วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 805 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 54  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ความรู้ กับ ความรู้สึก"

หัวข้อนี้ ท่านพูดตรงไปที่การเมือง คือ ท่าน (พระพุทธโฆษาจารย์ - ป.อ.ปยุตฺโต) แนะว่าเบื่อการเมืองจะทำอย่างไร

แต่ไม่พึงมองแค่นั้น มองให้กว้างออกไปในทุกๆเรื่อง โดยแยกเป็น ความรู้ อย่างหนึ่ง ความรู้สึก อย่างหนึ่ง ถ้ามองด้วย ความรู้สึก แล้ววนตันคิดไม่ออก แต่ถ้ามองด้วยความรู้คือมองปัญญาแล้วไม่ตัน รู้ได้มากมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบื่อการเมือง!สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์แนะทำอย่างไร

“เบื่อการเมือง” ต้องแยก ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก

รู้ ” นี่ ! สำคัญมาก

ถึงแม้ ว่า เราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราก็ต้องรู้ หรือ ควรจะรู้มัน

เราเอาแต่ความรู้ ความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามี “ความรู้สึก” นั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป พอได้ความรู้ แล้วก็กลับมาอยู่กับเรื่องของเราต่อไป

ตอนนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่า...บางทีเราไม่แยก ระหว่าง “ความรู้” กับ “ความรู้สึก”

พอรู้อะไร? ความรู้สึกก็มาทันที

เพราะว่า..พอรู้ ก็มี ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ นี่คือ “รู้สึก” แล้ว

แทนที่จะอยู่กับความรู้ หรือ เก็บความรู้ต่อไป เราก็เลยไถลไปกับ “ความรู้สึก” นี่คือ..ผิดทาง

พอชอบใจ ไม่ชอบใจ เรื่องก็ยืดต่อ ที่ชอบก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ไม่ชอบก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง

ในกรณีนี้..เมื่อไม่ชอบ ใจคอก็ขุ่นมัว หม่นหมอง กังวล วุ่นวาย อะไรต่างๆ บางทีก็พลอยเสียไปหมด

ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้ “รู้ตัว” ว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต )


https://siampongsnews.blogspot.com/2019 ... pvTi6UWteY

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงไม่จริง :b10: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 08:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง

ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม

(ขันธ์ แปลว่า กอง,หมวด ฯลฯ)

ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ที่เป็นตัวความรู้ ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ
ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของความเจริญ บ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้น บ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้น บ้าง จะขอยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา ปริญญา ญาณ วิชชา ปฏิสัมภิทา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น


สังขาร หมายรวมทั้งเครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือ เครื่องปรุงของจิต ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำ และกระบวนการแห่งเจตจำนงที่ชักจูง เลือกรวบรวมเอาเครื่องแต่งคุณภาพเหล่านั้นมาประสมปรุงแต่งความนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทาง กาย วาจา ใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณ และสัญญา เดินถูกทาง


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึง ทำงานไปได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น
แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้กับ อารมณ์โน้น บ้าง
พิเคราะห์ส่วนนั้น กับ ส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์ บ้าง
เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไป บ้าง
มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึง ว่า จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก

พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณ กับ ปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

ส่วนวิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ แต่
ปัญญาและวิญญาณนั้น ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้

กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น

ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หรือ ทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะ และลักษณะของมันตามความเป็นจริง * ( ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปมีตัวอย่างประกอบพอนึกภาพปัญญาออกบ้าง


ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้

วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแ่ห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้)

ส่วนปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค


ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์


สัญญา เปรียบเหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย

วิญญาณ เปรียบเหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน

ปัญญา เปรียบเหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ


อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน


เมื่อชาลี และกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้น ก็เรียกว่า เป็น ปัญญา

ต่อมา เมื่อ พระเวสสันดร ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันที ว่า ลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียก ว่า เป็น ปัญญา

ในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย


การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่า เป็น ปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้น ก็เรียก ว่า เป็น ปัญญา


ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1: ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกที


:b13:

https://www.facebook.com/cliphapaplen/v ... 872234375/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ความรู้ กับ ความรู้สึก"

หัวข้อนี้ ท่านพูดตรงไปที่การเมือง คือ ท่าน (พระพุทธโฆษาจารย์ - ป.อ.ปยุตฺโต) แนะว่าเบื่อการเมืองจะทำอย่างไร

แต่ไม่พึงมองแค่นั้น มองให้กว้างออกไปในทุกๆเรื่อง โดยแยกเป็น ความรู้ อย่างหนึ่ง ความรู้สึก อย่างหนึ่ง ถ้ามองด้วย ความรู้สึก แล้ววนตันคิดไม่ออก แต่ถ้ามองด้วยความรู้คือมองปัญญาแล้วไม่ตัน รู้ได้มากมาย

Kiss
เข้าใจคำว่าทุกอย่างเป็นธัมมะรึเปล่า
เบื่อเป็นธัมมะเป็นอกุศลเป็นกิเลส
ชั่วลัดนิ้วมือเดียวดับนับไม่ถ้วน
ตถาคตทรงนับเป็นแสนโกฏิ
คือแสนล้านขณะแค่ดีดนิ้ว
ดังเปาะ1ครั้งคิดถูกไหม
ใครบ้างไม่มีกิเลสเลย
ไม่เคยคิดได้ตรงเลย
ตรง1ทางที่กายใจมี
ขาดสุตมยปัญญาอยู่
:b32:
พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีเชื้อกิเลสที่เหลือใครรู้ตัวบ้างว่ากำลังมีกิเลส555
https://youtu.be/QDsGzMJP_Mk
:b12:
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006
เอ่? เอ่?

สงสัยไม่เคยเรียน พระอภิธรรมพื้นฐาน และไม่ได้เรียนพระอภิธรรมปิฎก

ว่า ด้วยปัฏฐานปกรณ์

เรยไม่รู้ว่า ธรรมทั้งหมด มีทั้ง กุศล อกุศล และอัพพยากตา
เรยไม่ตรงพระธรรม

s006 s006
เอ่?เอ่?

สงสัยไม่ได้เรียนพระปริยัติ ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎก
เรยไม่รู้ว่า แสนโกฎิขนะรวมไปทั้ง แสนโกฎโลกธาตุ
ในขนะที่พระพุทธองค์ได้แสดงธรรม
ไม่ตรงพระธรรมอีกแระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006 s006 s006 s006
เอ่ๆๆๆๆ

นั่นงู นี่ปลา นั่นงู นี่ปลา
รวมเป็น งูๆ ปลาๆ

เป็นงูที่สวย ปลาที่ประหลาดมหัศจรรย์ใจจริงๆ
s006 s006 s006 s006 s006

เอ่?

ลูกกะตาบอกวิญญานให้มาฟ้องว่า ว่า มีคนกล่าวหาพระพุทธองค์ ดีดนิ้วโป๊ะ เห็นเกิดดับแสนโกฎเรย

แต่ ขนิกะปัจจุบันแห่งจิต พระพุทธองค์ เห็นแค่จิตดวงเดียว ในขณะเดียว

งูๆปลาๆ ซะแล้ว มั๊งคะ จิตแบบนั้น ไม่ใช่วิสัยของพระพุทธองค์จิตสืบต่อยาวเหยียด

สาวกของพระพุทธองค์ ยังทรงเห็น

แค่ สันนติปัจจุบันแห่งจิต

และ อัธาปัจจุบันแห่งจิตเรย

s006 เอ่?

มีพระธรรมฉบับไหนบอกว่า ขนิกกะปัจจุบันแห่งจิตของพระพุทธองค์ เห็นเกิดดับแสนโกฎน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เบื่อการเมือง!สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์แนะทำอย่างไร

“เบื่อการเมือง” ต้องแยก ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก

รู้ ” นี่ ! สำคัญมาก

ถึงแม้ ว่า เราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราก็ต้องรู้ หรือ ควรจะรู้มัน

เราเอาแต่ความรู้ ความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามี “ความรู้สึก” นั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป พอได้ความรู้ แล้วก็กลับมาอยู่กับเรื่องของเราต่อไป

ตอนนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่า...บางทีเราไม่แยก ระหว่าง “ความรู้” กับ “ความรู้สึก”

พอรู้อะไร? ความรู้สึกก็มาทันที

เพราะว่า..พอรู้ ก็มี ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ นี่คือ “รู้สึก” แล้ว

แทนที่จะอยู่กับความรู้ หรือ เก็บความรู้ต่อไป เราก็เลยไถลไปกับ “ความรู้สึก” นี่คือ..ผิดทาง

พอชอบใจ ไม่ชอบใจ เรื่องก็ยืดต่อ ที่ชอบก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ไม่ชอบก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง

ในกรณีนี้..เมื่อไม่ชอบ ใจคอก็ขุ่นมัว หม่นหมอง กังวล วุ่นวาย อะไรต่างๆ บางทีก็พลอยเสียไปหมด

ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้ “รู้ตัว” ว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต )


https://siampongsnews.blogspot.com/2019 ... pvTi6UWteY

s006 s006 s006

ไม่ยุ่งการเมือง แต่การเมืองมายุ่งกะเรา
ทำไงล่ะค๊ะ

เอ่? s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"ความรู้ กับ ความรู้สึก"

หัวข้อนี้ ท่านพูดตรงไปที่การเมือง คือ ท่าน (พระพุทธโฆษาจารย์ - ป.อ.ปยุตฺโต) แนะว่าเบื่อการเมืองจะทำอย่างไร

แต่ไม่พึงมองแค่นั้น มองให้กว้างออกไปในทุกๆเรื่อง โดยแยกเป็น ความรู้ อย่างหนึ่ง ความรู้สึก อย่างหนึ่ง ถ้ามองด้วย ความรู้สึก แล้ววนตันคิดไม่ออก แต่ถ้ามองด้วยความรู้คือมองปัญญาแล้วไม่ตัน รู้ได้มากมาย

Kiss
เข้าใจคำว่าทุกอย่างเป็นธัมมะรึเปล่า
เบื่อเป็นธัมมะเป็นอกุศลเป็นกิเลส
ชั่วลัดนิ้วมือเดียวดับนับไม่ถ้วน
ตถาคตทรงนับเป็นแสนโกฏิ
คือแสนล้านขณะแค่ดีดนิ้ว
ดังเปาะ1ครั้งคิดถูกไหม
ใครบ้างไม่มีกิเลสเลย
ไม่เคยคิดได้ตรงเลย
ตรง1ทางที่กายใจมี
ขาดสุตมยปัญญาอยู่
:b32:
พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีเชื้อกิเลสที่เหลือใครรู้ตัวบ้างว่ากำลังมีกิเลส555
https://youtu.be/QDsGzMJP_Mk




อ้างคำพูด:
เข้าใจคำว่าทุกอย่างเป็นธัมมะรึเปล่า


นั่งบ่นทุกวันธัมมะๆๆๆ บ่นแล้วตันวน ไม่รู้จะออกทางไหน ก็ธัมมะๆๆ

ข้าวก็ธัมมะ แต่จะมีเงินซื้อข้าวกินได้ก็มีธัมมะคือมีปัญญาหาเงิน กินอาหารแล้วก็กลายเป็นขี้ ขี้ก็เป็นธัมมะ (ทุกอย่างเป็นธัมมะ :b32: ) แต่ปัญญาบอกว่าขี้กินไม่ได้ (ยกเว้นหมา) แม้ขี้จะมาจากอาหารที่กินเข้าไปก็ตาม ทำไงทีนี้ ปัญญาบอกว่า ต้องเก็บของเหม็นคือธัมมะ (ทุกอย่างเป็นธัมมะ) ไว้เป็นที่เป็นทาง คือ ทำส้วม เวลาถ่ายก็ไปถ่ายที่ที่ทำไว้ หมุนวนเป็นวัฏจักรไปงี้ :b13: ธัมมะๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2019, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เบื่อการเมือง!สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์แนะทำอย่างไร

“เบื่อการเมือง” ต้องแยก ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก

รู้ ” นี่ ! สำคัญมาก

ถึงแม้ ว่า เราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราก็ต้องรู้ หรือ ควรจะรู้มัน

เราเอาแต่ความรู้ ความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามี “ความรู้สึก” นั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป พอได้ความรู้ แล้วก็กลับมาอยู่กับเรื่องของเราต่อไป

ตอนนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่า...บางทีเราไม่แยก ระหว่าง “ความรู้” กับ “ความรู้สึก”

พอรู้อะไร? ความรู้สึกก็มาทันที

เพราะว่า..พอรู้ ก็มี ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ นี่คือ “รู้สึก” แล้ว

แทนที่จะอยู่กับความรู้ หรือ เก็บความรู้ต่อไป เราก็เลยไถลไปกับ “ความรู้สึก” นี่คือ..ผิดทาง

พอชอบใจ ไม่ชอบใจ เรื่องก็ยืดต่อ ที่ชอบก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ไม่ชอบก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง

ในกรณีนี้..เมื่อไม่ชอบ ใจคอก็ขุ่นมัว หม่นหมอง กังวล วุ่นวาย อะไรต่างๆ บางทีก็พลอยเสียไปหมด

ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้ “รู้ตัว” ว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต )


https://siampongsnews.blogspot.com/2019 ... pvTi6UWteY

s006 s006 s006

ไม่ยุ่งการเมือง แต่การเมืองมายุ่งกะเรา
ทำไงล่ะค๊ะ

เอ่? s006


ท่านบอกให้ใช้ปัญญา คือความรู้ อย่าใช้อารมณ์ชอบ ชัง ถ้าใช้อารมณ๋แล้วความคิดมันตัน

รุ่นน้องกับรุ่นพี่พบกันในงานศพเพื่อน

https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/ ... e=5CEE4685

https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... =3&theater

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 805 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 54  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร