วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2019, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบญจศีลข้อที่ ๔ ท่านวางจุดประสงค์ไว้ เพื่อให้มนุษย์มีความซื่อสัตย์ จริงใจและไว้วางใจกันได้ สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ป้องกันผลประโยชน์ของกันและกันไว้ สามารถใช้วาจาประสานประโยชน์ของกันและกัน ไม่ทำลายกันด้วยคำพูด โดยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคตต่อกันลงได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2019, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบญจศีลข้อที่ ๕ ท่านวางจุดประสงค์ไว้ เพื่อสนับสนุนการรักษาศีล ๔ ข้อข้างต้นให้เกิดมีขึ้น และรักษาไว้ด้วยดี และเพื่อให้มนุษย์มีสติมั่นคง สามารถควบคุมจิตใจตัวเองได้ ป้องกันมิให้เกิดการทะเลาะวิวาท และทำร้ายกัน ป้องกันสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิตมิให้เสื่อม ป้องกันอาชญากรรม มิจฉาชีพ หรือ การทำทุจริตต่างๆ และกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคตต่อกันลงได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2019, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ผู้ฝึกศึกษาพัฒนาในศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และที่สำคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะชื่อว่ามีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาด และได้ผลจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขา ๓ หรือที่นิยมเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ซึ่งมักเรียกกันให้ง่ายๆ สะดวกๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

อธิศีลสิกขา คือ การฝึกความประพฤติสุจริตทาง กาย วาจา และอาชีวะ ได้แก่ รวมองค์มรรคข้อ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ว่าโดยสาระ ก็คือ การดำรงตนด้วยดีในสังคม รักษาระเบียบวินัย ปฏิบัติหน้าและความรับผิดชอบทางสังคมให้ถูกต้อง รู้จักปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม หรือต่อโลก ในทางที่เกื้อกูล มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีงามเป็นคุณเป็นประโยชน์ มีวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะทางสังคม ให้อยู่ในภาวะเอื้ออำนวยแก่การที่ทุกๆ คนจะสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือปฏิบัติตามมรรคกันได้ด้วยดี *

ศีลเป็นสิกขาขั้นต้นที่สุด จึงมีขอบเขตกว้างขวางมาก แบ่งได้เป็นหลายระดับ ครอบคลุมถึงการแสดงออก และการบังคับควบคุมตนด้านภายนอกทั้งหมด ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและธรรมชาติ เกณฑ์อย่างต่ำสุดของศีล คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น (เช่นเดียวกับไม่เบียดเบียนตนเองด้วย) ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เกื้อกูลแก่ชีวิตที่ดีงาม หรือเกื้อกูลแก่มรรคนั้น

ต่อจากนั้น ได้แก่การฝึกทางวินัยเพื่อความดีงามยิ่งขึ้นไป ถ้าสามารถกว่านั้น ก็ก้าวไปถึงการทำการต่างๆที่เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ช่วยสร้างเสริมจัดสรรสภาพแวดล้อม ในทางที่จะปิดกั้นโอกาสแห่งความชั่วร้าย เพิ่มพูนโอกาสแห่งการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติกิจเพื่อความดีงามหรือคุณค่าที่ยิ่งๆขึ้นไป

.......

ที่อ้างอิง *
* นับเป็นความบกพร่องอย่างยิ่ง ที่มักมองศีลกันเพียงในแง่ลบ อย่างแคบที่สุด คือ มองเป็นข้อห้าม กว้างออกไปหน่อยก็เพียงเป็นการงดเว้น เช่น งดเว้นตามหลักศีล ๕ ไม่มองให้ครบความหมายเดิม เช่น ในฝ่ายพระสงฆ์ ศีล รวมถึงการประพฤติชอบต่อกันระหว่างอุปัชฌาย์อาจารย์ กับ ศิษย์ ดังระบุในมหาขันธกะ เป็นต้น แห่งพระวินัยปิฎก
ในฝ่ายคฤหัสถ์ ศีล รวมถึงการทำหน้าที่ต่อกันระหว่างบิดามารดา กับ บุตรธิดา สามี กับ ภรรยา เพื่อน กับ เพื่อน ฯลฯ ตลอดจนสังคหวัตถุ ตามหลักคิหิวินัยในสิงคาลกสูตร เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2019, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับสังคมมนุษย์ในวงกว้าง ระเบียบความประพฤติขั้นต้นอย่างน้อยที่สุด หรือ ศีลขั้นพื้นฐานที่จะสร้างสภาพเกื้อกูลให้เกิดขึ้น ก็คือ หลักที่เรียกว่า ศีล ๕ ซึ่งมีสาระสำคัญ ได้แก่ การไม่ละเมิดต่อชีวิต ต่อทรัพย์สิน ต่อของรักของกันและกัน การไม่ใช่วาจาละเมิดความจริงเพราะเห็นแก่ตน และมุ่งทำลายผู้อื่น และการไม่ยอมทำลายสติสัมปชัญญะ หรือ ความสำนึกผิดชอบชั่วดีของตนด้วยการตกไปในอำนาจของสิ่งเสพติด*


ที่อ้างอิง *
* สติ สัมปชัญญะ หรือ ความสำนึกผิดชอบชั่วดีนี้ ย่อมเป็นหลักประกัน หรือ เครื่องคุ้มกันของศีลทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าโดยสรุป ศีลตามความหมายของพระพุทธศาสนา มีลักษณะสำคัญ คือ

๑) ทำให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ ที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติกิจต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาตน เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามโดยลำดับ จนถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต

๒) ทำให้สมาชิกของสังคมหรือชุมชนนั้นอยู่ร่วมกันด้วยดี สังคมสงบเรียบร้อย สมาชิกต่างดำรงอยู่ด้วยดี และมุ่งหน้าปฏิบัติกิจของตนๆ โดยสะดวก

๓) ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ทำให้กิเลสเบาบางลง ด้วยการควบคุมยับยั้งสังวร ปรับการแสดงออกทางกายวาจา ให้เอื้อแก่สภาพความเป็นอยู่ที่เกื้อกูล และการอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้น อันเป็นขั้นต้นของการพัฒนาชีวิตของตน ให้พร้อมที่จะเป็นที่รองรับของกุศลธรรมทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งคือเป็นพื้นฐานของสมาธิ หรือการฝึกปรือคุณธรรมทางจิตใจที่สูงขึ้นไป *

แม้จะมีศีลสูงกว่าศีล ๕ อีกหลายระดับ หลายประเภท แต่ศีลหรือระเบียบความประพฤติทุกอย่าง ซึ่งเป็นที่ต้องการในการปฏิบัติธรรม ดังที่เรียกว่า ศีลซึ่งอริยชนชื่นชม (อริยกันตศีล) นั้น มีสาระสำคัญอย่างเดียวกันทั้งหมด คือ เป็นศีลที่ประฤติปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ ไม่เขวไปเพราะตัณหา ที่มุ่งแสวงหาอิฏฐารมณ์เป็นผลตอบแทน หรือเพราะทิฏฐิ ที่นำเอาความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนมาปิดบังวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศีล ปฏิบัติโดยเข้าใจความมุ่งหมาย มิใช่ว่ายึดถือ ทำตามๆกันไปโดยงมงาย

สำหรับชาวบ้านทั่วไป เมื่อปฏิบัติถูกต้องอย่างนี้ แล้ว แม้เพียงศีล ๕ ก็เป็นปฏิปทาของพระโสดาบัน


ที่อ้างอิง *
* พึงสังเกตว่า ศีลขั้นพื้นฐานที่สุด (เช่น ศีล ๕) จะมีสาระที่มุ่งเพื่อการไม่เบียดเบียน ซึ่งเป็นขั้นต้นที่สุดของการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกื้อกูล
ศีลต่อจากนั้นขึ้นไป จะหันไปเน้นการสร้างสภาพเกื้อกูล ทั้งของสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ส่วนตัว และการฝึกหัดขัดเกลาตนเอง เพื่อจุดหมายที่จำเพาะมากยิ่งขึ้น


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะรักษาเบญจศีลได้ดี ต้องมีเบญจธรรมประจำใจ

เบญจศีลนี้ จะบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ หรือคนเราจะสามารถปฏิบัติรักษาได้ ก็ด้วยมีหลักธรรมบางประการคอยสนับสนุน คอยประคับประคอง หรือ คอยกระตุ้นใจของคนเราให้งดเว้นเวรภัยนั้นๆ ผู้มีหลักธรรมข้อนั้น ๆ ประจำใจแล้วจะสามารถรักษาเบญจศีลอยู่ได้ตลอดเวลา
หลักธรรมดังกล่าวนี้ เรียกว่า กัลยาณธรรม ๕ หรือ เบญจกัลยาณธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นความประพฤติดีงาม ๕ ประการ หมายถึงกุศลธรรม ที่มีลักษณะเป็นความประพฤติดีงาม เป็นข้อปฏิบัติที่อุกฤตคือสูงยิ่งกว่าศีล เป็นเครื่องอุดหนุนเบญจศีลให้ผ่องใส คือ บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือ เป็นคุณธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล ทำให้การรักษาเบญจศีลนั้นเป็นไปโดยง่ายขึ้น คือ ไม่มีลักษณะเป็นการฝืนทำ ฝืนรักษา หรือฝืนปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบญจกัลยาณธรรมนั้น เมื่อเรียกคู่กัน กับ เบญจศีล จึงเรียกง่ายๆว่า เบญจธรรม ประกอบด้วยองค์ธรรม ๕ ประการ คือ

๑) เมตตากรุณา ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่นและความคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็นธรรมเกื้อกูลเบญจศีลข้อที่ ๑ ที่ผู้มีศีล จะพึงแสดงเป็นพิเศษ ในการเผื่อแผ่ให้ความสุข และช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของผู้อื่นสัตว์อื่น คุณธรรมข้อนี้แหละที่จะทำให้คนเราเลิกอาฆาตพยาบาทจองเวร และล้างผลาญกันได้ เป็นเหตุให้เบียดเบียนกันไม่ลง การรบราฆ่าฟันทำร้ายล้างชีวิตกัน หรือ การทำทารุณกรรมกันต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียรประกอบการงานหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต เป็นธรรมเกื้อกูลเบญจศีลข้อที่ ๒ ที่ผู้มีศีลจะพึงปฏิบัติในการประกอบอาชีพอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยไม่ลักขโมย ปล้นจี้เขากิน คุณธรรมข้อนี้ เป็นเหตุให้คนเราละเว้นมิจฉาชีพ การหาเลี้ยงชีพในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ โดยมาคำนึงถึงคุณภาพศักดิ์ศรีความเป็นคนของตน ซึ่งจะสามารถขจัดความบีบคั้นทางใจอันเกิดจากความยากจนข้นแค้นทางเศรษฐกิจลงได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) กามสังวร ความสำรวมในกาม เป็นธรรมเกื้อกูลเบญจศีล ข้อที่ ๓ ที่ผู้มีศีลจะพึงปฏิบัติเคร่งครัดใน สทารสันโดษ คือ ความยินดีทางกามารมณ์เฉพาะกับภรรยาของตนสำหรับชาย และใน ปติวัตร คือ ความประพฤติจงรักซื่อสัตย์เฉพาะต่อสามีของตนสำหรับหญิง คุณธรรมข้อนี้ เป็นเหตุให้มนุษย์ไม่หมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ จนถึงทำลายน้ำใจผู้อื่น ส่งเสริมให้เป็นคนซื่อสัตย์ไม่ประพฤตินอกใจคู่ครองของตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) สัจจะ ความซื่อสัตย์ คือกิริยาที่ประพฤติตนเป็นคนซื่อตรง ดำรงสัจจะ เป็นธรรมเกื้อกูลเบญจศีล ข้อที่ ๔ ที่ผู้มีศีลจะพึงปฏิบัติโดยอาการ ๔ อย่าง คือ

(๑) มีความเที่ยงธรรม ซื่อตรงในหน้าที่การงาน
(๒) มีความซื่อตรงต่อมิตร
(๓) มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาของตน และ
(๔) มีความกตัญญูในท่านผู้มีบุญคุณแก่ตน


คุณธรรมข้อนี้ เป็นเครื่องสนับสนุนให้คนเรามีความเที่ยงธรรม ซื่อตรง มีความจริงใจต่อผู้อื่น และมีความซื่อสัตย์ต่อเจ้านายของตน ตลอดทั้งมีความซื่อสัตย์กตัญญูกตเวทีต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ อันเป็นเหตุให้คนเรามีพฤติกรรมเป็นคนตรงไปตรงมา รักความยุติธรรม ไม่เป็นคนโกหกชอบพูดปดมดเท็จ หลอกลวง หรือทำลายประโยชน์ของบุคคลอื่นๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕) สติ และสัมปชัญญะ ความระลึกได้และความรู้ตัว หรือ ความมีสติรอบคอบ คือ มีสติกำกับจิต ควบคุมพฤติกรรมของตน ไม่เลินเล่อเผลอตัว ทำชั่วผิดในทุกสถานการณ์
พฤติกรรมที่เด่นชัดของผู้มีสติ สัมปชัญญะ เช่น พิจารณาด้วยปัญญาแล้วบริโภคอาหาร รู้จักประมาณ รู้จักคุณและโทษของอาหารที่จะบริโภค
ไม่พลั้งเผลอในการทำงาน มีความรอบคอบ ระวังหน้าระวังหลัง ในการทำกิจการต่างๆ เป็นต้น
คุณธรรมข้อนี้ เป็นเหตุให้คนเราพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งเสพติดให้โทษด้วยความรอบคอบ สามารถเห็นโทษร้ายที่จะพึงมีพึงเกิดขึ้นแก่ตัวเอง แก่การงาน และแก่ทรัพย์สินจากสิ่งเสพติดให้โทษได้
จึงเป็นคุณธรรมเกื้อกุลเบญจศีล ข้อที่ ๕ ที่ผู้มีศีลจะพึงปฏิบัติ โดยอาการ ๔ อย่าง คือ

(๑) ความรู้จักประมาณในอาหารที่จะพึงบริโภค
(๒) ความไม่เลินเล่อในการงาน
(๓) ความมีสัมปชัญญะในการประพฤติตัว และ
(๔) ความไม่ประมาทในกุศลธรรม คือ หมั่นบำเพ็ญคุณความดีอยู่เสมอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2019, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่ละเมิดเบญจศีลอยู่เสมอๆ ก็เพราะขาดกัลยาณธรรมที่เกื้อกูลทั้ง ๕ ข้อนี้
ถ้าหากมีกัลยาณธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ประจำใจอยู่แล้ว การละเมิดศีลจะลดน้อยลง หรือ อาจจะไม่มีการละเมิดเลยก็ได้ ซึ่งเท่ากับว่ามีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่เสมอนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2019, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร