วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิโมกข์ แปลว่า ความหลุดพ้น หมายถึง ภาวะจิตหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลาย เพราะจิตนั้นยินดียิ่งในอารมณ์ที่กำลังกำหนด จึงน้อมดิ่งเข้าอยู่ในอารมณ์นั้น

ในเวลานั้น จิตปราศจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้น แต่ก็เป็นเพียงความหลุดพ้นด้วยกำลังสมาธิในฌานสมาบัติ และเป็นไปชั่วคราวตราบเท่าที่อยู่ในฌานสมาบัติเหล่านั้น * ไม่ใช่วิมุตติที่เป็นความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งเป็นไวพจน์ของนิพพาน*

อ้างอิงที่ *

* เว้นแต่วิโมกข์ข้อสุดท้าย คือ ข้อ ๘ (สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือนิโรธสมาบัติ) ซึ่งเป็นวิสัยจำเพาะของพระอนาคามี และพระอรหันต์ ผู้หลุดพ้นเด็ดขาดตามขั้นตอนของท่านเองอยู่แล้ว

* วิโมกข์ อนุโลมเรียกเป็นวิมุตติได้เฉพาะเมื่อใช้คำว่า เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยกำลังสมาธิ


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิโมกข์มี ๘ อย่าง คือ (เช่น ที.ปา.11/350/276 ฯลฯ)

๑. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (หมายถึง รูปฌาน ๔ ของผู้ที่ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายตัว เช่น สีผม เป็นต้น เป็นอารมณ์)

๒. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (หมายถึงรูปฌาน ๔ ของผู้ที่ได้ฌานโดยเจริญกสิณ กำหนดอารมณ์ภายนอก)

๓. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า "งาม" (หมายถึง ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหมดจดเป็นอารมณ์ หรือตามคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า ฌานของผู้เจริญอัปปมัญญา คือ พรหมวิหาร ๔ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นอารมณ์ ซึ่งทำให้มองเห็นคนสัตว์ทั้งหลาย งดงามน่าชมไปหมด ไม่น่ารังเกียจเลย)

๔. เพราะล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใสใจนานัตตสัญญา (ความกำหนดหมายภาวะที่เป็นต่างๆ) จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศ (ช่องว่าง) หาที่สุดมิได้

๕. เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

๖. เพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย

๗. เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่

๘. เพราะล่วงเสีย ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่า โดยสาระสำคัญ วิโมกข์ ๘ ก็คือ การแสดงสมาบัติทั้งหลาย (ครบถึงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙) อีกแนวหนึ่งนั่นเอง ดังจะเทียบได้ ดังนี้

วิโมกข์ ที่ ๑

วิโมกข์ ที่ ๒

วิโมกข์ ที่ ๓ (รูป) ฌาน ๔

วิโมกข์ ที่ ๔

วิโมกข์ ที่ ๕

วิโมกข์ ที่ ๖

วิโมกข์ ที่ ๗ อรูปฌาน ๔ = สมาบัติ ๘

วิโมกข์ ที่ ๘ = นิโรธสมาบัติ = อนุปุพพวิหาร (สมาบัติ) ๙


ในการปฏิบัติ อินทรีย์ จะมาสัมพันธ์กับวิโมกข์ ดังนี้ คือ

เมื่อเริ่มปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติจะมีสัทธินทรีย์ หรือ ปัญญินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่งแรงกล้า เป็นตัวนำ

ถ้าผู้นั้น ไปบำเพ็ญสมถะจนได้วิโมกข์ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นสมาธินทรีย์เป็นตัวนำ
ที่ว่าได้วิโมกข์ ในที่นี้ หมายถึงวิโมกข์ ๔ ขึ้นไป (คือได้ถึงอรูปฌาน) ส่วนผู้ที่ยังคงมีสัทธินทรีย์ หรือปัญญินทรีย์เป็นตัวนำ ก็อาจได้ถึงรูปฌานที่ ๔ แต่ไม่สามารถได้อรูปฌาน พูดคลุมๆว่าไม่อาจได้วิโมกข์ (อย่างไรก็ดี ถึงหากจะสมาธินทรีย์เป็นตัวนำ แต่เมื่อถึงตอนท้ายสุด สมาธินทรีย์นั้นก็ต้องกลายเป็นฐานให้ปัญญินทรีย์อยู่ดี ต่างแต่ว่า กว่าจะถึงตอนนั้น สมาธินทรีย์ก็ได้ช่วยให้เกิดวิโมกข์เสียก่อนแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลึกซึ่งเกินความเข้าใจ :b1:

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักขิไณย หรืออริยบุคคล ๗ สัมพันธ์ กับ อินทรีย์ และวิโมกข์ ดังจะเห็นได้ต่อไปนี้

อย่างไรก็ดี ตามปกติ ทักขิไณย ๗ นั้น ท่านแสดงตามลำดับจากขั้นสูงลงมาต่ำ แต่ในที่นี้ เพื่อให้เข้ากับแบบที่ ๑ จึงจะแสดงจากขั้นต่ำขึ้นไปหาขั้นสูง ดังนี้

ก. พระเสขะ หรือ สอุปาทิเสสบุคคล

๑. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา) ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ (ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต)

๒. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม) ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ (ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ)

๓. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) ได้แก่ ผู้ที่เข้าใจอริยสัจธรรมถูกต้องแล้ว เห็นธรรมที่พระตถาคตประกาศแจ่มชัด ประพฤติปฏิบัติถูกต้องดี และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า (หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตผล ที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุอรหัตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต)

๔. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) ได้แก่ ผู้ที่เข้าใจอริยสัจธรรมถูกต้องแล้ว เห็นธรรมที่พระตถาคตประกาศแจ่มชัด ประพฤติปฏิบัติถูกต้องดี และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา (หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ อรหัตผล ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุอรหัตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต)

๕. กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือผู้ประจักษ์กับตัว) ได้แก่ ผู้ที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา (หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ อรหัตผล ที่มีสมาธินทรีย์แรงกล้า ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุอรหัตผล กลายเป็นอุภโตภาควิมุต)

ข. พระอเสขะ หรือ อนุปาทิเสสบุคคล

๖. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ได้แก่ ท่านผู้มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แต่อาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา (หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเป็นตัวนำโดยตลอด จนสำเร็จ)

๗. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) ได้แก่ ท่านผู้ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และอาสวะทั้งหลายสิ้นไป แล้ว เพราะเห็นอริยสัจด้วยปัญญา (หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมา เป็นอย่างมากก่อนแล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อจนสำเร็จ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ถามหน่อยสิที่พากันไปนั่งหลับตาไม่รู้จักดูโลกแล้วฟังคำสอนตามปกตินั่นน่ะทำอะไร
ทำความรู้สึกตัวคิดนึกไปมั่วๆเผื่อปัญญาจะเกิดเองได้ไม่ฟังไม่คิดตามคำสอนจะรู้ได้ยังไง
การจะรู้ความจริงตามคำสอนเกิดจากฟังคำอธิบายรายละเอียดของตัวจริงธัมมะทีละ1
เพราะตามปกติสภาพธรรมเกิดดับได้ทีละ1แต่ละ1และเดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนั้นด้วย
เนื่องด้วยการเกิดดับมันเร็วจนนับไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าบอกว่ากำลังดับนับแสนโกฏิขณะ
นับดูสิทันทางไหนบ้างทางเดียวนะถ้าไม่ทันเพราะมันนับไม่ได้แปลว่ามีกิเลสอวิชชามาก
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ถามหน่อยสิที่พากันไปนั่งหลับตาไม่รู้จักดูโลกแล้วฟังคำสอนตามปกตินั่นน่ะทำอะไร
ทำความรู้สึกตัวคิดนึกไปมั่วๆเผื่อปัญญาจะเกิดเองได้ไม่ฟังไม่คิดตามคำสอนจะรู้ได้ยังไง
การจะรู้ความจริงตามคำสอนเกิดจากฟังคำอธิบายรายละเอียดของตัวจริงธัมมะทีละ1
เพราะตามปกติสภาพธรรมเกิดดับได้ทีละ1แต่ละ1และเดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนั้นด้วย
เนื่องด้วยการเกิดดับมันเร็วจนนับไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าบอกว่ากำลังดับนับแสนโกฏิขณะ
นับดูสิทันทางไหนบ้างทางเดียวนะถ้าไม่ทันเพราะมันนับไม่ได้แปลว่ามีกิเลสอวิชชามาก


โลกภายนอกกว้างไกลใครๆรู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน.
:b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อยให้จบ

ถึงตอนนี้ มีเรื่องควรกล่าวแทรกไว้ เพื่อช่วยป้องกันความสับสนในการศึกษาต่อๆไป คือ เรื่องสำนวนภาษาเกี่ยวกับการกล่าวโดยปริยาย (โดยอ้อม หรือ ตามความหมายบางแง่ บางด้าน หรือแง่หนึ่ง ด้านหนึ่ง หรือ ความหมายอย่างหลวมๆ) และโดยนิปปริยาย (โดยตรง หรือโดยสิ้นเชิง คือ ความหมายจำเพาะ หรือเต็มตามความหมายบริบูรณ์)

ตัวอย่างที่เด่นชัดในเรื่องนี้ คือ พระอรหันต์ ซึ่งมีอยู่เพียง ๒ ประเภท ดังที่กล่าวแล้ว คือ พระปัญญาวิมุต กับ พระอุภโตภาควิมุต
พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน เป็นผู้ได้วิโมกข์ คือ ได้ฌานสมาบัติถึงขั้นอรูปฌานด้วย และบรรลุอรหัตผลด้วย
ส่วนพระปัญญาวิมุต ได้แต่อรหัตผลอย่างเดียว แม้จะได้ฌาน ก็ได้เพียงรูปฌานที่ ๔ ลงมา พระอรหันต์มีประเภทใหญ่เพียงสองเท่านี้

แต่บางคราวนักศึกษาไปพบคำว่าพระอรหันต์เจโตวิมุต จึงอาจงงหรือเกิดความสงสัยขึ้น

ในกรณีเช่นนี้ พึงทราบว่า พระเจโตวิมุต ก็คือ พระอุภโตภาควิมุตนั่นเอง แต่เป็นการเรียกโดยปริยาย ด้วยต้องการเน้นวิธีปฏิบัติที่ผ่านมาในระหว่าง ก่อนที่จะบรรลุอรหัตผล (คือได้ปฏิบัติหนักทางสมถะมาก่อน) มิได้หมายความว่า ท่านบรรลุอรหัตผลด้วยเจโตวิมุตติอย่างเดียว

ยิ่งกว่านั้น ในบางแห่ง แม้แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญทั้งสมถะ และวิปัสสนามาโดยตลอดด้วยกัน ท่านแยกเรียกเป็นพระเจโตวิมุตบ้าง พระปัญญาวิมุตบ้าง เพียงเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ (คือ มีสมาธินทรีย์แรง หรือ มีปัญญินทรีย์แรง) เท่านั้นก็มี ดังที่พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างไว้ ท่านเรียกพระสารีบุตร ว่าเป็นพระปัญญาวิมุต พระมหาโมคคัลลานะ ว่าเป็นพระเจโตวิมุต (ม.ม.13/159/162ฯลฯ)

บางแห่ง ใช้คำว่า เจโตวิมุต และปัญญาวิมุตคู่กัน หมายถึงพระอรหันต์ผู้หนึ่งผู้เดียว (คือผู้ได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามปกติ) ก็มี (องฺ.ปญฺจก.22/71/96) หรืออย่างในปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/493-5/380) ใครเป็นพระสัทธาวิมุต พระทิฏฐิปปัตตะ และพระกายสักขี ท่านก็เรียกอย่างนั้นไปตลอดจนเป็นพระอรหันต์

ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการเรียกโดยปริยาย เพื่อเน้นแง่ความหมายที่ต้องการบางอย่าง ก็จะสับสน กลายเป็นมีพระอรหันต์อีกมากมายหลายประเภท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ในการอ่านความหมายของข้อธรรมต่างๆ ก็เหมือนกัน เช่น ที่ท่านกล่าวว่า สัมมาสติ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (เช่น ที.ม.10/299/349 เป็นต้น) ตามปกติ นักศึกษาย่อมมองสติปัฏฐานว่าเป็นหลัก หรือวิธีปฏิบัติธรรม ที่มีทั้งให้เป็นอาตาปี (มีความเพียร) สัปปชาโน (มีสัมปชัญญะ) เป็นต้น คือเป็นกระบวนการปฏิบัติที่มีองค์ธรรมทุกอย่างพร้อมอยู่ในตัว

บางคนสงสัยว่า สัมมาสติจะเป็นสติปัฏฐานได้อย่างไร หรือว่า สติปัฏฐานจะเป็นเพียงสัมมาสติได้อย่างไร
ในกรณีนี้ จะต้องมองความหมายเสมือนพูดว่า สัมมาสติ ได้แก่ สติอย่างที่ในสติปัฏฐาน หรือ สติอย่างที่ใช้ตามวิธีปฏิบัติของสติปัฏฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สมาธิภาวนา แปลว่า การเจริญสมาธิ หรือ การบำเพ็ญสมาธิ ท่านแสดงไว้ว่า มี ๔ อย่าง (เช่น ที.ปา.11/233/233) เช่นข้อที่ ๔ ว่า “สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”
นักศึกษาบางคนจึงงงและสงสัยว่า สมาธิ ก็คือองค์ธรรมแกนของสมถะ หรือ ตัวสมถะนั่นเอง สมาธิ หรือ สมถะอย่างเดียว ไม่มีวิปัสสนา จะนำไปสู่ความสิ้นอาสวะได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้

ในกรณีนี้ จะต้องเข้าใจว่า ท่านกล่าวถึงสมาธิโดยฐานเป็นจุดรวม หรือ เป็นเวทีของการปฏิบัติธรรม เป็นประดุจสนามที่องค์ธรรมต่างๆ มาชุมนุมกันทำงาน หรือ สู้รบกับข้าศึกคือกิเลส (ที.ม.10/206/248 ฯลฯ) ไม่ใช่หมายความว่าฝึกหรือเจริญสมาธิขึ้นมาอย่างเดียว

ถ้าจะพูดให้เข้าใจกันอย่างง่าย สมาธิภาวนาในกรณีนี้ก็คือ การฝึกฝนปฏิบัติธรรมที่ใช้สมาธิ หรือ การฝึกเอาสมาธิมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมวิธีต่างๆ (พระธรรมทินนาเถรี แสดงความหมายของสมาธิภาวนา ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งตัวสมาธิ และธรรมทั้งหลาย ที่เป็นนิมิต (สิ่งที่กำหนด) และที่เป็นบริขาร (เครื่องประกอบ หรือ เครื่องอุดหนุน) ของสมาธิ (ม.มู.12/508/550)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน จากพุทธธรรม หน้า ๔๐๘

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี
ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี
ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค




เสริมข้อ ๓ หน่อย


สีลัพพตปรามาส นี้ ก็เป็นทิฏฐิ คือ ความเห็น หรือ การยึดถืออย่างหนึ่ง (เช่น ขุ.สุ.25/412/490 ฯลฯ) จึงมีปัญหาว่า เหตุใดต้องแยกต่างหากจากสังโยชน์ข้อที่ ๑ คือ สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นทิฏฐิเหมือนกัน

อรรถกถาอธิบายว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นยึดถือตัวตนนั้น เป็นทิฏฐิพื้นฐานอยู่กับตนเองตามปกติ โดยไม่ต้องอาศัยตรรกะ และการอ้างอิงถือต่อจากผู้อื่น

ส่วนสีลัพพตปรามาส เป็นทิฏฐิชั้นนอก เกี่ยวกับปฏิปทา คือ ทางแห่งการปฏิบัติว่าถูกหรือผิด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก คนละขั้นตอนกันทีเดียว (ดู นิทฺ.อ.1/339) จึงต้องแยกเป็นคนละข้อ และเพราะสีลัพพตปรามาสเป็นเรื่องของปฏิปทานี่แหละ
ท่านจึงอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นว่า สีลัพพตปรามาส เป็นอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นอย่างหนึ่งในที่สุดสองด้าน ซึ่งชาวพุทธพึงหลีกเว้นเสีย เพื่อดำเนินในมรรคาที่ถูกต้อง คือ มัชฌิมาปฏิปทา (อุ.อ.446)

....พอจะสรุปลักษณะการถือศีลพรตที่เป็นสีลัพพตปรามาสได้ว่า เป็นการถือด้วยโมหะ หรือ ด้วยตัณหา และทิฏฐิ ซึ่งแสดงออกรูปของการถือโดยงมงาย ไม่เข้าใจความมุ่งหมาย สักว่าทำตามๆกันไปอย่างเถรส่องบาตร บ้าง
ถือโดยหลงผิดว่าศีลพรตเท่านั้นก็พอให้ถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือถืออย่างเป็นพิธีรีตอบศักดิ์สิทธิ์ ว่าไปตามนั้นแล้ว ก็จะบันดาลผลสำเร็จให้เกิดเอง บ้าง
ถือโดยรู้สึกว่าเป็นข้อบังคับลอยๆ เป็นเครื่องบีบคั้นขืนใจ ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร เพราะไม่เห็นโทษของสิ่งที่พึงงดเว้น ไม่ซาบซึ้งในคุณของการละเว้นสิ่งที่ชั่วเลว และการที่จะทำตามข้อปฏิบัตินั้นๆ จำใจทำไป ไม่เห็นประโยชน์บ้าง
ถือเพราะอยากได้เหยื่อล่อ เช่น โชคลาภ กามสุข เป็นต้น บ้าง
ถือเพราะมีความเห็นผิดในจุดหมายว่า ศีลพรตจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ บ้าง
ถือแล้วเกิดความหลงตัวเอง มีอาการยกตนข่มผู้อื่นบ้าง


ลักษณะการรักษาศีลบำเพ็ญพรตที่ถูกต้อง ไม่เป็นสีลัพพตปรามาส ก็คืออาการที่พ้นจากความผิดพลาด ที่กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งแสดงออกด้วยการปฏิบัติที่เกิดจากความรู้ตระหนักว่า กระทำเพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง
เพื่อเป็นบาทของสมาธิ
เพื่อความสงบเรียบร้อย
เพื่อความดีงามของประชุมชน
ปฏิบัติด้วยมองเห็นโทษของการเบียดเบียน ซาบซึ้งว่า ความสงบเรียบร้อย ไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดี เห็นคุณเห็นโทษแล้ว ละอายบาป มีฉันทะที่จะเว้นชั่วทำความดี โดยพร้อมใจตน ตลอดจนขั้นสุดท้าย คือ ไม่กระทำชั่ว และประพฤติดีอย่างเป็นไปเอง มีศีลและพรตเกิดขึ้นในตัวเป็นปกติธรรมดา ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืน เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่ว
เข้าลักษณะของฐานหนึ่ง ใน ๖ ที่พระอรหันต์น้อมใจไป คือ ข้อที่ว่า พระอรหันต์น้อมใจดิ่งไปในภาวะที่ไม่มีการเบียดเบียน มิใช่เพราะถือสีลัพพตปรามาส แต่เพราะหมดราคะ หมดโทสะ หมดโมหะ (วินย.5/3/9 ฯลฯ)

เบื้องแรก ศีลเป็นความประพฤติปกติ เพราะฝึกปฏิบัติให้เคยชินเป็นนิสัย และเพราะแรงใจที่มุ่งมั่น ฝึกตนให้ก้าวหน้าในคุณความดี
ส่วนเบื้องปลาย ศีลเป็นความประพฤติปกติ เพราะหมดสิ้นเหตุปัจจัยภายในที่จะให้หาทางทำสิ่งที่ไม่ดี

สรุปลงให้สั้นที่สุด หลักการของศีลพรต ก็มีเพียงว่า เมื่อบุคคลถือปฏิบัติศีลพรตใดแล้ว อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ศีลพรตอย่างนั้นผิดพลาด ไร้ผล
เมื่อบุคคล ถือปฏิบัติศีลพรตใดแล้ว กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมถอย ศีลพรตอย่างนั้นถูกต้องมีผลดี (องฺ.ติก.20/518/289 ฯลฯ)


ตราบใดยังเป็นปุถุชน การถือมั่นถือพลาดในศีลพรต ก็ยังมีอยู่ ไม่มากก็น้อย ตามสัดส่วนของตัณหา ทิฏฐิ หรือโมหะ ที่เบาบางลง อย่างน้อยก็ยังมีอาการฝืนใจ หรือข่มไว้ จึงยังไม่พ้นขั้นที่รักษาศีลด้วยความยึดมั่นในศีล และถือเกินเลยคลาดสภาวะไปบ้าง
ต่อเมื่อใด เป็นพระโสดาบัน กิเลสหยาบแรงหมดไป จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้บำเพ็ญบริบูรณ์ในศีล ( เช่น องฺ.ติก.20/526/289 เป็นต้น) การรักษาศีลจึงจะเป็นไปเอง เพราะเป็นศีลอยู่ในตัว เป็นปกติธรรมดา ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝืนอีกต่อไป และถือพอดีๆ ตรงตามหลัก ตามความมุ่งหมาย ไม่หย่อน ไม่เขว ไม่เลยเถิดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ถามหน่อยสิที่พากันไปนั่งหลับตาไม่รู้จักดูโลกแล้วฟังคำสอนตามปกตินั่นน่ะทำอะไร
ทำความรู้สึกตัวคิดนึกไปมั่วๆเผื่อปัญญาจะเกิดเองได้ไม่ฟังไม่คิดตามคำสอนจะรู้ได้ยังไง
การจะรู้ความจริงตามคำสอนเกิดจากฟังคำอธิบายรายละเอียดของตัวจริงธัมมะทีละ1
เพราะตามปกติสภาพธรรมเกิดดับได้ทีละ1แต่ละ1และเดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนั้นด้วย
เนื่องด้วยการเกิดดับมันเร็วจนนับไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าบอกว่ากำลังดับนับแสนโกฏิขณะ
นับดูสิทันทางไหนบ้างทางเดียวนะถ้าไม่ทันเพราะมันนับไม่ได้แปลว่ามีกิเลสอวิชชามาก


โลกภายนอกกว้างไกลใครๆรู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน.
:b1:


1ขณะของเห็นตรงจริงมีแค่สีล้วน1สีค่ะ
เดี๋ยวนี้ดับครบ6ทางสลับกันทีละ1ขณะ
ไม่ปนกันไม่ซ้ำขณะเก่าแค่จิตเห็นดับไป
เพียง3ขณะกิเลสไหลครบ6ทางไปแล้ว
และเดี๋ยวนี้มันดับนับไม่ถ้วนนับแสนโกฏิขณะ
ถามว่าใครบ้างไม่มีกิเลสคิดสิเดี๋ยวนี้ดับแล้ว555
https://youtu.be/NanjadfQk-o
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ถามหน่อยสิที่พากันไปนั่งหลับตาไม่รู้จักดูโลกแล้วฟังคำสอนตามปกตินั่นน่ะทำอะไร
ทำความรู้สึกตัวคิดนึกไปมั่วๆเผื่อปัญญาจะเกิดเองได้ไม่ฟังไม่คิดตามคำสอนจะรู้ได้ยังไง
การจะรู้ความจริงตามคำสอนเกิดจากฟังคำอธิบายรายละเอียดของตัวจริงธัมมะทีละ1
เพราะตามปกติสภาพธรรมเกิดดับได้ทีละ1แต่ละ1และเดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนั้นด้วย
เนื่องด้วยการเกิดดับมันเร็วจนนับไม่ได้ที่พระพุทธเจ้าบอกว่ากำลังดับนับแสนโกฏิขณะ
นับดูสิทันทางไหนบ้างทางเดียวนะถ้าไม่ทันเพราะมันนับไม่ได้แปลว่ามีกิเลสอวิชชามาก


โลกภายนอกกว้างไกลใครๆรู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน.
:b1:


1ขณะของเห็นตรงจริงมีแค่สีล้วน1สีค่ะ
เดี๋ยวนี้ดับครบ6ทางสลับกันทีละ1ขณะ
ไม่ปนกันไม่ซ้ำขณะเก่าแค่จิตเห็นดับไป
เพียง3ขณะกิเลสไหลครบ6ทางไปแล้ว
และเดี๋ยวนี้มันดับนับไม่ถ้วนนับแสนโกฏิขณะ
ถามว่าใครบ้างไม่มีกิเลสคิดสิเดี๋ยวนี้ดับแล้ว555
https://youtu.be/NanjadfQk-o


ว่าจนจบแล้ว คุณโรสยังไม่เข้าใจ :b10: ยังมาถามอีกว่า "ใครบ้าง ไม่มีกิเลส" ก็พระอริยบุคคลนั่นไง ไม่มีกิเลส พระอรหันต์นั่นไง ปราศจากกิเลสแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ลงต่อให้จบสมบูรณ์เลยดีกว่า เพื่อว่าจะเกิดปัญญาบารมีแก่ผู้ดวงตา

ย้อนกลับไปลงข้างต้นมาให้มาชนกับที่ลงแล้วนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 52 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร