วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราจะพบในพระไตรปิฎกบ่อยครั้งมาก บางท่านอาจจะหาคำตอบอยู่ ฉะนั้น ในพระไตรปิฎกอธิบายไว้ว่าอย่างไรบ้าง ดังนี้


งข้อความคัดลอกมาจากปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์อรรถกถา ภยเภรวสูตร การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง

บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้ เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิตเข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู แล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่งในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ?ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง ?

ตอบว่า มีดังนี้คือ :-

๑. อติทูร? นั่งไกลเกินไป

๒. อจฺจาสนฺน? นั่งใกล้เกินไป

๓. อุปริวาต? นั่งในที่เหนือลม

๔. อุนฺนตฺปฺปเทส? นั่งในที่สูง

๕. อติสมฺมุข? นั่งตรงหน้าเกินไป

๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก อธิบายว่า

คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูดด้วยเสียงดังนั่งในที่ใกล้เกินไป ก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลม ก็จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูง ก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน ) ก็จะต้องจ้องตากัน นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว)ดูเพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2019, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ ครับ

คนมีมาละญาติ รู้จักเคารพครู และมีปัญญา ถึงจะรู้ฝึกฝนขัดเกาตน
ให้มีกาย วาจา ใจ ที่ดีขึ้น ยากครับบุคคลเช่นนี้หาได้ยาก แม้แต่เดินผ่าน
หน้าผู้หลักผู้ใหญ่ ยังไม่ค่อยจะก้มหัวกันเลย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2019, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกผม ๒ คนสอนให้รู้จักกราบ ไหว้ ผู้หลักผู้ใหญ่เมื่อพบเจอ แต่ก้ไม่รู้
วันข้างหน้าจะเป็นยังเหมือนกันครับ ตอนนี้ก็ยังกราบผม ยังว่านอนสอนง่าย
แต่โตมาอาจเป็นคนไม่ดีก็ได้ เพราะสังคมส่วนมากเค้าไม่ทำกัน หาว่าโบราณ
บ้าง หลายครั้งผมนั่งที่ต่ำแต่ลูกขึ้นนั่งที่สูงกว่าผมก็บอกสอนแนะนำให้เค้ารู้และ
เข้าใจครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 95 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร