ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

บวร = บ้าน วัด โรงเรียน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57207
หน้า 4 จากทั้งหมด 23

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 เม.ย. 2019, 09:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

พุทธศาสนิกชน ในจ.ปัตตานี พร้อมใจเเต่งกายชุดไทย เสื้อลายดอก ก่อนเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ เเละรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ที่วัดตานีนรสโมสร อ.เมือง จังหวัดปัตตานีช่วงเช้าท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด หลังเกิดระเบิดเมื่อวานนี้

รูปภาพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 เม.ย. 2019, 12:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

กด รับพรจากศาสดานก

https://www.facebook.com/wattamai45/vid ... 318382581/

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 เม.ย. 2019, 11:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

รูปภาพ

https://www.facebook.com/

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 18 เม.ย. 2019, 10:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

อารักขา การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหง หรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่า ขออารักขา ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุแทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกัน เพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใครๆ

อารักษ์, อารักขา การป้องกัน, การคุ้มครอง, การดูแลรักษา

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตราย และรักษากางานไม่ให้เสื่อมเสียไป, รู้จักเก็บออมถนอมรักษาปิดช่องรั่วไหลและคุ้มครองป้องกันภยันตราย (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

เจ้าของ:  Rosarin [ 18 เม.ย. 2019, 12:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

กรัชกาย เขียน:
อารักขา การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหง หรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่า ขออารักขา ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุแทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกัน เพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใครๆ

อารักษ์, อารักขา การป้องกัน, การคุ้มครอง, การดูแลรักษา

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตราย และรักษากางานไม่ให้เสื่อมเสียไป, รู้จักเก็บออมถนอมรักษาปิดช่องรั่วไหลและคุ้มครองป้องกันภยันตราย (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

อริยทรัพย์คือปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใดก็ดับสะสมในจิตทันที
เพราะปัญญาคือเจตสิกเกิดได้ตรงจริงทีละ1ขณะจิต
ตอนปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลสูงสุดที่ส่งให้ถึงนิพพาน
ไม่ใช่รถบ้านที่ดินเงินทองกุฏิศาลากุญแจโบสถ์-บ้าน
:b12: :b16: :b32:
onion onion onion

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 16:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

วัดไม่ติดป้ายห้ามสูบบุหรี มีหมายเรียกตัว จอว.

รูปภาพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 16:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อารักขา การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหง หรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่า ขออารักขา ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุแทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกัน เพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใครๆ

อารักษ์, อารักขา การป้องกัน, การคุ้มครอง, การดูแลรักษา

อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตราย และรักษากางานไม่ให้เสื่อมเสียไป, รู้จักเก็บออมถนอมรักษาปิดช่องรั่วไหลและคุ้มครองป้องกันภยันตราย (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔)

อริยทรัพย์คือปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใดก็ดับสะสมในจิตทันที
เพราะปัญญาคือเจตสิกเกิดได้ตรงจริงทีละ1ขณะจิต
ตอนปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลสูงสุดที่ส่งให้ถึงนิพพาน
ไม่ใช่รถบ้านที่ดินเงินทองกุฏิศาลากุญแจโบสถ์-บ้าน


ผสมปนเปเลอะเทอะได้ใจจริงๆ :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 18:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

คันถธุระ ธุระฝ่ายคัมภีร์, ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์, การศึกษาปริยัติธรรม, เป็นคำที่ใช้ในชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการสอนการฝึกเจริญกรรมฐาน ซึ่งจบครบที่วิปัสสนา, เป็นคำที่ใช้ในชั้นอรรคถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 18:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

คามวาสี “ผู้อยู่บ้าน” พระบ้าน หมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในเขตหมู่บ้าน ใกล้ชุมชนชาวบ้าน หรือในเมือง, เป็นคู่กับอรัญวาสี หรือพระป่า ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในป่า

คำทั้งสอง คือ คามวาสี และอรัญวาสี นี้ ไม่มีในพระไตรปิฎก (ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ประมาณ พ.ศ.๕๐๐ ก็ยังไม่มี) พึงมีใช้ในอรรถกถา (ก่อน พ.ศ. ๑๐๐๐) แต่เป็นถ้อยคำสามัญ หมายถึงใครก็ได้ ตั้งแต่พระสงฆ์ ไปจนถึงสิงสาราสัตว์ (มักใช้แก่ชาวบ้านทั่วไป) ที่อยู่บ้าน อยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ในป่า

การแบ่งพระสงฆ์เป็น ๒ ฝ่าย คือ คามวาสี และอรัญวาสี เกิดขึ้นในลังกาทวีป และปรากฏชัดเจนในรัชกาลพระเจ้าปรักกมพาหุ ที่ ๑ มหาราช (พ.ศ.๑๖๙๖ – ๑๗๒๙)

ต่อมา เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย รับพระพุทธศาสนา และพระสงฆ์ลังกาวงศ์ อันสืบเนื่องจากสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุนี้เข้ามาในช่วงใกล้ พ.ศ.๑๘๒๐ ระบบพระสงฆ์ ๒ แบบ คามวาสี และอรัญวาสี ก็มาจากศรีลังกาเข้าสู่ประเทศไทยด้วย
พร้อมกับความเป็นมาอย่างนี้ พระคามวาสี ก็ได้เป็นผู้หนักในคันถธุระ (ธุระในการเล่าเรียนพระคัมภีร์) และพระอรัญวาสี เป็นผู้หนักในวิปัสสนาธุระ (ธุระในการเจริญกรรมฐานอันมีวิปัสสนาเป็นยอด)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 18:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

อรัญ, อรัญญ์ ป่า, ตามกำหนดในพระวินัย (วินย.1/85/85) ว่า "ที่เว้นบ้าน (คาม) และอุปจารบ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า (อรัญ) และตามนัยพระอภิธรรม (อภิ.วิ.35/616/338 ซึ่งตรงกับพระสูตร ขุ.ปฏิ.31/388/264) ว่า "คำว่า ป่า (อรัญ) คือ ออกนอกหลักเขตไปแล้ว ที่ทั้งหมดนั้นชื่อว่า ป่า


ส่วนเสนาสนะป่า (รวมทั้งวัดป่า) มีกำหนดในพระวินัย (วินย.2/146/166; 796/528) ว่า "เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่า มีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู (= ๕๐๐ วา คือ ๑ กม.) เป็นอย่างน้อย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 พ.ค. 2019, 18:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

อรัญวาสี ”ผู้อยู่ป่า” พระป่า หมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในป่า, เป็นคู่กับคามวาสี หรือพระบ้าน ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่อยู่วัดในบ้านในเมือง,

ในพุทธกาล ไม่มีการแบ่งแยกว่า พระบ้าน พระป่า และคำว่า คามวาสี อรัญวาสี ก็ไม่มีในพระไตรปิฎก เพราะในสมัยพุทธกาลนั้น พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์รวม และมีการจาริกอยู่เสมอ โดยเฉพาะพระพุทธองค์เองทรงนำสงฆ์หมู่ใหญ่จาริกไปในถิ่นแดนทั้งหลายเป็นประจำ

ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่จบกิจในพระพระศาสนา นอกจากเสาะสดับคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ย่อมระลึกอยู่เสมอถึงพระดำรัสเตือนให้เสพเสนาสนะอันสงัดเจริญภาวนา โดยทรงระบุป่าเป็นสถานที่แรกแห่งเสนาสนะอันสงัดนั้น ที่ตรัสทั่วไป คือ “อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา ...” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปอยู่ในป่าก็ดี โคนไม้ก็ดี เรือนว่างก็ดี....”

ที่ตรัสรองลงไปคือ “...วิวิตฺตํ เสนาสนํ ภชติ อรญฺญํ รุกฺขมูลํ ปพฺพตํ กนฺทรํ คิริคุหํ สุสานํ วนปตฺถํ อพฺโภกาสํ ปลาลปุญฺชํ ...” (ภิกษุนั้น เข้าหาเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในเขา ป่าช้า ดงเปลี่ยว ที่แจ้ง ลอมฟาง...”)
แนวทางปฏิบัติเช่นนี้ ท่านถือแน่นแฟ้นสืบกันมา แม้ว่าสาระจะอยู่ที่มีเสนาสนะอันสงัด แต่ป่าซึ่งในอดีต มีพร้อมและเป็นที่สงัดแน่นอน ก็เป็นที่พึงเลือกเด่นอันดับแรก จึงนับว่าเป็นตัวแทนที่เต็มความหมายของเสนาสนะอันสงัด
ดังปรากฏเป็นคาถาที่กล่าวกันว่า พระธรรมสังคหกาจารย์ได้รจนาไว้ อันเป็นที่อ้างอิงในคัมภีร์ทั้งหลาย ตั้งแต่มิลินทปัญหา จนถึงวิสุทธิมัคค์ และในอรรถกถาเป็นอันมาก มีความว่า

ยถาปิ ทีปโก นาม นิลียิตฺวา คณฺหตี มิเค
ตเถวายํ พุทฺธปุตฺโต ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก
อรัญฺญํ ปวิสิตฺวาน คณฺหติ ผลมุตฺตมํ ฯ

(พุทธบุตรนี้ ประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนา เข้าไปสู่ป่า จะถือเอาผลอันอุดม (อรหัตผล) ได้ เหมือนดังเสือซุ่มตัวจับเนื้อ)

ตามคตินี้ การไปเจริญภาวนาในป่า เป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับภิกษุทุกรูปเสมอเหมือนกัน ไม่มีการแบ่งแยก ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่ว่า ในคัมภีร์มิลินทปัญหา (ประมาณ พ.ศ.๕๐๐) ก็ยังไม่มีคำว่า คามวาสี และอรัญวาสี (พบคำว่า “อรญฺญวาสา” แห่งเดียว แต่หมายถึงดาบสชาย-หญิง ) แม้ว่าต่อมาในอรรถกถา (ก่อน จนถึงใกล้ พ.ศ.๑๐๐๐) จะมีคำว่า คามวาสี และอรัญวาสี เกิดขึ้นแล้ว
แต่ก็ใช้เป็นถ้อยคำสามัญ หมายถึงใครก็ได้ ตั้งแต่พระสงฆ์ ไปจนถึงสิงสาราสัตว์ (มักใช้แก่ชาวบ้านทั่วไป) ที่อยู่บ้าน อยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ในป่า มิได้มีความหมายจำเพาะอย่างที่เข้าใจกันในบัดนี้

พระภิกษุที่ไปเจริญภาวนาในป่านั้น อาจจะไปอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ยาวบ้าง สั้นบ้าง และอาจจะไปๆมาๆ
แต่บางรูปก็อาจจะอยู่นานๆ ภิกษุที่อยู่ป่านั้น ท่านเรียกว่า “อารัญญกะ” (อารัญญิกะ ก็เรียก) และการถือยู่ป่า เป็นธุดงค์อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุจะเลือกถือได้ตามสมัครใจ กับทั้งจะถือในช่วงเวลายาวหรือสั้น หรือแม้แต่ตลอดชีวิต ก็ได้

สันนิษฐานว่า เมื่อเวลาล่วงผ่าน ห่างพุทธกาลมานาน พระภิกษุอยู่ประจำที่มากขึ้น อีกทั้งมีภาระผูกมัดตัวมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการเล่าเรียน และทรงจำพุทธพจน์ ในยุคที่องค์พระศาสดาปรินิพพานแล้ว ซึ่งจะต้องรักษาไว้แก่คนรุ่นหลังให้ครบถ้วนและแม่นยำโดยมีความเข้าใจถูกต้อง
อีกทั้งต้องเก็บรวบรวมคำอธิบายของอาจารย์รุ่นต่อๆมา ที่มีเพิ่มขึ้นๆ จนเกิดเป็นงานหรือหน้าที่ที่เรียกว่า “คันถธุระ” (ธุระในการเล่าเรียนพระคัมภีร์) เป็นภาระซึ่งทำให้รวมกันอยู่ที่แหล่งการเล่าเรียนศึกษาในชุมชนหรือในเมือง

พร้อมกันนั้น ภิกษุผู้ไปเจริญภาวนาในป่า เมื่อองค์พระศาสดาปรินิพพานแล้ว ก็อิงอาศัยอาจารย์ที่จำเพาะมากขึ้น มีความรู้สึกที่จะต้องผ่อนและเผื่อเวลามากขึ้น อยู่ประจำที่แน่นอนมากขึ้น เพื่ออุทิศตัวแก่กิจในการเจริญภาวนา ซึ่งกลายเป็นงานหรือหน้าที่ที่เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ” (ธุระในการเจริญกรรมฐานอันมีวิปัสสนาเป็นยอด) โดยนัยนี้ แนวโน้มที่จะแบ่งเป็นพระบ้าน พระป่าก็ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

การแบ่งพระสงฆ์เป็น ๒ ฝ่าย คือ คามวาสี และอรัญวาสี เกิดขึ้นในลังกาทวีป และปรากฏชัดเจนในรัชกาลพระเจ้าปรักกมพาหุ ที่ ๑ มหาราช (พ.ศ.๑๖๙๖ – ๑๗๒๙) ต่อมา เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย ทรงรับพระพุทธศาสนา และพระสงฆ์ลังกาวงศ์อันสืบเนื่องจากสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุนี้ เข้ามาในช่วงใกล้ พ.ศ.๑๘๒๐ ระบบพระสงฆ์ ๒ แบบ คือ คามวาสี และอรัญวาสี ก็มาจากศรีลังกาเข้าสู่ประเทศไทยด้วย ; คู่กับ คามวาสี

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 04 พ.ค. 2019, 13:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

กรัชกาย เขียน:
ประเทศไทยนับเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา เพราะบุรพมหากษัตริย์ไทยตลอดจนบรรพบุรุษไทยได้สละเลือดเนื้อกู้ชาติ กู้แผ่นดินก็เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังเช่น ในการกอบกู้เอกราชชาติไทย เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงแสดงน้ำพระทัยให้ปรากฏว่า การที่ทรงทนทุกข์ยากกู้ชาติขึ้นมานั้น ก็เพื่อถวายแผ่นดินไทยนี้ให้เป็นพุทธบูชา และทรงฝากชาวไทยรุ่นต่อมาให้ระลึกและตระหนักว่า ชาติไทยนั้นจะต้องอยู่คู่กับพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาจะต้องอยู่ยงคู่กับองค์พระมหากษัตริย์ไทยตลอดไป

พระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

"อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน"

จารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม


เรียนพี่น้องคนไทย ที่นี่คือแผ่นดินของเรา ประเทศของเรา บ้านของเรา หากวันนี้ทุกคนยังคิดว่าธุระไม่ใช่ เราจะค่อยๆสูญเสียความเป็นชาติของเราเองไปเรื่อยๆจนไม่เหลือ ลุกขึ้นมาปกป้องบ้านของเราเอง

เพลงชาติใหม่ เจตนาเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ไทยชัดๆ ท่านใดไม่เห็นด้วยกับการทำเพลงชาติเวอร์ชั่นนี้ช่วยกันร้องเรียนไปที่ไทยคู่ฟ้าค่ะ 1111 ร้องเรียนรัฐบาลเจตนาเปลี่ยนอัตลักษณ์ของไทยให้ค่อยๆกลายเป็นอิสลาม

#ถ้าแค่การโทรไปร้องเรียนพวกเรายังไม่ทำเลย #แล้วยังคิดจะปกป้องแผ่นดินของตนเองได้อย่างไร #ในเมื่อสิทธิ์พลเมืองขั้นพื้นฐานของตนเองยังไม่รู้จักและไม่รักษาเอาไว้เลย

https://www.facebook.com/suwachun?__tn_ ... RI&fref=nf

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 พ.ค. 2019, 20:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

ลงให้คุณโรสดู :b13: คุณโรสว่า ครั้งพุทธกาลมีการทำแบบนี้ไหม

รูปภาพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 พ.ค. 2019, 17:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย เนปาล ช่วยเหลือ 24 ครอบครัวชาวอินเดียที่บ้านถูกไฟใหม้ราบจากเหตุอุณหภูมิที่ร้อนจัด

ผู้ปฎิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เผยว่า จากกรณีอุณหภูมิที่ร้อนจัดกว่า 40 องศา ที่ประเทศอินเดียในขณะนี้ ส่งผลให้หลายครัวเรือน เกิดอัคคีภัย สูญเสียทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค บ้านเรือน ทรัพย์สิน ทุ่งข้าวสาลี
ล่าสุดที่หมู่บ้าน ชิเทานา (Chhitauna) ในเมืองเฮทิมปูร์ (Hetimpur) ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ 5 กม. ประธานหมู่บ้าน ได้มาขอความช่วยเหลือ โดยแจ้งว่ามีบ้านเรือนของชาวบ้าน 24 หลังคาเรือน ได้รับความทุกข์ยากลำบากแสนเข็นจากการถูกเพลิงไหม้ไม่เหลืออะไรในครอบครัว ต้องอาศัยเพื่อนข้างบ้านอยู่อาศัย บางบ้านก็ต้องนอนอยู่กลางแจ้งและขาดแคลนอาหาร

เบื้องต้น พระสงฆ์ แม่ชี อาสาสมัคร วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ได้ร่วมกันบริจาคซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค ไปมอบให้เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ชาวอินเดีย ทั้งข้าวสาร แป้งสาลี ผ้าห่ม เกลือ น้ำมัน ถั่วดาล และเงินช่วยเหลืออีกครัวเรือนละ 500 รูปี ท่ามกลางความดีใจและชื่นชมคณะสงฆ์ไทยของชาวอินเดียในหมู่บ้านดังกล่าว

รูปภาพ

https://www.thairath.co.th/media/4DQpjU ... APTqt.webp

https://www.thairath.co.th/media/4DQpjU ... gjDup.webp


https://www.thairath.co.th/media/4DQpjU ... sV3qx.webp

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2019, 20:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวร = บ้าน วัด โรงเรียน

อยู่ๆก็นึกถึงเหตุการณ์ในอดีต

รูปภาพ

ได้ไปแล้วเงียบจ้อย :b32:

หน้า 4 จากทั้งหมด 23 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/