วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ปฏิบัติธรรม" ซึ่งความหมายที่แท้ ควรได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือ การดำเนินตามธรรม แต่ปัจจุบัน มักเข้าใจคำนี้ในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดไว้ หนังสือนี้เองก็ได้พลอยใช้ตามความหมายแคบๆอย่างนี้ด้วยหลายแห่ง ผู้ศึกษาพึงอ่านโดยตระหนักตามคำชี้แจงนี้

(พุทธธรรมหน้า 1144)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

(่ต่อไปจากหนังสือนี้ หน้า 241)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการปฏิบัติธรรม


การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การนำหลักธรรมที่เป็นส่วนปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ มาลงมือปฏิบัติ เชิงบูรณาการเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

กระบวนการนำหลักอริยมรรคมาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด ที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจัดเป็นตัวแท้ของการปฏิบัติ เป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น มาย่นย่อลงมือบูรณาการปฏิบัติครอบคลุมได้ทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่กระบวนการศึกษาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งเรียกว่า ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบหรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑) การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ)

๒) การปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้ มีคำจำกัดความและความมุ่งหมายที่กว้างและแคบต่างกัน ดังนี้

๑) การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ General Dhamma Practice) หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรม หรือ หลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้มาเป็นหลัก หรือ แนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามี สติ สัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ
การมี หิริ โอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริต ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง
การมี ขันติ และโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่
การมี ความตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือ รักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น
การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่า จะเป็นหลักธรรมที่ มี อุปการะมาก คือ สติ สัมปชัญญะ
หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือ หิริ โอตตัปปะ
หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือ
หลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม บุคคลผู้นั้น ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือ ในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตน หรือ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพ หรือ หน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม เช่น
ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คือ อิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม


แม้แต่การออกไปที่ท้องถนน หรือ การขับรถ ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ผ่าไฟแดง หรือ ง่วงเหงาหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือ
ลงลึกเข้าไปแม้กระทั่ง ว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ

ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการ บริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม หรือ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น นำหลักอิทธิบาท ๔ โดย มี
ฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ
มี วิริยะ มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเทสู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน
มี จิตตะ เอาใจใส่สนใจ รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และ
มี วิมังสา คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ

เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้ หรือ ไม่รู้ตัวก็ตาม ข้าราชการผู้นั้น ก็ชื่อว่า ได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2019, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


คริคริ

คุณลุงกรัชกายขา

หลักปฎิบัติธรรม

หลายๆคน เค้าก็ใช้หลัก อกุศลธรรมเป็นหลัก อยู่แล้วนี่คะ ไปว่าอะไรเค้าหล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คริคริ

คุณลุงกรัชกายขา

หลักปฎิบัติธรรม

หลายๆคน เค้าก็ใช้หลัก อกุศลธรรมเป็นหลัก อยู่แล้วนี่คะ ไปว่าอะไรเค้าหล่ะ


คำรวมเรียกว่า "ธรรม" นี่เรียกรวมหมดเบย :b32: ทีนี้ ถ้าต้องการจะรู้ว่า คิดยังไงทำแบบไหนพูดยังไงเป็นบุญ เป็นบาป ท่านก็แยกออกเป็นว่า อกุศลธรรม, กุศลธรรม ฆ่าคนเป็นอกุศลธรรมทางกาย ถือเอาทรัพย์สินที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้เป็นอกุศลธรรมทางกาย เป็นต้น ทีนี้ใครจะใช้หลักอกุศลธรรมเป็นหลัก ก็ไปทำเอานะ ตามแนวอกุศลกรรมบท ๑๐ ไปคิดต่อยอดเอาเองมั่ง ไม่อธิบายแล้วร้อนใน (เจ็บคอ) :b13:

ดูต่อไปดีก่า :b31:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

๒) การปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ Intensive Dhamma Practice) หมายถึง การเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือ หลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรม มาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือ บำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการหามุมสงบประคบประหงมจิต เช่น ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือ สำนักปฏิบัติธรรม หรือ ไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด ก็คือ ความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในวัด หรือ ในสำนักปฏิบัติต่างๆ ที่มีผู้รู้แนะนำ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิเจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเน้น หรือ ลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจอย่างมีระบบกำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือ ผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ชาวพุทธบ้านเรา ก็มองเห็นหลักประพฤติปฏิบัติธรรมทั้งสองแบบแล้ว

คนที่มองเข้ามาก็มองเห็นด้วยว่า ใครพูดแง่ไหนมุมใดยังไงออกแนวๆไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คริคริ

คุณลุงกรัชกายขา

หลักปฎิบัติธรรม

หลายๆคน เค้าก็ใช้หลัก อกุศลธรรมเป็นหลัก อยู่แล้วนี่คะ ไปว่าอะไรเค้าหล่ะ


นู๋เมลุงเห็นวิธีปฏิบัติ ซึ่งมีคนทำแล้ว บอกให้นะ คือ ทดลองฝึกหัดทำขันติบารมีเป็นขั้นๆไปนะอ่ะ

ขั้นที่หนึ่ง ไปตากยุงให้ยุงกัดนะ
ขั้นที่สอง ให้หมากัด
ขั้นที่สาม ให้แมลงป่องต่อย
ขั้นที่สี่ ให้ตะขาบกัด
ขั้นที่ห้าให้งูกัด
ขั้นที่หกให้เสือกัด
ขั้นที่เจ็ดให้จระเข้กัด
ขั้นที่แปด ขั้นสุดท้ายจบกิจพรหมจรรย์เบย คือ ให้ช้างกะทืบ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2019, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
คริคริ

คุณลุงกรัชกายขา

หลักปฎิบัติธรรม

หลายๆคน เค้าก็ใช้หลัก อกุศลธรรมเป็นหลัก อยู่แล้วนี่คะ ไปว่าอะไรเค้าหล่ะ


นู๋เมลุงเห็นวิธีปฏิบัติ ซึ่งมีคนทำแล้ว บอกให้นะ คือ ทดลองฝึกหัดทำขันติบารมีเป็นขั้นๆไปนะอ่ะ

ขั้นที่หนึ่ง ไปตากยุงให้ยุงกัดนะ
ขั้นที่สอง ให้หมากัด
ขั้นที่สาม ให้แมลงป่องต่อย
ขั้นที่สี่ ให้ตะขาบกัด
ขั้นที่ห้าให้งูกัด
ขั้นที่หกให้เสือกัด
ขั้นที่เจ็ดให้จระเข้กัด
ขั้นที่แปด ขั้นสุดท้ายจบกิจพรหมจรรย์เบย คือ ให้ช้างกะทืบ คิกๆๆ


คริคริ
ถ้าหนูไปทำตามลุงบอก

สัตว์เหล่านั้นก็จะมีภัยโดนธรณีสูบ จะมีเวรกรรมติดตามสัตว์เหล่านั้นไป

เรยไม่ไปอ่ะค่ะ หนูเรยได้ทั้งขันติ โสรัจจะ แถมปัญญาบารมี เมตตาบารมี และอื่นๆครบ 10 มาประทับในใจเรย

555


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร