วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 19:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวิตกาย: มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ถึงแม้ในพระไตรปิฏกจะมีพุทธพจน์ที่ตรัสถึงภาวิตกาย เป็นต้น หลายแห่ง แต่ไม่มีคำอธิบาย เหมือนว่าผู้ฟังรู้เข้าใจอยู่แล้ว แต่บางครั้ง มีคนภายนอก โดยเฉพาะพวกเดียรถีย์นิครนถ์ ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดตามความเข้าใจของเขา จึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสอธิบาย

ในพระสูตรชื่อ ว่า มหาสัจจกสูตร มีเรื่องที่เป็นเหตุปรารภทำนองนี้ จึงขอยกมาเล่าเป็นตัวอย่าง และในพระสูตรนี้ มีเฉพาะภาวิตกาย มากับภาวิตจิต (เพราะฝ่ายที่ยกเรื่องขึ้นมา พูดเฉพาะ ๒ ภาวิต นี้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องมีว่า เช้าวันหนึ่ง สัจจกะ นิครนถบุตร ผู้มีชื่อเสียงเด่นดังมาก (เป็นอาจารย์สอนบุตรหลานของเจ้าลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี อรรถกถานิยมเรียก ว่าสัจจกนิครนถ์) เดินมาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้พบและสนทนากับพระพุทธเจ้า
เขาเริ่มต้นโดยยกเอาเรื่องกายภาวนา (การพัฒนากาย) และจิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) ขึ้นมาพูด และกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ตามความคิดเห็นของเขา เหล่าสาวกของพระองค์เอาแต่ขะมักเขม้นประกอบจิตตภาวนา แต่ไม่ประกอบกายภาวนา (เอาแต่พัฒนาจิต ไม่พัฒนากาย)

การที่สัจจกนิครนถ์ แสดงทัศนะขึ้นมาอย่างนี้ อรรกถาบอกภูมิหลังว่า เพราะเขาเห็นพระภิกษุพากันหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ไม่มีการทรมานร่างกาย เมื่อเขาแสดงความเห็นออกมาอย่างนี้
พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่า แล้วตามที่เขาเรียนรู้มา กายภาวนา (การพัฒนากาย) คืออย่างไร
สัจจกนิครนถ์ก็ยกตัวอย่าง การบำเพ็ญตบะถือพรตต่างๆ ในการทรมานร่างกาย (อัตตกิลมถานุโยค) ว่านั่นแหละ คือ กายภาวนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า แล้วจิตตภาวนาล่ะ เขาเรียนรู้มาว่าเป็นอย่างไร?

ตรงนี้ สัจจกนิครนถ์ไม่สามารถอธิบายได้

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้แต่กายภาวนาที่เขาบอกมาก่อนนั้น ก็ไม่ใช่กายภาวนา หรือพัฒนากายในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย) นี่แม้แต่กายภาวนา เขายังไม่รู้ แล้วเขาจะรู้จักจิตตภาวนาได้จากที่ไหน

จากนั้น จึงตรัสบอกให้สัจจกนิครนถ์ฟังคำที่จะทรงอธิบายว่า อย่างไรไม่เป็นภาวิตกาย ไม่เป็นภาวิตจิต และ
อย่างไรจึงจะเป็นภาวิตกาย อย่างไรจึงจะเป็นภาวิตจิต ดังจะยกความตอนที่เป็นสาระสำคัญมาดู

“แน่ะอัคคิเวสสนะ (ชื่อโคตร/นามสกุลของสัจจกนิครนถ์) อย่างไร จึงจะเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต ?

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้เรียนสดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น ถึงจะได้สัมผัสกับสุขเวทนา เขาก็ไม่ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุข ไม่ถึงความเป็นผู้ติดใคร่ใฝ่กระสันในสุขเวทนา
ครั้นสุขเวทนานั้นดับไป เพราะสุขเวทนาดับไป มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาสัมผัสกับทุกขเวทนาเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ฟูมฟาย ไม่รำพัน ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอก ไม่ถึงความฟั่นเฟือนเลือนหลง

“อย่างนี้แหละ อัคคิเวสสนะ เพราะเหตุที่ได้พัฒนากายแล้ว สุขเวทนานั้น ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ทุกขเวทนา ถึงแม้เกิดขึ้น ก็หาได้ครอบงำจิตตั้งอยู่ไม่

“นี่แน่ะอัคคิเวสสนะ สำหรับอริยสาวกผู้หนึ่งผู้ใด สุขเวทนาถึงแม้เกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนากายแล้ว
ทุกขเวทนาถึงแม้เกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้พัฒนาจิตแล้ว ครบทั้งสองข้าง อย่างนี้แล อัคคิเวสสนะ บุคคลจึงเป็นภาวิตกาย และเป็นภาวิตจิต” * (ม.มู.12/405/437)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยคีที่เคยทำกรรมฐาน (นั่งสมาธิ) อ่านแล้วสังเกต คคห.บน ที่ท่านพูดถึง ภาวิตกาย ภาวิตจิต ผู้พัฒนากายแล้ว พัฒนาจิตแล้ว คู่กับสุขเวทนา ทุกขเวทนา

รูปภาพ


ส่วนคุณโรส อ่านแต่คงไม่เข้าใจหรอก :b32: แต่ผู้ที่เคยนั่งสมาธิมาแล้ว เข้าใจเพราะต่างก็เคยประสบกับทุกขเวทนา สุขเวทนามาแล้ว แต่ว่าเวทนาทั้งสองจะครอบงำจิตได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังได้กล่าวแล้วว่า กายภาวนา (การพัฒนากาย) นี้ ความหมายหลักบอกว่า เป็นการพัฒนาปัญจทวาริกกาย คือ กายด้านผัสสทวาร ๕ หรืออินทรีย์ ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย) พอพูดถึงตรงนี้ การพัฒนากายก็แทบจะเป็นคำเดียวกับการพัฒนาอินทรีย์ หรือว่า กายภาวนาก็ น่าจะได้แก่ อินทรีย์ภาวนานั่นเอง

การพัฒนาอินทรีย์ ก็เริ่มด้วยหลักอินทรีย์สังวร ที่พระพุทธเจ้าตรัส เน้นอย่างมากในการศึกษาของผู้เข้ามาบรรพชาในพระธรรมวินัย เรียกว่าเป็นการฝึกขั้นต้น ต่อเนื่องไปกับการฝึกด้านศีล (ในยุคอรรถกถานิยมเรียกเป็นศีลหมวดหนึ่งว่า อินทรียสังวรศีล) จึงขอให้ดูหลักขั้นเบื้องต้นนี้ก่อน ดังตัวอย่างพุทธพจน์ว่า

"ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือติดนิมิต (ภาพรวม) ไม่ถือติดอนุพยัญชนะ (ส่วนย่อย) เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันทราม คือ อภิชฌา (ความติดใคร่ชอบใจ ) และโทมนัส (ความขัดเคืองเสียใจ) ครอบงำ

เธอรักษาจักขุนทรีย์ เธอถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู .... ดมกลิ่นด้วยจมูก ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว... (เช่นเดียวกัน) ภิกษุนั้น ผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันล้วนไร้ระคน (ไม่เจือกิเลส) ในภายใน อย่างนี้แล มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย" (ที.สี.9/122/93)


อินทรีย์สังวรนี้ ยังเป็นขั้นของการฝึก หรือเริ่มศึกษา ยังไม่ใช่ขั้นของพระอรหันต์ ซึ่งเป็น "ภาวิตินทรีย์" (ผู้มีอินทรีย์อันได้พัฒนาแล้ว ที่จะจัดเป็นภาวิตกาย) แต่นี่ยกมาให้ดูเพื่อได้รู้เห็นตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีอินทรีย์สังวรที่ลึกลงไป หรือ ที่ตรัสอีกแนวหนึ่ง ก็ขอยกมาให้ดูเพื่อเทียบกันด้วย (อินทรีย์สังวรนี้ เมื่อทำให้มากแล้ว จะทำสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ นั้นทำให้มากแล้ว จะทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้มากแล้ว จะทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ และโพชฌงค์ ๗ นั้นทำให้มากแล้ว จะทำให้วิชชา และวิมุตติ ที่เป็นผลานิสงส์สุดท้าย ให้บริบูรณ์)

เรื่องนี้ตรัสแก่กุณฑลีย์ปริพาชก ผู้ได้มาเฝ้าที่อัญชนวัน ในเขตเมืองสาเกต มีความตอนนี้ว่า


“ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จะยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ?

ดูกรกุณฑลีย์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ไม่ติดใคร่ ไม่เหิมใจ ไม่ก่อราคะให้เกิดขึ้น และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัวมั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี

อนึ่ง เธอเห็นรูป ที่ไม่น่าชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้างใจ ไม่บีบใจ ไม่ขุ่นเคืองแค้นใจ และกายของเธอก็คงตัว จิตก็คงตัวมั่นคงดี ในภายใน ปลอดพ้นไปด้วยดี

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ....ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว...(เช่นเดียวกัน)...

ดูกรกุณฑลีย์ อินทรียสังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์” (สํ.ม.๑๙/๓๙๖/๑๐๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้มาดูการฝึกยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนี้แหละเรียก ว่า อินทรียภาวนา เป็นหลักที่ตรัสไว้ในอินทรียภาวนาสูตร
ในพระสูตรนี้ ต่อจากตรัสการปฏิบัติแล้ว ยังตรัสให้เห็นความแตกต่างที่พึงเทียบกันระหว่าง "เสขปฏิปทา" คือ พระอริยะผู้ยังฝึก กับ "ภาวิตินทรีย์" คือ พระอรหันต์ผู้ฝึกเสร็จแล้ว ที่เป็นภาวิตกาย

ขอยกมาให้ดูพอรู้รูปเค้า

เรื่องมีว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าไผ่ ในกชังคลนิคม

อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้า

พระองค์ตรัสถามเขาว่า ปาราสิริยพราหมณ์ สอนหลักอินทรีย์ภาวนาแก่เหล่าสาวกใช่ไหม

เมื่อเขารับว่า ใช่

พระองค์ก็ตรัสถามว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการ พัฒนาอินทรีย์อย่างไร

เขาทูลตอบว่า ปาราสิริยพราหมณ์ สอนอินทรีย์ภาวนาโดยไม่ให้เอาตา ดู รูป ไม่ให้เอาหูฟังเสียง

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าถือตามหลักที่พราหมณ์นี้สอน คนตาบอด คนหูหนวก ก็เป็นภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์) ละสิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้น พระองค์ตรัสว่า การพัฒนาอินทรีย์ อย่างที่ปาราสิริยพราหมณ์สอนนั้น เป็นคนละอย่างต่างจากอินทรียภาวนาอย่างยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

พระอานนท์ จึงทูลขอให้ทรงแสดงหลักอินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยมในอริยวินัยนั้น และ ได้ตรัสดังรวมใจความมา ดังนี้ (ความอุปมายาวๆได้ละเสีย)

๑. อินทรียภาวนา: “ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้
ก็แต่ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจ เป็นภาวะปรุงแต่งเป็นของหยาบอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล) สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้นก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้วก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิทโดยเร็ว โดยพลันทันทีโดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษ มีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตาแล้วลืมตา

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน)

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลังเอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้น ยังช้า (ไม่ทันที) หยาดน้ำนั้น ก็ถึงความเหือดหายหมดสิ้นไป ฉับพลันทันใด โดยแน่แท้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยมในวินัยของอริยชน.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา 1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบ หรือ ชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่า พึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือ ตามควรแก่เหตุนั้น,
ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือ ในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่ หรือ ดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง 2. ความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)


รูปภาพ


ถ้ายังมีชอบ มีชังอยู่ ก็ยังไม่ชื่อว่าอุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ก) เสขปาฏิบท (ผู้ยังฝึกศึกษา) : “ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ
เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ....เธออึดอัด เบื่อหน่ายรังเกียจด้วยสภาพน่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้นๆ

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า พระเสขะ ผู้ยังปฏิบัติอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อนี้ต้องอ่านหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ


๒.ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว) “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูล และปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะ ดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)"(ม.อุ.14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ปฏิกูล" ไม่พึงมองความหมายแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจทำนองว่าสกปรก

ยกตัวอย่างตามที่ท่านอธิบายไว้ เช่น คนหน้าตาไม่ดี มีกิริยาอาการไม่งาม เรามองด้วยเมตตา หรือ ของไม่สวย เรามองตามสภาวะของธาตุ ให้เห็นเป็นน่าชื่นชม หรือสบายตา ก็เรียกว่า หมายรู้ในของปฏิกูลเป็นไม่ปฏิกูล
คนหรือของที่เห็นกันว่าสวยงาม เรามองด้วยอนิจจตา หรือ ตามสภาวะของธาตุ ก็กลายเป็นไม่สวยงาม อย่างนี้ ก็เรียกว่า หมายรู้ในของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล
*(ดูคำอธิบายใน ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๙๐/๕๙๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ข้อนี้ต้องอ่านหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ


๒.ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว) “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูล และปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะ ดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)"(ม.อุ.14/853/541)


วางบทความนี้เทียบให้อีก น่าจะเสริมความเข้าใจให้

ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น
ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น
ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น
ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น
ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" * (องฺ.จตุกฺก.21/35/46 - บาลีที่มานี้ หมายถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะทรงเป็นมหาบุรุษ แต่หลักฐานอื่นๆ แสดงว่า คุณสมบัตินี้มีแก่พระขีณาสพทั่วไป )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปต่อ



เมื่อมองความหมายของกายภาวนา และภาวิตกายขยายออกไปอีกแบบ หนึ่ง หรือ เหมือนเปลี่ยนจุดกำหนด คือ แทนที่จะมองตรงผัสสทวาร หรือ อินทรีย์เอง
ก็มองที่โลก หรือ สิ่งภายนอก ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ หรือ เป็นอารมณ์ที่อินทรีย์จะรับรู้ แล้วไปจับจุดเน้นที่สิ่งเหล่านั้น แยกเป็นพวกๆ เป็นประเภทๆไป ก็จะได้ความหมายทำนองที่บอกไว้อีกอย่างหนึ่งว่า กายภาวนาเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือ จำพวกวัตถุ (ตลอดจนแม้แต่ตัวบุคคลในแง่ที่เป็นวัตถุแห่งการรับรู้)

แล้วก็จะเห็นว่า ของจำพวกหนึ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์มาก ก็คือ ปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยาบำบัดโรค ตลอดจนสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุใช้สอย สิ่งที่เสพอาศัยใช้ทำงานทำการทั้งหลาย ซึ่งเป็นแดนใหญ่ที่ชีวิตเกี่ยวข้อง ที่จะต้องฝึกต้องพัฒนาชีวิตนั้น ดังที่ท่านจัดเป็นปัจจัยปฏิเสวนศีล หรือ ปัจจัยสันนิสิต ศีล และก็อาจจัดปัจจัยปฏิเสวนานั้นตามอินทรีย์สังวรเข้าไว้ในกายภาวนานี้ ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ข้อนี้ต้องอ่านหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ


๒.ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว) “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูล และปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะ ดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)"(ม.อุ.14/853/541)


วางบทความนี้เทียบให้อีก น่าจะเสริมความเข้าใจให้

ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น
ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น
ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น
ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น
ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" * (องฺ.จตุกฺก.21/35/46 - บาลีที่มานี้ หมายถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะทรงเป็นมหาบุรุษ แต่หลักฐานอื่นๆ แสดงว่า คุณสมบัตินี้มีแก่พระขีณาสพทั่วไป )



rolleyes rolleyes rolleyes
ชอบที่สุดเรย
ตั้งแต่ลุงกรัชกายตั้งกระทู้มาทั้งหมด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร