วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๓
แห่งร่มนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาร่ม
๑. ย่อมกางกั้นอยู่บนศีรษะ
๒. เป็นของบำรุงศีรษะ
๓. ย่อมกันลมแดดและฝนได้ฉันใด
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติก็ต้องทำตนฉันนั้นเหมือนกัน คือ
๑. ต้องอยู่เหนือจอมแห่งกิเลสทั้งหลาย

๒. ต้องบำรุงโยนิโสมนสิการ
๓. ต้องกันลมคือความสำคัญผิด กันแดดคือราคะ โทสะ โมหะ และกันฝน
คือ กิเลสทั้งหลายเสีย ดังภาษิตที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ร่มที่ไม่ขาดไม่ทะลุ
ย่อมกันลม กันแดด กันฝนได้ ฉันใด พุทธบุตรก็ต้องเป็นฉันนั้น คือกันลมและ
แดดคือราคะ โทสะ โมหะและกันฝนคือกิเลสทั้งหลายเสีย
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบละ

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๕
แห่งนานั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดานา
๑. ย่อมมีเหมืองสำหรับไขน้ำ
๒. มีคันเพื่อกั้นน้ำไว้เลี้ยงข้าวกล้า
๓. สมบูรณ์ด้วยรวงข้าวอันงอกงาม ทำให้เจ้าของเกิดความชื่นชมยินดี
เหตุว่าพืชพันธุ์ที่หว่านแม้น้ำยก็เกิดผลมากมาย

ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องทำตนเช่นนั้นเหมือนกัน คือ
๑. ต้องเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหมืองคือ สุจริตธรรมและข้อปฏิบัติน้อยใหญ่
๒. ต้องเป็นผู้คันคือความละอายบาป เพื่อป้องกันสามัญคุณไว้
๓. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความหมั่นให้เกิดผลอันไพบูรย์แก่พวกทายกทายิกา
ยังความร่าเริงให้เกิดขึ้น ถึงน้อยก็ได้ผลมาก ดังเถรภาษิตที่พระอุบาลีกล่าวไว้ว่า
อันพุทธบุตรย่อมเป็นเช่นเดียวกับนา มีความหมั่น ผลิตผลอันไพบูลย์ เหตุนี้จึง
เป็นเนื้อนาอันเลิศ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งยานั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ยา
๑. หนอนย่อมไม่มีอยู่ในนั้น
๒. ย่อมกำจัดพิษสัตว์กัดเป็นต้นได้
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติก็ต้องเป็นฉันนั้น คือ
๑. ต้องไม่ให้มีกิเลสสิงอยู่ในใจ

๒. ต้องกำจัดพิษคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฐิเสีย ดุจพุทธภาษิตว่า
ผู้บำเพ็ญเพียรใคร่เห็นความจริงแห่งสังขารพึงเป็นเช่นยา เพราะยังพิษคือ
กิเลสให้พินาศ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๒
แห่งโภชนะนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อันโภชนะ
๑. เป็นของบำรุงสัตว์
๒. ให้เกิดกำลัง
๓. สัตว์ทุกจำพวกย่อมปรารถนา
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องกอปรด้วยคุณสมบัติเช่นนี้แล คือ
๑. ต้องอุปถัมภ์หมู่สัตว์
๒. ต้องให้เกิดกำไรคือบุญกุศล

๓. ต้องเป็นผู้อันโลกทั้งปวงปรารถนาดังเถรภาษิตที่พระโมฆราชกล่าวว่า
ผู้ปฏิบัติพึงเป็นผู้อันหมู่โลกปรารถนาด้วยความสำรวม ความกำหนด ศีล และ
ข้องปฏิบัติ
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๔
แห่งนายขมังธนูนั้น เป็นไฉน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ธรรมดานายขมังธนู
๑. เมื่อจะยิงก็ยันเท้าทั้งสองกับพื้นให้มั่น เก็งเข่ามิให้ไหวตัวได้ ตั้งกายให้
เป็นหลักมือทั้ง ๒ น้าวคันธนูมาจับไว้ให้มั่นเอาลูกศรไว้ในระหว่างนิ้มมือ เล็ง
ให้เที่ยงตรง ดีใจว่าจะได้ยิง
๒. แสวงหาไม้ง่ามไว้สำหรับดัดลูกศรที่คดค้อมให้เที่ยงตรง

๓. เล็งให้ถูกที่หมาย
๔. หัดยิงในเวลาเช้าเย็นเป็นเนืองนิตย์
ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติต้องกอปรด้วยองคคุณเช่นนายขมังธนูนี้
เหมือนกัน คือ
๑. ตั้งเท้าคือความเพียรไว้บนแผ่นดิน คือศีลให้มั่นคง ถือขนติโสรัจจะ
มิให้หวั่นตัวได้ ตั้งจิตไว้ในสังวร กำจัดความยินดียินร้ายเสีย พึงทำ
โยนิโสมนสิการไว้ในระหว่างจิตประคองไว้ซึ่งความเพียร ปิดเสียซึ่ง
ทวารทั้ง ๖ ตั้งไว้ซึ่งสติ พึงยังความยินดีให้เกิดว่า จะยิงกิเลสเสียด้วย
ลูกศรคือปัญญา

๒. เจริญสติปัฏฐาน พยายามดัดจิตที่คดให้ตรง
๓. พิจารณาร่างกายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใช่ตัวตน
๔. ตั้งใจไว้ในอารมณ์ หมั่นพิจารณาทุกเช้าทุกเย็น ดุจภาษิตที่พระ
สารีบุตรกล่าวไว้ว่า อันนายขมังธนูย่อมหัดยิงธนูทุกเช้าเย็น เมื่อไม่เว้น
การหัดยิงก็จะได้ขวัญข้าวฉันใด แม้พุทธบุตรก็เป็นฉันนั้น ย่อมทำการ
ฝึกหัดกาย ไม่ทอดธุระเสียก็จะได้บรรลุพระอรหัตต์
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ชอบแล้ว

จบ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร