วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2019, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


สมุทัย" ความหมายคือ เหตุทำให้ทุกข์เกิด
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

"กามตัณหา" ความปราถนาในอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

"ภวตัณหา" ความปราถนาในภพ คือความมีความเป็น หมายความว่า ในสิ่งที่มีอยู่นั้น ก็อยากให้มีอยู่ตลอดไป

"วิภวตัณหา" ความปราถนาในความไม่มีไม่เป็น หมายความว่า ในสิ่งที่มีอยู่เหมือนกันแต่เป็นอารมณ์ที่ไม่ชอบ ไม่พอใจ อยากให้พ้นไป หมดไป จบไป

"นิโรธ" หมายความว่า ดับโดยไม่เหลือ คือดับเหตุ(สมุทัย) ได้แก่ ดับกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นี่คือลักษณะของ นิโรธ

"มรรค" หมายความว่า เป็นทางดำเนินของกาย ของใจแต่ไม่ใช่ทางเดินด้วยเท้า หรือยวดยานพาหนะ แต่หมายถึงการเดินในทางธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา เช่น สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิ เป็นที่สุด

พระอาจารย์รังสรรค์ อภิปุญโญ
วันอังคาร ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒





"...โลกคนตายเป็นโลกทิพย์ อยากเห็นโลกทิพย์ต้องมีตาทิพย์ อยากได้ยินเสียงทิพย์ต้องมีหูทิพย์ อยากไปโลกทิพย์ต้องมีกายทิพย์ การมีกายทิพย์เกิดจากการปฏิบัติพากเพียรภาวนาและการตาย มันมีวิธีอื่นนอกจากการตาย แล้วแต่คุณจะเลือกหรอก.."

คติธรรมคำสอน
พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร)




เรื่อง "ผู้ดับเชื้อภพชาติ หมดปัญหายุติการเกิดตาย"
ตามหลักความจริงของกฎธรรมชาติแล้ว ไม่มีอะไรสูญในโลก มีแต่ความเปลี่ยนแปลงของสังขารทุกประเภท ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติเดิมเท่านั้น เปลี่ยนแปลงตัวเองลงสู่ธรรมชาติ คือธาตุเดิมของเขา และเปลี่ยนแปลงตัวเองจากธรรมชาติเดิมขึ้นมาสู่ธาตุแฝง เช่นเป็นสัตว์ บุคคล เป็นต้น กรรมดี กรรมชั่ว ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประจำสัตว์ผู้มีกิเลสเครื่องผลักดันและมีความรู้สึกในแง่ดีชั่วต่างกัน จำต้องทำกรรมอยู่โดยดี แล้วกรรมดีกรรมชั่วจะสูญไปไม่ได้ แม้ผลดีผลชั่วซึ่งผู้ทำกรรมจะรับเสวยเป็นความสุขความทุกข์ จำต้องมีเป็นคู่กัน โดยจะเสื่อมสูญไปไม่ได้เหมือนกัน นอกจากผู้ทำใจให้หมดเชื้อจากภพชาติแล้วเท่านั้น จะเป็นผู้หมดปัญหาในเรื่องเกิดตาย เพราะการทำดีทำชั่วและได้รับผลดีชั่ว ทั้งนี้เป็นสาเหตุมาจากเชื้อแห่งภพชาติที่ฝังอยู่ภายในใจเป็นมูลฐาน

(คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)




ตัวเจตนาคือบุญกุศล

พูดถึงการบริจาค ยกหลวงปู่มั่นขึ้นมา เรื่องเงินทองนี่ ถ้าเรามีครอบครัวเราต้องดูแลครอบครัวให้มีความสุข ใครจะถวายเงินหลวงปู่มั่น ท่านบอกพอแล้วหรือ ถ้าพอแล้วก็แบ่งมา ถ้ามีครอบครัว อยากจะได้บุญก็เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขก็ได้บุญเหมือนกัน

เดี๋ยวนี้คนเอาแต่ความสะดวก บ้านเล็ก ๆ ก็มีตู้เย็น แต่เป็นตู้หนี้ นี่อำนาจของความอยาก วัดเราจึงไม่ให้เอาเข้ามา เรื่องไฟฟ้า เรื่องอะไรที่จะเป็นหนี้เป็นสินอย่าเอาเข้ามา พระหาเงินไม่เป็นจะไปเบียดเบียนเขา เขามาวัดไม่ได้มาเอาความวุ่นวาย แล้วก็งดกฐินออก คิดถึงคำสอนหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านก็ไม่ได้บอกให้ทอดกฐิน ใครมาท่านก็ให้บังสุกุลเอา ท่านเอาง่าย ๆ

อย่างเรื่องเจ้กไฮ เจ้กไฮไปทำบุญกับหลวงปู่มั่นด้วยความปลื้มอกปลื้มใจ ไปทำอาหารถวายหลวงปู่มั่น ใส่บาตรเสร็จแล้วถึงเวลารับพรเขาก็เรียกเจ้กไฮมารับพร เจ้กไฮว่า อั้วไม่เอา สวดอั้วก็ไม่สวด อั้วได้บุญตั้งแต่อั้วคิดที่บ้าน หลวงปู่มั่นชมเชยเจ้กไฮมาก แต่พวกเรานี่ยัดใส่มือยังบอกฉันให้หน่อยน่า ก็ตัวเจตนาเป็นตัวบุญมันเสร็จแล้ว คนมาใส่บาตรตั้งเท่าไร เป็นร้อย ๆ จะให้ฉันหมดต้องฉันตั้งกี่วัน เจตนานั่นคือตัวกุศล ได้แล้วน่ะ คนอิสานนี่ครูบาอาจารย์สอนแนะนำพอเข้าใจกัน คนกรุงเทพนี่ว่าอิมานิอยู่นั่น ก็เลยว่า เวลาตัวเองจะทาน ทานร้อน ๆ อร่อย พระก็อยากร้อน ๆ เหมือนกันนะ ก็ว่าอยู่นั่นน่ะจนข้าวเย็น มันเกินไป...

หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร





“การครองเรือน...มันจะไปวิเศษวิโสอะไร...มีแฟนก็ทุกข์กับแฟนต่อให้มีอีกมากมายเท่าไรมันก็ไม่พ้นต้องทุกข์กับคนนั้นอยู่ดี เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ อยู่อย่างนั้นไม่จบไม่สิ้น สุขแค่ประเดี๋ยวประด๋าว แต่ต้องทนทุกอย่างแสนสาหัส อยู่ในโลกใบนี้ตัวเองยังไม่รู้จักเข็ดอีกหรือ พิจารณาดูสิของเหล่านี้มันมีอยู่ประจำโลก โลกอันจอมปลอมนี้ล่อหลอกกันอยู่อย่างนี้ ใครมาเกิดในโลกใบนี้ก็ต้องเจอกับของเก่าๆ เดิมๆแบบนี้พิจารณาดูสิ สู้ฝึกจิตของเจ้าของไม่ได้หรอก ถ้าใครฝึกถึงขั้นถึงภูมิแล้ว มันเหนือโลกเหนือวัฏสงสารเลยนะ นี่สิถึงจะวิเศษของจริง หัดพิจารณาดูบ้างสิ”

โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูบาอาจารย์
หลวงพ่อปรีดา ทุย ฉันทกโร
วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ







เรามาพบพระพุทธศาสนา พบธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้สร้างคุณงามความดีเอาไว้ สร้างบุญสร้างกุศลเอาไว้ สิ่งใดที่ไม่ดี อย่าคิด อย่าทำ อย่าพูด ถ้าเราตั้งตนไว้ดีแล้ว สั่งสมคุณงามความดีไว้ดีแล้ว มันจะไปไหน คุณงามความดีเหล่านั้นก็จะเข้ามาสู่จิตสู่ใจพวกเรานี่ล่ะ ถ้าเราทำกรรมไม่ดีเอาไว้ นั่นล่ะ ตั้งอยู่ในความประมาท เกิดขึ้นมาร่างกายเป็นมนุษย์สมบูรณ์แล้ว จิตใจกลับไปทำกรรมชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ คิดไปไปทางที่ชั่ว ทำไปในทางที่ชั่ว พูดไปในทางที่ชั่ว กรรมชั่วทั้งหลายก็เข้ามาครองจิตครองใจ พาไปในทางที่ไม่ดี เห็นกงจักรเป็นดอกบัวอย่างที่ว่า กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จนกว่าจะใช้กรรมหมดนั่นล่ะ

พอหมดกรรมแล้วก็มืดมนอนธกาลอีก เพราะมันโง่มา ไม่รู้จะไปทางไหนอีก แต่ว่าจิตใจคิดว่าเกิดมาชาตินี้ทุกข์แท้ ๆ ขอภพหน้าชาติหน้าขอให้เกิดดีกว่านี้ด้วยเถิด มันคิดในใจอย่างนั้น นี่คือความใฝ่สูง คนเรามันตกต่ำแล้วก็จะใฝ่สูง แต่พอใฝ่สูงแล้ว ถ้าคุณงามความดีพอมี ชาติหน้าอาจจะได้เกิดเป็นมนุษย์ได้ พอเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้สร้างคุณงามความดี ได้เกิดสูงไปอีก มีเงินคำทรัพย์สมบัติ แต่ถ้าแทนที่จะสร้างคุณงามความดีให้กว้างขวางต่อไป กลับเอาทรัพย์สมบัตินั้นมาเที่ยวเล่น กินเหล้าเมายา สุรานารี อบายมุขทุกอย่าง เผลอ ๆ จะจ้างคนไปฆ่าคนอีกต่างหาก ความชั่วทั้งหลายทำหมด เพราะตัวเองมีเงินมีอำนาจ พอกรรมเล่นงานก็ตกหัวทิ่มบ่ออีก กรรมพาตกนรก พาไปเกิดในท้องอีก นี่ล่ะจึงเรียกว่าวัฏฏวน

พระพุทธเจ้าท่านเห็นแล้วท่านจึงว่าน่าเบื่อหน่าย ในโลกนี้ โลกวัฏฏสงสาร มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นเพราะกิเลส ท่านค้นหาต้นตอ ท่านสั่งสมบารมีมา ท่านค้นคิดมาหลายภพหลายชาติ ตั้งความปรารถนา ขอให้ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หมดจดจากกิเลส นี่คือความใฝ่สูงของพระพุทธเจ้า พวกเราก็ใฝ่สูงอยากเป็นพระอรหันต์ นี่ก็คือใฝ่สูงเหมือนกัน ตัดกิเลสเหมือนกัน บางทีบางภพบางชาติก็อาจจะหลงไป แต่จุดยืนของเราคือเป็นพระอรหันต์ เราตั้งหลักไว้อยู่ ถึงมันลงไปมันก็ยังขึ้นมาได้ บางทีมันก็หลงไป

แต่ถ้าเราไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ อย่างพระพุทธเจ้า ท่านปรารถนาอย่างแน่วแน่จนได้รับพุทธพยากรณ์อย่างแน่นอนมาตลอด ถึงจะตกต่ำแต่ก็ขึ้นสูงได้ พวกเราทุกคนก็อย่าตั้งอยู่ในความประมาท เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดีไว้ ไปอยู่ที่ไหนก็ให้ภาวนา ให้เห็นโทษ ให้เป็นอิสระในตัวเอง ให้นำธรรมะคำสั่งสอนเข้าสู่จิตใจ ให้รู้แจ้งเห็นจริง ถ้าไม่มีธรรมในใจ ไม่มีอะไรสักอย่างในโลกนี้ มีแต่ทิ้งทั้งหมด ให้คิดทบทวนดูให้ดี

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
พระธรรมเทศนา “เยี่ยมเยือนอินเดีย”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒





ปฏิบัติทางสั้นที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็คือ "ภิกษุเองจะพึงวางกังวลในขันธ์ห้า เสีย" นี่คือ หัวใจสติ หัวใจอริยมรรค ถ้าวางกังวลได้ในขันธ์ห้า

จิตพ้นเกี่ยวข้องขันธ์ห้า ก็พ้นทิฏฐิทั้งสิ้น เพราะพ้นสังขารทั้งสิ้น ถึงจิตวิสังขาร คือ จิตแท้ ไม่ใช่สังขาร ไม่มีสังขาร ไม่ใช่ภพโลกคนเทวดา สัตว์โลกทุกชนิด หรือที่พระนักปฏิบัติ เรียก จิตเป็นกลาง

อมตจิต ที่บริสุทธิ์แล้วก็หยั่งลงสู่ อมตสัจธรรมบริสุทธิ์ พระวิสังขารธรรม คือ นิพพานธรรม อกาลิโก ไม่มีเรื่องกาลเวลาของโลกอวิชชาหลง เป็นอมตสัจธรรม ไม่ใช่ มตธรรม หลงความผิดว่า 'เรา' ego, self เกิด ตาย จะเกิดจะตาย

แม้โสดาบันก็เห็นอมตธรรม พระนิพพานเท่านั้นจริง ไม่ใช่มตธรรมโลกหลง เป็นเรา เขา, แก่ เจ็บ ตาย เมื่อจิตพ้นโลกหลง เป็นโลกุตตรจิต โลกุตตรสุข วิมุตติสุข แล้วโลกธรรมแปดหมดอำนาจ (สุขทุกข์ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ฯลฯ)

อ้าว ลองทำดู สัก ๒๐ - ๓๐ ปี คงได้ผลไม่มากก็น้อย

หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร