ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สงฆ์มี ๒ ประเภท (สมมุติสงฆ์, ทักขิไณยสงฆ์)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57304
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 13 มี.ค. 2019, 06:57 ]
หัวข้อกระทู้:  สงฆ์มี ๒ ประเภท (สมมุติสงฆ์, ทักขิไณยสงฆ์)

สงฆ์มี ๒ ประเภท คือ
สมมุติสงฆ์ (สงฆ์โดยสมมุติ)
และทักขิไณยสงฆ์ (สงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา)


คำว่า สมมุติ คือ การอุปสมบทกรรมอันสงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
สมมุติสงฆ์ คือ ภิกษุสงฆ์ผู้ถึงฐานะของผู้อุปสมบทด้วยสมมุติกรรม
สมมุติสงฆ์นัันปรากฏในวินัยกรรม

ทักขิไณยสงฆ์ คือ หมู่อริยบุคคล ๘
แม้ทักขิไณยสงฆ์จัดเป็นสมมุติสงฆ์ แต่ก็ได้รับการยกยกย่องโดยประการนั้นๆ
แล้วกล่าวไว้โดยเฉพาะ เพื่อกำหนดนาบุญอันประเสริฐในฐานะที่เข้าถึงสรณะ
นบไหว้ เคารพ บูชา สักการะ และระลึกถึงเป็นนิตย์ จริงอยู่ สงฆ์ปุถุชนแม้เป็นนาบุญ
ก็หาใช่นาบุญอันประเสริฐไม่ (สมมุติสงฆ์ คือ สงฆ์โดยสมมุติ หมายถึง
ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทตามวินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคลก็ได้
ส่วนทักขิไณยสงฆ์ คือสงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา หมายถึง พระภิกษุผู้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้น)

ถามว่า :- เหตุใดสงฆ์ปุถุชนจึงมิใช่นาบุญอันประเสริฐ
ตอบว่า :- เพราะมีอนุสัยกิเลสคือสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ซึ่งเปรียบเหมือนหญ้าในนาข้าวสาลีที่ทำให้นาเสียหาย
การที่ปุถุชนเป็นนาบุญ เรื่องนี้ปริยัติธรรม(ฉันใด)บุคคล ผู้ทรงปริยัติสัทธรรม
ย่อมจัดเข้าในพระสงฆ์ผู้ควรนบไหว้(ฉันนั้น)กัลยาณปุถุชน
จัดเข้าในเสขบุคคลในอริยสงฆ์(ฉันใด)ปฏิบัติธรรมซึ่งเป็น
เหตุแห่งความดีของกัลยาณปุถุชนก็จัดว่าควรนบไหว้(ฉันนั้น)
โดยแท้จริงแล้ว กัลยาณปุถุชนแม้จะเป็นปุถุชนก็จัดเข้าในเสขบุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อหยั่งเห็นโสดาปัตติผล เพราะถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติธรรม

(กิเลสเหมือนหญ้าทำลายนาบุญของผู้ถวายทาน ดังในคัมภีร์ธรรมบทหน้า ๗๙)

นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีราคะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะแล้วจึงมีผลมาก
นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีโทสะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะแล้วจึงมีผลมาก
นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีโมหะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะแล้วจึงมีผลมาก

ไฟล์แนป:
PhotoRoom-20230407_045037.png
PhotoRoom-20230407_045037.png [ 192.98 KiB | เปิดดู 389 ครั้ง ]

เจ้าของ:  Love J. [ 13 มี.ค. 2019, 07:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สงฆ์มี ๒ ประเภท

ลุงหมาน เขียน:
สงฆ์มี ๒ ประเภท คือ
สมมุติสงฆ์ (สงฆ์โดยสมมุติ)
และทักขิไณยสงฆ์ (สงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา)

คำว่า สมมุติ คือ การอุปสมบทกรรมอันสงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
สมมุติสงฆ์ คือ ภิกษุสงฆ์ผู้ถึงฐานะของผู้อุปสมบทด้วยสมมุติกรรม
สมมุติสงฆ์นัันปรากฏในวินัยกรรม

ทักขิไณยสงฆ์ คือ หมู่อริยบุคคล ๘
แม้ทักขิไณยสงฆ์จัดเป็นสมมุติสงฆ์ แต่ก็ได้รับการยกยกย่องโดยประการนั้นๆ
แล้วกล่าวไว้โดยเฉพาะ เพื่อกำหนดนาบุญอันประเสริฐในฐานะที่เข้าถึงสรณะ
นบไหว้ เคารพ บูชา สักการะ และระลึกถึงเป็นนิตย์ จริงอยู่ สงฆ์ปุถุชนแม้เป็นนาบุญ
ก็หาใช่นาบุญอันประเสริฐไม่ (สมมุติสงฆ์ คือ สงฆ์โดยสมมุติ หมายถึง
ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทตามวินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคลก็ได้
ส่วนทักขิไณยสงฆ์ คือสงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา หมายถึง พระภิกษุผู้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้น)

ถามว่า :- เหตุใด


พระอริยบุคคล ๔ รู้อริยสัจ ๔ ลึกซึ้งแจ่มแจ้งตามลำดับ
เมื่อได้รับของทำบุญแล้วย่อมแสดงธรรมตามภูมิ ตามควร
การได้ฟังธรรมจากพระอริยบุคคล ๔ จำพวกนั้น ได้ทรงจำ
ตรึกตรองพิจารณาตามเป็นบุญอันประเสริฐที่สุดแล้ว

เจ้าของ:  sssboun [ 17 เม.ย. 2019, 08:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สงฆ์มี ๒ ประเภท (สมมุติสงฆ์, ทักขิไณยสงฆ์)

ลุงหมาน เขียน:
สงฆ์มี ๒ ประเภท คือ
สมมุติสงฆ์ (สงฆ์โดยสมมุติ)
และทักขิไณยสงฆ์ (สงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา)


คำว่า สมมุติ คือ การอุปสมบทกรรมอันสงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ
สมมุติสงฆ์ คือ ภิกษุสงฆ์ผู้ถึงฐานะของผู้อุปสมบทด้วยสมมุติกรรม
สมมุติสงฆ์นัันปรากฏในวินัยกรรม

ทักขิไณยสงฆ์ คือ หมู่อริยบุคคล ๘
แม้ทักขิไณยสงฆ์จัดเป็นสมมุติสงฆ์ แต่ก็ได้รับการยกยกย่องโดยประการนั้นๆ
แล้วกล่าวไว้โดยเฉพาะ เพื่อกำหนดนาบุญอันประเสริฐในฐานะที่เข้าถึงสรณะ
นบไหว้ เคารพ บูชา สักการะ และระลึกถึงเป็นนิตย์ จริงอยู่ สงฆ์ปุถุชนแม้เป็นนาบุญ
ก็หาใช่นาบุญอันประเสริฐไม่ (สมมุติสงฆ์ คือ สงฆ์โดยสมมุติ หมายถึง
ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทตามวินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยบุคคลก็ได้
ส่วนทักขิไณยสงฆ์ คือสงฆ์ผู้ควรรับทักษิณา หมายถึง พระภิกษุผู้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้น)

ถามว่า :- เหตุใดสงฆ์ปุถุชนจึงมิใช่นาบุญอันประเสริฐ
ตอบว่า :- เพราะมีอนุสัยกิเลสคือสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ซึ่งเปรียบเหมือนหญ้าในนาข้าวสาลีที่ทำให้นาเสียหาย
การที่ปุถุชนเป็นนาบุญ เรื่องนี้ปริยัติธรรม(ฉันใด)บุคคล ผู้ทรงปริยัติสัทธรรม
ย่อมจัดเข้าในพระสงฆ์ผู้ควรนบไหว้(ฉันนั้น)กัลยาณปุถุชน
จัดเข้าในเสขบุคคลในอริยสงฆ์(ฉันใด)ปฏิบัติธรรมซึ่งเป็น
เหตุแห่งความดีของกัลยาณปุถุชนก็จัดว่าควรนบไหว้(ฉันนั้น)
โดยแท้จริงแล้ว กัลยาณปุถุชนแม้จะเป็นปุถุชนก็จัดเข้าในเสขบุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อหยั่งเห็นโสดาปัตติผล เพราะถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติธรรม

(กิเลสเหมือนหญ้าทำลายนาบุญของผู้ถวายทาน ดังในคัมภีร์ธรรมบทหน้า ๗๙)

นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีราคะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะแล้วจึงมีผลมาก
นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีโทสะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะแล้วจึงมีผลมาก
นามีหญ้าเป็นโทษ มหาชนนี้มีโมหะเป็นโทษ
ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะแล้วจึงมีผลมาก


เมื่อพื้นฐานคือประชาชนดีมีศีล มีธรรมแล้ว เมื่อบวชก็ย่อมจะเป็นพระ
สงฆ์ที่ดีได้มากกว่า(โอกาสมีมาก)ที่มาจากพื้นฐานไม่ดีมาจากประชาชน
ที่ไร้ศีลธรรมประจำใจครับ

เจ้าของ:  tongka [ 19 ส.ค. 2019, 11:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สงฆ์มี ๒ ประเภท (สมมุติสงฆ์, ทักขิไณยสงฆ์)

ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมา สงฆ์มีสองฝ่ายเท่านั้น คือ ภิกษุสงฆ์ กับภิกษุณีสงฆ์
สงฆ์สมมุติก็แบ่งเป็นสองฝ่ายเท่านี้
สงฆ์ที่ผ่านสมมุติไปแล้วก็มีสองฝ่ายเท่านี้

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/