วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 13:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกกรรมที่ตนกระทำไว้ จึงได้
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจ-
คีรีนคร) เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต เป็นคน
หยาบช้า ทารุณ มีใจประทุษร้ายในสัตว์เป็นอัน
มาก ผู้ไม่ได้กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ใน
การเบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้ไม่สำรวมด้วยกาย
วาจา ใจ เป็นนิตย์ อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหาย
ของกระผม เป็นคนมีใจดี มีศรัทธา ก็อุบาสก

คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่
เนือง ๆ ว่า อย่าทำกรรมชั่วเลย พ่อเอ๋ย อย่าไป
ทุคคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวม
เสียเถิด กระผมฟังคำของสหายผู้หวังดี มีความ

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำ
สั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา
ยินดีแต่ในบาปตลอดกาลนาน สหายผู้มีปัญญาดี
นั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม ด้วย
ความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในตอนกลาง
วัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้นเสีย กระผมจึงฆ่า
สัตว์ แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวม
งดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน กระผมจึงได้รับ

ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัด
กิน คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่ง
กุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือด
ดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน ก็
ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียรเนือง ๆ บากบั่นใน
ศาสนาของพระสุคตเจ้า กระผมเข้าใจว่าชนเหล่า
นั้น จักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุง
แต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ผู้ทารุณ. บทว่า
โลหิตปาณี ได้แก่ ผู้มีฝ่ามืออันเปื้อนเลือด ด้วยการฆ่าสัตว์เนือง ๆ.
บทว่า ทารุโณ แปลว่า กล้าแข็ง อธิบายว่า เบียดเบียนตนเอง.
บทว่า อวิโรธกเรสุ ได้แก่ ในเนื้อและนกเป็นต้น ผู้ไม่กระทำ
ความโกรธด้วยอาการอะไร ๆ

บทว่า อสํยมา แปลว่า ผู้ไม่สำรวม คือ เป็นผู้ทุศีล.
บทว่า สกลานุสาสส ความว่า ซึ่งอนุศาสนีทั้งปวง คือ การงดเว้น
จากปาณาติบาตตลอดกาล. บทว่า จิรปาปาภิรโต ได้แก่ ผู้ยินดียิ่ง
ในบาปตลอดกาลนาน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สํยเม คือ ในสุจริต. บทว่า นิเวสยิ แปลว่า ตั้งอยู่แล้ว.
คำว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืน จงงดเว้นเสีย
นี้ เป็นคำแสดงอาการแห่งความตั้งมั่น. ได้ยินว่า นายพรานนั้น
ได้เป็นผู้ประกอบการฆ่าสัตว์เนือง ๆ ในเวลากลางคืน ด้วยการ
ดักบ่วง คือลูกศรเป็นต้น.

บทว่า ทิวา ขชฺชามิ ทุคฺคโต ความว่า บัดนี้ ฉันถึงทุคคติ
เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เคี้ยวกินในตอนกลางวัน. ได้ยินว่า ในตอน
กลางวัน เขาได้เสวยผลอันพึงเห็นเสมอด้วยกรรม เพราะเขาให้
สุนัขกัดเนื้อ ในส่วนกลางวัน สุนัขใหญ่ ๆ วิ่งไป ทำสรีระให้เหลือ
เพียงร่างกระดูก แต่เมื่อย่างเข้ากลางคืน ร่างกายนั้นจึงกลับเป็น
ปกติตามเดิม เสวยทิพยสมบัติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เพราะฉะนั้น กลางคืนกระผมจึงได้รับ
ความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูกสุนัขลุมกัดกิน
คือกลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศล
กรรมนั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล
พากันห้อมล้อมกัดกินกระผมรอบด้าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหตา ความว่า เป็นผู้มีจิต
เดือดดาล คือ เป็นเสมือนถูกความคับแค้นผูกพัน. บทว่า สมนฺตา
ขาทิตุํ ได้แก่ วิ่งไป เพื่อกัดกินร่างกายของเรา โดยรอบด้าน.
ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่พวกสุนัขเหล่านั้น เข้าไปใกล้
นำความกลัวมาให้แก่ตนเป็นอย่างยิ่ง ก็สุนัขเหล่านั้นวิ่งไปกระทำ
ร่างกายให้เหลือแต่เพียงกระดูกแล้วจึงไปเสีย.

ในคาถาสุดท้ายว่า เย จ เต สตตานุโยคิโน มีความสังเขป
ดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่า เรา ก็เป็นผู้งดเว้นจากเหตุเพียงการฆ่าสัตว์
เฉพาะในกลางคืน ยังได้เสวยทิพยสมบัติถึงเพียงนี้ ก็บุรุษเหล่าใด
ผู้ขวนขวายยั่งยืนมั่นคง คือหมั่นประกอบเนือง ๆ คือทุกเวลา ใน
อธิศีลเป็นต้น ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคสุคตพุทธเจ้า

บุรุษเหล่านั้น เป็นผู้มีบุญ เห็นจะบรรลุอมตธรรม อันได้นามว่า
อสังขตบท อันไม่เจือปน ด้วยโลกิยสุขอย่างเดียวเท่านั้น คือ บุรุษ
เหล่านั้น ย่อมไม่มีการห้ามอะไร ๆ ในการบรรลุอมตบทนั้น.
เมื่อเปรตนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัต-
ติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อมแล้ว, คำทั้งหมด
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาปฐมมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภมิคลุททกเปรตอีกตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า
กูฏาคาเร จ ปาสาเท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มาณพ ชื่อว่ามาควิกะคนหนึ่ง แม้
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ก็ละโภคสุข ออกเที่ยวล่าเนื้อตลอด
ทั้งคืนและวัน. อุบาสกคนหนึ่ง ผู้เป็นสหายของเธอ อาศัยความ
เอ็นดูจึงให้โอวาทว่า ดีละสหาย เธอจงงดเว้นจากปาณาติบาต เธอ
อย่าได้มี เพื่อสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.
เธอ หาได้เอื้อเฟื้อโอวาทนั้นไม่. ลำดับนั้น อุบาสกนั้น จึงขอร้อง
พระขีณาสพเถระ ซึ่งเป็นที่เจริญใจแห่งตนรูปหนึ่งว่า ดีละ พระผู้-
เป็นเจ้า ขอท่านจงแสดงธรรมแก่บุรุษชื่อโน้น โดยประการที่เธอ
จะพึงงดเว้นจากปาณาติบาต.

ภายหลังวันหนึ่ง พระเถระนั้น เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ได้หยุดยืนที่ประตูเรือนของเธอ. มาควิกะนั้นเห็นท่านแล้ว เกิดมี
ความนับถือมาก ต้อนรับให้เข้าไปสู่เรือน ได้ตกแต่งอาสนะถวาย.
พระเถระนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว. ฝ่ายมาณพนั้น ก็เข้าไปหา
พระเถระนั่งแล้ว. พระเถระ ประกาศโทษในปาณาติบาต และ

อานิสงส์ ในการงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น แก่เธอ. เธอ แม้ฟัง
ดังนั้นแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ลำดับนั้น
พระเถระจึงกล่าวกะเธอว่า คุณ ถ้าคุณไม่สามารถจะงดเว้นโดย

ประการทั้งปวงได้ไซร้ อันดับแรก เธอก็จงงดเว้นแม้ในกลางคืน
เถอะ. เธอรับคำแล้วว่า จะงดเว้นในเวลากลางคืน แล้วจึงงดเว้น
จากปาณาติบาตนั้น. คำที่เหลือ เช่นกับเรื่องที่ติดกันนั่นแล. ก็
ในบรรดาคาถาพระนารทเถระ ได้สอบถามเธอด้วยคาถา ๓ คาถา
ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท
บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยดนตรี
เครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อ
สิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวย
ทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำกรรมชั่ว
อะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่ง
กรรมอะไร ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้.

ลำดับนั้น เปรตจึงบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยคาถาว่า :-
เมื่อก่อนกระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่กรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขาล้อมรอบ (เบญจ-
คีรีนคร) เป็นคนหยาบช้า ทารุณ ไม่สำรวมกาย
วาจา ใจ อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของผม เป็น
คนใจดี มีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของเขาเป็น
สาวกของพระโคดม แม้อุบาสกนั้น เอ็นดูกระผม
ห้ามกระผมเนือง ๆ ว่า อย่าทำบาปกรรมเลย พ่อ

เอ๋ย อย่าไปทุคคติเลย ถ้าสหายปรารถนาความ
สุขในโลกหน้า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ อันเป็น
การไม่สำรวมเสียเถิด. กระผมฟังคำของสหาย
ผู้หวังดี มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว
ไม่ทำตามคำสั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคน
ไม่มีปัญญา ยินดียิ่งแล้วในบาปตลอดกาลนาน
สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ใน

ความสำรวม ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่าน
ฆ่าสัตว์ในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจงงดเว้น
เสีย กระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลาง
คืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น เพราะฉะนั้น กลางคืน
กระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์
ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพย-
สมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น ส่วนกลางวัน

ฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกิน
กระผมรอบด้าน ก็ชนเหล่าใด ผู้มีความเพียร
เนือง ๆ บากบั่นมั่นในพระศาสนาของพระสุคต-
เจ้า กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้น จักได้บรรลุ
อมตบทอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่าง
แน่นอน.
เนื้อความแห่งคาถานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบ อรรถกถาทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน มหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตผู้วินิจฉัยโกง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า มาลี กิริฏี กายูรี
ดังนี้.
ในกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสาร เข้าจำอุโบสถเดือนละ ๖ วัน
มนุษย์เป็นอันมากคล้อยตามท้าวเธอ จึงพากันเข้าจำอุโบสถ. พระ-
ราชาตรัสถาม พวกมนุษย์ผู้มายังสำนักของพระองค์ว่า พวกเธอ
เข้าจำอุโบสถหรือ หรือว่า ไม่เข้าจำ. ในบรรดามนุษย์เหล่านั้น
ผู้พิพากษาตัดสินความคนหนึ่ง เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เป็นผู้

หลอกลวง ผู้รับเอาสินบน ไม่อดกลั้นเพื่อจะกล่าวว่า หม่อมฉัน
ไม่ได้เข้าจำอุโบสถ แต่กราบทูลว่า หม่อมฉัน เข้าจำอุโบสถ
พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอ ผู้ออกจากที่ใกล้พระ-
ราชา สหายวันนี้ ท่านเข้าจำอุโบสถหรือ ? เขาตอบว่า สหายเอ๋ย
เพราะความกลัว ผมจึงกราบทูลอย่างนั้น ต่อพระพักตร์พระราชา
แต่ผมไม่ได้เข้าจำอุโบสถ.

ลำดับนั้น สหายจึงกล่าวกะเธอว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น อันดับ
แรกเธอจงรักษาอุโบสถ กึ่งวัน ในวันนี้ เธอจงสมาทานองค์อุโบสถ
เถิด. เธอรับคำของสหายนั้นแล้วไปยังเรือน ไม่บริโภคเลย บ้วน
ปากอธิษฐานอุโบสถ เข้าจำอยู่ในกลางคืน ถูกความเสียดแทง
อันมีพลังลมเป็นต้น เหตุซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากท้องว่าง เข้าตัดอายุ

สังขาร ถัดจากจุติก็ไปบังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ในท้องภูเขา.
จริงอยู่ เขาได้วิมาน ซึ่งมีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นาง เป็นบริวาร และ
ทิพยสมบัติเป็นอันมาก ด้วยเหตุเพียงการรักษาอุโบสถราตรีเดียว.
แต่เพราะตนเป็นผู้พิพากษาโกง และพูดวาจาส่อเสียด ตนเอง
จึงจิกเนื้อหลังของตนเองกิน. ท่านพระนารทะ ลงจากเขาคิชกูฏ
เห็นเธอเข้า จึงถามด้วยคาถา ๔ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไล
ทองคำ ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส
งดงาม ดุจสีพระอาทิตย์อุทัย มาบนอากาศ
มีนางฟ้า ๑๐,๐๐๐ นางเป็นบริวาร บำรุงบำเรอ
ท่านนางฟ้าเหล่านั้น ล้วนสวมกำไลทองคำ
นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพ
มาก มีรูปเป็นที่ให้ขนชูชัน แก่ผู้พบเห็น แต่ท่าน
จิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำ
กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะ
วิบากแห่งกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของ
ตนเองกินเป็นอาหาร.

เปรตนั้นตอบว่า :-
กระผมได้ประพฤติทุจจริตด้วยการส่อ
เสียด พูดเท็จ พลางและล่อลวงเพื่อความฉิบหาย
แก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทใน
มนุษยโลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริง
ปรากฏแล้ว ละเหตุผลเสีย ประพฤติคล้อยตาม

อธรรม ผู้ใด ประพฤติทุจจริต มีคำส่อเสียด
เป็นต้น ผู้นั้นต้องจิกเนื้อหลัง ของตนกิน เหมือน
กระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้ ฉะนั้น
ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ ท่าน
ได้เห็นเองแล้ว ชนเหล่าใดเป็นคนฉลาด มีความ
อนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่าน
อย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง
ของตนเป็นอาหารเลย.

ฝ่ายเปรตนั้น ได้ตอบความนั้น ด้วยคาถา ๓ คาถา แก่ท่าน
พระนารทะเถระนั้นแล้ว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลี ได้แก่ ผู้ทัดทรงดอกไม้
อธิบายว่า ผู้ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์. บทว่า กิริฏี แปลว่า ผู้สวม
ใส่ชฎา. บทว่า กายูรี แปลว่า ผู้สวมกำไลทองคำ อธิบายว่า
ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับแขน. บทว่า คตฺตา แปลว่า อวัยวะ

คือสรีระ. บทว่า จนฺทนุสฺสทา แปลว่า ผู้ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์.
บทว่า สูริยวณฺโณ ว โสภสิ ความว่า ท่านเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส
ดุจพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ. บาลีว่า อรณวณฺณี ปภาสสิ ดังนี้
ก็มี. บทว่า อรณํ ความว่า มีสีเสมอกับเทพผู้ไม่มีความหม่นหมอง
คือ เป็นแดนอันประเสริฐ.

บทว่า ปาริสชฺชา แปลว่า ผู้นับเนื่องในบริษัท อธิบายว่า
ผู้อุปัฏฐาก. บทว่า ตุวํ แปลว่า ท่าน. บทว่า โลมหํสนรูปวา
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยรูป อันให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น. จริงอยู่
คำว่า โลมหํสนรูปวา นี้ ท่านกล่าวไว้ เพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า อุกฺกจฺจ แปลว่า ตัด
อธิบายว่า เฉือน.

บทว่า อจาริสํ แปลว่าได้เที่ยวไปแล้ว คือได้ดำเนินไปแล้ว.
บทว่า เปสุฺมุสาวาเทน แปลว่า ด้วยความเป็นผู้พูดส่อเสียด
และพูดคำเท็จ. บทว่า นิกติวญฺจนาย จ ได้แก่ ด้วยการพลาง
และล่อลวง คือ ด้วยการล่อลวง โดยทำให้แปลกแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยแสดงของเทียม.

บทว่า สจฺจกาเล คือ ในกาลอันสมควรเพื่อจะกล่าวคำสัตย์.
บทว่า อตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล อันต่างด้วยประโยชน์ใน
ปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ เหตุ คือ สิ่งที่ควร. บทว่า
นิรากตฺวา ได้แก่ ทิ้ง คือละ. บทว่า โส ได้แก่สัตว์ผู้ประพฤติ
วจีทุจจริตมีการพูดส่อเสียดเป็นต้น. คำที่เหลือทั้งหมด มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถากูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
เรื่องแห่งเปรตผู้ติเตียนพระธาตุนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนฺตลกฺขสฺมึ
ติฏฺ€นฺโต ดังนี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ในระหว่างนางรัง
ทั้งคู่ ณ สาลวโนทยาน แห่งมัลลกษัตริย์ อันเป็นที่แวะเวียน ใน
กรุงกุสินารา และทำการจำแนกพระธาตุพระเจ้าอชาตสัตตุ ทรง
ถือเอาการส่วนพระธาตุที่พระองค์ได้ ทรงระลึกถึงพระพุทธคุณ
๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แล้วให้การบูชาอันโอฬารเป็นไป.

พวกมนุษย์ในที่นั้น นับไม่ได้ประมาณไม่ได้ พากันทำจิต
ให้เลื่อมใส ได้เข้าถึงสวรรค์. ก็บุรุษประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน ในที่นั้น
มีจิตวิปปลาส เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา และเพราะความเห็น
ผิดที่ตนให้เกิดตลอดกาลนาน ประทุษร้ายจิตของตนแม้ในฐานะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แล้วเกิดในหมู่เปรต. ภรรยา ธิดา
ลูกสะใภ้ของกุฏมพี ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์

นั้นนั่นเอง มีจิตเลื่อมใส พากันคิดว่า จักถวายบูชาพระธาตุ จึง
ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น เริ่มไปยังที่บรรจุ
พระธาตุ. กฎุมพีนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการบูชากระดูก
จึงดูหมิ่นพระธาตุเหล่านั้น ติเตียนการบูชาพระธาตุ. หญิงเหล่านั้น
ก็ไม่เชื่อคำของกฎุมพีนั้น พากันไปในที่นั้น กระทำการบูชาพระธาตุ

มายังเรือนถูกโรคเช่นนั้นครอบงำ ไม่นานนักก็ทำกาละไปบังเกิด
ในเทวโลก. ส่วนกฎุมพีนั้นถูกความโกรธครอบงำ ไม่นานนักทำ
กาละแล้ว ไปบังเกิดในหมู่เปรตเพราะบาปกรรมนั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านมหากัสสปะปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร
โดยประการที่พวกมนุษย์เห็นเปรตเหล่านั้น และเทวดาเหล่านั้น
ก็ครั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว ยืนอยู่ที่ลานเจดีย์ ถามเปรตผู้ติเตียน
พระธาตุนั้นด้วย ๓ คาถา เปรตนั้น ได้พยากรณ์แก่ท่านแล้ว.
พระเถระถามว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2019, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
และหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกินปากอันมีกลิ่น
เหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนทำอะไรไว้ เพราะ
การฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้น นายนิรยบาลถือ
เอาศาตรามาเฉือนปากของท่านเนือง ๆ รดท่าน
ด้วยน้ำแสบด้วยเชือดเนื้อไปพลาง ท่านทำกรรม
ชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบาก
แห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบความทุกข์
อย่างนี้.
เปรตนั้นตอบว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อนกระผมเป็น
อิสรชนอยู่ที่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์มีภูเขา
ล้อมรอบ (เบญจคีรีนคร) เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์
และข้าวเปลือกมากมาย แต่กระผมได้ห้ามปราม
ภรรยา ธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม ซึ่งพากัน
นำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่า
มิได้ ไปสู่สถูปเพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้

แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์
และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ
๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียนการบูชาพระสถูป
ก็เมื่อการบูชา และการฉลองพระสถูปของพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอันมหาชนให้เป็นไป
อยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษแห่งการบูชาพระ-
สถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้น พึงห่างเหิน
จากบุญ ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่ง

ทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกาย เหาะมาทางอากาศ
เหล่านี้ เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศ
เสวยอยู่ ซึ่งวิบากแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชน
ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์
น่าขนพองสยองเกล้า อันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อม
ทำการนอบน้อม วันทาพระมหามุนีนั้น กระผม
ไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็น
ผู้ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองนิตย์เป็น
แน่แท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุคฺคนฺโธ ได้แก่ ผู้มีกลิ่นไม่น่า
ปรารถนา. อธิบายว่า มีกลิ่นเหมือนกลิ่นซากศพ. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป. บทว่า ตโต ความว่า
นอกเหนือจากกลิ่นเหม็นฟุ้งไปและถูกหมู่หนอนพากันบ่อนฟอนกิน.
บทว่า สตฺถํ คเหตฺวาน โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุนํ ความว่า สัตว์
ทั้งหลายถูกกรรมตักเตือน จึงเอาศาตราอันลับคม ผ่าปากแผลนั้น

บ่อย ๆ. บทว่า ขาเรน ปริปฺโผสิตฺวา โอกฺกนฺตนฺติ ปุนปฺปุนํ ความว่า
ถูกรดด้วยน้ำแสบในที่ที่ถูกผ่าแล้วก็เชือดเนื้อไปพลาง.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อิสฺสโร ธนธฺสฺส สุปหูตสฺส ความว่า เป็นใหญ่ คือ
เป็นเจ้าของทรัพย์และธัญญาหารมากมายยิ่ง อธิบายว่า เป็นคน
มั่งคั่งมีทรัพย์มาก.
บทว่า ตสฺสายํ เม ภริยา จ ธีตา จ สุณิสา จ ความว่า ใน
อัตภาพก่อน ผู้นี้เป็นภรรยา เป็นธิดา เป็นลูกสะใภ้ของกระผม
นั้น. เปรตกล่าวแสดงว่า หญิงเหล่านั้นเป็นเทวดายืนอยู่ในอากาศ.
บทว่า ปจฺจคฺฆํ แปลว่า ใหม่. บทว่า ถูปํ หรนฺติโย วาเรสึ
ความว่า ข้าพเจ้าติเตียนพระธาตุห้ามหญิงเหล่านั้นผู้น้อมเข้าไป
เพื่อบูชาพระสถูป. ด้วยคำว่า ตํ ปาปํ ปกตํ มยา นี้ เปรตถึงความ
เดือดร้อน กล่าวว่า ความชั่วในการติเตียนพระธาตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้กระทำ คือประพฤติอยู่เสมอ.

บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ได้แก่ ประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน.
เปรตกล่าวร่วมเปรตเหล่านั้นกับตนว่า มยํ. แปลว่า พวกเรา. บทว่า
ปจฺจตฺตเวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนาที่กำลังครอบงำอยู่เป็นแผนก ๆ. ด้วย
บทว่า นิรเย เปรตกล่าวเปตวิสัยให้เหมือนกับนรก เพราะมีทุกข์หนัก.

บทว่า เย จ โข ถูปปูชาย วตฺตนฺเต อรหโต มเห ความว่า เมื่อ
การฉลอง การบูชา อุทิศสถูปของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น
ไปอยู่ ชนเหล่าใดประกาศอาทีนพ คือ โทษ ในการบูชาพระสถูป
เหมือนข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายพึงเลือกเฟ้นบุคคลเหล่านั้นจากบุญนั้น.
เปรตประกาศความที่ตนเป็นผู้เสื่อมใหญ่ โดยอ้างผู้อื่นว่าพึงยังบุคคล
ผู้เหินห่างจากบุญให้เกิด.

บทว่า อายนฺติโย แปลว่า ผู้มาทางอากาศ. บทว่า
มาลาวิปากํ ได้แก่ วิบาก คือผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ที่ทำไว้
ในพระสถูป. บทว่า สมิทฺธา ได้แก่ สำเร็จด้วยทิพยสมบัติ.
บทว่า ตา ยสสฺสิโน ได้แก่ หญิงเหล่านั้นมีบริวาร.

บทว่า ตญฺจ ทิสฺวาน ความว่า เห็นผลพิเศษอันโอฬารยิ่ง
อันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ของบุญอันเกิด
จากการบูชาอันนิดหน่อยยิ่งนักนั้น. บทว่า นโม กโรนฺติ สปฺปฺา
วนฺทนฺติ ตํ มหามุนึ ความว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ หญิงเหล่านี้
ย่อมไหว้ย่อมอภิวาท อธิบายว่า กระทำการนอบน้อม และกระทำ
นมัสการท่านผู้เป็นบุญเขตอันสูงสุด.

ลำดับนั้น เปรตนั้นมีใจสลด เมื่อจะแสดงกรรมที่ตนพึง
กระทำต่อไป อันควรแก่ความสลดใจ จึงกล่าวคาถาว่า โสหํ นูน
ดังนี้เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น.
ท่านพระมหากัสสปะผู้อันเปรตกล่าวอย่างนี้ จึงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัท ผู้ถึงพร้อม
แล้ว.
จบ อรรถกถาธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มหาวรรคที่ ๔
อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑
เรื่องอัมพสักขรเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เวสาลี นาม นครตฺถิ
วชฺชีนํ ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า อัมพสักขระ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ ครองราชย์ในเมืองเวสาลี.

ก็สมัยนั้น ในพระนครเวสาลี มีเปือกตมอยู่ในที่ใกล้ร้าน
ตลาดของพ่อค้าคนหนึ่ง. ชนเป็นอันมากในที่นั้น โดดข้ามไปลำบาก
บางคนเปื้อนโคลน. พ่อค้านั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า คนเหล่านี้อย่า
เหยียบเปือกตม จึงให้นำกระดูกศีรษะโคอันมีส่วนเปรียบด้วย
สีสังข์ปราศจากกลิ่นเหม็น มาวางทอดไว้. ก็ตามปกติ เขาเป็นคน
มีศีลไม่มักโกรธ มีวาจาอ่อนหวาน และระบุถึงคุณตามความเป็น
จริงของคนเหล่าอื่น.

วันนั้น เมื่อสหายของตนอาบน้ำ ไม่แลดูด้วยความเลินเล่อ
เขาจึงซ่อนผ้านุ่งไว้ด้วยความประสงค์จะล้อเล่น ทำให้เขาลำบาก
เสียก่อนจึงได้ให้ไป. ก็หลานของเขาขโมยภัณฑะมาจากเรือนของ
คนอื่น แล้วทิ้งไว้ที่ร้านของเขานั่นเอง. เจ้าของภัณฑะเมื่อตรวจดู
จึงแสดงหลานของเขาและตัวเขาพร้อมทั้งภัณฑะแก่พระราชา.

พระราชาสั่งบังคับว่า พวกท่านจงตัดศีรษะผู้นี้ ส่วนหลานของเขา
จงเสียบหลาวไว้. พวกราชบุรุษได้กระทำดังนั้น. เขาทำกาละ
แล้วเกิดในภุมเทพ ได้เฉพาะม้าอาชาไนยทิพ มีสีขาว มีความเร็ว
ทันใจ เพราะเอาศีรษะโคทำสะพาน และเพราะการกล่าวสรรเสริญ
คุณของผู้มีคุณ กลิ่นทิพจึงฟุ้งออกจากกายของเขา แต่เขาได้เป็น

ผู้เปลือยกาย เพราะเก็บผ้าสาฎกซ่อนไว้ เขาตรวจดูกรรมที่ตน
ทำไว้ในกาลก่อน เห็นหลานของตนถูกเสียบหลาวโดยทำนองนั้น
ถูกความกรุณากระตุ้นเตือน จึงขึ้นม้ามีฝีเท้าเร็วทันใจ ในเวลา
เที่ยงคืน ก็ถึงสถานที่ที่หลานนั้นถูกเสียบไว้บนหลาว จึงยืนอยู่
ในที่ไม่ไกล กล่าวทุกวัน ๆ ว่า จงมีชีวิตอยู่เถอะ พ่อผู้เจริญ ชีวิต
เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็สมัยนั้น พระเจ้าอัมพสักขระเสด็จบนคอช้างเชือกประเสริฐ
เสด็จเลียบพระนคร ทรงเห็นหญิงคนหนึ่งเปิดหน้าต่างในเรือน
หลังหนึ่งผู้กำลังดูสมบัติของพระราชา ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ จึงให้
สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังอาสนะว่า ท่านจงใคร่ครวญเรือนนี้และ
หญิงนี้ ดังนี้แล้วเสด็จเข้าพระนิเวศน์ของพระองค์โดยลำดับ ส่ง
บุรุษนั้นไป โดยให้รู้ว่า ไปเถอะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนั้นมีสามี

หรือไม่. เขาไป รู้ว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว จึงกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาเมื่อทรงคิดถึงอุบายที่จะครอบครองหญิงนั้น จึงรับสั่งให้
เรียกสามีของนางมา แล้วตรัสว่า มาเถอะ พนาย เธอจงอุปัฏฐาก
เรา. เขาแม้จะไม่ปรารถนาก็รับอุปัฏฐากพระราชา เพราะกลัวว่า
เมื่อเราไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ พระราชาก็จะลง
ราชทัณฑ์ จึงได้ไปอุปัฏฐากพระราชาทุกวัน ๆ. ฝ่ายพระราชา

ก็ได้ประทานบำเหน็จรางวัลแก่เธอ โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ก็ได้
ตรัสกะเธอผู้มายังที่บำรุงแต่เช้าตรู่ อย่างนี้ว่า ไปเถอะ พนาย
ในที่โน้น มีสระโบกขรณีลูกหนึ่ง เธอจงนำดินสีอรุณ และดอก
อุบลแดง จากสระโบกขรณีนั้นมา ถ้าเธอไม่มาภายในวันนี้ ชีวิต
ของเธอจะหาไม่. ก็เมื่อเขาไปแล้ว จึงตรัสกะคนผู้รักษาประตูว่า
วันนี้ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัศดงคต เธอจงปิดประตูทุกด้าน.

ก็สระโบกขรณีนั้นอยู่ในที่สุด ๓๐๐ โยชน์ แต่กรุงเวสาลี
อนึ่ง บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม จึงถึงสระโบกขรณีนั้นแต่เช้า
ทีเดียว เพราะกำลังเร็วของลม เพราะได้สดับตรับฟังมาก่อนว่า
สระโบกขรณีนั้น อมนุษย์หวงแหน เพราะความกลัว เขาจึงเดิน
เวียนไปรอบ ๆ ด้วยคิดว่า ในที่นี้ จะมีอันตรายอะไร ๆ หรือไม่หนอ.

อมนุษย์ผู้รักษาสระโบกขรณีเห็นเขาแล้ว เกิดความกรุณา แปลง
เป็นมนุษย์เข้าไปหาแล้วกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านมาที่นี้เพื่อ
ประโยชน์อะไร เขาก็ได้เล่าเรื่องนั้นให้อมนุษย์นั้นฟัง. อมนุษย์นั้น
จึงกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงถือเอาตามต้องการเถิด
ดังนี้แล้วจึงแสดงรูปทิพของตนแล้วหายไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เขาถือเอาดินสีอรุณและดอกอุบลแดงในสระโบกขรณีนั้น
ถึงประตูพระนครในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคตเลย. ผู้รักษา
ประตูเห็นเขาแล้ว เมื่อเขาร้องบอกอยู่นั่นแหละ ก็ปิดประตูเสีย.
เมื่อประตูถูกปิด เขาเข้าไปไม่ได้ เห็นบุรุษผู้อยู่บนหลาวใกล้ประตู
จึงได้กระทำให้เป็นสักขีพยานว่า คนเหล่านี้ เมื่อเรามาถึงในเมื่อ
พระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต ร้องขออยู่นั้นเอง ก็ปิดประตูเสีย ถึง
ท่านก็จงรู้เถิดว่า เรามาทันเวลา เราไม่มีโทษ. บุรุษผู้อยู่บนหลาว

ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า เราถูกร้อยหลาว เขาจะฆ่า บ่ายหน้าไปหา
ความตาย จะเป็นพยานให้ท่านได้อย่างไร. ก็ในที่นี้ เปรตตนหนึ่ง
มีฤทธิ์มากจักมาที่ใกล้เรา ท่านจงทำเปรตนั้นเป็นพยานเถิด. บุรุษ
นั้นถามว่า เราจะเห็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนนั้นได้อย่างไร. บุรุษ
ผู้อยู่บนหลาวกล่าวว่า ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ ท่านจักเห็นด้วย

ตนเอง. เขายืนอยู่ในที่นั้น เห็นเปรตนั้นมาในมัชฌิมยาม จึงได้
ทำให้เป็นพยาน. ก็เมื่อราตรีสว่าง เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่าน
ล่วงอาญาของเรา เพราะฉะนั้น เราจะลงราชทัณฑ์แก่ท่าน บุรุษ
นั้นจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้ล่วงอาชญาของ
พระองค์ ข้าพระองค์มาในที่นี้ ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต

เลย พระราชาตรัสถามว่า ในข้อนั้น ใครเป็นพยานให้เธอ. บุรุษ
นั้น จึงอ้างถึงเปรตเปลือย ผู้มายังสำนักของบุรุษผู้ถูกหลาวร้อย
นั้นว่า เป็นพยาน เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ข้อนั้นเราจะเชื่อได้
อย่างไร จึงทูลว่า วันนี้ ในเวลาราตรี พระองค์จงส่งบุรุษผู้ควร
เชื่อได้ไปกับข้าพระองค์. พระราชาได้สดับดังนั้น จึงเสด็จไปใน

ที่นั้นพร้อมกับบุรุษนั้นด้วยพระองค์เอง แล้วประทับยืนอยู่ และ
เมื่อเปรตมาในที่นั้นกล่าวว่า จงเป็นอยู่เถิด ผู้เจริญ ชีวิตเท่านั้น
ประเสริฐกว่า จึงทรงสอบถามเปรตนั้นด้วยคาถา ๕ คาถา โดยนัย
มีอาทิว่า การนอน การนั่ง ไม่มีแก่ผู้นี้ ดังนี้. ก็ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เพื่อจะแสดงความสัมพันธ์แห่งคาถาเหล่านั้น พระสังคีติกาจารย์
จึงได้ตั้งคาถาว่า เวสาลิ นาม นครตฺถิ วชฺชีนํ ความว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีนครชาววัชชีนครหนึ่ง นามว่าเวสาลี
ในนครเวสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่า
อัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง
ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบ
เหตุ จึงตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การ
นอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม การดื่ม
การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของคนผู้ถูก

เสียบไว้บนหลาวนี้ ย่อมไม่มีชนเหล่าใดผู้เป็น
ญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็นเคยฟังร่วมกันมา
เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาล
ก่อน เดี๋ยวนี้คนเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมเยียนบุคคล
นั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติเป็นต้นสละแล้ว
มิตรสหาย ย่อมไม่มีแก่คนผู้ตกยาก พวกมิตร-

สหายทราบว่า ผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น
และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พากันไปห้อมล้อม
คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน
บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคือง
ด้วยโภคะ ย่อมหามิตรสหายยาก นี้เป็นธรรมดา
ของโลก บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อน

เลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับ
ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่
บนปลายหญ้าคา ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่าง
ยิ่ง นอนหงายบนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิต
อยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2019, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเมืองเวสาลีนั้น.
บทว่า นครสฺส พาหิรํ ได้แก่ มีอยู่ในภายนอกพระนคร คือ เกิด
เป็นไป เกี่ยวพันกันในภายนอกแห่งนครเวสาลีนั่นเอง. บทว่า
ตตฺเถว คือ ในที่ที่ตนเห็นเปรตนั้นนั่นแล บทว่า ตํ โยค ตํ เปตํ
แปลว่า ซึ่งเปรตนั้น. บทว่า การณตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้มีความต้องการ
ด้วยเหตุเพื่อผลดังกล่าวว่า จงมีชีวิตอยู่เถิด ท่านผู้เจริญ การมีชีวิต
อยู่นั่นแหละ ประเสริฐ.

บทว่า เสยฺยา นิสชฺชา นยิมสฺส อตฺถิ ความว่า การนอนมี
การเหยียดหลังเป็นลักษณะ และการนั่งมีการนั่งคู้บัลลังก์เป็น
ลักษณะ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ถูกหลาวเสียบนี้ได้. บทว่า อภิกฺกโม
นตฺถิ ปฏิกฺกโม จ ความว่า การไปมีการก้าวไปข้างหน้า แม้เพียง
เล็กน้อย ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้. บทว่า ปริจาริกา สาปิ ความว่า แม้หญิง
ผู้บำรุงบำเรออินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว

การนุ่งผ้า และการใช้สอย เป็นต้น แม้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปริหรณา สาปิ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า แม้
หญิงผู้บริหารอินทรีย์ด้วยสามารถแห่งการบริโภคมีของกิน เป็นต้น
ก็ไม่มีแก่ผู้นี้ เพราะเป็นผู้ปราศจากชีวิต, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ปริจารณา สาปิ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทิฏฺ€สุตา สุหชฺชา อนุกมฺปกา ยสฺส อเหสุํ ปุพฺเพ
ความว่า ผู้ที่มีคนเป็นสหายเคยเห็นกันมา และไม่เคยเห็นกันมา
เป็นมิตร มีความเอ็นดู ได้มีในกาลก่อน. บทว่า ทฏฺ€ุมฺปิ ความว่า
บุคคลเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมก็ไม่ได้ คือ การอยู่ร่วมกัน จักมีแต่ที่ไหน.
บทว่า วิราชิตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาวะ อันญาติเป็นต้นสละแล้ว.
บทว่า ชเนน เตน ได้แก่ อันชนมีชนผู้เป็นญาติเป็นต้นนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร