วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 02:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุพนิมิต : โยนิโสมนสิการ วิธีการแห่งปัญญา

โยนิโสมนสิการ ที่โบราณแปลสืบมาว่า "ทำในใจโดยแยบคาย" หรือมนสิการโดยแยบคาย หรือง่ายๆ ว่า คิดแยบคาย เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี หรือคิดอย่างมีวิธี ตามความหมายที่กล่าวมาแล้ว

ขอทวนความย้ำว่า เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาการปัญญา โยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับเหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองเป็นอิสระ

ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์เป็นอิสระ ทำให้พึ่งตนได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำคัญของโยนิโสมนสิการ

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฏางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฏางคิกมรรค" (สํ.ม.19/136/37 ฯลฯ)


"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด
โยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ " (สํ.ม.19/414/113)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ ดำรงอยู่ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ไม่มีอาหารหาดำรงอยู่ได้ไม่ ฉันใด
นิวรณ์ ๕ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ไม่มีอาหาร หาดำรงอยู่ได้ไม่
อะไรเล่าคืออาหาร...ก็คือ การกระทำให้มาก ซึ่งอโยนิโสมนสิการ...


"ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ ดำรงอยู่ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ไม่มีอาหารหาดำรงอยู่ได้ไม่ ฉันใด
โพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ไม่มีอาหาร หาดำรงอยู่ได้ไม่ อะไรเล่าคืออาหาร...ก็คือ การกระทำให้มาก ซึ่งโยนิโสมนสิการ..." (สํ.ม.19/357-372/94-98)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย เพราะโยนิโสมนสิการ เพราะโยนิโสสัมมัปปธาน (การตั้งความเพียรชอบถูกวิธี) เราจึงได้บรรลุอนุตรวิมุตติ จึงได้ประจักษ์แจ้งอนุตรวิมุตติ
แม้เธอทั้งหลายก็จะบรรลุอนุตรวิมุตติได้ ประจักษ์แจ้งอนุตรวิมุตติได้ เพราะโยนิโสมนสิการ เพราะโยนิโสสัมมัปปธาน" (วินย.4/35/42 ฯลฯ)

"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่าสำเร็จได้ แก่ผู้รู้ผู้เห็น มิใช่แก่ผู้ไม่รู้ มิใช่แก่ผู้ไม่เห็น

เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงจะมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย?

เมื่อรู้เห็น (วิธีทำให้เกิด และไม่ให้เกิด) โยนิโสมนสิการ และอโยนิโสมนสิการ

เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญเพิ่มพูน

เมื่อมนสิการโดยแยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และอาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถูกละได้" (ม.มู.12/11/12)

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตาม ที่เป็นกุศล อยู่ในภาคกุศล อยู่ในฝ่ายกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูลราก ประชุมลงในโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ เรียกว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น" (สํ.ม.19/465/129)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรมหาลิ โลภะ...โทสะ ...โมหะ...อโยนิโสมนสิการ...จิตที่ตั้งไว้ผิด เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อการกระทำกรรมชั่ว เพื่อความเป็นไปแห่งกรรมชั่ว
อโลภะ...อโทสะ ...อโมหะ...โยนิโสมนสิการ...จิตที่ตั้งไว้ชอบ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อการกระทำกัลยาณกรรม เพื่อความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม" (องฺ.ทสก.24/47/90)

"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป " (องฺ.ทสก.20/68/15)

"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ... ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"

"โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย" (องฺ.ทสก.20/108/22)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สำหรับภิกษุเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่นแม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น" (ขุ.อิติ.25/194/236)

"เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น หรือให้สัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
เมื่อมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น" (องฺ.เอก.20/186/41)

"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น หรือ ให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์" (องฺ.เอก.20/76/17)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย" (องฺ.เอก.20/21/5)

โยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต เป็นเหตุให้ราคะไม่เกิด และราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตติ เป็นเหตุให้โทสะไม่เกิด และโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) เป็นเหตุให้โมหะไม่เกิด และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ (องฺ.ติก.20/508/258)

เมื่อโยนิโสมนสิการ นิวรณ์ 5 ย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นเหตุให้โพชฌงค์ ๗ เกิดขึ้น และเจริญเต็มบริบูรณ์ (สํ.ม.19/446-7/122)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล กล่าวคือ

เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด

เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ)

เมื่อกายสงบผ่อนคลาย ย่อมได้เสวยสุข

ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ

ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง

เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง

เมื่อนิพพิทา ก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ" (ที.ปา.11/455/329)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของโยนิโสมนสิการ

ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ

โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง

ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย

การทำในใจโดยแยบคาย นี้ มีความหมายแค่ไหนเพียงไร คัมภีร์ชั้นอรรถกถา และฎีกาได้ไขความไว้ โดยวิธีแสดงไวพจน์ให้เห็นความหมายแยกเป็นแง่ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังต่อไปนี้

๑. อุบายมนสิการ แปลว่า คิด หรือ พิจารณาโดยอุบาย คือ คิดอย่างมิวิธี หมายถึงคิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะ ทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะ และสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย

๒. ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือ คิดถูกทาง คือ คิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ จัดลำดับได้ หรือ มีลำดับ มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบ ตามแนวเหตุผล เป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้ ที่นี้ เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้น ที่โน้น หรือ กระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิด เข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง

๓. การณมนสิการ แปลว่า คิดเป็นตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล หรือ คิดอย่างมีเหตุผล หมายถึงการคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มา ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ

๔. อุปปาทกมนสิการ แปลว่า คิดให้เกิดผล คือ ใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์ เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร การรู้จักคิดในทางที่ทำให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือ ทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น

ไขความทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ อาจมีลักษณะครบทีเดียวทั้ง ๔ ข้อ หรือ เกือบครบทั้งหมดนั้น หากจะเขียนลักษณะทั้ง ๔ ข้อนั้นสั้นๆ คงได้ความว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ ก็เห็นได้ยากสักหน่อย มักจับเอาไปได้แต่บางแง่บางด้าน ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือไม่ก็ต้องเขียนบรรยายยืดยาว เหมือนอย่างที่เขี่ยนไว้ตอนเริ่มต้นของบทนี้

อย่างไรก็ตาม มีลักษณะเด่นบางอย่างของความคิดแบบนี้ ที่อาจถือเป็นตัวแทนของลักษณะอื่นๆได้ ดังที่ได้เคยแปลโดยนัยไว้ว่า ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด การคิดเป็น การคิดตรงตามสภาวะ และเหตุปัจจัย การสืบค้นถึงต้นเค้า เป็นต้น หรือถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคำแปลสืบๆกันมาว่า "การทำในใจโดยแยบคาย"* ก็ได้

ที่อ้างอิง *
* แม้ในภาษาอังกฤษ ก็มีผู้คิดแปลไปต่างๆ คำแปลบางคำ อาจช่วยประกอบความเข้าใจได้ จึงนำลงไว้ให้พิจารณา (เริ่มจากความหมายโดยพยัญชนะ) proper mind – work; proper attention; systematic attention; reasoned attention; attentive consideration; reasoned consideration; considered attention; careful consideration; careful attention; ordered thinking ; orderly reasoning; genetical reflection; critical reflection; analytical reflection.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



ได้กล่าวไว้แล้วตอนก่อนๆ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างโยนิโสมนสิการที่เป็นองค์ประกอบภายใน นี้ กับ ปรโตโฆสะดีงาม หรือ กัลยาณมิตร ที่เป็นองค์ประกอบภายนอก

ในตอนนี้ พึงสังเกตให้ละเอียดต่อไปอีกว่า ถ้าบุคคลคิดเองไม่เป็น คือ ไม่รู้จักใช้โยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตรจึงอาศัยศรัทธาเข้ามาช่วยเหลือ

จะเห็นได้ว่า สำหรับลักษณะ ๓ ด้านแรกของโยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตรช่วยได้เพียงชี้แนะส่องนำให้เห็นช่อง
แต่ตัวบุคคลผู้นั้นจะต้องคิดพิจารณาเข้าใจด้วยตนเอง เมื่อถึงขั้นเข้าใจจริง ศรัทธาจะทำให้ไม่ได้ * (* นี่คือความหมายด้านลึกของ “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ” หรือ ตนเป็นที่พึ่งของตน) ดังนั้น ขอบเขตของศรัทธาจึงจำกัดมากสำหรับการช่วยโยนิโสมนสิการ

แต่สำหรับลักษณะที่ ๔ ศรัทธาแสดงบทบาทได้แรงกล้า เช่น คนบางคนเป็นคนอ่อนแอ มักหดหู่ท้อถอย หรือ ชอบคิดเรื่องเหลวไหล เรื่องเสียหายต่างๆ
ถ้ากัลยาณมิตรสร้างสร้างศรัทธาได้สำเร็จ ก็จะช่วยคนเช่นนี้ได้มาก อาจพูดเร้าใจ ปลุกใจ ให้กำลังใจ และชักจูงด้วยวิธีต่างๆ อย่างได้ผล

ในทางกลับกัน คนบางคนมีโยนิโสมนสิการเป็นปกติ รู้จักคิดด้วยตนเอง เมื่อมีเหตุให้หดหู่ท้อถอย หรือ เศร้าเสียใจ เขาก็คิดแก้ไข ปลุกใจของเขาเองได้สำเร็จเป็นอย่างดี

ส่วนในด้านตรงข้าม ถ้าได้ปาปมิตร หรือมีอโยนิโสมนสิการ แม้แต่อยู่ในสถานการณ์ที่ดีงาม ประสบสิ่งดีงาม ก็ยังคิดให้ไปในทางร้าย และก่อให้เกิดกรรมร้ายได้ เช่น คนร้ายเห็นที่ร่มรื่นสงัด เป็นที่เหมาะแก่การกระทำชั่ว หรือเตรียมการอาชญากรรม คนบางคนขี้ระแวง เห็นคนอื่นยิ้ม ก็คอยจะคิดว่าเขาเยาะเย้ยดูหมิ่น

ถ้าปล่อยให้กระแสความคิดเดินไปเช่นนั้นอยู่บ่อยๆ อโยนิโสมนสิการ ก็จะกลายเป็นอาหารหล่อเลี้ยงอกุศลธรรมชนิดนั้นๆ ให้กล้าแข็งยิ่งขึ้น เช่น คนที่คอยสั่งสมความคิดมองแง่ร้าย คอยเห็นคนอื่นเป็นศัตรู คนที่เสพคุ้นกับความหวาดระแวงว่าคนอื่นจะคิดร้ายจนสะดุ้งผวากลายเป็นโรคประสาท *

อ้างอิงที่ *

* เรียกว่า อโยนิโสมนสิการพหุล เป็นอาหารของนิวรณ์ ในทางตรงข้าม โยนิโสมนสิการพหุล เป็นอาหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ – สํ.ม.19/357-372/94-98 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุแห่งความคิดอย่างเดียวกัน แต่ใช้โยนิโสมนสิการ กับ อโยนิโสมนสิการ ย่อมให้ผลต่อชีวิตจิตใจ และพฤติกรรมไปคนละอย่าง เช่น คนหนึ่งคำนึงถึงความตายด้วยอโยนิโสมนสิการ ก็เกิดความหวาดหวั่น หดหู่ท้อถอย ไม่อยากทำอะไรๆ หรือ ฟุ้งซ่าน คิดวุ่นวาย
อีกคนหนึ่ง คำนึงถึงความตายด้วยโยนิโสมนสิการ กลับทำให้เกิดความสำนึกในการที่จะละเว้นความชั่ว ใจสงบ เกิดความไม่ประมาท กระตือรือร้น เร่งทำสิ่งดีงาม * (วิสุทฺธิ.2/2 วิสุทฺธิ.ฎีกา 2/3)

ในด้านการหยั่งรู้สภาวธรรม โยนิโสมนสิการไม่ใช่ตัวปัญญาเอง แต่เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา คือ ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์มิลินทปัญหา (มิลินท.47) แสดงความแตกต่างระหว่าง โยนิโสมนสิการ กับ ปัญญา ว่า

- ประการแรก สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย เช่น แพะ แกะ วัว ควาย อูฐ ลา มีมนสิการ (มนสิการ แต่ไม่เป็นโยนิโส) แต่ไม่มีปัญญา

- ประการที่สอง มนสิการมีลักษณะคำนึงพิจารณา ส่วนปัญญามีลักษณะตัดขาด มนสิการรวบจับความคิดมาเสนอ ทำให้ปัญญาทำงานกำจัดกิเลสได้ เหมือนมือซ้ายจับเอารวงข้าวไว้ ให้มือขวาที่ถือเคียวเกี่ยวตัดได้สำเร็จ

ถ้ามองในแง่นี้ โยนิโสมนสิการ ก็คือ มนสิการชนิดที่ทำให้เกิดการใช้ปัญญา พร้อมกับทำให้ปัญญานั้นเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป *

ที่อ้างอิง *
ตัวอย่างการใช้คำว่า โยนิโส และอโยนิโสมนสิการ บางทีจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดขึ้น เช่น เมื่อเกิดทะเลาะวิวาทในหมู่คณะ คนที่ใช้โยนิโสมนสิการจะหยุดทะเลาะ และหาทางระงับ (วินย. อ.3/269 ฯลฯ) เวรระงับได้โยนิโสมนสิการ (ธ.อ.1/46) จับความหมายของข้อความในพระสูตร เช่นคำว่า สัมภเวสี เป็นต้น โดย อโยนิโส จึงเข้าใจผิดว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีอันตราภพ (อุ.อ.118) เป็นเครื่องช่วยให้เวไนยบุคคลบรรลุธรรม (สํ.อ.3/63) ช่วยให้การฟังธรรมเกิดประโยชน์ (อิติ.อ.268 ฯลฯ) และที่ท่านใช้บ่อย คือ หมายถึง วิปัสสนา หรือใช้แทนคำว่า บำเพ็ญวิปัสสนา เช่น ม.อ.1/100 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร