วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 01:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สำหรับผมเอาธรรมะทุกอย่างมาใช้ในทางโลกได้หมด เพื่อเป็นการสะสมให้เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์


:b32: :b32: :b32: แต่ผม ขี้เกียจพิมพ์แระ ปวดหลังด้วย และเพราะจากที่ดูๆมา คิดว่าน้อยคนจะนำพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ตรงนี้ จึงคิดว่ากระทู้นี้น่าจะไม่มีประโยชน์ต่อใคร :b9: :b9: :b9:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 28 ม.ค. 2019, 15:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 01:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
:b8:

อ้างคำพูด:
สาธุขอบพระคุณท่านกรัซกายครับที่เมตตา ที่ท่านกล่าวมาว่าทำให้สำเร็จงานออกมาดีมันถูกแล้ว ซึ่งเป็นในส่วนของอิทธิบาท ๔ ซึ่งผมจะขออนุญาตท่านกรัซกายและผู้รู้ทุกท่านโพสท์กล่าวต่อไป

ส่วนตอนนี้จะกล่าวถึงพละ ๕ ก่อน ซึ่งจะมาเขียนตอนค่ำ ตอนนี้รอไปหาหมอก่อนครับ แก่แล้วนั่งหน้าคอมนานเอวผมไปแระ โรคออฟฟิซซินโดมครับ


ขอให้หายในเร็ววันนะครับ ขออภัย คุณ อากาศ อายุ s006
แล้วครับ ถึงว่าตัวเองแก่แล้ว

:b8:



:b8: :b8: :b8: สาธุขอบคุณครับท่านทริปเปิ้ลเอส

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 02:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ผู้ใดศิลมีธรรมประจำใจ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
... ศึกษาเล่าเรียนแม่นยำ ทรงจำสัทธรรมขึ้นใจ
ผู้นั้นแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากความกลัวเวรภัย
... ปัญญาคล่องแคล่วว่องไว ดำรงชีพได้อย่างดี

คุณแค่อากาศ สาธยาธรรม บทที่ว่า
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)
ให้ผมฟังเพิ่มอีกหน่อยได้มั้ยครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 15:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ผู้ใดศิลมีธรรมประจำใจ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
... ศึกษาเล่าเรียนแม่นยำ ทรงจำสัทธรรมขึ้นใจ
ผู้นั้นแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากความกลัวเวรภัย
... ปัญญาคล่องแคล่วว่องไว ดำรงชีพได้อย่างดี

คุณแค่อากาศ สาธยาธรรม บทที่ว่า
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)
ให้ผมฟังเพิ่มอีกหน่อยได้มั้ยครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ



สาธุขอบพระคุณท่านเจที่ให้เกียรติครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

สำหรับผมเอาธรรมะทุกอย่างมาใช้ในทางโลกได้หมด เพื่อเป็นการสะสมให้เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์


:b32: :b32: :b32: แต่ผม ขี้เกียจพิมพ์แระ ปวดหลังด้วย และเพราะจากที่ดูๆมา คิดว่าน้อยคนจะนำพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ตรงนี้ จึงคิดว่ากระทู้นี้น่าจะไม่มีประโยชน์ต่อใคร :b9: :b9: :b9:



ตอบสั้นๆก็ได้ ลองเอาพลธรรมมาตำส้มตำสักครกสิครับ ทำไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2019, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

สำหรับผมเอาธรรมะทุกอย่างมาใช้ในทางโลกได้หมด เพื่อเป็นการสะสมให้เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์


:b32: :b32: :b32: แต่ผม ขี้เกียจพิมพ์แระ ปวดหลังด้วย และเพราะจากที่ดูๆมา คิดว่าน้อยคนจะนำพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ตรงนี้ จึงคิดว่ากระทู้นี้น่าจะไม่มีประโยชน์ต่อใคร :b9: :b9: :b9:



ตอบสั้นๆก็ได้ ลองเอาพลธรรมมาตำส้มตำสักครกสิครับ ทำไง

ขึ้นต้นให้

สัทธา
วิรยะ
สติ
สมาธิ
ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 00:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

สำหรับผมเอาธรรมะทุกอย่างมาใช้ในทางโลกได้หมด เพื่อเป็นการสะสมให้เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์


:b32: :b32: :b32: แต่ผม ขี้เกียจพิมพ์แระ ปวดหลังด้วย และเพราะจากที่ดูๆมา คิดว่าน้อยคนจะนำพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ตรงนี้ จึงคิดว่ากระทู้นี้น่าจะไม่มีประโยชน์ต่อใคร :b9: :b9: :b9:



ตอบสั้นๆก็ได้ ลองเอาพลธรรมมาตำส้มตำสักครกสิครับ ทำไง

ขึ้นต้นให้

สัทธา
วิรยะ
สติ
สมาธิ
ปัญญา


ทั้งหมดที่จะกล่าวนี้ เป็นการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ทางโลก ซึ่งก็เป็นการเจริญในแบบธรรมอ่อนเพื่อสะสมเหตุไปด้วย

ศรัทธาพละ ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้ คือ ความเชื่อด้วยปัญญา
ก. ศรัทธา คือ ความเชื่อ ..เมื่อกล่าวถึงส้มตำ เราก็ย่อมรู้ดีว่ามีคนพูดว่าเป็นอาชีพสุจริตรายได้ดี เช่น
ก.๑. เชื่อว่าการขายส้มตำนี้เป็นอาชีพสุจริต เป็นการค้าขายอาหาร
ก.๒. เชื่อว่าการขายเป็นอาหาร คนกินกันทุกวัน เพราะทุกคนต้องกินข้าว ข้าวมันกินแล้วก็ขี้ แล้วก็กินใหม่ คนชอบกิน ทำให้สร้างรายได้ดีพอสมควร
ข. ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจด้วยเหตุและผลตามจริง
- ปัญญาพิจารณาใน ข้อที่ ก.๑ ไม่ใช่มิจฉาอาชีพ ไม่ใช่การมอมเมา ไม่ใช่การพนัน ไม่คดโกงใคร เมื่อเราขายไม่โก่งราคาเกินจริง วัตถุดิบสด สะอาด ไม่ใช่เราของเหลือ ของไม่ดีมาขายลูกค้า นี่เป็นความสุจริต ..เป็นจิตสำนึกในกุศลของผู้ขาย(MQ, SQ)
- ปัญญาพิจารณาใน ข้อที่ ก.๒ มันต้องมีสิ่งใดที่ทำแล้วให้เกิดผลตอบรับได้อย่างนั้น
..คนเรามันต้องต้องกินทุกวันจริงไหม นี่เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะกินเฉพาะส้มตำจนวันตายได้ ดังนั้นจุดนี้ก็ต้องพิจารณาแล้วว่าการขายของตนอย่างไรที่จะทำให้คนไม่เบื่อเข้าร้านตน เช่น..บรรยากาศของร้าน ความสะอาด การบริการ ตัวเลือกอาหารที่มีให้เลือกหลายอย่างมากขึ้นไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะอย่าง หากเราร้านเล็กก็มีของปิ้งย่าง กับข้าวอีสานเพิ่ม หากเราร้านใหญ่ก็มีกับข้าวอาหารที่มีกลุ่มคนมากกิน เช่น ปลาทอด ปลาช่อน ปลาตัวใหญ่ ลาบ น้ำตก อาหารอื่นๆเพิ่มเติมที่มีการกินเป็นกลุ่มคนได้
..คนชอบกินส้มตำไก่ย่างจริงไหม เราก็ศึกษาเรียนรู้ง่ายๆเลย จากเวลาที่เรากิน เรากินบ่อยไหม เราก็จะเห็นว่า การชอบกินประจำๆนี้อยู่ที่กลุ่มคน เราก็ต้องหาทำเลขายที่มีกลุ่มคนที่ชอบกินส้มตำไก่ย่าง ต่อมาก็ดูว่าเราชอบกินแบบใด เวลาที่เราไปกิน เราชอบกินร้านไหนเป็นประจำ กินเพราะอะไร ก็จะได้คำตอบว่าว่า เพราะรสชาติที่คุ้นเคยอย่างไรบ้าง ร้านที่มีคนเข้าเยอะบอกอร่อยเพราะชอบรสชาติแบบใดบ้าง เราก็ต้องเรียนรู้การปรุงรสชาติต่างๆที่คนจชอบกิน
ค. เทียบเคียงสภาพจริง เมื่อเราเรียนรู้พิจารณาดีแล้วในข้อ ก. และ ข. ก็เห็นความเป็นไปได้ที่จะได้ผลตอบรับที่ดี
- แต่ปัจจุบันตนมีทุนอย่างไรได้ร้านเล็ก ร้านใหญ่ หรือยังไม่ได้เลย หากตกลงใจจที่จะทำก็ต้องหาทุนให้ได้ก่อน
- สถานที่ที่ตนอยู่แล้วจะเปิดร้าน มันอยู่ในชุมชนแบบไหน จะไปเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่างในพื้นที่คนกินเจ อย่างนี้ก็คงขายไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนเป็นตำเจ ไก่ย่างเจ พื้นที่ๆตนเองจะเปิดร้านอยู่ในดงป่าเขา ห่างไกลผู้คนมันก็ยากจะเป็นไปได้ ดังนั้นหากไม่สามารถหาพื้นที่ค้าขายได้ก็ต้องละไว้ก่อน แต่ถ้ายังอยากจะทำเราก็ต้องสะสมเงินให้มากพอที่จะเช่าซื้อในพื้นที่ๆเหมาะสมได้ ไม่ใช่ว่าเห็นว่าดีจริงแล้วหลับหูหลับตาเปิดเลยไม่ดูสภาพพื้นที่ๆอยู่ในมุมอับผู้คนสัญจรไปมา มันก็เจ๊ง
..ความสืบต่อ..จะเห็นชัดว่าสัทธานี้เป็นจุดเริ่มต้นในความเห็น ความชอบใจ ยินดี ความตกลงใจ นำไปสู่การกระทำทุกอย่าง
ยกตัวอย่าง..เมื่อเราจะขายส้มตำแล้ว เราก็เริ่มเรียนรู้การตำ การปรุงรสชาติ เครื่องเคียง วัตถุดิบที่ให้ส้มตำมันอร่อย น่าทาน แล้วลงมือทำ เมื่อได้สูตรมาแล้วทดลองแล้วเป็นรสชาติที่ตนเห็นว่าดีเป็นมาตรฐานที่คนทั่วไปกินได้แล้ว โดยอาจจะลองทำให้คนอื่นชิมดูจนแน่ชัดเป็นสถิติรสชาติที่คนชอบของเราไปด้วย(นี่ก็เป็นการรู้เห็นจริงด้วยปัญญาก่อนจะตกลงใจเชื่อ) เราก็เชื่อมั่นในรสชาติที่จะตำเป็นรสชาติกลางๆให้คนทั่วไปที่มาสั่งได้กิน เวลาที่เราตำขายเราก็ตำในรสชาติที่เชื่อมั่นนั้นขาย เหมือนร้านทั่วไปเขาจะมีรสชาติกลางๆตายตัวจำเพาะร้านตน ..แต่เราก็ต้องรับฟังลูกค้าที่จะสั่งเพิ่มเติม เพราะแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน แม้จะสามารถดกินรสชาติกลางๆที่เหมือนกันได้ แต่ความชอบที่สนิทใจอาจจะต่างกันไป เช่น บางคนชอบเปรี่้ยงหวาน บางคนชอบเค็มเปรี้ยว บางคนชอบพอดีกลางๆ บางคนชอยปาร้าเยอะ เรากห็ต้องรับฟังที่จะเพิ่มเติมรสชาติให้ลูกค้า นอกเหนือจากรสชาติที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นรสชาติกลางๆที่สามารถกินได้โดยทั่วไปทุกคนแล้ว

วิริยะพละ คือ กำลังความเพียร คือ ความมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นให้ได้ให้สำเร็จ เมื่อผมจะขายส้มตำผมก็ต้องมีความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรที่จะทำร้านส้มตำออกมาให้ดี ขยันค้าขาย ไม่เกียจคร้านเหลาะแหละ ไม่อย่างนั้นมันก็ล้มตั้งแต่ยังไม่ทำ
..ความสืบต่อ..เมื่อเราเชื่อในสิ่งใด ย่อมมีความเห็น ความยินดีตกลงใจกระทำสิ่งใด เราก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นเป็นปรกติ เช่น ผมขายส้มตำ ผมก็ต้องรู้ว่าไปหาซื้อวัตถุดิบเครื่องเทศที่ไหนได้สด สะอาด ราคาไม่เกินจริง ค่าขนส่งไม่แพง หากไปจ่ายตลาดต้องไปร้านใด เวลาใด บางทีต้องตื่นแต่ตี 2 เพื่อไปจ่ายตลาด หมักไก่ไว้ย่าง หมักเนื้อทำอาหารอีสาน ผมก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำมันออกมา เราก็ต้องขยันทำ ไม่ย่อท้อ เพื่อให้ได้อาหารที่ดี ประครองใจไว้ในงานที่ทำ แต่เมื่อเวลามันผ่านไปหากยังไม่ชินเป็นอุปนิสัยคนเรามันเหนื่อยมันย่อมหน่าย ขี้เกียจ ก็ให้รู้ว่าเราฝึกความเพียรให้เป็นนิสัย งานที่เราทำเป็นแบบนี้ นี่มันคืองานมันก็ต้องทำ ให้นึกถึงความสุขอันใดที่ได้จากการทำ เช่น อาหารที่สด สะอาด รสชาติดี ลูกค้าพอใจ คนชอบกินกับข้าวที่เราทำ นี่มันมีสุข เอาความยินดีเป็นเหตุให้เกิดการประครองใจไว้ในความเพียร
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย เรามีความเพียรประครองไว้ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ส้มตำออกมาดีเป็นที่ถูกใจของลูกค้าให้มาก มันเหนื่อยก็ต้องทนขอแค่การตอบรับมันดีตามเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ละเลยการที่จะต้องใส่รายละเอียดไรๆลงไป หรือ ต้องใสเพิ่มเติมอะรไรตามใจลูกค้า ไม่ใช่ตามใจตน เช่น มะเขือน้อยไปเปรี้ยวมะเขือน้อย ก็ต้องมาหั่นมะเขือใส่ให้พอดี ลูกค้าชอบเปรี้ยวมะนาวก็ต้องหั่นบีบมะนาวเพิ่มตามใจลูกค้า เอาความเพียรประครองใจไว้ให้ทำ ไม่ใช่พอตำมาไม่ถูกใจลูกค้าหรือ ตำๆไปไม่ถามรสชาติความพอใจลูกค้าเพราะเบื้อ ขี้เกียจ กลัวจะยุ่งยากตน

สติพละ คือ กำลังความระลึกรู้ ไม่ว่าเราจะทำกิจการงานใดๆอยู่ เราจะต้องมีสติความระลึกรู้อยู่เสมอๆ เพื่อรู้ว่าตนกำลังคิดในสิ่งใด กำลังทำอะไร แล้วต่อไปจะทำอะไร รู้สึกอย่างไร ลำดับความสำคัญของใจ และกิจการงานที่จะทำ เพื่อให้เราไม่เป็นผู้หลงลืม อันไหนควรทำก่อน ทำหลัง อะไรสำคัญควรทำก่อน อันไหนควรไว้ภายหลัง อันไหนไม่สำคัญก็ควรละ ไม่ควรเอามาคิดฟุ้งซ่าน เพื่อช่วยประครองใจให้ตั้งมั่นในสิ่งที่ทำได้ดี เมื่อสติเกิด สัมปะชัญญะก็จะเกิดความรู้ตัวรู้ว่าตนกำลังทำกิจการงานใดๆตามมาเสมอๆ
..ความสืบต่อ..ก็เมื่อไหร่เราทำความเพียรมุ่งมั่นทำในสิ่งใด ซึ่งจะทำให้เกิดความตื่นตัวกระตือรือร้นฝักใฝ่ในงานที่ตนทำ เป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สิ่งที่ใจกระทำเจตนา และจดจำสำคัญมั่นหมายใจไว้ ทำให้จำได้ระลึกได้ว่าทำอะไร หรือจะต้องทำสิ่งใด เช่น ผมต้องตื่นแต่เช้าซื้อของ สตินี้จะเป็นตัวแยกแยะลำดับการดำเนินงานของเราไม่ให้หลงลืม เมื่อตื่นนอนตี 2 ผมก็รู้แล้วว่าจะต้องทำกิจการงานใดบ้าง ทำสิ่งใดก่อน หรือหลัง
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย ลูกค้ามาคุยด้วย เมื่อเรามีสติเราก็จะรู้ว่าตอนนี้ใส่เครื่องปรุงใดไปแล้วบ้าง ต้องทำสิ่งใดต่อ และรู้ว่าคุยกับลูกค้าเรื่องอะไร ถึงจุดไหนแล้ว ลำดับความสำคัญในใจ และความคิด ได้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ ทำให้สามารถแยกปราสาทตอบรับทำงานหลายๆอย่างได้ดี หากไม่มีสติ พูดไปแล้วก็ลืมว่าตนทำอะไรอยู่ ถึงไหนแล้ว พอก้มหน้ามาทำก็ลืมไปแล้วคุยเรื่องอะไรไว้
- อีกประการคือ สตินี้เมื่อมีกำลังดีแล้ว จะประครองใจไว้ในกุศล ทำให้ฉลาดในธรรม ฉลาดในการเลือกเสพย์ธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง อันเป็น EQ ความฉลาดทางอารมณ์นั่นเอง ซึ่งเวลาเราค้าขายหรือทำงานใดก็ตามย่อมมีการกระทบกระทั่งเสมอ สตินี้แหละจะเป็น EQ ในเราเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์

สมาธิพละ คือ กำลังใจตั้งมั่น กำลังใจที่ตั้งมั่นนี้ช่วยให้จิตเรามีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเองไม่อ่อนไหวเคลิ้มไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่าใดที่ชักนำให้ใจออกจากงานที่ทำอยู่ให้ใจวอกแวกไม่สามารถทำงานได้ หรืองานที่ทำออกมาไม่ดี หรืเผลไผลไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจนงานเสีย
..ความสืบต่อ..เมื่อไหร่เรามีใจมุ่งมั่นทำกิจการงานใด มีสติระลึกรู้แยกแยะยับยั้ง ย้ำเตือนอยู่เสมอ เมื่อสติตั้งตั้งมั่นระลึกรู้ในสิ่งใด จิตก็จะตั้งมั่นอยู่ในสิ่งนั้นๆได้นานตามด้วยความรู้ตัวอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตื่นมารู้ว่าจะต้องอาบน้ำ ไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อวัตถุดิบอะไรบ้าง เมื่อไปตลาดซื้อของ สติจะหวนระลึกได้ว่าต้องซื้ออะไร วัตถุดิยต้องเป็นแบบไหน เมื่อซื้อเราก็เลือกดูของ จิตก็ตั้งมั่นจดจ่อด้วยความรู้ตัวดูวัตถุดิบนั้นว่ามีคุณภาพตามต้องการไหม เลือกซื้อวัตถุดิบออกมาดี
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย เราก็มีใจจดจ่อตั้งใจที่จะตำส้มตำออกมาดี รสชาติดี หรือได้รสชาติหน้าตาส้มตำตามที่ลูกค้าที่สั่งครกนี้ๆต้องการ
- อีกประการคือ หากลูกค้ามาคุยด้วย สมาธินี้จะช่วยให้ใจเราตั้งมั่นรู้ ตาดู หูฟัง ปากพูด มือทำ หากไม่มีสมาธิพอเมื่อตำๆอยู่ลูกค้ามาคุยด้วยก็เลิกตำไปแระจนกว่าจะคุยจบ แถมยังจำไม่ได้ว่าทำถึงไหนแล้ว

ปัญญาพละ คือ กำลังความรู้ รู้ชัดแจ้งมีเหตุมีผลในสิ่งที่ตนทำหรือสนใจอยู่ หากไม่รู้ชัดก็ทำให้มากและศึกษาเพิ่มเติม
..ความสืบต่อ.. เมื่อจิตตั้งมั่นในงานที่ทำดีแล้ว ก็จะเกิดความละเอียดละออในงานที่ทำ เกิดการเรียนดู สังเกตุ สอดส่องดูสิ่งที่ตนทำอยู่ ทำควาามรู้ความเข้าใจจากสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ จนรู้แจ้งชัดเนื้องานที่ทำว่าเป็นอย่างไรตามจริง สิ่งใดมีมากไปจะเกิดผลใด สิ่งใดมีน้อยไปจะเกิดผลใด หากขาดสิ่งใดจะเป็นอย่างไร และเห็นทุกอย่างชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน เช่น..
หากตำส้มตำออกมารสชาติเพี้ยนๆ โดยเมื่อเรารู้แจ้งชัดในการตำส้มตำก็จะรู้จักวิธีปรุงรสชาติ แก้ไขรสชาติ ก็เหมือนเชฟทำกับข้าวคนหนึ่งในด้านนี้ หากตำเค็มไปก็ใช้น้ำตาลใส่นิด บีบมะนาวหน่อย ลดเค็มลง หากเปรี้ยวไป ก็ใส่น้ำตาลนิด ใน่ปาร้าหน่อย ก็ลดเปรี้ยวลงได้เป็นต้น
- อีกประการคือ หากไม่มีคนเข้าร้าน หรือเข้าร้านน้อย เราก็ต้องทำใจตั้งมั่นสลัดความคิดฟุ้งซ่านออกไปก่อน แล้วคิดวิเคราะห์พิอจารณาปัญหา หรือ สังเกตุสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นที่ลูฏค้ามีต่อร้าน แล้วใช้ปัญญาวิเคราะห์ดูปัญหาว่า สิ่งที่ตนทำเป็นที่ถูกใจลูกค้าไหม เราต้องปรับปรุงส่วนใด ราคาสูงเกินไปไหม หากในพื้นที่ๆเปิดร้าน ชุมชนมีรายได้น้อยแล้วเราขายราคาที่เขาซื้อจ่ายได้ยาก มันก็โอกาสขายได้นร้อย เราก็ต้องดูราคา บางทีลดปริมาณลงนิดหน่อย ราคาถูกลงไม่กี่บาท กำไรไม่มาก แต่คนเข้าเยอะ อย่างนี้เป็นต้น


----------------------------------------------------


ผมน่าจะสาธยายจบมีคำตอบมากพอท่านกรัซกายแล้วนะครับ และแค่เรื่องหุ้นของท่านก็สามารถนำไปใช้ด้วยได้ เพียงเปลี่ยนสถานภาพจากส้มตำเป็นหุ้นเท่านั้นเอง เปลี่ยนสภาพแวดล้อมและวัตถุดิบ การจัดการ รูปแบบสถิติ หากมีปัญญาก็ทำได้หมดทุกอย่าง
ผมรู้ว่าหากพูดน้อย ท่านก็จะถามไปเรื่อย หรือเจอคำว่าอ้าวแค่นี้เองหรือ จึงสาธยายรวมๆไว้เวลามันยาวท่านกรัซกายขี้เกียจอ่านเด๋วก็เลิกถามเอง :b32: :b32: :b32:


จะเห็นได้ว่า ธรรม 1 อย่าง ใช้ได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะเชื่อมโยงกันไปเป็นระบบ
ซึ่งหากเราใช้ปัญญาพิจารณาจะมองเห็นเกินกว่าที่จะไปคิดว่า..ใครเอาธรรมใดมาประยุกต์มาใช้ยังไงบ้าง เขามามาใช้ได้จริงหรือ เขาแถดำน้ำไปไหม..ซึ่งบางทีบางคนก็ไม่อาจนำมาใช้ได้ เพราะอาจจะยังไม่ถึงเวลาของตนที่จะมีปัญญานำมาใช้ได้ ..ดังนั้นควรจะมองว่า.."พระธรรมของพระพุทธเจ้านี้สูง และกว้างมาก ขนาดตรัสไว้ตั้งกว่า 2600 ปีแล้ว ยังนำมาใช้ได้ แสดงให้เห็นว่าธรรมพระพุทธเจ้านี้ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดยุคสมัย อยู่ที่ตนจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับสถานภาพตนอย่างไรเท่านั้นเอง จึงควรน้อมมาสู่ตนอย่างยิ่ง" ดังนั้นควรโอปนะยิโกให้มาก ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำมาพูดเท่านั้น แต่ต้องทำ จึงจะชัดแจ้งได้


แต่หากท่านเอาไปใช้งานจริงผมยินดีที่จะแบ่งปันครับ แต่คิดว่าท่านคงจะไม่ได้ใช้แต่แค่ถามไปงั้นๆแหละ :b32: :b32: :b32: ดังนั้นให้พูดเกินนี้ ก็เปล่าประโยชน์ :b9: :b9: :b9:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

สำหรับผมเอาธรรมะทุกอย่างมาใช้ในทางโลกได้หมด เพื่อเป็นการสะสมให้เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์


:b32: :b32: :b32: แต่ผม ขี้เกียจพิมพ์แระ ปวดหลังด้วย และเพราะจากที่ดูๆมา คิดว่าน้อยคนจะนำพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ตรงนี้ จึงคิดว่ากระทู้นี้น่าจะไม่มีประโยชน์ต่อใคร :b9: :b9: :b9:



ตอบสั้นๆก็ได้ ลองเอาพลธรรมมาตำส้มตำสักครกสิครับ ทำไง

ขึ้นต้นให้

สัทธา
วิรยะ
สติ
สมาธิ
ปัญญา


ทั้งหมดที่จะกล่าวนี้ เป็นการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ทางโลก ซึ่งก็เป็นการเจริญในแบบธรรมอ่อนเพื่อสะสมเหตุไปด้วย

ศรัทธาพละ ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้ คือ ความเชื่อด้วยปัญญา
ก. ศรัทธา คือ ความเชื่อ ..เมื่อกล่าวถึงส้มตำ เราก็ย่อมรู้ดีว่ามีคนพูดว่าเป็นอาชีพสุจริตรายได้ดี เช่น
ก.๑. เชื่อว่าการขายส้มตำนี้เป็นอาชีพสุจริต เป็นการค้าขายอาหาร
ก.๒. เชื่อว่าการขายเป็นอาหาร คนกินกันทุกวัน เพราะทุกคนต้องกินข้าว ข้าวมันกินแล้วก็ขี้ แล้วก็กินใหม่ คนชอบกิน ทำให้สร้างรายได้ดีพอสมควร
ข. ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจด้วยเหตุและผลตามจริง
- ปัญญาพิจารณาใน ข้อที่ ก.๑ ไม่ใช่มิจฉาอาชีพ ไม่ใช่การมอมเมา ไม่ใช่การพนัน ไม่คดโกงใคร เมื่อเราขายไม่โก่งราคาเกินจริง วัตถุดิบสด สะอาด ไม่ใช่เราของเหลือ ของไม่ดีมาขายลูกค้า นี่เป็นความสุจริต ..เป็นจิตสำนึกในกุศลของผู้ขาย(MQ, SQ)
- ปัญญาพิจารณาใน ข้อที่ ก.๒ มันต้องมีสิ่งใดที่ทำแล้วให้เกิดผลตอบรับได้อย่างนั้น
..คนเรามันต้องต้องกินทุกวันจริงไหม นี่เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะกินเฉพาะส้มตำจนวันตายได้ ดังนั้นจุดนี้ก็ต้องพิจารณาแล้วว่าการขายของตนอย่างไรที่จะทำให้คนไม่เบื่อเข้าร้านตน เช่น..บรรยากาศของร้าน ความสะอาด การบริการ ตัวเลือกอาหารที่มีให้เลือกหลายอย่างมากขึ้นไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะอย่าง หากเราร้านเล็กก็มีของปิ้งย่าง กับข้าวอีสานเพิ่ม หากเราร้านใหญ่ก็มีกับข้าวอาหารที่มีกลุ่มคนมากกิน เช่น ปลาทอด ปลาช่อน ปลาตัวใหญ่ ลาบ น้ำตก อาหารอื่นๆเพิ่มเติมที่มีการกินเป็นกลุ่มคนได้
..คนชอบกินส้มตำไก่ย่างจริงไหม เราก็ศึกษาเรียนรู้ง่ายๆเลย จากเวลาที่เรากิน เรากินบ่อยไหม เราก็จะเห็นว่า การชอบกินประจำๆนี้อยู่ที่กลุ่มคน เราก็ต้องหาทำเลขายที่มีกลุ่มคนที่ชอบกินส้มตำไก่ย่าง ต่อมาก็ดูว่าเราชอบกินแบบใด เวลาที่เราไปกิน เราชอบกินร้านไหนเป็นประจำ กินเพราะอะไร ก็จะได้คำตอบว่าว่า เพราะรสชาติที่คุ้นเคยอย่างไรบ้าง ร้านที่มีคนเข้าเยอะบอกอร่อยเพราะชอบรสชาติแบบใดบ้าง เราก็ต้องเรียนรู้การปรุงรสชาติต่างๆที่คนจชอบกิน
ค. เทียบเคียงสภาพจริง เมื่อเราเรียนรู้พิจารณาดีแล้วในข้อ ก. และ ข. ก็เห็นความเป็นไปได้ที่จะได้ผลตอบรับที่ดี
- แต่ปัจจุบันตนมีทุนอย่างไรได้ร้านเล็ก ร้านใหญ่ หรือยังไม่ได้เลย หากตกลงใจจที่จะทำก็ต้องหาทุนให้ได้ก่อน
- สถานที่ที่ตนอยู่แล้วจะเปิดร้าน มันอยู่ในชุมชนแบบไหน จะไปเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่างในพื้นที่คนกินเจ อย่างนี้ก็คงขายไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนเป็นตำเจ ไก่ย่างเจ พื้นที่ๆตนเองจะเปิดร้านอยู่ในดงป่าเขา ห่างไกลผู้คนมันก็ยากจะเป็นไปได้ ดังนั้นหากไม่สามารถหาพื้นที่ค้าขายได้ก็ต้องละไว้ก่อน แต่ถ้ายังอยากจะทำเราก็ต้องสะสมเงินให้มากพอที่จะเช่าซื้อในพื้นที่ๆเหมาะสมได้ ไม่ใช่ว่าเห็นว่าดีจริงแล้วหลับหูหลับตาเปิดเลยไม่ดูสภาพพื้นที่ๆอยู่ในมุมอับผู้คนสัญจรไปมา มันก็เจ๊ง
..ความสืบต่อ..จะเห็นชัดว่าสัทธานี้เป็นจุดเริ่มต้นในความเห็น ความชอบใจ ยินดี ความตกลงใจ นำไปสู่การกระทำทุกอย่าง
ยกตัวอย่าง..เมื่อเราจะขายส้มตำแล้ว เราก็เริ่มเรียนรู้การตำ การปรุงรสชาติ เครื่องเคียง วัตถุดิบที่ให้ส้มตำมันอร่อย น่าทาน แล้วลงมือทำ เมื่อได้สูตรมาแล้วทดลองแล้วเป็นรสชาติที่ตนเห็นว่าดีเป็นมาตรฐานที่คนทั่วไปกินได้แล้ว โดยอาจจะลองทำให้คนอื่นชิมดูจนแน่ชัดเป็นสถิติรสชาติที่คนชอบของเราไปด้วย(นี่ก็เป็นการรู้เห็นจริงด้วยปัญญาก่อนจะตกลงใจเชื่อ) เราก็เชื่อมั่นในรสชาติที่จะตำเป็นรสชาติกลางๆให้คนทั่วไปที่มาสั่งได้กิน เวลาที่เราตำขายเราก็ตำในรสชาติที่เชื่อมั่นนั้นขาย เหมือนร้านทั่วไปเขาจะมีรสชาติกลางๆตายตัวจำเพาะร้านตน ..แต่เราก็ต้องรับฟังลูกค้าที่จะสั่งเพิ่มเติม เพราะแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน แม้จะสามารถดกินรสชาติกลางๆที่เหมือนกันได้ แต่ความชอบที่สนิทใจอาจจะต่างกันไป เช่น บางคนชอบเปรี่้ยงหวาน บางคนชอบเค็มเปรี้ยว บางคนชอบพอดีกลางๆ บางคนชอยปาร้าเยอะ เรากห็ต้องรับฟังที่จะเพิ่มเติมรสชาติให้ลูกค้า นอกเหนือจากรสชาติที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นรสชาติกลางๆที่สามารถกินได้โดยทั่วไปทุกคนแล้ว

วิริยะพละ คือ กำลังความเพียร คือ ความมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นให้ได้ให้สำเร็จ เมื่อผมจะขายส้มตำผมก็ต้องมีความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรที่จะทำร้านส้มตำออกมาให้ดี ขยันค้าขาย ไม่เกียจคร้านเหลาะแหละ ไม่อย่างนั้นมันก็ล้มตั้งแต่ยังไม่ทำ
..ความสืบต่อ..เมื่อเราเชื่อในสิ่งใด ย่อมมีความเห็น ความยินดีตกลงใจกระทำสิ่งใด เราก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นเป็นปรกติ เช่น ผมขายส้มตำ ผมก็ต้องรู้ว่าไปหาซื้อวัตถุดิบเครื่องเทศที่ไหนได้สด สะอาด ราคาไม่เกินจริง ค่าขนส่งไม่แพง หากไปจ่ายตลาดต้องไปร้านใด เวลาใด บางทีต้องตื่นแต่ตี 2 เพื่อไปจ่ายตลาด หมักไก่ไว้ย่าง หมักเนื้อทำอาหารอีสาน ผมก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำมันออกมา เราก็ต้องขยันทำ ไม่ย่อท้อ เพื่อให้ได้อาหารที่ดี ประครองใจไว้ในงานที่ทำ แต่เมื่อเวลามันผ่านไปหากยังไม่ชินเป็นอุปนิสัยคนเรามันเหนื่อยมันย่อมหน่าย ขี้เกียจ ก็ให้รู้ว่าเราฝึกความเพียรให้เป็นนิสัย งานที่เราทำเป็นแบบนี้ นี่มันคืองานมันก็ต้องทำ ให้นึกถึงความสุขอันใดที่ได้จากการทำ เช่น อาหารที่สด สะอาด รสชาติดี ลูกค้าพอใจ คนชอบกินกับข้าวที่เราทำ นี่มันมีสุข เอาความยินดีเป็นเหตุให้เกิดการประครองใจไว้ในความเพียร
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย เรามีความเพียรประครองไว้ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ส้มตำออกมาดีเป็นที่ถูกใจของลูกค้าให้มาก มันเหนื่อยก็ต้องทนขอแค่การตอบรับมันดีตามเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ละเลยการที่จะต้องใส่รายละเอียดไรๆลงไป หรือ ต้องใสเพิ่มเติมอะรไรตามใจลูกค้า ไม่ใช่ตามใจตน เช่น มะเขือน้อยไปเปรี้ยวมะเขือน้อย ก็ต้องมาหั่นมะเขือใส่ให้พอดี ลูกค้าชอบเปรี้ยวมะนาวก็ต้องหั่นบีบมะนาวเพิ่มตามใจลูกค้า เอาความเพียรประครองใจไว้ให้ทำ ไม่ใช่พอตำมาไม่ถูกใจลูกค้าหรือ ตำๆไปไม่ถามรสชาติความพอใจลูกค้าเพราะเบื้อ ขี้เกียจ กลัวจะยุ่งยากตน

สติพละ คือ กำลังความระลึกรู้ ไม่ว่าเราจะทำกิจการงานใดๆอยู่ เราจะต้องมีสติความระลึกรู้อยู่เสมอๆ เพื่อรู้ว่าตนกำลังคิดในสิ่งใด กำลังทำอะไร แล้วต่อไปจะทำอะไร รู้สึกอย่างไร ลำดับความสำคัญของใจ และกิจการงานที่จะทำ เพื่อให้เราไม่เป็นผู้หลงลืม อันไหนควรทำก่อน ทำหลัง อะไรสำคัญควรทำก่อน อันไหนควรไว้ภายหลัง อันไหนไม่สำคัญก็ควรละ ไม่ควรเอามาคิดฟุ้งซ่าน เพื่อช่วยประครองใจให้ตั้งมั่นในสิ่งที่ทำได้ดี เมื่อสติเกิด สัมปะชัญญะก็จะเกิดความรู้ตัวรู้ว่าตนกำลังทำกิจการงานใดๆตามมาเสมอๆ
..ความสืบต่อ..ก็เมื่อไหร่เราทำความเพียรมุ่งมั่นทำในสิ่งใด ซึ่งจะทำให้เกิดความตื่นตัวกระตือรือร้นฝักใฝ่ในงานที่ตนทำ เป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สิ่งที่ใจกระทำเจตนา และจดจำสำคัญมั่นหมายใจไว้ ทำให้จำได้ระลึกได้ว่าทำอะไร หรือจะต้องทำสิ่งใด เช่น ผมต้องตื่นแต่เช้าซื้อของ สตินี้จะเป็นตัวแยกแยะลำดับการดำเนินงานของเราไม่ให้หลงลืม เมื่อตื่นนอนตี 2 ผมก็รู้แล้วว่าจะต้องทำกิจการงานใดบ้าง ทำสิ่งใดก่อน หรือหลัง
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย ลูกค้ามาคุยด้วย เมื่อเรามีสติเราก็จะรู้ว่าตอนนี้ใส่เครื่องปรุงใดไปแล้วบ้าง ต้องทำสิ่งใดต่อ และรู้ว่าคุยกับลูกค้าเรื่องอะไร ถึงจุดไหนแล้ว ลำดับความสำคัญในใจ และความคิด ได้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ ทำให้สามารถแยกปราสาทตอบรับทำงานหลายๆอย่างได้ดี หากไม่มีสติ พูดไปแล้วก็ลืมว่าตนทำอะไรอยู่ ถึงไหนแล้ว พอก้มหน้ามาทำก็ลืมไปแล้วคุยเรื่องอะไรไว้
- อีกประการคือ สตินี้เมื่อมีกำลังดีแล้ว จะประครองใจไว้ในกุศล ทำให้ฉลาดในธรรม ฉลาดในการเลือกเสพย์ธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง อันเป็น EQ ความฉลาดทางอารมณ์นั่นเอง ซึ่งเวลาเราค้าขายหรือทำงานใดก็ตามย่อมมีการกระทบกระทั่งเสมอ สตินี้แหละจะเป็น EQ ในเราเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์

สมาธิพละ คือ กำลังใจตั้งมั่น กำลังใจที่ตั้งมั่นนี้ช่วยให้จิตเรามีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเองไม่อ่อนไหวเคลิ้มไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่าใดที่ชักนำให้ใจออกจากงานที่ทำอยู่ให้ใจวอกแวกไม่สามารถทำงานได้ หรืองานที่ทำออกมาไม่ดี หรืเผลไผลไปตามสมมติความคิดกิเลสของปลอมจนงานเสีย
..ความสืบต่อ..เมื่อไหร่เรามีใจมุ่งมั่นทำกิจการงานใด มีสติระลึกรู้แยกแยะยับยั้ง ย้ำเตือนอยู่เสมอ เมื่อสติตั้งตั้งมั่นระลึกรู้ในสิ่งใด จิตก็จะตั้งมั่นอยู่ในสิ่งนั้นๆได้นานตามด้วยความรู้ตัวอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตื่นมารู้ว่าจะต้องอาบน้ำ ไปจ่ายตลาดเพื่อซื้อวัตถุดิบอะไรบ้าง เมื่อไปตลาดซื้อของ สติจะหวนระลึกได้ว่าต้องซื้ออะไร วัตถุดิยต้องเป็นแบบไหน เมื่อซื้อเราก็เลือกดูของ จิตก็ตั้งมั่นจดจ่อด้วยความรู้ตัวดูวัตถุดิบนั้นว่ามีคุณภาพตามต้องการไหม เลือกซื้อวัตถุดิบออกมาดี
- อีกประการคือ หากกำลังตำส้มตำขาย เราก็มีใจจดจ่อตั้งใจที่จะตำส้มตำออกมาดี รสชาติดี หรือได้รสชาติหน้าตาส้มตำตามที่ลูกค้าที่สั่งครกนี้ๆต้องการ
- อีกประการคือ หากลูกค้ามาคุยด้วย สมาธินี้จะช่วยให้ใจเราตั้งมั่นรู้ ตาดู หูฟัง ปากพูด มือทำ หากไม่มีสมาธิพอเมื่อตำๆอยู่ลูกค้ามาคุยด้วยก็เลิกตำไปแระจนกว่าจะคุยจบ แถมยังจำไม่ได้ว่าทำถึงไหนแล้ว

ปัญญาพละ คือ กำลังความรู้ รู้ชัดแจ้งมีเหตุมีผลในสิ่งที่ตนทำหรือสนใจอยู่ หากไม่รู้ชัดก็ทำให้มากและศึกษาเพิ่มเติม
..ความสืบต่อ.. เมื่อจิตตั้งมั่นในงานที่ทำดีแล้ว ก็จะเกิดความละเอียดละออในงานที่ทำ เกิดการเรียนดู สังเกตุ สอดส่องดูสิ่งที่ตนทำอยู่ ทำควาามรู้ความเข้าใจจากสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ จนรู้แจ้งชัดเนื้องานที่ทำว่าเป็นอย่างไรตามจริง สิ่งใดมีมากไปจะเกิดผลใด สิ่งใดมีน้อยไปจะเกิดผลใด หากขาดสิ่งใดจะเป็นอย่างไร และเห็นทุกอย่างชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน เช่น..
หากตำส้มตำออกมารสชาติเพี้ยนๆ โดยเมื่อเรารู้แจ้งชัดในการตำส้มตำก็จะรู้จักวิธีปรุงรสชาติ แก้ไขรสชาติ ก็เหมือนเชฟทำกับข้าวคนหนึ่งในด้านนี้ หากตำเค็มไปก็ใช้น้ำตาลใส่นิด บีบมะนาวหน่อย ลดเค็มลง หากเปรี้ยวไป ก็ใส่น้ำตาลนิด ใน่ปาร้าหน่อย ก็ลดเปรี้ยวลงได้เป็นต้น
- อีกประการคือ หากไม่มีคนเข้าร้าน หรือเข้าร้านน้อย เราก็ต้องทำใจตั้งมั่นสลัดความคิดฟุ้งซ่านออกไปก่อน แล้วคิดวิเคราะห์พิอจารณาปัญหา หรือ สังเกตุสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นที่ลูฏค้ามีต่อร้าน แล้วใช้ปัญญาวิเคราะห์ดูปัญหาว่า สิ่งที่ตนทำเป็นที่ถูกใจลูกค้าไหม เราต้องปรับปรุงส่วนใด ราคาสูงเกินไปไหม หากในพื้นที่ๆเปิดร้าน ชุมชนมีรายได้น้อยแล้วเราขายราคาที่เขาซื้อจ่ายได้ยาก มันก็โอกาสขายได้นร้อย เราก็ต้องดูราคา บางทีลดปริมาณลงนิดหน่อย ราคาถูกลงไม่กี่บาท กำไรไม่มาก แต่คนเข้าเยอะ อย่างนี้เป็นต้น


----------------------------------------------------


ผมน่าจะสาธยายจบมีคำตอบมากพอท่านกรัซกายแล้วนะครับ และแค่เรื่องหุ้นของท่านก็สามารถนำไปใช้ด้วยได้ เพียงเปลี่ยนสถานภาพจากส้มตำเป็นหุ้นเท่านั้นเอง เปลี่ยนสภาพแวดล้อมและวัตถุดิบ การจัดการ รูปแบบสถิติ หากมีปัญญาก็ทำได้หมดทุกอย่าง
ผมรู้ว่าหากพูดน้อย ท่านก็จะถามไปเรื่อย หรือเจอคำว่าอ้าวแค่นี้เองหรือ จึงสาธยายรวมๆไว้เวลามันยาวท่านกรัซกายขี้เกียจอ่านเด๋วก็เลิกถามเอง :b32: :b32: :b32:


จะเห็นได้ว่า ธรรม 1 อย่าง ใช้ได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะเชื่อมโยงกันไปเป็นระบบ
ซึ่งหากเราใช้ปัญญาพิจารณาจะมองเห็นเกินกว่าที่จะไปคิดว่า..ใครเอาธรรมใดมาประยุกต์มาใช้ยังไงบ้าง เขามามาใช้ได้จริงหรือ เขาแถดำน้ำไปไหม..ซึ่งบางทีบางคนก็ไม่อาจนำมาใช้ได้ เพราะอาจจะยังไม่ถึงเวลาของตนที่จะมีปัญญานำมาใช้ได้ ..ดังนั้นควรจะมองว่า.."พระธรรมของพระพุทธเจ้านี้สูง และกว้างมาก ขนาดตรัสไว้ตั้งกว่า 2600 ปีแล้ว ยังนำมาใช้ได้ แสดงให้เห็นว่าธรรมพระพุทธเจ้านี้ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดยุคสมัย อยู่ที่ตนจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับสถานภาพตนอย่างไรเท่านั้นเอง จึงควรน้อมมาสู่ตนอย่างยิ่ง" ดังนั้นควรโอปนะยิโกให้มาก ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำมาพูดเท่านั้น แต่ต้องทำ จึงจะชัดแจ้งได้


แต่หากท่านเอาไปใช้งานจริงผมยินดีที่จะแบ่งปันครับ แต่คิดว่าท่านคงจะไม่ได้ใช้แต่แค่ถามไปงั้นๆแหละ :b32: :b32: :b32: ดังนั้นให้พูดเกินนี้ ก็เปล่าประโยชน์ :b9: :b9: :b9:



บอกให้ตำส้มตำ โดยใช้พละ ๕ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกแต่ต้นแล้วว่า ตำส้มตำให้เสร็จ 1 ครก อร่อยดีถูกปากถูกใจคนกิน พลธรรมเข้าหมดแล้ว :b12:

เพลงส้มตำ

https://www.youtube.com/watch?v=5zyuLYNhPHg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกแต่ต้นแล้วว่า ตำส้มตำให้เสร็จ 1 ครก อร่อยดีถูกปากถูกใจคนกิน พลธรรมเข้าหมดแล้ว :b12:

เพลงส้มตำ

https://www.youtube.com/watch?v=5zyuLYNhPHg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกแต่ต้นแล้วว่า ตำส้มตำให้เสร็จ 1 ครก อร่อยดีถูกปากถูกใจคนกิน พลธรรมเข้าหมดแล้ว :b12:

เพลงส้มตำ

https://www.youtube.com/watch?v=5zyuLYNhPHg


ต่อไปเอาครกเอาสากเอาจานไปล้างเสร็จเรียบร้อยสะอาดดีไม่ตกแตก เอามาเก็บให้เรียบร้อย พลธรรมเข้าหมดอีกแล้ว อิอิ

เอาอินทรีย์ ๕ ด้วยก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2019, 19:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บอกแต่ต้นแล้วว่า ตำส้มตำให้เสร็จ 1 ครก อร่อยดีถูกปากถูกใจคนกิน พลธรรมเข้าหมดแล้ว :b12:

เพลงส้มตำ

https://www.youtube.com/watch?v=5zyuLYNhPHg


ต่อไปเอาครกเอาสากเอาจานไปล้างเสร็จเรียบร้อยสะอาดดีไม่ตกแตก เอามาเก็บให้เรียบร้อย พลธรรมเข้าหมดอีกแล้ว อิอิ

เอาอินทรีย์ ๕ ด้วยก็ได้



.. การที่บอกว่าทำงานเสร็จ พละธรรมครบหมด โดยที่ไม่อาจจะบอกได้ว่า แต่ละอย่างคืออะไร เป็นแบบไหน ยังไง มันก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถาม หรือชี้ได้ว่า พละธรรมคือะไร ถูกมั้ยครับ

.. ซึ่งผมถามท่านตั้งแต่แรกว่า ที่ท่านบอกทำเสร็จธรรมก็ครบหมด ที่ว่าทำเสร็จธรรมครบ คือ ทำยังไง ท่านก็ไม่ตอบไม่กล่าว ยกตัวอย่างบางคนทำไปผ่านๆให้จบให้เสร็จก็มีนะครับ อิอิ :b32: :b32: :b32:
.. หรือธรรมพระพุทธเจ้ามีมากมายบอกว่าไปนิพพานได้ก็จบ แล้วจะไปยังไงล่ะ ทำยังไงจึงไปนิพพาน บอกละสังโยชน์ แล้วจะละยังไง ละได้ก็ไปนิพพาน :b32: :b32: :b32:


.. ดังนั้นจึงต้องจำแนกให้เห็น ถ้าไม้สามารถจำแนกได้ แล้วบอกแค่ว่าทำเสร็จก็จบแล้ว หรือ..ทำให้ดี ให้เสร็จ อย่างไรที่ชื่อว่าดี อย่างไรที่ชื่อว่าเสร็จถูกต้อง ใช่มั้ยท่าน อิอิ :b29: :b29:

.. ทำไมต้องจำแนก การจำแนกธรรมให้ดูเป็นข้อๆของธรรมสังขารแต่ละตัวได้ มันก็เป็นตัวอย่างให้นำสืบต่อไปใช้ในเรื่องๆอื่นๆต่อไปได้ครอบคลุม

.. ความเป็นอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่เป็นใหญ่นำโต่งเขาไม่มีใครใหญ่กว่ากลบเขาอย่างที่สอนตามๆกันมาตามตัวหนังสือเท่านั้น ..หากเข้ารู้ธรรมจริงแล้วจะรู้ทันทีว่า..จริงๆแล้ว ความเป็นอินทรีย์นี้ แต่ละตัวเขาจะมีเอกลักษณ์หน้าที่และการทำงานซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเขา ที่ไม่มีตัวอื่นทำหน้าที่แทนได้ ..ดังนั้นก็จึงจำแนกไว้เป็นข้อๆกล่าวถึงหน้าที่ และวิธีแนวการเจริญปฏิบัติทำในแต่ละตัวได้

ส่วนผมจำแนกเป็นข้อๆได้ ตำส้มตำด้วยพละ ๕ นั้น

๑. ศรัทธา ก็ความเชื่อ เราเชื่อมั่นในรสชาติหลักที่ตนตำขาย
(ความเชื่อเป็นกำลังตัวน้อมนำให้เกิดการกระทำต่างๆถูกมั้ย)

๒. วิริยะ ก็ความเพียร มุ่งมั่นตำโขก ปรุงรส ใส่เครื่อง ให้ได้รสชาติและหน้าตาออกมาดี
(ความเพียรเป็นกำลังใจภายในประครองทำไปให้สำเร็จดีถูกมั้ย)

๓. สติ ก็มีความรู้ว่ากำลังตำอยู่ ลำดับการใส่เครื่องปรุง การตำ รู้ว่าใส่เครื่องปรุงเครื่องเคียงอะไรไปบ้าง กำลังตำอะไร ตำแซบ ตำนัว ตำซั่ว แบบไหน ยังไง
(ความระลึกได้เป็นกำลังให้รู้ในขณะนั้นๆและจดจำได้ว่าทำอะไรไปแล้วในการดำเนินงานต่างๆถูกไหม คือว่าตนกำลังทำอะไร ถึงไหนแล้ว เป็นไปอย่างไร )

๔. สมาธิ ก็ตั้งใจตำส้มตำ ให้ดี ไม่วอกแวก เมื่อไม่ผละวอกแวกหลุดจากการตำก็จะรู้เสมอๆว่าการตำส้มตำครกนี้เป็นอย่างไรบ้างมีอะไรใส่ไปในครกแล้ว
(ความตั้งมั่นเป็นกำลังให้เกิดความตั้งใจอยู่กับงานไม่ละเลยเห็นความเป็นไปตามจริงทุกขั้นตอนในงาน ทำให้เห็นการดำเนินงานในทุกขั้นทุกตอนตามจริง)

๕. ปัญญา ก็ดู สี รส เกินไหม ขาดอะไร แก้ไขรสชาติ หรือหน้าตายังไงให้น่าทาน และอร่อยลูกค้าถูกใจ
(ความรู้ความเข้าใจเป็นกำลังให้เรา รู้เห็นตามจริงถึงความเป็นเหตุ ปัจจัย ผล ข้อดี ข้อบกพร่อง สิ่งใดขาด สิ่งใดเกิน จะแก้ไขอย่างไร เพิ่มหรือลดสิ่งใด การได้ผลอย่างนี้เพราะอะไร เป็นความแจ้งแทงตลอดโดยแยบตาย)

:b32: :b32: :b32: ครบหมดแล้ว มันก็จะเกิดแนวทางทิศทางให้นำไปใช้สืบต่อในสิ่งอื่นๆได้อีก

ต่างกันไหมครับ..กับคำว่า.."ตำเสร็จก็พละธรรมครบแล้ว" พูดเท่านั้น ไม่อาจจะอธิบายเกินคำนั้นๆได้ ดังนั้นการจะกล่าวสิ่งใดเราต้องแจ้งและเจริญธรรมนั้นแล้วก่อน รู้ชัด จำแนก แจกแจง อธิบายได้ ซึ่งผมทำครบแล้วครับท่านกรัซกาย :b16: :b16: :b16:

-----------------------

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2019, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ผู้ใดศิลมีธรรมประจำใจ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
... ศึกษาเล่าเรียนแม่นยำ ทรงจำสัทธรรมขึ้นใจ
ผู้นั้นแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากความกลัวเวรภัย
... ปัญญาคล่องแคล่วว่องไว ดำรงชีพได้อย่างดี

คุณแค่อากาศ สาธยาธรรม บทที่ว่า
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)
ให้ผมฟังเพิ่มอีกหน่อยได้มั้ยครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ


จิตรู้สมมติเป็น สมุทัย มีหลายระดับครับ

- ขั้นต้นพื้นฐานเลย คือ..ไม่รู้ปัจจุบัน เป็นกิริยาที่จิตติดหลงอยู่กับสมมติความคิดที่เกิดจากกิเลสในใจปรุงแต่งเรื่องราวความรู้สึกสร้างขึ้นมา จากความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่ออารมณ์ต่างๆที่รับรู้ จากสิ่งที่ผ่านมาแล้วบ้าง จากสิ่งยังไม่เกิดขึ้นบ้าง

- ขั้นกลาง คือ..ไม่เห็นของจริงแท้ เป็นกิริยาที่จิตรับรู้เพียงความจำได้หมายรู้ เป็นตัวตน บุคคล สิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยไม่เข้าไปเห็นของจริงในความเป็นสิ่งนั้นๆ กล่าวคือ จิตไม่เดินในสติปัฏฐาน ๔ จนรู้เห็นจริงในสิ่งนั้นๆ เช่น คนศึกษาธรรมโดยมากทุกคนรู้หมดสติปัฏฐาน ๔ รู้อภิธรรมจำได้หมด รู้รูป รู้นาม ท่องจำขึ้นใจรู้หมดมีอะไรบ้าง รู้วิธีเจริญ แต่ยังสะสมเหตุไม่พอให้จิตเดินในมหาสติปัฏฐานจนเกิดรู้เห็นของจริง เช่น กายนี้ไม่ว่าส่วนใดก็ไม่ใช่ตัวตนของใคร ไม่มีตัวตนบุคคลใดในนั้น แค่ธาตุที่มีทั่วไปกอปรกันขึ้นให้ใจเข้ายึดครองอาศัยชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยน เสื่อม พัง, ไม่เห็นจริงในกามคุณ ๕ ความรู้สึกของปลอมที่เนื่องด้วยอายตนะ ๕ สืบต่อสมมติมาให้ใจรู้ แล้วหลงยึดว่าเป็นสุขหรือทุกข์ทั้งๆที่แท้จริงแล้วความรู้สึกนั้นไม่ได้เนื่องด้วยใจแท้จริง, สิ่งที่ปรุงแต่งให้ใจรู้เป็นแค่ธัมมารมณ์ภายนอก, ไม่เห็นไตรลักษณ์ของแท้จริงที่ไม่ใช่การท่องจำ หรือตรึกนึกคิดตามเอา

- ขั้นสุด คือ..ความไม่รู้อริยะสัจ ๔ ข้อนี้คืออะไร อวิชชาคือความไม่รู้ของจริง คือ ไม่เห็นของแท้จริงในสังขารุเปกขา ทำให้เอาใจเข้ายึดครองทุกสิ่งทั้งหมดที่ใจได้รับรู้ ..ถึงแม้จะท่องจำอริยะสัจ ๔ ได้ขึ้นใจรู้หมดทั้งวิธีเจริญ แต่จิตไม่ทำกิจในพระอริยะสัจ ๔ คือ ตราบที่จิตไม่เดินรอบ ๓ อาการ ๑๒ ก็ยังไม่รู้ของจริง ไม่ถึงวิชชาอยู่อย่างนั้น ได้มากสุดก็แค่สะสมเป็นบุญแก่ขันธ์ คือ สาสวะ

ทุกข์ คือ ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติตามนี้

มรรค คือ คือจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติด้วยประการดังนี้

นิโรธ คือ ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติดังนี้

ผมมีปัญญาน้อยก็กล่าวสาธยายธรรมนั้นให้กระชับสุดได้ดังนี้ครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 30 ม.ค. 2019, 23:34, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2019, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
Love J. เขียน:
ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ผู้ใดศิลมีธรรมประจำใจ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
... ศึกษาเล่าเรียนแม่นยำ ทรงจำสัทธรรมขึ้นใจ
ผู้นั้นแกล้วกล้าสามารถ ปราศจากความกลัวเวรภัย
... ปัญญาคล่องแคล่วว่องไว ดำรงชีพได้อย่างดี

คุณแค่อากาศ สาธยาธรรม บทที่ว่า
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)
ให้ผมฟังเพิ่มอีกหน่อยได้มั้ยครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ


จิตรู้สมมติเป็น สมุทัย มีหลายระดับครับ
- ขั้นต้นพื้นฐานเลยคือ..ไม่รู้ปัจจุบัน เป็นกิริยาที่จิตติดหลงอยู่กับสมมติความคิดที่เกิดจากกิเลสในใจปรุงแต่งเรื่องราวความรู้สึกสร้างขึ้นมา จากความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ต่ออารมณ์ต่างๆที่รับรู้ จากสิ่งที่ผ่านมาแล้วบ้าง จากสิ่งยังไม่เกิดขึ้นบ้าง
- ขั้นกลาง คือ..ไม่เห็นของจริงแท้ เป็นกิริยาที่จิตรับรู้เพียงความจำได้หมายรู้ เป็นตัวตน บุคคล สิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยไม่เข้าไปเห็นของจริงในความเป็นสิ่งนั้นๆ กล่าวคือ จิตไม่เดินในสติปัฏฐาน ๔ จนรู้เห็นจริงในสิ่งนั้นๆ เช่น คนศึกษาธรรมโดยมากทุกคนรู้หมดสติปัฏฐาน ๔ รู้อภิธรรมจำได้หมด รู้รูป รู้นาม ท่องจำขึ้นใจรู้หมดมีอะไรบ้าง รู้วิธีเจริญ แต่ยังสะสมเหตุไม่พอให้จิตเดินในมหาสติปัฏฐานจนเกิดรู้เห็นของจริง เช่น กายนี้ไม่ว่าส่วยใดไม่ใช่ตัว ไม่มีตัวตนบุคคลใดในนั้น แค่ธาตุที่มีทั่วไปกอปรกันขึ้นให้ใจเข้าอาศัยชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยน เสื่อม พัง, ไม่เห็นจริงในกามคุณ ๕ ความรู้สึกของปลอมที่เนื่องด้วยอายตนะ ๕ สืบต่อสมมติมาให้ใจรู้ แล้วหลงยึดว่าเป็นสุขหรือทุกข์ทั้งๆที่แท้จริงแล้วความรู้สึกนั้นไม่ได้เนื่องด้วยใจแท้จริง, สิ่งที่ปรุงแต่งให้ใจรู้เป็นแค่ธัมมารมณ์ภายนอก, ไม่เห็นไตรลักษณ์ของแท้จริงที่ไม่ใช่การท่องจำ หรือตรึกนึกคิดตามเอา
- ขั้นสุดคือความไม่รู้อริยะสัจ ๔ ข้อนี้คืออะไร อวิชชาคือความไม่รู้ของจริง คือ ไม่เห็นของแท้จริงในสังขารุเปกขา ทำให้เอาใจเข้ายึดครองทุกสิ่งทั้งหมดที่ใจได้รับรู้ ..ถึงแม้จะท่องจำอริยะสัจ ๔ ได้ขึ้นใจรู้หมดทั้งวิธีเจริญ แต่จิตไม่ทำกิจในพระอริยะสัจ ๔ คือ ตราบที่จิตไม่เดินรอบ ๓ อาการ ๑๒ ก็ยังไม่รู้ของจริง ไม่ถึงวิชชาอยู่อย่างนั้น ได้มากสุดก็แค่สะสมเป็นบุญแก่ขันธ์ คือ สาสวะ

ทุกข์ คือ ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติตามนี้

มรรค คือ คือจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติด้วยประการดังนี้

นิโรธ คือ ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติดังนี้

ผมมีปัญญาน้อยก็กล่าวสาธยายธรรมนั้นให้กระชับสุดได้ดังนี้ครับ


คุณไปเอามาแต่ไหน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2019, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บอกแต่ต้นแล้วว่า ตำส้มตำให้เสร็จ 1 ครก อร่อยดีถูกปากถูกใจคนกิน พลธรรมเข้าหมดแล้ว :b12:

เพลงส้มตำ

https://www.youtube.com/watch?v=5zyuLYNhPHg


ต่อไปเอาครกเอาสากเอาจานไปล้างเสร็จเรียบร้อยสะอาดดีไม่ตกแตก เอามาเก็บให้เรียบร้อย พลธรรมเข้าหมดอีกแล้ว อิอิ

เอาอินทรีย์ ๕ ด้วยก็ได้



.. การที่บอกว่าทำงานเสร็จ พละธรรมครบหมด โดยที่ไม่อาจจะบอกได้ว่า แต่ละอย่างคืออะไร เป็นแบบไหน ยังไง มันก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถาม หรือชี้ได้ว่า พละธรรมคือะไร ถูกมั้ยครับ

.. ซึ่งผมถามท่านตั้งแต่แรกว่า ที่ท่านบอกทำเสร็จธรรมก็ครบหมด ที่ว่าทำเสร็จธรรมครบ คือ ทำยังไง ท่านก็ไม่ตอบไม่กล่าว ยกตัวอย่างบางคนทำไปผ่านๆให้จบให้เสร็จก็มีนะครับ อิอิ :b32: :b32: :b32:
.. หรือธรรมพระพุทธเจ้ามีมากมายบอกว่าไปนิพพานได้ก็จบ แล้วจะไปยังไงล่ะ ทำยังไงจึงไปนิพพาน บอกละสังโยชน์ แล้วจะละยังไง ละได้ก็ไปนิพพาน :b32: :b32: :b32:


.. ดังนั้นจึงต้องจำแนกให้เห็น ถ้าไม้สามารถจำแนกได้ แล้วบอกแค่ว่าทำเสร็จก็จบแล้ว หรือ..ทำให้ดี ให้เสร็จ อย่างไรที่ชื่อว่าดี อย่างไรที่ชื่อว่าเสร็จถูกต้อง ใช่มั้ยท่าน อิอิ :b29: :b29:

.. ทำไมต้องจำแนก การจำแนกธรรมให้ดูเป็นข้อๆของธรรมสังขารแต่ละตัวได้ มันก็เป็นตัวอย่างให้นำสืบต่อไปใช้ในเรื่องๆอื่นๆต่อไปได้ครอบคลุม

.. ความเป็นอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่เป็นใหญ่นำโต่งเขาไม่มีใครใหญ่กว่ากลบเขาอย่างที่สอนตามๆกันมาตามตัวหนังสือเท่านั้น ..หากเข้ารู้ธรรมจริงแล้วจะรู้ทันทีว่า..จริงๆแล้ว ความเป็นอินทรีย์นี้ แต่ละตัวเขาจะมีเอกลักษณ์หน้าที่และการทำงานซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเขา ที่ไม่มีตัวอื่นทำหน้าที่แทนได้ ..ดังนั้นก็จึงจำแนกไว้เป็นข้อๆกล่าวถึงหน้าที่ และวิธีแนวการเจริญปฏิบัติทำในแต่ละตัวได้

ส่วนผมจำแนกเป็นข้อๆได้ ตำส้มตำด้วยพละ ๕ นั้น

๑. ศรัทธา ก็ความเชื่อ เราเชื่อมั่นในรสชาติหลักที่ตนตำขาย
(ความเชื่อเป็นกำลังตัวน้อมนำให้เกิดการกระทำต่างๆถูกมั้ย)

๒. วิริยะ ก็ความเพียร มุ่งมั่นตำโขก ปรุงรส ใส่เครื่อง ให้ได้รสชาติและหน้าตาออกมาดี
(ความเพียรเป็นกำลังใจภายในประครองทำไปให้สำเร็จดีถูกมั้ย)

๓. สติ ก็มีความรู้ว่ากำลังตำอยู่ ลำดับการใส่เครื่องปรุง การตำ รู้ว่าใส่เครื่องปรุงเครื่องเคียงอะไรไปบ้าง กำลังตำอะไร ตำแซบ ตำนัว ตำซั่ว แบบไหน ยังไง
(ความระลึกได้เป็นกำลังให้รู้ในขณะนั้นๆและจดจำได้ว่าทำอะไรไปแล้วในการดำเนินงานต่างๆถูกไหม คือว่าตนกำลังทำอะไร ถึงไหนแล้ว เป็นไปอย่างไร )

๔. สมาธิ ก็ตั้งใจตำส้มตำ ให้ดี ไม่วอกแวก เมื่อไม่ผละวอกแวกหลุดจากการตำก็จะรู้เสมอๆว่าการตำส้มตำครกนี้เป็นอย่างไรบ้างมีอะไรใส่ไปในครกแล้ว
(ความตั้งมั่นเป็นกำลังให้เกิดความตั้งใจอยู่กับงานไม่ละเลยเห็นความเป็นไปตามจริงทุกขั้นตอนในงาน ทำให้เห็นการดำเนินงานในทุกขั้นทุกตอนตามจริง)

๕. ปัญญา ก็ดู สี รส เกินไหม ขาดอะไร แก้ไขรสชาติ หรือหน้าตายังไงให้น่าทาน และอร่อยลูกค้าถูกใจ
(ความรู้ความเข้าใจเป็นกำลังให้เรา รู้เห็นตามจริงถึงความเป็นเหตุ ปัจจัย ผล ข้อดี ข้อบกพร่อง สิ่งใดขาด สิ่งใดเกิน จะแก้ไขอย่างไร เพิ่มหรือลดสิ่งใด การได้ผลอย่างนี้เพราะอะไร เป็นความแจ้งแทงตลอดโดยแยบตาย)

:b32: :b32: :b32: ครบหมดแล้ว มันก็จะเกิดแนวทางทิศทางให้นำไปใช้สืบต่อในสิ่งอื่นๆได้อีก

ต่างกันไหมครับ..กับคำว่า.."ตำเสร็จก็พละธรรมครบแล้ว" พูดเท่านั้น ไม่อาจจะอธิบายเกินคำนั้นๆได้ ดังนั้นการจะกล่าวสิ่งใดเราต้องแจ้งและเจริญธรรมนั้นแล้วก่อน รู้ชัด จำแนก แจกแจง อธิบายได้ ซึ่งผมทำครบแล้วครับท่านกรัซกาย :b16: :b16: :b16:

-----------------------


คุณว่า นี่เขามีพลธรรมไหม ดูก่อนแล้วค่อยตอบ

https://www.facebook.com/10000810930913 ... 482697007/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 128 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron