วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 12:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. พระองค์จะทรงเอาตัวอย่างนั้นมาเปรียบในที่นี้ไม่สมควร เพราะว่า
พระนิพพานได้ถอนรากคือ ตัณหาอันก่อให้เกิดออกเสียแล้ว ฉะนั้นที่ทรง
เข้าพระหฤทัยว่า พระนิพพานเกิดแต่เหตุนั้นจึงไม่ถูก ขอถวายพระพร
เรื่องนี้ยากที่จะชี้แจงถวายให้เห็นชัดๆ ได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง

น. คนที่มีกำลังแข็งแรง จะสามารถไปยกเอาภูเขาหิมพานต์มาให้คน
ทั้งหลายดู จะได้หรือไม่
ม. จะมีใครถึงกะสามารถไปยกเอาภูเขาหิมพานต์มาให้คนดูได้เล่าเธอ
น. เป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะภูเขาหิมพานต์หนักเกินกำลังคนมากนัก

น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่จะทูลชี้แจงพระนิพพาน
ถวายให้ทรงเห็นชัดๆ ก็เกินกำลังความสามารถของอาตมภาพเช่นเดียวกัน
เพราะอาตมภาพกล่าวได้แต่มรรคที่ทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่ไม่อาจ
แสดงเหตุที่อาศัยให้เกิดพระนิพพานได้ การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า
พระนิพพานเป็นอสังขตธรรมไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง รู้ไม่ได้ด้วยตา หู

จมูก ลิ้น กาย จะพึงรู้พึงเห็นได้ก็เฉพาะแต่พระอรหันต์ผู้มีจิตบริสุทธิ์สงบ
และละเอียดเท่านั้น
ม. ถ้าเช่นนั้น ใครเล่าจะเชื่อว่าพระนิพพานมี เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบ
น. ขอถวายพระพร ลมมีหรือไม่
ม. ก็มีสิเธอ
น. ลมมีรูปร่างหรือสีสันเป็นอย่างไร ขอพระองค์ได้ทรงชี้แจงมาให้เห็น

ม. จะชี้แจงให้เห็นได้อย่างไรเล่าเธอ เพราะลมไม่มีรูปร่างหรือสีสัน
เช่นเธอว่า แต่ว่าถึงกระนั้น เราก็รู้ว่าลมมีจริงเพราะพัดมาต้องเราอยู่เนืองๆ
น. ขอถวายพระพร พระนิพพานก็เป็นเช่นเดียวกับลมนั้นแล คือไม่มีรูปร่าง
ไม่มีสีสัน แต่ว่าท่านที่ได้บรรลุพระอรหันต์ได้รับความสุขกายเย็นใจ นั่นแล
ท่านรู้ว่าพระนิพพานมีอยู่จริง เหมือนเรารู้สึกว่าลมมี ในขณะเมื่อพัดไปต้อง
ใบไม้เป็นต้น ให้หวั่นไหว หรือพัดมาต้องเรารู้สึกเย็นฉะนั้น
ม. เข้าใจละ
จบนิพพานอัตถิภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ก็สิ่งที่เกิดแต่กรรมหรือ
แต่เหตุหรือแต่ฤดูนั้นได้แก่อะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร คนและสัตว์ทุกจำพวกเกิด
แต่กรรมต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์ เกิดแต่เหตุแผ่นดิน ภูเขา น้ำลมไฟนี้เกิดแต่ฤดู
ม. เข้าใจละ
จบกัมมัชชากัมมัชชปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ในโลกนี้ยักษ์มีหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มี
ม. ยักษ์ก็ตายเหมือนสัตว์อื่นๆ มิใช่หรือ
น. ขอถวายพระพร เป็นดังนั้น
ม. ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงไม่ปรากฏว่ามีใครได้พบซากศพยักษ์บ้างเล่า
ที่สุดแม้กลิ่นไอก็ไม่มีมากระทบจมูก
น. ขอถวายพระพร ซากศพของยักษ์มีอยู่ แต่บุคคลหารู้จักว่าเป็น
ซากศพของยักษ์ไม่ เพราะยักษ์เหล่านั้นกลายไปเป็นสัตว์ต่างๆ เช่น
เป็นตั๊กแตนบ้าง เป็นหนอนบ้าง เป็นมดแดงมดดำบ้าง เป็นต้น
ม. ชอบกล
จบยักขานํ มรณภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ครั้งก่อนนี้หมอผู้เชี่ยวชาญอยู่ ๗ หมอ คือ
นารทะ ๑ ธัมมันตริกะ ๑ อังคีรสะ ๑ กะปีละ ๑ กัณฑารัคคิกามะ ๑ อตุละ ๑
ปุพพกัจจายนะ ๑ หมอทั้ง ๗ นี้ ย่อมคะแนอาการคนไข้ได้ว่า อีกเท่านั้นวัน
อาการจักมีจักเป็นอย่างนั้น ๆ นี่เธอ คนเหล่านี้แม้มิใช่สัพพัญญู แต่ก็ยัง
คาดกาลข้างหน้าได้ถูกต้อง ส่วนพระพุทธเจ้าสิเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่ไฉนจึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทล่วงหน้าไว้ให้ครบถ้วนเสียคราวเดียวนั้น

ก็เพราะว่าพระองค์ทรงเห็นว่า ถ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ครบถ้วนทั้ง ๑๕๐
คราวเดียว ก็อาจจะเป็นข้อหยุมหยิมของผู้แรกเข้ามาบวช จนให้เกิดความ
ระอาใจก็เป็นได้ เนื่องด้วยมีพระหฤทัยทรงอนุเคราะห์อยู่เช่นนี้แล จึงทรง
รอไว้ต่อเมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามเป็นเรื่องๆ ไป
ม. ชอบละ
จบสิกขาปทอปัญญาปนปัญหา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระอาทิตย์บางคราวก็
ฉายแสงอ่อนลงมิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังนั้น
ม. ด้วยอะไรนะเธอ จึงเป็นเช่นนั้น

น. เป็นด้วยพระอาทิตย์ถูกโรคเบียดเบียน ขอถวายพระพร โรคที่เบียดเบียน
พระอาทิตย์นั้น มีอยู่ ๔ อย่างคือ ควันไฟ ๑ เมฆ ๑ หมอก ๑ ราหู ๑ (เรื่อง
พระราหูที่เป็นโรคของพระอาทิตย์พระจันทร์ นี้ก็คือ เรื่องสุริยคราส
จันทรคราส เรื่องนี้แต่กอ่นเชื่อกันว่า เป็นเพราะพระราหูอมพระอาทิตย์
พระจันทร์ไว้ แม้ในสังยุตตนิกาย สุริยสูตร จันทิมสูตรก็ยังกล่าวความข้อนี้ไว้
และว่าพระราหูต้องปล่อยเพราะพุทธานุภาพ

ก็การที่เรื่องไม่เป็นจริงเข้ามาแทรกแซงอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้
เช่นนี้ คงจะเป็นด้วยท่านผู้ร้อยกรองคัมภีร์ชั้นหลังๆ ซึ่งมีความเชื่อถือลัทธิ
ตามพื้นเมืองมาแต่งแทรกเข้าไว้ เพราะการถือพระพุทธศาสนายุคหลังย่อม
มีเหตุผันแปรไปต่างๆ ดังพระมติที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยา
ดำรงราชานุภาพทรงประทานไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยามว่า

"เมื่อพุทธกาลล่วง ๑๐๐๐ ปี การถือพระพุทธศาสนาที่ในอินเดียเกิดผันแปร
เหตุด้วยการแข่งขันในระหว่างพวกที่สอนศาสนาพราหมณ์กับพวกที่สอน
พระพุทธศาสนามีมาช้านานจนชาวอินเดียมักถือพระพุทธศาสนากับศาสนา
พราหมณ์ระคนปนกันไป ดังปรากฏในจดหมายเหตุของหลวงจีนฮ่วนเจียง
(หรือยวนฉ่าง) ซึ่งไปถึงอันเดียเมื่อ พ.ศ. ๑๑๗๒ กล่าวว่า ในสมัยนั้น
พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งเป็นพุทธศาสนูปถัมภกทรงพระนามว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าสีลาทิตย์ครองเมืองกันยากุพช์ (เดี๋ยวนี้เรียกว่ากาโนช) เป็นราช
ธานีอยู่ในมัชฌิมประเทศ ให้ทำการสังคายนา แต่งานนั้น วันแรกแห่ง
พระพุทธรูปออกมาเป็นประธาน วันที่สองแห่รูปพระอาทิตย์ออกมา
เป็นประธาน ถึงวันที่สามแห่รูปพระอิศวรออกมาเป็นประธาน ดังนี้
ตามพระมติที่ทรงแสดงไว้นี้ ย่อมนำให้เห็นว่า ในระหว่างแข่งขันเอา
ชนะเอาแพ้กันเช่นนั้น ลัทธิต่างๆ น่าจะได้ช่องเข้ามาแทรกแซงอยู่ใน
คัมภีร์พระพุทธศาสนาอย่างถนัดใจ แล้วและนำสืบมาโดยความไม่รู้สึก

อาศัยเหตุดังวกล่าวนี้แล เรื่องที่มีกะพี้ติดอยู่ด้วยจึงมีแทรกอยู่ใน
คัมภีร์พระพุทธศาสนาแม้ชั้นบาลี ) เมื่อโรค ๔ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไปบังแสงพระอาทิตย์ๆ ก็ฉายมายังเราได้น้อย เมื่อเป็นดังนั้นแสง
พระอาทิตย์ก็อ่อนลง
ม. เข้าใจละ
จบสุริยโรคภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระอาทิตย์ย่อมร้อน
อบอ้าวในเหมันตฤดู แต่ไม่อบอ้าวในคิมหันตฤดู เป็นเพราะอะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นเพราะในคิมหันตฤดู
เบื้องบนมีหมอกหนาทึบ เบื้องล่างลมพัดแรง ซึ่งทำให้ละอองฟุ้งขึ้นไป
อยู่ในอากาศ เมื่อเป็นดังนี้ กำลังความร้อนแห่งพระอาทิตย์ที่ฉายแสง
ลงมายังเราก็เบาลง เรารู้สึกอบอ้าวน้อย ส่วนในเหมันตฤดู เบื้องล่างพื้น
แผ่นดินเย็น เบื้องบนมหาเมฆเข้าไปจนเป็นก้อนๆ มิได้กระจัดกระจาย

ไปในที่ต่าง ๆ อนึ่งละอองน้ำและฝุ่นธุลีทั้งหลาย ก็สงบไม่ฟุ้งไปในอากาศ
ท้องฟ้าสะอาดปราศจากมลทิน ลมหากจะมีก็พัดอย่างอ่อน เมื่อไม่มีมหา
เมฆมาปิดบัง พระอาทิตย์ก็แผดแสงกล้า ขอถวายพระพร เหตุนี้จึงร้อน
ในฤดูเหมันต์ฯ
ม. เข้าใจละ
จบสุริยตัปปภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระโพธิสัตว์ต้อง
บริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทาน เหมือนอย่างพระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้า
ของเรา ทุกๆ ท่านหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เหมือนกันทุกท่าน

ม. การที่ท่านเหล่านั้นกระทำดังนั้นจะเป็นด้วยท่านสิ้นความรักใคร่เกิด
ความรังเกียจในบุตรภรรยาแล้วกระนั้นหรือ
น. หามิได้ แท้จริงปรากฏว่าท่านยังรักใคร่เมตตากรุณาบุตรภรรยา อย่าง
เดียวกับคนอื่นรักบุตรภรรยาเหมือนกัน ดังพระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้าของเรา
คราวเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ตี ๒ พระโอรสคือ พระชาลี
กัณหาทันทีนั้นทรงสังเวช และทรงบันดาลโทสะจะทรงประทุษร้ายพราหมณ์

ตอบแทนบ้าง แต่แล้วก็ทรงอดกลั้นความโกรธนั้นเสียได้นี่ชี้ให้เห็นว่า
พระองค์ยังทรงเมตตากรุณาพระโอรสอยู่ เช่น บิดากับบุตรธิดาอื่นเหมือนกัน
แม้พระนางมัทรีพระองค์ก็ยังทรงรักใคร่เช่นเดียวกันเพราะได้ทรงร่วมสุข
ร่วมทุกข์กันตลอดมา ขอถวายพระพร แต่ท่านเหล่านั้นมีใจผูกพันในพระ
สัมมาสัมโพธิญาณมากกว่าความรักบุตรภรรยา เพราะท่านแน่ใจว่าต่อไป

ข้างหน้าพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะเกิดประโยชน์สุขแก่ตนพร้อมด้วย
บุตรภรรยา และแก่ผู้อื่นเป็นกำไรยิ่งกว่าหลายเท่า เหตุนี้ท่านจึงพยายาม
หักใจบริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทานได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. นี่เธอ การที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีและพระชาลี
กัณหาให้เป็นทานนั้น พระชายาและพระโอรสทั้ง ๒ ทรงยินดีในทานนั้น
ด้วยหรือไม่
น. ขอถวายพระพร พระนางมัทรีเมื่อทรงทราบเรื่องนี้ก็ทรงเลื่อมใส
ยินดีตาม แต่พระชาลีกัณหาหาได้ทรงยินดีด้วยไม่ เพราะยังทรงพระเยาว์
ไม่รู้เดียงสาอะไร จะพึงเห็นได้จากการที่ทรงวิ่งหนีลงไปซ่อนอยู่ใน
สระบัวเป็นต้น

ม. เมื่อเป็นดังนั้น ก็เป็นอันว่าพระโอรสทั้ง๒ นั้นได้รับแต่ความทุกข์
ยากสองคนพี่น้องเท่านั้น ก็การกระทำบุญให้ทานเมื่อทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
จะเกิดผลเป็นบุญกุศลขึ้นได้อย่างไร
น. อาตมภาพจะยกตัวอย่างมาเปรียบถวายเหมือนพระองค์ทรงบัญชา
ให้เก็บราชพลีจากราษฎรทุกคน เพื่อทรงนำมากระทำวัตถุที่เป็นสาธารณ
ประโยชน์และสาธารณสุขขึ้น ขอถวายพระพร ราษฎรเหล่านั้นบางคน
ก็ฝืนใจถวาย เพราะความขัดสนบังคับบ้าง เพราะเหตุอื่นบ้าง ก็เมื่อเป็น
ดังนั้น วัตถุที่พระองค์ทรงจัดทำขึ้นนั้น จะสำเร็จประโยชน์สุขดัง
พระราชประสงค์หรือไม่

ม. ก็สำเร็จสิเธอ
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่พระเวสสันดรทรงบริจาค
พระชายาและพระโอรสทั้ง๒ ให้เป็นทานนั้น แม้ว่าจะเป็นความุทกข์ใจ
ลำบากกายแก่พระโอรสทั้ง ๒ ก็จริง แต่ก็ทานบารมีนั้น และเป็นปัจจัย
สำคัญส่วนหนึ่งที่ให้พระองค์และผู้อื่นทั่วๆ ไป ได้รับประโยชน์สุขอัน
ใหญ่ยิ่ง ขอถวายพระพร เมื่อเป็นดังนี้ ทานบารมีนั้นก็ต้องจัดว่าเป็น
บุญกุศลได้ เพราะเกิดผลเป็นผลประโยชน์สุขทั่วไป

ม. ดูก่อนพระนาคเสน การบริโภคอาหารเกินประมาณจัดว่าเป็น
การเกินสมควรฉันใด แม้การที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชายา
และพระโอรสทั้ง ๒ ให้เป็นทานนั้น ก็จัดว่าเป็นการเกินสมควร
เช่นเดียวกันฉันนั้นแล หรือเอว่าอย่างไร

น. ความจริงเรื่องนี้จัดว่าเกินสมควรไม่ได้ เพราะทานปานนั้นแล
จึงจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยจะให้พระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ขอถวายพระพร พระองค์ทรงเข้าพระหฤทัยอย่างไร เรื่องทานการให้
ต้องมีกำหนดให้ด้วยหรือ
ม. มีสิเธอ การให้ซึ่งไม่นับว่าเป็นทาน มีอยู่ดังนี้คือ
๑) ให้หญิงเป็นภรรยาชาย
๒) ให้โคตัวเมียแก่โคตัวผู้
๓) ให้น้ำเมาคือสุราและเมรัย

๔) ให้รู้ลามก
๕) ให้ศัสตราวุธ
๖) ให้ยาพิษ
๗) ให้เครื่องจองจำ
๘) ให้ไก่ตัวเมียแก่ไก่ตัวผู้
๙) ให้สุนัขตัวเมียแก่สุนัขตัวผู้
๑๐) ให้เครื่องนับเครื่องตวงซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับโกง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร คำที่อาตมภาพทูลถามมิได้มุ่งอย่างนั้น มุ่งว่า
การให้ทานต้องมีกำหนดให้เท่านั้นเท่านี้ด้วยหรือไม่
ม. จะมีกำหนดกฎเกณฑ์อะไรเล่าเธอ สุดแต่มีจิตเลื่อมใสเท่าใด
ก็ให้เท่านั้น
น. ก็ถ้าอย่างนั้น ไฉนพระองค์จึงทรงท้วงการบริจาคบุตรภรรยาให้เป็น
ทานว่าเป็นการเกินสมควรไปเล่า ขอถวายพระพร ก็เมื่อบิดาเป็นหนี้เขา
จะให้บุตรรับใช้หนี้แทนเพื่อเปลื้องตนเป็นไท จะไม่ได้ทีเดียวหรือ
ม. ได้สิเธอ

น. นี่ก็เป็นเช่นนั้นแล ขอถวายพระพร พระเวสสันดรทรงตั้งพระหฤทัย
อยู่เสมอว่าจะทรงบำเพ็ญทานบารมีให้เต็มเปี่ยม ยาจกมาขออะไรก็ทรง
บริจาคให้ทั้งนั้น เมื่อทรงผูกพระหฤทัยเป็นหนี้รัดพระองค์ไว้เช่นนั้นแล้ว
ครั้นมียาจกมาขอพระชายาและพระโอรส พระองค์ก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระ
หนี้ กล่าวคือทรงบริจาคให้ตามที่ยาจกขอ ด้วยทรงหวังจะเปลื้องพระองค์
และผู้อื่นให้พ้นจากความเป็นทาสแห่งกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย ขอถวาย
พระพรการเป็นเช่นนี้แล จึงว่าไม่เป็นการเกินสมควร

ม. ที่จริงเรื่องนี้ ควรที่พระเวสสันดร จะทรงบริจาคตัวเองให้เป็นทาน
จะดีกว่าจะได้ไม่เดือดร้อนถึงผู้อื่น
น. ขอถวายพระพร เมื่อยาจกมาขอน้ำก็ต้องให้น้ำ ขอข้าวก็ต้องให้ข้าว
นี่เขามาขอเจาะจงเอาพระชายาและพระโอรสแล้วจะมอบพระองค์เองให้
เขาไป จะเป็นการสมควรละหรือ
ม. เธอว่าดังนั้นก็ถูก

น. ขอถวายพระพร ถ้าพราหมณ์ทูลขอเจาะจงตัวพระองค์เองแล้ว
พระองค์ก็ยินดีจะมอบทันที เพราะว่าพระองค์มีพระหฤทัยผูกพันมั่นอยู่
ในพระสัมมาสัมโพธิญาณยิ่งกว่าอื่นชีวิตก็ดี ความสุขส่วนพระองค์ก็ดี
พระองค์ยินดีที่จะทรงพร่าออกให้ เพื่อแลกกับพระสัมมาสัมโพธิญาณอยู่
ทุกขณะ ข้อนี้จะพึงพิสูจน์ได้จากพฤติการณ์ของพระองค์แต่ต้นจนตลอด
ม. ชอบละ
จบเวสสันดรปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระโพธิสัตว์ทุกๆ ท่าน
กระทำทุกรกิริยา เหมือนพระโคดมโพธิสัตว์เจ้าของเราหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หามิได้
ม. เป็นเพราะอะไร ท่านจึงได้ต่างกันเช่นนั้น
น. ขอถวายพระพร เป็นเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) ตระกูล ซึ่ง
บางท่านก็เกิดในตระกูลกษัตริย์ บางท่านก็เกิดในตระกูลพราหมณ์ (๒)
การสร้างสมบารมี คือบางท่านก็สร้างบารมีมาถึง ๑๖ อสงไขยแสนกัลป์
บางท่านก็แปดอสงไขย บางท่านก็ ๔ อสงไขย (๓) อายุ บางท่านก็อายุน้อย

ดังพระพุทธเจ้าของเรา บางท่านก็อายุมากดังพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (๔)
รูปพรรณสัณฐาน คือบางท่านก็เล็ก บางท่านก็ใหญ่ ขอถวายพระพรเหตุ ๔
ประการนี้แล กระทำให้ท่านต่างกันเช่นนั้นแต่ว่าถึงต่างกันเช่นนั้น เมื่อมา
ได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก้ย่อมตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ และ
ประกอบด้วยพระคุณสมบัติเช่นเดียวกัน

ม. ถ้าอย่างนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าของเราจะทรงกระทำทุกรกิริยาให้เป็น
การลำบากทำไม
น. ขอถวายพระพร พระโพธิสัตว์แต่ก่อนๆต่อบารมีแก่กล้าแล้วท่านจึง
ออกบรรพชา ส่วนพระโคดมโพธิสัตว์เจ้าของเรา เมื่อเสด็จออกบรรพชานั้น
บารมียังอ่อนอยู่ เหตุนี้จึงต้องทรงกระทำทุกรกิริยา (ก่อนแต่จะพูดถึงทุกร
กิริยาคือการทำอย่างไร และเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงทรงบำเพ็ญจะขอกล่าว
ถึงปฏิปทา ซึ่งพราหมณ์นิยมบำเพ็ญกันอยู่ในสมัยพุทธกาลเสียก่อน อัน

ปฏิปทาที่พราหมณ์พากันนิยมทำอยู่ในยุคนั้น ย่อมแบ่งได้เป็น ๒ สาย
หย่อนสาย ๑ ตึงสาย ๑

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สายต้นนั้นได้แก่ปฏิปทาที่เขาบำเพ็ญเพื่อหวังความสุขอันเกี่ยวด้วยสตรี
และสิ่งน่ารักใคร่อย่างอื่น เนื่องด้วยเขามีความนิยมในปฏิปทาอันนี้เป็นลัทธิ
ประเพณี จึงปรากฏว่าฤาษีทั้งหลายโดยมากมีลูกมีเมียทั้งนั้น เพราะเขาถือว่า
ลูกชายย่อมผ้องกันมิให้ตกนรกได้ นอกจากนี้ลูกสาวใครจะทำการสมรส
บิดามารดาต้องขอความสวัสดีจากฤาษีทั้งหลายก่อน จึงแต่งงานภายหลัง

ถ้าได้ทำเช่นนี้จัดว่าเป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ แม้ชายผู้เป็นสามีก็ไม่รังเกียจความ
ไม่บริสุทธิ์ของหญิงนั้น เรื่องนี้หนังสือพระราชพิธี ๑๒ เดือน ซึ่งพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ มีข้อความพิสดาร
ละเอียดละออมาก แต่จะคัดมาไว้ในที่นี้ตอนหนึ่งดังนี้ "พราหมณ์ถ้าเป็น
ผู้หญิงต้องมีการวิวาหะอาวาหะแต่ภายในอายุ ๑๒ ปี ลงมา ถ้าอายุเกิน ๑๒ ปี

ขึ้นไป จะทำการวิวาหะอาวาหะกับผู้ใดไม่ได้ ต้องนับว่าเป็นคนที่เสียคน
แล้วต้องเป็นนางพราหมณีสำหรับบูชาเทวรูปในเทวสถานไปจนตลอดสิ้นชีวิต
เพราะฉะนั้น จึงมักต้องทำการวิวาหะอาวาหะวิวาหะไว้แต่ยังเล็กอยู่ตายไป
เสียต้องนับว่าเป็นหม้ายทั้งไม่ได้อยู่กินด้วยกันเช่นนั้น บางทีเด็กอายุขวบหนึ่ง
สองขวบเป็นแม่หม้าย เด็กหม้ายเช่นนี้ เมื่อโตขึนอายุครบ ๑๒ ปี ต้องโกน

ศีรษะแต่งตัวด้วยผ้าหยาบจะสวมเครื่องประดับอันใดก็ไม่ได้ เกณฑ์ให้ชัก
ประคำสวดมนต์ภาวนาไปจนตลอดสิ้นชีวิต ทรัพย์มรดกของบิดามารดา
จะรับจะรักษาก็ไม่ได้ ต้องตกไปแก่ญาติผู้อื่นที่เป็นผู้ชาย ถ้าญาติผู้นั้นมีใจ
เมตตากรุณาอยู่ก็เลี้ยงดู ถ้าไม่มีใจเมตตากรุณาละเลยเสีย จะไปฟ้องร้อง
แห่งใดก็ไม่ได้ ต้องขอทานเขากินแต่มีข้อบังคับสกัดข้างฝ่ายชายไว้เหมือน

กันว่า ถ้าผู้ใดไม่มีบุตรที่จะสืบตระกูล บิดาและปู่ของผู้นั้นจะต้องตกนรก
ขุมหนึ่งซึ่งเรียกชื่อว่า ปุต ถ้าลูกของตัวมีภริยามีบุตรชาย ก็เป็นอันพ้นทุกข์
ถ้ามีหลานเลนสืบลงไปอีก ทวดปู่และยิดาก็ได้รับผลอันพิเศษเลื่อนขึ้นไป
ตามลำดับ" ต่อจากนี้ได้ทรงนำนิทานในคัมภีร์มหาภารตะมาตรัสเล่าไว้ ซึ่ง

มีใจความว่า "พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อชรัตกะรุประพฤติพรต ตั้งความเพียรได้
ฌานสมาบัติ เที่ยวไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ วันหนึ่งไปพบ
บรรพบุรุษของตนห้อยศีรษะลงมาตรงปากหลุมใหญ่ เท้าชี้ฟ้า ได้รับทุกข
เวทนามาก จึงไถ่ถามไล่เลียงดูบรรพบุรุษนั้นจึงเล่าเรื่องให้ฟังว่า ตนมีบุตร
คนหนึ่งชื่อชรัตกะรุและเพราะบุตรคนนั้นประพฤติตัวละเว้นการมีภรรยา
ไม่มีบุตรสืบสายโลหิต ตนจึงต้องมาลำบากอยู่เช่นนี้ และต่อมาชรัตกะรุมี
ภรรยาและบุตร บรรพบุรุษของเขาก็พ้นจากทุกข์ที่กล่าวมาแล้วนั้น"

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อันความนิยมของพราหมณ์เช่นนี้ แม้ในคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนาก็มี
ปรากฏอยู่เช่นเรื่องพระสุทินในมหาวิภังค์ วินัยปิฎก ซึ่งกล่าวว่า "พระสุทิน
เป็นบุตรกลันทกเศรษฐีในเมืองเวสาลีออกบวชเมื่อมีภรรยาแล้ว แต่ยังไม่
มีบุตร บิดามารดาจึงอ้อนวอนขอให้กลับมาสู่สมรสอีก ด้วยใคร่จะได้หลาน
ไว้ครองสกุล" นี่ก็น่าจะเป็นอันว่า กลันทกเศรษฐีอยู่ในจำพวกพราหมณ์ซึ่ง
มีความนิยมลัทธิอันนี้อยู่เหมือนกัน

ส่วนสายตึงนั้น ได้แก่การทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ เรื่องนี้หนังสือ
ลัทธิของเพื่อนเขียนไว้ว่า "ในหนังสือลิลิตวิสูตรกล่าวถึงวิธีทรมานกายใน
ครั้งพุทธกาลว่า มีต่างๆ กันเช่นนั่งพับขาอยู่นิ่งในที่เดียวเป็นเวลานาน บ้าง
จำกัดมื้ออาหารเช่นกินอาหารวันละครั้งหรือเว้นวันกินครั้งหนึ่ง หรือกิน

เป็นระยะกำหนดสี่วันหกวันหรือ สิบสี่วันต่อครั้งหนึ่ง บ้างนอกบนผ้าเปียก
บนถ่านเถ้า บนกรวดหิน บนแผ่นไม้ บนหนามหรือไม่ก็นอนคว่ำเป็นนิตย์
บางคนบำเพ็ญตนเป็นชีเปลือยหรือเอาเถ้าถ่านฝุ่นและโคลนทาตัว บ้างก็
สูดควันสูดไฟ เพ่งดูแต่แสงตะวัน หรืออยู่ในที่อันมีไฟทั้ง ๕ ล้อมรอบตัว

(คือจุดไฟไว้ที่มุมมีดวงตะวันเป็นที่ห้า) บ้างก็ยกขาขึ้นข้างหนึ่ง หรือยกมือ
ขึ้นข้างหนึ่ง หรือใช้เดินเข่า นอนบ่มตัวอยู่บนหินที่สุมไฟร้อน บางทีใช้วิธี
อยู่ในน้ำเสมอไป หรือห้อยโหนตัวอยู่กลางหาวก็มี"

อันเหตุที่เขานิยมประพฤติการทรมานกายต่างๆ เป็นวัตรเช่นนั้น ก็เพราะ
เขาถือว่าเดชแห่งการประพฤติวัตรดังนั้น ย่อมบันดาลให้ร้อนถึงพระเป็นเจ้าๆ
เห็นกำลังความเพียรไม่ท้อถอยก้ประสิทธิพรให้ตามความปรารถนา ข้อนี้เรื่อง
ในรามายณะมีปรากฏเป็นพยานอยู่มาก อนึ่งเขาถือว่าการทรมานกายดังนั้น

เป็นการฟอกวิญญาณให้บริสุทธิ์ ไม่ต้องตกนรก ตายก็ไปเกิดชั้นพรหมโลก
อันเบนชั้นสูงสุดซึ่งเขาถือว่าไม่ต้องจุติแปรผันต่อไปอีก วิธีทรมานกายต่างๆ
ดังกล่าวมานี้แลได้แก่ทุกรกิริยา

และเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเมื่อแรกทรงผนวช ก็เห็นจะ
เป็นเพราะพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าขนบธรรมเนียมได้รับความนิยมนับถือของ
คนทุกๆชั้น ที่สุดพระเจ้าสุทโธทนพระพุทธบิดาก็ทรงนิยม ด้วยปรากฏว่า
ได้ทรงอัญเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนเข้าไปเลี้ยงในวัง เมื่อวันทรงขนานพระนาม
พระราชโอรสเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าเองเมื่อยังทรงพระเยาว์ ก็ทรงอบรมศึกษา

วิชาในสำนักดาบสผู้เป็นชาติพราหมณ์อยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพระองค์ก็
ย่อมจะทรงทราบว่าลัทธิของพรหมณ์ย่อมมีคุณนิยมนับถืออยู่มาก เมื่อคนหมู่
มากพากันนิยมประพฤติตาม ก็น่าจะมีผลอยู่บ้าง เหตุนี้เมื่อทรงเบื่อหน่ายต่อ
เพศฆราวาส เสด็จออกทรงบรรพชา จึงได้ทรงลองบำเพ็ญทุกรกิริยา และทรง
กระทำอย่างจริงจัง เวลาล่วงไปถึง ๖ ปี แต่พระองค์มีพระนิสัยไม่งมงาย ไม่

หลับตาเชื่ออย่างเขาทั้งหลาย ซึ่งปรากฏว่าเขากระทำกันอยู่ตลอดชีวิตโดยมาก
ทรงเห็นว่าการทรมานร่างกาย ไม่เป็นทางให้ได้ประสบผลดังทรงมุ่งหวัง จึง
ทรงเปลี่ยนวิธีมาทรมานพระหฤทัย ที่สุดก็ได้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ต้องเกิดแก่เจ็บตามสมพระประสงค์

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แท้จริงการที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำทุกรกิริยามาในเบื้องต้น ก็ไม่เป็น
การไร้ผลเสียทีเดียว เมื่อถึงคราวตรัสสอนผู้ที่มีความนิยมฝังอยู่ในปฏิปทาทั้ง
๒ สายนั้น พระองค์ก็ทรงชี้แจงโทษให้ฟัง โดยอ้างการกระทำของพระองค์
เป็นพยานแรกโปรดพระปัญจวัคคีย์ภิกษุพระองค์จึงสามารถถอนความเชื่อ
ซึ่งท่านทั้ง ๕ นั้น เห็นดิ่งอยู่ในผลของการทรมานกายขึ้นเสียได้โดยง่าย, ให้
กลับใจมาดำเนินในปฏิปทาสายกลางคือมรรค ๘ ประการได้สมพระพุทธ
ประสงค์

เหตุนี้การทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา จะจัดว่าเป็นการทรงอบรมบารมีดังที่
กล่าวในปัญหานี้น่าจะได้)
ม. ก็ทำไม ท่านจึงไม่รอให้บารมีแก่กล้าเสียก่อนแล้วจึงเสด็จออกบรรพชาเล่า

น. เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นหมู่ชนที่เกิดมา พากันแก่เจ็บตายไปเล่า
หาได้ทำชีวิตให้เป็นประโยชน์เท่าไรไม่ ยิ่งในหมู่ชนที่มั่งคั่ง ซึ่งโดยมากมีสตรี
บำเรอทั้งกลางวันกลางคืน หมักหมมไปด้วยอารมณ์อันล่อให้หลงและมัวเมา
ก็ยิ่งทำให้ชีวิตหมันหนักเข้า เมื่อทรงพิจารณาเห็นดังนี้ ก็ทรงเบื่อหน่ายในการ

ถือเพศเป็นผู้ครองเรือน ทรงเห็นบรรพชาเป็นอุบายที่จะให้ห่างจากอารมณ์นั้นๆ
ได้ และเป็นช่องทางที่จะให้บำเพ็ญปฏิปทา อันเป็นประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น
ทำชีวิตให้มีผลไม่เป็นหมัน ขอถวายพระพร เนื่องด้วยพระองค์ ทรงเบื่อหน่าย
เพศฆราวาสและทรงเห็นคุณแห่งบรรพชาเพศเช่นนี้แล จึงรีบเสด็จออกบรรพชา

ขอถวายพระพร ในขณะเมื่อพระองค์ ทรงเบื่อหน่ายและดำริจะเสด็จออก
บรรพชาอยู่นั้นมีพระยามารตน ๑ (พระยามารในที่นี้ ถ้าจะว่าโดยธรรมาธิษฐาน
ก็น่าจะได้ การที่พระองค์ทรงนึกไปถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์) ทราบ
พระดำริดังนั้น จึงรีบมาห้ามปรามว่า อย่าทุกข์ไปเลยอีก ๗ วัน ท่านก็จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ์ แต่พระองค์หาทรงยินดีตามถ้อยคำของพระยามารไม่ เพราะ

ทรงเบื่อหน่ายและทรงตัดบ่วงซึ่งเคยผูกรัดพระองค์ได้เด็ดขาดแล้ว
ม. นี่เธอ ห่วงผูกรัดสัตว์โลกมีอยู่เท่าไร คืออะไรบ้าง
น. มี ๑๐ คือ มารดา ๑ บิดา ๑ บุตร ๑ ภรรยา ๑ ญาติ ๑ มิตร ๑ ทรัพย์ ๑
ลาภสักการะ ๑ อิสริยยศ ๑ กามคุณ ๑ ขอถวายพระพร ห่วง ๑๐ ห่วงนี้แล
คล้องสัตว์โลกไว้ไม่ให้ดิ้นออกจากกองทุกข์ได้

ม. แม้จะตัดห่วงได้ขาดแล้ว แต่เมื่อบารมียังไม่แก่กล้าก็ควรจะรอไปก่อน
จะไม่ได้หรือ
น. ขอถวายพระพร โลกย่อมดูหมิ่นบุคคล ๑๐ จำพวกนี้ คือ ๑) หญิงหม้าย
๒) ผู้ไร้ญาติมิตร ๓) คนมีค่าตัวมาก ๔) คนทุพพลภาพ ๕) คนเจ็บ
๖) คนคบคนชั่วเป็นมิตร ๗) คนจน ๘) คนขัดสนอาหาร ๙) คนเกียจคร้าน
๑๐) คนแก่ ขอถวายพระพร พระมหาบุรุษเจ้าทรงคำนึงถึงบุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล้ว
ทรงเห็นว่าพระองค์ไม่ควรจะเป็นเช่นเขาทั้งหลายเหล่านั้น ควรจะหาโอกาส
รีบประกอบความเพียร ไม่ควรจะประมาทอยู่ เหตุนี้พระองค์จึงรออยู่ไม่ได้

ม. เมื่อพระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยาไม่ได้รับผลสมพระประสงค์แล้ว
ทรงเฉลียวพระหฤทัยว่า ชะรอยหนทางตรัสรู้จะมีโดยประการอื่นนั้น เป็นด้วย
พระองค์เผลอไปหรืออย่างไร

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร บุคคลจะเป็นผู้มีกำลังใจน้อยมีปรกติอ่อนแอก็ด้วย
เหตุ ๒๕ ประการคือ ๑) ความโกรธ, ๒) ความผูกโกรธ, ๓) ความลบหลู่คุณ
ท่าน, ๔) การตีเสมอท่าน, ๕) ความริษยา, ๖) ความตระหนี่, ๗) มายา,
๘) โอ้อวด, ๙) หังดื้น, ๑๐) แข่งดี, ๑๑) ถือตัว, ๑๒) ดูหมิ่นท่าน, ๑๓) มัวเมา,
๑๔) ความประมาท, ๑๕) ความง่วงเหงาหาวนอน, ๑๖) ความเพลิดเพลิน,
๑๗) เกียจคร้าน, ๑๘) อ่อนแอ, ๑๙) คบคนชั่วเป็นมิตร, ๒๐) รูป, ๒๑) เสียง,

๒๒) กลิ่น, ๒๓) รส, ๒๔) โผฎฐัพพะ, ๒๕) ความหิวความระหาย
ขอถวายพระพร ก็พระมหาบุรุษทรงผ่อนการเสวยพระอาหารลงโดยลำดับ
จนไม่มีพระกำลัง แม้ทรงพยายามถึงปานนั้นก็ยังไม่ประสบผลสมพระประสงค์
พระองค์จึงทรงท้อพระหฤทัยที่จะบำเพ็ญต่อไปอีก และทรงเฉลียวพระหฤทัยว่า
ทางตรัสรู้อาจจะมีโดยเหตุอื่น ทรงใคร่ครวญถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ ได้ทรงผ่าน

มาแล้วแต่หนหลัง ทรงนึกสาวไปถึงคราวเมื่อพระองค์เป็นพระราชกุมารเสด็จ
ประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นหว้าทรงสงบระงับอารมณ์ทั้งหลาย สำรวมจิตมีอารมณ์
เป็นอันเดียวเกิดผลแยบคาย จึงทรงสันนิษฐานว่า นี้อาจจะเป็นทางตรัสรู้ ต่อแต่
นั้นมา ก็เริ่มทรงบำรุงร่างกายให้เป็นปกติทรงฝึกหัดพระหฤทัยไม่ให้ดิ้นรนเป็น
สมาธิจิต

ขอถวายพระพร เป็นด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล หาใช่เป็นด้วยพระองค์ทรง
เผลอไปไม่
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบทุกรกิริยาปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญกับบาป ไหนจะมีกำลัง
กว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร บุญมีกำลังมากกว่า
ม. จะไม่เป็นเช่นนั้นสิเธอ ตามที่ได้ยินได้เห็นมา คนทำบาปย่อมได้รับผล
ในปัจจุบัน
น. ขอถวายพระพร มี
ม. ใครบ้าง
น. คือ ๑ พระเจ้ามันธาตุราช ๒ พระเจ้าเนมิราช ๓ พระเจ้าสาธีนราช
๔ นายติณบาล

ม. ที่เธอว่านี้ดึกดำบรรพ์นัก ว่าเฉพาะในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
นี้ มีบ้างหรือไม่

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร มี คือ นายปุณณกะ ผู้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระ
สารีบุตร แล้วได้รับตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้น ๑, นางโคปาลมาตา ถวาย
บิณฑบาตแก่พระมหากัจจายนเถร แล้วได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าอุเทนในวันนั้น ๑, นางสุปปียาอุบาสิก เถือเนื้อของตนแกงถวายพระ
ภิกษุไข้ ถึงวันที่ ๒ แผลก็หายสนิทไม่มีแผลเป็นเลย ๑, นางมัลลิกาถวาย

อาหารบิณฑบาตแก่พระพุทธเจ้าแล้วได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าโกศลในวันนั้น ๑ นายสุมนมาลาการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก
มะลิ ๘ กำมือ แล้วได้ทรัพย์สมบัติมากมายในวันนั้น ๑, เอกสาฏกพราหมณ์
บูชาพระพุทธเจ้าด้วยผ้าห่ม แล้วได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติต่างๆ ๑,
ขอถวายพระพร ชนเหล่านี้ได้รับผลแห่งบุญกุศลในปัจจุบันทั้งนั้น

ม. ถึงเช่นนั้น ก็มีเพียง ๖ คนเท่านั้น ส่วนคนทำบาปต้องได้รับ
โทษทัณฑ์ในปัจจุบันนับได้ตั้งร้อยตั้งพัน ดูก่อนพระนาคเสน อสทิสทาน
(อสทิสทาน คือทานที่ไม่มีคราวไหนจะเปรียบได้ตามเรื่องว่า พระเจ้าโกศล
กับชาวพระนครทรงบำเพ็ญและทำทานแข่งกัน ต่างฝ่ายต่างทวีขึ้นไปโดย

ลำดับ ที่สุดพระเจ้าโกศลทรงบำเพ็ญเกินวิสัยที่ชาวพระนครจะทำตามพระองค์
ได้คือทรงบริจาคพระราชทรัพย์ถึง ๑๔ โกฏิ และสิ่งของซึ่งมีค่าอีกมากมาย)
ที่พระเจ้าโกศลราชทรงบริจาคในพระพุทธศาสนา เธอก็ทรงทราบดีแล้วมิใช่หรือ
น. ขอถวายพระพร

ม. หลังจากทรงบำเพ็ญทานแล้ว พระเจ้าโกศลได้ทรงรับยศศักดิ์หรือ
ทรัพย์สมบัติซึ่งเป็นผลของทานในทันทีนั้นอย่างไรบ้างหรือไม่
น. ขอถวายพระพร หามิได้
ม. เป็นเช่นนี้แล ข้าพเจ้าจึงค้านเธอว่าบาปมีผลแรงกว่าบุญ
น. ข้าเบาทำได้รับผลเร็ว แต่ได้ผลน้อย ข้าหนักทำได้รับผลช้า แต่ได้ผลมาก
ขอถวายพระพร นี่พระองค์จะทรงเห็นว่าอย่างไหนผลมากน้อยกว่ากัน

ม. ก็ข้าวหนักสิเธอได้รับผลมาก
น. บุญบาปก็เป็นเช่นเดียวกันนี้แล คือ บุญมีผลมากกว่าแรงกว่าจึงได้ผลช้า
ส่วนบาปมีผลน้อยกว่าเบากว่า จึงให้ผลเร็ว
ม. ข้าพเจ้าจะเปรียบให้เธอฟังบ้าง ทหารคนใดสามารถจักศตรูได้โดยเร็ว
พลันทหารคนนั้นชื่อว่าเป็นผู้องอาจแกล้วกล้ามีกำลังมากกว่า นี่เธอสิ่งที่แปร
ไปเร็วให้ผลเร็ว ก็เพราะว่าสิ่นนั้นเป็นสภาพที่มีกำลังเช่นกับทหารผู้กล้าหาญ
นั้นแล พึงดูตัวอย่างเช่นคนที่ฆ่ามนุษย์หรือลักทรัพย์เขา ในเวลานั้นแลเจ้า
พนักงานจะต้องจับเอาตัวมาเพื่อลงโทษทันที

น. นั่นถูกทำโทษตามกฎของบ้านเมืองเพราะการกระทำนั้นๆ เป็นความผิด
ที่พระราชบัญญัติได้ระบุไว้ และจะจัดว่าเป็นโทษของบาปก็ถูก ขอถวายพระพร
แต่ว่านี้พระองค์ทรงยกมาด้วยมีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่า บาปกำลังมาก
กว่าบุญนั้นไม่ได้ เพราะการทำบุญกฎหมายมิได้ระบุผลที่จะพึงได้รับไว้ ฉะนั้น
จึงไม่มีทั่วไปว่า คนทำบุญได้รับผลทันทีเหมือนคนทำบาป ขอถวายพระพร

ถ้าพูดถึงกาลข้างหน้าบุญเป็นให้ผลแรงกว่าบาป ตัวอย่างความข้อนี้ เช่นพระ
องคุลิมาล ซึ่งตามประวัติปรากฏว่า ท่านฆ่ามนุษย์เสียจำนวนร้อยครั้นท่านบรรลุ
พระอรหัตตผลแล้ว บาปนั้นก็ตามท่านไม่ทัน เพราะพระอรหัตตผลซึ่งเป็นตัว
บุญกางกั้นไว้เสีย
ม. พอฟังได้
จบกุสลากุสลานํพลวาปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน การที่ทายกทำบุญให้ทาน
แล้วแผ่ส่วนบุญอุทิศส่งไปยังญาติมิตรที่ตายไปแล้วนั้น ญาติมิตรนั้นๆ จะได้
รับผลแห่งบุญกุศลทุกคนหรืออย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ทุกคนได้รับเฉพาะแต่ญาติมิตร
ที่ไปเกิดเป็นเปรตจำพวกปรทัตตูปชีวีเปรตเท่านั้น นอกจากพวกนี้แล้ว เป็น
อันไม่มีโอกาสที่จะได้รับผลแห่งบุญกุศลนั้นๆ

ม. ก็ถ้าญาติมิตรของทายกมิได้ไปเกิดเป็นเปรตจำพวกนั้นเลย ผลแห่ง
บุญกุศลนั้นๆ จะมิสูญไปเสียหรือ
น. ขอถวายพระพร ไม่สูญ.
ม. ถ้าไม่สูญ ใครจะได้รับ
น. ขอถวายพระพร ก็ทายกนั้นแลเป็นผู้ได้รับ
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง

น. เจ้าถิ่นจัดอาหารไว้รับแขก ก็ถ้าแขกไม่ได้บริโภคอาหารนั้นๆ
จะพึงเป็นของใคร
ม. ก็เป็นของเจ้าถิ่นสิเธอ
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ทำบุญให้ทานแล้วแผ่ส่วน
บุญอุทิศส่งไปยังญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ถ้าญาติมิตรไม่ได้อยู่ในจำพวกที่มี
โอกาสจะได้รับผลแห่งบุญกุศลที่อุทิศไปให้ไซร้ ผลบุญนั้นๆ ก็ไม่สูญ

คงเป็นของแห่งผู้ทำบุญให้ทานเช่นเดียวกันนั้นแล ขอถวายพระพร
อัตนการแผ่ส่วนบุญอุทิศให้นี้ ย่อมเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลยิ่งขึ้นอีก
ส่วนหนึ่งด้วย เพราะว่าการอุทิศให้นั้นกอบด้วยผู้อุทิศมีเจตนามุ่งบูชา
บุญคุณท่านหรือมีเมตตากรุณาในผู้ที่ตายไปแล้ว

อาศัยเหตุผลที่บุญยังคงเป็นของแห่งทายกและเพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกเช่นนี้แล
ผลบุญที่อุทิศส่งไปให้นั้นจึงจัดว่าสูญไม่ได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบเปตอุททิสสผลปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ส่วนบุญอุทิศให้กันได้
ก็ส่วนบาปเล่า จะอุทิศให้กันได้หรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ได้
ม. เป็นด้วยอะไรจึงไม่ได้
น. ขอถวายพระพร เป็นด้วยบาปมีผลบีบคั้นหัวใจทำใจให้หดหู่ เมื่อเป็นเช่นนี้
บาปก็มีวงอันแคบ มีผลจำกัด แบ่งให้ผู้อื่นทั่ว ๆไปไม่ได้ ผู้ใดกระทำก็เฉพาะผู้นั้น
เท่านั้น ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลของบาป

ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. หยดน้ำอันน้อย หยดลงที่พื้นดิน ขอถวายพระพร หยาดน้ำนั้จะทำให้
พื้นดินซึมซาบทั่วไปได้หรือไม่
ม. ไม่ได้สิเธอ หยดที่ไหนก็ซึมซาบเฉพาะที่นั่น
น. เป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะหยาดน้ำนั้นมีน้ำอยู่น้อย

น. บาป ซึ่งมีผลจำกัด ก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกันกับหยาดน้ำอันน้อยนี้แล
เมื่ออุทิศให้ผู้อื่น จึงไม่ซึมซาบไปได้ ขอถวายพระพร ก็ถ้าเป็นน้ำฝน แผ่นดิน
ย่อมจะซึมซาบได้มากมายมิใช่หรือ
ม. ก็อย่างนั้นซิเธอ เพราะน้ำฝนเป็นของมาก จึงทำให้แผ่นดินชุ่มชื้นได้มาก
น. นั่นแลฉันใด แม้บุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือมีผลเอิบอาบใจปลูกความ
ชุ่มชื่นอยู่ทุกขณะจิต เมื่อมาอุทฺสให้กันจึงซึมซาบไปถึง
ม. เพราะเหตุผลเป็นอย่างไร บาปกับบุญจึงได้ต่างกันเช่นนั้น

น. เพราะบาปมีผลเป็นทุกข์ระกำใจไม่ชวนให้กระทำต่อไป ทำใหผู้กระทำ
เกิดความระอาท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นอันว่ามีเหตุผลจำกัด มีทางขยายตัว
ออกได้น้อย ส่วนบุญมีผลเป็นสุขเย็นกายเย็นใจ ผู้กระทำเกิดความเอิบอิ่มใจ
อยู่ทุกขณะจิต คือ ขณะจะทำใจก็สบายขณะทำอยู่ใจก็เพลิดเพลินทำแล้วใจ
ก็เบิกบาน และเพิ่มพูนความปราโมทย์ขึ้นทุกขณะที่นึกถึง เป็นอันว่า มีผล
ขยายตัวออกไปได้เสมอ เหมือนก้อนหินตกลงไปในน้ำ ย่อมทำให้กระแสน้ำ
กระจายออกไปทุกทีฉะนั้น

ขอถวายพระพร เนื่องด้วยมีเหตุมีผลเป็นเช่นนี้ บุญกับบาปจึงต่างกันเช่นนั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบกุสลากุสลมหันตามหันภาวปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนที่นอนฝันเป็นเพราะอะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นเพราะลมกำเริบ ๑, เพราะดี
กำเริบ ๑, เพราะเสมหะกำเริบ ๑, เพราะเทวดาสังหรณ์ ๑, เพราะอารมณ์ที่แนบ
อยู่กับจิต ๑, เพราะบุรพนิมิต ๑, ขอถวายพระพร ใน ๖ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือยิ่งกว่า เป็นเหตุให้คนเรานอนฝัน และฝันเพราะบุรพนิมิต เป็นฝันที่แน่นอน
ม. ขณะเมื่อจะฝัน เป็นด้วยนิมิตผ่านเข้าไปหาจิตหรือเป็นด้วยจิตไปยึดเอา
นิมิตมาฝันหรือมีใครมาบอก

น. ขอถวายพระพร เป็นด้วยนิมิตผ่านเข้าไปหาจิตหาใช่เป็นด้วยอย่างอื่นไม่
เปรียบเหมือนเงาที่กระจก นิมิตได้แก่เงา จิตได้แก่กระจกฉะนั้น
ม. ขณะเมื่อฝันหลับหรือตื่น

น. มิใช่ขณะหลับหรือตื่น ขณะใดที่จิตจะก้าวลงสู่ภวังค์ หรือก้าวมาจากภวังค์
ขณะนั้นแลเป็นเวลาที่จะฝันขอถวายพระพร คนหลับ ๑ ท่านที่เข้านิโรธสมาบัติ ๑
จิตไม่หวั่นไหวจิตก้าวลงสู่ภวังค์ เมื่อเป็นดังนั้น นิมิตก็ผ่านเข้าไปไม่ถึงจิตเหมือน
แสงพระอาทิตย์ เมื่อมีเมฆหมอกเป็นต้น มาปิดบังเสียก็ส่องแสงมายังเราได้น้อย
หรือไม่ถึงเลยฉะนั้น ส่วนคนตื่นอยู่จิตขุ่นมัวไม่แน่วแน่ ไม่เป็นปรกติ นิมิตเดินไป
ไม่ถึงจิตเช่นเดียวกัน

ม. นี่เธอ เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งความหลับมีหรือไม่
น. มี คือขณะเมื่อร่างกายบางส่วนพักผ่อนหยุดการทำงานนี้เป็นเบื้องต้น
ขณะเมื่อจิตหลับม่อยไปดุจวานรหลับนี้เป็นท่ามกลาง ขณะเมื่อหลับสนิทจิต
ก้าวลงสู่ภวังค์ นี้เป็นสุดแห่งความหลับ ขอถวายพระพร ท่ามกลางแห่งความ
หลับนั้นแล เป็นเวลาที่จะฝัน
ม. เข้าใจ
จบสุปินปัญหา

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์ทุกจำพวกต่อเมื่อถึง
วาระจึงตายหรือว่าไม่ถึงวาระก็ตายเหมือนกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ย่อมีทั้ง ๒ ประเภท
ม. เป็นอย่างนั้นหรือเธอ
น. ขอถวายพระพร พระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นผลไม้ซึ่งหล่นจาก
ต้นบ้างหรือไม่

ม. ก็เคยเห็นอยู่บ้าง
น. ผลไม้ที่หล่นจากต้นนั้นๆ ขอถวายพระพร มีแต่สุกอย่างเดียวหรือดิบก็มี
ม. สุกก็มีดิบก็มี
น. ผลที่สุกแล้วไม่มีปัญหา แต่ที่ยังดิบอยู่เป็นเพราะอะไรจึงหล่น
ม. เป็นเพราะถูกหนอนไชบ้าง นกจิกกินเล่นบ้าง ถูกลมแรงพัดหล่นบ้าง
น. ขอถวายพระพร นี่ก็เป็นเช่นเดียวกันนั้นแล ผู้ที่ตายโดยถึงอายุขัย ชื่อว่า
ตายโดยถึงวาระ ส่วนนอกจากนี้จะตายเพราะเหตุไร ก็ตามซึ่งนอกจากเพราะ
ผลกรรม ชื่อว่าตายโดยยังมิถึงวาระ

ม. แต่ความเห็นของข้าพเจ้ามีอยู่ว่า จะตายเมื่อไรหรือเพราะประการไร
ก็ตาม ชื่อว่าตายโดยถึงวาระทั้งนั้น
น. ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นนั้นไม่ อาตมภาพจะแจงประเภทบุคคล
ที่ตายก่อน ถึงวาระมาถวายเป็นตัวอย่าง คนทนความหิวไม่ไหวตาย ๑ คน
ทนความระหายไม่ไหวตาย ๑ คนถูกงูกัดตาย ๑ คนกินยาพิษตาย ๑ คนถูกไฟ

ลวกตาย ๑ คนตกน้ำตาย ๑ คนถูกประทุษร้ายด้วยศัสตราวุธตาย ๑ คน ๗
จำพวกนี้แม้จะตายเมื่อมีอายุมากแล้ว ก็จัดว่ายังไม่ถึงวาระเพราะความตายนั้นๆ
เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ ขอถวายพระพรก็เหตุที่จะให้ความตายเกิดมีขึ้นนั้น มีอยู่
๘ ประการ คือ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑) เพราะโรคมีลมเป็นสมุฏฐาน
๒) เพราะโรคมีดีเป็นสมุฏฐาน
๓) เพราะโรคมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
๔) เพราะโรคมีสันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
๕) เพราะความเปลี่ยนแปลงของฤดู
๖) เพราะบริหารอิริยาบถไม่เสมอ
๗) เพราะความเพียรของผู้อื่น
๘) เพราะผลของบุพกรรม

ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายเพราะเหตุ ๗ ประการเบื้องต้นแม้แต่ประการใด
ประการหนึ่งชื่อว่า ตายยังไม่ถึงวาระ ส่วนผู้ที่ตายเพราะเหตุประการที่ ๗ คือ
ผลของบุพกรรม จัดว่าตายเพราะถึงวาระ

ม. ถ้าเธอเอาผลของบุพกรรมมาว่าเช่นนั้น ผู้ที่ตายโดยยังไม่ถึงวาระเป็น
ไม่มีแน่ เพราะเหตุแห่งความตายทั้ง ๗ ข้างต้นนั้น ก็จัดว่าเป็นผลอันหนึ่งๆ
ของบุพกรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะตายด้วยประการไรก็ตาม ชื่อว่าตายโดย
ถึงวาระทั้งนั้น
น. อาตมภาพจะยกตัวอย่างมาเปรียบถวาย เหมือนไฟที่ดับเพราะสิ้นเชื้อ
ชื่อว่าดับไปตามวาระมิใช่หรือ
ม. ใช่

น. ก็ถ้าไฟยังลุกโชนอยู่ แต่เผอิญมีฝนตกลงมาจนไฟดับมอด นั่นจะชื่อว่า
ไฟดับตามวาระได้หรือไม่
ม. ไม่ได้
น. เป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะไฟยังมีเชื้ออยู่ ตามปรกติก็ยังลุกต่อไปได้อีก แต่ที่ต้องดับลง
ในระหว่างก็เพราะถูกน้ำฝนตกลงมารด

น. ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายเพราะเหตุ ๗ ประการเบื้องต้นนั้น ก็เป็นเช่น
เดียวกับไฟที่ดับลงในระหว่างที่ยังมีเชื้ออยู่นั้นเพราะว่าถ้าไม่มีเหตุเช่นนั้น
จรมาบั่นทอนชีวิตลงในระหว่างแล้วอายุก็ย่อมจะยืนยาวต่อไปได้จนถึงอายุขัย
ขอถวายพระพรเหตุนี้ผู้ที่ตายเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างข้างต้น
จึงจัดว่ายังไม่ถึงวาระ ส่วนผู้ที่ตายเพราะผลบุพกรรมตามมาสนอง และทั้งมีอายุ
เข้าปูนชราซึ่งนับว่าสิ้นเชื้อแล้ว จึงจัดว่าตายโดยถึงวาระ
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบกาลากาลมรณปัญหา

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ปาฏิหาริย์ย่อมเกิดมีตรง
ที่ที่เผาพระอรหันต์ทุกคราวไปหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร บางคราวก็มีบางคราวก็ไม่มี
ม. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเล่าเธอ
น. เพราะว่าปาฏิหาริย์จะมีขึ้นได้ต้องต่อเมื่อบุคคล ๓ จำพวก ได้อธิษฐาน
ให้มี
ม. บุคคล ๓ จำพวกนั้นได้แก่ใครบ้าง

น. ได้แก่ ๑) ตัวพระอรหันต์เอง ก่อนแต่นิพพานท่านได้อธิษฐานไว้ ด้วยมี
ความประสงค์จะอนุเคราะห์เทวกาและมนุษย์ทั้งหลาย
๒) เหล่าเทวดาพากันเอ็นดูพวกมนุษย์ จึงตั้งอธฺษฐานด้วยมีความประสงค์
จะให้พระสัทธรรมเป็นของน่าประคอง
๓) ผู้มีจิตศรัทธามีปัญญาแก่กล้าอธิษฐาน
ขอถวายพระพร ถ้าในบุคคล ๓ จำพวกนี้ไม่มีใครได้อธิษฐาน ปาฏิหาริย์ก็ย่อม
ไม่มี
จบปรินิพพุตานํ เจติเย ปาฏิหาริยปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2019, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนทุกคนถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติ
ชอบแล้ว ย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้นหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ทั้งนั้นมีบางจำพวกซึ่งแม้จะ
ปฏิบัติดีสักเท่าไร ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้บรรลุ
ม. พวกนั้นได้แก่ใครบ้าง
น. ขอถวายพระพร ได้แก่คนเหล่านี้ คือ -
(๑) คนมิจฉาทิฐิ
(๒) คนกระทำอนันตริยกรรม ๕ (ฆ่ามารดา ๑, ฆ่าบิดา ๑, ฆ่าพระอรหันต์ ๑,

ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต ๑, ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ๑, ) แม้อย่างใด
อย่างหนึ่ง
(๓) คนปลอมเพศเป็นพระภิกษุ
(๔) พระภิกษุกลับไปถือลัทธิอันผิด
(๕) คนประทุษร้ายนางภิกษุณี
(๖) พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้อยู่กรรม
(๗) คนบัณเฑาะว์ (กะเทย)

(๘) คนอุภโตพยัญชนก (คนปรากฏทั้ง ๒ เพศ )
(๙) สัตว์เดียรฉาน
(๑๐) เปรต
(๑๑) เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ
ม. สิบพวกข้างต้นนั้น ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ตามที แต่เหตุไฉน
เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบ จึงไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเล่า

น. เหตุว่าเด็กอายุเพียงเท่านั้น จิตยังไม่มีแนวความคิดที่จะให้เกิด
ความรู้สึกว่า ผลของความดีและความชั่วมีอยู่อย่างไร เมื่อไม่รู้จักผลก็
ไม่เกิดความคิดที่จะให้สาวไปหาเหตุแห่งผลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
กำลังใจก็มีไม่พอที่จะให้ก้าวไปหามรรคผลนิพพานได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. ภูเขาสิเนรุ บุรุษพึงพยายามให้กำลังแรงของตนยกเอามา จะไหว
หรือไม่

ม. ภูเขาใครจะไปยกไหวเล่าเธอ
น. ขอถวายพระพร นั่นเป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะกำลังมีไม่พอกันน้ำหนักแห่งภูเขา
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่เด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบไม่ได้
บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ก็เพราะว่ากำลังใจมีไม่พอกับน้ำหนักแห่งมรรคผล
นิพพานเช่นเดียวกันแล ขอถวายพระพร พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

อนาคามิผล อรหัตตผล ทั้ง ๔ อย่างนี้กับพระนิพพานเป็นธรรมที่เผล็ดมาจาก
เหตุคือมรรค ๔ ก็เมื่อเด็กอายุเพียงนั้นยังไม่มีความคิดที่จะหยั่งลงไปสาวหา
ผลได้ดังนั้นแล้ว ไฉนเลยจะมีโอกาสได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเหตุ
และผลของกันได้เล่าถึงว่าจะได้อบรมบารมีมาแก่กล้าแล้ว และได้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบเพียงไรก็ตาม ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบเอกัจจาเนกัจจานํธัมมาภิสมยปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร