วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ผรุสสฺส แปลว่า หยาบช้า. บทว่า กฏโก แปลว่า ไม่น่า
ปรารถนา. บทว่า ยํ โยควิปากํ แปลว่า วิบากใด. บทว่า สมปฺปิโต
ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.
บทว่า ฉเฬว จตุราสีติ วสฺสานิ นหุตานิ จ ความว่า นอนหงาย
นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นบนหัวห้อยลง
และยืนอยู่ตามเดิม อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ปี รวมเป็น ๖ ครั้ง ๆ ละ
๘๔,๐๐๐ ปี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระราชโอรสผู้เป็นอันธพาล หมกไหม้
ในนรก คือนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย
นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นข้างบนหัวลงล่าง
และยืนอยู่ตามปกติ สิ้นกาลนาน.
ก็เพราะเหตุที่มีหลายหมื่นปี ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นหุตานิ
หลายหมื่นปี. บทว่า ภุสํ ทุกฺขํ นิคจฺฉิตฺโถ ความว่า ประสบทุกข์
อย่างยิ่ง.

บทว่า ปูคานิ ได้แก่ ในการประชุมแห่งปี แต่ในคาถานี้
และในคาถาต้น พึงเห็นว่า เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถแห่งอัจจันต-
สังโยค แปลว่า ตลอด.
บทว่า เอตาทิส คือเห็นปานนั้น. บทว่า กฏกํ ได้แก่ ทุกข์
หนักนี้ เป็นการแสดงออกแห่ง นปุํสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า
นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า บุคคล

ผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย คือ รุกรานฤๅษี ผู้ไม่
ประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย คือ ผู้มีวัตรดี ย่อมประสบทุกข์
เห็นปานนี้ อันเผ็ดร้อนยิ่งนัก.

บท โส ได้แก่ เปรตราชบุตรนั้น. บทว่า ตตฺถ คือ ในนรก.
บทว่า เวทยิตฺวา แปลว่า เสวย. บทว่า นาม ได้แก่ โดยความเป็น
ผู้ปรากฏโดยแจ้งชัด. บทว่า ตโต จุโต ได้แก่ จุติจากนรก. คำที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้มหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น
เกิดความสังเวช ด้วยกถาว่าด้วยราชบุตรเปรตอย่างนี้แล้ว จึง
ประกาศสัจจะยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากบรรลุ
โสดาปัตติผล เป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคูถขาทกเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก
ยังมีกฎุมพีผู้หนึ่ง สร้างวิหาร อุทิศถวายภิกษุผู้เป็นชีต้นของตน,
ภิกษุทั้งหลาย มาจากชนบทต่าง ๆ อยู่อาศัยในวิหารหลังนั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส อุปัฏฐากด้วย
ปัจจัยอันประณีต. ภิกษุชีต้น อดทนปัจจัยนั้นไม่ได้ เป็นผู้ถูกความ

ริษยา ครอบงำ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงยกโทษกะ
กฎุมพี. กฎุมพี ข่มขี่บริภาษภิกษุเหล่านั้น และภิกษุผู้เป็นชีต้น.
ลำดับนั้น ภิกษุผู้เป็นชีต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตในเวจจกุฏี
ในวัดนั่นเอง. ฝ่ายกฎุมพี ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตอยู่ข้างบน
ของพระเปรตนั้นนั่นแล. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
พอเห็นเปรตนั้นแล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามก โดยไม่ต้อง
สงสัย.
เปรตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงแสดงตนด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ลำดับนั้นพระเถระจึงถามกรรมที่เปรตนั้นกระทำกะเปรต
นั้น ด้วยคาถาว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา
ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ
ทุกข์เช่นนี้.
เปรตนั้น ได้บอกกรรมที่ตนทำด้วยคาถา ๒ คาถาว่า :-
เมื่อก่อน มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ในตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ
ได้ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย ที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า
ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า
จากโลกนี้แล้ว ไปสู่เปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อาวาสิโก มยฺหํ ได้แก่ ภิกษุ
รูปหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่ประจำ ในอาวาสของข้าพเจ้า คือ
ในวัดที่ข้าพเจ้าได้สร้างไว้. บทว่า อชฺฌาสิโต มยฺหํ ฆเร ความว่า
ท่านได้อยู่อาศัยในเรือนของข้าพเจ้า โดยความเป็นชีต้น ด้วย
อำนาจการอยู่ด้วยตัณหา.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ภิกษุผู้เป็นชีต้นนั้น. บทว่า ภิกฺขโว
แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ปริภาสิสํ แปลว่า ด่าแล้ว. บทว่า
เปตโลกํ อิโต คโต ความว่า เข้าถึงกำเนิดเปรต คือเป็นเปรตด้วย
อาการอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามถึงคติของเปรตนอกนี้
จึงกล่าวคาถาว่า :-
ภิกษุผู้ชีต้นของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
แต่มิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม ทำลายขันธ์
ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวณฺเณน ได้แก่ ด้วยมิตรเทียม
คือ โดยความเทียมมิตร.
เปรตเมื่อจะบอกเรื่องนั้น แก่พระเถระอีก จึงกล่าวคาถา
๒ คาถาว่า :-

ข้าพเจ้า ยืนอยู่บนศีรษะ ของภิกษุผู้มี
กรรมอันลามกนั้น ภิกษุผู้ชีต้น ไปเกิดเป็นเปรต
บริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่า
อื่น ถ่ายมูตรคูถลงในเวจกุฏีนี้ มูตรคูถนั้น เป็น
อาหารของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้น
แล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป เปรตผู้เป็นชีต้น
นั้น ก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรและคูถนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ได้แก่ เปรตผู้เป็นภิกษุ
ชีต้น ในกาลก่อน ของข้าพเจ้านั้นนั่นแล. บทว่า ปาปกมฺมสฺส
ได้แก่ มีความประพฤติลามก. บทว่า สีเส ติฏฺ€ามิ มตฺถเก ความว่า
ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะ และเมื่อยืน ยืนอยู่บนกระหม่อมนั้นเอง
อธิบายว่า ไม่ได้ยืนอยู่บนอากาศประมาณศีรษะ. บทว่า ปรวิสยํ
ปตฺโต ได้แก่ อาศัยมนุษยโลกแล้วถึงเปตวิสัยอันเป็นแดนอื่น. บทว่า
มเมว ความว่า บาลีที่เหลือ บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า ได้
เป็นบริวารของข้าพเจ้าเอง.

บทว่า ยํ ภทนฺเต หทนฺตฺเ ความว่า ข้าแต่พระมหา-
โมคคัลลานะผู้เจริญ ชนเหล่าอื่น ย่อมถ่ายอุจจาระลงในเวจจกุฏีนั้น.
บทว่า เอตํ เม โหติ โภชนํ ความว่า อุจจาระนั้น เป็นอาหารของ
ข้าพเจ้าทุก ๆ วัน. บทว่า ยํ หทามิ ความว่า ก็ข้าพเจ้าถ่ายอุจจาระ
ที่ข้าพเจ้ากินเข้าไป. บทว่า เอตํ โส อุปชีวติ ความว่า เปรตผู้เป็น
ชีต้นนั้น เลี้ยงชีพ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการกินอุจจาระของ
ข้าพเจ้านั้น ทุก ๆ วัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในคนเหล่านั้น กฎุมพี ด่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักว่า การกิน
คูถของพวกท่าน ยังประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารอย่างนี้. ส่วน
ภิกษุผู้เป็นชีต้น ชักชวนกฎุมพีในการพูดเช่นนั้น ตนเองก็ได้ด่า
เหมือนเช่นนั้น, ด้วยเหตุนั้น เปรตนั้นจึงมีการเลี้ยงชีพ อันน่าติเตียน
แม้กว่ากฎุมพีนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรงแสดงโทษในการว่าร้ายแล้ว ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่
มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตผู้กินคูถตนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.
เรื่องของนางเปรตนั้น เช่นกับเรื่องที่ติดต่อกันนั้น. ในเรื่อง
นั้น มาโดยอำนาจอุบาสกว่า อุบาสกได้สร้างวิหาร แต่ในเรื่องนี้
มีความแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาได้สร้างวิหาร. คำที่เหลือ ใน
ท้องเรื่อง และในคาถา ไม่เคยมี.
จบ อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตเป็นอันมาก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มนุษย์เป็นอันมาก เป็นคณะ ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส มีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม
เป็นผู้เบือนหน้าต่อสุจริต มีทานเป็นต้น มีชีวิตอยู่นาน เพราะกาย
แตกตายไป จึงบังเกิดในกำเนิดเปรต ใกล้พระนคร. ภายหลัง
วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังเดินบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี เห็นพวกเปรตในระหว่างทาง จึงถามด้วยคาถาว่า :-
พวกท่านเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณ
น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
ผอมจนเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์
พวกท่านเป็นใคร หนอ?

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ความว่า ท่าน
เป็นผู้มีร่างกายผิวพรรณน่าเกลียด. บทว่า เก นุ ตุมฺเหตฺถ ความว่า
พวกท่านเป็นใครหนอ. พระมหาโมคคัลลานะ เรียกเปรตเหล่านั้น
โดยสมควรแก่ตนว่า มาริสา.
เปรตได้ฟังดังนั้น จึงพากันประกาศความที่ตนเป็นเปรต
ด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะกระทำกรรมชั่ว
ไว้ จึงจากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก ดังนี้
ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่เขาทำไว้อีก ด้วยคาถาว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร พวกท่านจึง
จากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก.
จึงได้กล่าวกรรมที่ตนทำด้วยคาถาว่า :-

เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่ง
อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้ก่อ
สร้างกุศลไว้ แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม
มีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ
จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่า
ไป เมื่อเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปสู่ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมีสี

ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้า ฟุ้งไป ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์ อันมีความ
กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่น อันชั่วช้า
กว่าทุกข์นั้น อนึ่งพวกข้าพเจ้า เป็นผู้ถูกความ
หิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทาง
หลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย จึงพา
กันกลับมา พวกข้าพเจ้านี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อ

มีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบ
ลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราว
ก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็พวกข้าพเจ้านั้นสลบ
อยู่ที่พื้นดิน ตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะชน
หน้าอกกันและกัน พวกข้าพเจ้านี้ หาบุญมิได้
หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรที่จะ
เสวยทุกข์ มีความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์

อย่างอื่น อันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทย
ธรรมมีอยู่ พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
ก็พวกข้าพเจ้านั้น ไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์
จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล จักทำกุศลให้มากแน่ ๆ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ โยชนานิ คจฺฉาม ความว่า
ข้าพเจ้าไปได้หลายโยชน์. อย่างไร? คือเป็นผู้หิวอยากกินอาหาร,
อธิบายว่า พวกข้าพเจ้า ถูกความหิวครอบงำมานาน อยากกิน คือ
อยากลิ้มอาหาร แม้ครั้นไปอย่างนี้ ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย ก็พา
กันกลับมา. บทว่า อปฺปปุฺตา ได้แก่ พวกข้าพเจ้า ไม่มีบุญ
คือ ไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้.

บทว่า อุตฺตานา ปฏิกิราม ความว่า บางคราวเป็นผู้นอนหงาย
เป็นไปเหมือนอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจายไป. บทว่า อวกุชฺชา
ปตามเส ความว่า บางคราวก็นอนคว่ำตกลงไป.

บทว่า เต จ ได้แก่ พวกข้าพเจ้านั้น. บทว่า อุรํ สีลญฺจ ฆฏฺเฏม
ความว่า นอนคว่ำตกลงไป เมื่อไม่อาจจะลุกขึ้นได้ สั่นงันงกอยู่
ประสบเวทนา เอาอกและศีรษะเสียดสีกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลัง นั้นแล.

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทิน คือ
ความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดีสุจริต มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภวิมานเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺ€า
ตยา นิรยา ติรจฺฉานโยนิ ดังนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้ยินว่าพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็น
อันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้า
คนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำ
กาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมาน
เปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.
ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. ลำดับนั้น

เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป. ลำดับนั้น
พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่
แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละ
ถึง ๓ ครั้ง โดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่
เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้น
ลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไป
ยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว. อมนุษย์ยกหญิงนั้นขึ้นยังวิมานของตน
อภิรมย์กับหญิงนั้น.

ครั้นล่วงไป ๑ ปี หญิงนั้นเกิดเบื่อหน่าย เมื่อจะขอร้องเปรต
นั้น จึงกล่าวว่า ดิฉันอยู่ในที่นี้ก็ไม่ได้เพื่อจะสร้างประโยชน์ใน
สัมปรายภพ ดีละท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปเมือง
ปาฏลีบุตร. เปรตนั้นถูกหญิงนั้นอ้อนวอน จึงกล่าวคาถา :-

สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์
เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์ หรือเทวดา
บางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่าน
ก็เห็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจะนำท่านไป
ส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตร
แล้ว จงทำกุศลกรรมให้มากเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ€า ตยา นิรยา ได้แก่ แม้เฉพาะ
สัตว์นรกบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า ติรจฺฉานโยนิ มีวาจา
ประกอบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉานมี นาคและครุฑเป็นต้น ผู้มี
อานุภาพมาก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า เปตา ได้แก่ เปรตชนิดผู้

หิวกระหายเป็นต้น. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูร ชนิดกาลกัญชิกาสูร
เป็นต้น. บทว่า เทวา ได้แก่ เทพชั้นจาตุมมหาราชบางพวก. ได้
ยินว่าเปรตนั้น พาหญิงนั้น เที่ยวแสดงปัจเจกนรกเป็นต้น ใน
ระหว่าง ๆ ด้วยอานุภาพของตน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สยมทฺทส กมฺมวิปากมตฺตโน ความว่า หญิงนั้น ไปเห็น
สัตว์นรกเป็นต้นโดยพิเศษ ก็ได้เห็นประจักษ์ซึ่งวิบากกรรมที่ตน
ทำไว้ ด้วยตนเอง. บทว่า เนสฺสามิ ตํ ปาฏลิปุตฺตมกฺขตํ ความว่า
บัดนี้ เราจักนำท่านผู้อันใครป้องกันไม่ได้ ไปยังเมืองปาฏลีบุตร
โดยร่างของมนุษย์นั่นแล. แต่ท่านครั้นไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว
จงทำกุศลกรรมให้มาก อธิบายว่า เจ้าจงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย
ยินดีในบุญ เพราะเจ้าเห็นวิบากของกรรมโดยประจักษ์แล้ว.

ลำดับนั้น หญิงนั้น ครั้นได้ฟังคำของเปรตนั้นแล้ว มีความ
ดีใจ กล่าวคาถาว่า :-
ข้าแต่เทพเจ้า ผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน
ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน
เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉันก็
เห็นแล้ว สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือ
เทพดาบางพวก ดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตน
ดิฉันก็ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญไว้
ให้มาก.

ลำดับนั้น เปรตนั้น จึงพาหญิงนั้นไปทางอากาศ พักไว้ใน
ท่ามกลางเมืองปาฏลีบุตร แล้วก็หลีกไป. ลำดับญาติและมิตรเป็นต้น
ของหญิงนั้น เห็นเปรตนั้นแล้ว ดีใจยิ่งนักว่า เมื่อก่อนพวกเรา
ได้ฟังมาว่า เจ้าถูกเขาโยนลงไปในมหาสมุทรตายแล้ว เจ้านั้นคือ
หญิงนี้แหละ พวกเราเห็นแล้วหนอ มาโดยสวัสดี แล้วมาประชุมกัน

ถามถึงประวัติของนาง. จำเดิมแต่นั้น นางก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมด
ที่ตนเห็นและที่ตนเสวยมา แก่พวกญาติและมิตรเป็นต้นนั้น พ่อค้า
ชาวกรุงสาวัตถีเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาที่ได้ถึง
กรุงสาวัตถี โดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงแสดงธรรมแก่บริษัท ๔
มหาชน ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดความสังเวช ได้ยินดีในกุศลธรรม
มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
อัมพเปรต จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า อยญฺจ เต โปกฺขรณี
สุรมฺมา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เสื่อมสิ้นจาก
โภคสมบัติ. ภริยาของเขาก็ตาย ยังมีธิดาคนเดียวเท่านั้น. เขาได้
ให้ธิดานั้นไปอยู่เรือนมิตรของตน เอาเงินที่ยืมมา ๑๐๐ กหาปณะ
ไปซื้อสิ่งของ บรรทุกเกวียนไปค้าขาย ไม่นานนักก็ได้เงิน ๕๐๐
กหาปณะ อันเป็นกำไรพร้อมทั้งต้นทุนแล้วกลับมาพร้อมด้วยเกวียน.

ในระหว่างทางพวกโจรดักซุ่มปล้นหมู่เกวียน. พวกหมู่เกวียนแตก
กระจายหนีไป. ฝ่ายคฤหบดีนั้น ซ่อนกหาปณะไว้ที่กอไม้แห่งหนึ่ง
แล้ว แอบอยู่ในที่ไม่ไกล. พวกโจรจับคฤหบดีนั้นฆ่าทิ้งเสีย. เพราะ
ความโลภในทรัพย์ เขาจึงบังเกิดเป็นเปรตในที่นั้นนั่นเอง.

พวกพ่อค้าไปยังกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้น ให้ธิดาของเขาทราบ.
ธิดานั้น เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง ร่ำไรอย่างหนัก เพราะความตาย
ของบิดา และเพราะภัยแห่งเลี้ยงชีพ. ลำดับนั้น กฎุมพีผู้เป็นสหาย
ของบิดานั้น จึงกล่าวปลอบโยนนางว่า ธรรมดาว่า ภาชนะดิน
ทั้งหมดมีความแตกไปเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มี

การแตกไปในที่สุด ฉันนั้นเหมือนกัน. ธรรมดาว่า ความตายย่อม
ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ และไม่มีการตอบแทนได้ เพราะฉะนั้น เจ้า
อย่าเศร้าโศก อย่าปริเทวะ ถึงบิดาไปนักเลย เราจะเป็นบิดาของ
เจ้า เจ้าจงเป็นธิดาของเรา เราจะทำหน้าที่แทนบิดาของเจ้า เจ้า
อย่าเสียใจ จงยินดีอยู่ในเรือนนี้ ให้เหมือนเรือนบิดาของเจ้าเถิด.

หญิงนั้น สงบความเศร้าโศกลงได้ ตามคำของกฎุมพีนั้น เกิดความ
เคารพ และความนับถือมาก ในกฎุมพีนั้น เหมือนในบิดาเป็นผู้มี
ปกติทำการขวนขวาย ประพฤติตามกฎุมพีนั้น โดยภาวะที่ตนเป็น
คนกำพร้า ปรารถนาจะทำกิจเพื่อผู้ตาย อุทิศถึงบิดา จึงต้มข้าว

ยาคูแล้ว วางผลมะม่วงมีรสอร่อย สุกได้ที่เหมือนสีเหมือนมโนศิลา
วางไว้ในถาดสัมฤทธิ์ให้ทาสีถือเอาข้าวยาคู และผลมะม่วง ไปยัง
วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทำความอนุเคราะห์ ด้วยการรับทักษิณา
ของหม่อมฉัน พระศาสดามีพระมนัสอันพระมหากรุณากระตุ้น

เตือน เมื่อจะทรงทำมโนรถของนางให้เต็มเปี่ยม จะแสดงอาการนั่ง.
นางร่าเริงยินดี ได้ลาดผ้าอันบริสุทธิ์สะอาดที่ตนน้อมเข้าไปในบวร
พุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับ
นั่งบนอาสนะที่ปูแล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น หญิงนั้น จึงน้อมข้าวยาคูเข้าไปถวายพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับข้าวยาคูแล้ว ลำดับนั้น
จึงถวายข้าวยาคูแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย อุทิศสงฆ์แล้วล้างมือ น้อม
ผลมะม่วงเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเสวยผลมะม่วงเหล่านั้น. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทักษิณาที่หม่อมฉัน
บำเพ็ญให้เป็นไป ด้วยการถวายเครื่องลาด ข้าวยาคู และผลมะม่วง
นั้น ขอจงถึงบิดาของหม่อมฉันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด แล้วทรงกระทำอนุโมทนา นางถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำปทักษิณแล้วหลีกไป. พอนางอุทิศ
ส่วนบุญ เปรตนั้นก็กลับได้ สวนมะม่วง วิมาน ต้นกัลปพฤกษ์
และสระโบกขรณี กับทิพยสมบัติอันใหญ่หลวง.

ครั้นสมัยต่อมา พ่อค้าเหล่านั้น เมื่อจะไปค้าขาย ได้เดินไป
ทางนั้นนั่นแหละ ได้พักแรมคืนหนึ่ง ในที่ที่ตนได้เคยอยู่มาก่อน.
เปรตนั้น เห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว จึงแสดงตนแก่พ่อค้าเหล่านั้น
พร้อมกับสวนและวิมานเป็นต้น. พ่อค้าเหล่านั้น เห็นดังนั้น เมื่อ
จะถามถึงสมบัติที่เปรตนั้นได้มา จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-

สระโบกขรณี ของท่านนี้ น่ารื่นรมย์ดี
มีพื้นที่ราบเรียบ มีท่างดงาม มีน้ำมาก ดารดาษ
ไปด้วยปทุมชาติต่าง ๆ มีดอกอันบานสะพรั่ง
เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณี
อันเป็นที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วงของท่านนี้

น่ารื่นรมย์ดี เผล็ดผลทุกฤดูกาล มีดอกบานเป็น
นิตย์นิรันดร์ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภมร ท่าน
ได้วิมานนี้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรมฺมา แปลว่า น่ารื่นรมย์ดี.
บทว่า สมา แปลว่า มีพื้นที่ราบเรียบ. บทว่า สุติตฺถา ได้แก่ มีท่าดี
เพราะมีบันไดแล้วด้วยแก้ว บทว่า มโหทกา แปลว่า มีน้ำมาก.

บทว่า สพฺโพตุกํ ได้แก่ นำมาซึ่งความสุขทุกฤดูกาล ด้วย
ต้นไม้ที่สะพรั่งไปด้วยดอกและผลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า ย่อมเผล็ดผล ดังนี้. บทว่า สุปุปฺผิตํ แปลว่า บานสะพรั่งอยู่
เป็นนิตย์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกถึงเหตุแห่งการได้สระโบกขรณี
เป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
สระโบกขรณี มีร่มเงาอันเยือกเย็น น่า
รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดา
ของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ ข้าวยาคู แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เม อิธ ลพฺภติ ความว่า เพราะ
ทานที่ธิดาของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ และข้าวยาคู แด่พระผู้-
มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ อุทิศข้าพเจ้า มะม่วงสุกอันเผล็ดผล
ทุกฤดูกาล ก็ได้สำเร็จเป็นน้ำทิพย์ ในสระโบกขรณี อันเป็นที่ฟูใจ
อันเป็นทิพย์นี้ ด้วยการให้ข้าวยาคูและเครื่องลาด ย่อมให้สำเร็จ
เป็นสระโบกขรณี มีร่มเงาเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ในสวน วิมาน
และต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้นในที่นี้.

ก็แลเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพ่อค้าเหล่านั้น
ไปแสดงทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะนั้น แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงรับเอา
กึ่งหนึ่งจากสวนนี้ จงให้แก่ธิดาของเรา ด้วยประสงค์ว่า นางจง
ชำระหนี้ ที่เรากู้เขามากึ่งหนึ่งแล้วจงเป็นอยู่สบายเถิด. พ่อค้า
ถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับแล้ว จึงบอกแก่ธิดาของเปรตนั้นแล้ว

ได้ให้ส่วนที่เปรตนั้น ได้ให้แก่ตน แก่นางนั้นเอง. นางได้ใช้หนี้
ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ แก่พวกเจ้าหนี้ นอกนั้น ได้ให้แก่กฎุมพีนั้น
ผู้เป็นสหายบิดาตน ส่วนตนเองทำการขวนขวายอยู่อาศัย. กฎุมพี
นั้น ได้ให้คืนแก่นางนั้นนั่นเอง ด้วยพูดว่า จงเป็นทรัพย์ของตัวเธอ
ทั้งหมดเถอะ แล้วแต่งงานนางกับบุตรคนโตของตน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อกาลผ่านไป นางได้บุตรคนหนึ่ง เมื่อจะล้อเล่นกับบุตร
จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลทาน ที่จะพึงเห็น
เอง และผลแห่งความข่มใจ ความสำรวม เรา
เป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น
ลูกสะใภ้ เป็นใหญ่ในตระกูล.
ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูนางว่ามีญาณ
แก่กล้า จึงทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ประหนึ่ง
ประทับอยู่เฉพาะหน้า แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-

ความประมาท ย่อมครอบงำ บุคคลผู้ติด
อยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชัง
ในทุกข์และสุข.
ในเวลาจบคาถา นางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในวันที่สอง
นางได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒

อรรถกถาอักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓
เรื่องอักขทายกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ททาติ น ตํ โหติ
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสก
ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เอาเกวียนหลายเล่มบรรทุกสินค้าไปขาย
ต่างประเทศ ขายสินค้าของตนในประเทศนั้นแล้ว ก็ซื้อเอาสินค้า
ต่างประเทศกลับมา เดินทางมุ่งไปกรุงสาวัตถี. เมื่ออุบาสกนั้น
กำลังเดินทางเพลาเกวียนเล่มหนึ่งหักในดง. ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่ง

ได้เอาผึ่งและขวาน เพื่อจะตัดไม้ ออกจากบ้านตน เที่ยวไปในป่า
ถึงที่นั้น พบอุบาสกนั้น ผู้ถึงความโทมนัส เพราะเพลาเกวียนหัก
จึงคิดว่า พ่อค้านี้มาลำบากในดง เพราะเพลาเกวียนหัก อาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงตัดท่อนไม้มาดามเพลาเกวียนให้มั่นคงแล้ว
ประกอบเกวียน ให้ไป.

สมัยต่อมา บุรุษนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นภุมมเทวดา
อยู่ในดงนั้นนั่นแหละ พิจารณาถึงกรรมของตน ในเวลาราตรี
จึงไปเรือนของอุบาสกนั้น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนกล่าวคาถาว่า :-

บุคคลให้สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่มี แต่ผล
อย่างอื่นที่น่าปรารถนา น่าใคร่มีมาก เพราะ
ฉะนั้น ท่านจงให้ทานแล้ว ท่านจักพ้นจากทุกข์
และความฉิบหาย ทั้งจักได้ประสบสุขอันเป็นไป
ในปัจจุบันและสัมปรายภพ เพราะทานนั้น ขอ
ท่านจงตื่นเถิด อย่าประมาทเลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ททาติ น ตํ โหติ ความว่า
ทายกย่อมให้ไทยธรรมใด ไทยธรรมนั้นแหละ ย่อมไม่มีโดยความ
เป็นผลแห่งทานนั้น ในปรโลก, โดยที่แท้ นามอย่างอื่น ที่มีผล
น่าปรารถนา น่าใคร่ ก็มีอยู่มากทีเดียว เพราะฉะนั้น พวกท่าน
จงให้ทานนั่นแหละ คือ จงให้ทานโดยประการใดประการหนึ่ง

ทีเดียว. ภุมมเทวดา กล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ครั้นให้แล้ว ย่อมพ้น
จากทุกข์และความฉิบหายทั้งสอง, อธิบายว่า ครั้นให้ทานแล้ว
ย่อมพ้นทุกข์และความพินาศ ทั้งปัจจุบัน ทั้งสัมปรายภพ. ในข้อว่า
อุภยํ เตน ทาเนน คจฺฉติ นี้ พึงประกอบความดังนี้ว่า เพราะการ
ให้นั้น เขาย่อมเข้าถึง คือ ย่อมประสบสุขทั้ง ๒ คือ สุขในปัจจุบัน

และสุขในสัมปรายภพ ทั้งย่อมประสบด้วยอำนาจหิตสุขทั้งแก่ตน
และสังคม. บทว่า ชาครถ มา ปมชฺชถ ความว่า จงตื่นเพื่อยังทาน
อันห้ามอนัตถะทั้งสอง ยังประโยชน์ทั้งสองให้สำเร็จอย่างนี้ และ
จงจัดเตรียมอุปกรณ์ แล้วจงอย่าประมาทในทานนั้น. ก็ในที่นี้
เพื่อจะแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ ท่านจึงกล่าวซ้ำ.

พ่อค้าพิจารณาถึงกิจของตนแล้ว กลับถึงกรุงสาวัตถี โดย
ลำดับ ในวันที่ ๒ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์
แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔
เรื่องนางโภคสังหรณเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า มยํ โภเค สํหริมฺหา
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน
มหาวิหาร หญิง ๔ คน ในกรุงราชคฤห์ ทำการค้าขายด้วยเนยใส
น้ำผึ้ง น้ำมัน และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยเครื่องนับโกงเป็นต้น
รวบรวมโภคะเลี้ยงชีพโดยไม่แยบคาย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก หญิงเหล่านั้นไปบังเกิดเป็นนางเปรต อยู่ที่หลังคูนอกเมือง
ในเวลากลางคืน นางเปรตเหล่านั้น ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ
ร้องบ่นเพ้อด้วยเสียงขรมน่าสะพึงกลัว ด้วยคาถาว่า :-

พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ
ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่น ๆ
พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรา
กลับมีส่วนแห่งทุกข์.

มนุษย์ทั้งหลาย ฟังเสียงนั้นแล้ว กลัวสดุ้งตกใจ เมื่อราตรี
สว่าง ตระเตรียมมหาทาน เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
นิมนต์พระศาสดา และภิกษุสงฆ์ อังคาส ด้วยขาทนียะและโภชนียะ
อันประณีต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว นำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงกราบทูลให้ทรงทราบ

ถึงเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า อุบาสกและอุบาสิกา
ทั้งหลาย เสียงนั้นไม่มีอันตรายอะไร ๆ แก่ท่านทั้งหลาย ส่วนเปรต
ทั้ง ๔ ตนนั้น ถูกความทุกข์ครอบงำ กล่าวถึงกรรมที่ตนทำชั่ว
ร้องไห้เสียงร่ำไร พลางกล่าวคาถานี้ว่า:-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบ
ธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง คนอื่น ๆ พากัน
ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรากลับเป็น
ผู้มีส่วนแห่งทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภเค ได้แก่ อุปกรณ์พิเศษแห่ง
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้ชื่อว่า โภคะ
เพราะอรรถว่าเป็นบุคคลพึงใช้สอย. บทว่า สํหริมฺหา ความว่า
ผู้มีจิตอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ รวบรวมไว้ ไม่ให้อะไร ๆ
แก่ใคร ๆ. บทว่า สเมน วิสเมน จ ได้แก่ โดยชอบธรรม และ

ไม่ชอบธรรม อีกอย่างหนึ่ง ความว่า บัดนี้ คนอื่น ๆ ใช้สอยโภคะ
เหล่านั้น ที่เรารวบรวม โดยไม่ชอบธรรม อันเป็นของเทียมกับ
ความชอบธรรม. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคินี ความว่า ฝ่ายพวกเรา
บัดนี้ เป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ อันนับเนื่องในกำเนิดเปรต คือ
เสวยทุกข์ใหญ่ เพราะตนไม่ได้ทำสุจริตอะไร ๆ ไว้ และทำแต่
ทุจจริต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาที่นางเปรตนั้น กล่าวแล้ว
อย่างนี้ จึงตรัสประวัติของนางเปรตเหล่านั้น แล้วทรงกระทำเรื่อง
นั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อม
แล้ว ทรงประกาศสัจจะสูง ๆ ขึ้นไป ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็น
อันมาก บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร