วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาเสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕
เรื่องเปรตผู้เป็นบุตรเศรษฐีนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สฏฺ€ิวสฺสสหสฺ-
สานิ ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันกรุงสาวัตถี
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงประดับตกแต่งแล้ว
เสด็จขึ้นคอช้างเผือกประเสริฐ เสด็จเลียบพระนครด้วยราชฤทธิ์
อันใหญ่ ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงทอดพระเนตรเห็นแล้ว หญิง
คนหนึ่ง มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสรเพราะสมบูรณ์ด้วยรูป
เปิดหน้าต่างชั้นบนปราสาท ในเรือนหลังหนึ่งแลดูการตบแต่ง
องค์พระราชานั้น มีจิตกลุ้มรุมด้วยความฟุ้งแห่งกิเลสที่เกิดขึ้น

โดยฉับพลันในอารมณ์ที่ไม่เคยเห็น แม้จะมีชนในพระราชวังผู้
สมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ มีตระกูล รูป และอาจาระเป็นต้น ก็มีจิต
ปฏิพัทธ์ในหญิงนั้น ด้วยอำนาจจิตที่ข่มได้ยาก เกิดเร็วดับเร็วเป็น
สภาวะ จึงได้ให้สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังพระอาศน์ว่า เธอจง
ตรวจดูปราสาทนี้และหญิงนี้ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์.
เรื่องอื่นทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่มาแล้วในเรื่องอัมพสักขรเปรต
นั้นแล.

ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- ในเรื่องนี้ บุรุษมาในเมื่อ
พระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต เมื่อเขาปิดประตูเมือง จึงวางดินสีอรุณ
และดอกอุบลที่ตนนำมา ไว้ที่บานประตูเมือง แล้วไปยังพระเชตวัน-
มหาวิหารเพื่อจะนอน. ฝ่ายพระราชาเสด็จเข้าที่ประทับบนที่บรรทม
อันเป็นศิริ ในเวลามัชฌิมยาม ได้ทรงสดับอักขระ ๔ ตัว เหล่านี้
คือ ส น ทุ โส ด้วยเสียงขรม เหมือนเปล่งออกด้วยลำคอใหญ่

ได้ยินว่า ในอดีตกาล เศรษฐีบุตร ๔ คน ชาวเมืองสาวัตถี มัวเมา
ด้วยความเมาในโภคทรัพย์ ได้ประสบอกุศลเป็นอันมาก ด้วยอำนาจ
กรรมที่ส้องเสพภรรยาคนอื่น ในเวลาเป็นหนุ่ม ภายหลังทำกาละ
แล้ว บังเกิดในโลหกุมภี ใกล้นครนั้นนั่นเอง ไหม้อยู่ถึงขอบปาก
โลหกุมภีประสงค์จะกล่าวคาถาคนละคาถา จึงได้กล่าวเพียงอักขระ
ต้นแห่งคาถาเหล่านั้นที่ตนเปล่งขึ้น ได้รับเวทนาก็กลับลงสู่โลหกุมภี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระราชาทรงสดับเสียงนั้น สดุ้งตกพระทัย ทรงสลด
เกิดขนพองสยองเกล้า ทรงให้ราตรีที่เหลือนั้นล่วงไปโดยลำบาก
พอราตรีสว่าง จึงรับสั่งให้เรียกปุโรหิตมาแล้วตรัสเล่าเรื่องนั้น.
ปุโรหิตเป็นคนติดลาภ รู้ว่าพระราชาสดุ้งตกพระทัย จึงคิดว่า
อุบายอันเป็นเหตุให้เกิดลาภแก่เราและแก่พวกพราหมณ์ เกิดขึ้น
แล้วแล จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช อุปัทวันตรายอย่างใหญ่หลวงนี้

เกิดขึ้นแล้วหนอ ขอพระองค์จงบูชายัญอันประกอบด้วยหมวด ๔
แห่งวัตถุทั้งปวง พระราชาทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงสั่ง
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เออ พวกเธอจงตระเตรียมอุปกรณ์ยัญ ๔ หมวด
แห่งวัตถุทั้งมวล. พระนางมัลลิกาเทวี ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทูล
พระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุไร พระองค์
ทรงสดับคำของปุโรหิตนั้นแล้ว จึงมีพระประสงค์จะกระทำกิจ คือ

การฆ่าและเบียดเบียนสัตว์เป็นอันมาก พระองค์ควรทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้มีพระญาณอันเที่ยวไปไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง มิใช่หรือ.
และพระองค์ควรปฏิบัติอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์
แก่พระองค์. พระราชาทรงสดับคำของพระเทวีแล้ว เสด็จไปเฝ้า
พระศาสดากราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร เหตุจากเสียงนั้นที่จะเป็นอันตราย
อะไร ๆ แก่พระองค์หามีไม่ ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสประวัติของสัตว์
ผู้เกิดในโลหกุมภีเหล่านั้น ตั้งแต่ต้นจึงได้ตรัสคาถาที่เปรตเหล่านั้น
เริ่มเปล่งแต่ละตน ให้บริบูรณ์ว่า :-

เมื่อพวกเราพากันหมกไหม้ในนรก หก-
หมื่นปีเต็มบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง เมื่อไร
ที่สุดจักมี.
ที่สุดไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดย่อม
ไม่ปรากฏ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เพราะเรากับท่าน
ได้ทำบาปกรรมไว้.
พวกเราเหล่าใดไม่ให้ของที่มีอยู่ พวกเรา
เหล่านั้นย่อมเป็นอยู่ลำบาก เมื่อไทยธรรมมีอยู่
พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน.
เรานั้นไปจากเปตโลกนี้ ได้กำเนิดเป็น
มนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สมบูรณ์ด้วยศีล ทำกุศลให้มากเป็นแน่.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิวสฺสสหฺสานิ แปลว่า หกหมื่น
ปี. ได้ยินว่าสัตว์ผู้เกิดในโลหกุมภีนรกนั้น จมลงไปเบื้องล่างถึงพื้น
ภายใต้ สามหมื่นปี แม้ขึ้นมาข้างบนจากพื้นล่างนั้นถึงส่วนขอบปาก
สามหมื่นปีเหมือนกัน, ด้วยสัญญานั้น เปรตนั้นประสงค์จะกล่าว
คาถาว่า สฏฺ€ิวสฺสสหสฺสานิ ปริปุณฺณานิ สพฺพโส พวกเราหมกไหม้
อยู่ในนรก หกหมื่นปีเต็มบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ดังนี้ จึง

กล่าวว่า ส ประสบเวทนาเกินประมาณ ล้มคว่ำหน้าลง. ก็พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ตรัสคาถานั้นให้บริบูรณ์แก่พระราชา. แม้ในคาถา
ที่เหลือก็นัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทา อนฺโต ภวิสฺสติ
ความว่า เมื่อพวกเราหมกไหม้อยู่ในโลหกุมภีนรก เมื่อไรหนอ
ที่สุดแห่งทุกข์นี้จักสิ้นสุดลง.

บทว่า ตถา หิ ความว่า ที่สุดแห่งทุกข์นี้ย่อมไม่มีแก่ท่าน
และแก่เรา ที่สุดจักไม่ปรากฏ ฉันใด พึงกล่าวเปลี่ยนวิภัติว่า ท่าน
กับเราได้กระทำกรรมอันลามกไว้ ฉันนั้น คือ โดยประการนั้น.
บทว่า ทุชฺชีวิตํ ได้แก่ ชีวิตอันวิญญูชนพึงติเตียน. บทว่า
เย สนฺเต ความว่า พวกเราเหล่าใด เมื่อไทยธรรมมีอยู่ คือปรากฏ
อยู่. บทว่า น ททมฺหเส แปลว่า ไม่ได้ให้แล้ว. เพื่อจะกระทำเรื่อง
ที่กล่าวแล้วนั้นแลให้ปรากฏชัด ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่
พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน ดังนี้.

บทว่า โสหํ ตัดเป็น โส อหํ แปลว่า เรานั้น. ศัพท์ว่า นูน
เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก. บทว่า อิโต ได้แก่ จากโลหกุมภี
นรกนี้. บทว่า คนฺตฺวา แปลว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า โยนึ ลทฺธาน
มานุสึ ได้แก่ ได้กำเนิดมนุษย์ คืออัตภาพมนุษย์. บทว่า วทฺู
ได้แก่ ผู้มีการบริจาคเป็นปกติ. หรือผู้รู้ถ้อยคำของผู้ขอ. บทว่า

สีลสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ. บทว่า กาหามิ
กุสลํ พหุํ ความว่า เราไม่ถึงความประมาทเหมือนในกาลก่อน
จักกระทำ คือก่อสร้างกุศล คือบุญกรรมไว้ให้มาก คือ ให้เพียงพอ.

พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว จึงทรงแสดง
ธรรมโดยพิสดาร เมื่อจบเทศนา บุรุษผู้นำดินเหนียวและดอก
อุบลแดง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระราชาทรงเกิดความสังเวช
ทรงละความเพ่งเล็งในหญิงที่ผู้อื่นหวงแหน ได้เป็นผู้ยินดีแต่ภรรยา
ของตน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาสัฏฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า กึ นุ
อุมฺมตฺตรูโปว ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ยังมีบุรุษเปลี้ยคน
หนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในการประกอบการดีดกรวด เขาถึงความสำเร็จ
ในศิลปการดีดกรวดนั้น นั่งอยู่ที่โคนต้นไทรใกล้ประตูพระนคร
แสดงรูปช้าง ม้า มนุษย์ รถ เรือนยอด ธง และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น
ที่ใบไทรด้วยการดีดกรวด พวกเด็กในพระนคร ให้ทรัพย์หนึ่งมาสก
และกึ่งมาสก เพื่อประโยชน์แก่การเล่นของตน ให้เขาแสดงศิลป
เหล่านั้น ตามความชอบใจ

ภายหลังวันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสี เสด็จออกจากพระนคร
เข้าไปยังโคนต้นไทรนั้น เห็นการจำแนกรูปต่าง ๆ โดยเป็นรูปช้าง
เป็นต้น ที่แนบสนิทอยู่ที่ใบไทร จึงตรัสถามพวกมนุษย์ว่า ใครหนอ
กระทำการจำแนกรูปต่าง ๆ อย่างนี้ ที่ใบไทรเหล่านี้ พวกมนุษย์
ชี้ให้ทอดพระเนตรบุรุษเปลี้ยนั้นแล้วทูลว่า บุรุษเปลี้ยนี้กระทำ

พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยนั้นมาแล้วตรัส
อย่างนี้ว่า แน่ะพนาย เธออาจเพื่อจะเอามูลแพะใส่ให้เต็มท้องของ
บุรุษคนหนึ่ง ผู้ที่เราชี้ให้ ผู้กล่าวอยู่กะพระราชานั้นนั่นแหละ
ได้ไหมหนอ. บุรุษเปลี้ยทูลว่า ได้พระเจ้าข้า. พระราชาจึงนำบุรุษ
เปลี้ยนั้นเข้าไปยังพระราชวังของพระองค์ ทรงเบื่อหน่ายปุโรหิต

ผู้พูดมาก จึงรับสั่งให้เรียกตัวปุโรหิตมา นั่งปรึกษากันในโอกาส
ที่สงัดกับปุโรหิตนั้น อันแวดล้อมด้วยกำแพง คือม่าน จึงรับสั่งให้
เรียกบุรุษเปลี้ยมา. บุรุษเปลี้ยถือเอามูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มา รู้อาการของพระราชา นั่งบ่ายหน้าตรงปุโรหิต เมื่อปุโรหิตนั้น
อ้าปาก ได้ดีดมูลแพะทีละก้อนลงที่โคนลำคอของปุโรหิตนั้น ตาม
ช่องกำแพง คือม่าน. เขาไม่สามารถจะคายออกเพราะความละอาย
จึงกลืนลงทั้งหมด. ลำดับนั้น พระราชาทรงปล่อยให้ปุโรหิตนั้น
ผู้มีท้องเต็มด้วยมูลแพะไป ด้วยรับสั่งว่า ไปเถอะพราหมณ์ ท่าน
ได้ผลแห่งความเป็นผู้พูดมากแล้ว ท่านจงดื่มน้ำที่ปรุงด้วยผลและ

เปลือกประยงค์ที่ขยำเป็นต้น แล้วจงถ่ายออก ด้วยอาการอย่างนี้
เธอก็จะมีความสวัสดี. ก็ด้วยการกระทำของบุรุษเปลี้ยนั้น พระองค์
ทรงพอพระทัย ได้พระราชทานบ้านส่วย ๑๔ ตำบล. เธอครั้นได้
บ้านส่วย ๑๔ ตำบลแล้ว ทำตนให้คนมีความสุขอิ่มหนำ ทั้งให้คน
ปริวารชนได้รับความสุขอิ่มหนำ ให้อะไร ๆ อันสมควรแก่สมณ-

พราหมณ์เป็นต้น ไม่ทำให้ประโยชน์ปัจจุบันและอนาคตเสื่อมไป
เลี้ยงชีพโดยความสุขทีเดียว ทั้งให้บำเหน็จรางวัล แก่คนผู้มายัง
สำนักตนศึกษาศิลปอยู่.

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปยังสำนักเขากล่าวอย่างนี้ว่า
ดีละอาจารย์ ขอท่านอาจารย์ให้ผมศึกษาศิลปนี้บ้าง กระผมพอแล้ว
ด้วยบำเหน็จและรางวัล. บุรุษเปลี้ยนั้นให้บุรุษนั้นศึกษาศิลปนั้น.
บุรุษนั้นศึกษาศิลปได้แล้ว ประสงค์จะทดลองศิลป จึงเดินไป เอา
เครื่องพิฆาต คือก้อนกรวดทำลายศีรษะของพระปัจเจกพุทธเจ้า
นามว่าสุเนตตะผู้นั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา พระปัจเจกพุทธเจ้า

ปรินิพพานที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้นนั่นเอง พวกมนุษย์รู้เรื่องเข้า จึง
เอาก้อนดินเป็นต้น ตีบุรุษนั้นให้สิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง. เขาทำ
กาละแล้วบังเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี ด้วย
เศษแห่งวิบากกรรมนั้นนั่นเอง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงบังเกิดเป็น

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตไม่ไกลแต่กรุงราชคฤห์. อันวิบากที่พึงเห็นสมกับกรรมนั้น
พึงมี เพราะเหตุนั้น ฆ้อนเหล็กประมาณหกหมื่นที่กำลังแห่งกรรม
ซัดขึ้น กระหน่ำบนกระหม่อมทั้งเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็น.
เปรตนั้นมีศีรษะฉีกขาด ได้รับเวทนาแสนสาหัส ล้มลงที่ภาคพื้น
แต่เมื่อพอฆ้อนเหล็กปราศไป มันก็มีศีรษะตั้งอยู่ตามปกติ.
ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะลงจากเขา
คิชฌกูฏ เห็นเปรตนั้นจึงสอบถามด้วยคาถานี้ว่า :-

ทำไมหนอ ท่านจึงวิ่งพล่านไปเหมือน
คนบ้า เหมือนเนื้อผู้ระแวงภัย ท่านมาร้องอื้ออึง
ไปทำไม ท่านคงทำบาปกรรมไว้เป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมตฺตรูโปว ความว่า ท่านเป็น
เหมือนมีสภาวะแห่งคนบ้า คือเป็นเหมือนคนถึงความเป็นบ้า. บทว่า
มิโค ภนฺโตว ธาวสิ ความว่า ท่านวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้ เหมือน
เนื้อระแวงภัย. จริงอยู่ เมื่อฆ้อนเหล็กเหล่านั้นกระหน่ำอยู่ เขาไม่เห็น

สิ่งที่ต้านทาน จึงวิ่งไปข้างโน้น ข้างนี้ด้วยคิดว่า การประหารเช่นนี้
จะไม่พึงมีหรือหนอ. ก็ฆ้อนเหล็กเหล่านั้นถูกกำลังกรรมซัดไป จึง
กระหน่ำลงเฉพาะบนศีรษะของเปรตนั้นผู้ยืนอยู่ที่ใดที่หนึ่ง. บทว่า
กึ นุ สทฺทายเส ตุวํ ความว่า ท่านร้องไปทำไมหนอ คือ ท่านเที่ยว
ร้องขรมไปเหลือเกิน.
เปรตได้ฟังดังนั้นจึงให้คำตอบด้วยคาถา ๒ คาถาว่า :-

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์
เกิดในยมโลก เพราะกระทำบาปกรรมไว้ จึงจาก
มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ฆ้อนเหล็กหกหมื่น
ครบบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง กระหน่ำบน
ศีรษะและต่อยศีรษะข้าพเจ้า.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิ กูฏสหสฺสานิ แปลว่า
ฆ้อนเหล็กประมาณหกหมื่น. บทว่า ปริปุณฺณานิ แปลว่า ไม่หย่อน.
บทว่า สพฺพโส คือ โดยส่วนทั้งปวง. ได้ยินว่า ศีรษะของเปรตนั้น
ประมาณยอดเขาใหญ่ บังเกิดเพียงพอที่จะให้ฆ้อนเหล็กหกหมื่น
กระหน่ำ. ฆ้อนเหล็กเหล่านั้น ตกลงกระหน่ำศีรษะของเปรตนั้น

ไม่เหลือสถานที่เพียงจดที่สุดปลายขนทรายลงได้ เพราะเหตุนั้น
เปรตนั้นจึงกระทำเสียงร้องรบกวนอยู่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ฆ้อนเหล็กเหล่านั้นกระหน่ำและทุบศีรษะของข้าพเจ้า โดยประการ
ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระเถระเมื่อจะถามกรรมที่เขาทำกะเปรตนั้น จึงได้
กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ท่านกระทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย
วาจา ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้รับ
ทุกข์เช่นนี้ อนึ่ง ฆ้อนเหล็กหกหมื่นครบบริบูรณ์
โดยประการทั้งปวงกระหน่ำบนศีรษะ และต่อย
ศีรษะของท่าน เพราะผลกรรมอะไร

เปรตเมื่อจะบอกกรรมที่ตนทำแก่พระเถระนั้น จึงได้กล่าว
คาถา ๓ คาถาว่า :-
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธ-
เจ้าองค์หนึ่ง นามว่าสุเนตตะ มีอินทรีย์อันอบรม
แล้ว ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคน
ต้นไม้ ข้าพเจ้าได้ต่อยศีรษะของท่านแตก ด้วย
การดีดก้อนกรวด เพราะผลแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้รับทุกข์เช่นนี้ ฆ้อนเหล็กหกหมื่น

ครบบริบูรณ์ โดยประการทั้งปวง จึงตกลงบน
ศีรษะข้าพเจ้า และต่อยศีรษะข้าพเจ้า.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2019, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพุทฺธํ ได้แก่ พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า. บทว่า สุเนตฺตํ ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า
ภาวิตินฺทฺริยํ ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันอบรมแล้ว
ด้วยอริยมรรคภาวนา.
บทว่า สาลิตฺตกปฺปหาเรน ความว่า ประกอบการดีดกรวด
ด้วยธนู หรือด้วยนิ้วมือนั่นแหละ ที่ท่านเรียก สาลิตตกะ. จริง
อย่างนั้น บาลีว่า สกฺขราย ปหาเรน ดังนี้ก็มี. บทว่า ภินฺทิสฺสํ แปลว่า
ทุบแล้ว.

พระเถระครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า บัดนี้ เธอ
ได้รับผลนี้แห่งกรรมเก่า อันสมควรแก่กรรมที่ตนกระทำนั่นเอง
จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-
แน่ะบุรุษชั่ว ฆ้อนเหล็กหกหมื่น ครบ
บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง กระหน่ำบนศีรษะ
และต่อยศีรษะของท่าน เพราะเหตุอันสมควร
แก่ท่านแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน แปลว่า ด้วยเหตุอัน
สมควร. บทว่า เต ได้แก่ ท่าน. ท่านแสดงไว้ว่า ผลนี้สมควรแท้
แก่บาปกรรมที่ท่านผู้ผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กระทำแล้ว
น้อมนำเข้าไปหาท่าน เพราะฉะนั้น ผลแห่งบาปกรรมนั่นแหละ
อันใคร ๆ จะเป็นเทวดา มาร พรหม หรือแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ตาม จะพึงป้องกันมิได้เลย.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จากนั้นจึงเที่ยวไปบิณฑบาตใน
พระนคร กระทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ในเวลาเย็นจึงเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ เมื่อจะทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว จึงทรงประกาศคุณานุภาพแห่งพระปัจเจก-
พุทธเจ้า และความไม่ดูหมิ่นกรรม มหาชนเกิดความสังเวชละบาป
กรรมแล้ว ได้เป็นผู้ยินดีในบุญมีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสัฏฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖
จบ ปรมัตถทีปนี

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 12:26 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2023, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:26 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร