วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 06:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระนิพพานมีความสุขอย่าง
เดียวหรือว่ามีความทุกข์ปนอยู่ด้วย
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระนิพพานมีแต่ความสุขล้วน
ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย

ม. จะไม่เช่นนั้นสิเธอ ข้าพเจ้าสังเกตุดูคนที่ยังมุ่งหวังพระนิพพาน ร่างกาย
ลำบากคือ ต้องสำรวมอิริยาบถ ต้องระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลา
จิตให้ผ่องใส เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอาการแห่งความทุกข์ความลำบากทั้งนั้น ก็
ถ้าพระนิพพานมีแต่ความสุขล้วนจริงดังเธอว่า กายวาจาใจของผู้มุ่งหวังพระ
นิพพานก็ไม่ต้องรับการทรมานเช่นนั้น เรื่องนี้แม้มาคัณฑิยปริพพาชก ก็ได้กล่าว
ติเตียนพระพุทธเจ้าไว้ ซึ่งมีใจความว่า พระสมณโคดมไม่ได้รับความเจริญของโลกเลย

น. ขอถวายพระพร อาตมภาพของทูลถามพระองค์บ้างว่า การเสวยราชสมบัติ
ได้รับแต่ความสุขอย่างเดียวหรืออย่างไร
ม. ก็เป็นสุขนี่เธอ ไม่เห็นทุกข์ยากลำบากอะไร
น. คราวเมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระองค์ต้องเสด็จกรีฑาทัพไปประทับแรม
ตามดงตามป่า ถูกเหลือบยุงและลมแดดเบียดเบียนเป็นต้น ขอถวายพระพร นั่นเป็น
ความทุกข์มิใช่หรือ

ม. ก็เป็นความทุกข์สิเธอ แต่เรื่องนั้นเธอจะเอามาปนกับความสุขในราช
สมบัติไม่ได้ เพราะการกระทำนั้นๆ ทำเพื่อความมั่นคงในการหาความสุขใน
ราชสมบัติต่างหาก

น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่ต้องสำรวมอิริยาบถต้องระวัง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลาจิตให้ผ่องใสนั้น ก็เพื่อความมั่นคงในการ
แสวงหาความสุขคือ พระนิพพานเช่นเดียวกัน เพราะพระนิพพานเป็นธรรมชาติ
หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้มุ่งหวังพระนิพพานเป็น
ธรรมชาติหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้มุ่งหวังพระ

นิพพานก็ต้องทำบุญชำระสันดานของตนให้ปราศจากบาป อันทำให้หม่นหมอง
ล้างจนกายวาจาใจสะอาดหมดจดไม่ต้องกระทำการชำระล้างต่อไป เมื่อนั้น
แลเป็นอันว่า ได้ประสบสุขคือพระนิพพาน

ขอถวายพระพร เนื่องด้วยพระนิพพานหมดสิ้นมลทิน คือบาปธรรมอันเป็น
ต้นเหตุแห่งตัวทุกข์แล้วเช่นนี้และ จึงมีแต่ความสุขล้วนไม่มีความทุกข์เจือปนเลย
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบนิพพานอทุกขมิสสภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เธอจงแสดงรูปพรรณสัณฐาน
หรือขนาดแห่งพระนิพพาน มาโดยเหตุโดยนัย หรือโดยอุปมา
พระนาคเสนทูลตอบว่า อาตมภาพแสดงถวายเช่นนั้นไม่ได้ เพราะพระนิพพาน
ไม่มีตัวตน ไม่มีเหตุปัจจัย อย่างเดียวกับผู้ที่ถูกถามว่าปลาในทะเลมีเท่าไร แล้วตอบ
ไม่ได้ ฉะนั้น ขอถวายพระพร แต่อาตมภาพย่อมแสดงคุณแห่งพระนิพพานถวายได้
โดยอุปมา

ม. แม้คุณแห่งพระนิพพาน ข้าพเจ้าก็ใคร่จะฟัง
น. ขอถวายพระพร พระนิพพานเปรียบเหมือนดอกบัว คือธรรมดาดอกบัวนี้น้ำ
ไม่ติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานก็ไม่มีกิเลสติดอยู่ฉันนั้นแล
พระนิพพานเปรียบเหมือนน้ำ อธิบายว่า น้ำเป็นของเย็นดับเสียซึ่งความร้อน
กระวนกระวาย ฉันใด พระนิพพานก็เป็นของเย็นดังความกระวนกระวายที่เกิด
จากกิเลสเสียได้ฉันนั้น อนึ่งน้ำเป็นของบำบัดความระหายเสียได้ พระนิพพาน
ก็ดับความดิ้นรน ทะเยอทะยานเสียได้เช่นเดียวกัน

พระนิพพานเปรียบเหมือนยา อธิบายว่า ยามีคุณ ๓ อย่าง
๑) ให้คุณแก่ผู้ที่ถูกอสรพิษขบกัด พระนิพพานก็ให้คุณแก่ผู้
ที่ถูกกิเลสเบียดเบียนเช่นเดียวกัน
๒) คุณของยาบำบัดโรคให้หายได้ฉันใด พระนิพพานก็บำบัดโรคคือ
ความทุกข์ให้หายได้ฉันนั้น และ
๓) คุณของยาย่อมป้องกันความตายได้ฉันใด พระนิพพานก็ป้องกัน
ความตายได้ฉันนั้นเหมือนกัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณแห่งทะเล อธิบายว่า คุณแห่งทะเลมี ๔ คือ
๑) เป็นที่ไม่มีซากศพ พระนิพพานก็เป็นที่ไม่มีซากศพคือกิเลส
๒) ทะเลเป็นที่กว้างขวางไม่มีฝั่งเป็นที่กำหนด ไม่เต็มด้วยน้ำที่ไหลมาฉันใด
พระนิพพานก็เป็นที่กว้างขวาง ไม่มีฝั่ง ไม่เต็มไปด้วยหมู่สัตว์ฉันนั้นเหมือนกัน
๓) ทะเลเป็นที่อยู่ของฝูงภูต พระนิพพานก็เป็นที่อยู่ของพระขีณาสพเช่น
เดียวกัน

๔) ทะเลเป็นที่เบิกบานด้วยระลอกคลื่นฉันใด พระนิพพานก็เบิกบาน
ด้วยวิชาและวิมุติฉันนั้นเหมือนกัน
พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณของอาหาร อธิบายว่าธรรมดาอาหารย่อมมี
คุณอยู่ ๕ อย่าง คือ
๑) เป็นของนำอายุของสัตว์ให้ยืดยาวต่อไป ฉันใด พระนิพพานก็นำชรา
และมรณะออก ต่ออายุของสัตว์ให้ยืดยาวได้ฉันนั้น

๒) อาหารเป็นของบำรุงกำลังให้แข็งแรง พระนิพพานก็บำรุงกำลังฤทธิ์
ได้เช่นเดียวกัน
๓) อาหารเป็นเครื่องเกิดพรรณแห่งสัตว์ ฉันใดพระนิพพานก็เป็นเครื่อง
เกิดพรรณคือคุณความดีของเหล่าสัตว์ฉันนั้น
๔) อาหารเป็นของดับความหิวได้พระนิพพานก็ดับความทะเยอทะยานได้
เช่นเดียวกัน

๕) อาหารเป็นของระงับความกระวนกระวายได้ฉันใด พระนิพพานก็ระงับ
ความกระวนกระวายเพราะกิเลสได้ฉันนั้น
พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณแห่งอากาศ อธิบายว่าคุณแห่งอากาศมี
๑๐ ประการคือ ๑) ไม่รู้จักเกิด, ๒) ไม่รู้จักแก่, ๓) ไม่รู้จักตาย, ๔)ไม่จุติ,
๕) ไม่กลับเกิดอีก, ๖) ใครข่มเหงหรือลักเอาไปไม่ได้, ๗) ดำรงสภาพอยู่
โดยไม่ต้องอาศัยอะไร, ๘) เป็นที่ฝูงนกบินไปมาได้, ๙) ไม่มีอะไรมากางกั้น,
๑๐) ที่สุดไม่ปรากฏ, แม้พระนิพพานก็มีคุณ ๑๐ ประการ เช่นเดียวกันนี้แล

พระนิพพานเปรียบเหมือนแก้วมณี อธิบายว่า คุณแห่งแก้วมณีมี ๓ ประการ
คือ ๑) เป็นของที่ใครๆ อยากได้, ๒) เป็นของปลื้มใจ, ๓) ทำให้เกิดความ
เจริญรุ่งเรือง, ขอถวายพระพร พระนิพพานก็มีคุณ ๓ ประการอย่างเดียวกับ
แก้วมณีนี้แล

พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณแห่งไม้จันทน์แดง อธิบายว่า คุณแห่งไม้
จันทน์แดงมี ๓ ประการ คือ ๑) เป็นของหาได้ยาก, ๒) เป็นของหอมยิ่ง,
๓) เป็นของควรยกย่องทั่วไป, พระนิพพานก็มีคุณเช่นเดียวกันกับไม้จันทน์แดง
นี้แล พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณของเนยใส อธิบายว่าคุณของเนยใสมี ๓ อย่าง
๑) เป็นของมีสี, ๒) เป็นของมีกลิ่น, ๓) เป็นของมีรส, แม้พระนิพพานก็มีสีมี
กลิ่นมีรสเช่นเดียวกันนี้แล

พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณของยอดภูเขา อธิบายว่ายอดภูเขาย่อมมี
คุณ ๕ อย่าง ๑) เป็นที่สูง, ๒) เป็นที่ไม่หวั่นไหว, ๓) เป็นที่ยากจะขึ้นได้,
๔) พืชพรรณงอกขึ้นไม่ได้, ๕) พ้นจากความยินดียินร้ายทุกอย่าง พระนิพพาน
ก็มีคุณเช่นเดียวกับยอดภูเขานี้แล
จบนิพพานปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่าพระนิพพาน
ไม่ใช่ธรรมล่วงแล้ว มิใช่ธรรมยังมาไม่ถึงและมิใช่ธรรมที่เกิดขึ้นในบัดนี้นั้น
ก็ถ้าอย่างนั้นผู้ปฏิบัติจะทำอย่างไร คือจะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เกิดขึ้น
แล้วหรือว่าจะให้พระนิพพานเกิดขึ้นเสียก่อนจึงกระทำให้แจ้ง

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นพระองค์ตรัสถาม
นั้นไม่ แต่ว่าพระนิพพานที่ผู้ปฏิบัติชอบแล้วกระทำให้แจ้งมีอยู่
ม. เธอพูดฟังยากจริง ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ
น. ขอถวายพระพร พระนิพพานเป็นธรรมสงบระงับมีความสุขอย่าง
ประณีต ผู้ปฏิบัติชอบพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อม
กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นได้ด้วยปัญญา ประหนึ่งศิษย์กระทำให้
แจ้งซึ่งวิชาตามคำสอนของครู ฉะนั้น

ม. พระนิพพานจะกระทำให้แจ้งด้วยอาการอย่างไร
น. ขอถวายพระพร การที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น ต้อง
พิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย คำนึงถึงความเกิดดับ แล้วคำนึง
เอาเป็นอารมณ์เฉพาะแต่ความดับอย่างเดียว เมื่อนั้นย่อมเกิดความหวาดกลัว

เห็นสังขารเป็นไปกับด้วยโทษ เกิดความไม่สบายจิตความเร่าร้อนในกายขึ้น
มีความเบื่อหน่ายในภพทั้ง ๓ คิดจะใคร่พ้นไปเสีย จึงพิจารณาสังขารหาทาง
ที่จะให้พ้น ลำดับนี้จิตก็คำนึงเฉยอยู่ ในที่สุดจิตอันได้ชื่อว่า อนุโลมเกิดขึ้น
ในลำดับแห่งมโนทวาราวัชนะอันตัดภวังค์เกิดขึ้นในขณะที่อริยมรรคจักเกิด
ขอถวายพระพร ผู้ที่ปฏิบัติได้เช่นนี้แล จึงจะกระทำพระนิพพานให้แจ้งได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบนิพพานสัจฉิกรณปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระนิพพานตั้งอยู่ทางทิศไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นพระองค์ตรัสถามนั้นไม่
ม. ถ้าเป็นเช่นนั้น พระนิพพานก็เป็นอันไม่มี ผู้ที่พยายามกระทำพระนิพพาน
ให้แจ้งก็ไร้ประโยชน์เปล่า ธรรมดานาย่อมเป็นที่ตั้งแห่งข้าวเปลือก ดอกไม้เป็น
ที่ตั้งแห่งกลิ่นเป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าพระนิพพานมีจริงก็น่าจะมีที่ตั้งเช่นเดียวกัน

น. ขอถวายพระพร พระนิพพานมีอยู่จริง แต่ที่ตั้งแห่งพระนิพพานไม่มี
อาตมภาพจะเปรียบถวาย ธรรมดาไฟตามปรกติก็ไม่ปรากฏว่าตั้งอยู่ที่ไหน
แต่เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกันเข้าไฟก็เกิดมีขึ้นได้นี้ฉันใด แม้พระนิพพานก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน คือไม่ปรากฏว่ามีที่ตั้ง แต่ว่าเมื่อบุคคลพยายามบำเพ็ญศีล สมาธิ
ปัญญาให้แก่กล้าแล้ว พระนิพพานก็เกิดขึ้นได้เช่นไฟนั้นแล

ม. เมื่อที่ตั้งแห่งพระนิพพานไม่มีก็ช่างเถิด แต่ว่าฐานะที่บุคคลตั้งอยู่ได้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานมีอยู่หรือไม่
น. ขอถวายพระพร มีอยู่
ม. เธอจงชี้มาให้ฟัง
น. ขอถวายพระพร ฐานะนั้นก็คือศีล เมื่อบุคคลตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว กระทำใจ
โดยอุบายอันแยบคาย แม้ว่าจะอยู่ที่ใดๆ ก็ย่อมจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบนิพพานปัฏฐานปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สันถวปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เธอได้เห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ได้เห็น
ม. อาจารย์ของเธอได้เห็นหรือไม่
น. อาจารย์ก็ไม่ได้เห็นเช่นเดียวกัน
ม. ถ้าเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก้ไม่มี
น. อาตมภาพขอทูลถามพระองค์ก่อนว่า ปฐมกษัตริย์ของพระองค์มีหรือไม่
ม. มีสิเธอ
น. พระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นพระองค์ท่านหรือไม่
ม. ไม่เคยเห็น

น. พวกราชบริพารของพระองค์ เคยเห็นหรือไม่
ม. ไม่เคยเห็นเหมือนกัน
น. ถ้าอย่างนั้น ปฐมกษัตริย์ของพระองค์ก็ไม่มี
ม. มีสิเธอ เพราะว่ายังมีเครื่องราชูปโภค คือเศวตฉัตร พระมหามงกุฏ
ฉลองพระบาท วาลวิชนี พระขรรค์แก้วปรากฏเป็นพยานอยู่

น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้ามีจริง เพราะยังมี
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเป็นพยานปรากฏอยู่ ขอถวายพระพร ธรรม
๓๗ ประการเหล่านี้แลทำให้อนุมานได้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง และเป็นผู้
ที่ฉลาดที่สุด
ม. เธอลงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง

น. นายช่างก่อสร้าง จะต้องกะแผนผังวางรูปโครงพระนครให้มีโรงร้าน
โรงมหรสพและถนนหนทาง เพื่อให้ผู้อาศัยได้รับสันติสุขทุกประการฉันใด
แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสร้างธรรมนครอันวิจิตรตระการตาขึ้นอย่างสวยงาม
และมั่นคง ด้วยมีศีลเป็นกำแพง มีหิริเป็นคู มีญาณเป็นซุ้มประตู มีวิริยะเป็น
หอรบ มีศรัทธาเป็นสาระเนียด มีสติเป็นนายประตู มีปัญญาเป็นปราสาท มี
พระสุตตันตปิฎกเป็นท้องสนาม มีพระอภิธัมมปิฎกเป็นถนนสามแพร่ง มี
พระวินัยปิฎกเป็นศาล มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นถนน

ขอถวายพระพร ในถนน ๔ สายนั้นพระพุทธเจ้าเปิดร้านขายของต่างๆ
เช่นร้านดอกไม้ ร้านของหอม ร้านผลไม้ ร้านยาถอนพิษ ร้านยาแก้โรค
ร้านขายน้ำอมฤต ร้านเครื่องแก้วและร้านขายของทุกชนิด
ม. เธอจงเทียบร้านสินค้านั้นๆ เป็นธรรมมาฟังเถิด

น. ขอถวายพระพร ร้านดอกไม้ได้แก่สัญญา ๑๐ ร้าน ของหอมได้แก่ศีล
ร้านผลไม้ได้แก่พระอริยผล ๔ ร้านยาถอนพิษได้แก่พระอริยสัจ ๔ ร้านยาแก่
โรคได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ร้านขายน้ำอมฤตได้แก่คตาสติ ร้านเครื่อง
แก้วได้แก่ศีล สมาธิปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสสนะ ปฏิสัมภิทาและโพชฌงค์
ร้านขายของต่างชนิดได้แก่วังคสัตถุสาสน์

ขอถวายพระพร ชาติสมบัติ ธนสมบัติอโรคยสมบัติ วรรณสมบัติ
ปัญญาสมบัติ มนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ เหล่านี้เป็นของ
ที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่ไว้ในร้านขายของทั้งนั้น ผู้ปรารถนาสมบัตินั้นๆ
ต้องซื้อด้วยกระทำความเพียร ในการรักษาศีลเจริญสมาธิทำให้เกิดปัญญา
ขอถวายพระพร ชาวธรรมนครนั้น ได้แก่เหล่าท่านผู้ทรงพระไตรปิฎก
ผู้บริบูรณ์ด้วยศีลสมาธิปัญญา ผู้สมาทานธุดงค์ และท่านที่ได้บรรลุ
มรรคผลนิพพาน

ขอถวายพระพร ในธรรมนครนั้น ผู้ที่เป็นเสนาบดีคือ ท่านที่ทรงไว้ซึ่ง
ญาณอันประเสริฐ ยังธรรมจักรให้เป็นอยู่เนืองๆ
ผู้ที่เป็นปุโรหิต คือท่านที่มีฤทธิ์มาก ยากที่ใครจะผจญได้ สามารถแสดง
อิทธิฤทธิได้ต่างๆ
ผู้ที่เป็นผู้พิพากษา คือท่านที่มีความปรารถนาน้อย วางอารมณ์อยู่ในธุดงคคุณ

ผู้ที่ทำพระนครให้สว่างไสว คือท่านที่ได้ทิพพจักษุ ฉลาดในจุตูปปาตญาณ
ผู้รักษาธรรมนคร คือท่านที่เป็นพหูสูตทรงนวังคสัตถุสาสน์
ผู้จัดระเบียบธรรมนคร คือท่านผู้แตกฉานในพระวินัย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2019, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ผู้ขายดอกไม้ คือท่านที่มหาชนรักใคร่และปรารถนาอย่างยิ่ง
ผู้ขายผลไม้ คือท่านผู้ได้มรรคผลแล้วย่อมจำแนกผลนั้นๆ แก่ผู้ปฏิบัติแม้เหล่าอื่น
ผู้ขายของหอม คือท่านผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลคุณนักดื่มในธรรมนครนั้น ล้วนแต่ท่าน
ที่รื่นเริงในพระธรรมวินัย จะทำจะพูดจะคิดย่อมเกี่ยวด้วยรสคือพระธรรมทั้งนั้น
ผู้ดูแลธรรมนคร คือเหล่าท่านที่ประกอบความเพียรขวนขวายแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์สุข

ผู้ที่เป็นครู ก็บอกกล่าวเฉพาะแต่นวังคสัตถุสาสน์ตามอรรถ ตามพยัญชนะ
ตามเหตุ ตามนัย
เศรษฐีคือผู้ที่มั่นคั่งไปด้วยแก้วคือพระธรรม
ราชบัณฑิตคือผู้ฉลาดในการชี้แจงข้ออรรถธรรม

ขอถวายพระพร ตามที่อาตมภาพทูลถวายมานี้ ย่อมจะชี้ให้เห็นว่า ธรรมนคร
มีความวิจิตรพิสดารเพียงไร เหตุนี้ขอพระองค์ได้ทรงอนุมานธรรมนครดูว่า
นอกจากพระพุทธเจ้า ผู้อื่นไม่มีใครสามารถจะสร้างและตั้งแต่งขึ้นได้ เพราะ
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าผู้สร้างสรรค์ธรรมนครจึงมีอยู่จริง อย่างเดียวกับพระองค์
ทรงอนุมานในพระหฤทัย แล้วย่อมจะทรงทราบว่าทะเลมีคลื่นและกว้างใหญ่
หรือทรงทราบว่า ภูเขาหิมพานต์เป็นภูเขาสูงสุด เป็นต้นฉะนั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบอนุมานปัญหา

ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ฆราวาสผู้อยู่ครองเรือน
นอนระคนอยู่ในหมู่บุตรภรรยา และทัดทรงของหอมได้ทุกอย่าง แต่ก็มีโอกาส
ได้บรรลุมรรคผลเหมือนบรรพชิต เหมือนกันมิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ถ้าจะนับจำนวนก็เกือบจะไม่ถ้วน

ม. ถ้าเช่นนั้น เธอบวชและสมาทานธุดงค์เพื่อประโยชน์อะไร โรคหายด้วย
ประการอื่นได้ จะต้องดื่มยาให้ขมคอทำไม เมื่อปฏิบัติชอบก็ได้บรรลุมรรคผล
เช่นเดียวกัน ดังนั้นอยู่เป็นฆราวาสจะมิสบายกว่าหรือ จะได้ไม่ต้องไปนอนแรม
อยู่ในป่าสมาทานธุดงค์
น. ขอถวายพระพร ไม่เป็นเช่นนั้นอันการสมาทานธุดงค์ย่อมกอปรด้วย
คุณ ๒๘ ประการ
๑) การเลี้ยงชีพดำเนินไปได้อย่างบริสุทธิ์
๒) ได้รับความสุข
๓) เป็นกิจหาโทษไม่ได้
๔) เป็นการบรรเทาทุกข์ของผู้อื่น
๕) หาภัยมิได้

๖) หาสิ่งจะเบียดเบียนมิได้
๗) นำแต่ความเจริญมาให้อย่างเดียว
๘) ปราศจากมายา
๙) ไม่มีความขุ่นมัว
๑๐) เป็นที่ป้องกันรักษา
๑๑) เป็นคุณที่ชนทั้งหลายปรารถนา
๑๒) เป็นการฝึกหัดตน
๑๓) เป็นการป้องกันศัสตราวุธ
๑๔) เป็นการเกื้อกูลแก่การสำรวม
๑๕) เป็นกิจที่พอเหมะจะบำเพ็ญ
๑๖) ทำให้จิตใจสงบระงับ
๑๗) พ้นจากความเศร้าหมองใจ
๑๘) เป็นเหตุทำให้ราคะหมดสิ้นไป
๑๙) เป็นเหตุทำให้โทสะหมดสิ้นไป
๒๐) เป็นเหตุทำให้โมหะหมดสิ้นไป
๒๑) เป็นเหตุทำให้มานะหมดสิ้นไป
๒๒) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งวิตก
๒๓) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความสงสัย
๒๔) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
๒๕) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดี
๒๖) เป็นเหตุให้มีความอดทน
๒๗) มีคุณเหลือที่จะชั่งจะประมาณ
๒๘) เป็นเหตุให้ความทุกข์หมดสิ้นไป

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2019, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขอถวายพระพร ผู้สมาทานธุดงค์ ย่อมประกอบไปด้วยคุณ ๑๘ ประการ คือ
๑) มีมรรยาทบริสุทธิ์ดี
๒) มีปฏิปทาเป็นสุจริต
๓) รักษากายทวารวจีทวารได้ดี
๔) มีจิตผ่องใส
๕) เป็นผู้ขยัน
๖) ระงับเสียซึ่งความกลัว
๗) สละเสียซึ่งอัตตานุวาททิฏฐิ
๘) ระงับเสียซึ่งความอาฆาตจองเวร
๙) มีจิตกอปรด้วยเมตตา
๑๐) อาหารที่จะบริโภคมีกำหนด
๑๑) มีจิตหนักในสัตว์ทั้งปวง
๑๒) รู้จักประมาณในการบริโภค
๑๓) ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่

๑๔) เป็นผู้ไม่มีความอาลัยในที่อยู่
๑๕) ที่ไหนสงบก็อยู่ที่นั่น
๑๖) มีความละอายต่อบาป
๑๗) ยินดีในที่วิเวก
๑๘) เป็นผู้ไม่ประมาทเนืองๆ
ขอถวายพระพร บุคคลจะสมาทานธุดงค์ได้ต้องประกอบด้วย
คุณสมบัติ ๑๐ ประการคือ
๑) มีศรัทธา
๒) มีหิริ ความละอายต่อบาป
๓) มีปัญญา
๔) มิใช่คนคดโกง
๕) รู้จักคุณของธุดงค์
๖) มิใช่คนโลเล
๗) เป็นคนใคร่ต่อการศึกษา
๘) มีการสมาทานมั่นคง

๙) ไม่เป็นคนชอบยกโทษ
๑๐) มีจิตกอปรด้วยเมตตาพรหมวิหาร
ขอถวายพระพร อันผู้ที่จะกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพานได้ ต้อง
เป็นผู้ได้สมาทานธุดงค์มาเป็นปทัฏฐานก่อนเพราะว่า ธุดงค์ย่อมทรงคุณ
มากอย่างประการ ล้วนแต่ทำกายวาจาใจให้บริสุทธิ์ทั้งนั้น เหตุนี้จึงมี
บุคคลบางจำพวกสมาทานธุดงค์ไม่ได้ ซึ่งมีประเภทดังนี้
๑) ผู้มีความปรารถนาลามก
๒) ผู้มีจิตริษยาท่าน
๓) ผู้มีปรากติกล่าวเท็จ
๔) ผู้มีความโลภจัด

๕) ผู้มุ่งลาภยศสรรเสริญ
๖) เป็นผู้ไม่ควรไม่เหมาะแก่การสมาทาน
ขอถวายพระพร อันธุดงค์นี้มี ๑๓ ประการ
๑) องค์แห่งผู้มีอันทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร
๒) องค์แห่งผู้มีอันทรงผ้าสามผืนเป็นวัตร
๓) องค์แห่งผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๔) องค์แห่งผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตตามแถว เป็นวัตร
๕) องค์แห่งผู้มีอันบริโภคในอาสนะเดียวเป็นวัตร
๖) องค์แห่งผู้มีอันบริโภคในบาตรเป็นวัตร
๗) องค์แห่งผู้ห้ามภัตรที่เขานำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร
๘) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นวัตร
๙) องค์แห่งผู้มีอันอยู่โคนไม้เป็นวัตร
๑๐) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
๑๑) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร
๑๒) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดไว้อย่างไร
๑๓) องค์แห่งผู้มีอันนั่งเป็นวัตร
ขอถวายพระพร ผู้ที่สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประการนี้แล้วย่อมถึงพร้อม

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2019, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐ ประการ คือ
๑) มีจิตประกอบด้วยเมตตา
๒) กำจัดกิเลสเสียได้
๓) กำจัดความถือตัวเสียได้
๔) มีความเชื่อมั่นคง
๕) ได้รับความสุขอย่าละเอียด
๖) มีกลิ่นหอมไปด้วยศีล
๗) เป็นที่รักใคร่ของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย
๘) ได้เป็นพระอริยเจ้า
๙) เทวดามนุษย์กราบไหว้บูชา
๑๐) หมู่บัณฑิตสรรเสริญ
๑๑) ไม่ติดอยู่ในโลก
๑๒) เป็นผู้พิจารณาเห็นภัยในโลกแม้เล็กน้อย

๑๓) ทำประโยชน์ให้แก่ชนทั่วไป
๑๔) มหาชนบูชาด้วยสักการะ
๑๕) เป็นผู้ไม่ติดที่อยู่
๑๖) มีฌานเป็นวิหารธรรม
๑๗) เป็นผู้รื้อข่ายคือกิเลส
๑๘) ตัดคติที่กีดกั้นได้เด็ดขาด
๑๙) เป็นผู้มีธรรมไม่กำเริบ
๒๐) เป็นผู้มีที่อยู่อันจัดไว้โดยเฉพาะ
๒๑) เป็นผู้บริโภคสิ่งที่หาโทษมิได้
๒๒) เป็นผู้พ้นแล้วจากคติ
๒๓) เป็นผู้ไม่มีความสงสัย
๒๔) เป็นผู้มีตนอาบแล้วด้วยวิมุติ

๒๕) เป็นผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว
๒๖) เป็นผู้ไม่หวาดกลัวต่อสิ่งใดๆ
๒๗) เป็นผู้มีอนุสัยถอนขึ้นแล้ว
๒๘) เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
๒๙) เป็นผู้มีสมบัติคือความสุขอย่างสุขุม เป็นวิหารธรรม
๓๐) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมณคุณทั้งปวง
ขอถวายพระพร อันผู้สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประการ ย่อมกอบไปด้วย
คุณอันมากประการเช่นนี้แล
ม. เธอแจงละเอียดจริง
จบธุตังคปัญหา
จบเมณฑกปัญหา

อุปมากถาปัญหาบทมาติกา
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พึงถือองค์กี่ประการ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
องค์๑ แห่งฬาซึ่งมีเสียงอันพิลึก, องค์ ๕ แห่งไก่, องค์ ๑ แห่งกระแต, องค์ ๑
แม่เสือเหลือง, องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง, องค์ ๕ แห่งเต่า, องค์ ๑ แห่งปี่,
แห่งรางปืน, องค์ ๒ แห่งกา, และองค์ ๒ แห่งลิง, นี้วรรค ๑
อนึ่ง พึงถือองค์ ๑ แห่งเถาน้ำเต้า, องค์ ๓ แห่งบัว, องค์ ๒ แห่งพืช,
แห่งไม้ขานาง, องค์ ๓ แห่งเรือ, องค์ ๒ แห่งเรือติดโสโครก, องค์ ๑ แห่งเสา,
องค์ ๓ แห่งต้นหน, องค์ ๑ แห่งคนงาน, องค์ ๕ แห่งมหาสมุทร, นี้วรรค ๒
อนึ่ง พึงถือองค์ ๕ แห่งแผ่นดิน, องค์ ๕ แห่งน้ำ, องค์ ๕ แห่งไฟ, แห่งลม,
องค์ ๕ แห่งภูเขา, องค์ ๕ แห่งอากาศ, องค์ ๕ แห่งพระจันทร์, องค์ พระอาทิตย์,
องค์ ๓ แห่งพระอินทร์, องค์ ๔ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์, นี้วรรค ๓

อนึ่ง พึงถือองค์ ๑ แห่งปลวก, องค์ ๒ แห่งแมว, องค์ ๑ แห่งหมู,
แห่งแมลงป่อง, องค์ ๑ แห่งพังพอน, องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก,
องค์ ๓ แห่งเนื้อ, องค์ ๔ แห่งโค, องค์ ๒ แห่งสุกรป่า, องค์ ๕ แห่งช้าง,
นี้วรรค ๔

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2019, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อนึ่ง พึงถือองค์ ๗ แห่งราชสีห์, องค์ ๓ แห่งนกจากพราก, องค์ ๒ แห่งนก,
องค์ ๑ แห่งนกกระจอก, องค์ ๒ แห่งนกเค้า, องค์ ๑ แห่งนกตะขาบ, องค์ ๒
แห่งค้างคาว, องค์ ๑ แห่งปลิง, องค์ ๓ แห่งงูสามัญ, องค์ ๑ แห่งงูเลือม, นี้วรรค ๕
อนึ่ง พึงถือองค์ ๑ แห่งแมลงมุม, องค์ ๑ แห่งทารกดูดนม, องค์ ๑
แห่งเต่าเหลือง, องค์ ๕ แห่งป่า, องค์ ๓ แห่งต้นไม้, องค์ ๕ แห่งเมฆ,
องค์ ๓ แห่งแก้วมณี, องค์ ๔ แห่งพรานเนื้อ องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด
องค์ ๒ แห่งช่างถาก, นี้วรรค ๖

อนึ่ง พึงถือองค์ ๑ แห่งหม้อล องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ, องค์ ๓ แห่งร่ม,
องค์ ๓ แห่งนา, องค์ ๒ แห่งยาดับพิษงู, องค์ ๓ แห่งโภชนะ, องค์ ๔ แห่ง
นายขมังธนู, องค์ ๔ แห่งพระราชา, องค์ ๒ แห่งนายประตู, องค์ ๑
แห่งหินบด (ตามบทมาติกามีต่อไปอีก ๔ วรรค แต่ท่านกล่าวไว้เพียง
วรรค ๗ และปัญหาที่ ๗ เท่านี้) นี้วรรค ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องบำเพ็ญตนให้
เทียบได้กับองค์ ๑ แห่งฬานั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร นิสัยฬาย่อมนอนได้ทุกแห่งไม่ว่า
ที่ไหนและนอนไม่มากนัก ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ต้องบำเพ็ญตนฉันนั้นเหมือนกัน คือ
ต้องไม่เลือกที่นอนที่ใดจะให้ความสุขในการบริหารร่างกายได้ ก็นอนที่นั้น และ
นอนไม่มากนัก ทั้งต้องประกอบความเพียรในที่ ๔ สถาน คือ เพียรระวังไม่ให้บาป
เกิดขึ้นในสันดาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน เพียร
การกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป ดั่งนัยแห่งพระพุทธภาษิตว่า ภิกษุมีความเพียร
ตั้งไว้ชอบมั่นดุจท่อนไม้ ไม่ประมาทเพียรพยายามอยู่ในปธานธรรม ๔ สถานนั้น

แม้พระสารีบุตรก็ได้กล่าวความข้อนี้ไว้ว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรจะต้องนั่งสมาธิ
พอสมควรแก่ความสบายและทำจิตให้แน่วแน่
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว
ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่าผู้ที่จะได้บรรลุมรรค
ผลต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ อันเทียบได้กับองค์คุณแห่งไก่ ๕ ประการนั้น
คืออย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาไก่
๑. เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ยังไม่บินลงหากิน
๒. พอสว่างก็บินลงหากิน

๓. จะกินอาหารก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน
๔. กลางวันมีตาใสสว่าง เห็นอะไรได้ถนัด แต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายตาบอด
๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน นี้เป็นองค์
คุณ ๕ ประการแห่งไก่
ขอถวายพระพร ผู้มุ่งมรรคผลจะต้องปฏิบัติตนให้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
อันเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้แลคือ
๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่และจัดตั้งเครื่องใช้สอยไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำ
ชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ปูชนียวัตถุและวุฒิบุคคล
๒. ครั้นสว่างแล้วจึ่งกระทำการหาเลี้ยงชีพตามหน้าที่แห่งเพศของตน

๓. พิจารณาก่อนแล้วจึงบริโภคอาหารดั่งพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึง
พิจารณาเห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตรของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา
มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้เพื่อทำประโยชน์สุขของตนและผู้อื่น
๔. ตาไม่บอดก็พึงทำเหมือนตาบอด คือ ไม่ยินดียินร้ายดุจภาษิตที่พระมหา
กัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดีก็พึงเป็นเหมือนตาบอด มีหูได้ยินก็พึงเป็นเหมือน
หูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึงเป็นเหมือนคนอ่อน
เพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้นก็พึงนอนนิ่งเสียเหมือนคนตายนอนเฉยอยู่ฉะนั้น
๕. จะทำจะพูดไม่พึงละสติสัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ไม่ทิ้งรังฉะนั้น
ขอถวายพระพร ผู้ที่ปฏิบัติได้เช่นนี้แล จึงจะได้บรรลุมรรคผล
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2019, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑ แห่ง
กระแตนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร กระแตเมื่อมีศัตรูมารบกวน ก็พอง
หางของตนเข้าต่อสู้ศัตรูฉันใด ผู้ปฏิบัติเมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็ต้องกระทำตนฉันนั้น
คือพึงเจริญสติปัฏฐานต่อสู้กิเลสทั้งหลาย ดั่งนัยภาษิตที่พระจุลบันถกกล่าวไว้ว่า
เมื่อกิเลสอันเป็นเหตุกำจัดเกิดขึ้น พึงฆ่ากิเลสเหล่านั้นเสียด้วยสติปัฏฐาน ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า เข้าใจละ

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒ แห่ง
พ่อเสือเหลืองนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ธรรมดาเสือเหลือง
๑. ย่อมซ่อนเร้นอยู่ในที่ลับ คอยตะครุบหมู่เนื้อกินเป็นอาหาร
๒. เนื้องที่ถูกมันตะครุบ ถ้าล้มลงข้างซ้ายมักก็ไม่กิน
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยองค์ ๒ เช่นเดียวกับพ่อเสือเหลืองนั้น

๑. ต้องอยู่ในที่อันสงัด เจริญภาวนาไปจนมีความชำนาญในอภิญญา ๖ ดังคำที่
กรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า "เสือเหลืองย่อมซ่อนเร้นคอยตะครุบหมู่เนื้อกิน
ฉันใด พุทธธรรมต้องประพฤติฉันนั้น คือเข้าไปสู่ที่สงัดบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสนา
ย่อมถือเอาผลสูงสุดได้
๒. ไม่พึงบริโภคโภชนาหารอันได้มาโดยทางที่ผิด ดุจเสือเหลืองไม่กินเนื้อ
ที่ล้มข้างซ้ายนั้น ดังคำที่พระสาลีบุตรเถรกล่าวไว้ว่า "ถ้าข้าพเจ้าพึงฉะนมธุปายาส
อันเกิดแต่การขอไม่ไซร้ อาชีวะของข้าพเจ้าก็จะถูกบัณฑิตติเตียนแม้ว่าไส้ของ
ข้าพเจ้าจะต้องทะลักออกจนเสียชีวิต ข้าพเจ้าก็ยอมตายเสียดีกว่า"
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า เธอฉลาดว่า

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ก็ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑ แห่ง
นางเสือเหลืองนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ปรกติของแม่เสือเหลืองย่อมตั้งครรภ์
แต่ตัวเดียว แล้วก็ไม่เข้าใกล้ตัวผู้อื่นต่อไป ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็พึงเห็นการเกิด การ
นอนอยู่ในครรภ์มารดา การตาย เป็นภัยน่าหวาดกลัว เพราะเกี่ยวด้วยทุกขเวทนา
อย่างสาหัส แล้วทำใจโดยอุบายอันชอบว่า เราจะพยายามไม่ให้ถือปฏิสนธิในภพ

ต่อไปอีก ฉันนั้น ดังวจนะประพันธ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธนียโคปาลกสูตรใน
สุตตนิบาตขุททกนิกายว่า เราตัดสังโยชน์ได้ดังเชือก ทำลายตัณหาได้ดังเถาหัวด้วน
แล้ว จึงไม่ปฏิสนธิในครรภ์อีก ประการหนึ่งโคผู้สะบัดเชือกขากแล้วหรือช้าง
ทำลายปลอกหลุดแล้ว ไม่กลับมายังที่ผูกอีกฉะนั้น ดูก่อนเทพ ถ้าท่านปรารถนา
ก็จงตกลงใจเถิด
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติพึงถือองค์ ๕
แห่งเต่านั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาเต่า
๑. ย่อมอาศัยและเที่ยวไปในน้ำ
๒. จมอยู่ในน้ำ โผล่หัวขึ้นมาพบเห็นอะไรเข้า ก็กลับจมลงไปเสีย เพื่อมิให้
ใครเห็น
๓. ครั้นขึ้นมาจากน้ำแล้ว ไม่เห็นอะไร ก็ตากกายอยู่ที่ชายหาด
๔. ขุดดินลงไปมุดตัวซ่อนอยู่ในที่สงัด

๕. เมื่อคลานไป ถ้าเห็นมนุษย์หรือสัตว์ หรือได้ยินเสียงก็หดอวัยวะทั้ง ๕ คือ
เท้า ๔ ศีรษะ ๑ เข้าในกระดองของตนคอยระวังตัวหยุดนิ่งอยู่
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติพึงกอปรด้วยองคคุณเช่นเดียวกับเต่านี้แล คือ
๑. พึงแผ่เมตตาจิตอันเยือกเย็น ตั้งใจให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์โลกทุกถ้วนหน้า
มิได้พยาบาทอาฆาตจองเวร ดำรงมั่นอยู่ในพรหมวิหาร
๒. เมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็พึงข่มใจให้จมลงในอารมณ์ดั่งกระแสน้ำ ยึดอารมณ์
ไว้ให้มั่น ไม่ให้สรรพกิเลสเข้ามาท่วมทับได้

๓. นำจิตออกจากกิริยายืนเดินนั่งนอน พึงฝังไว้ในสัมมัปปธาน ๔
๔. ไม่มุ่งหวังลาภสังกการะและคำสรรเสริญ แล้วพึงอยู่ในที่อันสงัด ดัง
ภาษิตที่พระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวไว้ว่า ภิกษุพึงเสพเสนาสนะอันสงัด
ปราศจากเสียงกึกก้องอันเป็นที่อยู่อาศัยแห่งเนื้อร้าย เพราะเหตุแห่งการหลีกเร้น

๕. เมื่อทวารหกลงไปในกามารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ก็ปิด
บานประตู คือสำรวมอินทรีย์เสียแล้วสะกดใจให้มีสังวร เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
นั่งรักษาสมณธรรมดุจพุทธภาษิในสคาถวรรคสังยุตตนิกายว่า ภิกษุพึงประคองใจ
มิให้ตกอยู่ในวิตก ไม่ติดพันด้วยตัณหาและทิฐิไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับสนิทไม่กลัว
ข้อนขอดใครๆ ดุจเต่าหดศีรษะและเท้าเข้าในกระดองของตน ฉะนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า น่าฟัง

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑
แห่งปี่นั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ปี่ย่อมคล้อยเสียงไปตามลมคนเป่า
ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ต้องเป็นฉันนั้น คือต้องปฏิบัติตามแนวคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ดุจภาษิที่พระราหุลกล่าวไว้ว่า ท่านทั้งหลาย จงอนุวัติตามคำสั่งสอนของพระ
ชินสีห์อันมีองค์ ๙ ตั้งอยู่ในกรรมอันหาโทษมิได้ทุกเมื่อแล้วพยายามบำเพ็ญ
ความดีให้ยิ่งๆ ขึ้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า เห็นด้วยละ

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑
แห่งรางปืน นั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อันรางปืนเมื่อนายช่างถากดีแล้ว
ย่อมน้อมไปตามลำปืนจนถึงปลายปืน คล้อยตามไปแนบเนียนดี ฉันใด ผู้ปฏิบัติ
ก็ต้องอนุโลมไปตามผู้ใหญ่ไม่ขัดขวางท่าน ฉันนั้น แม้พระพุทธภาษิตใน
วิธูรชาดกก็มีอยู่ว่า นักปราชญ์ย่อมอนุโลมตามกระแสพระราชโองการ ไม่ขัดขืน

คล้อยไปตามดุจรางปืนยืนไปตามตัวปืนหรือเหมือนปี่คล้องตามเสียงไปตามผู้เป่า
ฉะนั้น นักปราชญ์จึงอยู่ในราชสำนักได้
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งกานั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร กาเป็นสัตว์รังเกียจต่ออันตราย
คอยระมัดระวังตัวเทียวไป ฉันใด ผู้ปฏิบัติชอบต้องเป็นฉันนั้น คือพึงรังเกียจ
ต่อความชั่ว มีสติมั่นคงสำรวมอินทรีย์อยู่ทุกอิริยาบถ

อนึ่ง กาเมื่อได้อาหารอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ก็ร้องเรียกพวกญาติมากินด้วย
แม้ผู้ปฏิบัติต้องทำตนเป็นฉันนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งลิงนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร นิสัยลิง
๑. เมื่ออยู่ย่อมในที่อันควร เช่นร่มไม้ใหญ่ๆ ซึ่งมีกิ่งก้านปกคลุมป้องกันภัย
ทั้งหลายได้ ฉันใด ผู้ประกอบความเพียรก็ต้องเป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือต้อง
อาศัยกัลยาณมิตรผู้มีความละอายมีศีลเป็นที่รัก มีธรรมอันงามเป็นต้นฉะนั้น

อนึ่ง ลิง เมื่ออาศัยอยู่ที่ต้นไม้ใด ถ้าหลับก็หลับอยู่ที่ต้นไม้นั้นตลอดคืนยังรุ่ง
ฉันใด ผู้ประกอบความเพียรก็ต้องมุ่งอาศัยอยู่ในป่า ยืน เดิน นั่ง นอนอยู่ในรามป่า
นั้นแล เจริญซึ่งสติปัฏฐานอยู่เนืองๆ ฉะนั้น แม้พระสารีบุตรเถรเจ้าก็ได้กล่าวไว้ว่า
ภิกษุจงกรม ยืน เดิน นั่ง นอนในราวป่า ย่อมสง่างาม เพราะว่าการเช่นนั้น
พุทธาทิบัณฑิตย่อมสรรเสริญ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว
จบวรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติองค์หนึ่งเถาน้ำเต้า
นั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เถาน้ำเต้าย่อมเลื้อยเกาะไปบนหญ้า
หรือบนต้นไม้ แล้วย่อมงอกงามที่นั้นๆ ฉันใดผู้ประกอบความเพียร ใคร่จะบำเพ็ญ
ให้งอกงามขึ้น ก็ต้องเป็นฉันนั้น คือตั้งใจยึดพระอรหัตต์เป็นอารมณ์ แม้พระ
สารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อใคร่ต่อประอรหัตต์ผลก็พึงหน่วงอารมณ์เจริญ
อเสขผลเช่นเดียวกับเถาน้ำเต้ายึดเหนี่ยวไปบนหญ้าเป็นต้นแล้วเลื้อยเรื่อยไปฉะนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า ชอบแล้ว

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๓
แห่งบัว นั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาของบัว
๑. ย่อมเกิดและงอกงามในน้ำแต่น้ำก็หาได้ติดไปในใบบัวไม่
๒. เมื่อโผล่ขึ้นจากน้ำก็ลอยอยู่
๓. ต้องลมแม้เล้กน้อยก็สะบัดใบแกว่งไปมา
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติก็ต้องทำตนให้ประกอบด้วยคุณสมบัติอันเทียบ
ได้กับองคคุณทั้ง ๓ นี้ คือ

๑. เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในตระกูล และลาภยศสุขสรรเสริญเป็นต้น
๒. ครอบงำเสียซึ่งโลกธรรมทั้งปวง แล้วลอยอยู่ ณ โลกุตรธรรม
๓. กระทำความสำรวมในกิเลสทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย เห็นกิเลสแม้
เล็กน้อยเป็นเหตุหวั่นหวาด ดุจพุทธภาษิตว่า ภิกษุมีปรกติเห็นภัยในโทษ
ทั้งหลาย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งพืชนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาของพืชพันธุ์ข้าว
๑. แม้มีประมาณน้อย แต่เมื่อได้หว่านไว้ในเนื้อนาอันดี และฝนเชย
อยู่เนือง ๆ พืชนั้นก็ย่อมงอกงามและให้ผลมากมาย
๒. เมื่อหว่านลงในนาที่ได้แผ้วถางดีแล้ว ย่อมงอกงามโดยเร็ว
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องทรงคุณสมบัติอันเทียบได้กับองคคุณทั้ง ๒
ของพืชพันธุ์นั้น คือ

๑. ประกอบด้วยศีลรักษากายวาจาให้เรียบร้อย เมื่อรักษาดีแล้วย่อมเป็น
ปฏิปทาที่สามารถให้ผลมากมาย นับแต่มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และเป็น
ปัจจัยให้ได้นิพพานสมบัติ
๒. จงปล่อยใจไปในเนื้อที่ที่ดี กล่าวคือสติปัฏฐาน ๔ พิจารณาเห็นตาม
ความเป็นจริงจนได้ความสงบใจและเกิดปัญญา ซึ่งเป็นเหตุนำมาซึ่งผลดีงาม
โดยฉับพลัน ดังวจนะประพันธ์ที่พระอนุรุทเถรเจ้ากล่าวไว้ว่า พืชที่หว่านลง
ในเนื้อนาอันดีย่อมงอกงาม และผลแห่งพืชนั้นย่อมยังชาวนาให้ยินดีฉันใด
จิตเมื่อผู้ประกอบความเพียรชำระดีแล้ว ก็ย่อมเจริญในนาคือสติปัฏฐาน ๔ ฉันนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า เข้าใจละ

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑
แห่งไม้ขานางนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อันไม้ขานางย่อมงอกคุดอยู่ใต้ดิน
เมื่อแก่ตัวเต็มที่แล้ว จึงงอกพ้นดินขึ้นมาสูงตั้ง ๑๐๐ ศอกบ้าง ยิ่งกว่านั้นบ้าง
ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ต้องยังสามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ และสมณธรรม
ทั้งสิ้น ให้เต็มในสูญญาคาร ฉันนั้น

พระราหุลเถรเจ้าได้กล่าวความข้อนี้ไว้ว่า ต้นขานางย่อมงอกคุดอยู่ใต้ดิน
ครั้นรากแก่เต็มที่แล้ว ลำต้นก็ชำแรกดินงอกขึ้นมาในวันเดียวตั้ง ๑๐๐ ศอก
ฉันใด ผู้ประกอบความเพียรก็ต้องเป็นฉันนั้นเหมือนกันคือ เจริญรุ่งเรืองใน
สูญญาคารอันเป็นภายในเช่นกัน
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๓
แห่งเรือนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ธรรมดาเรือ
๑. ย่อมพาคนให้ข้ามไปถึงฝั่งได้
๒. ย่อมทนทานต่อกำลงัคลื่นลงที่มากระทบ
๓. ย่อมแล่นไปได้ในมหาสมุทรอังลึกซื้อไม่มีที่สิ้นสุด
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องกระทำตนให้เทียบได้กับองค์ทั้ง ๓ ของเรือ
นั้นคือ

๑. เรือขนสัตว์ในมนุษยโลก และเทวโลก ให้ข้ามถึงฝั่งด้วยความพร้อมเพรียง
แห่งคุณธรรมคืออาจารศีลคุณ และวัตตปฏิบัติ
๒. อดกลั้นต่อกำลังแห่งกิเลส คือ โลกธรรม ๘ ประการ ดุจเรือทนทานต่อ
ระลอกคลื่นฉะนั้น
๓. รอบรู้ซึ่งจตุราริยสัจอันมีปริวัต ๓ อาการ ๑๒ และขวนขวายซึ่งบารมี
ธรรมอันจะข่มขี่เสียซึ่งสัญญา ดุจนาวาแล่นไปในมหาสมุทรไม่มีภัยฉะนั้น
ดังพุทธประพันธ์ภาษิตว่า ภิกษุทั้งหลายเมื่อท่านจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้หนทางดับทุกข์
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผุ้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งเรือที่ติดโสโครกนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ธรรมดาเรือ
๑. เมื่อเกยโสโครกในมหาสมุทรย่อมติดแน่น
๒. ย่อมจมดิ่งอยู่ในน้ำลึก มิได้เลื่อนไปที่อื่น ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติ
ต้องเป็นเช่นเดียวกับเรือ คือ

๑. ต้องทอดจิตให้ติดอยู่ในการกำจัดกิเลส
๒. ต้องทำใจไม่ให้เลื่อนลอยไปตามอนิฏฐารมณ์ ดังภาษิตที่พระสารีบุตร
เถรเจ้าได้กล่าวไว้ว่าเรือเกยโสโครกย่อมจมดิ่งอยู่ในมหาสมุทร ลอยขึ้นไม่ได้
ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงเป็นฉันนั้น คืออย่าติดอยู่ในลาภสักการะจงดิ่งอยู่ใน
ธรรมเถิด
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า เข้าใจละ

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑
แห่งเสากระโดงนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เสากระโดงย่อมทรงไว้ซึ่งเชือก
สายระยาง รอก ใบ ฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ต้องทรงไว้ซึ่งสติสัมปชัญญะ ทุกอิริยาบถ
ฉันนั้น เรื่องนี้แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงมีสติ
สัมปชัญยะอยู่ทุกอิริยาบถ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๓
แห่งต้นหนนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ต้นหนมีคติดังนี้คือ
๑. ขณะเมื่อเรือแล่นต้องไม่ประมาททั้งกลางวันกลางคืน
๒. ต้องรู้หนทางที่ปลอดภัย และทางที่ฝ่าอันตราย

๓. ระวังเข็มทิศมิให้ผู้อื่นแตะต้องแม้ผู้ปฏิบัติก็ต้องทำต้นเช่นเดียวกับ
ต้นหนนี้ คือ ๑. พึงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เนืองนิตย์กำหนดจิตโดยโยนิโสมนสิการ
ดังพุทธภาษิตบรรหารว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท จงรักษา
จิตไว้เนืองๆ จงพยายามยกตนขึ้นจางวัฏสงสาร ดุจช้างยกตนขึ้นจากเปือกตม
ฉะนั้น
๒. พึงรู้แจ้งซึ่งธรรมเป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ
๓. พึงสำรวมจิตมิให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ ดุจพุทธภาษิตในสังยุตนิกายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ตรึกถึงอกุศลวิตกทั้ง ๓ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑
แห่งคนงานนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อันคนงานที่ดีย่อมคิดอยู่ว่า คน
เราทำการงานก็ด้วยหวังค่าจ้างและหวังให้ได้มาก เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็ไม่ควร
ประมาทและไม่ควรเกียจคร้านฉันใด แม้ผู้ปฏิบัติก็ต้องคิดว่า เมื่อเราพิจารณา
ร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้จักเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติอยู่เนือง
นิตย์ มีจิตมั่นคง แล้วย่อมพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย ดังภาษิตที่พระสารีบุตร
เถรเจ้ากล่าวไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงพิจารณากำหนดรู้ร่างกายนี้บ่อยๆ เมื่อรู้จริง
แล้ว จักทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๕
แห่งพระมหาสมุทรนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดามหาสมุทร
๑. ย่อมไม่ปะปนด้วยซากศพ
๒. ย่อมทรงไว้ซึ่งขุมแก้วทั้งหลาย
๓. ย่อมอยู่ร่วมด้วยภูตใหญ่ๆ
๔. แม่น้ำจะไหลมาสักเท่าไร ก็ย่อมไม่ล้นไปได้

๕. ย่อมไม่เต็มด้วยน้ำซึ่งไหลมาแต่ที่ต่างๆ
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องบำเพ็ญตนเช่นเดียวกับมหาสมุทรนี้แล คือ
๑. ไม่ปะปนด้วยความชั่วทั้งหลาย
๒. ได้แก้ววิเศษคือมรรคผล นิพพาน แล้วปกปิดไว้
๓. ต้องอาศัยพรหมจารีบุคคล ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ
๔. ไม่ก้าวล่วงสิกขาบทเพราะเหตุแห่งอิฏฐารมณ์ ดังพุทธภาษิตว่า
พระมหาสมุทรย่อมเปี่ยมด้วยน้ำ แม้สาวกของเราก็มิได้ก้าวล่วงสิกขาบท
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเช่นเดียวกัน

๕. แม้ฟังอยู่ซึ่งอุเทศเป็นต้น ก็มิรู้อิ่มดุจพุทธภาษิตในมหาสุตโสมชาดกว่า
บัณฑิตย่อมฟังคำที่เป็นสุภาษิตไม่รู้อิ่ม เพราะคำเป็นสุภาษิตเปรียบเหมือน
ไฟไหม้หญ้าหรือไม้ฉะนั้น
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ดีละ
จบวรรคที่ ๒
จักกวัตติวรรคที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2019, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติองค์ ๕ แห่ง
แผ่นดินเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาแผ่นดิน
๑. ใครจะเอาของหอมก็ตาม เหม็นก็ตาม ทิ้งลงไปแผ่นดินคงเฉยเป็นปรกติ
๒. ไม่มีเครื่องตบแต่ง แต่ก็อบอวลไปด้วยกลิ่นของตนเอง
๓. เป็นของไม่มีช่องไม่มีโพลง หนาทึบกว้างขวาง
๔. แม้ทานไว้ซึ่งต้นไม้ภูเขา ก็ไม่มีความย่อท้อ
๕. ไม่ยินดียินร้ายต่ออะไรทั้งสิ้น

ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องบำเพ็ญตนเช่นเดียวกับแผ่นดินนี้และ กล่าวคือ
๑. ต้องทำจิตใจให้เพิกเฉยในอิฏฐารมณ์และในอนิฏฐารมณ์
๒. ไม่ต้องตบแต่งกาย แต่ก็หอมหวนไปด้วยกลิ่นคือศีลของตน
๓. ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องไม่มีโพรง
๔. ต้องไม่ย่อท้อในการบำเพ็ญความดี

๕. ต้องไม่ยินดียินร้าย มีจิตเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ทุกอิริยาบถ ข้อนี้แม้
นางจุลสุภัททาอุบาสิกาก็ได้กล่าวไว้ใจความว่า สมณะของข้าเป็นผู้มีจิต
เสมอด้วยแผ่นดิน ไม่มีความยินดียินร้าย
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏฺบัติถือองค์ ๕
แห่งน้ำนั้นเป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพระ ปรกติของน้ำ
๑. เป็นของบริสุทธิ์ใส ไม่ขุ่นมัว
๒. เป็นของเย็น
๓. ทำของที่ไม่ สะอาดให้สะอาด
๔. เป็นของอันคนหมู่มากต้องการ

๕. ย่อมไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่ใช่ประโยชน์
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องการทำตนให้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
เช่นเดียวกับน้ำ คือ
๑. เป็นผู้มีอาจาระบริสุทธิ์
๒. พึงพร้อมด้วยความอดทนและความเอ็นดู มีปรกติแสวงหาประโยชน์
แก่หมู่สัตว์
๓. พึงเป็นผู้ไม่มีอธิกรณ์

๔. พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ยินดีตามมีตามได้เป็นผู้อันหมู่ชน
ปรารถนาเนือง ๆ
๕. ต้องไม่กระทำซึ่งบาปด้วยกายวาจาใจ ดังพุทธภาษิตในกัณหาชาดกว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าสรรพสัตว์ ถ้าพระองค์ประทานพร
แก่ข้าพระบาทแล้วไซร้ ก็ขออย่าให้ใจหรือร่างกายของใคร ๆ ได้รับความ
เดือดร้อนเพราะข้าพระบาทเป็นเหตุ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร