วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยคีผู้ปฏิบัติกรรมฐาน สังเกตหลักปฏิบัติหัวข้อนี้เทียบด้วย

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือ วิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เรียก สั้นๆว่า วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน อันจัดเป็นวิธีคิดแบบที่ ๙ นี้ เป็นเพียงการมองอีกด้านหนึ่งของการคิดแบบอื่นๆ จะว่า แทรก หรือ คลุมวิธีคิดแบบก่อนๆที่กล่าวมาแล้วก็ได้ แต่ที่แยกมาแสดงเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก ก็เพราะมีแง่ที่ควรทำความเข้าใจพิเศษ และมีความสำคัญโดยลำพังตัวของมันเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันนี้ มีเนื้อหารวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ที่กล่าวถึงในองค์มรรคข้อที่ ๗ คือ สัมมาสติด้วย แต่ที่แยกบรรยาย ก็เพราะเพ่งความหมายคนละแง่
กล่าวคือ ในสติปัฏฐาน การบรรยายเพ่งถึงการตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่น อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ
ส่วนในที่นี้ การบรรยายเพ่งถึงการใช้ความคิด และเนื้อหาของความคิดที่สติระลึกรู้กำหนดอยู่นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิธีคิดแบบนี้ ก็คือ การที่มีผู้เข้าใจผิดเกี่ยว กับ ความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ โดยเห็นไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้คิดพิจารณาเกี่ยว กับ อดีต หรือ อนาคต ตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการ หรือ วางแผนงานเพื่อกาลภายหน้า

เมื่อเข้าใจผิดแล้ว ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ก็เลยปฏิบัติผิดจากหลักพระพุทธศาสนา

ถ้าเป็นบุคคลภายนอกมองเข้ามา ก็เลยเพ่งว่า ถึงผลร้ายต่างๆ ที่พระพุทธศาสนาจะนำมาให้แก่หมู่ชนผู้ปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสรุป ความหมายที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับปัจจุบัน อดีต และอนาคต สำหรับการใช้ความคิดแบบที่ ๙ นี้ มีดังนี้

- ความคิดที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน คือ ความคิดที่เกาะติดอดีต และเลื่อนลอยไปในอนาคตนั้น มีลักษณะสำคัญ ที่พูดได้สั้นๆว่า เป็นความคิดในแนวทางของตัณหา หรือ คิดด้วยอำนาจตัณหา คิดไปตามความรู้สึก หรือ ใช้คำสมัยใหม่ว่า ตกอยู่ในอำนาจอารมณ์* (อารมณ์ในที่นี้ หมายถึงคำที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า emotion ไม่ใช่อารมณ์ในภาษาธรรม - แต่ถ้ามองให้ลึกจริงๆ ก็เป็นการตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์ในภาษาธรรมด้วย)
โดยมีอาการหวนละห้อยโหยหาอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว เพราะความเกาะติด หรือ ค้างคาในรูปใดรูปหนึ่ง หรือ เคว้งคว้างเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปในภาพที่ฝันเพ้อปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีฐานแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะอึดอัด ไม่พอใจสภาพที่ประสบอยู่ ปรารถนาจะหนีจากปัจจุบัน


ส่วนความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะที่พูดสั้นๆได้ว่า เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญา
ถ้าคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้ หรือ เป็นเรื่องล่วงไปแล้ว หรือ เป็นเรื่องของกาลภายหน้า ก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น


ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความรู้ การคิด การพิจารณาด้วยปัญญาเกี่ยวกับเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตก็ตาม เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และมีความสำคัญตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในทุกระดับ ทั้งในระดับชีวิตประจำวัน เช่น การสั่งสอนเกี่ยวกับบทเรียนจากอดีต ความไม่ประมาทระมัดระวังป้องกันภัยในอนาคต เป็นต้น

ในระดับการรู้แจ้งสัจธรรม ตลอดจนการบำเพ็ญพุทธกิจ เช่น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้อดีต) อดีตังสญาณ (รู้อดีต) อนาคตังสญาณ (รู้อนาคต) เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


- ว่าโดยความหมายทางธรรม ในขั้นการฝึกอบรมทางจิตใจที่แท้จริง คำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็ไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วไป

คำว่า “ปัจจุบัน” ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ มักครอบคลุมกาลเวลาช่วงกว้างที่ไม่ชัดเจน

ส่วนในทางธรรม เมื่อว่า ถึงการปฏิบัติทางจิต "ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียว ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่


ในความหมายที่ลึกลงไปนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึง มีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆขณะ

ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจขึ้น ก็ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้น ที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต (เรียก ว่า ตกอดีต) ตามไม่ทันของจริง หลุดหลงพลาดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว

หรือจิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน คิดฝันไปตามความรู้สึกที่เกาะเกี่ยวกับภาพเลยไปข้างหน้าของสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เลิฟ เจ. แค่อากาศ มองออกไหมขอรับ ลองคิดแบบคิดเรื่องสามเณรสิขอรับ เป็นไง :b13:

ทิ้งไว้สักคืนหนึ่งก่อน พรุ่งนี้ค่อยว่ากันต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


- ตามเนื้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ จะมองเห็นความหมายสำคัญแง่หนึ่ง ของคำว่า “ปัจจุบัน” ในทางธรรม ว่า มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในโลกภายนอกแท้ทีเดียว แต่หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้น มองอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่ตามความหมายของคนทั่วไป ว่า เป็นอดีต หรือ เป็นอนาคต ก็อาจกลายเป็นปัจจุบัน ตามความหมายทางธรรมได้ เช่นเดียวกับที่ปัจจุบันของคนทั่วไป อาจกลายเป็นอดีต หรืออนาคต ตามความหมายทางธรรม ดังได้กล่าวแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปง่ายๆ ว่า ความเป็นปัจจุบัน กำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้อง ต้องรู้ ต้องทำ เป็นสำคัญ ขยายความหมายออกมาในวงกว้างถึงระดับชีวิตประจำวัน
สิ่งที่เป็นปัจจุบัน คลุมถึงเรื่องราวทั้งหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กำลังพิจารณาเกี่ยวข้องต้องทำอยู่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจหน้าที่ เรื่องที่ปรารภเพื่อทำกิจสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติได้ ไม่ใช่คิดเลื่อนลอยฟุ้ง เพ้อฝัน ไปกับอารมณ์ที่ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ ติดข้องอยู่กับความชอบ ความชัง หรือ ฟุ้งซ่านพล่านไปอย่างไร้จุดหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายแง่ต่างๆเหล่านี้ จะมองเห็นได้จากพุทธพจน์ ที่จะยกมาแสดงในที่นี้
แม้แต่พุทธพจน์ที่ตรัสแนะนำไม่ให้รำพึงหลัง ไม่ให้เพ้อหวังอนาคต ก็เป็นการตัดความรู้สึกฝ่ายนั้นออกไป โดยอยู่กับความตระหนักรู้ภาวะที่เป็นจริงในการทำกิจหน้าที่

ดังจะขอให้สังเกตจากบาลีที่ยกมาอ้าง ต่อไปนี้

“ไม่พึงหวนละห้อยถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่พึงเพ้อหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดเป็นอดีต สิ่งนั้นก็ล่วงเลยไปแล้ว
สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง
ส่วนผู้ใดมองเห็นแจ้งชัด ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจุบันในกรณีนั้นๆ อันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ชัดแล้ว เขาพึงบำเพ็ญสิ่งนั้น”

“ควรทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะรู้ได้ว่าจะตายวันพรุ่ง กับพญามัจจุราชแม่ทัพใหญ่นั้น ไม่มีการผัดเพี้ยนได้เลย

“ผู้ที่เป็นอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่ซึมเซาทั้งคืนวัน พระสันตมุนีทรงเรียกขานว่า ผู้มีแต่ละวันเจริญดี” * (ภัทเทกรัตตสูตร ม.อุ.14/526-534/348-351 และดูสูตรสืบเนื่องต่อๆไป 14/535-578/352-375 (ผู้มีแต่ละวันเจริญดี แปลจาก ภทฺเทกรตฺต ซึ่งแปลโดยพยัญชนะว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ จะแปลว่า ผู้มีแต่ละราตรีนำโชค ก็ได้)

อีกแห่งหนึ่ง

“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มา ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

“ส่วนชนผู้อ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มา ละห้อยหาสิ่งที่ล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เหมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้ที่ในกลางแดด” * (สํ.ส.15/22/7)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกต การวางท่าทีของจิตใจเกี่ยวกับกาลเวลา ในแง่ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจตัณหา ตามบาลีข้างต้นนี้ แล้วเทียบกับการปฏิบัติต่ออนาคตด้วยปัญญา ที่ใช้บำเพ็ญกิจตามบาลีข้อต่อๆไป เริ่มตั้งแต่คำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ไปจนถึงการบำเพ็ญกิจของพระภิกษุ และ
เริ่มตั้งแต่การบำเพ็ญกิจส่วนตัว ไปจนถึงความรับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม ดังนี้

“พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนตรวจตราโลกทั้งสอง เพราะคำนึงภัยที่ยังไม่มาถึง” (ขุ.ชา.27/545/136; 1092/231)

“เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเป็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น” (ขุ.ชา.27/51/17; 1854/362 ฯลฯ)


“เธอทั้งหลาย จงยังกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท” (พุทธปัจฉิมโอวาท ที.ม.10/143/180)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการคำนึงอนาคตแล้วปฏิบัติตนเองของพระภิกษุ

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมองเห็นภัยอนาคต ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมควรแท้ที่ภิกษุจะเป็นอยู่โดยเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศตัวเด็ดเดี่ยว เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง

๕ ประการ คืออะไร ? ได้แก่

๑.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความหนุ่มแน่นยามปฐมวัย
แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความชราจะเข้าต้องกายนี้ได้ ก็แลการที่คนแก่เฒ่าถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมมิใช่จะทำได้โดยง่าย
การที่จะเสพเสนาสนะ อันสงัดในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้โดยง่าย
อย่ากระนั้นเลย ก่อนที่สภาพอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบ ไม่น่าพึงใจนั้นจะมาถึง เรารีบเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ...ซึ่งเมื่อเรามีพร้อมแล้ว แม้จะแก่เฒ่าลงก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ เรามีอาพาธน้อย มีความเจ็บไข้น้อย ประกอบด้วยแรงไฟเผาผลาญย่อยอาหารที่สม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ร้อนเกินไป พอดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร
แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความเจ็บไข้จะเข้าต้องกายนี้ได้ ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้เจ็บไข้ ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ ข้าวยังดี บิณฑบาตหาได้ง่าย การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป ก็ยังทำได้ง่าย
แต่จะมีคราวสมัยที่อาหารขาดแคลน ข้าวไม่ดี หาบิณฑบาตได้ยาก การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป จะมิใช่ทำได้ง่าย
พวกประชาชนในที่หาอาหารได้ยาก ก็จะอพยพไปยังถิ่นที่หาอาหารได้ง่าย วัดในถิ่นนั้น ก็จะเป็นที่คับคั่งจอแจ ก็เมื่อวัดคับคั่งจอแจ การที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมมิใช่จะทำได้ง่าย
การที่จะเข้าเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด ในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้ง่าย
อย่ากระนั่นเลย ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้อาหารขาดแคลน ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

๔.อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ ประชาชนทั้งหลาย พร้อมเพรียง ร่วมบันเทิงไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันด้วยสายตารักใคร่
แต่ก็จะมีคราวสมัยที่เกิดมีภัย มีการก่อกำเริบในแดนดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานหนีแยกย้ายกันไป
ในเมื่อมีภัย ประชาชนทั้งหลายย่อมอพยพไปยังถิ่นที่ปลอดภัย วัดในถิ่นนั้นก็จะเป็นที่คับคั่งจอแจ ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้เมื่อมีภัย ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

๕. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ สงฆ์ยังพร้อมเพรียง ร่วมบันเทิงไม่วาทกัน มีการสวดปาติโมกข์ร่วมกัน เป็นอยู่ผาสุก
แต่ก็จะมีคราวสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน ครั้นเมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว การที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย
การที่จะเข้าเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด ในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้ง่าย
อย่ากระนั่นเลย ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้สงฆ์แตกแยกกัน ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...” * (องฺ.ปญฺจก.22/78/117)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสูตรหนึ่ง ตรัสสอนภิกษุผู้อยู่ป่า ว่า เมื่อมองเห็นอนาคตภัย ๕ ประการ ควรจะเป็นอยู่โดยไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศตัวเด็ดเดี่ยว เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรม ที่ยังประจักษ์แจ้ง

อนาคตภัย ๕ ประการนั้น คือ

ภิกษุพิจารณาว่า ตนเองอยู่ผู้เดียวในป่า งู แมงป่อง หรือตะขาบ อาจขบกัด หรืออาจพลัดลื่นหกล้ม อาหารที่ฉันแล้วอาจเป็นพิษ ดี หรือ เสมหะอาจกำเริบ อาจเป็นโรคลมร้ายแรง อาจพบสัตว์ร้าย เช่น สิงห์ เสือ หมี อาจพบคนร้าย หรือ พบอมนุษย์ร้าย แล้วถูกทำอันตราย อาจถึงแก่ความตาย เพราะเหตุเหล่านั้น จึงจะต้องเริ่มระดมความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ *องฺ.ปญฺจก.22/77/115

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในด้านการคิดเตรียมการ เพื่อปกป้องคุ้มครองกิจการ และประโยชน์สุขของส่วนรวม ในกาลภายหน้า ก็มีพุทธพจน์ตรัสสนับสนุนไว้ เป็นตัวอย่างคล้ายๆกัน เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ๕ ประการเหล่านี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป เธอทั้งหลาย พึงตระหนักล่วงหน้าไว้
ครั้นรู้ตระหนักล่วงหน้าแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันอนาคตภัยเหล่านั้น

อนาคตภัย ๕ ประการ คือ อะไร ?

๑. ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา
เธอเหล่านั้น ทั้งที่ตนเองมิได้เจริญกาย - ศีล - จิต – ปัญญา จักให้อุปสมบทชนเหล่าอื่น และพวกเธอจักไม่สามารถฝึกฝนชนเหล่านั้น ในอธิศีล ในอธิจิต ในอธิปัญญา

แม้ชนเหล่านั้น ก็จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา ชนเหล่านั้น ทั้งที่ตนเองมิได้เจริญกาย - ศีล - จิต – ปัญญา จักให้อุปสมบทชนเหล่าอื่น และจักไม่สามารถฝึกฝนชนเหล่านั้น ในอธิศีล ในอธิจิต ในอธิปัญญา
แม้ชนเหล่านั้น ก็จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน ...


๒. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา….เธอเหล่านั้น จักให้นิสัย (เป็นอาจารย์ปกครองดูแลสั่งสอนฝึกอบรม) แก่ชนเหล่านั้น ฯลฯ โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน …


๓. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา เธอเหล่านั้น ....กล่าวอภิธรรมกถา เวทัลละกถา ถลำเข้าสู่ธรรมที่ผิด ก็จักไม่รู้ตัว
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน ....

๔.อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา
เธอเหล่านั้น ....ครั้นเมื่อมีผู้กล่าวสูตรทั้งหลาย ที่เป็นตถาคตภาษิต ลึกซึ้ง มีอรรถล้ำลึก เป็นโลกุตระ เกี่ยวด้วยสุญญตา จักไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ ไม่สำคัญเห็นธรรมเหล่านั้นว่า เป็นสิ่งอันพึงเล่าเรียน

แต่ครั้นเมื่อเขากล่าวสูตรที่กวีแต่ง เป็นบทกวี มีอักขระ พยัญชนะวิจิตร เป็นเรื่องภายนอก เป็นสาวกภาษิต จักตั้งใจฟัง จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ และจักสำคัญเห็นธรรมเหล่านั้น ว่า เป็นสิ่งอันพึงเล่าเรียน
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน...

๕. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มิได้เจริญกาย มิได้เจริญศีล มิได้เจริญจิต มิได้เจริญปัญญา...
ภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ จักเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางเชือนแช ทอดธุระในการอยู่สงัด ไม่เริ่มระดมความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง
ชุมชนผู้เกิดภายหลัง จักถือตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น และชุมชนแม้นั้น ก็จักเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางเชือนแช ทอดธุระในการอยู่สงัด ไม่เริ่มระดมความเพียร...
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน...

"ภิกษุทั้งหลาย นี้คืออนาคตภัยประการ ที่ ๕ ซึ่งยังไม่เกิดในบัดนี้ จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป เธอทั้งหลายพึงตระหนักล่วงหน้า และครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันอนาคตภัยนั้น...” (องฺ.ปัญฺจก.22/79/121)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ ยังตรัสอนาคตภัยเกี่ยวกับส่วนรวมไว้อีกหมวดหนึ่ง ความว่า

“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ๕ ประการเหล่านี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป เธอทั้งหลาย พึงตระหนักล่วงหน้าไว้ และครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันอนาคตภัยเหล่านั้น
อนาคตภัย ๕ ประการคือ อะไร ?

๑. ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบสวยชอบงามในเรื่องจีวร...จักละเลิกการถือครองผ้าบังสุกุล จักละเลิกเสนาสนะอันสงัดในราวป่าแดนไพร จักมาออกันอยู่ในหมู่บ้าน อำเภอ และเมืองหลวง และจักประกอบการแสวงหาอันไม่สมควร อันไม่เหมาะ มีประการต่างๆ เพราะเห็นแก่จีวร...

๒.อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบดีงามเอร็ดอร่อยในเรื่องอาหารบิณฑบาต...จักมาออกันอยู่ในหมู่บ้าน อำเภอ และเมืองหลวง คอยแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น และจักประกอบการแสวงหาอันไม่สมควร อันไม่เหมาะ มีประการต่างๆ เพราะเห็นแก่อาหารบิณฑบาต...

๓. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบโก้งาม ในเรื่องที่อยู่อาศัย...และ จักประกอบการแสวงหาอันไม่สมควร อันไม่เหมาะ มีประการต่างๆ เพราะเห็นแก่ที่อยู่อาศัย...

๔. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรทั้งหลาย และเมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรทั้งหลาย ก็เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ยินดี หรือจักลาสิกขาเวียนกลับไปเป็นคฤหัสถ์ ….

๕. อีกประการหนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยคนวัด และสามเณรทั้งหลาย และเมื่อมีการคลุกคลีด้วยคนวัด และสามเณรทั้งหลาย ก็เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่ ประกอบการบริโภคสิ่งของทำการสั่งสมไว้ มีประการต่างๆ จักกระทำนิมิต (เลศนัยหาลาภ ) แม้อย่างหยาบๆ แม้ที่แผ่นดิน แม้ที่ปลายผักหญ้า นี้ คืออนาคตภัยประการที่ ๕ ซึ่งยังไม่เกิดในบัดนี้ จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
เธอทั้งหลาย พึงรู้ตระหนักล่วงหน้า และครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายาม เพื่อป้องกันอนาคตภัยนั้น...” (องฺ.ปัญฺจก.22/80/124)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร