วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขอถวายพระพร แต่พระพุทธเจ้าย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ด้วย
ความที่พระองค์เป็นผู้มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่าง ๑ ด้วยความที่
พระองค์ทรงพระคุณธรรมมากอย่าง ๑ ด้วยความที่ฌานเป็นวิถีของพระอริย
ทั้งหลายอย่าง ๑ ด้วยความที่ฌานเป็นคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรง
สรรเสริญอย่าง ๑
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระ
อานนท์ว่า "อิทธิบาท ๔ ประการ (ฉันทะ ความพอใจ๑, วิริยะ ความเพียร ๑,
จิตต ความเอาใจใส่ ๑, วิมังสา การพิจารณา ๑.) ตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วและด้วยอานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทนั้น ถ้าตถาคตประสงค์
จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ตลอดกัปป์หนึ่งหรือเกินกว่ากัปป์ขึ้นไปก็อาจอยู่ต่อไป
ได้สมประสงค์" ตอนต้นตรัสไว้ฉะนี้ แต่ไฉนตอนหลังพระพุทธองค์จึงตรัสว่า

"ดูก่อนอานนท์ อีกสามเดือนตถาคตจักปรินิพพาน" นี่แลเธอพระพุทธพจน์
ทั้งสองตอนนี้ฟังดูไม่สมกันเลยเธอจะว่าอย่างไร พระพุทธพจน์ตอนหลังจึงจะ
ไม่แย้งตอนต้นนั้นได้

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ตอนหลังนั้น
พระพุทธองค์ตรัสโดยทรงกำหนดพระชนมายุ ซึ่งจะสิ้นสุดลงภายในเขต
กำหนดนั้น ส่วนตอนต้นพระองค์ตรัสด้วยมีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดง
อานุภาพแห่งการ เจริญอิทธิบาท ๔ ประการว่า สามารถจะให้สำเร็จผลได้
สมประสงค์ทุกอย่าง ซึ่งเป็นการไม่เหลือวิสัยที่สุดแม้จะให้อายุยืนยาวออกไป
อีกก็ได้

ม. อานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทอาจจะต่ออายุให้ยืนยาวได้จริงดังนั้น
ทีเดียวหรือเธอ
น. ขอถวายพระพร ต่อได้จริง
ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนพระพุทธองค์ จึงไม่เสด็จดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป
อีกเล่ามาด่วนนิพพานเสียทำไม

น. อาตมภาพจะขอทูลถามพระองค์ก่อนว่า พระองค์ทรงเชื่อความเร็ว
แห่งฝีเท้าม้า ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ซึ่งวิ่งเร็วดังลมพัดหรือไม่
ม. เชื่อสิเธอ เพราะเป็นม้าวิเศษซึ่งถึงกะได้นามว่าม้าแก้ว
น. ก็เมื่อความเจริญมีอยู่เช่นนั้น แม้พระเจ้าจักรพรรดิ์จะมิได้เสด็จขึ้นทรง
อวดคนทั้งหลายเลย ความเร็วแห่งฝีเท้าม้านั้น จะชื่อว่าเป็นอันมีอยู่หรือไม่

ม. ก็มีสิเธอ ความเร็วมีอยู่อย่างใด ก็คงมีอยู่อย่างนั้น หากแต่พระเจ้าจักรพรรดิ์
มิได้ทรงให้ดูเท่านั้น
น. ขอถวายพระพร เรื่องนี้ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้า
พระองค์จะประสงค์ดำรงพระชนม์อยู่ต่อมาให้ยืดยาว ก็อาจดำรงพระชนม์
ให้ยืดยาวต่อมาได้ ด้วยอานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทธรรม ๔ ประการนั้น

ขอถวายพระพร แต่พระพุทธองค์หามีพระประสงค์เช่นนั้นไม่ เหตุที่เป็น
ดังนั้นก็เพราะว่าพระองค์ไม่ทรงผูกพันในการที่จะมีพระชนม์อยู่ต่อมา ข้อนี้
จะพึงพิสูจน์ได้จากพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา

คูถแม้จะมีประมาณน้อยก็มีกลิ่นเหม็นฉันใด เราตถาคตไม่สรรเสริญความเกิด
แม้มีประมาณน้อยฉันนั้นเหมือนกัน" ขอถวายพระพร ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์
นี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า การมีชีวิตอยู่ได้ยืดยาว ไม่เป็นความปรารถนาของ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระพุทธองค์นัก แต่ก็ไม่ถึงกะทรงรังเกียจการมีพระชนม์อยู่ต่อไป เป็นอันว่า
พระพุทธองค์ไม่ทรงประสงค์หรือไม่ทรงเบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่อันยืดยาว
แห่งพระชนม์มายุ พระหฤทัยมิได้ทรงฝักใฝ่ในเรื่องนี้ คติธรรมดาแห่งสังขาร
มีอยู่อย่างใดก็ทรงปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบอิทธิปาทพลทัสสนปัญหา

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ว่าภิกษุทั้งหลาย
เราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งมิได้แสดงเพื่อความรู้ไม่ยิ่ง ฉะนี้นั้นมีจริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มีอยู่จริง

ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนเมื่อจวนจะนิพพานจึงจะตรัสกะพระอานนท์ว่า
"เมื่อตถาคตนิพพานแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็จงถอนเถิด"
ตามนัยนี้จะมิเป็นอันว่า สิกขาบทเล็กน้อยที่ทรงบัญญัติไว้นั้น มิได้เป็นไปเพื่อ
ความรู้ยิ่งหรือ จึงทรงอนุญาตการถอนไว้และถ้าเป็นจริงจะมิค้านกับพระพุทธ
ดำรัสต้นนั้นไปหรือ

น. ขอถวายพระพร ไม่ค้าน การที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้น
ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจพระภิกษุสงฆ์ดู เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ์
ตรัสกะพระราชโอรสในเวลาจวนจะสวรรคตว่า เขตพระราชอาณาจักรกว้างขวางมาก
นักยากแก่การปกครอง เมื่อลูกจะทอดทิ้งเสียบ้างก็ตามใจเถิด แล้วก็เสด็จสวรรคต
ขอถวายพระพรพระราชกุมารนั้นจะพึงทอดทิ้งเขตแดนซึ่งพระชนกปราบไว้ได้นั้นๆ
ทีเดียวหรือ

ม. หามิได้ ด้วยว่าธรรมดาพระมหากษัตรย์ย่อมมีความประสงค์อย่างยิ่งในการที่
จะขยายพระราชอาราเขต
น. ขอถวายพระพร นั้นแลฉันใด นี่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่พระพุทธองค์ ทรง
อนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้น ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจ
พระภิกษุสงฆ์ แต่พระหฤทัย ทรงมุ่งจะให้สงฆ์คุ้มครองรักษาสิกขาบทเล็กน้อยนั้นๆ
ไว้ด้วยความปรารถนาในข้อวัตตปฏิบัติ เพื่อขยายการบำเพ็ญออกไปเช่นเดียวกัน เมื่อ

เป็นเช่นนี้จะว่าพระพุทธพจน์ของพระองค์ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งได้อย่างไร
(คำถวายวิสัชนาของพระนาคเสนในปัญหานี้ ข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้
สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อย ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจพระภิกษุสงฆ์
แต่พระหฤทัยทรงมุ่งจะให้สงฆ์ปรารถนาในข้อวัตตปฏิบัติยิ่งขึ้นนั้น ฟังดูไม่สมกับ

พระพุทธจรรยา เพราะปฏิปทาของพระพุทธเจ้าไม่มีปรากฏที่ไหนว่า ทรงดำริอย่าง ๑
แต่ตรัสไปอีกอย่าง ๑ ยิ่งกว่านี้พระพุทธโอวาททั้งหลายจะชี้ให้เห็นว่า พระองค์เป็น
ผู้มีกายวาจาใจตรงกัน แต่ก็เหตุไฉนพระปิฏกจุฬาภัย (ท่านผู้แต่งหนังสือมิลินทปัญหานี้)

จึงได้กล่าวไว้เช่นนี้ ข้อนี้เห็นจะเป็นด้วยท่านเชื่อมั่นในอนาคตังสญาณของพระพุทธเจ้า
ว่า "พระพุทธองค์ย่อมทรงทราบว่า สงฆ์ไม่อาจถอนสิกขาบทเล็กน้อยที่ทรงอนุญาต
ไว้นั้น" เมื่อท่านคาดพระพุทธญาณตอนนี้ผิดก็เลย อ่านความประสงค์แห่งพระพุทธ
ดำรัสที่ตรัสอนุญาตไว้นั้นผิดไปด้วย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ประทานพระมติไว้ในหนังสือวินัยมุขใจความว่า
"จำนวนแห่งสิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์พอประมาณ จำนวนแห่งสิกขาบทมานอก
พระปาฏิโมกข์มีมากกว่ามากจนพ้นความใส่ใจของผู้ศึกษา นอกจากนี้ยังมีข้อปรับ
อาบัติอันพระคันถรจนาจารย์ตั้งเพิ่มเติมเข้าไว้อีก ซึ่งมากจนฟั่นเฝือเหลือที่จะประพฤติ

ให้ครบครันได้ ทั้งกาละเทศะก็เข้ามาเป็นเหตุขัดขวางด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงได้หลีก
เลี่ยงบ้าง เลิกเสียบ้าง กล่าวคือ ทนเป็นอาบัติเอาบ้าง เมื่อเลิกอย่าง ๑ ก็ชวนให้เลิก
อย่างอื่นต่อไปอีกแม้ยังไม่ถึงเวลาฯ พระศาสดาทรงคำนึงเห็นเหตุนี้มาแล้ว เมื่อ
จะนิพพานได้ประทานพระอนุญาตให้ถอนไว้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าถอนตรงๆ เพราะ
เกรงจะไม่สม่ำเสมอซ้ำยังห้ามถอนเสียเมื่อครั้งทำปฐมสังคายนาด้วย"

ความจริงของเรื่องนี้ ต้องเป็นอย่างพระมติที่ทรงประทานไว้นี้ เพราะว่าคติแห่ง
พระวินัย เมื่อกาลเทศะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว บางสิกขาบทก็ล่วงสมัย หรือขัดกับ
ความเป็นไปของภูมิประเทศบางแห่ง ข้อนี้เทียบได้กับกฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นในสมัย ๑

ในประเทศ ๑ แต่ต่อมาขัดกับสมัย ๑ หรือกับประเทศอื่น จนบางหมวดบางมาตรา
ใช้ไม่ได้อันคติของเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบตลอดเพราะพระองค์เป็น
ชาติกษัตริย์ มีทางรู้ความเป็นไปของกฎหมายได้ดีเหตุว่า พระวินัยมีคติอยู่อย่างนี้
พระพุทธองค์จึงได้ทรงประทานพระอนุญาตไว้เช่นนั้น )
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบขุททานุขุททกปัญหา

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ตรัสกะพระ
อานนท์ว่า ความรู้ทุกอย่างที่พระองค์มีอยู่ พระองค์หาได้ทรงปิดบังไม่ ได้ทรง
เปิดเผยให้แจ่มแจ้งแล้ว ทุกอย่างนั้น จริงหรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง (เรื่องเดิมของปัญหานี้มีว่า วัน
หนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ร่มเงาแห่งพระวิหารพระอานนท์จึงเข้าไป
เฝ้ากราบทูลว่า ข้าพระองค์เห็นพระองค์ทรงประชวร จิตใจหดหู่ แต่มาอุ่นใจอยู่ว่า
พระองค์ยังไม่ปรารภพระภิกษุสงฆ์และตรัสพระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่งก่อนแล้ว

ก็จักยังไม่ปรินิพพานพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ภิกษุสงฆ์ยังจะมาหวังอะไรในเราอีก
เล่า ความรู้ทุกอย่างพระองค์ได้ทรงเปิดเผยให้แจ่มแจ้งแล้ว และตรัสว่า พระองค์
มิได้ทรงรำพึงว่า ภิกษุสงฆ์ย่อมมีตัวเราเป็นที่พึ่ง ฉะนี้เลย (ข้อความตอนหลังนี้ที่เกิด
เป็นปัญหาที่ ๑๐ ในวรรคนี้ขึ้น) )

ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนเมื่อพระมาลุงกยะทูลถามปัญหาเรื่องโลกเป็นต้น
จึงไม่ทรงตอบปัญหานั้นให้พระมาลุงกยะฟังเล่า (เรื่องนี้ในพระสูตร
จูฬมาลุงกโยวาทสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก) ปรากฏว่า พระมาลุงกยะ
ทูลถามถึงทิฐิ ๑๐ ซึ่งมีความเห็นว่าโลกเที่ยงเป็นต้น และทูลพ้อว่า ถ้าไม่ทรง

พยากรณ์ก็จักไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
เมื่อพระมาลุงกยะจะมาประพฤติพรหมจรรย์ พระองค์ไม่ได้ทรงสัญญาไว้ว่า
จักแสดงทิฐิ ๑๐ ให้ฟัง )

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร อันลักษณะปัญหามีอยู่ ๔ อย่างคือ
ปัญหาที่ต้องอธิบายโดยส่วนเดียว เช่นอธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยงนี้อย่าง ๑

ปัญหาที่ต้องแยกแยะ เช่น แยกรูปออกแสดงให้เห็นเป็นส่วนๆ นี้อย่าง ๑
ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงอธิบายต่อไป เช่น ถามว่า เมื่อรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยงแล้ว จะเป็นสุข หรือทุกข์นี้อย่าง ๑

ปัญหาอีกอย่าง ๑ นั้นเป็นปัญหาซึ่งไม่ควรตอบ เพราะจะตอบก็ไม่เกิดผล
อะไรแก่ผู้ฟัง ลักษณะ ปัญหามีอยู่ ๔ อย่างฉะนี้

ขอถวายพระพร ปัญหาที่พระมาลุกยะทูลถามพระพุทธเจ้านั้น ก็อยู่ใน
เกณฑ์แห่งลักษณะปัญหาที่ ๔ และการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงนั้น ใช่ว่า
พระองค์จะทรงคิดปิดบังก็หาไม่ เหตุที่ไม่ทรงแสดงก็เป็นด้วยทรงเห็นว่า

แม้จะแสดงพระมาลุงกยะก็ไม่ได้รับผลคือสันติสุขอะไร กลับจะทำความคิด
ความเห็นของพระมหาลุงกยะ ให้ห่างจากพระอริยมรรคอริยผลไปเสียอีก
เหตุว่าปัญหาที่ถามเป็นปัญหาเดินออกนอกเขตแห่งมรรคผล
ม. เธอฉลาดว่า
จบฐปนียาพยากรณปัญหา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
สัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย ฉะนี้ แต่ไฉน
จึงตรัสว่า พระอรหันต์ย่อมไม่กลัวต่อภัยอันตรายอะไร ก็ถ้าตรัสไว้จริง
ทั้ง ๒ ประการ ดังนั้นจะมิค้านกันหรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ถ้ายกพระพุทธพจน์ทั้ง ๒ นั้น
มาเทียบกันดังพระองค์ตรัสถามฉะนี้ก็ค้านกัน แต่แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
คำว่าสัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตายนั้น พระ
พุทธองค์หาได้ทรงหมายถึงพระอรหันต์ด้วยไม่เพราะว่า พระอรหันต์ท่าน
ตัดรากแห่งความสะดุ้งความหวาดกลัวได้เด็ดขาดแล้ว

ม. เธอจงยกตัวอย่างความข้อนี้มาเปรียบให้ฟัง
น. อำมาตย์ ๔ นาย ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งไว้ให้บังคับบัญชา
ราชกิจต่างๆ ภายหลังพระมหากษัตริย์ทรงบัญชาว่า ประชาชนทั้งพระ
ราชอาณาจักรจงกระทำพลีแก่เรา ขอถวายพระพร ความสะดุ้งความกลัว
ต่อราชพลีจะพึงมีแก่ ๔ อำมาตย์นั้นบ้างหรือไม่
ม. หามิได้

น. เพราะเหตุไร
ม. เพราะอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้น พระมหากษัตริย์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
ผู้บังคับบัญชาราชกิจนั้นๆ หาได้ทรงหมายถึงเขาทั้ง ๔ นั้นด้วยไม่

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006 s006 เอ่??

ในมิลินท์ปัญหา นี่
ได้จำแนกและแสดง สติ ไว้ทั้งหมด กี่อาการเนาะค๊ะ ??
มีอะไรบ้าง?


s006 เอ่??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
s006 s006 s006 เอ่??

ในมิลินท์ปัญหา นี่
ได้จำแนกและแสดง สติ ไว้ทั้งหมด กี่อาการเนาะค๊ะ ??
มีอะไรบ้าง?


s006 เอ่??


มี ๑๗ อาการครับ อย่าเพิ่งถึงผมเรื่องนี้เลยผมเพิ่งจะอ่าน
ยังจำไม่ได้หรอกและยังติดค้างอ่านอรรถกถาอยู่อีก การที่เราอ่าน
ผ่านแค่ครั้งสองครั้งนั้นจะจดจำได้นั้นทำได้ยากต้องเป็นผู้มีบุญบารมี

มามากแล้วถึงจะกระทำได้ แค่อ่านผ่านๆทั้งหมดก็ใช้เวลาปีกว่าแล้ว
ยังไม่จบและจากนั้นถึงจะวนกลับมาอ่านจุดที่เด่นที่น่าสนใจเพื่อเน้นอีก
หากมีโอกาสครับ แล้วคุณเม ได้อ่านทั้งหมดพระไตรปิฏกหรือเลือกอ่าน
เฉพาะที่สนใจเท่านั้นล่ะครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สติความระลึกหรือความจำ
เกิดแต่อาการเท่าไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดแต่อาการ ๑๗ อย่างคือ
(๑) เกิดแต่ความรู้ยิ่ง ดังผู้รู้ประวัติการณ์ที่ล่วงๆ มาแล้ว ความรู้นั้นย่อมเป็น
แนวให้ระลึกถึงเหตุการณ์แต่หลังได้
(๒) เกิดแต่การที่ได้กระทำเครื่องหมายไว้
(๓) เกิดแต่การได้ขยับฐานะสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้นึกให้จำกิจการที่ตนได้
กระทำมาแต่หลัง
(๔) เกิดแต่การได้รับความสุข ซึ่งชวนให้สาวเอากิจการที่ล่วงแล้วมานึก
มาคิดเพื่อไต่สวนสาเหตุ
(๕) เกิดแต่การได้รับความทุกข์ ซึ่งชวนให้หวนไปนึกถึงเหตุแห่งความทุกข์นั้น ๆ
(๖) เกิดแต่การได้รู้เห็นสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นการเตือนให้จำอีกสิ่งหนึ่งได้
(๗) เกิดแต่การรู้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามเช่น เห็นสีขาวทำให้นึกถึงสีดำได้
(๘) เกิดแต่การได้รับคำตักเตือน

(๙) เกิดแต่รู้เห็นตำหนิหรือลักษณะทรวดทรง
(๑๐) เกิดแต่นึกขึ้นได้โดยลำพัง
(๑๑) เกิดแต่การพินิจพิเคราะห์
(๑๒) เกิดแต่การนับจำนวนไว้
(๑๓) เกิดแต่การทรงจำไว้ได้ตามธรรมดา
(๑๔) เกิดแต่การอบรม เช่นผู้ที่กระทำใจได้แน่วแน่ในเมื่อกระทำกิจการ
สามารถรวบรวมกำลังใจมาคิดมานึกเฉพาะในกิจการอย่างนั้น แม้ว่ากิจการนั้น
จะผ่านหูผ่านตามานานแล้ว เมื่อมานึกคิดขึ้นในภายหลัง ก็ยังคงจำได้ระลึกได้
(๑๕) เกิดแต่การได้จดได้เขียนไว้
(๑๖) เกิดแต่การเก็บไว้
(๑๗) เกิดแต่การเคยพบเคยเห็น
ม. มากอย่าง
จบสติอาการปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สติความระลึกหรือความจำ
เกิดแต่อาการเท่าไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดแต่อาการ ๑๗ อย่างคือ
(๑) เกิดแต่ความรู้ยิ่ง ดังผู้รู้ประวัติการณ์ที่ล่วงๆ มาแล้ว ความรู้นั้นย่อมเป็น
แนวให้ระลึกถึงเหตุการณ์แต่หลังได้
(๒) เกิดแต่การที่ได้กระทำเครื่องหมายไว้
(๓) เกิดแต่การได้ขยับฐานะสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้นึกให้จำกิจการที่ตนได้
กระทำมาแต่หลัง
(๔) เกิดแต่การได้รับความสุข ซึ่งชวนให้สาวเอากิจการที่ล่วงแล้วมานึก
มาคิดเพื่อไต่สวนสาเหตุ
(๕) เกิดแต่การได้รับความทุกข์ ซึ่งชวนให้หวนไปนึกถึงเหตุแห่งความทุกข์นั้น ๆ
(๖) เกิดแต่การได้รู้เห็นสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นการเตือนให้จำอีกสิ่งหนึ่งได้
(๗) เกิดแต่การรู้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามเช่น เห็นสีขาวทำให้นึกถึงสีดำได้
(๘) เกิดแต่การได้รับคำตักเตือน

(๙) เกิดแต่รู้เห็นตำหนิหรือลักษณะทรวดทรง
(๑๐) เกิดแต่นึกขึ้นได้โดยลำพัง
(๑๑) เกิดแต่การพินิจพิเคราะห์
(๑๒) เกิดแต่การนับจำนวนไว้
(๑๓) เกิดแต่การทรงจำไว้ได้ตามธรรมดา
(๑๔) เกิดแต่การอบรม เช่นผู้ที่กระทำใจได้แน่วแน่ในเมื่อกระทำกิจการ
สามารถรวบรวมกำลังใจมาคิดมานึกเฉพาะในกิจการอย่างนั้น แม้ว่ากิจการนั้น
จะผ่านหูผ่านตามานานแล้ว เมื่อมานึกคิดขึ้นในภายหลัง ก็ยังคงจำได้ระลึกได้
(๑๕) เกิดแต่การได้จดได้เขียนไว้
(๑๖) เกิดแต่การเก็บไว้
(๑๗) เกิดแต่การเคยพบเคยเห็น
ม. มากอย่าง
จบสติอาการปัญหา



s006 s006 เอ่??

ในสติที่ยกมา 17 อาการนี้

แต่ละอาการ
อันไหน ที่เป็นสติ ในสติปัฎฐาน ในวิปัสสนา บ้างค๊ะ
อันไหน ไม่ได้ถึงความเป็น ในสติปัฎฐานวิปัสสนา ค๊ะ
อันไหน เป็นสติในขณิกสมาธิบ้าง
อันไหน เป็นสติ ในอุปจารสมาธิบ้าง
และอันไหน เป็นสติ ในอัปปนาสมาธิบ้าง


ถามแค่นี้ก่อนค่ะ
ขอบพระคุณน๊ะค๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สติความระลึกหรือความจำ
เกิดแต่อาการเท่าไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดแต่อาการ ๑๗ อย่างคือ
(๑) เกิดแต่ความรู้ยิ่ง ดังผู้รู้ประวัติการณ์ที่ล่วงๆ มาแล้ว ความรู้นั้นย่อมเป็น
แนวให้ระลึกถึงเหตุการณ์แต่หลังได้
(๒) เกิดแต่การที่ได้กระทำเครื่องหมายไว้
(๓) เกิดแต่การได้ขยับฐานะสูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้นึกให้จำกิจการที่ตนได้
กระทำมาแต่หลัง
(๔) เกิดแต่การได้รับความสุข ซึ่งชวนให้สาวเอากิจการที่ล่วงแล้วมานึก
มาคิดเพื่อไต่สวนสาเหตุ
(๕) เกิดแต่การได้รับความทุกข์ ซึ่งชวนให้หวนไปนึกถึงเหตุแห่งความทุกข์นั้น ๆ
(๖) เกิดแต่การได้รู้เห็นสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นการเตือนให้จำอีกสิ่งหนึ่งได้
(๗) เกิดแต่การรู้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามเช่น เห็นสีขาวทำให้นึกถึงสีดำได้
(๘) เกิดแต่การได้รับคำตักเตือน

(๙) เกิดแต่รู้เห็นตำหนิหรือลักษณะทรวดทรง
(๑๐) เกิดแต่นึกขึ้นได้โดยลำพัง
(๑๑) เกิดแต่การพินิจพิเคราะห์
(๑๒) เกิดแต่การนับจำนวนไว้
(๑๓) เกิดแต่การทรงจำไว้ได้ตามธรรมดา
(๑๔) เกิดแต่การอบรม เช่นผู้ที่กระทำใจได้แน่วแน่ในเมื่อกระทำกิจการ
สามารถรวบรวมกำลังใจมาคิดมานึกเฉพาะในกิจการอย่างนั้น แม้ว่ากิจการนั้น
จะผ่านหูผ่านตามานานแล้ว เมื่อมานึกคิดขึ้นในภายหลัง ก็ยังคงจำได้ระลึกได้
(๑๕) เกิดแต่การได้จดได้เขียนไว้
(๑๖) เกิดแต่การเก็บไว้
(๑๗) เกิดแต่การเคยพบเคยเห็น
ม. มากอย่าง
จบสติอาการปัญหา



s006 s006 เอ่??

ในสติที่ยกมา 17 อาการนี้

แต่ละอาการ
อันไหน ที่เป็นสติ ในสติปัฎฐาน ในวิปัสสนา บ้างค๊ะ
อันไหน ไม่ได้ถึงความเป็น ในสติปัฎฐานวิปัสสนา ค๊ะ
อันไหน เป็นสติในขณิกสมาธิบ้าง
อันไหน เป็นสติ ในอุปจารสมาธิบ้าง
และอันไหน เป็นสติ ในอัปปนาสมาธิบ้าง


ถามแค่นี้ก่อนค่ะ
ขอบพระคุณน๊ะค๊ะ

ผมก็ขอตอบแค่นี้ว่าผมยังไม่รู้ และแน่ใจ ทั้งยังไม่ได้ลง
ลึกเฉพาะครับ เพิ่งอ่านผ่านๆแค่นั้นและสภาวธรรมผมก็ยังไม่ถึงขั้น
ที่จะแยกแยะสิ่งเหล่านั้นได้ แค่อ่านแล้วก็นำมาบอกต่อ ไม่ได้หมาย
ความว่าผมจะะได้แล้วเข้าใจแล้วนะครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร นี่ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน พระพุทธพจน์ต้นนั้น
พระองค์หาได้ทรงหมายถึงพระอรหันต์ด้วยไม่ แต่ที่มีพระพุทธดำรัส
รวมไว้เช่นนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงมุ่งจะสั่งสอนพวกที่มีนิสัยทารุณ
ให้สำนึกว่า แม้ผู้อื่นก็สะดุ้งก็กลัวด้วยกันทั้งนั้น

ม. ข้อนี้เข้าใจละ แต่มานึกสงสัยว่า สัตว์นรกซึ่งทนทุกขเวทนาอยู่
ทุกขณะเล่า จะอยากตายให้พ้นจากทุกข์หรือว่ากลัวความตายเหมือนกัน
น. ขอถวายพระพร แม้สัตว์นรกจะระอาต่อการทรมานก็จริง แต่ก็ยัง
กลัวความตายอยู่นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะเหตุปัจจัยแห่งความกลัวตัวยังถอนไม่ได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. คนเป็นหน่อเดินโขยกเขยกเพราะเจ็บ เกิดความระอาใจจึงเรียก
หมอผ่าตัดมา ครั้นเห็นหมอถือมีดและเหล็กนาบซึ่งสุมไฟจนแดงมา
เขาจะหวาดกลัวต่อการกระทำของหมอนั้นหรือไม่

ม. หวาดสิเธอ แม้ทั้งรู้อยู่ว่า หมอจะบำบัดโรคนั้นให้หาย
น. ขอถวายพระพร นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันแม้ความใคร่
จะพ้นจากนรก ซึ่งเป็นขุมแห่งทุกขเวทนาทั้งหลายมีอยู่ แต่สัตว์นรกก็ยัง
หวาดกลัวต่อความตายอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า
สัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบมัจจุภายนปัญหา

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า
พระปริตร (มีระบุชื่อพระปริตรไว้ดังนี้ ขันธปริตรสุวัตถิ ปริตร โมรปริตร
ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร ) อันบุคคลสาธยายอยู่ย่อมป้องกันความตายได้
นั้น จริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง

ม. ถ้าเช่นนั้น จะมิแย้งกับพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่าบุคคลจะอยู่ในที่ใดๆ
ก็ตาม ย่อมหนีความตายไม่พ้นนั้นไปหรือ
น. ขอถวายพระพร ไม่แย้ง ที่มีพระพุทธดำรัสว่าการสวดพระปริตรย่อม
ป้องกันความตายให้นั้น พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายเฉพาะผู้ที่พอจะต่ออายุ
ให้ยั่งยืนสืบไปได้เท่านั้น หาได้ทรงหมายถึงว่า จะเป็นอุบายให้หนีความตาย
ได้พ้นตลอดไปไม่ เพราะคนที่ถึงวาระที่จะต้องตายแล้วย่อมไม่มีอะไรป้องกัน
แม้จะหนีไปอยู่ในอากาศหรือในมหาสมุทร หรือในซอกห้วยซอกเขา ก็หนี
ความตายไม่พ้น

ม. เธอจงเปรียบให้ฟัง
น. ขอถวายพระพร คนที่ถึงวาระจะต้องตายเหมือนต้นไม้แก่ แม้จะมีคน
พยายามเอาน้ำไปรด ก็ไม่กลับฟื้นขึ้นมาได้ ส่วนคนที่พอจะต่ออายุให้ยั่งยืน
สืบไปได้ด้วยอำนาจการสวดพระปริตร เหมือนไม้ที่เฉาเพราะดินแห้งเมื่อเอา
น้ำไปรด ต้นไม้นั้นก็ย่อมจะกลับฟื้นงามขึ้นอีกได้ฉะนั้น
ม. ดูก่อนพระนาคเสน การสวดพระปริตรจะต่ออายุคนได้อย่างไร

น. ขอถวายพระพร การสวดพระปริตรเป็นประหนึ่งยาหอม สำหรับ
ชะโลมหัวใจ หัวใจผู้ป่วยเจ็บให้ชุ่มชื่น เช่นสวดธชัคคปริตร (ใจความใน
ธชัคคปริตรว่า พระพุทธเจ้าตรัสกะภิกษุบริษัท ถึงเรื่องพระอินทรตรัสเตือน
เทวดาผู้ไปสงคราม (คราวเทวดารบกับอสูร) เพื่อไม่ให้หวาดหวั่นต่อพวกอสูร
ว่า ถ้าพวกท่านเกิดความหวาดกลัวขึ้น พึงดูยอดธงของเราหรือของเทวดาแม่ทัพ

แล้วพระพุทธองค์ทรงนำเค้าเรื่องนั้นมาตรัสสอนพระภิกษุว่า หากพวกเธอเกิด
ความหวาดกลัวขึ้น พึงระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ) ถ้าผู้เจ็บสามารถ
ส่งใจไปตามแนวแห่งปริตรน้อมนึกถึงข้อความถึงเหตุผลแห่งพระคุณของ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในบทนั้นๆ ที่สุดแม้แต่บทเดียวได้ ใจก็จะไม่ไป

เกาะเกี่ยวอยู่ที่ป่วยเจ็บฟื้นจากความหดหู่มารื่นเริงในพระคุณนั้นๆ ทันทีนั้น
ใจก็ชุ่มชื่นได้กำลังขึ้น เมื่อมีกำลังใจประคองร่างกายอยู่ กำลังกายที่ตั้งขึ้นได้
ขอถวายพระพร ถ้ากำลังกาย กำลังใจต่อสู้โรค ได้แล้วก็เป็นอันว่าหนีความ
ตายพ้นไปได้คราวหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีกำลังเช่นนั้นพอจะสู้ โรคได้แล้วก็ย่อมหนี
ความตายไม่พ้น แม้ถึงเช่นนั้นการสวดพระปริตรก็ยังเชื่อว่าไม่ไร้ผล เพราะ
ผู้ตายด้วยอาการชุ่มชื่นเช่นนั้นย่อมหวังสุคติได้
ม. ต่อได้จริง
จบมัจจุปาสามุตติกปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ที่เธอว่าพระพุทธเจ้ารวยจีวร
บิณฑบาตเสนาสนะคิลานเภสัชนั้นจริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง
ม. ถ้าจริง ทำไมเมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปัญจสารคาม
(เรื่องนี้ พระพุทธโฆษจารย์เล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบทว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้า
ทรงเห็นอุปนิสัยที่จะได้เป็น พระโสดาบันของเหล่านางกุมาริกาชาวปัญจสารคาม
จึงเสด็จเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านนั้น วันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์พระพุทธองค์เสด็จไป
บิณฑบาต แต่ไม่มีใครนำอาหารบิณฑบาตมาถวาย เพราะมารเข้าสิงในสรีระของ
ชาวบ้านเสีย) จึงไม่ได้ของอะไรเลยเล่า

น. ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ไม่ได้ของอะไรเลยคราวนั้น เป็นเพราะ
มารผู้มีบาปครอบงำจิตของชาวบ้านนั้นเสียหมด
ม. ถ้าอย่างนั้น บุญบารมีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสมมาจะมีผลอะไร มารจะมิ
วิเศษกว่าพระพุทธเจ้าไปหรือ
น. อาตมภาพจะเปรียบถวาย เหมือนบุรุษนำน้ำผึ้งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายแด่
พระเจ้าจักรพรรดิ์ แต่ถูกนายพระทวารห้ามกันเสียมิให้เข้า ขอถวายพระพร
พระเจ้าจักรพรรดิ์จะชื่อว่า เสื่อมจากลาภสักการะ เพราะขาดแคลนน้ำผึ้งนั้น
ได้หรือ

ม. หามิได้ ผู้รักษาพระทวารอันความริษยาครอบงำแล้ว จึงห้ามเครื่อง
บรรณาการนั้นเสีย แต่ว่าเครื่องบรรณาการย่อมเกิดมีแด่พระเจ้าจักรพรรดิ์
โดยพระทวารอื่นตั้งหมื่นเท่าแสนเท่า
น. ตัวอย่างนั้นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่มารผู้มีจิตคิดริษยา
สิงชาวบ้านปัญจสารคามมิให้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้านั้น ใช่ว่า
พระองค์จะขาดแคลนจากอาหารบิณฑบาตก็หาไม่ พระองค์กลับร่ำรวย เพราะ
เหล่าเทวดาพอกันถือเอาของทิพย์เข้าไปถวายแด่พระพุทธเจ้า
ม. เธอฉลาดว่า
จบภควโต ลาภันตรายปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่า "พระพุทธเจ้า
ทรงนำเฉพาะแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขมาให้แก่ประชาชนนั้น" จริงเสมอไปหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริงเสมอ

ม. ถ้าจริงเสมอ ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร
(พระสูตรนี้มาในสัตตกนิบาตอังคุตตนิกาย มีใจความว่า "วันหนึ่งพระพุทธเจ้า
เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ ซึ่งกำลังสุกโชนอยู่ จึงดำรัสสั่งให้พระ
ภิกษุทั้งหลายดูแล้วทรงเปรียบให้ฟังว่า ไฟแม้จะร้อนสักเพียงไร ก็ยังร้อนไม่เท่า
ความร้อนซึ่งเป็นผลแห่งความชั่ว" ในพระสูตรนั้นกล่าวต่อไปว่า เวลานั้นมีภิกษุ

ส่วนหนึ่ง จำนวน ๖๐ รูปเป็นผู้ละเมิดพระพุทธบัญญัติล่วงปฐมปาราชิกสิกขาบท
เมื่อได้ฟังพระพุทธโอวาทดังนั้น ต่างก็กระอักเลือดออกมา) ซึ่งเกิดผลร้ายจนถึง
กระทำให้พระภิกษุตั้ง ๖๐ รูปกระอักเลือดเล่า
น. ขอถวายพระพร การที่ภิกษุทั้ง ๖๐ รูปกระอักเลือดนั้นเป็นเพราะความชั่ว
ที่ตัวกระทำไว้ตามมาให้ผลต่างหาก
ม. ถึงเช่นนั้น ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงพระสูตรนั้น ท่านเหล่านั้นก็คง
ไม่กระอักเลือด

น. ก็ถ้ากระอักเลือดเป็นเป็นเพราะการทรงแสดงพระสุตรนั้นไซร้ ไฉน
พระภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่เป็นเช่นนั้นด้วยเล่า ขอถวายพระพร นี่เพราะเป็นด้วย
ผลของความชั่วที่ตัวกระทำเป็นเหตุ จึงเกิดผลร้ายเฉพาะแต่พวกเหล่านั้น
ม. แต่ความเห็นข้าพเจ้าว่า ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงพระสูตรนั้น
เสียเลย ผลร้ายอันนั้นก็คงจะไม่มีเป็นแน่
น. อาตมภาพจะเปรียบถวาย ธรรมดาช่างไม้ ถ้ามัวเสียดายเนื้อไม้อยู่
จะกระทำไม้ที่คดที่งอให้ตรงได้หรือไม่
ม. ไม่ได้สิเธอ ตรงไหนคดงอมีงอนก็ต้องถากทิ้งเสีย ไม้นั้นจึงจะตรงได้
ตามความประสงค์

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าก็เป็นเช่นเดียวกันกับช่างไม้นั้นแล คือ
พุทธบริษัทเหล่าใดคดงอจนทรงกระทำให้ตรงด้วยอาการปรกติไม่ได้ พระองค์
ก็ต้องถากทิ้งเสียโดยทำนองที่ทรงแสดงโทษของความชั่วอย่างหนัก ให้เกิด
ความเกรงกลัว และให้ได้รับโทษเพื่อจะให้หลาบจำไม่กระทำต่อไปอีก อนึ่ง
ถ้าพระพุทธองค์จะมัวทรงคำนึงถึงความทุกข์เฉพาะของพระภิกษุ ๖๐ รูปนั้น

แล้วไม่แสดงพระสูตรนี้ พระภิกษุอีกจำนวนมากก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลตาม
โอกาสอันควรของตน ขอถวายพระพร ที่มิเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าพระพุทธองค์
ทรงพิจารณาเห็นว่า การแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ เหมาะแก่ที่จะดัดนิสัย
ของผู้ฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติ ให้ละความประพฤติอันนั้น กลับใจมาดำเนิน
ทางตรง แล้วบรรลุมรรคผลตามอุปนิสัยสามารถของตนๆ

ขอถวายพระพร เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องจัดว่า พระพุทธองค์ทรงนำเฉพาะ
แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขมาแก่ประชุมชนทั้งนั้น
ม. จริงอย่างเธอว่า
จบสัพพสัตตหิตจรณปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
โลกุตตรธรรมเป็นธรรมประเสริฐสูงสุดดังนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนฆราวาส ที่เป็นโสดาบันซึ่งได้บรรลุโลกุตตรธรรม
ขั้นต้นแล้ว จึงต้องกราบไหว้พระภิกษุสามเณรที่ยังเป็นปุถุชนอยู่เล่า

น. ขอถวายพระพร เหตุว่าพระภิกษุหรือสามเณรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสมณ
เพศอันเป็นเพศสูงสุดเพราะกอบด้วยคุณธรรมมากอย่างมากประการ ส่วน
ฆราวาสนั้นแม้จะได้บรรลุคุณธรรมมีภูมิสูงกว่า แต่ก็เป็นเพศที่มีคุณธรรมต่ำ
กว่า เพราะฉะนั้นจึงต้องกราบไหว้พรภิกษุสามเณร ซึ่งทรงเพศอันบริบูรณ์

ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชกุมารทรงศึกษาศิลปวิทยา
ในสำนักปุโรหิต ครั้นถึงสมัยเมื่อได้ขึ้นทรงราชย์แล้ว ก็ยังควรกระทำความ
เคารพปุโรหิตผู้มีสกุลต่ำกว่าแต่มีฐานะเป็นอาจารย์ฉะนั้น
ม. เข้าใจละ
จบเสฏฐธัมมปัญหา

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ที่เธอว่าพระพุทธเจ้ามีบริษัท
ปรองดองพร้อมเพรียงกันดีนั้น จริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง
ม. ถ้าจริง เหตุไฉนพระเทวทัตจึงชักชวนพระภิกษุพุตธบริษัทตั้ง ๕๐๐
แยกหมู่แยกคณะออกไปได้เล่า

น. เพราะเหตุเครื่องทำลายหมู่คณะมีอยู่ ขอถวายพระพร เมื่อเหตุ
(เหตุที่จะให้พระเทวทัตทำลายคณะสงฆ์นั้น ในอรรถกถาธรรมบทและใน
ชาดกกว่า "เนื่องด้วยหมู่ชนเห็นพระเทวทัตทำร้ายพระพุทธเจ้าด้วยประการต่างๆ
มีกลิ้งหินเป็นต้น ก็สิ้นความนับถือพระเทวทัตแม้จนภักษาหารก็ไม่มีใครถวาย
เมื่อพระเทวทัตได้รับความหายนะเช่นนั้น ก็คิดหาอุบายที่จะกลบความชั่วของตน
จึงเข้าไปทูลพระพุทธเจ้าขอให้ทรงบัญญัติวัตถุ ๕ ประการ ให้เป็นปฏิปทาชั้น
อุกฤษฏ์ขึ้น คือ :-

๑) ภิกษุพึงถือการอยู่ป่าตลอดชีวิตเข้ามาอยู่ในแดนบ้านไม่ได้
๒) ภิกษุพึงถือการเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์ไม่ได้
๓) ภิกษุพึงถือทรงผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต รับจีวรของพวกคฤหบดีไม่ได้
๔) ภิกษุพึงถือการอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต เข้าไปสู่ที่มุงที่บังไม่ได้
๕) ภิกษุไม่พึงฉันปลาและเนื้อแต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอำนวยตาม
(เห็นจะทรงเกรงว่าจะกลายเป็นอัตตกิลมถานุโยค การทำตนให้ลำบากเปล่า

และทรงเห็นว่า พระภิกษุมีอาชีพเนื่องด้วยผู้อื่น) พระเทวทัตจึงประกาศความ
ข้อนั้นกะคณะสงฆ์ว่า ภิกษุรูปใดใคร่จะพ้นจากทุกข์ ก็ทรงมาประพฤติพรหม
จรรย์ในเราฯ ฝ่ายพระภิกษุที่บวชใหม่และโง่เขลา เมื่อทราบปฏิปทาซึ่ง
พระเทวทัตคิดเห็นดังนั้นก็พลอยเห็นดีไปด้วยจึงย้ายไปอยู่ในปกครองของ
พระเทวทัต"ฯ) อย่างนั้นมีอยู่ แม้มารดาบิดาก็ย่อมแตกจากบุตร การที่บัณฑิต

ทั้งหลายสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า มีบริษัทไม่แตกพร้อมเพรียงกันดี ก็เป็น
ด้วยเหตุพระพุทธจรรยาอันบริบูรณ์ ด้วยสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ
(๑. ทาน การให้ปันสิ่งของๆ ตนแก่ผู้ที่ควรให้ปัน
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ซึ่งเป็นธรรมเครื่องยึด
เหนี่ยวหัวใจให้กลมเกลียวกันได้
ม. เธอฉลาดว่า
จบตถาคตอเภชชปริสปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่าคนไม่รู้จักบาปทำบาป
บาปมากนั้น จะมิแย้งกับพระพุทธบัญญัติที่ว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่พระภิกษุผู้ไม่รู้หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ไม่แย้ง คำที่อาตมภาพทูลไปแล้วนั้น กล่าวตามปรกติ
แห่งคนที่ไม่รู้จักบาป ขอถวายพระพร อันคนที่ไม่รู้จักบาปนั้น ย่อมไม่มีความละอาย
ในการที่ตนกระทำชั่ว และย่อมไม่กลัวต่อผลของความชั่วนั้นๆ สมัครใจทำเท่าใด
ก็ย่อมทำได้เท่านั้น เมื่อการกระทำความชั่วมาก ก็ต้องรับผลของความชั่วมากตามกัน
เพราะฉะนั้นอาตมภาพจึงทูลว่าคนไม่รู้จักบาปทำบาป บาปมาก ส่วนพระพุทธบัญญัติ
นั้นมีบางสิกขาบทซึ่งเมื่อภิกษุละเมิดโดยมิได้เจตนาเช่นกล่าวเท็จโดยสำคัญผิด
ท่านก็ไม่ปรับอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบอชานนโตปาปกรณอปุญญปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ว่า
พระองค์มิได้ทรงกระทำในพระฤทัยว่า เราบริหารภิกษุสงฆ์หรือภิกษุสงฆ์
มีตัวเราเป็นที่พึ่งนั้น (ดูเรื่องเดิมที่เชิงอรรถแห่งปัญหาที่ ๒ วรรคนี้) มีจริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มีจริง

ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงคุณของพระเมตไตรย
จึงตรัสว่า พระเมตไตรยจักบริหารภิกษุสงฆ์จำนวนตั้งพัน เหมือนบริหารภิกษุ
สงฆ์จำนวนร้อย (ดูจักกวัตติสูตร ทีฆนีกาย ปาฏิกวรรค) ในบัดนี้ฉะนั้นเล่า

น. ขอถวายพระพร เหตุที่พระพุทธองค์ดำรัสคำต้นนั้นก็เพราะว่าความรัก
ความเยื่อใย ความยึดถือว่าเราว่าของเรา พระองค์ตรัสเสียเด็ดขาดแล้ว ก็แต่ว่า
ความพะพิง อาศัยยังมีอยู่ตามธรรมดา เพราะฉะนั้นพระองค์จึงตรัสคำเปรียบ
เบื้องหลังนี้ได้
ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบ

น. ขอถวายพระพร แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์ แต่ทว่าแผ่นดิน
หารู้สึกว่า ตัวเป็นที่อาศัยของเหล่าสัตว์ไม่ นี้ฉันใดพระพุทธเจ้าก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พระองค์ย่อมเป็นที่พึ่งพำนักของหมู่สัตว์มีเราเป็นที่พึ่งอาศัยไม่
ม. เข้าใจละ
จบภิกขุคณอเปกขภาวปัญหา
จบวรรคที่ ๒

ปัญหาที่ ๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสอยู่ว่า
การสำรวมกายวาจาใจย่อมเป็นความดียังประโยชน์ให้สำเร็จฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง

ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไรเล่าพระพุทธองค์จึงทรงแสดงอวัยวะที่ลับให้
เสละพราหมณ์ดูในที่ประชุม (เรื่องนี้ขอนำใจความในเสลสูตร มัชฌิมนิกาย
มัชฌิมปัณณาสก) มากล่าวไว้ก่อนคือ เดิมมีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อเสละมีศิษย์
หามาก วันหนึ่งพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่อังคุตตราปชนบท เบื้องต้น

เสละพราหมณ์ก็เริ่มตรวจดูพระลักษณะของพระพุทธเจ้าตามตำรามหา
ปุริสลักษณะที่ตนได้เล่าเรียนมา ที่สุดเกิดความสงสัยขึ้นว่า พระชิวหา
จะยาวและเมื่อห่อเข้าแล้วก็สอดเข้าไปในช่องพระกรรณและพระนาสิก
ทั้ง ๒ ได้หรือไม่ อีกประการหนึ่งอวัยวะที่ลับจะตั้งอยู่ในฝักดุจของโค
หรือไม่ พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตของเสละพราหมณ์ดังนั้นจึงทรง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กระทำให้ปรากฏ เสละพราหมณ์ก็แน่ใจว่า พระลักษณะครบ ๓๒ ตาม
คัมภีร์มหาปุริสลักษณะไม่มีบกพร่อง แต่ก็ยังไม่เชื่อว่าจะเป็นพระพุทธ
เจ้าจริงหรือไม่ จึงคิดว่าต้องพรรณนาพระคุณของพระองค์ในที่เฉพาะ
พระพักตร์ฟังคารมดูคิดแล้วจึงกล่าวคำสรรเสริญ เป็นต้นว่า พระองค์มี
พระสริรกายบริบูรณ์งดงาม มีพระหฤทัยปลอดโปร่งไม่เป็นที่เบื่อหน่าย

ของประชุมชน ก็เมื่อพระองค์ทรงประกอบด้วยพระคุณสมบัติเช่นนี้
น่าจะครองเพศฆราวาสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เพราะเฉพาะฉะนั้นขอ
พระองค์ได้เสด็จไปครองราชสมบัติเถิด (ข้อความตรงนี้ที่เกิดเป็นปัญหาที่ ๑
วรรคที่ ๔ ขึ้น) และพระพุทธองค์ตรัสเสริมว่า เวลานี้เราเป็นธรรมราชาอยู่
แล้ว ได้ยังจักรคือธรรมให้เป็นไป มีสารีบุตรเป็นเสนาบดี (ความข้อนี้เกิด
เป็นปัญหาที่ ๗ วรรคที่ ๖ ขึ้น) ในที่สุดเสละพราหมณ์ก็เลื่อมใสทูลขอ
อุปสมบทประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา

อันข้อที่ว่า พระพุทธเจ้ามีพระชิวหายาวและทรงทำได้ ดังนั้น ถ้าจะว่า
ตามวิสัยแห่งมนุษย์ก็น่าจะได้แก่การที่พระองค์มีพระลักษณะเพียงบอกให้
รู้ว่าตรัสทันหูคน และฉลาดพอที่จะทรงดึงทิฐิมานะของผู้ตั้งใจฟังให้อ่อน
มาตามพระพุทธโอวาทได้ เหตุนี้เมื่อเสละพราหมณ์ตรวจดูพระลักษณะ
แล้วแต่ยังไม่เชื่อใจ จึงสรรเสริญพระคุณขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ เพื่อ
ฟังคารมสอบดูว่าจะมีปฏิญาณในเชิงดำรัสเพียงไร

ส่วนข้อที่ว่า พระองค์ทรงกระทำอวัยวะที่ลับให้ปรากฏนั้น น่าจะเป็น
เช่นนี้ คือ เสละพราหมณ์รู้เห็นได้เช่นนั้น ด้วยมีพระลักษณะอื่นบอก เพราะ
ปรากฏตามพระสูตรว่า เสละพราหมณ์เป็นผู้รู้จบไตรเพท และคัมภีร์อื่นๆ
ตลอดจนตำราทายพระมหาปุริสลักษณะ และเมื่อมาถึงพระพุทธเจ้าก็เริ่ม
ตรวจดูพระลักษณะก่อน ซึ่งส่อว่ามีความสนใจในการพินิจดูลักษณะอยู่ฯ

ก็มหาปุริสลักษณะนั้น มีลักษณะที่ลับอยู่อีกอย่าง ๑ ซึ่งพอจะนำมาพิสูจน์ได้
คือจำนวนฟัน ๔๐ ซี่ (ล่าง ๒๐ บน ๒๐) พระลักษณะนี้ไม่ปรากฏว่า
เสละพราหมณ์ได้ให้พระพุทธเจ้าทรงอ้าพระโอษฐ์ออกให้นับ และก็ไม่น่า
จะทูลร้องขอเช่นนั้น เพราะตัวเพิ่งเป็นแขกใหม่และเป็นแขกชั้นเจ้าลัทธิ

ซึ่งมีฐานะไม่น่าจะล่วงเกินจนเสียกิริยาสุภาพถึงปานนั้น เรื่องนี้ตำรา
นรลักษณะบางตำราว่า คนชำนาญดูลักษณะเมื่อดูลูกคางแล้ว อาจจะทายว่า
มีฟันอยู่เท่านั้นซี่ แม้เสละพราหมณ์ก็น่าจะประจักษ์อยู่เช่นนี้เป็นแน่ จึงไม่
ปรากฏว่ามีความสงสัยจำนวนพระทนต์ด้วย ก็เมื่อจำนวนพระทนต์รู้ได้ด้วย
มีพระลักษณะอื่นบอก เช่นนี้อวัยวะที่ลับอันตั้งอยู่ในฝักดุจของโค ก็น่าจะมี

พระลักษณะอื่นบอกไว้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเสละพราหมณ์จึงรู้เห็นได้
และตามพระสูตรก็เห็นแต่เสละพราหมณ์ผู้เดียวด้วย แท้จริง ไม่น่าเชื่อว่า
พระพุทธองค์จะทรงเปิดเผยให้ดู แม้จะทรงนิรมิตอวัยวะเปรียบให้เห็น
ก็ไม่พ้นจากเสียพระกิริยา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แต่เหตุไฉน จึงกล่าวไว้ในพระสูตรเช่นนั้น ข้อนี้น่าจะเป็นเพราะ
พระคันถรจนาจารย์ต้องการจะแสดงพุทธาภินิหาร และจะแสดงพระลักษณะ
ให้เห็นชัด ว่า ทรงมีครบ ๓๒ ประการตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ เพื่อมิให้
เกิดเป็นปัญหาขึ้นฯ)

น. เหตุว่า เสละพราหมณ์เกิดความสงสัยเรื่องอวัยวะที่ลับของพระพุทธเจ้า
ว่ามีหรือไม่มี พระองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ จึงทรงแสดงอวัยวะเปรียบ
อย่างนั้นให้พราหมณ์เห็นด้วยพระพุทธฤทธิ์ ขอถวายพระพร แต่เฉพาะ
เสละพราหมณ์เท่านั้นซึ่งเป็นผู้ได้เห็นอวัยวะนั้น
ม. ก็เอาออกแสดงในที่ประชุม แต่เหตุไรจึงว่าเห็น เฉพาะพราหมณ์
คนเดียวเท่านั้นเล่า ดูน่าสงสัยจริงเธอ

น. อาตมภาพจะยกตัวอย่างมาเปรียบถวายเหมือนคนเจ็บ ซึ่งมีญาติมิตร
พรักพร้อมแวดล้อมกันอยู่รอบข้าง ขอถวายพระพร เวลาเมื่อคนเจ็บได้รับ
ทุกขเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่พวกญาติมิตรจะแลเห็น หรือรู้สึกเวทนา
นั้นๆ ด้วยหรือไม่
ม. จะไปพากันเห็นหรือรู้สึกด้วยได้อย่างไรเล่าเธอ นอกจากผู้เจ็บเอง

น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงนิรมิตอวัยวะ
เปรียบด้วยอวัยวะที่ลับนั้นด้วยพระพุทธฤทธิ์ ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์
เจาะจงจะให้เสละพราหมณ์เห็นแต่ผู้เดียว เพื่อจะได้สิ้นความสงสัย ซึ่งเป็น
เหตุปัจจัยเบื้องต้นที่จะนำเวไนยสัตว์ไปสู่พระอริยมรรคอริยผลด้วยวิธีการ

ต่างๆ ประหนึ่งแพทย์ผู้ฉลาดเห็นคนเจ็บทราบอาการแจ้งชัดแล้ว ควรถ่าย
ก็ให้ถ่าย ควรชะโลมก็ให้ชะโลม ควรรมก็ให้รม มุ่งแต่จะให้โรคบรรเทา
และหายฉะนั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบวัตถุคุยหทัสสนปัญหา

ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้ามีพระมรรยาทอ่อนโยน พระวาจาอ่อนหวาน ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนพระพุทธองค์จึงตรัสเรียกพระสุทินกลันทกบุตร
(พระสุทินเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองเวสาลี ออกบวชเมื่อมีภรรยาแล้วแต่ยัง
ไม่มีบุตร บิดาวิงวอนขอให้กลับไปสู่สมรสด้วยใคร่จะได้หลานไว้ครองสกุล

พระสุทินไปกระทำตามความประสงค์ของบิดา เรื่องนี้เป็นต้นบัญญัติปฐม
ปาราชิกสิกขาบท

ฝ่ายรุกขเทวดารู้ว่าเขาจะมาตัดต้นสะคร้อ เพราะหมีเป็นเหตุ จึงแปลง
เพศเป็นบุรุษไปหาภารทวาชพราหมณ์ไต่ถามความประสงค์แล้วจึงแนะนำ
เมื่อเอาไม้สะคร้อไปทำรถ ถ้าได้หนังคอหมีมาหุ้มกงรถ กงรถจะมั่นคงดีนัก
ที่สุดพราหมณ์ก็กระทำตามคำแนะนำของเทวดาและหมี ชาดกนี้พระพุทธองค์
ทรงนำมาเป็นตัวอย่างแห่งการผู้กเวรซึ่งกันและกันฯ) โดยทรงใช้คำว่า
"โมฆบุรุษ" (บุรุษเปล่า) เล่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร