วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง พุทธพจน์ทำนองเดียวกับที่แสดงนิพพาน ๒ อย่างนี้ ยังมีอีกหลายแห่ง ข้อความคล้ายกันมาก และลำดับความก็อย่างเดียวกัน มีเนื้อความมากกว่าด้วยซ้ำ อีกทั้งกล่าวพาดพิง ถึงการสิ้นชีวิตของพระอรหันต์ด้วย ต่างแต่พุทธพจน์เหล่านั้น กล่าวความต่อเนื่องกันไปตลอด ไม่แบ่งแยกประเภท และไม่ระบุชื่อนิพพานอย่างใดๆ ทั้งสิ้น

ขอยกมาเพื่อให้พิจารณาเป็นตัวอย่าง บางทีจะเป็นเครื่องเทียบให้ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นบ้าง ดังนี้

๑. ก. "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
เพราะสำรอกอวิชชาได้ เพราะวิชชาเกิดขึ้น

เธอย่อมไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร ไม่ปรุงแต่งอปุญญาภิสังขาร ไม่ปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร

เมื่อไม่คิดปรุง ไม่คิดเสริมแต่ง ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งใดในโลก

เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่กระวนกระวาย* (กินความถึง ความสะดุ้งสะท้าน ความหวาดเสียว ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ความหวั่นใจกังวล ความพะวง ความร้อนรนวุ่นวายใจ –ใกล้เคียงกับ anxiety)

เมื่อไม่กระวนกระวาย ย่อมปรินิพพานประจักษ์เองทีเดียว

เธอย่อมรู้ชัดว่า ขาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่แล้ว กรณียะได้ทำแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก"

ข. "หากเธอเสวยเวทนาที่เป็นสุข ก็รู้ชัด (รู้เท่าทัน) ว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นตนมิได้สยบ
รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นตนมิได้ติดใจพัวพัน
หากเธอเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์....หากเธอเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข รู้ชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง...ตนมิได้สยบ .... ตนมิได้ติดใจพัวพัน
หากเธอเสวยสุขเวทนานั้นอย่างไม่ถูกมัดตัว .... หากเธอเสวยทุกขเวทนา.... หากเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เสวยเวทนานั้นอย่างไม่ถูกมัดตัว
เธอนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย (เวทนาทางทวาร ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย) รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต (เวทนาทางใจ) รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต

เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิต เพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิตานิ) ทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน (อนภินันทิต) จักเป็นของเย็นอยู่ที่นี้เอง เหลือไว้แค่เรือนร่าง"


ค. "ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนว่า บุรุษยกหม้อร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางไว้ที่พื้นดินเรียบ
ส่วนที่เป็นไอร้อน พึงสงบหายที่หม้อนั้นเอง ดินเผา (ตัวหม้อ) คงเหลืออยู่ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต
เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิต เพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวย ทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน จักเป็นของเย็นอยู่ที่นี้ เอง เหลือไว้แค่เรือนร่าง" * ( มาใน สํ.นิ.16/192/99)


ง. "ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนว่า ประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันสิ้นไส้นั้น (และไม่เติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้อื่น) หมดเชื้อ ย่อมดับไป ฉันใด

ภิกษุ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย

เมื่อเสวยเวทนาที่สุด เพียงชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต

เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิต เพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวยทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน จักเป็นของเย็นอยู่ที่ นี้เอง" * (ม.อุ.14/691/443 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในบาลีอีกแห่งหนึ่ง มีความต่างมากกว่าแห่งอื่น คือ มีคำบรรยาย และอุปมาแปลกออกไป ดังนี้ *

๒. ก. ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรมเครื่องอยู่ประจำ ๖ ประการ คือ
เธอเห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ*

ฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก....ลิ้มรสด้วยลิ้น....ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เธอนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต
เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิต เพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวยทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน จักเป็นของเย็นอยู่ที่นี้เอง"

ข. เปรียบเหมือนว่า มีเงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ คราวนั้น บุรุษถือจอบ และตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้น ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทำให้เป็นซีกๆ ผึ่งลม และแดดให้แห้ง แล้วเผาไฟ ทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยไปในลมแรง หรือ ในแม่น้ำกระแสเชี่ยว
เมื่อทำอย่างนี้ เงาที่ปรากฏ เพราะอาศัยต้นไม้นั้น ย่อมเป็นอันถูกถอนราก เป็นดุจตาลยอดด้วน ถูกทำให้ไม่มี หมดทางเกิดขึ้นได้อีกต่อไป แม้ฉันใด
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ก็ฉันนั้น ย่อมบรรลุธรรมเครื่องอยู่ประจำ ๖ ประการ ...อารมณ์ที่ได้เสวยแล้วทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน จักเป็นของเย็นอยู่ที่นี้เอง"

ที่อ้างอิง *

* องฺ.จตุกฺก. 21/195/269 ความท่อนแรก (ก) ของบาลีแห่งนี้ แสดงปฏิปทาเผากิเลสที่เห็นผลเสร็จสิ้น ตั้งแต่ในชาตินี้ เป็นการย้อนคำสอนของนิครนถ์ ซึ่งถือว่า บาปกรรมเก่าที่ยังให้ผลไม่เสร็จ ย่อมส่งผลติดตามไปในภพหน้า

* พึงสังเกตความหมายของการมีอุเบกขาว่ามีสติ สัมปชัญญะกำกับ ไม่ใช่เฉยทื่อๆ ซึมๆ หรือเฉยเซ่อเซอะ ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ราว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจรอบด้านในเรื่องนิพพาน ๒ นี้ ขอย้อนไปกล่าวถึงความคลี่คลายของความหมายในรุ่นอรรถกถา และมติของพระอรรถกถาจารย์อีกเล็กน้อย

ดังได้กล่าวแล้วว่า ในบาลี (คือพระไตรปิฎก) คำว่า อนุปาทิเสสนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ถูกใช้ในการบรรยายเหตุการณ์ หมายถึง การสิ้นชีวิตของพระอรหันต์ เฉพาะอย่างยิ่งของพระพุทธเจ้า

แต่ต่อมา ในสมัยอรรถกถา สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ถูกนำมาใช้ในการบรรยายเหตุการณ์เช่นนั้นด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อความที่บรรยายเหตุการณ์เดียวกัน ในบาลี กับ ในอรรถกถา เปรียบเทียบกัน ดังนี้

ในบาลี: “บิณฑบาต ๒ คราว มีผลเท่าๆกัน มีวิบากเท่าๆ กัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตคราวอื่นๆ ยิ่งนัก กล่าวคือ บิณฑบาตที่ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ บิณฑบาตที่ตถาคตบริโภคแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ “ (ที.ม.10/126/158, ขุ.อุ.25/168/214)

ในอรรถกถา : “พระผู้มีพระภาค เสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว ทรงปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวายแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” (ที.อ.2/226; อุ.อ.512)


โดยความคลี่คลายทางความหมาย หรือ วิวัฒนาการของการใช้คำทำนองนี้ จึงทำให้ความหมายของนิพพานทั้งสองนี้ ในอรรถกถาหลายๆ แห่งเน้นไปที่จุดแห่งเหตุการณ์ ในชีวิตของพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ คือ เน้นการกระทำอันได้แก่ การบรรลุภาวะ มากกว่าจะเน้นตัวภาวะนั้นเอง* (อิติ.อ.482 ฯลฯ)

ด้วยเหตุนี้ ความหมายของนิพพาน ๒ เมื่อว่าตามนัยของอรรถกถาทั่วๆ ไป จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างจำกัด หรือรัดตัวมาก กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิต มุ่งเอาการบรรลุอรหัตผล
อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานของพระอรหันต์เมื่อทำลายขันธ์
บางทีเรียกดับขันธ์ มุ่งเอาการสิ้นชีวิตของพระอรหันต์

โดยเฉพาะอนุปาทิเสสนิพพานนั้น บางทีท่านเอาคติเรื่องจริมจิต หรือ จริมวิญญาณมาช่วยอธิบายด้วย ทำให้ความหมายของอนุปาทิเสสนิพพาน จำเพาะจงลงไปที่การสิ้นชีวิตของพระอรหันต์อย่างชนิดจำกัดตายตัว ดิ้นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ทีเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ในบาลีบางแห่งที่บรรยายภาวะ และความเป็นไปของพระอรหันต์
อรรถกาได้อธิบายแยกว่า ตอนนั้น เป็น สอุปาทิเสสนิพพาน ตอนนี้เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน บาลีและคำอธิบายเช่นนั้น บางแห่งก็อาจช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพาน ๒ อย่างนี้กระจ่างมากขึ้น เช่น บาลีแห่งหนึ่งว่า

เพราะตัณหาสิ้นไปโดยประการทั้งปวง จึงนิโรธด้วยคลายออกได้ไม่มีเหลือ นั่นแหละ คือ สำหรับภิกษุผู้นิพพานแล้วนั้น เพราะไม่ถือมั่น ภพใหม่จึงไม่มี”*(ขุ.อุ.25/84/122)

อรรถกถาอธิบายว่า ข้อความท่อนแรก หมายถึงสอุปาทิเสสนิพพาน ท่อนหลัง หมายถึงอนุปาทิเสสนิพพาน * (อุ.อ.271ฯลฯ) ข้อความนี้ รับกันดีกับบาลีแสดงนิพพาน ๒ ในตอนเริ่มต้นของบทนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห.นี้ลงตัว เรื่องสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

@ นำอรรถาธิบายทั้งหมดที่ได้กล่าวมา รวมทั้งมติของอรรถกถาประกอบเข้าด้วยกัน จึงสรุปความหมายของนิพพาน ๒ อีกครั้งหนึ่งว่า

ภาวะสิ้นกิเลส หรือ หมดตัณหา หรือ สิ้นราคะ โทสะ โมหะ ที่ทำให้ดำเนินชีวิตสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไร้โทษ ไร้ทุกข์ มีแต่เกื้อกูลอำนวยประโยชน์ เป็นสุข ซึ่งมีการตรัสรู้ หรือ บรรลุอรหัตผลเป็นจุดกำหนด เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะที่หมดความผูกพันกับขันธ์ ๕ พ้นจากการปรุงแต่ง ปราศจากภพ หรือ ไม่มีภพใหม่สืบต่อไปอีก ซึ่งประจักษ์ภายในจำเพาะตัว มีความจบสิ้นแห่งชีวิตในโลกเป็นจุดหมาย เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน

พูดให้สิ้นกว่านั้นอีกว่า ภาวะสิ้นกิเลสเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะสิ้นภพเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน
หรือ
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะนิพพานท่ามกลางกิจกรรมของอินทรีย์ ๕ เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน

ภาวะนิพพาน หรือ เป็นอิสระจากกิจกรรมของอินทรีย์ ๕ เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักในใจว่า ตามที่จริงแล้ว หลักฐานในบาลีมิได้แสดงว่า ท่านสนใจอะไรนักที่จะกล่าวถึงภาวะของนิพพาน ๒ อย่างนี้ จุดสนใจที่ท่านเน้น และกล่าวถึงอย่างมากมายก็คือ เรื่องที่จะนำไปปฏิบัติได้ เพื่อให้รู้ประจักษ์นิพพานด้วยตนเอง

การนำเอาเรื่องนิพพาน ๒ อย่าง มากล่าวในแง่วิชาการเสียยืดยาว อาจกลายเป็นการทำเรื่องที่ท่านไม่ยุ่ง ให้กลายเป็นเรื่องที่ยาก และอาจจะทำให้ผู้ศึกษาคาดหมายเกี่ยวกับอัตราส่วนของเรื่องนี้ที่มีในพระไตรปิฎกมากมายเกินความเป็นจริงไปได้ เนื้อความเท่าที่กล่าวมานี้ก็พอจะให้เห็นเค้าเงื่อนบ้างแล้ว จึงควรยุติไว้เพียงนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาเกี่ยวกับนิพพาน ที่เป็นภาวะลึกซึ้งนี้ ถ้าพูดไปตามแนวหลักธรรม หรือ หลักวิชาที่แสดงภาวะเพียงอย่างเดียว นอกจากเป็นเรื่องหนักแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อการวาดภาพที่ผิดพลาดได้ด้วย ทั้งนี้เพราะผู้เสนอคำอธิบาย ไม่อาจแปลคำศัพท์สำคัญบางคำให้ได้ความหมายจะแจ้งรอบด้าน
และ
ฝ่ายผู้พิจารณาก็อาจมีสัญญาเก่าๆ เกี่ยวกับคำศัพท์ หรือ ข้อธรรมเหล่านั้น ที่ไม่สู้ตรงความหมายที่แท้จริงนัก
นอกจากนั้น ยังนำเอาความรู้สึกของปุถุชนเข้ามาเทียบอีกด้วย เช่น เมื่ออ่านข้อความแสดงภาวะตามหลักวิชาข้างต้นนี้แล้ว อาจมองพระอรหันต์เป็นบุคคลที่เสมือนปราศจากชีวิตจิตใจ เย็นชา ไร้ความรู้สึก ไม่ใยดีอะไรกับโลก เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห. นี้ ชนกับที่ตัดมาลงตอนต้นแล้ว

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดอย่างนี้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาของภาวะตามหลักวิชา ก็ควรพิจาณาผลที่ปรากฏในชีวิตจริงเทียบกันไปด้วย ให้เห็นว่า เนื้อหาตามหลักวิชา กับ ผลปฏิบัติในชีวิตจริงสอดคล้องกันได้อย่างไร
แม้ส่วนที่รู้สึกเหมือนขัดกัน ก็กลมกลืนกันได้อย่างไร เป็นเหตุเป็นผลส่งเสริมกันได้อย่างไร เป็นการพิจารณาเนื้อหา และความหมายของหลักวิชา ด้วยการมองที่ตัวของจริงซึ่งนำมาตั้งให้ดู

ของจริง หรือ ผลในทางปฏิบัตินี้ นอกจากที่กล่าวไว้ในตอนที่ว่าด้วยภาวะแห่งภาวิตทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวในตอนก่อนแล้ว พึงเทียบเคียงกับตัวอย่างต่อไปนี้โดยเฉพาะอีกด้วย คือ

ก. ลักษณะภายนอกและชีวิตหมู่
ข. ความมีใจอิสระและมีความสุข
ค. ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด
ง. ความเป็นกันเอง กับ ชีวิต ความตาย ความพลัดพราก และมีเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน :b43: จากพุทธธรรม หน้า ๓๘๕ :b42:

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 เอ่?

ไม่มีต่อหรอค๊ะ
แบบเมืองพระนิพพานอะไรแบบนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
s006 เอ่?

ไม่มีต่อหรอค๊ะ
แบบเมืองพระนิพพานอะไรแบบนี้


ถามให้เมื่อยมื่ออีกแระ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
s006 เอ่?

ไม่มีต่อหรอค๊ะ
แบบเมืองพระนิพพานอะไรแบบนี้


ถามให้เมื่อยมื่ออีกแระ :b1:


พอดีหนูไม่สะบาย นอนถามเจ๋ยๆสะบายกว่า
คริคริ


smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
s006 เอ่?

ไม่มีต่อหรอค๊ะ
แบบเมืองพระนิพพานอะไรแบบนี้


ถามให้เมื่อยมื่ออีกแระ :b1:


พอดีหนูไม่สะบาย นอนถามเจ๋ยๆสะบายกว่า
คริคริ


smiley


ไม่ฉะบายก็ไปหาหมอสะ ปล่อยเรื้อรังเดี๋ยวจะได้ไปอยู่ ณ แดนสุขาวดี กับอมิตาภะ ก่อนวัยอันควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
s006 เอ่?

ไม่มีต่อหรอค๊ะ
แบบเมืองพระนิพพานอะไรแบบนี้


เพิ่งนึกได้ เมืองพระนิพพาน หัวข้อ "ภาวะแห่งนิพพาน" นี่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56459

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
นิพพานถึงได้ด้วยปัญญา
ไม่ใช่ตัวตนไปทำไม่รู้เพิ่ม
แต่เป็นสติสมาธิและปัญญา
ในการตามรู้ความจริงตามได้
ตรงสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ว่ากำลังมี
และต้องเกิดจากการพึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่ไม่ได้เกิดจากการประพฤติตามๆกันโดยขาดการไตร่ตรองตามคำสอนตรงปัจจุบันขณะ
มิจฉาคือทางผิดไม่พึ่งคิดตามคำสอนส่วนทางถูกคือฟังเพื่อรู้ตรงสัจจะที่กำลังมีตรงตามที่กำลังปรากฏทันที
https://youtu.be/mO66x_ezpGY
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร