วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า พหุํ แปลว่า มาก คือ เพียงพอ. บทว่า พหูนํ แปลว่า
มากมาย. บทว่า ปาทาสิ แปลว่า ได้ให้โดยประการทั้งหลาย.
บทว่า จิรํ แปลว่า ตลอดกาลนาน. จริงอยู่ เขาเกิดในหมู่มนุษย์
ผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี. และเมื่อเขาให้ทานเป็นอันมาก แก่ชนเป็น
อันมาก ตลอดกาลนาน เพื่อจะแสดงประการที่เขาให้ทานจึงกล่าว
ว่า สกฺกจฺจญฺจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจํ

คือมีความเอื้อเฟื้อ ได้แก่ ไม่ได้ทอดทิ้ง คือ ไม่ดูหมิ่น. บทว่า
สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือของตน, ไม่ใช่ถูกบังคับ. บทว่า จิตฺตีกตฺวา
ความว่า กระทำ คือบูชาด้วยจิต อันประกอบด้วยความเคารพ และ
ความนับถือมาก. บทว่า ปุนปฺปุนํ ได้แก่ โดยส่วนมาก คือไม่ใช่
คราวเดียว. มีวาจาประกอบความว่า ไม่ได้กระทำ ๒-๓ วาระ
ได้ให้ตั้งหลายวาระ.

บัดนี้ เพื่อจะประกาศการกระทำบ่อย ๆ นั้นนั่นแล พระ-
สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า พหู มาเส จ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหู มาเส ได้แก่สิ้นหลายเดือนมี เดือน
จิตตะ เป็นต้น. บทว่า ปกฺเข ได้แก่ สิ้นปักษ์เป็นอันมาก ต่างด้วย
กัณหปักษ์และสุกกปักษ์. บทว่า อุตุสํวจฺฉรานิ จ ความว่า สิ้นฤดู

และปีเป็นอันมาก เช่น ฤดูวสันต์และคิมหันต์ เป็นต้น บทว่า
อุตุสํวจฺฉรานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคะ.
บทว่า ทีฆมนฺตรํ แปลว่า สิ้นระยะกาลนาน. ก็ในข้อนี้ เพื่อจะกล่าว
ถึงความที่ทานเป็นไปตลอดกาลนานว่า ท่านได้ให้ตลอดกาลนาน
แล้วจึงแสดงว่า ทานนั้นเป็นไปไม่ขาดระยะทีเดียวอีก พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวว่า พหู มาเส ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอวํ แปลว่า โดยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ทตฺวา
ยชิตฺวา จ โดยเนื้อความก็เป็นบทเดียวกันนั่นแหละ, อธิบายว่า
ได้ให้ด้วยอำนาจการบริจาคไทยธรรมบางอย่าง แก่พระทักขิไณย-
บุคคลบางพวก และเมื่อให้ตามกำลังแก่ชนทั้งปวงผู้มีความต้องการ
โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ได้ให้สิ่งของเป็นอันมาก แก่ชนเป็นอันมาก

บูชาด้วยอำนาจการบูชาอย่างใหญ่. บทว่า โส หิตฺวา มานุสํ เทหํ
ตาวตึสูปโค อหุ ความว่า ในเวลาสิ้นอายุ อังกุระพาณิชนั้น ละ
อัตภาพมนุษย์ไปบังเกิดเป็นเทพนิกาย ในภพชั้นดาวดึงส์ โดยการ
ถือปฏิสนธิ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่ออังกุระเทพบุตรนั้น บังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์ เสวย
ทิพยสมบัติอย่างนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
อินทกะมาณพ เมื่อท่านพระอนุรุทธเถระเที่ยวบิณฑบาต มีจิต
เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง. สมัยต่อมาเขาทำกาละแล้ว

บังเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในภพชั้นดาวดึงส์
ด้วยอานุภาพแห่งบุญอันเป็นเขต ไพโรจน์ล่วงครอบงำอังกุระ
เทพบุตร ด้วยฐานะ ๑๐ มีรูปเป็นต้น อันเป็นทิพย์. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า :-

อินทกะมาณพ ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
แก่พระอนุรุทธเถระ ละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้
ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ แต่อินทกะเทพบุตร
รุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุระเทพบุตร โดยฐานะ ๑๐
อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ อายุ ยศ วรรณะ สุขะ และความ
เป็นใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ความว่าเป็นเหตุแห่งรูป
คือ เป็นนิมิตแห่งความเกิดขึ้นแห่งรูป. แม้ในบทว่า อายุนา แปลว่า
ด้วยชีวิต. ก็ชีวิตของเทวดาทั้งหลาย ท่านกล่าวมีกำหนดเป็น
ประมาณมิใช่หรือ? ท่านกล่าวจริง. แต่ชีวิตนั้นท่านกล่าวไว้โดย
ส่วนมาก. จริงอย่างนั้น เทวดาบางเหล่า ย่อมมีการตายในระหว่าง

ทีเดียว เพราะความวิบัติแห่งความพยายามเป็นต้น. ส่วนอินทก-
เทพบุตร ยัง ๓ โกฏิ ๖ ล้านปีให้บริบูรณ์เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไพโรจน์ล่วงด้วยอายุ. บทว่า ยสสา ได้แก่
สมบูรณ์ด้วยบริวารใหญ่. บทว่า วณฺเณน ความว่า ด้วยความ

สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. แต่ความสมบูรณ์ด้วยวรรณธาตุ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยบทว่า รูเป ดังนี้นั่นเอง. บทว่า อาธิปจฺเจน แปลว่า
ด้วยความเป็นใหญ่.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2019, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่ออังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร บังเกิดในภพชั้น
ดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย
ทรงกระทำยมกปาฏิหาร ณ โคนแห่งคัณฑามพฤกษ์ ที่ประตูแห่ง
กรุงสาวัตถี ในวันอาสาฬหปุณณมี ในปีที่ ๗ แต่กาลตรัสรู้ เสด็จ
ไปยังภพชั้นดาวดึงส์ โดยย่างก้าวไป ๓ ก้าวโดยลำดับ ทรง
ครอบงำความรุ่งเรืองของเทวพรหมบริษัท ผู้ประชุมกันด้วย

โลกธาตุ ณ บัณฑุกมพลศิลาอาสน์ ที่ควงต้นปาริฉัตตกะ ด้วย
รัศมีพระสรีระของพระองค์ เหมือนพระสุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ
เหนือเขายุคนธรรุ่งเรืองอยู่ฉะนั้น ประทับนั่งแสดงอภิธรรม
ทอดพระเนตรเห็นอินทกเทพบุตรผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล และอังกุร-
เทพบุตรผู้นั่งอยู่ในระยะ ๑๒ โยชน์ เพื่อจะประกาศความสมบูรณ์
แห่งพระทักขิไณยบุคคล จึงตรัสพระคาถาว่า :-

ดูก่อนอังกุระ มหาทานท่านได้ให้แล้ว
สิ้นกาลนาน ท่านมาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่ง
อยู่ไกลนัก.

อังกุรเทพบุตร ได้ฟังดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า มหาทานอันข้าพระองค์บริจาคไทยธรรมเป็นอันมาก
บำเพ็ญมาตลอดกาลนาน ก็ไม่ได้มีผลยิ่ง เพราะเว้นจากทักขิไณย
สมบัติ เหมือนพืชที่หว่านลงในนาที่ไม่ดี ฉะนั้น แต่แม้การให้ภิกษา
ทัพพีหนึ่งของอินทกเทพบุตร ยังมีผลมากยิ่งนัก เพราะสมบูรณ์ด้วย

พระทักขิไณยบุคคล เหมือนพืชที่หว่านในนาดี. ฉะนั้น พระสังคีติ-
กาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ
ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้น
ปาริฉัตตกพฤกษ์ ณ ภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทวดา
ในหมื่นโลกธาตู พากันมานั่งประชุมกันเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา เทวดา

ไร ๆ ไม่รุ่งโรจน์เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วย
รัศมี พระสัมพุทธเจ้าเท่านั้นย่อมรุ่งโรจน์ร่วง
เทวดาทั้งปวง ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล
๑๒ โยชน์ จากที่พระพุทธเจ้าประทับ ส่วน
อินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า
รุ่งเรืองกว่าอังกุรเทพบุตร พระสัมพุทธเจ้าทอด

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเนตรเห็นอังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตร
แล้ว เมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคล จึงได้
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ความว่า ดูก่อนอังกุรเทพ-
บุตร มหาทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน ท่านมาสู่
สำนักเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก. อังกุรเทพบุตร
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว

ทรงตักเตือนแล้ว ได้กราบทูลว่า จะประสงค์
อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้นอันว่างเปล่า
จากพระทักขิไณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้นั้น
ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ ดุจ
พระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น.
อังกุรเทพบุตรทูลว่า :-

พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน
ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ
ฉันใด ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคล
ผู้ทุศีลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์
ทั้งไม่ยังทายกให้ปลื้มใจ พืชแม้น้อยอันบุคคล
หว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำ

เสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด
ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วในท่านผู้มีศีล
ผู้มีคุณความดี ผู้คงที่ ย่อมมีผลมาก ฉันนั้น
เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตึเส ได้แก่ ในภพดาวดึงส์.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า สิลายํ ปณฺฑุกมฺพเล ความว่า
ในคราวที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพล-
ศิลาอาสน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ทสสุ โลกธาตูสุ สนฺนิปติตฺวาน เทวตา ความว่า
กามาวจรเทวดา และพรหมเทวดาในหมื่นจักรวาฬ อันรู้กันว่า
ชาติเขต ได้พากันมาประชุมเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อ
ฟังธรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า พากันมาเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา อธิบายว่า บนยอดเขาสิเนรุ.

บทว่า โยชนานิ ทส เทฺว จ องฺกุโรยํ ตทา อหุ ความว่า
ในกาลนั้น คือในเวลาพร้อมพระพักตร์พระศาสดา อังกุรเทพบุตร
ผู้มีจริตตามที่กล่าวแล้วนี้ ได้อยู่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ อธิบายว่า
ได้นั่งอยู่ในที่ระยะไกล ๑๒ โยชน์ แต่ที่ที่พระศาสดาประทับ.

บทว่า โจทิโต ภาวิตตฺเตน ความว่า ผู้อันพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วด้วยอริยมรรคภาวนาที่ทรง
อบรมไว้อย่างยอดเยี่ยม ตักเตือนแล้ว. คาถามีอาทิว่า จะประสงค์
อะไรด้วยทานของข้าพระองค์ ดังนี้ เป็นคาถาที่อังกุรเทพบุตร
ทูลแด่พระศาสดา โดยเป็นคำโต้ตอบ. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยน สุฺตํ

ความว่า เพราะในกาลนั้น ทานของข้าพระองค์ ว่าง เปล่า คือ เว้น
จากพระทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวดูแคลน
บุญทานของตนว่า จะประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น.

บทว่า ยกฺโข ได้แก่ เทพบุตร. บทว่า ทชฺชา กล่าวว่า
ให้แล้ว. บทว่า อติโรจติ อมฺเหหิ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก
กว่าบุคคลผู้เช่นกับตน. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต.
อธิบายว่า ย่อมไพโรจน์ร่วง คือ ครอบงำเรา. เพื่อจะหลีกเลี่ยง
คำถามว่า เหมือนอะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์
ในหมู่ดาว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อุชฺชงฺคเล ได้แก่ ในภูมิภาคอันแข็งยิ่งนัก. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ในภูมิภาคอันสูง. บทว่า โรปิตํ แปลว่า อันเขา
หว่านแล้ว คือ หว่านหรือถอนแล้วปลูกอีก. บทว่า นปิ โตเสติ
แปลว่า ย่อมไม่ปลาบปลื้มใจ หรือไม่ยังความยินดีให้เกิด เพราะ

มีผลน้อย. บทว่า ตเถว ความว่า พืชเป็นมากที่เขาหว่านไว้ใน
นาดอน ย่อมไม่ไม่ผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก ทั้งไม่ยังชาวนา
ให้ปลาบปลื้มใจฉันใด ทานแม้เป็นอันมากก็ฉันนั้น ที่บุคคลตั้งไว้
ในบุคคลทุศีล คือผู้เว้นจากศีล ย่อมไม่มีผลไพบูลย์ คือไม่มีผลมาก
ทั้งไม่ทำให้ทายกปลาบปลื้มใจ

สองคาถาว่า ยถาปิ ภทฺทเก เป็นต้น พึงทราบอรรถโยชนา
โดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในบทเหล่านั้น บทว่า
สมฺมาธารํ ปเวจฺฉนฺเต ความว่า เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ
คือ เมื่อฝนตกทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน ทุก ๕ วัน. บทว่า คุณวนฺเตสุ

ได้แก่ ในบุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตาทิสุ
ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.
บทว่า การํ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาศ อธิบายว่า อุปการะ. เพื่อ
จะหลีกเลี่ยงคำถามว่า อุปการะคืออะไร อังกุรเทพบุตรจึงกล่าวว่า
คือ บุญ.

พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งคาถานี้ไว้ว่า :-
บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตที่ให้แล้ว
มีผลมาก ทายกทั้งหลายครั้นเลือกให้ทานแล้ว
ย่อมไปสวรรค์ การเลือกให้ทานพระสุคตทรง
สรรเสริญ พระทักขิไณยบุคคลเหล่าใด มีอยู่ใน
ชีวโลกนี้ ทานที่ทายกให้แล้วในพระทักขิไณย-
บุคคลเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่าน
ไว้ในนาดี ฉะนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2019, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเจยฺย แปลว่า พึงเลือก คือ
พึงใคร่ครวญถึงบุญเขตด้วยปัญญา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่าย
ทั้งนั้นแล.

เรื่องอังกุรเปรตนี้นั้นพระศาสดาทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์
เอง โดยนัยมีอาทิว่า มหาทานอันท่านให้แล้วดังนี้ เพื่อจะทรงประกาศ
ความสมบูรณ์ แห่งพระทักขิไณยบุคคลข้างหน้าแก่เทวดาในหมื่น
จักรวาฬ ในภพดาวดึงส์ พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมในภพ
ดาวดึงส์นั้น ๓ เดือน ในวันมหาปวารณา ทรงแวดล้อมด้วยหมู่เทพ

เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจากเทวโลกลงสู่สังกัสนคร เสด็จถึงกรุง
สาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อจะทรง
ประกาศความสมบูรณ์แห่งพระทักขิไณยบุคคล ในท่ามกลาง
บริษัท ๔ จึงทรงแสดงโดยพิสดาร โดยนัยมีอาทิว่า เราไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้ใด. จึงยึดเอายอดเทศนา คือ จตุสัจจกถา. ในเวลา
จบเทศนา สัตว์หลายพันโกฏิเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว แล.
จบ อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ ๙

อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐
เรื่องของนางเปรตผู้เป็นมารดาของนายอุตตระนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทิวาวิหารคตํ ภิกฺขุํ. ในเรื่องนั้น มีการขยายความดัง
ต่อไปนี้ :- เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อปฐมมหาสังคีติ
เป็นไปแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะ พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป อยู่
ในราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น อำมาตย์

คนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน ได้ทำกาละแล้ว. ก็ในกาลก่อน อำมาตย์
นั้นได้เป็นผู้จัดตั้งการงานในพระนคร. ลำดับนั้น พระราชาจึง
รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพผู้เป็นบุตรของอำมาตย์นั้นมา แล้ว
ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่บิดาดำรงอยู่ว่า เจ้าจงดูแลการงาน
ที่บิดาเจ้าจัดตั้งไว้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อุตตรมาณพนั้น รับพระดำรัสแล้ว วันหนึ่ง ได้พานายช่าง
ไปป่า เพื่อต้องการไม้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยัง
ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะในที่นั้น เห็นพระเถระผู้ทรง
บังสุกุลจีวร นั่งเงียบอยู่ในที่นั้น. จึงเลื่อมใสในอิริยาบถ ได้กระทำ
ปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระเถระแสดงธรรมแก่เธอ.
เธอสดับธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตร จึงตั้งอยู่ใน
สรณะแล้วนิมนต์พระเถระด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายจงรับภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้
โดยความอนุเคราะห์กระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
เธอกลับจากที่นั้นแล้วไปยังนคร ได้บอกแก่อุบาสกเหล่าอื่นว่า
ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระเถระเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ถึงท่าน
ทั้งหลายก็พึงมายังโรงทานของข้าพเจ้า.

ในวันที่ ๒ เวลาเช้าตรู่ เธอให้จัดขาทนียะ และโภชนียะอัน
ประณีต แล้วให้แจ้งเวลา กระทำการต้อนรับพระเถระผู้มาพร้อม
กับภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้วมุ่งหน้าให้เข้าไปยังเรือน ลำดับนั้น
เมื่อพระเถระและภิกษุทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องลาด
อันเป็นกัปปิยะควรค่ามาก ทำการบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และธูป

ให้พระเถระและภิกษุเหล่านั้นอิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอันประณีต เกิด
ความเลื่อมใสกระทำอัญชลีฟังอนุโมทนา เมื่อพระเถระกระทำ
อนุโมทนาภัตรเสร็จแล้วไปอยู่ จึงถือบาตรตามส่ง ออกจากนคร
แล้วเมื่อจะกลับ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายพึง
เข้ามายังเรือนของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ รู้ว่าพระเถระรับแล้วจึงกลับ.

เธออุปัฏฐากพระเถระอยู่อย่างนี้ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ตั้งอยู่
ในโสดาปัตติผลแล้ว และได้สร้างวิหารถวาย ทั้งกระทำให้ญาติ
ของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนา.

ฝ่ายมารดาของเธอมีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม จึง
ได้บริภาษอย่างนี้ว่า เมื่อเรายังต้องการ เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ
สิ่งนั้นจงสำเร็จเป็นโลหิตแก่เจ้าในปรโลก. แต่นางอนุญาตกำหาง
นกยูงกำหนึ่งที่ให้ในวันฉลองวิหาร นางทำกาละแล้วเกิดในกำเนิด
เปรต แต่เพราะนางอนุโมทนาทานด้วยกำหางนกยูง นางจึงมีผม

ดำสนิท มีปลายตวัดขึ้น ละเอียด และยาว. ในคราวที่นางลงแม่น้ำ
คงคาด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำนั้น แม่น้ำคงคาเต็มไปด้วยเลือด นางถูก
ความหิวกระหายครอบงำเที่ยวไปสิ้น ๕๕ ปี วันหนึ่ง ได้เห็น
พระกังขาเรวตเถระนั่งพักกลางวัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงเอา
ผมของตนปิดตัวเข้าไปหา ขอน้ำดื่ม ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรตมีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว
มีผมยาวห้อยลงมาจดพื้นดิน คลุมตัวด้วยผม เข้า
ไปหาภิกษุผู้อยู่ในที่พักกลางวัน ซึ่งนั่งอยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ได้กล่าวกะภิกษุนี้ว่า.

คาถาทั้ง ๒ นี้พระสังคีติกาจารย์ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น ณ ที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า เห็นเข้าน่ากลัว.
บาลีว่า รุทฺททสฺสนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เห็นเข้าน่าเกลียดน่ากลัว.
บทว่า ยาวภูมาวลมฺพเร ได้แก่ มีผมห้อยย้อยลงมาถึงพื้นดิน. เมื่อ
ก่อนกล่าวว่าภิกษุ ภายหลังกล่าวว่าสมณะ หมายเอาเฉพาะพระกังขา-
เรวตเถระนั่นเอง.

ก็นางเปรตนั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว เมื่อจะขอน้ำดื่ม จึง
กล่าวคาถานี้ว่า:-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันตั้งแต่ตายจาก
มนุษยโลกมา ยังไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย
ตลอดเวลา ๕๕ ปีแล้ว ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่
ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิชานามิ ภตฺตํ วา ความว่า
ดิฉันไม่ได้บริโภคข้าวหรือดื่มน้ำเลย ในระยะกาลนานอย่างนี้
คือ ไม่ได้กินและไม่ได้ดื่ม. บทว่า ตสิตา แปลว่า ระหาย. มีวาจา
ประกอบความว่า บทว่า ปานียาย ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้เที่ยวไปเพื่อต้องการน้ำดื่ม.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบคาถาอันว่าด้วยคำและคำโต้ตอบของ
พระเถระ และของนางเปรต ดังต่อไปนี้
พระเถระกล่าวว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แม่น้ำคงคานี้มีน้ำเย็นใสสะอาด ไหลมา
จากภูเขาหิมพานต์ ท่านจงตักเอาน้ำจากแม่น้ำ
คงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอน้ำดื่มกะเราทำไม.
นางเปรตกล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำ
คงคานี้เองไซร้ น้ำนั้นย่อมกลับกลายเป็นโลหิต
ปรากฏแก่ดิฉัน เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำดื่ม
กะท่าน.
พระเถระถามว่า :-
ท่านได้กระทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย
วาจา หรือใจ น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็น
โลหิตปรากฏแก่ท่าน.
นางเปรตตอบว่า :-

ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก
มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
และคิลานปัจจัย แก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วย
ความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่
ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวาย
จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย

แก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น
จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะ
วิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลาย
เป็นโลหิตปรากฏแก่ดิฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตโต ได้แก่ จากขุนเขา
ชื่อว่า หิมวันต์ เพราะมีหิมะมาก. บทว่า สนฺทติ แปลว่า ไหลไป.
บทว่า เอตฺโต ได้แก่จากแม่น้ำคงคาใหญ่นี้. ด้วยบทว่า กึ ท่าน
แสดงว่า ท่านขอน้ำดื่มกะเราทำไม ท่านจงลงสู่แม่น้ำคงคา ดื่มเอา
ตามชอบใจเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โลหิตํ เม ปริวตฺตติ ความว่า น้ำเมื่อไหลไป ย่อมกลาย
คือ แปรเป็นโลหิต เพราะผลแห่งกรรมชั่วของดิฉัน น้ำ พอนางเปรต
นั้นตักขึ้น ก็กลายเป็นโลหิตไป.

บทว่า มยฺหํ อกามาย แปลว่า เมื่อดิฉันไม่ปรารถนา. บทว่า
ปเวจฺฉติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ คิลานปัจจัย.
มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เอตํ เป็นต้น ความว่า ด้วยวิบาก
แห่งกรรมชั่วที่ดิฉันทำไว้ ด้วยอำนาจการสาปแช่งว่า ดูก่อนอุตตระ
ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ที่เจ้าให้แก่สมณะนี้ จงกลายเป็นโลหิตแก่เจ้า
ในปรโลก.

ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์ อุทิศ
นางเปรตนั้น เที่ยวไปบิณฑบาต รับภัตต์แล้ว ได้ถวายแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ถือเอาผ้าบังสุกุล จากกองหยากเยื่อเป็นต้น ซักแล้วทำให้
เป็นฟูกและหมอน ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ด้วยเหตุนั้น นางเปรต
นั้น จึงได้ทิพยสมบัติ. นางไปยังสำนักพระเถระ แสดงทิพยสมบัติ

ที่ตนได้แก่พระเถระ พระเถระประกาศประวัตินั้นแก่บริษัท ๔ ผู้
มายังสำนักตน แล้วแสดงธรรมกถา ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเกิด
ความสังเวช เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน ยินดี
ยิ่งในกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น. ก็เปตวัตถุนี้ พึงเห็นว่า
ท่านยกขึ้นสู่สังคายนา ในทุติยสังคีติ.
จบ อรรถกถาอุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาสุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
เรื่องสุตตเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ ปุเร ปพฺพชิตสฺส
ภิกฺขุโน ดังนี้. อุปบัติเหตุของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร. ได้ยินว่า ใน
หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี เมื่อพระศาสดา ยังไม่
เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล นับขึ้นไป ๗๐๐ ปี ยังมีเด็กคนหนึ่ง อุปัฏฐาก
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. เมื่อเธอเจริญวัยแล้ว มารดาของเธอ

จึงไปขอนางกุลธิดาคนหนึ่ง มาจากตระกูลที่เสมอกัน เพื่อประโยชน์
แก่บุตรนั้น. ก็ในวันวิวาหะนั้นเอง กุมารนั้น ไปอาบน้ำกับพวก
สหาย ถูกงูกัดตายไป. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถูกยักษ์จับ
ก็มี. เธอกระทำกุศลกรรมไว้เป็นอันมาก ด้วยการอุปัฏฐากพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า บังเกิดเป็นวิมานเปรต เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์
ในเด็กหญิงนั้น. แต่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.

ลำดับนั้น เธอปรารถนาจะนำนางทาริกานั้นมายังวิมาน
ของตน จึงคิดว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ นางจึงจะอภิรมย์ในที่นี้
กับเรา ให้เป็นกรรมที่จะต้องอำนวยผลในปัจจุบัน จึงพิจารณา
ถึงเหตุที่ให้ได้เสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น เห็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้า กำลังทำจีวรกรรมอยู่ จึงแปลงรูปเป็นคน ไปไหว้แล้ว

กล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านต้องการด้ายหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ตอบว่า เราจะทำจีวรกรรมอุบาสก. เวมานิกเปรตนั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงเที่ยวขอด้าย ในที่ชื่อโน้น ดังนี้แล้ว
ได้ชี้เรือนของนางทาริกานั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ไปในที่นั้น

ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ลำดับนั้น นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ยืนอยู่ ในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามีความ
ต้องการด้าย จึงได้ให้ด้ายกลุ่มหนึ่ง. ลำดับนั้น อมนุษย์นั้น ได้แปลง
เพศเป็นมนุษย์ ไปยังเรือนของนางทาริกา อ้อนวอนมารดาของนาง
แล้ว อยู่กับนาง ๒-๓ วัน เพื่อจะอนุเคราะห์มารดาของนาง จึงทำ

ภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ให้เต็มด้วยเงินและทอง แล้วเขียนชื่อไว้
ข้างบนภาชนะทั้งหมดนั้น มีอันให้รู้ว่านี้เป็นทรัพย์ที่เทวดาให้
ใคร ๆ ไม่ควรเอาไป ดังนี้ จึงได้พาเด็กหญิงนั้นไปยังวิมานตน.
มารดาของนางได้ทรัพย์เป็นอันมาก ได้ให้แก่พวกญาติของตน แก่
คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ส่วนตนเองบริโภคแล้ว เมื่อจะ
ทำกาละจึงแจ้งแก่ญาติทั้งหลายว่า ถ้าธิดาของเรามาไซร้ ท่านจง
ให้ทรัพย์นี้แล้วได้ตายไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นกาลล่วงไป ๗๐๐ ปี แต่กาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร
ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โดยลำดับ เมื่อหญิงนั้นอยู่ร่วมกับ
อมนุษย์นั้น ความรำคาญก็เกิดขึ้น. นางเมื่อจะกล่าวกะอมนุษย์นั้น
ว่า ดีละ พระลูกเจ้า ขอท่านจงนำดิฉันกลับไปสู่เรือนของตนเถิด
ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อก่อนฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้า ซึ่งได้เข้าไปขอถึงเรือนของดิฉัน วิบาก
ของการถวายด้ายนั้น ดิฉันจึงได้เสวยผลอัน
ไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลาย
โกฏิ บังเกิดแก่ดิฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพ

ต่าง ๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตร เทพธิดา
ผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจ
ถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมาย ก็ไม่
หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญใน
วิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับ
ไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่

ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน นี้ ท่าน
กล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า
นั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมควรที่จะกล่าวได้ว่า เป็นบรรพชิต

เพราะขับไล่ คือละพลังแห่งกามจากสันดานของตนโดยเด็ดขาด และ
ควรกล่าวว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลส. บทว่า สุตฺตํ ได้แก่
ด้ายอันสำเร็จด้วยฝ้าย. บทว่า อุปสงฺกมฺม ได้แก่ เข้ามายังเรือน
ของฉัน. บทว่า ยาจิตา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอด้วยการ
เที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวคือ การประกอบด้วยกายวิญญัติ ที่กล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมยืนเจาะจง นี้เป็นการขอ
ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บทว่า ตสฺส ได้แก่ ถวายด้ายนั้น. บทว่า
วิปาโก วิปุลผลูปลพฺภติ ความว่า บัดนี้ได้ คือ เสวยผลอันไพบูลย์
คือวิบากอันตั้งขึ้นอย่างใหญ่หลวง. บทว่า พหุกา แปลว่า มิใช่น้อย.
บทว่า วตฺถโกฏิโย ได้แก่ โกฏิแห่งผ้า อธิบายว่า ผ้าหลายแสน
ประเภท.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อเนกจิตฺตํ ได้แก่ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ หรือ มี
รูปภาพอันวิจิตรด้วยรัตนะ มีแก้วมุกดาและแก้วมณีเป็นต้น มากมาย.
บทว่า นรนาริเสวิตํ ได้แก่ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพ-
ธิดาผู้เป็นบริวาร. บทว่า สาหํ ภุญฺชามิ ความว่า ฉะนั้น จะเลือก
ใช้สอยวิมานนั้น. บทว่า ปารุปามิ ความว่า ฉันจะนุ่งและห่มผ้า

ตามที่ปรารถนาต้องการ ในบรรดาผ้าหลายโกฏิ. บทว่า ปหูตวิตฺตา
ความว่า สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
มากมาย คือ มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บทว่า น จ ตาว ขียติ ความว่า
สรรพวัตถุอันเป็นเครื่องปลื้มใจนั้น ย่อมไม่หมดสิ้นไป คือไม่ถึง
ความสิ้นไป ได้แก่ไม่ถึงความหมดเปลือง.

บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากมนฺวฺยา ความว่า ฉันได้รับ
ความสุขอันเป็นวิบาก และความสำราญ กล่าวคือ ความอร่อยอัน
น่าปรารถนา โดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยบุญกรรมที่สำเร็จ
ด้วยการให้ด้ายนั้นนั่นเอง ในวิมานนี้. บทว่า คนฺตฺวา ปุนเทว

มานุสํ ได้แก่ ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกอีกทีเดียว. บทว่า กาหามิ
ปุฺานิ ความว่า ข้าพเจ้าทำบุญอันให้สำเร็จความสุขพิเศษแก่ฉัน,
ซึ่งเป็นเหตุให้ดิฉันได้สมบัตินี้. บทว่า นยยฺยปุตฺต มํ ความว่า
ข้าแต่ลูกเจ้า เจ้าจงนำ คือ จงพาฉันกลับไปสู่มนุษยโลก.

อมนุษย์นั้น ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรารถนาจะไป
ด้วยความอนุเคราะห์ เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในนางนั้น จึง
กล่าวคาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านมาอยู่ในวิมานนี้กว่า ๗๐๐ ปี เป็น
คนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง
ญาติของท่าน ตายไปหมดแล้ว ท่านจากเทวโลก
นี้ไปสู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต นี้ เป็นการแสดงไขถึง
การลบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สตฺต นี้ เป็นปฐมมาวิภัตติใช้ใน
อรรถบัญจมีวิภัตติ. บทว่า วสฺสสตา แปลว่า กว่าร้อยปี, อธิบายว่า
ท่านมาอยู่ในที่นี้ คือมาสู่วิมานนี้เลย ๗๐๐ ปี คือ ท่านอยู่ในที่นี้

๗๐๐ ปี. บทว่า ชิณฺณา จ วุฑฺฒา จ ตหึ ภวิสฺสสิ ความว่า ท่านมี
อัตภาพอันอุตุและอาหารอันเป็นทิพย์ สนับสนุนอุปถัมภ์อยู่ใน
วิมานนี้ ตั้งอยู่โดยอาการเป็นหนุ่มทีเดียว ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ ด้วยอานุภาพแห่งกรรม. อนึ่งท่านไปจากเทวโลกนี้ จักเป็น

คนแก่เพราะชราแก่ตามวัย ในมนุษยโลกนั้น เพราะกรรมสิ้นไป
และเพราะอำนาจแห่งฤดูและอาหารของมนุษย์. เพื่อจะหลีกเลี่ยง
คำถามว่า จะทำอย่างไร ตอบว่า เพราะญาติของท่านทั้งหมดตาย
ไปหมดแล้ว อธิบายว่า แม้ญาติของท่านทั้งหมดนั่นแหละ ตายไป

หมดแล้ว เพราะกาลเวลาล่วงไปนาน เพราะฉะนั้น ท่านจากเทวโลก
นี้ ไปยังมนุษยโลกนั้น จักกระทำอย่างไร, อธิบายว่า ท่านจงยัง
อายุให้สิ้นไปในที่นี้ ไม่ให้เหลือเศษไว้ คือ จงอยู่ในที่นี้.
หญิงนั้น อันอมนุษย์นั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เมื่อไม่เชื่อคำของ
อมนุษย์นั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร