วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระยะนี้ ชักไม่ค่อยอยากอ่าน คคห.ใครๆแล้ว ทำไมล่ะ ? อ่านทีไรเมื่อยมือทุกที :b1: อ่ะนะ อ่านแทนที่จะเมื่อยตา กลับเมื่อยมือ มันเป็นยังไงหรอ ? เพราะต้องพิมพ์ไปเรื่อยๆไง :b32: บางทีกระทู้ที่ลงๆไปแล้วไม่ทันจบ ก็ไปเปิดกระทู้ใหม่อีก ไปกันใหญ่ จบไม่ลงสักที

หัวข้อนี้ ทีแรกตั้งใจว่าจะข้ามไป นี่เอาอีกแระ

viewtopic.php?f=1&t=57245

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พาดพิงใครแล้ว แต่เรื่องมันเป็นยังงี้

อ้างคำพูด:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอานี่ก่อน

นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนปะกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)

๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)

๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือ ความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นต้น)

๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น

๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)

๖. อิติ วุตตกะ (พระสูตร ที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)

๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)

๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)

๙. เวทัลละ (พระสูตร แบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่งๆขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น)

เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดี่ยวก็ไปชนกับเรื่องที่ว่า


ประเภทของพระอรหันต์

ในบรรดาทักขิไณยบุคคล หรือพระอริยบุคคล ที่ได้จำแนกแยกประเภทให้ทราบทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนมากนั้น ในฐานะที่พระอรหันต์เป็นบุคคลสูงสุด ผู้จบสิกขา เป็นอเสขะ เสร็จสิ้นภาวนา เป็นภาวิตแล้ว บรรลุจุดหมาย ไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อประโยชน์ตนอีกต่อไป เป็นผู้มุ่งบำเพ็ญปรัตถะ เพื่อประโยชน์สุขแห่งพหูชน เพื่อเกื้อกูลการุณแก่ชาวโลก จึงควรแยกออกมาแสดงให้เห็นชัดเจนจำเพาะเป็นหมวดหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรหันต์ ซึ่งมีทั้งหมด ๒ ประเภทนั้น แยกออกไปโดยคุณสมบัติพิเศษ ที่ได้ และไม่ได้ พร้อมทั้งความหมายสรุปอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

๑. พระปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ท่านผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมถะเพียงใช้สมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น
ได้สมถะไม่เกินรูปฌาน ๔ ไม่มีความสามารถพิเศษ เช่น เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ไม่ได้โลกิยอภิญญา ๕ เป็นต้น จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌาน ต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค

ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌาน ๔ อย่างน้อยขั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาที่ให้บรรลุอรหัตผล

ค. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ ได้ปัญญาแตกฉาน ๔ ประการ * (ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่จำเป็นต้องเป็นอุภโตภาควิมุต – วิสุทฺธิ.2/66; 3/9 ฯลฯ)

๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติและหลุดพ้นจากนามกาย ด้วยอริยมรรค เป็นการหลุดพ้น ๒ วาระ คือ ด้วยวิกขัมภนะ (ข่มกิเลสไว้ด้วยกำลังสมาธิของฌาน) หนหนึ่ง และด้วยสมุจเฉท (ตัดกิเลสถอนรากเหง้าด้วยปัญญา) อีกหนหนึ่ง จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระอุภโตภาควิมุต คือพระอรหันต์ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยหนึ่งขั้น แต่ไม่ได้โลกิยวิชชา โลกิยอภิญญา

ข. พระเตวิชชะ พระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้วิชชา ๓ ด้วย คือ

๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกได้ ซึ่งขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในก่อน แปลกันง่ายๆ ว่า ระลึกชาติได้
๒) จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ถือกันว่าตรงกับทิพพจักขุ หรือทิพยจักษุ
๓) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หรือความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

ค. พระฉฬภิญญะ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้อภิญญา ๖ ด้วย คือ

๑) อิทธิวิธา หรืออิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆได้
๒) ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์
๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือทายใจเขาได้
๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์
๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน และเรียงลำดับตามชื่อที่ใช้เรียก มี ๖ นาม ดังนี้


๑. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

๒. ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ที่นอกจากสุกขวิปัสสก)

๓. อุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน

๔. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓

๕. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖

๖. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ *

พระอรหันต์องค์ใด เป็นทั้งฉฬภิญญะ และปฏิสัมภิทัปปัตตะ ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์ ครอบคลุมทั้งหมด.


ที่อ้างอิงที่ *

* ในบรรดาชื่อทั้ง ๖ นี้ สุกขวิปัสสก เป็นคำรุ่นอรรถกถา นอกนั้นมีมาในบาลีเดิม อนึ่ง ในวิสุทธิ.๓/๓๗๓ แสดงพระอรหันต์ไว้ ๖ ประเภทเหมือนกัน แต่อันดับที่ ๑ เป็น สัทธาวิมุต แทน สุกขวิปัสสก นอกนั้นเหมือนกันกับที่นี้ (สัทธาวิมุต ก็คือ ผู้ปฏิบัติโดยมีอินทรีย์ข้อแรกคือศรัทธาแรงกล้า จนบรรลุโสดาปัตติผล แล้วเรียกติดเรื่อยมาตามชื่อเดิมจนบรรลุอรหัตผล ตามแนว ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๙๓/๓๘๑...ซึ่งเขียนเป็นสัทธาธิมุตต์ แต่มาใน วิสุทธิ. 3/301 สัทธาวิมุตต์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน ประเภทของพระอรหันต์

:b41: พุทธธรรมหน้า ๔๑๘ :b39:

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากลิงค์กระทู้นี้ แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Rosarin ปฏิเสธนิพพาน,ปฏิเสธพระอริยบุคคล

viewtopic.php?f=1&t=57281

ของเขาเป็น "ประเภทและระดับของผู้บรรลุนิพพาน"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไม่พาดพิงใครแล้ว แต่เรื่องมันเป็นยังงี้

อ้างคำพูด:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง



นันทิ ความยินดี, ความติดใจเพลิดเพลิน, ความระเริง, ความสนุก, ความชื่นมื่น

นิพพิทา “ความหน่าย” หมายถึง ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง

ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา, ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์

นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเอง เพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ดีมั๊ยค๊ะลุงกรัชกาย
เม ทำให้ลุงได้มาตั้งกระทู้ใหม่ๆขึ้นมามากขึ้นๆ จนเมื่อยมือเรย
จะได้เห็นรายละเอียดกันมากขึ้น

เดี๋ยวเม จัดให้ลุง เมื่อยมือเป็นสองสามเท่าเรย

พักนี้เม ก็เมื่อยหนักเหมือนกาน จร๊า
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือ ด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรม และนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต หรือ ด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรม และนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา


s006 เอ่?

อันนี้ไม่ใช่ประเภทพระอรหันต์มั๊งคะ
ทรงแสดงถึง สหชาติธรรม ที่ เกิดพร้อมกันของสมาธิ และวิปัสสนา
ในเรื่องนี้ พระพุทธองค์กล่าวถึง มรรคจิต และมรรคปัญญา

มรรคจิตย่อมไม่หลุดพ้น เพราะจิตยังเศร้าหมองด้วยราคะ
มรรคปัญญา ย่อมเจริญไม่ได้ เพราะปัญญายังเศร้าหมองด้วยอวิชชา

ในอรรถกถาระบุว่า
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิวิปัสสนาที่เป็นไปในขณะต่างๆ ดังนี้แล.


s006 เอ่?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร