วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 14:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
ความเป็นไปขององค์ธรรม ๒ อย่าง คือ สมาธิ และปัญญา มีลักษณะของการอาศัยและส่งเสริมกัน ดังที่มักอ้างพุทธภาษิตว่า

"นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส" ฌานย่อมไม่มี แก่ผู้ไร้ปัญญา และ

"นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน" ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไร้ฌาน

พร้อมทั้งสรุปว่า "ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญญฺจ ส เว นิพฺพานสนฺติเก" ผู้ใด มีทั้งฌานและปัญญา ผู้นั้นแล อยู่ใกล้นิพพาน. (ขุ.ธ.25/35/65)

สำนักแม่สุจิน กับ คุณโรส ฯลฯ เอาแต่พูดโดยไม่ทำ
ถ้าพูดระดับศีล ก็พอมองเห็น เพราะเป็นรูปธรรม ทางกาย วาจา
แต่นี่ไปพูดเรื่องนามธรรมเกิดดับแสนๆโกฎิขณะ คิกๆๆ (เคยถามว่าเคยนับได้เองไหมแสนโกฏิขณะ ไม่เคย แต่ตถาคตว่า ว่า)ซึ่งมองไม่เห็น ก็จึงเหมือนการมโนเลือนลอยเพ้อฝันไป จริงๆนะ


อ้างคำพูด:
Rosarin
สติเกิดได้ โดยไม่มีปัญญาเกิดร่วม
แต่ถ้าปัญญาเกิด จะไม่ขาดสติ เพราะสติคือสภาพระลึกตาม ตรงความจริงที่กำลังมีอยู่

ส่วนสมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ตอนกำลังฟัง และระลึกตามคำสอนได้
ตอนมีสภาพธรรมปรากฏครบทั้ง 6 ทางตามปกติ เป็นปกติเป็นขณะๆไปเป็นขณิกสมาธิ

viewtopic.php?f=1&t=57195&p=440066#p440066



กระทู้นี้ ตั้งชื่อเลียน คคห.คุณโรสนั่น (นั่นนี่อาศัยนั่น ไม่มีนั่น แต่มีนี่ นี่อาศัยนั่น :b32: เปรียบเหมือนคนพูดถึงผี แต่มองไม่เห็นผี ฉะนั้น ) ซึ่งเป็นนามธรรมทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นสติ ปัญญา หรือ สมาธิก็ตาม เป็นส่วนหนึ่งของสังขาร ภายในจิตใจ มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต่างจากรูปธรรม ที่มองเห็น ตัวอย่างง่ายๆ คนไล่ตีกัน เรามองเห็นแต่คนวิ่งไล่กัน ได้ยินเสียงร้อง ช่วยด้วยๆๆ วี๊ดว๊ายๆๆ แต่มองไม่เห็นความคิดในขณะนั้นของคนวิ่งไล่ ของคนวิ่งหนี :b32: ของไทยมุง

แต่คงคิดต่างกัน คนวิ่งหนี ก็กลัวตาย
พวกวิ่งไล่ โกรธแค้นไล่ทันกูจะเอาให้ตาย
พวกไทยมุง บ้างก็คิด น่าสงสารเขานะ
บ้างก็คิดว่า คนวิ่งหนีตายเสียได้ก็ดี เพราะก่อนหน้าเคยเตะข้าบนรถเมล์

คิดกันไปต่างๆแล้วแต่สังขารในขณะนั้นของแต่ละคนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้รักธรรมจะต้องรู้แน่ชัดด้วยว่าอะไรเป็นธรรม มิฉะนั้น อาจทำการผิดพลาดได้ ความรักธรรมและความรู้ธรรม ต้องมาด้วยกัน จึงจะทำความจริงความถูกต้องดีงามที่ประสงค์ให้สำเร็จได้

ความหมาย สัมปยุตตธรรม

สัมปยุตตธรรม ธรรมที่ประกอบอยู่ด้วย, ธรรมที่ประกอบกัน, สภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน หรือพ่วงมาด้วยกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาหลักให้ดูนิดหน่อยตามที่คุณโรส ว่า อาศัยนี่ มีนั่น ขาดโน่น ระหว่าง สติ สัมปชัญญะ (=ปัญญา) สมาธิ = สัมปยุตตธรรม


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

จากใจความของสติปัฏฐาน จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมด เพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ
๑. ร่างกายและพฤติกรรมของมัน
๒. เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ
๓. ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ
๔. ความคิดนึกไตร่ตรอง
ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่นี้แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม
จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อ จะเห็นได้ว่าในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ

ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วยเป็นประจำ ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้างและเพีรยรักษาเสริมทวีความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง สตินี้เอง)

สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สำหรับที่นี้ คือ บอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสจะว่า ว่านั่งหลับตาไหม เข้าใจได้ ว่า แม่สุจิน กับ อ.แนบ ศิษย์สำนักอภิธรรมเดียวกัน

รูปภาพ


สำนัก อ.แนบ ใครนั่งขัดสมาธิหลับตา ก็ว่า ทำฌานเป็นฌาน ว่าเป็นสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
ปัญญาต้องนั่งลืมตาว่า เข้าใจการนั่งหลับตาเป็นฌาน ลืมตาเป็นปัญญาสะงั้น

ปัญหาไม่ใช่ที่ลืมตาหลับตาหรอก อยู่ที่อะไรอุบไว้ก่อน s006

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตลักษณะอาศัยกันและกันของ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา วิปัสสนา


สติปัฏฐาน เป็นอาหารของโพชฌงค์

ความจริงนั้น สติไม่ใช่ตัววิปัสสนา
ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหาก เป็นวิปัสสนา
แต่ปัญญาจะได้โอกาส และจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือ เป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง
ในภาษาของการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติ ก็มักเล็ง และรวมถึงสัมปชัญญะที่ควบอยู่ด้วย และ
สติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือ ชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน *

ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณะอาการที่เรียกว่าสัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ
การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลัก หรือ ตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา
สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัย ในโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น


ที่อ้างอิงที่ *
* สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญา ย่อมอ่อนกำลัง (ม.อ.3/28 ฯลฯ)
ปัญญาปราศจากสติ ไม่มีเลย (วิสุทฺธิ.ฎีกา 1/302)
ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา (เช่น ที.อ.2/474) ฯลฯ)
พูดถึงสติอย่างเดียวเล็งถึงปัญญาด้วย (เช่น องฺ.อ.3/127 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสยังไม่ฝึกหัดพัฒนาอะไรเบย :b1: แค่เห็นตัวหนังสืออ่านก็ไม่เข้าใจแล้ว นี่แหละโทษของการลืมตาแสนโกฏิขณะ กระพริบตากิเลสไหล 6 ทาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย ให้ถึง "วิปัสสนา" ชอบกันนัก onion


ถึงตรงนี้ เห็นควรทบทวนหลักซึ่งได้แสดงไว้ตั้งแต่เริ่มมัชฌิมาปฏิปทา ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ และโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็หล่อเลี้ยงวิชชา และวิมุตติ โดยยกพุทธพจน์มาย้ำ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ พึงกล่าวว่า คือ โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไร้อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ พึงกล่าวว่า คือ สติปัฏฐาน ๔"

"สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้" (องฺ.ทสก.24/61/122 ฯลฯ)


ตามพุทธพจน์นี้ ชัดว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ส่งผลแก่วิชชาวิมุตติ เท่ากับเป็นตัวที่ให้สำเร็จมรรคผล

ส่วนสติปัฏฐานก็ช่วยโดยหล่อเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ นั้น

พุทธพจน์นี้ช่วยให้มองวิปัสสนาได้ชัดขึ้น

ในสติปัฏฐานนั้น สติทำงานเป็นพื้นยืนโรงอยู่

ปัญญา ในชื่อว่า สัมปชัญญะ ก็ได้โอกาสทำงานไปด้วย โดยรู้เข้าใจทุกอย่างที่สติจับดึงตรึงไว้ หรือ เข้าไปถึง

สติจับอันใดให้ สัมปชัญญะก็รู้เข้าใจอันนั้น เหมือนว่ามือจับอะไรเสนอมา ตาก็ได้ดูเห็นสิ่งนั้น

ส่วนโพชฌงค์ ก็คือ บนพื้นของสติปัฏฐานนี่แหละ

คราวนี้สติจับเรื่องส่งให้ปัญญา ที่ชื่อว่า ธรรมวิจัย แล้วคราวนี้ ปัญญาเป็นเจ้าบทบาทรับเรื่องไปวิจัย เหมือนตาได้ดูต่อเนื่องไปทั่วตลอด

ตอนนี้ก็เป็นกระบวนธรรมของปัญญา ที่เรียกว่า โพชฌงค์ ซึ่งแปลว่า "องค์แห่งการตรัสรู้"

สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือ ปัญญา ในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงาน ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา (ดู อภิ.วิ.35/672337 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายคำว่า "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะ ของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ความหมายคำว่า "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะ ของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


s006 เอ่?

การปฎิบัติวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยโสภณเจตสิก 19 ดวง ปัญญาเจตสิก 1ดวง
ืีที่มีนามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ ทีกำลังปรากฎเฉพาะหน้าเป็นอารมณ์
เป็นสัมมาสติในกุศลชวนะประกอบด้วยน้อคะ

เอะอะ จะนั่งคิดนอนคิดนอนคิด เพราะเพียงอาศัยสติสี่แบบ
โดยไม่เป็นสัมมาสติ และไม่มีนามรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ไม่ลงอริยะสัจ ไม่ลงไตรลัษณ์
ไม่ใช่การอบรมวิปัสสนา หล่ะมั๊งค๊ะ ?

ไปนั่งคิดพันเที่ยวหมื่นเที่ยว ไม่เพิกถอนบัญญัติออกไป
ก็พิจารณาไม่ขาด น้อ

เพราะถ้าไม่ตรงตามพระปริยัติที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ก็ไม่ได้รู้แจ้งในธรรมรส รู้เพียงอรรถรส มั๊งคะ?

s006 เอ่? s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ความหมายคำว่า "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะ ของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


s006 เอ่?

การปฎิบัติวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยโสภณเจตสิก 19 ดวง ปัญญาเจตสิก 1ดวง
ืีที่มีนามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ ทีกำลังปรากฎเฉพาะหน้าเป็นอารมณ์
เป็นสัมมาสติในกุศลชวนะประกอบด้วยน้อคะ

เอะอะ จะนั่งคิดนอนคิดนอนคิด เพราะเพียงอาศัยสติสี่แบบ
โดยไม่เป็นสัมมาสติ และไม่มีนามรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ไม่ลงอริยะสัจ ไม่ลงไตรลัษณ์
ไม่ใช่การอบรมวิปัสสนา หล่ะมั๊งค๊ะ ?

ไปนั่งคิดพันเที่ยวหมื่นเที่ยว ไม่เพิกถอนบัญญัติออกไป
ก็พิจารณาไม่ขาด น้อ

เพราะถ้าไม่ตรงตามพระปริยัติที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ก็ไม่ได้รู้แจ้งในธรรมรส รู้เพียงอรรถรส มั๊งคะ?

s006 เอ่? s006


นั่งคิดเอาอย่างนั้นนั่นเท่านี้ นี่เท่านั้น จะว่า ธรรมรสก็ไม่ใช่ อรรถรสก็ม่ายช่าย อย่างนั้นจะให้เรียกว่าอะไร เรียกว่าสัปรด คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ความหมายคำว่า "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะ ของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


s006 เอ่?

การปฎิบัติวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยโสภณเจตสิก 19 ดวง ปัญญาเจตสิก 1ดวง
ืีที่มีนามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ ทีกำลังปรากฎเฉพาะหน้าเป็นอารมณ์
เป็นสัมมาสติในกุศลชวนะประกอบด้วยน้อคะ

เอะอะ จะนั่งคิดนอนคิดนอนคิด เพราะเพียงอาศัยสติสี่แบบ
โดยไม่เป็นสัมมาสติ และไม่มีนามรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ไม่ลงอริยะสัจ ไม่ลงไตรลัษณ์
ไม่ใช่การอบรมวิปัสสนา หล่ะมั๊งค๊ะ ?

ไปนั่งคิดพันเที่ยวหมื่นเที่ยว ไม่เพิกถอนบัญญัติออกไป
ก็พิจารณาไม่ขาด น้อ

เพราะถ้าไม่ตรงตามพระปริยัติที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ก็ไม่ได้รู้แจ้งในธรรมรส รู้เพียงอรรถรส มั๊งคะ?

s006 เอ่? s006


นั่งคิดเอาอย่างนั้นนั่นเท่านี้ นี่เท่านั้น จะว่า ธรรมรสก็ไม่ใช่ อรรถรสก็ม่ายช่าย อย่างนั้นจะให้เรียกว่าอะไร เรียกว่าสัปรด คิกๆๆ

s006 เอ่?

ก็ดีกว่าไม่เป้นสับปะรด

คริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ความหมายคำว่า "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะ ของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


s006 เอ่?

การปฎิบัติวิปัสสนา ก็ต้องอาศัยโสภณเจตสิก 19 ดวง ปัญญาเจตสิก 1ดวง
ืีที่มีนามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ ทีกำลังปรากฎเฉพาะหน้าเป็นอารมณ์
เป็นสัมมาสติในกุศลชวนะประกอบด้วยน้อคะ

เอะอะ จะนั่งคิดนอนคิดนอนคิด เพราะเพียงอาศัยสติสี่แบบ
โดยไม่เป็นสัมมาสติ และไม่มีนามรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ไม่ลงอริยะสัจ ไม่ลงไตรลัษณ์
ไม่ใช่การอบรมวิปัสสนา หล่ะมั๊งค๊ะ ?

ไปนั่งคิดพันเที่ยวหมื่นเที่ยว ไม่เพิกถอนบัญญัติออกไป
ก็พิจารณาไม่ขาด น้อ

เพราะถ้าไม่ตรงตามพระปริยัติที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ก็ไม่ได้รู้แจ้งในธรรมรส รู้เพียงอรรถรส มั๊งคะ?

s006 เอ่? s006


นั่งคิดเอาอย่างนั้นนั่นเท่านี้ นี่เท่านั้น จะว่า ธรรมรสก็ไม่ใช่ อรรถรสก็ม่ายช่าย อย่างนั้นจะให้เรียกว่าอะไร เรียกว่าสัปรด คิกๆๆ

s006 เอ่?

ก็ดีกว่าไม่เป้นสับปะรด

คริคริ


นึกไว้แล้วว่าต้องออกช่องนี้ :b1: ตอนปฏิบัติจริงๆ เขามิได้นั่งแยกแยะว่า สังขาร (เจตสิก) ฝ่ายดี (กุศล) มีเท่าไหร่ อะไรบ้าง ฝ่ายไม่ดี (อกุศล) มีเท่าไหร่ อะไรบ้าง ไม่ใช่เบย ถ้านั่งแยกอย่างนั้นนะ เท่ากับว่า นั่งคิดฟุ้งไป ตัวอย่างนี้ ซึ่งไม่ต้องแยกแยะอะไร ทำไปปฏิบัติไปตามวิธี

แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ

แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต

ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟน ก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็น เค้ารู้สึก ว่า ส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไร เวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน


เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

ดิฉันดีใจค่ะ ที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีก ความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย
มันน่าน้อยใจนัก!!

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดให้คิดมุมหนึ่ง ซึ่งไม่เคยพูด ก็คือมุมที่ว่า ไม่ต้องทำท่าทำทางอยากมีธรรม อยากเป็นธรรม อยากได้ธรรมอะไรหรอก :b1: ธรรมดาธรรมชาติ สบายๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ทำจริงปฏิบัติจริง ซึ่งเขาไม่แยกว่า สังขาร (เจตสิก) ดีร้ายถูกผิดอะไร แต่เขาคิดหาทางออกจากสิ่งที่ประสบ
พูดแบบนักศึกษาปริยัติก็คือหาทางพ้นจากสังขารฝ่ายร้ายด้วย ในขณะเดียวกันสังขารฝ่ายดี ก็ทำงานของมันไปด้วย ดูตัวอย่าง (ให้ดูหลายครั้งแล้ว แล้วแต่จะพูดแง่มุมไหน)

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สาม นั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณา ว่า เป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืน หมุนจนจะอ้วก จนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา ทำให้เราเข้าใจ ว่า ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้ว เข้าใจแล้ว จะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ จะตอบโต้แทบจะทันที เพราะเป็นคนใจร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนาไม่ผิดหรอก แต่โยคีต้องกำหนดจิตฟันฝ่าผ่านสภาวะที่ประสบในขณะนั้นๆไปให้ได้ เมื่อกำหนดผ่านสภาวธรรมนั้นๆได้แล้ว โยคีจะเข้าใจร้องอ๋อเอง

แต่ปัญหาเกือบจะทั้งหมด ก็คือพอประสบกับทุกขอริยสัจแล้ว เกิดความสะทกสะท้านหวั่นไหว หันหลังกลับ ไม่สู้แล้ว แพ้ใจกายตนเองแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร