วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 03:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร อันลักษณะแห่งคำว่าโมฆบุรุษนั้น หยาบคายจริง
แต่การที่พระพุทธองค์ทรงนำมาตรัสเรียกพระสุทินผู้กระทำผิดนั้น หาจัดเป็น
คำหยาบไม่ เพราะพระองค์ตรัสด้วยมีพระฤทัยกอบด้วยเมตตากรุณา ประหนึ่ง
คำที่มารดาบิดาด่าว่าบุตรผู้กระทำผิดด้วยหวังจะสั่งสอนฉะนั้น

ม. ธรรมดาผู้ที่ด่าเขา แม้จะว่าไปตามความจริง ก็จัดว่าผิดนี่เธอ
น. ตามที่พระองค์ตรัสนั้น ผู้ด่ามีความเจตนาร้ายต่อผู้กระทำผิด ซึ่งผิดกับ
พระหฤทัยของพระพุทธเจ้า อันประกอบไปด้วยพรหมวิหารธรรม
ขอถวายพระพร อาตมภาพขอทูลถามพระองค์ว่า ผู้กระทำผิดควรจะได้รับ
สักการะหรือได้รับโทษ
ม. ก็ต้องรับโทษตามกระทงแห่งความผิดสิเธอ

น. ถ้าเป็นเช่นนั้น เพียงคำว่าโมฆบุรุษ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสใช้เป็น
คำเรียกพระสุทินผู้กระทำผิดนั้น จะจัดว่าพระองค์ตรัสคำหยาบจะได้หรือ
ขอถวายพระพร พระพุทธองค์ย่อมมีพระมรรยาทงามอ่อนโยน พระวาจา
ไพเราะจับใจ พระหฤทัยเฉียบแหลมฉลาดในวิธีที่จะทรงสั่งสอน เมื่อทรง

เห็นว่า ประชุมชนจะได้บรรลุมรรคผล หรือที่สุดเพียงจะให้ละพยศอันร้าย
ได้ด้วยวิธีใด ก็ทรงใช้วิธีนั้น เพราะทรงมุ่งเฉพาะแต่ผลอันดีงาม เป็น
ประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์เท่านั้น
จบตถาคตผรุสวาจนนัตถีติปัญหา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ต้นไม้ไม่มีเจตนาเจรจาไม่ได้ ฉะนี้ แต่เหตุไรจึงตรัสว่า ต้นสะคร้อพูดกับ
พราหมณ์ (เริ่งเดิม (ผันทนชาดก เตรสนิบาต) ว่า มีหมีตัว ๑ นอนหลับ
อยู่ที่ใต้ต้นสะคร้อ เผอิญลมพัดกิ่งสะคร้อแห้งหักลงมาทับคอหมี หมีเข้าใจว่า
เทวดาผู้สิงที่ต้นสะคร้อข่มเหง จึงผูกพยาบาท วันหนึ่งหมีได้นำภารทวาช
พราหมณ์ผู้เป็นช่างไม้ไปที่ต้นสะคร้อ เพื่อจะให้ตัดทำลายวิมานเทวดาเสีย
ให้สมแค้น ) ฉะนี้อีกเล่า ฟังดูไม่สมกันเลย

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ต้นนั้น พระองค์
ตรัสตามความเป็นจริง เพราะว่าต้นไม้ไม่มีจิตใจจึงพูดไม่ได้ ส่วนคำว่าต้น
สะคร้อในคำหลังนั้น พระองค์ทรงหมายถึงเทวดาผู้ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น และ
ที่ตรัสเป็นคำสามัญ ดังนั้น ก็เพราะตรัสตามโลกบัญญัติเหมือนคำที่เรียกกันว่า
เกวียนข้าเปลือก ซึ่งที่จริงเป็นเกวียนบรรทุกข้าเปลือก หาใช่เกวียนทำด้วยข้าว
เปลือกไม่
ม. เข้าใจละ
จบรุกขเจตนาเจตนปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าเสวย
พระกระยาหาร ของนายจุนท์แล้ว ก็ทรงพระประชวรเสด็จเข้าสู่นิพพาน
ฉะนี้มิใช่หรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้ากระนั้น จะมิเป็นอันว่า การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนท์
กระทำให้พระพุทธเจ้าต้องเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานหรือ
น. มิใช่อย่างนั้น ขอถวายพระพร การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนท์นั้น
หาได้เป็นการทอนพระชนมายุของพระพุทธองค์ไม่เลย เพราะว่าก่อนแต่วันนั้น
พระองค์ก็แน่พระหฤทัยอยู่แล้วว่าจักต้องนิพพานในวันนั้นแน่นอน

ม. ก็แลเหตุอะไรเล่า พระพุทธองค์ จึงตรัสยกย่องทานนั้นว่ามีผลอานิสงส์
ล้ำเลิศ ยิ่งถึงกะทรงเทียบเท่าดับผลทานของนางสุชาดาผู้ถวายเมื่อก่อนหน้าตรัสรู้
น. ขอถวายพระพร เหตุที่ทำให้การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนท์มี
ผลานิสงส์ยิ่งใหญ่นั้น ก็เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารบิณฑบาตนั้นแล้ว
ตอนปัจฉิมยามก็เสด็จเข้าสู่อนุปุพพวิหารสมาบัติ (อนุปุพพวิหารสมาบัติคือ
สมาปัตติธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับกันมี ๙ คือรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญา

เวทยิตนิโรธ ๑) ๙ ประการโดยอนุโลมและปฏิโลม ครั้นแล้วก็เสด็จปรินิพพาน
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบเทฺวปิณฑปาตมหัปผลภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ต่อหน้า
พระอานนท์ว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ขวนขวายในการบูชาสรีระของตถาคตเลย
ฉะนี้มิใช่หรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง
ม. ก็เหตุไร พระพุทธองค์จึงตรัสไว้อีกว่า จงบูชาธาตุของบุคคลผู้ควรบูชา
(เรื่องเดิมที่จะให้เกิดปัญหานี้มีอยู่ดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประชวรใกล้จะ
นิพพาน พระอานนท์พุทธอุปฐากทูลถามถึงการที่พุทธสาวกจะพึงปฏิบัติใน
พระพุทธสรีระอย่างไร พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เหล่าภิกษุจงมุ่งหมายดับทุกข์

ดับกิเลสอันเป็นประโยชน์ของตนเถิด อย่าได้ขวนขวายในการบูชาสรีระ
ของตถาคตเลย เพราะว่ากิจนั้นๆ เป็นธุระของกษัตริย์พราหมณ์คฤหบดีผู้เป็น
บัณฑิตแต่พระอานนท์เป็นผู้ไปในอำนาจแห่งเหตุ จึงทูลย้อนถามว่า ก็เมื่อ
บัณฑิตยชนนั้นๆ จะบูชา จะพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระอย่างไร พระพุทธองค์

จึงตรัสให้ปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์ และตรัสว่า
แม้อัฐิธาตุก็พึงทำสถูปบรรจุไว้ ณ ทางสี่แพร่งเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้เป็น
ที่สักการบูชาของหมู่ชนอันมาแต่ทิศทั้ง ๔ ) ฉะนี้อีกเล่า

น. ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ต้นพระองค์ตรัสด้วยมุ่งพระหฤทัย
จะเตือนพระภิกษุ มิให้ใส่ใจในการที่จะต้องขวนขวายในการบูชา แล้วจะได้
มีโอกาสพิจารณาสังขารทั้งหลายให้รู้จริงเห็นจริงตามคติธรรม ส่วน
พระพุทธพจน์หลังนี้ พระองค์ตรัสให้เป็นกิจสัมมาปฏิปทาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. เธอจะหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนการเรียนศิลปอันเกี่ยวด้วยช้างม้า
รถธนูเป็นกิจของพวกกษัตริย์ การเรียนไตรเพทและลักษณศาสตร์เป็นกิจ
ของพวกพราหมณ์ การเรียนกสิกรรมเป็นกิจของพวกเวศย์ การเรียนวิชาพล
กว่านี้เป็นกิจของพวกศูทรนี้ฉันใด การบูชาพระสรีระผู้ควรบูชาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มิใช่เป็นกิจที่พระภิกษุผู้มีหน้าที่ทำลายบาปอกุศลทั้งหลาย
จะพึงกระทำ เป็นกิจโดยตรงของเทวดาและมนุษย์ผู้หวังบุญกุศล จะต้อง
กระทำการขวนขวายไปตามรูปและภาวะของตนๆ
ม. เข้าใจละ
จบพุทธปูชานุญญาตปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ที่เธอว่าพระพุทธองค์
เสด็จดำเนินไปทางไหน แผ่นดินซึ่งไม่มีเจตนาแห่งใดลุ่มก็ฟูขึ้น แห่งใด
ดอนก็ยุบลง เรียบราบเสมอกัน ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ก็เป็นเหตุไฉน พระบาทของพระพุทธเจ้าจึงถูกสะเก็ดหินกระทบ

น. เป็นเพราะสะเก็ดหินนั้นมิได้ตกลงตามธรรมดาของตน ตกลงมาด้วย
ความเพียรพยายามของพระเทวทัต ขอถวายพระพร พระเทวทัตผูกอาฆาต
ในพระพุทธเจ้ามานานจึงพยายามกลิ้งหินก้อนโตขนาดเท่าเรือนยอด หวังจะ
ให้ทับพระพุทธเจ้าแต่มีภูเขา ๒ ภูเขาผุดขึ้นมารับไว้ ด้วยกำลังแห่งการ
กระทบกันนั้น จึงมีสะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาทพระพุทธเจ้าเข้า

ม. ก็มีภูเขาผุดขึ้นมารับตั้ง ๒ ภูเขาแล้วทำไมจึงกระเด็นลงไปถูกได้อีกเล่า
น. ขอถวายพระพร แม้มีของรองรับแล้ว แต่ก็ยังรั่วไหลไปได้เหมือน
เทน้ำลงในฝ่ามือน้ำก็ย่อมรั่วไหลออกตามนิ้วมือได้ฉะนั้น
ม. เอาละข้อนั้นข้าพเจ้าเข้าใจ แต่มาสงสัยว่า ทำไมสะเก็ดหินจึงไม่
กระทำความเคารพยำเกรงเหมือนอย่างแผ่นดินใหญ่บ้างเล่า

น. ขอถวายพระพร เหตุปัจจัยที่จะไม่ให้กระทำความเคารพยำเกรง
มีอยู่ดังนี้ คืออำนาจแห่งราคะ, อำนาจแห่งโทสะ, อำนาจแห่งโมหะ, อำนาจ
แห่งโลภะ, อำนาจแห่งความพยาบาท, อำนาจแห่งมานะ, อำนาจแห่งอิติมานะ,
ความไม่นิยมนับถือ, ความเป็นคนเลว, ความไม่มีอิสระแก่ตน, ความตระหนี่ตน,
ความสาละวนแต่งาน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขอถวายพระพร ก็และสะเก้ดหินชิ้นนั้น กลิ้งมาด้วยอำนาจความพยาบาท
ของพระเทวทัตแตกออกเพราะกระทบกัน เหตุกำลังแรงนั้นแลสะเก็ดหิน
จึงกระเด็นไปถูกพระบาทพระพุทธเจ้าเข้า เหมือนละอองอันกำลังลมพัด
หอบไป ย่อมกระจายไปทั่วทิศฉะนั้น
ม. ฟังได้
จบภควโตปาทปัปปฏิกติตปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การไม่บริโภคโภชนะที่ได้มาจากการกล่าวขับคาถา (พูดเทียมขอ) เป็น
จารีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล

ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไรเมื่อพระพุทธองค์ตรัสอนุปุพพิกถา (อนุปุพพิกถา
คือ เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของผู้ฟังให้หมดจดเป็น
ชั้นๆ มี ๕ อย่างดังนี้ คือ:-
(๑) ทานกถา กล่าวถึงลักษณะและประโยชน์ของการให้
(๒) สีลกถา กล่าวถึงความประพฤติเรียบร้อย
(๓) สัคคกถา กล่าวถึงความดีความงามอันผู้ให้ทานรักษาศีลขึ้นนั้นจะพึงได้รับ

(๔) กามาทีนวกถา กล่าวถึงผลความดีความงามอันเกิดแต่ทานศีลนั้นว่า
แม้จะมีผลเป็นสุข แต่ก็ยังเจือไปด้วยความทุกข์
(๕) เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงคุณของการทำจิตมิให้หมกมุ่นอยู่ใน
ความสุขอันเจือทุกข์นั้น

อนุปุพพิกถานี้ ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงคราวเมื่อผู้ฟังมีอุปนิสัย
สามารถจะได้บรรลุมรรคผล เพราะผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัวบริจาคทรัพย์ของตน
เกื้อกูลแก่ผู้อื่น มีความประพฤติเรียบร้อย, ตั้งตนไว้ในสุขสมบัติได้แล้ว
แต่ไม่หมกมุ่นอยู่ในความสุขนั้น, พิจารณาเห็นโทษเกิดความเบื่อหน่าย
หวังความสุขอันสงบยิ่งขึ้น, ย่อมเป็นผู้สมควรรับเทศนาอย่างสูงขึ้นไปอีก

ประหนึ่งผ้าที่ฟอกสะอาดหมดจดแล้ว ย่อมรับน้ำย้อมต่างสีได้ตามความ
ประสงค์ฉะนั้น) จึงทรงยกทานกถาตรัสพรรณนาถึงทานการให้และผล
ของการให้ เป็นกถาหนึ่งและตรัสไว้ในเบื้องต้นด้วยเล่า จนเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดีถวายทาน ตามพระดำรัสที่ตรัสสอนนั้น

น. ขอถวายพระพร เหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาทรงยกทาน
การให้เป็นข้อหนึ่ง และตรัสไว้เป็นข้อต้นด้วยนั้นก็เพราะว่าการบริจาค
ทานย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอำนวยประโยชน์สุขได้ประการหนึ่ง และ
ทั้งเป็นดุจบันไดขั้นต้นที่ชักจูงใจทายกให้ก้าวหน้าต่อไปยังคุณเบื้องบน
เหตุนี้พระองค์จึงตรัสสอนและทรงชี้แจงก่อนธรรมข้ออื่น ขอถวายพระพร

เนื่องด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงทานและผลของทานให้ทายกผู้บริจาคทาน
ฟังเช่นนี้ พระองค์จึงทรงบัญญัติกฏเกณฑ์ห้ามมิให้ภิกษุแสวงหาในทาง
ที่ผิดจากพุทธจารีต เช่นทรงห้ามไม่ให้ออกปากขอของต่อคนที่ไม่ควรขอ
หรือในเวลาที่ไม่ควรขอเป็นต้นเพื่อจะได้เป็นระเบียบให้พระภิกษุประพฤติ
ตนสมควรแก่ทักขิณาทานนั้นๆ และทั้งจะได้เป็นปัจจัยส่งเสริมทานสมบัติ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ให้เกิดผลไพบูลย์ยิ่งขึ้น ขอถวายพระพร ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระองค์ทรงประพฤติ
ตามจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งทลาย ดังพระพุทธพจน์ในเบื้องต้นนั้นแล
ม. เธอฉลาดว่า
จบคาถาภิคีตโภชนทานกถายกถนปัญหา

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงพยายาม
สร้างสมบารมีมาสิ้นกาลนาน ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะทรงนำหมู่ชนให้
พ้นจากสังสารวัฏมิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล

ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เป็นเพราะอะไร เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธองค์จึง
ทรงท้อพระหฤทัยในการที่จะทรงสั่งสอน มีพระหฤทัยน้อมไปในความ
ขวนขวายน้อยเหมือนนายขมังธนูบางคนเบื้องต้นก็พยายามเรียนการยิง
ธนูเพื่อไว้ต่อสู้ข้าศึก แต่ครั้นเกิดศึกขึ้นจริง ก็ท้อใจคิดไม่สู้ฉะนั้น

น. เป็นเพราะพระพุทธองค์ทรงดำริถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
นั้นว่า เป็นของลึกละเอียดยากที่ผู้มีกิเลสหนาจะรู้ตามเห็นตามได้
ขอถวายพระพร พระพุทธองค์ทรงรำพึงอยู่ฉะนี้ พระหฤทัยจึงน้อม
ไปในความขวนขวายน้อย
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง

น. ธรรมดาหมอ เมื่อตรวจดูอาการคนที่ป่วยหนักแล้วย่อมรำพึงอยู่ว่า
อาการป่วยมากถึงเช่นนี้แล้ว ย่อมยากแก่การรักษาฉะนี้มิใช่หรือ
ม. ก็ต้องเป็นอย่างนั้นสิเธอ
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันพระพุทธองค์ทรงพิจารณาถึง
ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นของลึกสุขุม ยากที่ผู้หมักหมม
ด้วยกิเลสจะรู้ตามเห็นตามได้ จึงท้อพระหฤทัยในการที่จะตรัสสั่งสอน

ม. เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็เหตุไรเล่าพระพุทธองค์จึงกลับหวนพระ
หฤทัยมาทรงแสดงธรรมโปรดเล่า
น. ขอถวายพระพร เหตุว่าท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำรินั้น
แล้ว ได้ลงมากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมโดยอ้างว่าผู้มีกิเลส
เบาบางอาจรู้ตามเห็นตามธรรมนั้นได้ก็มีอยู่พระพุทธองค์ทรงพิจารณา
สอบดูด้วยพระญาณก็ทรงเห็นด้วย จึงทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม

ขอถวายพระพร เรื่องนี้เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ
ต่อเมื่อมีพรหมมาอาราธนาพระพุทธเจ้านั้นๆ จึงจะแสดงธรรม และเหตุ
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเคารพนับถือ
เชื่อฟังคำสั่งสอนของพรหมทั่วกันเพราะฉะนั้นจึงต้องให้พรหมผู้เป็น
ประธานมาอาราธนาเสียก่อน (เรื่องท้าวสหัมบดีพรหมลงมาอาราธนานี้
ทุกวันนี้ยังมีการอาราธนาธรรมปรากฏเป็นหลักธรรมเนียมอยู่ คือ
ก่อนแต่พระจะแสดงธรรมย่อมมีผู้กล่าวข้อความโดยอ้างถึงความข้อนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงสันนิษฐาน
ความข้อนี้ไว้ในหนังสือพุทธประวัติว่าดังนี้ "เรื่องนี้กล่าวขยายพระพุทธ
ดำริปรารภการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นบุคคลาธิษฐานพรหมนั้นมี
เมตตากรุณาเป็นวิหารธรรม กล่าวถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็คือกล่าวถึง
พระกรุณาในสัตว์โลกนั้นเองฯ กล่าวถึงพรหมมากราบทูลอาราธนา

ก็คือกล่าวถึงพระกรุณาทำให้กลับทรงพระปรารภถึงการแสดงธรรม
อีกเล่าฯ กล่าวถึงทรงรับอาราธนาของพรหม ก็คือทรงเปิดช่องแก่
กรุณาให้เป็นปุเรจาริกคือไปข้างหน้า" ความจริงต้องเป็นอย่างพระมติ
ที่ทรงประทานไว้นี้ แต่ก็น่าคิดว่าเหตุไฉนพระคันรถจนาจารย์จึงแสร้ง
สมมติธรรมให้เป็นตัวบุคคลขึ้นดังนั้นเล่า? ข้อนี้เมื่อมาอ่านความนิยม

ของคนหมู่มาก ในยุคนั้นดูก็จะเห็นได้ว่าพากันนับถือพรหมว่าเป็น
ผู้ประเสริฐสุด (ดังกล่าวไว้ในท้ายปัญหานี้) ก็ท่านที่ได้ชื่อว่า พรหม
ย่อมมีอัธยาศัยเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา เมื่อเป็นเช่นนั้น พระ
คันถรจนาจารย์ผู้รู้สึกพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า จึงได้
หลักในการแต่งตั้งพระพุทธดำริอันมีพระกรุณาในหมู่สัตว์ขึ้นเป็นตัว

บุคคลคือพรหมและกล่าวถึงพรหมมาอาราธนา ก็เพราะท่านมีความ
ประสงค์จะเชิดชูพระพุทธเจ้า ให้ลอยเลิศสมกับความเลื่อมใสของ
ท่าน และให้สมกับกาลเทศะ เพราะฉะนั้นจึงน่าชมความคิดที่ท่าน
สามารถแต่งธรรมาธิษฐาน สมมติเป็นบุคคลาธิษฐานขึ้นได้โดยมี
เหตุผลสมทุกอย่างทุกประการ)
ม. เธออว่านี้ชอบแล้ว
จบภควโตธัมมเทสนายอัปโปสุกตภาวปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
เราตถาคตไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นกังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไรพระองค์จึงตรัสว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรผู้เป็น
อาจารย์ตั้งเราผู้เป็นอันเตวาสิกไว้เสมอด้วยตนฉะนี้เล่า

น. เหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาฬารดาบสเป็นอาจารย์ของพระองค์นั้น
ก็เพราะเมื่อพระองค์ยังมิได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปทรง
ศึกษาวิชาอยู่ในสำนักของดาบสนั้น ขอถวายพระพร ถ้าจะว่าถึงจำนวนอาจารย์
ครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปทรงศึกษาวิชาก่อนหน้าตรัสรู้ ก็นับได้หลายคน
มีอาทิเช่นพราหมณ์สัพพมิต ผู้ซึ่งพระชนกได้ทรงฝากให้ทรงศึกษาวิชาใน

เบื้องต้น หรือเช่นเทวดาที่มากระทำให้ทรงสังเวชถึงกะเสด็จออกบรรพชา
หรืออุทกดาบสรามบุตร ซึ่งเป็นอาจารย์ก่อนหน้าท่านอาฬารดาบสท่าน
เหล่านี้นับว่าเป็นอาจารย์ให้วิชาความรู้มาในเบื้องต้นทั้งสิ้น ขอถวายพระพร
แต่ว่าอาจารย์เหล่านั้นเป็นแต่สอนวิชาทางโลกหรือแม้จะเกี่ยวด้วยธรรมก็เป็น
แต่เพียงชั้นโลกิยะเท่านั้น หาได้สอนถึงธรรมส่วนโลกุตระด้วยไม่ เพราะฉะนั้น

พระพุทธเจ้าผู้ได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธ
ดำรัสว่า เราตถาคตไม่มีใครเป็นครูอาจารย์
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบพุทธอาจริยานาจริยปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอริย
ผู้ทำอาสวะให้สิ้นไปแล้ว ชื่อว่าเป็นสมณะผู้สงบ ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล

ม. ถ้าเช่นนั้น เหตุไฉนพระพุทธองค์จึงตรัสว่า บัณฑิตย่อมกล่าวผู้ที่ประกอบ
ด้วยความอดทน ความมักน้อย ความไม่ยินดียินร้าย ความไม่กังวล ว่าเป็นสมณะใน
โลก ฉะนี้อีกเล่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ตรัสคำเบื้องปลายนี้ ก็ด้วยมีพระพุทธ
ประสงค์จะทรงจำแนกองคคุณของสมณะออกให้เห็นชัด และทรงจัดเป็นสมณะ
สามัญ ส่วนพระพุทธพจน์ต้นนั้น พระองค์ทรงมุ่งจะแสดงสมณะชั้นสูง ถ้าจะ
เปรียบก็เหมือนดอกไม้ นายมาลาการย่อมจัดดอกมะลิไว้เป็นดอกไม้พิเศษฉะนั้น
ม. พอฟังได้
จบอัคคานัคคสมณะปัญหา

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทะเจ้าเคยตรัสสอน
พระภิกษุทั้งหลายว่า ถ้าใครกล่าวสรรเสริญคุณแห่งตถาคตก็ดี คุณแห่งพระธรรม
ก็ดี คุณแห่งพระสงฆ์ก็ดี พวกเธอไม่ควรจะกระทำความเพลินใจหรือทะนงใจ
ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลว่า ขอถวายพระพร เป็นอย่างพระองค์ตรัสนั้นแล

ม. ถ้าเช่นนั้น ไฉนเมื่อเสละพราหมณ์มาสรรเสริญคุณของพระองค์ พระองค์
จึงเพลิดเพลิน ถึงกะทรงแสดงพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า (ดูเรื่องที่
เชิงอรรถ ปัญหาที่ ๑ วรรคที่ ๑) หรือทรงมุ่งลาภผลอะไร

น. ขอถวายพระพร พระพุทธองค์หาได้ทรงมุ่งลาภยศสรรเสริญหรือ
ผลอะไรไม่ การที่พระองค์ทรงกระทำดังนั้น ก็ด้วยทรงพิจารณาเห็นว่า
เสละพราหมณ์พร้อมด้วยเหล่ามาณพผู้บริวารจะได้บรรลุมรรคผล ด้วยอุบาย
ที่ชักจูงใจให้เพลินไปในพระคุณสมบัติเช่นนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรง
แสดงพระคุณของพระองค์เองให้ยิ่งขึ้น ส่วนการที่พระองค์ตรัสสอนพระภิกษุ

มิให้เพลิดเพลินคำสั่งสอนนั้น ก็เพราะทรงเห็นว่าคำสรรเสริญเป็นโลกธรรม
มีคติหมุนเวียนไปตามโลก เมื่อยินดีต่อคำสรรเสริญ ถึงคราวแปรผัน ก็ต้อง
ยินร้ายต่อคำนินทา เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็จะฟุ้งซ่านนำผลร้ายมาสู่ตน เหตุฉะนี้
พระพุทธองค์จึงตรัสสอนดังนั้น
ม. เธอฉลาดว่า
จบวัณณภณนปัญหา

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่นับถือ
พระรัตนตรัยว่าของเรา ไม่พึงเบียดเบียนผู้อื่น จักได้เป็นที่รักในโลก ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุอะไรเล่า พระองค์เองจึงตรัสว่าเราตถาคตพึงข่มสภาพที
่ควรข่มพึงยกย่องสภาพที่ควรยกย่องฉะนี้ ก็การตัดมือตัดเท้า จำขัง ทรมาน
ประหารชีวิตเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิริยาข่มทั้งนั้นนี่เธอ

น. ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ที่ว่า เราพึงข่มสภาพที่ควรข่มนั้น พระองค์
มิได้ทรงหมายกิริยาข่มเช่นพระองค์ตรัสนั้น ทรงมุ่งถึงการข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่
เป็นอกุศล และการข่มผู้ปฏิบัติผิดหรือเป็นโจร

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. นี่เธอ ก็ถ้าการข่มมิใช่อาการที่ว่านั้น จะพึงข่มโจรได้อย่างไร
น. ก็ข่มด้วยการขู่บ้าง ด้วยการปรับสินไหมบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง ด้วย
การจำจองบ้าง ด้วยการฆ่าเสียบ้าง
ม. การฆ่านั้นเป็นพระอนุมัติของพระพุทธเจ้าด้วยหรือ
น. หามิได้
ม. ถ้ามิใช่พระอนุมัติของพระพุทธเจ้าจะพึงฆ่าด้วยเหตุอะไร
น. ก็ฆ่าด้วยเหตุคือความผิดที่โจรผู้นั้นกระทำ ขอถวายพระพร เมื่อลงโทษ
ตามความผิดเช่นนั้น จะจัดว่าพระพุทธเจ้าผู้สอนมีผิดด้วยหรือ

ม. ไม่มี
น. ถ้าเช่นนั้น พระพุทธโอวาทที่ตรัสสอนนั้น ก็เป็นอันให้ประโยชน์สุข
ม. ถูกแล้ว
จบอหึสานิคคหปัญหา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราตถาคต
ไม่มีความโกรธ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง
ม. ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงทรงขับไล่พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะพร้อมทั้งบริษัท
เล่า (เรื่องเดิม (ในจาตุมสูตร มัชฌิมติกาย มัชฌิมปัณณาสก) ว่าสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้า
เสด็จประทับอยู่ ณ อาลมดีวันใกล้จาตุมคาม มีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมี

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า พากันเดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระพุทธเจ้า
พอมาถึงต่างก็ดีอกดีใจ จัดเสนาสนะเก็บบาตรจีวรเสียงอึกทึกครึกโครมดังไปจนถึง
ที่ประทับ พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ไปตามพระภิกษุเหล่านั้นพร้อมด้วย
พระอัครสาวกทั้ง ๒ มาเฝ้า ครั้นทรงทราบเรื่องอึกทึกก็ตรัสว่า ท่านทั้งหลายไม่ควร
อยู่ในสำนักของเรา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะจึงพาบริษัทหลีกไป เผอิญเดิน

มาพบพวกศากยราชชาวเมืองจาตุมะ พวกศากยราชตรัสถามและทราบเหตุที่ท่าน
พากันกลับจึงนิมนต์ให้ท่านหยุดก่อน แล้วเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า
ขอพระองค์จงทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์เถิด เพราะพระภิกษุเหล่านั้น โดยมาก
เป็นพระบวชใหม่และต่างก็ตั้งใจจะมาเฝ้าพระองค์เมื่อไม่ได้เฝ้าตามที่มุ่งมาก็จะ
เสียใจ ความเลื่อมใสก็จะแปรผันไปเสีย เปรียบเหมือนลูกโคเมื่อไม่ได้อยู่กับแม่
ก็จะซูบผอมฉะนั้น

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องนี้ พระพรหมมุนี (แฟง) วัดมกุฏกษัตริย์ได้แสดงมติไว้ในหนังสือ
ปัญหาธรรมวินิจฉัยว่า "ในจาตุมสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงขับไล่ภิกษุทั้งหลาย
ซึ่งพูดจาปราศรัยกันอื้ออึงเสียนั้นข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า ในครั้งนั้น จะเป็น
กาลที่พระองค์มีพระพุทธประสงค์จะทรงประกอบสุขวิหารเครื่องอยู่สำราญ

ในทิฏฐธรรม จึงขับไล่ภิกษุที่พูดจาอื้ออึงเหล่านั้นเสีย เพราะเสียงอื้ออึงนั้น
เป็นข้าศึกแก่สุขวิหาร อนึ่งถ้าพระองค์จะทรงทรมานสั่งสอนโดยวิธีอื่นก็ได้
ก็แต่พระองค์ทรงดำริ เห็นว่าพระอัครสาวกทั้ง ๒ อาจจะปกครองภิกษุเหล่า
นั้นได้ พระองค์จึงมิได้ทรงทรมานโดยวิธีอื่น.

ได้ความในจาตุมสูตรนั้นว่า ภายหลังพระอัครสาวกทั้ง ๒ ได้ช่องที่จะ
เฝ้า จึงพาภิกษุเหล่านั้นขึ้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสถามพระ
สารีบุตรเถรเจ้าว่า ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์เสียแล้ว ท่านมีจิต
คิดว่า กระไรพระเถรทูลว่า ข้าพระองค์คิดว่า ภิกษุสงฆ์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงขับไล่เสียแล้ว บัดนี้พระองค์จักมีความขวนขวายน้อยทรงประกอบสุข

วิหารในทิฏฐธรรมอยู่แต่พระองค์ แม้เราก็จักเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
ประกอบสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เหมือนกัน พระองค์ตรัสห้ามพระเถรเจ้าว่า
ดูก่อนสารีบุตรท่านจงรอกาลก่อน ท่านอย่าพึงยังจิตอย่างนี้ให้เกิดขึ้นเลย
พระองค์ตรัสห้ามดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะเถรเหมือนดังนั้น
ต่อไป พระเถรเจ้าทูลว่า ข้าพระองค์คิดว่า ภิกษุสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ขับไล่เสียแล้ว บัดนี้พระองค์จักเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ทรงประกอบสุข
วิหารในทิฏฐธรรมอยู่แต่พระองค์ ข้าพระองค์กับพระสารีบุตรจักช่วยกัน
ปกครองภิกษุสงฆ์นั้นไว้ พระองค์ทรงสรรเสริญพระเถรเจ้าว่า ดูก่อน
โมคคัลลานะความคิดของท่านดีถูกต้องละ ถึงเราก็คิดว่าสารีบุตร และ
โมคคัลลานะทั้ง ๒ อาจจะปกครองรักษาพระภิกษุสงฆ์ได้ ครั้นพระองค์

ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายที่พระองค์ทรงขับไล่เหล่านั้นมา
ตรัสเทศนาสั่งสอนต่อไป อาศัยเรื่องความที่มีมาในจาตุมสูตรนั้น ฉะนี้
สันนิษฐานลงว่า ขณะพระองค์ทรงขับไล่ภิกษุทั้งหลายที่พูดจาปราศรัย
กันอื้ออึงอยู่นั้น จะเป็นคราวพระองค์มีพระพุทธประสงค์จะทรงประกอบ
สุขวิหาร ทั้งทรงพระดำริเห็นว่า พระอัครสาวกทั้ง ๒ อาจจะปกครอง
ภิกษุสงฆ์นั้นได้ด้วย ขณะนั้นพระองค์จึงมิได้ทรงทรมานสั่งสอนโดยวิธี
อื่นฉะนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เชิญท่านผู้มีปัญญาพิจารณาสอบสวนดูเถิด ถ้าเห็นว่า คำดังว่ามานี้
มิต้องโดยพระพุทธประสงค์แล้ว พึงคิดค้นด้วยปัญญา แสวงหาเหตุผล
ซึ่งจะตรงโดยพระพุทธประสงค์นั้นเทอญ")

น. การที่พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
พร้อมทั้งบริษัทนั้น หาได้ทรงกระทำด้วยอำนาจแห่งความโกรธไม่ ทรง
กระทำตามความผิดของท่านเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นจะว่าเป็นความผิด
ของพระพุทธองค์ได้อย่างไรเปรียบเหมือนคนเดินทางพลาดล้มลงนอน
กะพื้นดิน จะว่าแผ่นดินโกรธเคืองหรือจึงให้ล้ม

ม. หามิได้ เป็นเพราะผู้นั้นเดินล้มไปเอง หาใช่เป็นเพราะแผ่นดิน
โกรธเคืองไม่
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระองค์มิได้ทรงยินร้ายต่อท่าน
เหล่านั้น การที่ทรงขับไล่ก็เพราะความผิดของท่านเหล่านั้นเป็นเหตุ และ
ทั้งทรงเห็นประโยชน์ว่าพระภิกษุเหล่านั้นจักพ้นความเกิดความแก่ความ
ตายได้ด้วยอุบายอย่างนี้
ม. ฟังได้
จบภิขุปณามปัญหา

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เธอว่ามาในเบื้องต้นว่า
พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งทุกอย่างดังนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ก็เหตุไฉน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรเป็นต้นถูกขับไล่ ต่อเมื่อ
เจ้าศากยราชนำเอาคติของโคหนุ่มมา (เรื่องที่เชิงอรรถแห่งปัญหาที่ ๓)
เปรียบเทียบทูลชี้แจงถวาย จึงทรงรู้ไม่เท่าทันถึงคติของผู้น้อย

น. ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดัง
อาตมภาพ ถวายวิสัชนามาในเบื้องต้นนั้นแล พระองค์เป็นธัมมสามีเจ้าของ
แห่งธรรม ตกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเอาธรรมของพระองค์ มาย้อน
เปรียบถวายให้ทรงยินดี เปรียบเหมือนสตรีเอาทรัพย์ของสามีมาตั้งเรียงไว้
ให้สามีชมครั้งสามีเห็นแล้วก็ดีใจฉะนั้น
ม. ฟังได้
จบสัพพัญญูสยปฌามปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์มีอยู่ว่า
ฆราวาสก็ดี บรรพชิตก็ดี เมื่อหมั่นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ก็ย่อมได้บรรลุ
มรรคผลเหมือนกัน ฉะนี้มิใช่หรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจะบวชทำไม ลำบากเปล่าๆ ต้องโกนผลโกน
หนวด ต้องสำรวมกายวาจาใจ ส่วนฆราวาสสิมีของบำเรอสุขสบายทุกอย่าง
ทุกประการ แต่เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ก็ย่อมได้บรรลุมรรคผลเหมือน
กัน ถ้าเป็นเช่นนี้ฆราวาสจะมิดีกว่าหรือ

น. ขอถวายพระพร ฆราวาสจะดีกว่าบรรพชิตไปได้อย่างไร เพราะว่า
เพศบรรพชิตย่อมทรงคุณพิเศษยิ่งกว่าฆราวาสทุกอย่างทุกประการ ยิ่งกว่านี้
ยังมีทางที่จะได้บรรลุมรรคผลได้เร็วกว่าเพราะบรรพชิตไม่ต้องเสียเวลาที่
จะต้องทำงาน เพื่อแสวงหาสิ่งที่จำเป็น เช่นเครื่องนุ่งห่ม อาหารหรือ

ที่อยู่อย่างฆราวาส มีโอกาสที่จะพึงประพฤติ มักน้อยสันโดษยินดีในที่
สงัดเงียบ และตัดความกังวลทั้งหลายเสียได้ เพราะไม่มีสิ่งบำเรอความสุข
ซึ่งจะมาหน่วงเหนี่ยวใจให้เกิดความยินดีและความอาลัย หาโอกาสที่จะ
พึงกระทำศีลสมาธิปัญญาให้บริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นได้

ขอถวายพระพร ก็เมื่อบรรพชิตมีโอกาสได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถึงอย่างนี้
บรรพชิตจะมิดีกว่าฆราวาสหรือ
ม. ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ดีกว่า
จบคีหิปัพพชิตปฏิปันนวัณณนปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสห้าม
มิให้พระภิกษุผูกใจในที่อยู่ มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์จรัสนั้นแล
ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไรจึงทรงอนุญาตให้ทายกสร้างวิหารถวายพระภิกษุ
ผู้เป็นพหูสูตได้เล่า

น. ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ตรัสห้ามมิให้พระภิกษุผูกใจใน
ที่อยู่นั้นก็ด้วยทรงเห็นว่าไม่เป็นการสมควรแก่สมณะผู้มีปฏิปทาอันสงบระงับ
เพราะว่าเมื่อไม่เอาที่อยู่มาผูกใจให้เกิดความพัวพันขึ้นแล้ว ใจก็จะเป็น
ธรรมชาติควรแก่การงานตามหน้าที่ของตนจะได้ไม่กังวลในที่ใช่ฐานะ
ดุจราชสีห์เมื่อเที่ยวไปในป่าย่อมไม่มีความอาลัยในที่อยู่จนใครสังเกตุ

ที่อยู่ไม่ได้ฉันใด พระภิกษุซึ่งมีหน้าที่ทำลายบาปอกุศลก็ต้องมีปฏิปทา
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเมื่อทำใจไม่ให้เกี่ยวเกาะอยู่ในที่อยู่ได้แล้ว ก็เป็น
เหตุเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะตัดความกังวลเสียได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่จะให้
กระทำความดีได้สะดวก ส่วนการที่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทายกสร้างที่
อยู่ถวายแก่พระภิกษุผู้พหูสูตนั้น ก็ด้วยพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒

ประการ คือการสร้างวิหารถวายพระภิกษุ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ทรงสรรเสริญตรัสชมไว้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้พ้นจากความเกิด
ความแก่ความตายได้ อีกประการ๑ พระภิกษุและนางภิกษุนีจักได้มีที่อยู่
เป็นหลักแหล่งถึงคราวผู้มีศรัทธาจะทำบุญให้ทานก็ย่อมทำได้โดยสะดวก
ม. ฟังได้
จบอนิเกตานาลยกรณปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสสอนเขาว่า
พึงเป็นผู้สำรวมท้อง ฉะนี้ แต่เหตุไฉนพระองค์เองจึงตรัสว่า บางคราวเรา
บริโภคเสมอขอบบาตรบ้าง บางคราวก็ยิ่งกว่า (คำนี้พระพุทธเจ้าตรัสกะ
สกุลุทายิปริพพาชก (มหาสกุลุทายิสูตรมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก) ซึ่ง
สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงแปลจาก

พระสูตรนั้นไว้ว่า "อุทายิบางคราวเราฉันเต็มขอบบาตรนี้ก็มียิ่งกว่าก็มี
หากว่าพวกสาวกของเราจะสักการะเคารพนับถือบูชาเราแล้วอยู่พึ่งเรา
ด้วยเข้าใจว่าเรามีอาหารน้อย และสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย สาวก
ของเราผู้มีอาหารน้อยเพียงเท่าโกสะ (จุในผลกระเบา?) หนึ่งก็มี เพียงเท่า

เวฬุวะ (จุในผลมะตูม?) หนึ่งก็มี เพียงกึ่งนั้นก็มี ที่ไหนเธอจะสักการะเคารพ
นับถือบูชาเราแล้วอยู่พึ่งเราเล่า" และทรงสันนิษฐานไว้ว่า"แม้ในที่อื่นก็กล่าว
ว่า พระศาสดาเสวยพระอาหารน้อย พระอาหารเต็มขอบบาตรที่ว่าเสวยหมด
นั้นคงไม่เท่าไรนั้น"

แต่ตามสำนวนที่ท่านแก้ไว้ในมิลินทปัญหานี้ ดูเป็นที่ว่าพระพุทะเจ้า
เสวยพระอาหารมาก โดยมิได้ทรงคำนึงถึงความพอเหมาะและทั้งที่ทรงนำ
มาตรัสสอนเขาเลย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะท่านเข้าใจขนาดบาตรใหญ่กว่า
ความจริง ท่านจึงแก้เหตุเลยไปว่า พระพุทธเจ้าเสร็จกิจไม่ต้องทรงกระทำ
ต่อไปอีกแล้วจะเสวยสักเท่าไรก็ได้ แท้จริงไม่ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรง

กระทำสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามมิให้ผู้อื่นกระทำ เพราะว่าพระองค์มีพระชาติ
เป็นกษัตริย์ และมีพระนิสัยเป็นศาสดาผู้สอนเขาด้วยฯ เรื่องเช่นนี้ ท่าน
ผู้แต่งปกรณ์ชั้นหลังๆ ทำเป็นกาฝากจับไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามาก
แห่ง เช่นเรื่องยมกปาฏิหาริย์เป็นต้น การที่เป็นดั่งนี้ก็เพราะว่า ท่านเหล่านั้น
มีสติสัมปชัญญะไม่พอบ้าง ต้องการจะส่งเสริมพุทธาภินิหารให้สมกับใจ

ที่ท่านเคารพนับถือบ้างและถูกกาลเทศะจูงให้เป็นไปบ้าง
ความเป็นมาแห่งคัมภีร์พระพุทธศาสนามีอยู่เช่นนี้ จึงปรากฏเรื่องที่
เชื่อไม่สนิทหรือเชื่อไม่ได้อยู่มากเรื่อง) ดังนี้เล่า
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ผลร้ายของการไม่สำรวมท้อง
มีเช่น ให้ฆ่าสัตว์บ้าง ให้ลักของเขาบ้าง ให้ประพฤติผิดในกามบ้าง ให้กล่าว
เท็จบ้าง ให้ดื่มน้ำเมาบ้างและให้กระทำความผิดอื่นๆ บ้าง เพราะเหตุนี้
พระองค์จึงตรัสสอนให้เป็นผู้สำรวมท้องจะได้ป้องกันความชั่วทั้งหลายเสีย
ส่วนพระองค์เองเสวยเสมอขอบบาตร บางคราวก็ยิ่งกว่านั้นก็เพราะว่า
พระองค์มีพระธุระได้ทรงกระทำเสร็จสิ้นแล้ว กิเลสมิได้กลับกำเริบใน
พระหฤทัยอีก

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนคนเจ็บ หมอย่อมห้ามมิให้บริโภคของแสลง เพื่อมิให้โรคกำเริบ
แต่ครั้นหายแล้ว หมอก็อนุญาตให้บริโภคได้ทุกอย่างตามความปรารถนาฉันใด
แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระองค์ได้สำรอกกิเลส กำจัดความชั่ว
ทั้งหลายให้ศูนย์สิ้นไป กิเลสไม่กลับมากำเริบต่อไปอีก เพราะฉะนั้นการเสวย
ของพระพุทธองค์เช่นนั้น จึงไม่เป็นการแสลงอะไร
ม. เธอฉลาดว่า
จบอุทรสังยมปัญหา

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัย ถ้ามีผู้เผยแผ่โดยการบอกกล่าวเล่าเรียนและ
ปฏิบัติกันอยู่ ก็จะไพโรจน์รุ่งเรืองอยู่ฉะนี้ ก็แต่เหตุไรการแสดงพระปาฏิโมกข์
จึงทรงแสดงปกปิดแสดงแต่ในที่ลับเล่า

พระนาคเสนทูลตอบว่า การที่มิได้ทรงเปิดเผยการแสดงพระปาฏิโมกข์
แก่ชนทั่วไปนั้น ก็เนื่องด้วยเหตุ ๓ ประการ คือทรงปิดตามประเพณีของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหมือนดังพระมหากษัตริย์ย่อมทรงปกปิดขัตติยมายา
แต่ว่าย่อมทรงแสดงแก่พระมหากษัตริย์ด้วยกันฉะนั้น เหตุประการที่ ๒ คือ
ทรงปิดเพราะเป็นของโดยอธิบายว่าผู้กระทำปาฏิโมกขุทเทสให้บริบูรณ์

ย่อมได้บรรลุพระอรหัตตผล เหตุประการที่ ๓ คือทรงปิดเพราะภูมิของ
พระภิกษุมีค่ามาก ใครชั่งไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้การแสดงพระปาฏิโมกข์ จึง
ควรเฉพาะพระภิกษุด้วยกันเท่านั้น
ม. ฟังได้
จบธัมมวินยปฏิจฉันนปัญหา

ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน การกล่าวเท็จ พระพุทธองค์
ทรงบัญญัติไว้เป็นอาบัติเบาก็มี อาบัติหักก็มี นั่นเป็นเพราะอะไร

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นเพราะกระทำความผิดหนักเบา
กว่ากัน เปรียบเหมือนผู้กระทำการละเมิดกฎหมาย แม้จะเป็นความผิดรูปเดียวกัน
แต่ถ้าเจตนาหรือความพยายามต่างกัน กระทงโทษแห่งความผิดนั้นๆ ก็ย่อมต่าง
กันไปเช่นเดียวกันนี้ฉันใด การกล่าวเท็จของพระภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือมี
เจตนาและวัตถุแห่งการล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ ต่างกัน ก็เมื่อเหตุต่างกันเช่น
นี้ ผลคืออาบัติจึงมีหนักบ้างเบาบ้าง
ม. เข้าใจละ
จบมุสาวาทครุลหุภาวปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์มีอยู่ว่า
พระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ไม่มีใครเทียมเท่าฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง
ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนพระองค์จึงตรัสยกย่องพระพากุละว่า เป็นผู้เลิศใน
ฐานะที่เป็นผู้มีอาพาธน้อยเล่า

น. ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐไม่มีใครจะเลิศเท่า ทั้งนี้
ก็เพราะว่าพระองค์เป็นสัพพัญญูรู้ธรรมทั้งหลาย ยิ่งกว่านี้พระองค์ทรงใช้
ธรรมเหล่านั้นมาหล่อเลี้ยงรักษาพระหฤทัยของพระองค์ และทรงแนะนำ
สั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม

ส่วนพระพุทธพจน์ที่ตรัสชมพระพากุละนั้น ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์
จะทรงยกผลแห่งกุศลที่ท่านได้กระทำการพยาบาล พระพุทธเจ้าและพระสาวก
เมื่อครั้งเกิดในศาสนาพระอโนมทัสสีคราว ๑ เมื่อครั้งเกิดในศาสนาพระวิปัสสี
คราว ๑
ม. ฟังได้
จบยาจโยคปัญหา

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บรรดาพุทธสาวก
พระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์มากกว่าพุทธสาวกองค์อื่น ๆ มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล

ม. แต่อย่างไรตามเถรประวัติจึงว่า พระโมคคัลลานะถูกพวกโจรรุมกันทุบตาย
ก็ถ้าท่านมีฤทธิ์มากจริงเช่นนั้น เหตุไฉนจึงไม่หนีพวกโจรให้พ้นเล่า
น. ขอถวายพระพร เหตุที่ท่านหนีพวกโจรไม่พ้นก็เพราะบาปกรรมซึ่งท่านได้
กระทำไว้ในชาติก่อนมาตามทัน (อรรถกาธรรมบทแสดงบุพพกรรมของพระ
โมคคัลลานะเถระไว้ว่า เมื่อครั้งพระโมคคัลลานะเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมือง

พาราณสี ถูกภรรยายุยงให้ฆ่าบิดามารดา ด้วยความหลงเชื่อภรรยาจึงนำบิดา
มารดาไปกลางป่าทุบตีเสียจนตาย แต่บางปกรณ์เช่นชาดกว่าไม่ถึงตาย) กำลัง
แห่งฤทธิ์จึงไม่สามารถต้านทานไว้ได้
ม. ฤทธิ์กับบาปก็ย่อมมีวิสัยเป็นอย่างเดียวกันนี่เธอ คือเป็นอจินตัยไม่ควรคิด
เหมือนกันเป็นอันว่ามีคติเท่ากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจทัดทานกันได้ เปรียบ
เหมือนผู้บริโภคผลมะม่วงแล้ว เอาผลมะม่วงอีกผลหนึ่งมาทุบต่อยมะม่วงที่
จะบริโภคนั้น จะสำเร็จผลได้อย่างไร

น. ขอถวายพระพร ฤทธิ์กับบาปมีวิสัยเช่นเดียวกันดังพระองค์ตรัสนั้นก็จริง
แต่ว่าเมื่อบาปที่ตามมาทัน มีกำลังมากกว่าแล้วฤทธิ์ ก็ไม่สามารถจะทานไว้อยู่
เช่นเดียวกับไฟถ้าลุกมากมายเสียแล้ว จะเอาน้ำเพียงหม้อหนึ่งสองหม้อมารด
ก็ย่อมสู้กำลังไฟไม่ได้ ฉะนั้น
ม. เธอฉลาดว่า
จบอิทธิยากัมมวิปากปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron