วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 16:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




coconut-fruit.png
coconut-fruit.png [ 83.03 KiB | เปิดดู 1598 ครั้ง ]
พระไตรลักษณ์ คือการเข้าไปรู้แจ้งอาการทั้ง ๓ ที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ขอให้ทราบว่าลักษณะสามัญทั้ง ๓ นี้พระองค์สอนมากเสียกว่าอย่างอื่น ในบรรดาในคำสอนทั้งหลาย
และจะนำมารวบยอด ที่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางที่ก็กล่าวตรงๆ บางที่ก็พูดเป็นโวหารอย่างอื่น
แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน

เรื่องของความไม่เที่ยง ก็มีการสอนมาแล้ว เรื่องความทุกข์ก็เคยมีการสอนกันมาแล้ว ก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเสียอีก แต่ก็ไม่ลึกซึ้งพอเท่ากับสอนของพระองค์ และไม่ประกอบเหตุผล ส่วนคำว่าอนัตตานั้นจะมีแต่ในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าอะไรเป็นได้ถึงที่สุดจริงๆ คือ ลักษณะ ๓ ไม่เป็นของที่น่ายึดถือด้วยการเอาการเป็นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นของหลอกลวงทั้งสิ้น

ส่วนคนที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งเช้าทั้งเย็นหรือตลอดทั้งวันทั้งคืน ก็มิใช่ว่าจะเห็นได้ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ไปหมดเสียทุกคน หรือจะเป็นความคิดนึกตามเอา คำนึงคำนวนไปตามเหตุผลนั้นเพราะไม่ใช่วิสัยในการแจ้ง แต่ต้องมีข้อสังเกตุว่ามีอยู่ข้อหนึ่งคือต้องรู้ภายในใจ คือ อนัตตา จึงจะเห็นแจ้งความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องอาศัยโลกุตระพ้นโลก จึงเห็นอนัตลักษณะของธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2019, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 16:35 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ผู้มีบารมีน้อย จะท่องจนถึงวันตายก็ไม่เห็นธรรม
แต่ผู้ที่มีบารมีมาใกล้จะเต็มแล้วเท่านั้นแค่ฟังไม่กี่ครั้ง
ก็เข้าใจตามความเป็นจริงและทำให้แจ้งมรรคผลได้
บางท่านอาจมิทันต้องลงมือปฏิบัติเลย แต่บางท่าน
อาจลงมือปฏิบัติก่อนถึงจะสำเร็จ

เรียนรู้ รู้แล้วปฏิบัติ จึงเกิดผล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดาตามที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปของมันเอง พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ มันก็มีก็เป็นไปของมันอยู่อย่างนั้นๆ (นิยามแปลว่ากำหนดอันแน่นอน) มี ๒ หมวดสำคัญ คือ

๑.ไตรลักษณ์
๒.ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าจะเข้าใจไตรลักษณ์ให้ชัด ต้องลงให้ถึงปฏิจจสมุปบาท เช่น ที่ว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงนั้น มันไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างเลื่อนลอย แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงต้องศึกษาระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย

ข้อสังเกตที่สำคัญ

เมื่อขันธ์ ๕ เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท โดยมีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจึงมีสภาพเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ก่อตัวของทุกข์ หรือเป็นที่รวมไว้แห่งศักยภาพของการที่จะเป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ อันประกอบพร้อมด้วยความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทานขันธ์ ๕) จึงเป็นความหมายของ ทุกขอริยสัจ

ปฏิจจสมุปบาท ถือเป็นความหมายของ สมุทัยอริยสัจ ดังที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร

นอกจากธรรมที่เป็นสังขตธรรมหรือสังขาร ก็ยังมีธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ซึ่งพ้นเหนือปฏิจจสมุปบาท ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงไม่เป็น อนิจจัง และทุกขัง นี่ก็คือ นิโรธอริยสัจ อันได้แก่ นิพพาน

ส่วนอริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค คือ วิธีปฏิบัติในการที่จะให้กระบวนการปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร ไม่เป็นไป หรือพลิกกลับเป็นปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารนั่นเอง ในการปฏิบัติเมื่อแยกแยะออกไป จัดเป็นระบบชีวิตที่ดีงามเรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ อันสำเร็จด้วยไตรสิกขา

พุทธพจน์ “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

“อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

“ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้?”

“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศกคร่ำครวญ เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก คือ ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทางกาย และทางใจ

“อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจเพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเขาไม่รู้ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง

“ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว, นี้แล เรียกว่า ปุถุชน ผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”
“ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก คร่ำครวญ เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ก็ฉันนั้น ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

“อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันระเริงเข้ากับกามสุข เพราะอริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก เมื่อไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดี ข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเธอรู้ตามที่มันเป็นอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง

“ถ้าเสวยสุขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว นี้เรียกว่า อริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่า ผู้ปราศจากทุกข์

“ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่าง ระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้” (สัลลัตถสูตร, 18/369-372)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร