วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า พีชูปมํ เทยฺยธมฺมํ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปปลาส,
อธิบายว่า ไทยธรรมเป็นเหมือนพืช. จริงอยู่ คำว่า เทยฺยธมฺมํ นี้
เป็นชื่อของวัตถุที่จะพึงให้ ๑๐ อย่าง มีข้าวและน้ำเป็นต้น. บทว่า
เอตฺโต นิพฺพตฺตเต ผลํ ความว่า ผลแห่งทาน ย่อมบังเกิด และเกิดขึ้น
จากการบริจาคไทยธรรมของทายกแก่ปฏิคาหกนั้น และย่อมเป็นไป
ด้วยอำนาจการสืบเนื่องตลอดกาลนาน.

ก็ในที่นี้ เพราะเหตุที่วัตถุมีข้าวและน้ำเป็นต้น ที่จัดแต่งด้วย
เจตนาเครื่องบริจาค ไม่ใช่ภาวะแห่งวัตถุนอกนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงจัดไทยธรรมด้วยศัพท์ว่า พีชูปมํ เทยฺยธมฺมํ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น


พึงเห็นเจตนาเครื่องบริจาค ซึ่งมีไทยธรรมวัตถุเป็นอารมณ์นั่นแหละ
ว่าเป็นพืช โดยอ้างถึงไทยธรรม. จริงอยู่ เจตนาเครื่องบริจาคนั้น
ให้สำเร็จผลต่างด้วยปฏิสนธิเป็นต้น และต่างด้วยอารมณ์อันเป็น
นิสสัยปัจจัย แห่งปฏิสนธิเป็นต้นนั้น ไม่ใช่ไทยธรรมแล.

บทว่า เอตํ พีชํ กสี เขตฺตํ ได้แก่ พืชตามที่หว่านแล้ว
และนาตามที่กล่าวแล้ว. อธิบายว่า กสิ กล่าวคือประโยคในการ
หว่านพืชนั้น ในนานั้น. การหว่านทั้ง ๓ อย่างนั้น จำปรารถนา
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า เปตานํ ทายกสฺส จ เป็นต้น. ถ้าทายก
ให้ทานอุทิศให้เปรตทั้งหลาย. แก่พวกเปรต และทายก. ถ้าไม่ให้

ทานอุทิศให้พวกเปรต, อธิบายว่า พืชนั้น การหว่านนั้น และนานั้น
ย่อมมีเพื่อความอุปการะแก่ทายกเท่านั้น. บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึง
อุปการะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พวกเปรต ย่อมบริโภคผลนั้น ผู้ให้
ย่อมเจริญด้วยบุญ ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2019, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ เปตา ปริภุญฺชนฺติ ความว่า
เมื่อทายก ถวายทานอุทิศพวกเปรต เมื่อนา การหว่าน และพืช
ตามที่กล่าวแล้วสมบูรณ์ และมีการอนุโมทนา พวกเปรตย่อมบริโภค
ผลทานที่สำเร็จแก่เปรต. บทว่า ทาตา ปุฺเน วฑฺฒติ ความว่า

แต่ผู้ให้ ย่อมเจริญด้วยผลแห่งบุญมีโภคสมบัติเป็นต้น ในเทวดาและ
มนุษย์ อันมีบุญที่สำเร็จจากทานของตนเป็นนิมิต. จริงอยู่ แม้ผล
แห่งบุญ ท่านก็เรียกว่า บุญ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อน ภิกษุ
ทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งการสมาทาน
กุศลธรรม.

บทว่า อิเธว กุสลํ กตฺวา ความว่า สั่งสมบุญอันสำเร็จ
ด้วยทาน ด้วยอำนาจการอุทิศแก่พวกเปรต ชื่อว่า กุศล เพราะ
อรรถว่า ไม่มีโทษและมีสุขเป็นผล ในอัตตภาพนี้เอง. บทว่า
เปเต จ ปฏิปูชิย ความว่า ต้อนรับด้วยทานอุทิศเปรต ให้เปรต
เหล่านั้น พ้นจากทุกข์ที่เสวยอยู่. จริงอยู่ ทานที่ให้อุทิศเปรต เป็น
อันชื่อว่า บูชา เปรต เหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็การบูชา ที่พวกญาติ ทำแล้วแก่พวกเรา และว่า การบูชา อัน
ยิ่งใหญ่ ที่พวกญาติทำแล้ว แก่พวกเปรต. ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า
เปเต จ นี้ จัดเข้าในอานิสงส์แห่งทาน ที่เป็นปัจจุบัน มีอาทิอย่างนี้
ว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ถึงใจ เป็นที่ไว้วางใจ
เป็นผู้ยกย่อง เป็นผู้ที่ควรเคารพ และเป็นผู้อันวิญญูชนควรสรรเสริญ

ควรระบุถึง. บทว่า สคฺคญฺจ กมติฏฺ€านํ กมฺมํ กตฺวาน ภทฺทกํ
ความว่า กระทำกัลยาณกรรม คือกุศลกรรม ย่อมก้าวถึง คือเข้าถึง
ด้วยอำนาจการเข้าถึงเทวโลก อันเป็นสถานที่เกิดของพวกคน
ผู้ได้ทำบุญไว้ อันได้นามว่า สวรรค์ เพราะมีอารมณ์ดี ด้วยฐานะ
๑๐ ประการ มี อายุทิพย์ เป็นต้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็ในบทเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า ทำกุศลแล้วกล่าวซ้ำว่า อัน
กระทำกรรมดี พึงเห็นว่า เพื่อจะแสดงว่า แม้การบริจาคธรรม
เป็นทาน โดยการให้ส่วนบุญ เหมือนการบริจาคไทยธรรม จัดเป็น
กุศลกรรมอันสำเร็จด้วยทานเหมือนกัน. ก็ในที่นี้ อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า พระอรหันต์ ท่านประสงค์เอาว่า เปรต. คำนั้นเป็นเพียง

มติของเกจิอาจารย์เหล่านั้น เพราะที่มาว่าพระขีณาสพนั้น เป็น
เปรตไม่มีเลย เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น ไม่ประกอบภาวะ
มีพืชเป็นต้น เหมือนทายก และเพราะผู้เกิดในกำเนิดเปรตมีภาวะ
มีพืชเป็นต้นประกอบไว้.
ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ตั้งต้นแต่เทพบุตรและ
นางสุลสา ได้ตรัสรู้ธรรมแล้วแล.
จบ อรรถกถาเขตตูปมาเปตวัตถุที่ ๑

อรรถกถาสูกรเปตวัตถุที่ ๒
เมื่อพระศาสดา ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน
พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปวิหาร ทรงปรารภเปรตผู้มีหน้าเหมือน
สุกรตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สำรวมทางกาย
แต่ไม่สำรวมทางวาจา ด่าปริภาษภิกษุทั้งหลาย มรณภาพแล้ว
ไปบังเกิดในนรก ไหม้ในนรกนั้น สิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากนรก
นั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นเปรต ถูกความหิวกระหาย

ครอบงำ ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นนั่นแล ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
ใกล้กรุงราชคฤห์. ร่างของเปรตนั้นได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หน้า
ของเปรตนั้น เหมือนหน้าสุกร. ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ อยู่ที่
เขาคิชฌกูฏ ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ ถือบาตรและจีวร กำลังเที่ยง
บิณฑบาต ยังกรุงราชคฤห์ พบเปรตนั้นในระหว่างทาง เมื่อจะ
ถามถึงกรรมที่เปรตนั้นทำ จึงกล่าวคาถาว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ รัศมีกาย
ของท่านสว่างไสวไปทุกทิศ แต่หน้าของท่าน
เหมือนหน้าสุกร เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไร
ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย เต สพฺพโส วณฺโณ ความว่า
กายคือร่างของท่าน ล้วนมีสีดุจทองคำ คือ คล้ายทองคำที่สุกปลั่ง.
บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ความว่า รัศมีกายของเขาสว่างไสว
โชติช่วง ไปโดยรอบทั่วทุกทิศ. อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า บทว่า
โอภาสเต นี้ มีเหตุเป็นเครื่องหยั่งลงในภายในเป็นอรรถ พึงเห็น

ความว่า กายของท่านล้วนมีสีดุจทองคำ สว่างไสว โชติช่วงไปทั่ว
ทุกทิศ. บทว่า มุขํ เต สูกรสุเสว ได้แก่ ก็หน้าของท่านเหมือนสุกร,
อธิบายว่า หน้าของท่านเสมือนหน้าสุกร. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกรี
ปุเร ความว่า ท่านพระนารทะถามว่า เมื่อก่อน คือ ในอดีตชาติท่าน
ได้ทำกรรมเช่นไรไว้.

เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ตนทำอย่างนี้ เมื่อจะตอบ
ด้วยคาถา จึงกล่าวว่า :-
ข้าแต่ท่านนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้
สำรวมทางกาย แต่ไม่สำรวมทางวาจา เพราะ
เหตุนั้น รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นกับที่
ท่านเห็นอยู่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน สฺโต อาสึ ความว่า
ข้าพเจ้าสำรวม ด้วยการสำรวมทางกาย คือ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดี
ด้วยการสำรวมทางกายทวาร. บทว่า วาจายาสิมสฺโต ความว่า
แต่ข้าพเจ้าไม่ได้สำรวมทางวาจา คือ ได้เป็นผู้ประกอบด้วยการ
ไม่สำรวมทางวาจา. บทว่า เตน ได้แก่ เพราะการสำรวมและ

การไม่สำรวมทั้งสองอย่างนั้น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.
บทว่า เอตาทิโส วณฺโณ ได้แก่ รัศมีกายของข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นนี้
คือ เป็นเช่นกับที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละท่านนารทะ. มีวาจา
ประกอบความว่า ข้าพเจ้า มีกาย มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ มีสีดุจ
ทองคำ แต่มีหน้าเหมือนหน้าสุกร. ก็ วณฺณ ศัพท์ ในคาถานี้ พึง
เห็นว่า ใช้ในอรรถว่าผิวพรรณ และทรวดทรง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตถูกพระเถระถามอย่างนี้ ครั้นแก้คำถามนั้นแล้ว เมื่อ
จะทำความนั้นนั่นแหละให้เป็นเหตุแล้วตักเตือนพระเถระ จึงกล่าว
คาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านพระนารทะ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน สรีระของข้าพเจ้า ท่าน
เห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่า
ให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ แก้เป็น ตสฺมา แปลว่า
เพราะเหตุนั้น. บทว่า ตฺยาหํ ตัดเป็น เต อหํ. เปรตเรียกพระเถระ
ด้วยคำว่า นารทะ. บทว่า พฺรูมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะบอก. บทว่า
สามํ แปลว่า ข้าพเจ้าเอง. ด้วยบทว่า อิทํ เปรตกล่าวหมายถึง
ร่างกายของตน. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ ข้าแต่ท่านพระนารทะผู้เจริญ

เพราะเหตุที่ร่างกายของข้าพเจ้านี้ ตั้งแต่คอลงไปถึงกายท่อนล่าง
มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ กายท่อนบน มีทรวดทรงเหมือนสุกร
ที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จะขอกล่าว
เตือนท่าน. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า เธอกล่าวอย่างไร? เปรตจึงกล่าว
ว่า ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่าน
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
ปฏิเสธ. บทว่า มุขสา แปลว่า ด้วยปาก. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะ
ห้ามเนื้อความอื่น, อธิบายว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ จงอย่าทำกรรมชั่ว
ทางวาจาเลย. ด้วยบทว่า มา โข สูกรมุโข อหุ นี้ เปรตปฏิเสธ
เฉพาะเหตุ แม้โดยมุ่งถึงการปฏิเสธผลว่า หน้าสุกรเหมือนเราอย่า
ได้มีเลย ก็ถ้าว่าท่านเป็นคนปากกล้า พึงทำความชั่วด้วยวาจาไซร้

ท่านก็จะพึงเป็นผู้มีหน้าเหมือนสุกรโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น
ท่านอย่าทำความชั่วด้วยปากเลย.

ลำดับนั้น ท่านพระนารทะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร กราบทูลเนื้อความนั้น แด่
พระศาสดา ผู้ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๔. พระศาสดา ตรัสว่า
นารทะเมื่อก่อนแล เราได้เคยเห็นสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ
โทษอันต่ำทรามโดยอาการเป็นอเนก ซึ่งอาศัยวจีทุจจริต และ

อานิสงส์อันเกี่ยวด้วยวจีสุจริต จึงทรงแสดงธรรม. เทศนานั้น
ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้วแล.
จบ อรรถกถาสูกรเปตวัตถุที่ ๒

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปวิหาร
พระองค์ทรงปรารภเปรตผู้มีปากเน่า จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า นิพฺพํ
สุภํ ธาเรสิ วณฺณธาตุํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ยังมีกุลบุตร ๒ คน บวชในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ มีความ
ประพฤติขัดเกลา อยู่โดยความพร้อมเพรียงกัน ในอาวาสใกล้บ้าน
ตำบลหนึ่ง. ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยชั่ว ชอบส่อเสียด
เข้าไปยังสถานที่ที่อยู่ของภิกษุ ๒ รูปนั้น. พระเถระทำปฏิสันถาร
กับเธอ ให้ที่พัก ในวันที่ ๒ จึงพาเธอเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.

พวกมนุษย์เห็นท่านเหล่านั้นแล้ว ทำการนอบน้อมอย่างยิ่ง ใน
พระเถระเหล่านั้น ได้ต้อนรับ ด้วยอาหารมีข้าวยาคู และภัตรเป็นต้น.
เธอเข้าไปยังวิหารคิดว่า "โคจรคามนี้ ดีหนอ. และพวกมนุษย์ ก็มี
ศรัทธาเลื่อมใส ถวายบิณฑบาตแสนจะประณีต. ก็วิหารนี้ สมบูรณ์

ด้วยร่มเงาและน้ำ เราสามารถจะอยู่ในที่นี้ได้อย่างสบาย แต่เมื่อ
ภิกษุเหล่านี้ อยู่ในที่นี้เราก็จักอยู่ไม่สบาย จักอยู่เหมือนจะอยู่อย่าง
อันเตวาสิก เอาเถอะ เราจักทำโดยที่ภิกษุเหล่านี้แตกจากกันแล้ว
ไม่ได้อยู่ในที่นี้ต่อไป."

ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อพระมหาเถระให้โอวาทแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป
แล้ว เข้าไปยังที่พักของตน ภิกษุผู้มักส่อเสียด ยับยั้งอยู่ชั่วเวลาหนึ่ง
จึงเข้าไปหาพระมหาเถระ ไหว้แล้ว และเมื่อพระเถระถามว่า
ทำไม คุณมาผิดกาลเวลา จึงตอบว่า ครับ ผมมีเรื่องที่จะพูดอยู่
อย่างหนึ่ง พระเถระจึงอนุญาตว่า เล่าไปซิคุณ จึงเรียนว่า ท่านครับ

พระเถระผู้เป็นสหายของท่านนั่น ต่อหน้า (ท่าน) แสดงตนเหมือน
เป็นมิตร พอลับหลังก็กล่าวให้ร้ายคล้ายศัตรู. ถูกพระเถระถามว่า
เขาพูดว่าอย่างไร จึงเรียนว่า ฟังนะครับ พระมหาเถระรูปนั่น

กล่าวโทษท่านว่า เป็นผู้โอ้อวด มีมายา หลอกลวง เลี้ยงชีพด้วย
มิจฉาชีพ. พระเถระตอบว่า อย่าพูดอย่างนั้นซิคุณ, ภิกษุรูปนั้น
จักไม่ว่าเราถึงอย่างนั้น ตั้งแต่เวลาเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว เธอรู้สภาวะ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของเราว่า มีศีลเป็นที่รัก มีกัลยาณธรรม. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่าน
ครับ ถ้าท่านคิดอย่างนั้น เพราะค่าที่ตนมีจิตบริสุทธิ์ ข้อนั้นเหมาะ
แก่ท่านทีเดียว แต่ผมก็ไม่มีเวรกับพระมหาเถระนั้น ทำไม ผมจึง
จะได้กล่าวคำที่พระมหาเถระไม่กล่าวว่า กล่าว ช่างเถอะ ท่านเอง
นั่นแหละ จักรู้ในเวลาต่อไป. ฝ่ายพระเถระเกิดสองอกสองใจ
เพราะค่าที่ตนเป็นปุถุชน เกิดมีความรังเกียจว่า เห็นที่จะเป็นอย่าง

นั้น จึงได้คลายความไว้วางใจไปหน่อยหนึ่ง. ภิกษุนั้น เป็นคนพาล
ชั้นแรกยุยงพระมหาเถระแล้ว ไปยุยงพระเถระอีกรูปหนึ่ง โดย
นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ลำดับนั้น พระเถระทั้งสองนั้น ในวันที่ ๒
ไม่ได้พูดกัน ต่างถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ถือ
บิณฑบาตมาฉันในที่พักของตนนั่นเอง แม้มาตรว่าสามีจิกรรมก็
ไม่ยอมทำ ตลอดวันนั้น อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ และพอราตรีสว่าง
ไม่ยอมบอกกันและกันเลย ได้แยกกันไปสู่ที่ที่ตามความสำราญ.

ก็ภิกษุผู้มักรังเกียจ มีมโนรถเต็มเปี่ยม เข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้าน พวกมนุษย์เห็นเข้า พากันกล่าวว่า พระเถระทั้งหลายพากันไป
ไหนเสียครับ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระทั้งสองทะเลาะกันและกัน
ตลอดคืนยังรุ่ง ถึงอาตมาจะเตือนว่า อย่าทะเลาะกันเลยครับ จง
สามัคคีกันไว้เถิด ขึ้นชื่อว่า การทะเลาะกันมีแต่จะนำความพินาศ

มาให้ ก่อให้เกิดความทุกข์ในอนาคต เป็นทางแห่งอกุศล แม้คน
สมัยก่อน ก็เคยพลาดจากประโยชน์ใหญ่ เพราะการทะเลาะกัน ดังนี้
เป็นต้น ก็ไม่เชื่อคำของอาตมา พากันหลีกไป. ลำดับนั้น พวกมนุษย์
วิงวอนว่า ขอพระเถระจงไปก่อนเถอะ แต่ท่านอย่ารำคาญอยู่ในที่นี้

แหละ เพื่ออนุเคราะห์พวกกระผม. ท่านรับคำแล้ว อยู่ในที่นั้นนั่นเอง
ต่อมา ๒-๓ วัน จึงคิดว่า เรายุยงภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
ด้วยอยากเป็นเจ้าอาวาส เราขวนขวายแต่กรรมชั่วไว้มากหนอ จึงถูก
ความเดือดร้อนอย่างแรงกล้าเข้าครอบงำ เป็นไข้เพราะกำลังแห่ง
ความเศร้าโศก ไม่นานนักก็มรณภาพ บังเกิดในอเวจีมหานรก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระเถระผู้เป็นสหายกัน ๒ รูป เที่ยวจาริกไปในชนบท
มาพบกันในอาวาสแห่งหนึ่ง จึงปราศรัยกันและกัน จึงบอกคำยุยง
ที่ภิกษุนั้นพูดแก่กันและกัน รู้ว่าเรื่องนั้นไม่เป็นจริง จึงได้พร้อมกัน
กลับมายังอาวาสนั้นนั่นแล โดยลำดับ. พวกมนุษย์เห็นพระเถระ
ทั้ง ๒ รูปแล้ว พากันปลื้มใจ เกิดความดีใจ อุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔.
ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป เมื่ออยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีจิตเป็นสมาธิ เพราะ
ได้อาหารอันเป็นสัปปายะ เจริญวิปัสสนาแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุ
พระอรหันต์.

ภิกษุผู้มักส่อเสียด ไหม้ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นเปรตปากเน่า ไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์.
กายของเขา ได้มีสีเหมือนทองคำ. แต่หนอนไต่ออกจากปาก พากัน
เจาะกินปากข้างโน้นข้างนี้. กลิ่นปากของเปรตนั้นเหม็นฟุ้งขจาย
ไปทั่วอากาศตั้งไกล.
ลำดับนั้น ท่านนารทะ ขณะลงจากเขาคิชฌกูฏ พบเปรตนั้น
จึงถามถึงกรรมที่เธอกระทำไว้ ด้วยคาถานี้ว่า :-

ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ใน
อากาศกลางหาว แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น
หมู่หนอนพากันชอนไชอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรม
อะไรไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ แปลว่า เป็นทิพย์ คือนับ
เนื่องจากอัตตภาพของเทวดา. แต่ในที่นี้ชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็น

เหมือนของทิพย์. บทว่า สุภํ แปลว่า งาม, หรือ ความงาม. บทว่า
วณฺณธาตุํ ได้แก่ ผิวพรรณ. บทว่า ธาเรสิ แปลว่า นำไป. บทว่า
เวหายสํ ติฏฺ€สิ อนฺตลิกฺเข ได้แก่ ยืนอยู่ในกลางหาว ที่เข้าใจกันว่า
อากาศ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า วิหายสํ ติฏฺ€สิ อนฺตลิกฺเข

ดังนี้ แล้วกล่าวความของปาฐะนั้น โดยคำที่เหลือว่า ท่านยืนอยู่
กลางหาว ทำอากาศให้สว่างไสวอยู่. บทว่า ปูติคนฺธํ แปลว่า มีกลิ่น
เหมือนทรากศพ อธิบายว่า มีกลิ่นเหม็น. ด้วยบทว่า กึ กมฺมมกาสิ
ปุพฺเพ นี้ พระเถระถามว่า "หมู่หนอนชอนไชปาก ซึ่งมีกลิ่นเหม็น
อย่างยิ่งของเธอ, แต่กายของเธอมีสีเหมือนดังทองคำ ครั้งก่อน
เธอได้ทำกรรมเช่นไร อันเป็นเหตุแห่งอัตตภาพเช่นนี้ไว้."

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2019, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตนั้น ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่ตนทำอย่างนี้ เมื่อ
จะแก้ความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจา
ชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้มักกำจัด ไม่สำรวมปาก อนึ่ง
ผิวพรรณดังทอง ข้าพเจ้าได้แล้ว เพราะพรหม-
จรรย์นั้น แต่ปากของข้าพเจ้าเหม็น เพราะกล่าว
วาจาส่อเสียด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมโณ อหํ ปาโป ได้แก่ เราได้เป็น
สมณะลามก คือเป็นภิกษุลามก. บทว่า อติทุฏฺ€วาโจ แปลว่า เป็น
ผู้มีคำพูดชั่วช้ายิ่งนัก เป็นผู้กล่าวล่วงเกินผู้อื่น อธิบายว่า เป็นผู้
กล่าวกำจัดคุณของคนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อติทุกฺขวาโจ
ก็มี, อธิบายว่า ผู้มีวาจาหยาบคายอย่างยิ่ง คือ ยินดีแต่วจีทุจจริต

มีการกล่าวเท็จและกล่าวส่อเสียด เป็นต้น. บทว่า ตปสฺสิรูโป
แปลว่า เป็นสมณะเทียม. บทว่า มุขสา ได้แก่ ด้วยปาก. บทว่า
ลทฺธา ได้แก่ ได้เฉพาะแล้ว. จ อักษร เป็นสัมปิณฑนัตถะ แปลว่า
อนึ่ง. บทว่า เม แก้เป็น มยา แปลว่า อันเรา. บทว่า ตปสา ได้แก่
ด้วยพรหมจรรย์. บทว่า เปสุณิเยน ได้แก่ ด้วยปิสุณวาจา. บทว่า
ปูติ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็นเน่า.

เปรตนั้น ครั้นบอกกรรมที่ตนได้ทำไว้อย่างนั้นแล้ว บัดนี้
เมื่อจะตักเตือนพระเถระ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าแต่ท่านพระนารทะ รูปร่างของข้าพเจ้า
ท่านได้เห็นเองแล้ว ท่านผู้ฉลาดผู้อนุเคราะห์
กล่าวไว้ว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา
สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้า ผู้
สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยิทํ แปลว่า รูปร่างของเรานี้นั้น.
บทว่า อนุกมฺปกา เย กุสลา วเทยฺยํ ความว่า ท่านผู้ฉลาดในข้อปฏิ-
บัติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คือ ผู้ละเอียด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ผู้มีการอนุเคราะห์เป็นปกติ คือ ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา กล่าว
คำอันใดไว้ อธิบายว่า เราจะกล่าวคำอันนั้นนั่นแล. บัดนี้ เปรตนั้น
เมื่อจะตักเตือน จึงกล่าวว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดมุสา
สำรวมด้วยวาจาแล้ว ท่านจักได้เป็นเทพเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่
น่าปรารถนา ดังนี้.

คำนั้น มีอธิบายดังนี้ ท่านอย่าพูด คืออย่ากล่าว คำส่อเสียด
คือ คำยุยง และคำเท็จ. ก็ถ้าท่านละมุสาวาท และปิสุณวาจาได้แล้ว
สำรวมด้วยวาจา ท่านจักเป็นผู้อันเขาบูชา หรือเป็นเทพองค์ใด
องค์หนึ่ง ผู้ได้ทิพยสมบัติ ที่โอฬารอันน่าใคร่ น่าปรารถนาแล้ว
ใคร่ในทิพยสมบัตินั้น คืออภิรมย์อยู่ด้วยการบำเรออินทรีย์ ตาม
ความสบาย.

พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว แต่นั้นจึงไปยังกรุงราชคฤห์ เที่ยว
บิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหาร จึงกราบทูลความนั้น
แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัติเหตุ
แล้วแสดงธรรม. พระเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อม
แล้วแล.
จบ อรรถกถาปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓

อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุง-
สาวัตถี ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้
เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ดังนี้ :-

ได้ยินว่า พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่าน
อนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้า
เจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ. เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้ง
นั้นว่า เป็นลูกสาว. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตา
ตกแตก เพราะความเลินเล่อ. แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาว

เราตายแล้ว. เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคน ก็ไม่สามารถ
จะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบน
ปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. และท่าน
มหาเศรษฐี ก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. หญิงพี่เลี้ยง

ได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี. ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่า
เด็กหญิงนี้ร้องไห้ เพื่ออะไรกัน. พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน
เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้น นั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่า
ฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้วจึงกราบทูลแด่พระศาสดา
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทาน อุทิศแก่

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลานของข้าพระองค์, ขอพระองค์
พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป จงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
ครั้นในวันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป
เสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะทำ
อนุโมทนา จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิง
อยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก
ผู้มียศ คือท้าว ธตรฐ ๑ วิรุฬหก ๑ วิรูปักษ์ ๑
และท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทาน
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายก
ก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือความ

ร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้
เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลาย คงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆ
อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วใน
พระสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์ โดย
ฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้น สิ้นกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ความว่า
ปรารภ คือ อุทิศ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุมีเหตุที่เป็น
มงคลเป็นต้น. บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า
ชื่อว่า อมัจฉรี เพราะไม่มีความตระหนี่ อันมีลักษณะไม่อดทน
ต่อสมบัติของตนที่ทั่วไปกับผู้อื่น, อธิบายว่า ผู้มีปกติบริจาค ทำ

มลทินแห่งจิตมีมัจฉริยะและโลภะเป็นต้น ให้ห่างไกลแล้ว พึงให้ทาน.
บทว่า ปุพฺพเปเต จ อารพฺภ ได้แก่ อุทิศบุรพเปตชน. มีวาจาประกอบ
ความว่า บทว่า วตฺถุเทวตา ปรารภเทวดาผู้สิงอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ
มีที่เรือนเป็นต้น. ด้วยคำว่า อถ วา นี้ ทรงแสดงว่า ปรารภเปตชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเทวดาและมนุษย์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นแล้ว พึง
ให้ทาน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในคำเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเทพ
ผู้ปรากฏบางพวกในบรรดาเทพเหล่านั้นก่อน จึงตรัสว่า จตฺตาโร จ
มหาราเช เมื่อจะระบุเทพเหล่านั้น โดยชื่ออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า
กุเวรํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเวรํ ได้แก่ท้าวเวสสวรรณ.
บทว่า ธตรฏฐํ เป็นต้น เป็นชื่อของท้าวโลกบาลทั้ง ๓ ที่เหลือ.

บทว่า เต เจว ปูชิตา โหนฺติ ความว่า ก็ท้าวมหาราชเหล่านั้น และ
บุรพเปตชนและวัตถุเทวดา เป็นผู้อันเขานับถือ ด้วยการทำอุทิศ.
บทว่า ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า และทายกผู้ให้ทาน ย่อมไม่ไร้
ผล เพราะเหตุเพียงการอุทิศแก่เปตชนเหล่าอื่น ทั้งเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ผลทานของตนเหมือนกัน.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้น ของเหล่านั้น
ผู้ร้องไห้ ร่ำไร เศร้าโศก เพราะญาติของตนตายไป ไม่มีประโยชน์
เป็นแต่เพียงทำตนให้เดือดร้อนเท่านั้น จึงตรัสคาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า ร้องไห้
คือหลั่งน้ำตา. บาลีที่เหลือพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยบทว่า น หิ กาตพฺพํ.
บทว่า โสโก ได้แก่ ความเศร้าโศก คือ ความเร่าร้อนภายในใจ,

อธิบายว่า ความหม่นไหม้ในภายใน. บทว่า ยา จฺา ปริเทวนา
ได้แก่ ความพิไรรำพรรณอย่างอื่น จากการร้องไห้และความเศร้าโศก
อย่างหนึ่ง ได้แก่ การบ่นเพ้อด้วยวาจามีอาทิว่า ลูกคนเดียวอยู่
ไหน ? อธิบายว่า แม้การบ่นเพ้อด้วยวาจานั้น ก็ไม่ควรทำ. วา
ศัพท์ในบททั้งปวง เป็นวิกัปปัตถะ แปลว่า บ้าง, หรือ, ก็ดี,. บทว่า

น ตํ เปตสฺส อตฺถาย ความว่า เหตุมีอาทิว่า การร้องไห้ก็ดี ความ
เศร้าโศกก็ดี การร่ำไรก็ดี ทั้งหมดนั้น ไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะ
แก่ผู้ละไปแล้ว คือ ผู้ตายไปแล้ว ฉะนั้น เหตุมีการร้องไห้เป็นต้นนั้น
จึงไม่ควรทำ, อธิบายว่า แม้ถึงอย่างนั้น พวกญาติก็ไม่รู้เรื่องด้วยคง
ดำรงอยู่อย่างนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาครั้นทรงแสดงถึงเหตุแห่งทุกข์ธรรมมีการร้องไห้
เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทักษิณาที่ทายกปรารภ
บุรพเปรตเป็นต้น แล้วถวายแด่พระสงฆ์ว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์
จึงตรัสคาถาว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า อยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงถึงทานที่ทายก
ให้แล้วนั้น โดยประจักษ์จึงตรัสไว้. จ ศัพท์ เป็น พยติเรกัตถะ
แปลว่า อัน. ด้วย จ ศัพท์นั้น ย่อมส่องอรรถอันพิเศษเฉพาะที่

กำลังจะกล่าวว่า ทักษิณานี้ หาได้เป็นเหมือนเหตุมีการร้องไห้
เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ ผู้ละไปแล้วไม่ อันทักษิณานี้
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้จะไปแล้วนั้น ตลอดกาลนาน. ศัพท์ว่า
โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ แปลว่า ห้ามเนื้อความอื่น. บทว่า
ทกฺขิณา ได้แก่ ทาน. บทว่า สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺ€ิตา ได้แก่ ตั้งไว้ดีแล้ว

ในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส
ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้น ตลอดกาลนาน. บทว่า
€านโส อุปกปฺปติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จในขณะนั้นนั่นเอง, อธิบายว่า
ไม่ใช่ในกาลอื่น. จริงอยู่ นี้เป็นธรรมดาในข้อนั้นว่า หากเปรต
อนุโมทนาทาน ในเมื่อทายกถวายทานอุทิศเปรต เปรตก็จะหลุด
พ้นไปด้วยผลแห่งทานนั้น ในขณะนั้นนั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรง
กระทำให้มหาชนมีใจยินดียิ่งในทานที่อุทิศเปรตแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะ หลีกไป. วันรุ่งขึ้น ภริยาเศรษฐี และพวกญาติที่เหลือ
เมื่อคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๓ เดือน
ด้วยอาการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่ไปเรือนของหม่อมฉัน ประมาณ ๑ เดือนแล้ว.
เมื่อพระศาสดา ตรัสบอกเหตุนั้นแล้ว ฝ่ายพระราชาเมื่อจะทรง
คล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประธาน. ชาวเมืองเห็นดังนั้น เมื่อจะอนุวัตรตาม
พระราชา จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๑ เดือน. ชาวเมืองให้
มหาทาน ซึ่งมีตุ๊กตาแป้งเป็นเหตุเป็นไปตลอด ๒ เดือน ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕
พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภ
พวกเปรตเป็นอันมาก จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ติโรกุฑฺเฑสุ
ติฏฺ€นฺติ ดังนี้.

ในข้อนั้น มีกถาพิศดารดังต่อไปนี้ :- ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัททกัป
นี้ ได้มีนครหนึ่ง ชื่อว่า กาสี. พระราชาทรงประนามว่า ชัยเสน
ทรงครองราชสมบัติในพระนครนั้น. พระองค์ได้มีพระราชเทวี
ทรงพระนามว่า สิริมา. พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ บังเกิดใน
พระครรภ์ของพระนางแล้วตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ.

พระเจ้าชัยเสนเกิดความเห็นแก่ตัวขึ้นว่า บุตรของเรา ออกมหา-
ภิเนกษกรมเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระธรรม
เป็นของเรา พระสงฆ์ก็เป็นของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอุปัฏฐากด้วย
พระองค์เองทุก ๆ กาล ไม่ทรงให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่น.

พี่น้อง ๓ คน ผู้ต่างมารดากัน เป็นพระกนิฐภาดา ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พากันคิดว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์
เฉพาะบุคคลผู้เดียว และพระบิดาของพวกเราก็ไม่ยอมให้โอกาส
แก่ชนเหล่าอื่นเลย ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์นั้นได้มี

ความคิดอย่างนี้ว่า เอาเถิด พวกเราจะทำอุบายสักอย่างหนึ่งให้ได้.
พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้น ได้สร้างสถานการณ์ชายแดน ประหนึ่ง
ว่า เกิดการปั่นป่วน. แต่นั้น พระราชาทรงสดับว่า แถบชายแดน
เกิดความปั่นป่วน จึงได้ส่งพระโอรสทั้ง ๓ พระองค์ไปปราบ
ปัจจันตชนบท. พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้น ไปปราบให้ปัจจันตชนบท
สงบแล้วกลับมา. พระราชาทรงพอพระทัย ได้ประทานพรว่า

พวกลูกปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด. พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์
นั้น กราบทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระราชาตรัสว่า เ ว้นพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสีย เธอจง
เลือกเอาอย่างอื่นเถิด. พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นกราบทูลว่า พวก
ข้าพระองค์ไม่ต้องการสิ่งอื่น. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวก

เธอจงกำหนดเวลามาแล้วถือเอาเถิด. พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นทูลขอ
ถึง ๗ ปี พระราชาไม่ทรงอนุญาต. พี่น้อง ๓ พระองค์กราบทูลว่า
ขอ ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน
๔ เดือน จนกระทั่งขอเพียง ๓ เดือน ด้วยประการฉะนี้. ในกาลนั้น
พระราชาได้ทรงอนุญาตว่า จงถือเอาเถิด.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2019, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นเรื่องที่แปลกที่ผมไม่มีประสบการณ์เรื่องภูติผีปีศาจเลย .... ไม่ได้เชื่อหรือปฏิเสธว่ามีหรือไม่มี
เรื่องร้องให้ผมเป็นคนหนึ่งร้องให้ง่ายเหมือนคนอ่อนไหว ... แต่ร้องให้เมื่อมีความสุขตื้นตันใจเท่านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร