหลออกแห่งรสอันอร่อย
คือ เป็นที่สละออกซึ่งวัตถุที่น่าปรารถนา.

ศัพท์ว่า กิร ในบทว่า น กิร ตฺวํ อทา ทานํ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งอนุสสวนัตถะ. ได้ยินว่า ท่านไม่สละสิ่งของของตน
คือ ท่านไม่ได้ให้ทานอะไร ๆ แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือแก่สมณะ ด้วย
ฝ่ามือของตน คือ พร้อมด้วยมือของตน. บทว่า ปรสฺส ทานํ
อนุโมทนาโน ความว่า ท่านเมื่ออนุโมทนาทานของคนอื่น ที่คนอื่น
กระทำอย่างเดียว เท่านั้นอยู่ว่า โอ ทานเราให้เป็นไปแล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เตน ปาณิ กามทโท ความว่า เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ
ของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่อย่างนี้ อธิบายว่า โอ น่าอัศจรรย์จริง
หนอ คติ แห่งบุญทั้งหลาย.

บทว่า โย โส ทานมทา ภนฺเต ปสนฺโน สกปาณิภิ นี้
รุกขเทวดาเรียกเทพบุตร ด้วยความเคารพว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อสัยหเศรษฐี ผู้มีความเลื่อมใส ได้ให้ทานด้วยฝ่ามือของตน อธิบาย
ว่า อันดับแรก ผลเช่นนี้คือ อานุภาพเช่นนี้ของท่าน ผู้อนุโมทนา
ทานที่บุคคลอื่นทำไว้แล้ว แต่อสัยหมหาเศรษฐีนั้น ได้ให้มหาทาน

คือ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ให้มหาทานเป็นไปในกาลนั้น ด้วยทรัพย์
หลายพัน. บทว่า โส หิตฺวา มานุสํ เทหํ ความว่า ท่านละอัตภาพ
มนุษย์ในที่นี้. บทว่า กึ ได้แก่ ทางทิศไหน. ศัพท์ว่า นุ ในคำว่า
นุ โส นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ทิสตํ คโต แปลว่า ไปสู่ทิศ
คือที่. รุกขเทวดาถามถึงอภิสัมปรายภพของอสัยหเศรษฐีว่า คติ
คือความสำเร็จของท่านเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร.

บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า ชื่อว่า อสัยหเศรษฐี เพราะ
อดกลั้นธุระของสัตบุรุษผู้จำแนกการบริจาคเป็นต้น ซึ่งคนเหล่าอื่น
ผู้มีความตระหนี่คือ ผู้อันความโลภครอบงำ ไม่สามารถเพื่อจะ

อดกลั้นได้. บทว่า องฺคีรสสฺส ผู้มีรัศมีซ่านออกจากตน. จริงอยู่
บทว่า รโส เป็นชื่อของความโชติช่วง. ได้ยินว่า ปีติและโสมนัส
อย่างยิ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่อสัยหเศรษฐีนั้น เพราะเห็นพวกยาจก
กำลังเดินมา คือ สีหน้าย่อมผ่องใส. รุกขเทวดานั้น กล่าวอย่างนี้

เพราะทำเขาให้ประจักษ์แก่ตน. บทว่า คตึ อาคตึ วา ความว่า
หรือว่า คติของอสัยหเศรษฐีนั้นว่า เขาจากโลกนี้แล้วไปสู่คติ
ชื่อโน้น เราไม่เข้าใจการมาว่าก็หรือว่า เขาจากที่นั้นแล้ว จักมา
ในที่นี้ในกาลชื่อโน้น, นี้ ไม่ใช่วิสัยของเรา. บทว่า สุตญฺจ เม

เวสฺสวณสฺส สนฺติเก ความว่า แต่เราได้ฟังข้อนี้ มาในสำนักของ
ท้าวเวสวัณมหาราช ผู้ไปสู่ที่อุปัฏฐาก. บทว่า สกฺกสฺส
สหพฺยตํ คโต อสยฺโห ความว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหาย
ของท้าวสักกะจอมเทพ, อธิบายว่า บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อลเมว กาตุํ กลฺยาณํ ความว่า คุณงามความดี
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือบุญกุศล สมควร คือ เหมาะสมที่จะต้องทำ
แท้ทีเดียว. ก็ในคุณงามความดีนั้น สิ่งที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง ควร
ทำดีกว่า เพื่อจะแสดงสิ่งนั้น อังกุระพ่อค้าจึงกล่าวว่า ควรจะให้
ทานตามสมควร. ควรแท้ที่จะให้ทาน อันเหมาะสมแก่สมบัติและ

กำลังของตน. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า เห็นฝ่ามืออันให้สิ่ง
ที่น่าปรารถนา. เพราะเห็นมือนี้ที่เห็นว่า ให้สิ่งที่น่าปรารถนา
ด้วยเหตุมีการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วเป็นเบื้องต้น และ
ด้วยเหตุเพียงการบอกหนทางเป็นที่เข้าไปสู่เรือนแห่งท่านทานบดี.
บทว่า โก ปุฺํ น กริสฺสติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ใครเสมือนกับเรา
จักไม่ทำบุญอันเป็นที่พึ่งของตน.

อังกุรพาณิช ครั้นแสดงความเอื้อเฟื้อในการบำเพ็ญบุญ
โดยไม่กำหนดแน่นอนอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงกำหนดแน่นอน
ถึงการบำเพ็ญบุญนั้นในตน จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา มีอาทิว่า
โส หิ นูน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่เรานั้น. ศัพท์ว่า หิ
เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอวธารณะ. ศัพท์ว่า นูน เป็นนิบาตลงใน
อรรถว่าปริวิตก. บทว่า อิโต คนฺตฺวา ความว่า เราไปจากภูมิแห่ง
เทวดานี้แล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน ทฺวารกํ ได้แก่ ถึงทวารวดีนคร
โดยลำดับ. บทว่า ปฏฺ€ปยิสฺสามิ แปลว่า จักให้เป็นไป.

เมื่ออังกุระพาณิช กระทำปฏิญญาว่า เราจักให้ทานอย่างนี้
แล้ว เทพบุตรมีใจยินดี กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้เสียสละ
จงให้ทานเถิด ส่วนเราจักทำหน้าที่เป็นสหายของท่าน ไทยธรรม
ของท่านจักไม่ถึงความหมดเปลืองด้วยประการใด เราจักกระทำ

โดยประการนั้น ดังนี้แล้ว จึงให้อังกุระพาณิชนั้น อาจหาญในการ
บำเพ็ญทานแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์พาณิช ได้ยินว่าท่าน
ปรารถนาจะนำคนเช่นเรา ไปด้วยพลการ ช่างไม่รู้จักประมาณ
ของตัว ดังนี้แล้ว จึงให้สินค้าของอังกุระพาณิชนั้น อันตรธานไป

แล้ว จึงขู่ให้อังกุระพาณิชนั้นกลัว ด้วยอาการที่สะพึงกลัวว่าเป็น
ยักษ์. ลำดับนั้น อังกุระพาณิช จึงอ้อนวอนกะเทพบุตรนั้น โดย
ประการต่าง ๆ เมื่อจะให้พราหมณ์ขมาโทษ ให้เลื่อมใส จึงทำสินค้า
ทั้งหมดให้กลับเป็นปกติ เมื่อใกล้ค่ำ จึงละเทพบุตรไปอยู่ เห็น
เปรตตนหนึ่งที่เห็นเข้าน่ากลัวยิ่งนัก ในที่ไม่ไกลแห่งเทพบุตรนั้น
เมื่อจะถามถึงกรรมที่เปรตนั้นกระทำ จึงกล่าวคาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก
ปากของท่านจึงเบี้ยว และนัยน์ตาทะเล้นออก
ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณา แปลว่า งอหงิก คือ หงิกกลับ
ได้แก่ ไม่ตรง. บทว่า กุณลีกตํ ได้แก่ เบี้ยว คือบิด โดยวิการแห่งปาก.
บทว่า ปคฺฆรํ ได้แก่ ไม่สะอาด ไหลออกอยู่.
ลำดับนั้น เปรต ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา แก่อังกุระพาณิช
นั้นว่า :-

เราเป็นคฤหบดี ตั้งไว้ในการให้ทาน ใน
โรงทานของท่านคฤหบดีผู้มีอังคีรส ผู้มีศรัทธา
เป็นฆราวาสครอบครองเรือน เห็นยาจกผู้มีความ
ประสงค์ด้วยโภชนะมาที่โรงทานนั้น ได้หลีกไป
ทำการบุ้ยปากอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง เพราะกรรมนั้น

นิ้วมือของเราจึงงอหงิก ปากของเราจึงเบี้ยว
นัยน์ตาทะเล้นออกมา เราได้ทำกรรมชั่วนั้นไว้
แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า องฺคีรสสฺส เป็นต้น เทพบุตร
ระบุถึงอสัยหเศรษฐี. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้อยู่
ครองเรือน. บทว่า ทานวิสฺสคฺเค ได้แก่ ในโรงทาน คือ ในที่
เป็นที่บริจาคทาน. บทว่า ทาเน อธิกโต อหุํ ความว่า เริ่มตั้ง
คือ ตั้งไว้ในการบริจาคไทยธรรม คือ ในการบำเพ็ญทาน.

บทว่า เอกมนฺตํ อปกฺกมฺม ความว่า ผู้ขวนขวายในทาน
เห็นยาจกผู้ต้องการโภชนาหารเดินมา ได้หลีกไปจากโรงทานแล้ว
ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง เกิดปีติและโสมนัส มีสีหน้าผ่องใส พึงให้
ทานด้วยมือของตน หรือใช้คนอื่นผู้สมควรให้ให้ แต่เราไม่ได้กระทำ
อย่างนั้น เห็นยาจกเดินมาแต่ไกลไม่แสดงตน หลีกไปอยู่ ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง. บทว่า อกาสึ กุณลึ มุขํ ความว่า เราได้กระทำปากเบี้ยว
ปากบุ้ย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า เตน ความว่า เพราะในกาลนั้น เราถูกเจ้านายแต่งตั้ง
ไว้ในหน้าที่ให้ทาน เมื่อกาลทานปรากฏ เรามีความตระหนี่ครอบงำ
หลีกไปจากโรงทานทำเท้างอหงิก เมื่อควรจะให้ทานด้วยมือของตน
ไม่ได้ทำอย่างนั้น ทำมืองอหงิก เมื่อควรจะมีหน้าผ่องใส ก็ทำ

หน้าเบี้ยว. เมื่อควรจะแลดูด้วยตาอันน่ารักก็ทำให้เกิดนัยน์ตาทะเล้น
ออกมา เพราะฉะนั้น เราจึงมีนิ้วมือ นิ้วเท้างอหงิก และปากเบี้ยว
สยิ้วผิดรูป อธิบายว่า นัยน์ตาทั้ง ๒ หลั่งน้ำตาออกมาไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น เปรตจึงกล่าวว่า :-
เพราะกรรมนั้น มือของเราจึงงอหงิก
ปากเบี้ยว นัยน์ตาทั้ง ๒ ของเราถลนออกมา
เพราะเราได้ทำกรรมชั่วนั้นไว้.

อังกุระพาณิชได้ฟังดังนั้น เมื่อจะติเตียนเปรต จึงกล่าวคาถา
ว่า :-
แน่ะบุรุษเลวทราม การที่ท่านมีปากเบี้ยว
นัยน์ตาทั้ง ๒ ถลนออกมา เป็นการชอบแล้ว
เพราะท่านได้กระทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ด้วยเหตุอันเหมาะสม
นั่นเอง. บทว่า เต แก้เป็น ตว แปลว่า ของท่าน. บทว่า กาปุริส
ได้แก่ บุรุษผู้เลวทราม. บทว่า ยํ แก้เป็น ยสฺมา แปลว่า เพราะเหตุใด.
บทว่า ปรสฺส ทานสฺส ได้แก่ ในทานของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

อังกุระพาณิชเมื่อจะติเตียนทานบดีเศรษฐีนั้นอีก จึงกล่าว
คาถาว่า :-
ก็ไฉน อสัยหเศรษฐีเมื่อจะให้ทาน จึงได้
มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ ให้
ผู้อื่นจัดแจง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า บุรุษเมื่อจะให้ทาน
ไฉนเล่าจึงมอบให้คนอื่นจัดแจงทานนั้น คือกระทำให้ประจักษ์แก่ตน
นั่นแหละ แล้วพึงให้ด้วยมือของตนเอง. อนึ่ง ตนเองพึงเป็นผู้
ขวนขวายในทานนั้น เมื่อว่าโดยประการอื่น พึงกำจัดไทยธรรม
ในฐานะอันไม่ควร และไม่พึงให้พระทักขิไณยบุคคลเสื่อมจากทาน.
อังกุระพาณิชครั้นติเตียนทานบดีเศรษฐีอย่างนี้แล้ว เมื่อ
จะแสดงวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ก็เราไปจากที่นี้ถึงทวารกนครแล้ว จัก
เริ่มให้ทานอันนำความสุขมาให้เราแน่แท้ เรา
จักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ สระน้ำ และ
สะพานในที่เดินลำบากให้เป็นทาน.
คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ
ของอังกุระพาณิช พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้ง คาถา
๔ คาถา ไว้ความว่า :-

ก็อังกุระพาณิชนั้นกลับจากทะเลทรายนั้น
ไปถึงทวารกนครแล้ว ได้เริ่มให้ทานอันนำความ
สุขมาให้ตน ได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ
สระน้ำ ด้วยจิตอันเลื่อมใส. ช่างกัลบก พ่อครัว
ชาวมคธ พากันป่าวร้องในเรือนของอังกุระพาณิช
นั้น ทั้งเช้า ทั้งเย็น ทุกเมื่อว่า ใครหิวจงมากิน

ตามชอบใจ ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ
ใครจักนุ่งห่มผ้า จงนุ่งห่มผ้า ใครต้องการพาหนะ
สำหรับเทียม จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้ ใคร
ต้องการร่มจงเอาร่มไป ใครต้องการของหอมจง
เอาดอกไม้ไป ใครต้องการรองเท้าจงเอารองเท้า
ไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากทะเลทราย.
บทว่า นิวตฺติตฺวา แปลว่า กลับไปแล้ว. บทว่า อนุปฺปตฺวาน
ทฺวารกํ แปลว่า ถึงทวารวดีนคร. บทว่า ทานํ ปฏฺ€ปยิ องฺกุโร
ความว่า อังกุระพาณิชนั้น ผู้มีเรือนคลังทั้งสิ้นอันเทวบุตรให้บริบูรณ์
แล้ว เริ่มตั้งมหาทานอันเกื้อกูลแก่การเดินทางทุกอย่าง. บทว่า
ยํ ตุมสฺส สุขาวหํ ความว่า เพราะให้เกิดความสุขแก่ตนทั้งในบัดนี้
และในอนาคต.

บทว่า โก ฉาโต อธิบายว่า ใครหิว จงมากินตามความชอบใจ
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตสิโต แปลว่า ผู้กระหาย.
บทว่า ปริทหิสฺสติ ความว่า จักนุ่งและจักห่ม. บทว่า สนฺตานิ
แปลว่า ถึงความสงบ. บทว่า โยคฺคานิ ได้แก่ พาหนะคือรถ. บทว่า
อิโต โยเชนฺตุ วาหนํ ความว่า จงถือเอาตามความพอใจจากพาหนะ
ที่เทียมด้วยคู่แอกนี้แล้วจงเทียมพาหนะ.

บทว่า โก ฉตฺติจฺฉติ ความว่า ใครต้องการร่มอันต่างด้วย
ร่มเสื่อลำแพนเป็นต้น. อธิบายว่า ผู้นั้นจงถือเอาไปเถิด. แม้ในบทที่
เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า คนฺธํ ได้แก่ ของหอมมีของหอม
อันประกอบด้วยชาติ ๔ เป็นต้น. บทว่า มาลํ ได้แก่ ดอกไม้ที่
ร้อยและยังมิได้ร้อย. บทว่า อุปาหนํ ได้แก่ รองเท้าอันต่างด้วย

รองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้นเป็นต้น. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า อิติสฺสุ
นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า ด้วยคำมีอาทิว่า ใครหิว ใครกระหาย
ด้วยประการฉะนี้ คือ อย่างนี้. บทว่า กปฺปกา ได้แก่ ช่างกัลบก.
บทว่า สูทา ได้แก่ พ่อครัว. บทว่า มาคธา ได้แก่ ชาวมคธ.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สทา ความว่า ป่าวร้อง คือ โฆษณา
ในเรือนของอังกุระพาณิชนั้นทั้งเช้าทั้งเย็นตลอดเวลา คือ ทุกวัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่ออังกุระพาณิชบำเพ็ญมหาทานอย่างนี้ เมื่อเวลาผ่านไป
โรงงานห่างเหินเงียบสงัดจากคนผู้ต้องการ เพราะเป็นผู้อิ่มหนำแล้ว.
อังกุระพาณิชเห็นดังนั้นจึงไม่พอใจ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง
ขวางในการให้ทาน จึงเรียกมาณพชื่อว่า สินธกะผู้ขวนขวายใน
ทานของตนมาแล้วกล่าว ๒ คาถาว่า :-

มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูก่อน
สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ เพราะไม่ได้เห็นพวก
ยาจก มหาชนรู้เราว่า อังกุระนอนเป็นสุข ดูก่อน
สินธกะ เรานอนเป็นทุกข์ในเมื่อวณิพกมีน้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ สุปติ องฺกุโร อิติ ชานาติ
มํ ชโน ความว่า มหาชน ยกย่องเราอย่างนี้ว่า พระเจ้าอังกุระ
เพียบพร้อมไปด้วยยศและโภคะ เป็นทานบดี ย่อมบรรทมเป็นสุข
คือ เข้าถึงความนิทราโดยความสุขทีเดียว ตื่นบรรทมก็เป็นสุข

ด้วยโภคสมบัติและทานสมบัติของพระองค์. บทว่า ทุกฺขํ สุปามิ
สินฺธก ความว่า ดูก่อนสินธกะมาณพ ก็เราย่อมนอนเป็นทุกข์
อย่างเดียว. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ
เราไม่เห็นพวกยาจก, อธิบายว่า เพราะเหตุที่เรา ยังไม่เห็นพวก

ยาจกเป็นอันมาก ผู้จะรับไทยธรรม อันสมควรแก่อัธยาศัยของเรา.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อปฺปเก สุ วณิพฺพเก ความว่า
เราหลับเป็นทุกข์ ในเมื่อวณิพกชนมีน้อยคือ ๒-๓ คน. ก็ศัพท์ว่า
สุ เป็นเพียงนิบาต, อธิบายว่า เมื่อวณิพกชนมีน้อย.

สินธกะมาณพ ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความประสงค์จะกระทำ
อังกุระพาณิชนั้นให้น้อมไปในทานอันยิ่ง ให้ปรากฏจึงกล่าวคาถา
ว่า :-

ถ้าท้าวสักกะ เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์
และเป็นใหญ่กว่าชาวโลกทั้งปวง พึงให้พรท่าน
ท่านเมื่อจะเลือก พึงเลือกเอาพรเช่นไร.

คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ :- ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่
กว่าเทพชั้นดาวดึงส์ และกว่าชาวโลกทั้งมวล หากจะพึงให้พรท่าน
ว่าอังกุระ ท่านจงขอพรอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ท่านตั้งใจไว้ ท่าน
เมื่อจะขอพร คือเมื่อปรารถนา พึงขอพรเช่นไร

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้นอังกุระพาณิช เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน
ตามความเป็นจริง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ถ้าท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพชั้นดาว
ดึงส์ พึงให้พรแก่เราไซร้ เราจะพึงขอพรว่า
เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
ขอภัตตาหารอันเป็นทิพย์ และพวกยาจกผู้มีศีล
พึงปรากฏ เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป
ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อกำลังให้อยู่ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ข้าพเจ้าพึง
ขอพรกะท้าวสักกะอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลุฏฺ€ิตสฺส เม สโต ความว่า
เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นในเวลาเช้า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียร คือ
ความหมั่นด้วยอำนาจสามีจิกรรม มีการนอบน้อมและการปรนนิบัติ
เป็นต้น ต่อพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ. บทว่า
สูริยุคฺคมนํ ปติ แปลว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นไป. บทว่า ทิพฺพา
ภกฺขา ปาตุภเวยฺยุํ ความว่า อาหารอันนับเนื่องในเทวโลก พึง
เกิดขึ้น. บทว่า สีลวนฺโต จ ยาจกา ความว่า และพวกยาจก
พึงเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม.

บทว่า ททโต เม น ขีเยถ ความว่า ก็เมื่อเราให้ทานแก่ผู้ที่
มาแล้ว ๆ ไทยธรรมย่อมไม่สิ้นไป คือ ไม่ถึงความหมดเปลือง.
บทว่า ทตฺวา นานุปเตยฺยหํ ความว่า ก็เพราะเหตุนั้น เราให้ทานนั้น
แล้ว เห็นคนบางคนไม่มีความเลื่อมใส จึงไม่เดือดร้อน ในภายหลัง.

บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาเทยฺยํ ความว่า เมื่อเราให้อยู่ เราก็พึงทำจิตให้
เลื่อมใส คือเราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนั่นแหละ พึงให้ทาน. บทว่า
เอตํ สกฺกํ วรํ วเร ความว่า เราพึงขอพรกะท้าวสักกะจอมเทพ
๕ อย่างนี้คือ ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค ความสมบูรณ์ด้วย

ไทยธรรม ความสมบูรณ์ด้วยพระทักขิไณยบุคคล ความสมบูรณ์
ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ และความสมบูรณ์ด้วยทายก.
ก็ในพร ๕ ประการนี้ ด้วยคำว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า นี้ ชื่อว่า
ความสมบูรณ์ด้วยความไม่มีโรค, ด้วยคำว่า ภัตตาหารอันเป็นทิพย์
พึงปรากฏนี้ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยไทยธรรม ด้วยคำว่า และ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยาจกพึงเป็นผู้มีศีลนี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทักขิโณยบุคคล
ด้วยคำว่า เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป นี้ ชื่อว่า ความ
สมบูรณ์ด้วยไทยธรรมหาประมาณมิได้ ด้วยคำว่า ครั้นเราให้ทาน
แล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้พึงทำจิตให้เลื่อมใส
นี้ ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วยทายก รวมความว่า อังกุระพาณิช
ปรารถนาประโยชน์ ๕ ประการ โดยความเป็นพร. ก็ประโยชน์
๕ ประการนั้นแล พึงทราบว่ามีไว้เพียงเพื่อความยิ่งใหญ่แห่งบุญ
อันสำเร็จด้วยทานนั่นเอง.

เมื่ออังกุระพาณิช ประกาศอัธยาศัยของตนอย่างนี้ ชาย
คนหนึ่ง ชื่อว่า โสนกะ ผู้มีความเชี่ยวชาญในนิติศาสตร์ นั่งอยู่ใน
ที่นั้น เป็นผู้ให้ทานเกินประมาณ มีความประสงค์จะตัดทานนั้น
จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง
หมด แก่บุคคลอื่น ควรให้ทาน และควรรักษา
ทรัพย์ไว้ เพราะว่าทรัพย์เท่านั้น ประเสริฐกว่า
ทาน ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการ
ให้ทานเกินประมาณไป บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

การไม่ให้ทาน และการให้ทานเกินควร เพราะ
เหตุผลนั้นแล ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม ควร
ประพฤติ โดยพอเหมาะ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สินธกมาณพมีความประสงค์
จะทดลองอย่างนี้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวิตฺตานิ ได้แก่ อุปกรณ์แก่
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมด ชนิดสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณก-
ทรัพย์, อธิบายว่า ทรัพย์. บทว่า ปเร แก้เป็น ปรมฺหิ แก่บุคคลอื่น,
อธิบายว่า ปรสฺส แก่คนอื่น. บทว่า น ปเวจฺเฉ แปลว่า ไม่พึงให้
อธิบายว่า ไม่ควรทำการบริจาคทรัพย์ทั้งหมดไม่เหลืออะไรไว้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
โดยคิดว่า เราได้พระทักขิไณยบุคคล. บทว่า ทเทยฺย ทานญฺจ
ความว่า ไม่ควรให้ นามธรรม โดยประการทั้งปวง คือ โดยที่แท้
ครั้นรู้ความเจริญและความเสื่อมของตนแล้ว พึงให้ทานอันเหมาะสม
แก่สมบัติ. บทว่า ธนญฺจ รกฺเข ความว่า พึงรักษาทรัพย์ไว้ด้วย

อำนาจ การได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ รักษาทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว และ
ควบคุมทรัพย์ที่รักษาไว้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทานนั้นซึ่งมีทรัพย์
นั้นเป็นมูลเหตุ บุคคลพึงรักษาทรัพย์ตามวิธีที่กล่าวไว้ว่า :-

พึงใช้บริโภคส่วน ๑ พึงประกอบการงาน
๒ ส่วน และพึงเก็บทรัพย์ส่วนที่ ๔ ไว้ ในเมื่อ
อันตรายจักมี.

จริงอยู่ นักกฎหมายคิดว่า พึงเสพทางทั้ง ๓ โดยทำทุก ๆ
ส่วนให้หมดจด. บทว่า ตสฺมา หิ ความว่า ก็เมื่อจะรักษาทรัพย์
และบำเพ็ญทาน ชื่อว่า ดำเนินไปตามทาน ซึ่งมีทรัพย์เป็นมูลเหตุ
เพื่อประโยชน์แก่โลกทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น ทรัพย์เท่านั้น จึงประเสริฐ
คือ ดีกว่าทาน เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า ไม่พึงทำทานเกินควร.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตระกูลทั้งหลาย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะให้ทานเกินควร, อธิบายว่า เพราะไม่รู้ประมาณของทรัพย์
อาศัยทรัพย์นั้นให้ทาน ตระกูลจึงตั้งอยู่ไม่ได้ คือ เป็นไปไม่ได้
ได้แก่ ขาดศูนย์ไปเพราะประสงค์ในการให้เกินควร.

บัดนี้ โสนกะบุรุษ เมื่อจะตั้งประโยชน์เฉพาะที่วิญญูชน
สรรเสริญ จึงกล่าวคาถาว่า บัณฑิตไม่สรรเสริญการไม่ให้ทาน
และการให้ทานเกินควรเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทานมติทานญฺจ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย คือผู้รู้ได้แก่ ผู้มีปัญญา
ย่อมไม่สรรเสริญ ย่อมไม่ชมเชยการไม่ให้ ภิกษาทัพที่หนึ่งก็ดี

ข้าวสารหยิบมือหนึ่งก็ดี โดยประการทั้งปวง และการให้เกินควร
กล่าวคือการบริจาคเกินประมาณ. จริงอยู่ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้เหิน
ห่างจากประโยชน์ ในสัมปรายภพเพราะไม่ให้ทานโดยประการ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทั้งปวง. ประเพณีในปัจจุบัน ย่อมไม่เป็นไป เพราะการให้ทาน
เกินควร. บทว่า สเมน วตฺเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์
สมบูรณ์ด้วยธรรม ควรประพฤติด้วยญาณอันเป็นสายกลาง อัน
มั่นคง เหมาะแก่ทางโลก เป็นไปสม่ำเสมอ. ด้วยคำว่า ส ธีรธมฺโม
ท่านแสดงว่า ความเป็นไปแห่งการให้และการไม่ให้ ตามที่กล่าว
แล้ว อันใด อันนั้นจัดเป็นธรรมคือ เป็นทางที่นักปราชญ์ผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญา ผู้ฉลาดในนิตินัย ดำเนินไปแล้ว

อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะเปลี่ยนแปลงความ
ประสงค์ของโสนกะบุรุษนั้น จึงประกาศวิธีที่ตนจะพึงปฏิบัติ
ด้วย ๔ คาถาว่า :-

ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย เอ๋ย ดีหนอ เรา
พึงให้ทานแล ด้วยว่าสัตบุรุษ ผู้สงบระงับ พึง
คบหาเรา เราพึงยังความประสงค์ ของวณิพก
ทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ เปรียบเหมือน
ฝนที่ยังที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็ม ฉะนั้น สีหน้าของ
บุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก

บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว มีใจเบิกบาน ข้อนั้น
เป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน สีหน้า
ของบุคคลใด ย่อมผ่องใส เพราะเห็นพวกยาจก
บุคคลนั้น ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลาบปลื้มใจ
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ ก่อนแต่ให้ก็มีใจ

เบิกบาน เมื่อกำลังให้ก็ยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้
แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่ง
ยัญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห วต แปลว่า ดีหนอ. บทว่า
เร เป็นอาลปนะ. บทว่า อหเมว ทชฺชํ แก้เป็น อหํ ทชฺชเมว
แปลว่า เราพึงให้ทีเดียว. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้
ว่า ดูก่อนมาณพ ถ้าว่า วาทะของผู้ฉลาดในนิติศาสตร์นี้ จงมีแก่
ท่านว่า ทรัพย์เท่านั้นดีกว่าทาน ก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็พึงให้

โดยแท้. บทว่า สนฺโต จ มํ สปฺปุริสา ภเชยฺยุํ ความว่า สัตบุรุษ
คือ คนดีทั้งหลาย ผู้สงบ คือ ผู้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร และ
มโนสมาจารสงบ พึงคบ คือ พึงเข้าถึงเรา ในเพราะทานนั้น.

บทว่า เมโฆว นินฺนานิ ปริปูรยนฺโต ความว่า น่าอัศจรรย์จริง
เราเมื่อยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม ชื่อว่า พึงยัง
วณิพกเหล่านั้น ให้เดือดร้อน เหมือนมหาเมฆ เมื่อยังฝนให้ตก
ชื่อว่า ยังที่ลุ่ม คือที่ต่ำ ให้เต็มฉะนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยสฺส ยาจนเก ทิสฺวา ความว่า เมื่อบุคคลใด คือ
ผู้ครองเรือน เห็นยาจกทั้งหลาย เกิดศรัทธาขึ้นว่า บุญเขต ปรากฏ
แก่เราหนอ เป็นอันดับแรก สีหน้าย่อมผ่องใส ครั้นให้ทานแก่ยาจก
เหล่านั้น ตามสมบัติแล้ว ย่อมเบิกบานใจ คือ ย่อมมีใจอันปีติและ
โสมนัสจับแล้ว. บทว่า ตํ ความว่า เป็นการเห็นยาจกในกาลใด
และเห็นยาจกเหล่านั้นแล้ว จิตย่อมเลื่อมใส และครั้นให้ทานตาม
สมควรแล้ว ย่อมเบิกบานใจ.

บทว่า เอสา ยฺสฺส สมฺปทา ความว่า นั้นเป็นความถึง
พร้อม คือ ความบริบูรณ์ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งยัญญ์.

บทว่า ปุพฺเพว นานา สุมโน ความว่า บุคคล พึงเป็นผู้มีใจดี
คือเกิดโสมนัส ตั้งแต่จัดแจงอุปกรณ์ทาน ก่อนแต่มุญจนเจตนา
ว่า เราจักฝังขุมทรัพย์อันเป็นเหตุติดตามตนไปได้. บทว่า ททํ
จิตฺตํ ปสาทเย ความว่า เมื่อให้ คือ เมื่อยังไทยธรรม ให้ตั้งอยู่ในมือ
ของพระทักขิไณยบุคคล พึงยังจิตของตนให้เลื่อมใสว่า เราจะยึดถือ

เอาสิ่งที่เป็นสาระ จากทรัพย์อันหาสาระมิได้. บทว่า ทตฺวา อตฺตมโน
โหติ ความว่า ครั้นบริจาคไทยธรรม แก่พระทักขิไณยบุคคลแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีใจดี คือ มีความเบิกบานใจ ได้แก่ย่อมเกิดปีติและโสมนัส
ขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่า ทานที่บัณฑิตบัญญัติแล้ว เราก็ได้ดำเนินตามแล้ว,
โอ ช่างดีจริงหนอ. บทว่า เอสา ยฺสฺส สมฺปทา ความว่า

ความบริบูรณ์แห่งเจตนาทั้ง ๓ อันโสมนัสกำกับแล้ว ซึ่งไปตาม
ความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมนี้คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา
และอปรเจตนานี้ใด นั้น เป็นสัมปทาแห่งยัญญ์ คือ ความถึงพร้อม
แห่งทาน อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นไปโดยประการอื่นจากสัมปทานี้.

อังกุระพาณิช ครั้นประกาศวิธีปฏิบัติของตนอย่างนี้แล้ว
เป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเจริญยิ่งขึ้น บำเพ็ญมหาทานทุก ๆ วัน
ให้เป็นไปโดยประมาณยิ่ง. เพราะเหตุนั้น ในกาลนั้น เมื่อทำ
รัชชสมบัติทั้งปวงให้เป็นดุจที่ดอนแล้ว ให้มหาทานเป็นไป มนุษย์
ทั้งหลายได้อุปกรณ์แห่งทานทั้งปวงแล้ว ละการงานของตน ๆ

เที่ยวไปตามความสุข. เพราะเหตุนั้น เรือนคลัง ของพระราชา
ทั้งหลาย จึงได้ถึงความสิ้นไป. ลำดับนั้น พระราชาทั้งหลาย
จึงได้ส่งทูตไปถึงอังกุระพาณิชว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยทาน
ความเจริญของพวกเราจึงได้พินาศไป. เรือนคลังทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นไป พวกเราควรรู้เหตุอันสมควรในข้อนั้น ดังนี้แล.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อังกุระพาณิช ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงไปยังทักขิณาปถชนบท
ให้ช่วยกันสร้างโรงทานมากมาย ขนาดใหญ่ ในที่ไม่ไกลแต่
มหาสมุทร ในที่อยู่ของพวกทมิฬ เมื่อให้มหาทานเป็นไปอยู่ ดำรง
อยู่จนสิ้นอายุ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป จึงบังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงสมบัติแห่งทาน
และการเข้าถึงสวรรค์ของอังกุระพาณิชนั้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลาย
ว่า :-

ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ
โภชนะอันเขาให้แก่หมู่ชนวันละ ๖๐,๐๐๐ เล่ม
เกวียนเป็นนิตย์ พ่อครัว ๓,๐๐๐ คน ประดับด้วย
ต่างหูอันวิจิตร ด้วยมุกดาและแก้วมณี เป็นผู้
ขวนขวายในการให้ทาน พากันเข้าไปอาศัย
อังกุระพาณิชเลี้ยงชีวิต, มาณพ ๖๐,๐๐๐ คน
ประดับด้วยต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมุกดา และ

แก้วมณี ช่วยกันผ่าฟืน สำหรับหุงอาหาร ใน
มหาทานของอังกุระพาณิชนั้น พวกนารี ๑๖,๐๐๐
คน ประดับด้วยอลังการทั้งปวง ช่วยกันบดเครื่อง
เทศ สำหรับปรุงอาหาร ในมหาทาน ของอังกุระ
พาณิชนั้น นารีอีก ๑๖,๐๐๐ คน ประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง ถือทัพพีข้าว ยืนคอยรับ

ใช้ในมหาทาน ของอังกุระพาณิชนั้น อังกุระ
พาณิชนั้น ได้ให้ของเป็นอันมาก แก่มหาชนโดย
ประการต่าง ๆ ได้ทำความเคารพและความยำ-
เกรง ในกษัตริย์ ด้วยมือของตนเองบ่อย ๆ ให้
ทานโดยประการต่าง ๆ สิ้นกาลนาน อังกุระ

พาณิช ยังมหาทานให้เป็นไปแล้ว สิ้นเดือน สิ้น
ปักษ์ สิ้นฤดู และปีเป็นอันมาก ตลอดกาลนาน
อังกุระพาณิช ได้ให้ทานและทำการบูชาแล้ว
อย่างนี้ ตลอดกาลนาน ละร่างกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีวาจาประกอบความว่า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิ
วาหสทสฺสานิ ความว่า ในเรือนของอังกุระพาณิช ผู้มุ่งบุญ คือ
ผู้มีอัธยาศัยในทาน ได้แก่ ผู้มีใจน้อมไปในทาน โภชนะอันเขาให้แก่
หมู่ชน วันละ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียน คือ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียนที่บรรทุก
ของหอม ข้าวสาลี เป็นต้น เป็นนิตย์.

บทว่า ติสหสฺสานิ สูทา หิ ความว่า พ่อครัว คือ คนทำครัว
ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ก็แล พ่อครัวเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
ผู้เป็นประธาน. ในบรรดาพ่อครัวเหล่านั้น บุคคลผู้กระทำตามคำ
ของพ่อครัวแต่ละคน พึงทราบว่า มากมาย. บาลีว่า ติสหสฺสานิ
สูทานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่ง

ต่างหูอันวิจิตรด้วยแก้วมณีต่าง ๆ, ก็บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา
นี้ เป็นเพียงอุทาหรณ์, พ่อครัวเหล่านั้น ได้มีเครื่องอาภรณ์ เช่น
แก้วมุกดา และสายรัดเอวที่ทำด้วยทองคำ เป็นต้น. บทว่า องฺกุรํ
อุปชีวนฺติ ความว่า เข้าไปอาศัยอังกุระพาณิช เลี้ยงชีพ, อธิบาย
ว่า ผู้มีชีวิตเนื่องด้วยอังกุระพาณิชนั้น. บทว่า ทาเน ยฺสฺส

ปาวฏา ความว่า เป็นผู้ขวนขวาย คือ ถึงความขวนขวายในการ
ประกอบทานแห่งยัญญ์ อันรู้กันว่า การบูชาใหญ่. บทว่า กฏฺ€ํ
ผาเลนฺติ มาณวา ความว่า พวกมนุษย์หนุ่ม ๆ ผู้ประดับตกแต่ง
แล้ว ช่วยกันผ่าคือ ช่วยกันตัดฟืน เพื่อหุงต้มอาหารพิเศษมี
ของเคี้ยวและของบริโภค เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.

บทว่า วิธา ได้แก่ เครื่องเผ็ดร้อนสำหรับปรุงอาหาร ที่จะ
พึงจัดแจง. บทว่า ปิณฺเฑนฺติ ได้แก่ ย่อมประกอบด้วยการบด.
บทว่า ทพฺพิคาหา แปลว่า ผู้ถือทัพพี. บทว่า อุปฏฺ€ิตา
ความว่า เข้าไปยืนคอยรับใช้ ยังสถานที่รับใช้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร