วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 02:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 09:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาโดยอาศัยประสบการณ์ตนเอง ประสปการณ์จากครูอาจารย์โดยเทียบเคียงกับปริยัติ

[*] การภาวนาพุทโธ มีบริกรรมพุทโธให้จิตอยู่กับคำบริกรรมตั้งแต่ตื่นยันหลับกำกับจิตด้วยสติไม่ให้ฟุ้งให้ปรุ่งแต่งไปในอารมณ์ภายนอก เผลอไปนึกคิดอย่างอื่นระลึกได้ก็ดึงกลับมาที่คำบริกรรมการปฏิบัติอย่างนี้ กระทำให้มากเจริญให้มาก ความคิด คำพูด การกระทำอันเป็นบาปอกุศลกรรมก็ถูกรำงับศีลก็บริสุทธิ์ ย่อมทำให้เกิดความสบายกายสบายใจ ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาฉุดรากจิตใจเราเข้าไปพัวพัน กายสงบใจสงบจิตก็ตั้งมั่น

[*] เมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอกแล้วอารมณ์ก็จะละเอียดขึ้น ๆ เราก็อยู่กับอารมณ์อันละเอียดนั้นจิตมันก็จะค่อย ๆ ละอารมณ์อันหยาบจนจิตรวมสงบตั้งมั่นอยู่ภายใน มีอารมณ์สุขเอกัคตา หรือ อุเบกขาเอกัคตา แล้วค่อยอาศัยกำลังสมาธิความตั้งมั่นนั้นพิจารณารูปนามกายใจ ก็นเห็นตามเป็นจริง อย่างนี้เป็นการเจริญสมถก่อนมีวิปัสนาเป็นเบื้อหน้า

[*] หรือเมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอก จิตใจตั้งมั่นอยู่กับพุทโธ ดีแล้วก็อาศัยความตั้งมั่นมีสติ รู้กายรู้ใจไปตามที่มันเป็น ไม่ยินดีกับความสุข วางเฉยต่อความทุกข์ ทั้งทางกาย ทางใจ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ แค่ดู จิตใจก็ค่อย ๆ สู่ความเป็นกลางวางเฉยต่อ รูปนามกายใจ เห็นมันตามเป็นจริง กระทำให้มาแล้วย่อมเกิดปัญญาเห็นตามจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตระหนักเห็นทุกข์เห็นความเป็นโทษ จิตใจก็ตั้งมั่น หาทางพ้นไปจากทุกข์ อย่างนี้เป็นวิปัสสนาก่อนมีสมถะเป็นเบื้องหน้า
.........................................................
เป็นอาหาร = >>

คบสัปบุรษ >> ฟังธรรม >> ศรัทธา >> โยนิโสมนสิการ >> สติสัมปชัญญะ >> สำรวมอินทรีย์ >> สุจริต ๓ >> สติปัฏฐาน ๔ >> โพชฌงค์ ๗ >> วิชชาวิมุติ

ไม่คบสัปบุรุษ >> ไม่ฟังธรรม >> ไม่มีศรัทธา >> อโยนิโสมนสิการ >> ขาดสติสัมปชัญญะ >> ไม่สำรวมอินทรีย์ >> ทุจริต ๓ >> นิวรณ์ ๕ >> อวิชชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
ธรรมโอวาท
ของ
พระวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


รูปภาพ

การที่เรามานั่งภาวนา “พุทโธๆ”
โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดี๋ยวนี้
จัดว่าเป็นบ่อบุญถึง ๔ บ่อ เหมือนกับเรายิงนกทีเดียวแต่ได้นกตั้งหลายตัว
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การภาวนาเป็นมหากุศลอันเลิศ
ที่ว่าเราได้บุญถึง ๔ บ่อนั้น คืออะไรบ้าง

ประการที่ ๑ เป็น “พุทธานุสติ”

เพราะขณะที่เรากำหนดลมและบริกรรมว่า “พุทโธๆ” นั้น
เราได้น้อมเอา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
เข้าไปไว้ภายในใจของเราด้วย

พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าสูงกว่าสิ่งอื่นใด
เมื่อได้น้อมเขาไปในตัวเราแล้วก็เกิดความปีติ อิ่มเต็ม เย็นอกเย็นใจ
ความเบิกบานสว่างไสวก็มีขึ้นในดวงจิตของเรา
นี่นับว่าเป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้

ประการที่ ๒ เป็น “อานาปานสติ”

เพราะลมหายใจที่เรากำหนดอยู่นี้
เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีชีวิต และมีสติตื่นอยู่ ไม่ลืม ไม่เผลอ
ไม่ยื่นออกไปข้างหน้า ไม่เหลียวมาข้างหลัง
ไม่คิดไปในสัญญาอารมณ์อื่นนอกจากลมหายใจอย่างเดียว
มีความรู้อยู่แต่ในเรื่องของกองลมทั่วร่างกาย

วิตก ได้แก่ การกำหนดลม
วิจาร ได้แก่ การขยายลม


เมื่อลมเต็มอิ่มและมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
นิวรณ์ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกของใจ
ก็ไม่สามารถแทรกซึมเข้ามาทำลายคุณความดีของเราได้
จิตก็จะมีความสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย
ไม่ตกไปอยู่ในบาปอกุศลอันใดได้
เป็นจิตที่มีอาการเที่ยงตรง ไม่มีอาการวอกแวกและไหลไปไหลมา
มีแต่ความสุขอยู่ในลมส่วนเดียว
นี้ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้

ประการที่ ๓ เป็น “กายคตาสติ”

เป็น “กาเย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ด้วย
เพราะลมหายใจเป็นตัวชีวิต เป็นตัวกายใน
เรียกว่า พิจารณากายในกาย (ธาตุ ๔ เป็นตัวกายนอก)
คือเมื่อเราได้กำหนดลมเข้าไปในส่วนต่างๆ ของร่างกายทุกส่วนแล้ว
เราก็จะมีความรู้เท่าทันถึงสภาพอันแท้จริงของร่างกาย
อันประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
ว่าเมื่อเกิดความกระเทือนระหว่างลมภายนอกกับธาตุเหล่านี้
แล้วได้มีอาการและความรู้สึกเป็นอย่างไร

ร่างกายเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยน ทรุดโทรม และเกิดดับอย่างไร
เราก็จะวางใจเฉยเป็นปกติ เพราะรู้เท่าทันในสภาพธรรมดาเหล่านี้
ไม่หลงยึดถือในรูปร่างกายว่าเป็นตัวตน
เพราะแท้จริงมันก็เป็นเพียงธาตุแท้ ๔ อย่างที่ผสมกันขึ้น
และเมื่อพิจารณาแล้ว ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูลตลอดทั่วร่างกาย
ตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ตลอดทั้งอวัยวะภายในทุกส่วน
เห็นดังนี้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย สลดสังเวชขึ้น
ทำให้หมดความยินดียินร้ายในรูปร่างกาย ใจก็เป็นปกติ
นี่ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้

ประการที่ ๔ เป็น “มรณานุสติ”

ทำให้เรามองเห็นความตายได้อย่างแท้จริง
ด้วยการกำหนดลมหายใจ

เมื่อก่อนนี้เรานึกว่าความตายนั้นจะต้องมีอยู่กับคนไข้อย่างนั้น
โรคอย่างนี้ แต่หาใช่ความตายอันแท้จริงไม่
แท้จริงมันอยู่ที่ปลายจมูกของเรานี่เอง มิได้อยู่ไกลไปจากนี้เลย


ถ้าเลยออกไปจากปลายจมูกแล้วก็ต้องตาย
ทั้งนี้ให้เราสังเกตดุลมที่หายใจเข้าออก ก็จะเห็นได้ว่า
ลมนี้เลยจมูกออกไปแล้วไม่กลับเข้ามาอีก เราต้องตายแน่
หรือถ้าลมเข้าไปในจมูกแล้วไม่กลับออกมา ก็ต้องตายเหมือนกัน
เมื่อเรามองเห็นความตายมีอยุ่ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเช่นนี้
เราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวอยู่เสมอ
ไม่เป็นผู้ลืมตาย หลงตาย เราก็จะตั้งอยู่ในความดีเสมอไป
นี่ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้

:b44: :b44:

คัดลอกเนื้อหาจาก
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๒.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์,
๒๕๕๓. หน้า ๒๐๒-๒๐๔.



viewtopic.php?f=2&t=39800

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 06 มี.ค. 2019, 12:17, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 12:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
Love J. เขียน:
พิจารณาโดยอาศัยประสบการณ์ตนเอง ประสปการณ์จากครูอาจารย์โดยเทียบเคียงกับปริยัติ

[*] การภาวนาพุทโธ มีบริกรรมพุทโธให้จิตอยู่กับคำบริกรรมตั้งแต่ตื่นยันหลับกำกับจิตด้วยสติไม่ให้ฟุ้งให้ปรุ่งแต่งไปในอารมณ์ภายนอก เผลอไปนึกคิดอย่างอื่นระลึกได้ก็ดึงกลับมาที่คำบริกรรมการปฏิบัติอย่างนี้ กระทำให้มากเจริญให้มาก ความคิด คำพูด การกระทำอันเป็นบาปอกุศลกรรมก็ถูกรำงับศีลก็บริสุทธิ์ ย่อมทำให้เกิดความสบายกายสบายใจ ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาฉุดรากจิตใจเราเข้าไปพัวพัน กายสงบใจสงบจิตก็ตั้งมั่น

[*] เมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอกแล้วอารมณ์ก็จะละเอียดขึ้น ๆ เราก็อยู่กับอารมณ์อันละเอียดนั้นจิตมันก็จะค่อย ๆ ละอารมณ์อันหยาบจนจิตรวมสงบตั้งมั่นอยู่ภายใน มีอารมณ์สุขเอกัคตา หรือ อุเบกขาเอกัคตา แล้วค่อยอาศัยกำลังสมาธิความตั้งมั่นนั้นพิจารณารูปนามกายใจ ก็นเห็นตามเป็นจริง อย่างนี้เป็นการเจริญสมถก่อนมีวิปัสนาเป็นเบื้อหน้า

[*] หรือเมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอก จิตใจตั้งมั่นอยู่กับพุทโธ ดีแล้วก็อาศัยความตั้งมั่นมีสติ รู้กายรู้ใจไปตามที่มันเป็น ไม่ยินดีกับความสุข วางเฉยต่อความทุกข์ ทั้งทางกาย ทางใจ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ แค่ดู จิตใจก็ค่อย ๆ สู่ความเป็นกลางวางเฉยต่อ รูปนามกายใจ เห็นมันตามเป็นจริง กระทำให้มาแล้วย่อมเกิดปัญญาเห็นตามจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตระหนักเห็นทุกข์เห็นความเป็นโทษ จิตใจก็ตั้งมั่น หาทางพ้นไปจากทุกข์ อย่างนี้เป็นวิปัสสนาก่อนมีสมถะเป็นเบื้องหน้า
.........................................................
เป็นอาหาร = >>

คบสัปบุรษ >> ฟังธรรม >> ศรัทธา >> โยนิโสมนสิการ >> สติสัมปชัญญะ >> สำรวมอินทรีย์ >> สุจริต ๓ >> สติปัฏฐาน ๔ >> โพชฌงค์ ๗ >> วิชชาวิมุติ

ไม่คบสัปบุรุษ >> ไม่ฟังธรรม >> ไม่มีศรัทธา >> อโยนิโสมนสิการ >> ขาดสติสัมปชัญญะ >> ไม่สำรวมอินทรีย์ >> ทุจริต ๓ >> นิวรณ์ ๕ >> อวิชชา


สาธุครับ

อ้างคำพูด:
ข้อความบางส่วนจาก ธชัคสูตรที่สมเด็จพระณาณสังวรทรงรจนาไว้ จาก..https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/579.html

ธชัคคปริตร
ธชัคคปริตร (แปล)
Minou 8 June 2017

ธชัคคปริตร (แปล)
ธชัคคปริตร เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยายเพื่อป้องกันภัย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงให้อรรถาธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า “คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่าเมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง หรือชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้


ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น ”



บทขัดธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ

ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย

สัพพูปัททะวะชาลมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี

คะณะนา นะ จะ มุตตานัง
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด

ปะริตตันตัมภะณามะ เห
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ

บทธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ

เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ

ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ

ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ

ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว

เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ
สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว

อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว

มมญฺหิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ เม ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไปฯ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วรุณสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อถอีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี

โส ปหียิสฺสตีติ ฯ
อันนั้นจักหายไป ดังนี้

ตํ โข ปน ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺคํอุลฺโลกยตํ
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปชาปติสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป

วรุณสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม

อีสานสฺส วาเทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหีเยถาปิ โนปิ ปหีเยถ
อันนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อรหํ
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา

สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ

สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้

มมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป



อีกประการมีในอนุสสติ ๖


การบอกให้ผู้อื่นบริกรรมพุทโธ เท่ากับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เพราะให้คนอื่นรู้ชื่อพระพุทธเจ้า เคารพสักการะพระพุทธเจ้า พุทโธ เป็นชื่อพระพุทธเจ้า เมื่อเขาบริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจก็เท่ากับให้เอารู้กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนตามด้วย คุณมีมากโขครับท่านเจ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกแล้ว ตั้งแต่วันแรก

ว่าครูบาอาจารย์ ที่สอนพุทโธ ท่านย้ำนักย้ำหนาๆๆๆๆ

ว่า

ให้ตีใจความของพุทโธ ให้ออก


พระวินัย พระสูตรพระคาถาต่างๆ พระอภิธรรม พระปริยัติ ในพระไตรปิฎก
ในพระไตรปิฎก

คือ พระศาสดา คือพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ จึง ไม่แต่งตั้งให้ พระอรหันต์พระองค์ไหน พระสาวกนิกายต่างๆ องค์ไหน
เป็นศาสดา แทนพระองค์

พระสงฆ์ เกิดตามสัทธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง
จึงต้องปฎิบัติ ตาม พระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ เท่านั้น

และทรงแสดงไว้ว่า หากพุทธบริษัทใด ได้ศึกษา และปฎิบัติ ตรงตามอรรถะ และพยัญชนะ
ที่พระพุทธองค์ ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

พุทธบริษัทนั้น ย่อมเข้าถึง ปริยัติ ปฎิบัติปฎิเวธ ที่ถุุกต้อง
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
Love J. เขียน:
พิจารณาโดยอาศัยประสบการณ์ตนเอง ประสปการณ์จากครูอาจารย์โดยเทียบเคียงกับปริยัติ

[*] การภาวนาพุทโธ มีบริกรรมพุทโธให้จิตอยู่กับคำบริกรรมตั้งแต่ตื่นยันหลับกำกับจิตด้วยสติไม่ให้ฟุ้งให้ปรุ่งแต่งไปในอารมณ์ภายนอก เผลอไปนึกคิดอย่างอื่นระลึกได้ก็ดึงกลับมาที่คำบริกรรมการปฏิบัติอย่างนี้ กระทำให้มากเจริญให้มาก ความคิด คำพูด การกระทำอันเป็นบาปอกุศลกรรมก็ถูกรำงับศีลก็บริสุทธิ์ ย่อมทำให้เกิดความสบายกายสบายใจ ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจมาฉุดรากจิตใจเราเข้าไปพัวพัน กายสงบใจสงบจิตก็ตั้งมั่น

[*] เมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอกแล้วอารมณ์ก็จะละเอียดขึ้น ๆ เราก็อยู่กับอารมณ์อันละเอียดนั้นจิตมันก็จะค่อย ๆ ละอารมณ์อันหยาบจนจิตรวมสงบตั้งมั่นอยู่ภายใน มีอารมณ์สุขเอกัคตา หรือ อุเบกขาเอกัคตา แล้วค่อยอาศัยกำลังสมาธิความตั้งมั่นนั้นพิจารณารูปนามกายใจ ก็นเห็นตามเป็นจริง อย่างนี้เป็นการเจริญสมถก่อนมีวิปัสนาเป็นเบื้อหน้า

[*] หรือเมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวายในอารมณ์ภายนอก จิตใจตั้งมั่นอยู่กับพุทโธ ดีแล้วก็อาศัยความตั้งมั่นมีสติ รู้กายรู้ใจไปตามที่มันเป็น ไม่ยินดีกับความสุข วางเฉยต่อความทุกข์ ทั้งทางกาย ทางใจ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ แค่ดู จิตใจก็ค่อย ๆ สู่ความเป็นกลางวางเฉยต่อ รูปนามกายใจ เห็นมันตามเป็นจริง กระทำให้มาแล้วย่อมเกิดปัญญาเห็นตามจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตระหนักเห็นทุกข์เห็นความเป็นโทษ จิตใจก็ตั้งมั่น หาทางพ้นไปจากทุกข์ อย่างนี้เป็นวิปัสสนาก่อนมีสมถะเป็นเบื้องหน้า
.........................................................
เป็นอาหาร = >>

คบสัปบุรษ >> ฟังธรรม >> ศรัทธา >> โยนิโสมนสิการ >> สติสัมปชัญญะ >> สำรวมอินทรีย์ >> สุจริต ๓ >> สติปัฏฐาน ๔ >> โพชฌงค์ ๗ >> วิชชาวิมุติ

ไม่คบสัปบุรุษ >> ไม่ฟังธรรม >> ไม่มีศรัทธา >> อโยนิโสมนสิการ >> ขาดสติสัมปชัญญะ >> ไม่สำรวมอินทรีย์ >> ทุจริต ๓ >> นิวรณ์ ๕ >> อวิชชา


สาธุครับ

อ้างคำพูด:
ข้อความบางส่วนจาก ธชัคสูตรที่สมเด็จพระณาณสังวรทรงรจนาไว้ จาก..https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/579.html

ธชัคคปริตร
ธชัคคปริตร (แปล)
Minou 8 June 2017

ธชัคคปริตร (แปล)
ธชัคคปริตร เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยายเพื่อป้องกันภัย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงให้อรรถาธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า “คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่าเมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง หรือชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้


ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น ”



บทขัดธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ

ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย

สัพพูปัททะวะชาลมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี

คะณะนา นะ จะ มุตตานัง
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด

ปะริตตันตัมภะณามะ เห
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ

บทธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ

เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ

ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ

ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ

ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว

เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ
สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว

อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว

มมญฺหิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ เม ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไปฯ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วรุณสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อถอีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี

โส ปหียิสฺสตีติ ฯ
อันนั้นจักหายไป ดังนี้

ตํ โข ปน ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺคํอุลฺโลกยตํ
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปชาปติสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป

วรุณสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม

อีสานสฺส วาเทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหีเยถาปิ โนปิ ปหีเยถ
อันนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อรหํ
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา

สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ

สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้

มมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป



อีกประการมีในอนุสสติ ๖


การบอกให้ผู้อื่นบริกรรมพุทโธ เท่ากับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เพราะให้คนอื่นรู้ชื่อพระพุทธเจ้า เคารพสักการะพระพุทธเจ้า พุทโธ เป็นชื่อพระพุทธเจ้า เมื่อเขาบริกรรมพุทโธคู่ลมหายใจก็เท่ากับให้เอารู้กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนตามด้วย คุณมีมากโขครับท่านเจ



คำภาวนาจะใช้อะไรก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ พองหนอ ยุบหนอ ก็ได้ อย่างอื่นๆก็ได้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ คำเหล่านั้นท่านเปรียบเสมือนเครื่องตรึงจิตให้อยู่กับกรรมฐาน คือ ลมหายใจเท่านั้น

กรรมฐานที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ก็มีมีอยู่ในอนุสสติ ๑๐ (พุทธานุสสติ) คือ ระลึกถึงพุทธคุณเก้าประการ ตั้งแต่อิติปิโส ฯลฯ พุทโธ ภควา-ติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:


คำภาวนาจะใช้อะไรก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ พองหนอ ยุบหนอ ก็ได้ อย่างอื่นๆก็ได้ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ คำเหล่านั้นท่านเปรียบเสมือนเครื่องตรึงจิตให้อยู่กับกรรมฐาน คือ ลมหายใจเท่านั้น

กรรมฐานที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ก็มีมีอยู่ในอนุสสติ ๑๐ (พุทธานุสสติ) คือ ระลึกถึงพุทธคุณเก้าประการ ตั้งแต่อิติปิโส ฯลฯ พุทโธ ภควา-ติ


:b35: :b35: :b35: สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้วถูกแล้วท่านกรัซกาย ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อต่างระหว่างคนถึงกรรมฐานจากคำบริกรรมกับคนที่แค่บริกรรม คนที่เจริญกรรมฐานจริงๆจะไม่เอาแค่คำบริกรรม ท่านเอาคุณนั้นแหละมาตั้งไว้ในใจทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง ท่านเอาคำบริกรรมนั้นแทนการระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง เป็นการเชิญคุณนั้นหรือองค์พระท่านมาสถิตย์ในใจ
..ถ้าไม่ใช่ดังนี้ ก็เป็นเพียงคำบริกรรมกำกับรู้ลมหายใจเฉยๆ แม้สวดอิติปิโสร้อยจบหากไม่รู้จักคุณนั้น ระลึกไม่ออก ไม่ทำด้วยใจระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็เป็นแค่การท่องหนังสือให้จำบทสวดได้เท่านั้น
เข้าไม่ถึงกรรมฐานได้มากสุดแค่ขณิกสมาธิที่เพลิดใจไปกับสิ่งที้ทำ

.. เหมือนเราสงบนิ่งเรากำหนดจิตลงสงบว่าง ทำใจไว้ในความไม่มี ความสละคืนสมมติความคิด และสมมติกิเลสของปลอม..อย่างนี้นี่ได้อุปสมานุสสติเลย แต่ถ้าเราสงบนิ่งบริกรรมสงบหนอๆ หรือว่างหนอๆ แต่ไม่กำหนดลงใจมันก็เป็นแค่คำบริกรรม

.. เหมือนความคิด จะคิดอะไรก็เป็นสมาธิทั้งนั้น แต่คิดยังไงให้เป็นสัมมาสมาธิ

tongue tongue tongue

ขออนุโมทนาครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 06 มี.ค. 2019, 18:13, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
บอกแล้ว ตั้งแต่วันแรก

ว่าครูบาอาจารย์ ที่สอนพุทโธ ท่านย้ำนักย้ำหนาๆๆๆๆ

ว่า

ให้ตีใจความของพุทโธ ให้ออก


พระวินัย พระสูตรพระคาถาต่างๆ พระอภิธรรม พระปริยัติ ในพระไตรปิฎก
ในพระไตรปิฎก

คือ พระศาสดา คือพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ จึง ไม่แต่งตั้งให้ พระอรหันต์พระองค์ไหน พระสาวกนิกายต่างๆ องค์ไหน
เป็นศาสดา แทนพระองค์

พระสงฆ์ เกิดตามสัทธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง
จึงต้องปฎิบัติ ตาม พระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ เท่านั้น

และทรงแสดงไว้ว่า หากพุทธบริษัทใด ได้ศึกษา และปฎิบัติ ตรงตามอรรถะ และพยัญชนะ
ที่พระพุทธองค์ ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

พุทธบริษัทนั้น ย่อมเข้าถึง ปริยัติ ปฎิบัติปฎิเวธ ที่ถุุกต้อง
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

..........................

โลกสวย : ครูบาอาจารย์ย้ำนักย้ำหนาให้ตีใจความของ พุทโธ ให้ดี
Love j : ครูบาอาจารย์ท่านไหนครับ ?

Love j : ผมได้อธิบายไปแล้วว่า พุทโธ นั้นเป็นคำสมมุติขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องกำกับจิตเครื่องระลึกของสติ
โดยความหมายนั้นขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติว่าจะทำไว้ในใจอย่างไร ใช้พุทโธเป็นเครื่องระลึกของอะไรซึ่งโดยมากแล้วก็เป็นเครื่องระลึกของพระพุทธเจ้า

เมื่ออยู่กับคำบริกรรมพุทโธ ระลึกพุทโธก็นึกคิดถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงปัญญาธิคุณ กรุณาธิคุณ บริสุทธิคุณ เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดเว้นจากบาปอกุศลกรรม เว้นความคิด คำพูด การกระทำที่เป็นบาปอกุศลหรือ ทุจริต ๓ / มีสติสัมปชัญญะ สำรวม กาย วาจา ใจ สำรวมอินทรีย์ มีสุจริต ๓ อันเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ กระทำให้มากอย่างนี้แล้วก็ถือเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า


ยังไม่มีใครกล่าวว่าตนเป็นพระอรหันต์ ยังไม่มีใครจากนิกายไหนจะตั้งตนเป็นศาสดา พระธรรมคำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้นแทนองค์ศาสดา ความเห็น คำพูดของผม มากจากการศึกษาคำสอนของพระศาสดา อ้างอิงพระศาสดา

แต่ความเห็น คำพูดของคุณ โลกสวยหลายข้อ บิดเบือนคำของพระศาสดาแต่อ้างพระศาสดา อิงพระศาสดา เมื่อถูกถามก็ชี้แจงไม่ได้อธิบายไม่ได้ ตอบโต้ด้วยการใส่ร้ายด้วยคำที่ไม่เป็นความจริง ตอบโต้ด้วยการดูหมิ่นปรามาส อย่างนี้แล้วยังประกาศตนเองว่าตนเองปฏบัติตรงตามคำสอนของพระศาสดาอยู่หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
๑.อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
๔.สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗.สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา หรือ
ตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒.พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓.พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
๑.อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
๔.สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗.สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา หรือ
ตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒.พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓.พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา


พุทโธ ตัวนี้แหละที่เขานำไปบริกรรมตรึงลมหายใจเข้า-ออก (กรรมฐาน) ดูลมหายใจเข้า ก็ว่า พุท ลมออกก็ว่า โธ พุท-โธๆๆๆๆๆพร้อมกับลมเข้า-ออก แค่นี้

แต่ถ้าเป็นพุทธานุสสติ - ระลึกคุณของพระพุทธ ก็นึกถึงพระคุณของท่านทั้ง ๙ ประการนั้น เทียบ สีลานุสสติ - นึกถึงศีลของตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อภาวนาว่า พุท ว่าโธ แล้วๆเล่าๆไป พุทโธไป ปัญหาอยู่ดังตัวอย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ที่ "พุทโธ" :b13: ดู



นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมา นั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้ อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจ ว่า มันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจ ว่า ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร
หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่าง คคห.บน เขามีทั้งปริยัติ และปฏิบัติ ปริยัติเขาก็รู้ตามที่เขาว่า แต่พอมาปฏิบัติใช้พุทโธ เจอสภาวธรรมตามที่มันเป็นเข้าไป ไปไม่เป็นเลย :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
๑.อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
๔.สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗.สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา หรือ
ตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒.พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓.พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา


พุทโธ ตัวนี้แหละที่เขานำไปบริกรรมตรึงลมหายใจเข้า-ออก (กรรมฐาน) ดูลมหายใจเข้า ก็ว่า พุท ลมออกก็ว่า โธ พุท-โธๆๆๆๆๆพร้อมกับลมเข้า-ออก แค่นี้

แต่ถ้าเป็นพุทธานุสสติ - ระลึกคุณของพระพุทธ ก็นึกถึงพระคุณของท่านทั้ง ๙ ประการนั้น เทียบ สีลานุสสติ - นึกถึงศีลของตน



สาธุ สาธุ สาธุ

ถ้าหากคนกำหนดคำบริกรรม

- พุท ตามหายใจเข้า โดยทำไว้ในใจถึง
..ความเป็นผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ รู้ปัจจุบัน ของแท้นี้คือลมหายใจนี้เป็นธาตุที่มีในกายนี้ เป็นสิ่งที่เนิ่องด้วยกาย ไม่มีลมหายใจนี้เราตาย เพราะลมหายใจคือกายสังขาร
.. ไม่เอาจิตจับความคิดอื่นใดตามสมมติของกิเลสรัก ชัง หลงที่สร้างมาหลอกให้จิตหลงทางใจ
.. ตั้งมั่นดำรงใจไว้ถึงความแจ่มใสเบิกบานไม่มีกิเลส

- โธ ตามหายใจออก โดยทำไว้ในใจถึง
..ความเป็นผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ รู้ปัจจุบัน ของแท้นี้คือลมหายใจนี้เป็นธาตุที่มีในกายนี้ เป็นสิ่งที่เนิ่องด้วยกาย ไม่มีลมหายใจนี้เราตาย เพราะลมหายใจคือกายสังขาร
.. ไม่เอาจิตจับความคิดอื่นใดตามสมมติของกิเลสรัก ชัง หลงที่สร้างมาหลอกให้จิตหลงทางใจ
.. ตั้งมั่นดำรงใจไว้ถึงความแจ่มใสเบิกบานไม่มีกิเลส

อีกประการ คือ

- หายใจเข้า ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกคำว่าพุทยาวตามลมหายใจโดยนึกถึงพระพุทเจ้า
- หายใจออก ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกคำว่าโธยาวตามลมหายใจโดยนึกถึงพระพุทธเจ้า

เขาจะได้อะไรครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อภาวนาว่า พุท ว่าโธ แล้วๆเล่าๆไป พุทโธไป ปัญหาอยู่ดังตัวอย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ที่ "พุทโธ" :b13: ดู



นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมา นั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้ อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจ ว่า มันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจ ว่า ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร
หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


ผมแนะนำอย่างนี้ว่า สังวรอินทรีย์ก่อน อ่านหรือฟังพระธรรมคำสอนพิจารณาใคร่ครวญให้เกิด
ความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องว่าปฏิบัติเพื่ออะไร โทษของกาม คุณของสมาธิ เมื่อใคร่ครวญ
พิจารณา ทำไว้ในใจดีแล้วก็ปรารภศรัทธา ปรารภความเพียรละบาปอกุศล เจริญกุศล มีสติ
หิริโอตัปปะ รักษาศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ

อาการแบบนี้ แม้ไม่บริกรรม รู้ลมหายใจ มันก็เหวี่ยง ผมผ่านมาด้วยตัวเองคือสมาธินี้มันเป็นอารมณ์ละเอียด
จิตมันยังหยาบ ใจไม่ยินดีในสมาธิ แส่สายอยากคิดอยากปรุง อยากในอารมณ์ภายนอกนั่งเพ่งมัน ๆ ก็เหวี่ยง


แก้ไขล่าสุดโดย Love J. เมื่อ 06 มี.ค. 2019, 18:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่าง คคห.บน เขามีทั้งปริยัติ และปฏิบัติ ปริยัติเขาก็รู้ตามที่เขาว่า แต่พอมาปฏิบัติใช้พุทโธ เจอสภาวธรรมตามที่มันเป็นเข้าไป ไปไม่เป็นเลย :b13:



วันนี้กระทู้ลงถูกตรงนะนี่ สาธุ สาธุิสาธุ ครับท่าน

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อภาวนาว่า พุท ว่าโธ แล้วๆเล่าๆไป พุทโธไป ปัญหาอยู่ดังตัวอย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ที่ "พุทโธ" :b13: ดู



นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมา นั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้ อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจ ว่า มันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจ ว่า ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร
หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


ผมแนะนำอย่างนี้ว่า สังวรอินทรีย์ก่อน อ่านหรือฟังพระธรรมคำสอนพิจารณาใคร่ครวญให้เกิด
ความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้องว่าปฏิบัติเพื่ออะไร โทษของกาม คุณของสมาธิ เมื่อใคร่ครวญ
พิจารณา ทำไว้ในใจดีแล้วก็ปรารภศรัทธา ปรารภความเพียรละบาปอกุศล เจริญกุศล มีสติ
หิริโอตัปปะ รักษาศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ

อาการแบบนี้ แม้ไม่บริกรรม รู้ลมหายใจ มันก็เหวี่ยง ผมผ่านมาด้วยตัวเองคือสมาธินี้มันเป็นอารมณ์ละเอียด
จิตมันยังหยาบ ใจไม่ยินดีในสมาธิ แส่สายอยากคิดอยากปรุง อยากในอารมณ์ภายนอกนั่งเพ่งมัน ๆ ก็เหวี่ยง



คุณทำแบบไหนมาขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 65 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร