วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 20:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายอริยสัจ

อริยสัจ น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครที่ชอบถกเถียงกันเรื่องอริยสัจ ศึกษาจากเรื่องนี้ =>

https://www.facebook.com/onenews31/vide ... 822703051/

ดูแล้วพอเข้าใจ ร้องอ้อ อ๋อ อืมม ขึ้นในใจ Kiss แสดงว่าคนนั้นพอจะมีดวงตาเห็นธรรมได้ในอนาคตอันไม่ไกลนัก :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2019, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญา ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญา ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา


Good afternoon teacher.

คุณครูขา

ตาปัญญา กะ ตาเนื้อต่างกันยังไงคะ ?

มีคนบอกเม ว่า ตาปัญญา อยู่เวอร์คพอยท์ ใช่ป่าวคะ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญา ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา


ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา


Good afternoon teacher.

คุณครูขา

ตาปัญญา กะ ตาเนื้อต่างกันยังไงคะ ?

มีคนบอกเม ว่า ตาปัญญา อยู่เวอร์คพอยท์ ใช่ป่าวคะ?


เขาก็บอกอยู่แล้วว่าปัญญา แล้วจะเอาอะไรอีก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ใครที่ชอบถกเถียงกันเรื่องอริยสัจ ศึกษาจากเรื่องนี้ =>

https://www.facebook.com/onenews31/vide ... 822703051/

ดูแล้วพอเข้าใจ ร้องอ้อ อ๋อ อืมม ขึ้นในใจ Kiss แสดงว่าคนนั้นพอจะมีดวงตาเห็นธรรมได้ในอนาคตอันไม่ไกลนัก :b16:



กดดูก่อน แล้วจาอธิบายให้เห็นเหตุแห่งทุกข์แห่งปัญหา กล่าวคือ สมุทัย ต้นเหตุของปัญหา ผ่านท่อประปา คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางหลักนี้เทียบไว้ให้อีก

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน
ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้น ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือแหล่งความรู้นั้น มีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา
แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงาย คือ ไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางหลักเอาไว้ถกเถียงกัน :b1:


คัมภีร์วิสุทธิมรรค สัมโมหวิโนทนี และสัทธัมมปกาสินี * (วิสุทฺธิ. 3/81 วิภงฺค.อ. 112 ปฏิสํ.อ.63/234 – ข้อความอย่างเดียวกันทั้งสามคัมภีร์ เป็นการคัดลอกกันไปเท่านั้นเอง) ได้ชี้แจงเหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า เหตุใด พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ไว้โดยเรียงลำดับข้ออย่างที่เรียนรู้กันอยู่นี้
ข้อความที่ท่านกล่าวไว้แม้จะสั้น แต่มีสาระหนักแน่น จึงขอนำมาเป็นเค้าความสำหรับกล่าวถึงอริยสัจ ๔ โดยสังเขปต่อไปนี้

ก) ยกทุกข์ขึ้นพูดก่อน เป็นการสอนเริ่มจากปัญหา เพื่อใช้วิธีการแห่งปัญญา

๑. ทุกข์ คือ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่ทุกคน เกิดขึ้นแก่ใคร เมื่อใด ก็เป็นจุดสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้นเมื่อนั้น แต่ว่าที่จริง ถึงจะไม่มองเฉพาะครั้งเฉพาะคน แม้มองกว้างออกไป ในหมู่ชนน้อยใหญ่ จนถึงทั้งโลก ก็เห็นชัดถึงปัญหาชีวิตของมนุษย์ และทุกข์ภัยใหญ่น้อย ที่ปรากฏขึ้นมาและเป็นไปอยู่เรื่อยๆตลอดเวลา เป็นธรรมดา พูดขึ้นมา ก็ชัดเจน เห็นง่าย เป็นจุดสนใจอย่างยั่งยืน ยกขึ้นเป็นข้อปรารภได้เรื่อยไป โดยเฉพาะเหมาะที่จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงธรรม

ยิ่งกว่านั้น ทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว และน่าตกใจสำหรับคนจำนวนมาก ทั้งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ก็ไม่อยากได้ยิน ดังจะเห็นคนที่กำลังเพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ไม่ตระหนักรู้ว่า ตนเองกำลังมีปัญหา และกำลังก่อปัญหา เมื่อมีผู้มาชี้ปัญหาให้ ก็จะกระทบใจ ทำให้สะดุ้งสะเทือน และมีความไหวหวั่น สำหรับคนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนปรารภเรื่องทุกข์เพื่อกระตุ้นเตือนให้เขาฉุกใจได้คิด เป็นทางที่จะเริ่มต้นพิจารณาแก้ปัญหาดับความทุกข์กันได้ต่อไป


เมื่อแสดงอริยสัจ โดยตั้งต้นที่ทุกข์ ก็เป็นการสอนที่เริ่มจากปัญหา เริ่มจากสิ่งที่มองเห็นกันอยู่ เข้าใจง่าย เริ่มจากเรื่องที่น่าสนใจ และโดยเฉพาะเป็นการสอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย ไม่ใช่เรื่องคิดเพ้อฝัน หรือสักว่าพูดตีฝีปาก เมื่อพูดกับใครก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนนั้น
เมื่อพูดเป็นกลางๆ ก็เกี่ยวข้องกับทุกคน


พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์ เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ตลอดไป
ชีวิตนี้ ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่
ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง


แต่การดับทุกข์ หรือ แก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหา หรือปิดตาไม่มองทุกข์
ตรงข้ามต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน
การรับรู้สู้หน้า มิใช่หมายความว่า จะเข้าไปแบกทุกข์ไว้ หรือ จะให้ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกำจัดมันได้
พูดง่ายๆว่า ไม่ใช่ไปเอาทุกข์มาใส่ในใจ แต่เอาปัญญาไปแก้ไขจัดการ


การรู้เท่าทันนี้ คือ การทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ ทำปริญญา คือ ปัญญาดูทั่วรอบ ทำความเข้าใจสภาวะของทุกข์ หรือ ปัญหานั้น ให้รู้ว่า ทุกข์ หรือปัญหาของเรานั้น คือ อะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน ( บางที คนชอบหลบเลี่ยงทุกข์ หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่า มีปัญหา แต่จะจับให้ชัด ก็ไม่รู้ว่า ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆ เครือๆ หรือพร่าสับสน) มีขอบเขตแค่ใด
เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรค รู้จุดที่เป็นโรคแล้ว ก็หมดภาระ ไปขั้นหนึ่ง


เราไม่มีหน้าที่กำจัดทุกข์ เพราะทุกข์จะดับที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องแก้ที่เหตุของมัน

ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์ ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการ เช่น ให้ยาระงับอาการไว้ ก็ไม่ใช่แก้โรคไม่ได้จริง ต้องค้นหาสาเหตุต่อไป

แพทย์เรียนรู้โรค ต้องเรียนรู้เรื่องร่างกายอันเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ฉันใด ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตอันเป็นที่ตั้งของทุกข์ ซึ่งรวมถึงสภาวะของสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย ฉันนั้น

สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ ๑ คือ รับรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ และมองดูรู้จักชีวิต รู้จักโลกตามที่มันเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงข้อเดียว เห็นโล่ง ว่านักปฏิบัติทางจิต,ปฏิบัติธรรม, ปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะเรียกอะไรสุดแล้วแต่บ้านเรา ส่วนมากปฏิบัติพลาด ตัวอย่างเช่น ประสบทุกขเวทนาทางกายทางใจแล้วไปไม่เป็น บ้างก็เพ่นเข้าห้องน้ำ บ้างก็ลุกหนีไปทำนั่นทำนี่ บ้างว่าให้หนีไปเดินจงกรม ฯลฯ นี่หลบทุกข์หนีทุกข์แล้ว :b32: จริงไม่จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข) ค้นเหตุปัจจัยให้พบด้วยปัญญา ไม่มัวหาที่ซัดทอด

๒. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา เข้ามาตอนนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ถึงลำดับ คือ เมื่อต้องการดับทุกข์ ก็ต้องกำจัดสาเหตุของมัน
เมื่อกำหนดหรือจับได้แล้วว่า ทุกข์ หรือปัญหาของตนคืออะไร เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะสืบสาวหาสาเหตุต่อไป เพื่อจะได้ทำกิจแห่งปหานะ คือละ หรือกำจัดเสีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาสาเหตุ คนก็มักเลี่ยงหนีความจริง ชอบมองออกไปข้างนอก หรือมองให้ไกลตัวจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยมักมองหาตัวการข้างนอกที่จะซัดทอดให้ หรือ ถ้าจะเกี่ยวกับตนเอง ก็ให้เป็นเรื่องไกลออกไป จนรู้สึกว่าพ้นจากความรับผิดชอบของตน


สิ่งที่มักถูกซัดทอดให้เป็นสาเหตุนั้น ปรากฏออกมาเป็นลัทธิที่ผิดพลาด ๓ ประเภท คือ (องฺ.ติก.20/501/222 ฯลฯ)

๑. ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเก่า ถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน ไม่ว่าจะจะพบทุกข์เจอสุขอะไร ก็ยกให้เป็นเรื่องกรรมเก่า

๒. อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิพระเป็นเจ้า ถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ ไม่ว่าจะหนีเรื่องร้าย หรืออยากได้เรื่องดี ก็หวังบารมีเทพเจ้า

๓. อเหตุวาท ลัทธิคอยโชค ถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นไปเอง แล้วแต่โชคชะตาที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย อะไรๆ จะดีหรือร้าย ทำอะไรไม่ได้ ว่ารอให้ถึงคราว ก็จะเป็นไปเอง

ทางธรรมปฏิเสธลัทธิเหล่านี้ เพราะขัดต่อกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แต่ให้มองหาสาเหตุของทุกข์ตามกฎธรรมดาที่ว่านั้น โดยมองเหตุปัจจัย เริ่มที่ตัวคน และในตัวคน และที่ในตนเอง ได้แก่ กรรม คือการกระทำ การพูด การคิด ที่ดีหรือชั่ว ซึ่งได้ประกอบแล้ว และกำลังประกอบอยู่ และ ที่ได้สั่งสมไว้เป็นลักษณะนิสัย ตลอดจนการตั้งจิตวางใจต่อสิ่งทั้งหลาย และการมีความสัมพันธ์อย่างถูกต้อง หรือผิดพลาด กับเหตุปัจจัยในบรรดาสภาพแวดล้อม


ในขั้นพื้นฐาน ท่านกล่าวลึกลงไปอีกว่า ตัณหาความทะยานอยาก ที่ทำให้วางใจ วางตัว ปฏิบัติตนแสดงออก สัมพันธ์ และการะทำต่อชีวิต และโลกอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไม่เป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นเป็นจริง
แต่เป็นไปด้วยความยินดี ยินร้าย ชอบชัง เป็นต้น ตลอดจนกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เช่น ความกลัว ความถือตัว ความริษยา ความหวาดระแวง ฯลฯ ที่สืบเนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ คือ ที่มาแห่งปัญหาความทุกข์ของมนุษย์


ตัณหามี ๓ อย่าง คือ กามตัณหา อยากกาม ได้แก่ อยากได้อยากเอาอยากเสพ อย่างหนึ่ง

ภวตัณหา อยากภพ ได้แก่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากคงสถานอยู่ตลอดไป อยากมีชีวิตนิรันดร อย่างหนึ่ง

วิภวตัณหา อยากสิ้นภพ ได้แก่ ปรารถนาภาวะมลายสิ้นสูญ อย่างหนึ่ง และ

ลึกลงไปให้ชัดกว่านั้น ก็ดูที่กระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นตั้งแต่อวิชชา ซึ่งเป็นมูลของตัณหา ว่าเป็นที่ไหลเนืองมาแห่งปัญหาประดาทุกข์นั้น


เมื่อใด กำจัดอวิชชาตัณหา ที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ได้แล้ว มนุษย์ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เมื่อนั้น เขาก็จะสามารถปฏิบัติต่อชีวิต และสัมพันธ์กับโลก ทั้งส่วนมนุษย์ สัตว์อื่น และธรรมชาติ ด้วยปัญญาที่เข้าใจสภาวะ และรู้เหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ซึ่งทำให้แก้ปัญหาได้จริง อย่างเต็มความสามารถ และสติปัญญาของมนุษย์


แม้ความทุกข์จะมีเหลืออยู่ ก็เป็นเพียงทุกข์ตามสภาวะธรรมดา และทุกข์ที่เหลืออยู่น้อยแล้ว ก็ไม่มีอิทธิพลครอบงำจิตใจของเขาได้ ในเมื่อไม่มีของอิทธิพลของตัณหาครอบงำอยู่ภายใน ภารกิจของเขาจะมีเหลืออยู่เพียงการคอยใช้ปัญญาศึกษาพิจารณาสถานการณ์ และเรื่องราวทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ให้รู้เข้าใจสภาวะและเหตุปัจจัยตามเป็นจริง แล้วจัดการด้วยปัญญานั้น ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข


แต่ตราบใด กิเลสที่บิดเบือน ครอบงำ และที่ทำให้เอนเอียงทั้งหลาย ยังบีบคั้นบังคับมนุษย์ให้เป็นทาสของมันได้ ตราบนั้น มนุษย์จะไม่สามารถแก้ปัญหาขจัดทุกข์ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายนอก หรือทุกข์ภายใน โดยตรงข้าม เมื่อจะแก้ปัญหา เขามักจะกลับทำปัญหาให้นุงนังซับซ้อน และขยายตัวออกไปมากขึ้น ในรูปเดิมบ้าง ในรูปของปัญหาใหม่ๆ อื่นๆ บ้าง
เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นในภายใน แทนที่จะดับ หรือสามารถลดทอนปริมาณแห่งทุกข์ให้เบาบางลงได้ด้วยปัญญา ก็กลับถูกตัณหา บีบกดให้ชดเชยออกไปด้วยการเติมทุกข์ที่ใหญ่กว่าเข้ามา หรือระบายทุกข์นั้น ออกไปให้เป็นโทษภัยแก่คนอื่นและแก่สังคม


ความทุกข์ และ ปัญหาของมนุษย์ได้เป็นมา และเป็นอยู่อย่างนี้ ตามอำนาจบงการของตัณหา ที่มีอวิชชาคอยหนุนอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพียงข้อเดียว เห็นโล่ง ว่านักปฏิบัติทางจิต,ปฏิบัติธรรม, ปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะเรียกอะไรสุดแล้วแต่บ้านเรา ส่วนมากปฏิบัติพลาด ตัวอย่างเช่น ประสบทุกขเวทนาทางกายทางใจแล้วไปไม่เป็น บ้างก็เพ่นเข้าห้องน้ำ บ้างก็ลุกหนีไปทำนั่นทำนี่ บ้างว่าให้หนีไปเดินจงกรม ฯลฯ นี่หลบทุกข์หนีทุกข์แล้ว :b32: จริงไม่จริง


ทุกข์ข้อเดียว หรอคะโล่ง ต้องปลดทุกข์ด้วยถึงจะโล่ง แล้วต้องล้างทำความสะอาดด้วย ด้วยคริคริ
อริยะสัจต้องครบสี่ข้อจร้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพียงข้อเดียว เห็นโล่ง ว่านักปฏิบัติทางจิต,ปฏิบัติธรรม, ปฏิบัติกรรมฐาน หรือจะเรียกอะไรสุดแล้วแต่บ้านเรา ส่วนมากปฏิบัติพลาด ตัวอย่างเช่น ประสบทุกขเวทนาทางกายทางใจแล้วไปไม่เป็น บ้างก็เพ่นเข้าห้องน้ำ บ้างก็ลุกหนีไปทำนั่นทำนี่ บ้างว่าให้หนีไปเดินจงกรม ฯลฯ นี่หลบทุกข์หนีทุกข์แล้ว :b32: จริงไม่จริง


ทุกข์ข้อเดียว หรอคะโล่ง ต้องปลดทุกข์ด้วยถึงจะโล่ง แล้วต้องล้างทำความสะอาดด้วย ด้วยคริคริ
อริยะสัจต้องครบสี่ข้อจร้า


ไม่ต้องถึง 4 หรอก ข้อ 4 ข้อเดียว คือ ทำ, ปฏิบัติทำให้ถูกต้อง ก็จบข่าวแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค) ชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา มีความสุขอย่างอิสระ และทำกิจด้วยกรุณา

๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือภาวะหมดปัญหา เมื่อได้กล่าวถึงทุกข์ หรือปัญหา พร้อมทั้งสาเหตุ ที่เป็นเรื่องร้ายไม่น่าพึงใจแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงชโลมดวงใจของเวไนยชน ให้เกิดความเบาใจ และให้มีความหวังขึ้น ด้วยการตรัสอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ บอกให้รู้ว่า ทุกข์ที่บีบคั้นนั้นดับได้ ปัญหาที่มีความกดดันนั้น แก้ไขได้ ทางออกที่น่าพึงใจมีอยู่ ทั้งนี้ เพราะสาเหตุแห่งปัญหา หรือความทุกข์นั้น เป็นสิ่งที่กำจัด หรือทำให้หมดสิ้นไปได้


ทุกข์ หรือปัญหา ตั้งอยู่ได้ด้วยอาศัยเหตุ เมื่อกำจัดเหตุแล้ว ทุกข์ที่เป็นผล ก็พลอยดับสิ้นไปด้วย
เมื่อทุกข์ดับไป ปัญหาหมดไป ก็มีภาวะหมดปัญหา มีภาวะไร้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นไปเอง วุ่นหายกลายเป็นว่าง หลุดโล่ง โปร่งเบา ปลอดพ้นไปได้ เป็นอิสระ หมดจด สดใส
โดยนัยนี้ นิโรธอริยสัจ จึงตามเข้ามาเป็นลำดับที่ ๓ ทั้งโดยความเป็นไปตามธรรมดาของกระบวนธรรมเอง และ ทั้งโดยความเป็นไปตามธรรมดาของกระบวนเอง และทั้งโดยความเหมาะสมแห่งกระบวนวิธีการสอน ที่ชวนสนใจ ช่วยให้เข้าใจ สอนได้ผล และชวนให้ก้าวสู่การปฏิบัติเพื่อประจักษ์ผลที่เป็นจริง

เมื่อกำจัดตัณหา พร้อมทั้งกิเลสว่านเครือ ที่บีบคั้นครอบงำ และหลอนล่อจิตลงได้ จิตก็ไม่ต้องถูกทรมานด้วยความเร้าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวาดหวั่น ความกระทบกระทั่ง ความหงอยเหงา และความเบื่อหน่าย ไม่ต้องหวังความสุขแบบขอไปทีเพียงด้วยการหนีหลบออกไปจากอาการเหล่านี้ หรือแก้ไขทุกข์ด้วยหาอะไรมากลบปิดไว้ หรือ มาทดแทน หรือหาทางระบายออกข้างนอก พอผ่านหรือพ้นไปคราวหนึ่งๆ


ด้วยการแก้ไขที่เหตุปัจจัยนี้ จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ ปลอดโปร่งโล่งเบา มีความสุขที่ไร้ใฝฝ้า ด้วยไม่ต้องสะดุดพะพานสิ่งกังวลคั่งค้างใจ สงบ สดชื่น เบิกบาน ผ่องใสได้ตลอดทุกเวลา อย่างเป็นปกติของใจ บรรลุภาวะสมบูรณ์ของชีวิตด้านใน เป็นอันสำเร็จกิจแห่ง สัจฉิกิริยา คือ การประจักษ์แจ้งจุดหมาย


ส่วนอีกด้านหนึ่ง เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสที่บีบคั้นครอบงำหลอนล่อ และเงื่อนปมที่ติดข้องภายใน เป็นอิสระ ผ่องใส โดยไม่มีอวิชชาที่จะมาแสดงอิทธิพลนำชักใยอีกต่อไปแล้ว ก็ย่อมมีความหมายว่า ปัญญาได้หลุดพ้นจากกิเลสที่บดบัง เคลือบคลุม บิดเบือน หรือย้อมสี บริสุทธิ์เป็นอิสระ จึงทำให้สามารถคิดพิจารณาสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง มองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ และตามเหตุปัจจัย


เมื่อไม่มีอวิชชา ตัณหา คอยชักพาให้เขว ปัญญาก็เป็นเจ้าการในการชักนำพฤติกรรม ทำให้วางใจปฏิบัติตนแสดงออก สัมพันธ์ กับ โลก และชีวิต ด้วยความรู้เท่าทันความเป็นจริง
นอกจากปัญญานั้น จะเป็นรากฐานแห่งความบริสุทธิ์เป็นอิสระของจิตในส่วนชีวิตด้านใน แล้ว
ในส่วนชีวิตด้านนอก ก็ช่วยให้ใช้ความรู้ ความสามารถของตนไปในทางที่เป็นไปเพื่อการแก้ปัญหา เสริมสร้างประโยชน์สุขได้อย่างแท้จริง
สติปัญญา ความสามารถ ของเขาถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ของมัน ไม่มีอะไรหน่วงเหนี่ยวบิดเบน เป็นไปเพื่อความดีงามอย่างเดียว จึงเรียกว่าเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา หรือชีวิตที่ดำเนินไปด้วยปัญญา


ยิ่งกว่านั้น ในเมื่อจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง เป็นสุขอยู่เป็นปกติเอง ไม่ห่วงไม่กังวลเกี่ยวกับตัวตน ไม่ต้องคอยแสวงหาสิ่งเสพ ไม่ต้องคอยปกป้องเสริมความมั่นคงยิ่งใหญ่ของตัวตนที่แบกถือเอาไว้ แล้ว จิตใจก็เปิดกว้าง แผ่ความรู้สึกอิสระออกไป พร้อมที่จะรับรู้สุขทุกข์ของเพื่อนสัตว์โลก และคิดเกื้อกูลช่วยเหลือ
โดยนัยนี้ ปัญญา จึงได้ กรุณา มาเป็นแรงชักนำพฤติกรรมต่อไป ทำให้ดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นได้เต็มที่


ในเมื่อไม่ยึดติดถือมั่นอะไรๆ ในแง่ของกิเลสที่ห่วงหาผูกพันจะเอาจะได้เพื่อตัวตนแล้ว ก็สามารถทำการต่างๆ ที่ดีงามบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นได้แน่วแน่จริงจัง


สำหรับชีวิตด้านใน มีจิตใจเป็นอิสระ เป็นสุข ผ่องใส เบิกบาน เป็นความบริบูรณ์แห่งประโยชน์ตน เรียกว่า อัตตหิตสมบัติ
ส่วนชีวิตด้านนอก ก็ดำเนินไปเพื่อเกื้อกูลแก่ผู้อื่น เรียกว่า ปรหิตปฏิบัติ เข้าคู่กัน เป็นอันครบลักษณะของผู้ที่ได้ประจักษ์แจ้งความหมายสูงสุดของนิโรธ

อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินในมรรคาแห่งอารยชน ไม่จำเป็นที่จะต้องรอผล จนกว่าจะบรรลุนิพพาน ที่เป็นความหมายสูงสุดของนิโรธ
เมื่อเดินทางตามมรรคถูกต้องแล้ว แม้ในระหว่างทาง ก็สามารถประสบผลแห่งการปฏิบัติประจักษ์ แก่ตนได้เรื่อยไป โดยควรแก่การปฏิบัติ ทั้งได้ประโยชน์เอง และทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ดังที่ว่าแล้วนั้น มากและสูงไปตามชั้น ด้วยว่านิโรธนั้น มีลดหลั่นลงมารวมด้วยกันถึง ๕ ระดับ คือ

๑. วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยข่มไว้ โดยทำจิตใจให้สงบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย หายเครียด ปราศจากความขุ่นมัวเศร้าหมอง หายเร่าร้อนกระวนกระวาย ด้วยวิธีการฝ่ายสมาธิ เฉพาะอย่างยิ่ง หมายเอาสมาธิในระดับฌาน ซึ่งกิเลสถูกทำให้สงบไว้ ได้เสวยนิรามิสสุขตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น

๒. ตทังคนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยองค์ธรรมคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา มีปัญญารู้เท่าทันความจริง ที่เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย และจะพึงแก้ไขที่เหตุปัจจัย ไม่ขึ้นต่อความอยาก ความปรารถนา และความหมายมั่น ยึดถือของมนุษย์ แล้ววางใจได้ถูกต้อง และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น ด้วยท่าทีแห่งความรู้ ความเข้าใจ ทั้งมีจิตใจเป็นอิสระ และหวังดีมีน้ำใจ
เมื่อปัญญานี้ เห็นแจ่มแจ้งชัดเจนตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่า วิปัสสนาปัญญา ทำให้กิเลส และความทุกข์ดับหายไปได้ตลอดชั่วเวลานั้นมีจิตใจสงบ บริสุทธิ์ เป็นสุข ผ่องใส เบิกบานใจ กับ ทั้งทำให้จิตประณีต และปัญญางอกงามยิ่งขึ้น

๓. สมุจเฉทนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยตัดขาด คือ บรรลุโลกุตรมรรค ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป ดับกิเลสดับทุกข์ได้เสร็จสิ้น เด็ดขาด ตามระดับของมรรคนั้นๆ

๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยสงบระงับไป คือ บรรลุโลกุตรผล เป็นอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป กิเลสดับสิ้นไปแล้ว มีความบริสุทธิ์ปลอดโปร่งเป็นอิสระ ตามระดับของอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

๕. นิสสรณนิโรธ ดับกิเลสด้วยสลัดออกไป หมายถึง ภาวะที่เป็นอิสระปลอดโปร่งอย่างแท้จริง และโดยสมบูรณ์ คือ ภาวะแห่งนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง) ถ้าถึงพระรัตนตรัย ก็ไม่รอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เลิกฝากตัวกับโชคชะตา


๔. มรรค คือ ทางดับทุกข์ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสาเหตุแห่งปัญหา เมื่อรู้ทั้งปัญหา ทั้งสาเหตุแห่งปัญหา ทั้งจุดหมายที่เป็นภาวะหมดสิ้นปัญหา รู้ทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ก็พร้อมและเป็นอันถึงเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติ

โดยเฉพาะ แง่ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดโดยตรง ก็คือ เมื่อรู้จุดหมายที่จะต้องไปให้ถึง ว่าเป็นไปได้ และคืออะไรแล้ว การปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายนั้น จึงจะพลอยเป็นไปได้ด้วย
ถ้าไม่รู้ว่าจุดหมายคืออะไร จะไปไหน ก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติหรือเดินทางได้อย่างไร
ดังนั้น ว่าโดยความสัมพันธ์ระหว่างข้อธรรมด้วยกัน มรรคย่อมสมควรเข้าลำดับเป็นข้อสุดท้าย


อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยวิธีการสอน ตามธรรมดานั้น การปฏิบัติเป็นกิจที่ต้องอาศัยเรี่ยวแรงกำลัง
ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เห็นคุณค่า หรือประโยชน์ ของสิ่งที่เป็นจุดหมาย ก็ย่อมไม่มีกำลังใจจะปฏิบัติ ยิ่งถ้ารู้สึกว่าการปฏิบัตินั้นยาก ก็อาจเกิดความระย่อถ้อถอย หรือถึงกับไม่ยอมปฏิบัติ
แม้หากปฏิบัติ ก็อาจทำอย่างถูกบังคับ จำใจ ฝืนใจ สักว่าทำ ไม่อาจดำเนินไปด้วยดี


ในทางตรงข้าม ถ้าเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่งที่เป็นจุดหมายแล้ว เขาย่อมยินดีปฏิบัติ ยิ่งจุดหมายนั้นดีงาม เขาอยากได้มากเท่าใด เขาก็จะยิ่งมีกำลังใจปฏิบัติด้วยความเข้มแข็งมาก เท่านั้น เมื่อเขามีฉันทะจริงจังแล้ว แม้ว่าการปฏิบัติจะยากลำบากเท่าใดก็ตาม เขาก็จะพยายามต่อสู้ทำให้สำเร็จ


การที่พระพุทธเจ้าตรัสนิโรธไว้ก่อนหน้ามรรค ก็เพราะเหตุผลข้อนี้ด้วย คือ ให้ผู้ฟังมีความหวัง และเห็นคุณค่าของนิโรธที่เป็นจุดหมายนั้นก่อน จนเกิดความสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติ และ พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติต่อไป เมื่อพระองค์ตรัสแสดงนิโรธ ให้เห็นว่า เป็นภาวะควรบรรลุถึงอย่างแท้จริงแล้ว
ผู้ฟังก็ตั้งใจที่จะรับฟังมรรค ด้วยใจมุ่งมั่น ที่จะเอาไปใช้เป็นข้อปฏิบัติ และทั้งมีกำลังเข้มแข็ง พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติตามมรรค และยินดีที่จะเผชิญกับความยากลำบากในการปฏิบัติตามรรคนั้นต่อไป

เมื่อมองหาเหตุแห่งทุกข์ มนุษย์ชอบมองออกไปหาที่ซัดทอดในภายนอก หรือมองให้ไกลจากความรับผิดชอบของตนเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉันใด เมื่อจะแก้ไขทุกข์ มนุษย์ก็ชอบมองออกไปข้างนอก หาที่ปกป้องคุ้มครองให้ตนพ้นภาระ หรือให้มาช่วยทำการแก้ไขทุกข์แทนให้ ฉันนั้น


ว่าโดยลักษณะ การกระทำทั้งสองนั้นก็คล้ายคลึงกัน คือ เป็นการหลบหน้าความจริง ไม่กล้ามองทุกข์ และเลี่ยงหนีการเผชิญความรับผิดชอบ เหมือนคนหนีภัยด้วยความขลาดกลัว หาที่พอปิดตาซุกหน้าไม่ให้เห็นภัยนั้น นึกเอาเหมือนว่าได้พ้นภัย ทั้งที่ทั้งร่างทั้งตัวถูกปล่อยทิ้งไว้ในภยันตราย


ทำทีเช่นนี้ ทำให้เกิดนิสัยหวังพึ่งปัจจัยภายนอก เช่น การอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การบนบานเซ่นสรวงสังเวย การรอคอยการดลบันดาลของเทพเจ้า หรือ นอนคอยโชคชะตา
พระพุทธศาสนาสอน ว่า สิ่งที่หวังพึ่งเช่นนั้น หรือการปล่อยตัวตามโชคชะตาเช่นนั้น ไม่เป็นทางแห่งความมั่นคงปลอดภัย ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์แท้จริง


วิธีแก้ไขทุกข์ที่ถูกต้อง คือ มีความมั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ทำใจให้สงบ และเข้มแข็ง แล้วใช้ปัญญา มองดูปัญหาอย่างมีใจเป็นกลาง ให้เห็นตามสภาวะของมัน และพิจารณาแก้ไขปัญหานั้นที่เหตุปัจจัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดอีกอย่างหนึ่ง ว่า รู้จักดำเนินวิธีแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ ประการ คือ
กำหนดทุกข์
สืบสาวหาสาเหตุแห่งทุกข์
เล็งรู้ภาวะดับทุกข์ที่จะพึงบรรลุ
แล้วปฏิบัติตามวิธีแก้ไขที่ตรงเหตุ ซึ่งพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมาย เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘
การปฏิบัติเช่นนี้ จึงจะเป็นการพ้นทุกข์ที่แท้จริง

ดังนี้ พุทธพจน์ว่า

“มนุษย์มากมาย ถูกภัยคุกคามแล้ว พากันหาสิ่งต่างๆมากมาย เป็นที่พึ่ง ยึดเอาภูเขาบ้าง ป่าบ้าง สวนและต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์บ้าง เป็นสรณะ แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่เป็นที่พึ่งอันเกษม นั่นไม่ใช่สรณะอันอุดม คนยึดเอาสรณะอย่างนั้น จะพ้นไปจากสรรพทุกข์หาได้ไม่

“ส่วนผู้ใด ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ มองเห็นด้วยปัญญาโดยถ่องแท้ ซึ่งอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ความก้าวล่วงทุกข์ และ อริยมรรคามีองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ นี่แหละ คือ สรณะอันเกษม นี้ คือสรณะอันอุดม คนถึงสรณะอย่างนี้แล้ว ย่อมปลอดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง” (ขุ.ธ.25/24/40)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร