วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมในการดำรงชีพ (แลกเปลี่ยนธรรมในการใช้ดำรงชีพ)

เป็นหัวข้อพื้นๆ ซึ่งใครมีงานอะไร มีอาชีพอะไรก็ไปทำกันไปตามอาชีพของตนๆ ทำงานให้สำเร็จลุล่วง ก็สมกับกระทู้แล้ว

แต่ไม่ ไม่เป็นหลักธรรมตามกระทู้นั้น ผ่าไปเอาธรรมะระดับลึกระดับนามธรรมลึกๆมาเซ็ดกัน มันจึง คิกๆๆ นี่ๆ จิตพวกเรายังตามหากันยังไม่เจอะเลย ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


่ตัวอย่างพุทธธรรมในการดำรงชีพ




ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่า ตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จะขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขปัจจุบัน กล่าวคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

๑) อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ก็ดี พาณิชยกรรม ก็ดี โครักขกรรม ก็ดี ราชการทหาร ก็ดี ราชการพลเรือน ก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี เธอเป็นผู้ขยัน ชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

๒) อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร ราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพาไปเสีย ทายาทอัปรีย์ก็จะไม่พึงเอาไปเสีย นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

๓) กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีล ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา

๔) สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเลี้ยงชีวิพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้

“ถ้าหากกุลบุตร นี้ รายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ...กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...นี้เรียกว่า สมชีวิตา

"ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อบายมุข ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยลงอย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นได้เลย...

“ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อายมุข ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายดี ใฝ่ใจในกัลยาณชน เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำใหญ่ ใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความเพิ่มพูนอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร” (องฺ.อฏฺฐก.23/145/294)

@ จำง่ายๆ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตเหมาะสม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 10:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ผมไม่ได้กล่าวว่า พ้มปฏิบัติดีแล้ว พ้มไม่เอาตำราแล้ว อย่าเอาตำรา
ตามดำรัสของพระพุทธเจ้า ในมหาประเทศอย่าเอาพระปริยัติธรรม
อย่าเอาพระธรรมวินัย มาตรวจสอบพ้ม

ผมกล่าวว่าส่วนผมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แน่นหนามั่นคงในใจแล้ว
จะเอาอะไรมาตรวจสอบผม ผมก็ยินดีเปิดเผยตามจริงตามที่ตนได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจ
อะไรไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ก็จะบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น คุณโลกสวยอยากตรวจสอบก็เชิญ
นะครับ


คริคริ

อย่างนี้ค่อยน่าร๊ากหน่อยค่ะ

พระพุทธองค์สอนให้เอามหาประเทศ มาใช้ตรวจสอบ ว่าคำสอนต่างๆ คำกล่าวอ้างต่างๆ
ผิดเพี้ยน ต่อพระวจนะ ผิดต่อพระอภิธรรม พระปริยัติ พระวินัย ต่อพระไตรปิฎกขนาดไหน

จะทำให้ผู้ปฎิบัติ ผู้ที่เจริญรอยตามพระพุทธองค์ กระทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ไม่หลงผิด เห็นผิด

ความยอมรับพระรัตนตรัย ไม่ใช่แค่ปาก แต่ใจ มีความศิโรราบแค่ไหน ต่อพระรัตนตรัย

ในเมื่อ ถ้าขัดแย้งต่อพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ดีแล้ว

แต่ยังแถข้างๆคูๆ เอาตนเองเป็นหลัก นันไม่ใช่ ความยอมรับในพระพุทธพระธรรมพระอริยะ
แต่ มันเป็นอัตตา อันเขลาของตนเอง
และนั่นยังแสดงออก ความไม่ได้เคารพในพระธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเรย

แค่ออกมายอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานเบิกบาน ว่า มีผู้ชี้ทางถูกต้อง ตรงตามที่พระศาสดาสอนแล้ว

ความรู้ ความเข้าใจ การปฎิบัติ ก็จะปรับเปลี่ยนลงในความถูกต้องเอง
ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นเป็นสายไป ในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงแล้ว

แต่ถ้ายังดึงดัน แถข้างๆคูๆ แสดงความเขลาเบาปัญญาตนเอง
โดยไม่ยอมรับ ว่า ขัดแย้งต่อพระปริยัติ พระอภิธรรม พระไตรปิฎก

นั่นไม่ใช่วิสัย ของคนที่ยอมรับในพระศาสดา
แต่เอาตนเองเป็นใหญ่ เหนือคำสอนที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ดีแล้ว

ปริยัติเพี้ยนไปเป็นปริยัติของกรู ปริบัติแบบกรู ก็ไปปฎิเวธแบบกรู

ไม่ใช่ของพระศาสดา

แถมปรามาส ว่าคนที่เอาพระปริยัติ พระอภิธรรม พระไตรปิฎกมาแสดง ว่าขัดแย้งพระธรรมคำสอนอย่างไร
กลับกล่าวหาว่า วิกลจริต เป็นบ้า ระราน เป็นพวกอ่อนหัด ปฎิบัติไม่เป็น

ดังนั้น ก็ขอให้พระรัตนตรัย และพระแม่ธรณี ได้ทรงเป็นประจักษ์พยาน ด้วย

ว่างๆ เม ก็จะมาแสดงให้ ตามสไตร์ของเมหละค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b13: :b13: :b13:

คนนึ่ง..ดำรงชีพด้วยยูทูป

อีกคน..ก็ดำรงชีพด้วยการด่าคนอื่น..ไม่.ไม่.ไม่เรียนปริยัติ ไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก

ดำรงชีพด้วยพุทธธรรม..ซะจริง..

:b32: :b32: :b32:

รูปภาพ


คริคริ

แต่ สำหรับหนู
นอกจากไป ด่าว่า ผู้ที่ไม่เรียนปริยัติ ไม่เรียนพระธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก
หละหลวมการศึกษา

หนูยังเอามหาประเทศ ตามพระดำรัส ใช้ตำราจากพระพุทธองค์ มาใช้ตรวจสอบด้วย

ว่า ธรรมอันใด ไม่ใช่ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
คนเหล่าใด จำมาผิดๆๆ ท่องมาผิดๆๆ ปฎิบัติผิดๆ
ขัดแย้งต่อพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้วด้วยแหละค่ะ
เพราะหนูไม่โดนหลอกง่ายๆ ใครโม้อะไรก็เชื่อและหลงตามไงคะ



คริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ



สาธุด้วยความจริงใจ ธรรมะระดับนี้ อยู่ในระดับศีล เห็นเด่นในด้านสังคมมนุษย์

รอหน่อยจะตั้งกระทู้รวบรวมให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก่อนบวชท่านเป็นกษัตริย์เป็นนักปกครองบ้านเมืองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนในปกครองของท่าน มีเมียมีลูก

วางเค้าโครงให้เห็นภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหลักนี้ ทาน ศีล ภาวนา เห็นไหมอ่ะ ศีลเป็นเบื้องต้น พึงมองศีลให้กว้างมองให้สุดความหมายของมัน

ส่วน สมาธิ กับ ปัญญา เป็นนามธรรมภายในด้านจิตใจ ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น ต่างจากศีลที่มองเห็น เช่น ปาณาติบาต ฆ่าคนตาย เห็นเลยว่าผิดศีล แต่ต้นแหล่งก็มาจากภายในนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เห็นเอาตอนฆ่าคนตายแล้ว ว่าผิดศีล
คนลักทรัพย์ ผิดข้ออทินนาทาน ผู้คนภายนอกมองเห็นว่าลักของเขา แต่มองเข้าไปข้างในซึ่งเป็นต้นกำเนิดนั่นไม่เห็น ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Love J. เขียน:
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ



สาธุด้วยความจริงใจ ธรรมะระดับนี้ อยู่ในระดับศีล เห็นเด่นในด้านสังคมมนุษย์

รอหน่อยจะตั้งกระทู้รวบรวมให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก่อนบวชท่านเป็นกษัตริย์เป็นนักปกครองบ้านเมืองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนในปกครองของท่าน มีเมียมีลูก

วางเค้าโครงให้เห็นภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหลักนี้ ทาน ศีล ภาวนา เห็นไหมอ่ะ ศีลเป็นเบื้องต้น พึงมองศีลให้กว้างมองให้สุดความหมายของมัน

ส่วน สมาธิ กับ ปัญญา เป็นนามธรรมภายในด้านจิตใจ ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น ต่างจากศีลที่มองเห็น เช่น ปาณาติบาต ฆ่าคนตาย เห็นเลยว่าผิดศีล แต่ต้นแหล่งก็มาจากภายในนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เห็นเอาตอนฆ่าคนตายแล้ว ว่าผิดศีล
คนลักทรัพย์ ผิดข้ออทินนาทาน ผู้คนภายนอกมองเห็นว่าลักของเขา แต่มองเข้าไปข้างในซึ่งเป็นต้นกำเนิดนั่นไม่เห็น ฯลฯ

คริคริ

เอาอีกแล้ว คุณลุงกรัชกาย ไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก
เรยน๊อตหลวมซะแหล่ว
เมต้องไขให้แน่น หน่อย

ทาน เป็นความดีขั้นต้น ไม่ใช่ศีลค่ะ

พระพุทธองค์ตรัสถึงการบำเพ็ญความดี
คือ
ทานมัย เป็นความดีขั้นต้น
ศีลมัย เป็นความดีขั้นกลาง
ภาวนามัย เป็นความดีขั้นสูง

รวม เป็น ทาน .ศีล .ภาวนา ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Love J. เขียน:
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ



สาธุด้วยความจริงใจ ธรรมะระดับนี้ อยู่ในระดับศีล เห็นเด่นในด้านสังคมมนุษย์

รอหน่อยจะตั้งกระทู้รวบรวมให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก่อนบวชท่านเป็นกษัตริย์เป็นนักปกครองบ้านเมืองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนในปกครองของท่าน มีเมียมีลูก

วางเค้าโครงให้เห็นภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหลักนี้ ทาน ศีล ภาวนา เห็นไหมอ่ะ ศีลเป็นเบื้องต้น พึงมองศีลให้กว้างมองให้สุดความหมายของมัน

ส่วน สมาธิ กับ ปัญญา เป็นนามธรรมภายในด้านจิตใจ ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น ต่างจากศีลที่มองเห็น เช่น ปาณาติบาต ฆ่าคนตาย เห็นเลยว่าผิดศีล แต่ต้นแหล่งก็มาจากภายในนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เห็นเอาตอนฆ่าคนตายแล้ว ว่าผิดศีล
คนลักทรัพย์ ผิดข้ออทินนาทาน ผู้คนภายนอกมองเห็นว่าลักของเขา แต่มองเข้าไปข้างในซึ่งเป็นต้นกำเนิดนั่นไม่เห็น ฯลฯ

คริคริ

เอาอีกแล้ว คุณลุงกรัชกาย ไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก
เรยน๊อตหลวมซะแหล่ว
เมต้องไขให้แน่น หน่อย

ทาน เป็นความดีขั้นต้น ไม่ใช่ศีลค่ะ

พระพุทธองค์ตรัสถึงการบำเพ็ญความดี
คือ
ทานมัย เป็นความดีขั้นต้น
ศีลมัย เป็นความดีขั้นกลาง
ภาวนามัย เป็นความดีขั้นสูง

รวม เป็น ทาน .ศีล .ภาวนา ค่ะ



ก็ยกมาให้ดูทั้งสองแบบแว้ว ศีล สมาธิ ปัญญา หรือแบบ ทาน ศีล ภาวนา แล้วจะเอาอะไรกับลุงอีก ลุงนี่ปวดหัวปวดเฮดกับหลานจินๆ :b32:

หลักไตรสิกขา ศีล เป็นเบื้องต้น หลักบุญกิริยา ทาน เป็นเบื้องต้น ศีลตามมาที่สอง นี่ท่านเน้นสอนคฤหัสถ์ ส่วนไตรสิกขาเน้นภิกษุ เรื่องมันเป็นฉะอี้แล.

กันไว้ก่อน แม้ไตรสิกขา จะเน้นสอนภิกษุ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามว่าคฤหัสถ์ทำไม่ได้นะ แต่ต้องมีผู้รู้เรื่องนามธรรมภายใน คือ สมาธิ กับปัญญาแนะนำ

ดูจุดประสงค์ของไตรสิกขานิดหนึ่ง ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ เข้าใจไหมหลานเอ้ย

จบแข้งมั่ง ข่าว (เข่า) เจ็บ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Love J. เขียน:
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ



สาธุด้วยความจริงใจ ธรรมะระดับนี้ อยู่ในระดับศีล เห็นเด่นในด้านสังคมมนุษย์

รอหน่อยจะตั้งกระทู้รวบรวมให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก่อนบวชท่านเป็นกษัตริย์เป็นนักปกครองบ้านเมืองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนในปกครองของท่าน มีเมียมีลูก

วางเค้าโครงให้เห็นภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหลักนี้ ทาน ศีล ภาวนา เห็นไหมอ่ะ ศีลเป็นเบื้องต้น พึงมองศีลให้กว้างมองให้สุดความหมายของมัน

ส่วน สมาธิ กับ ปัญญา เป็นนามธรรมภายในด้านจิตใจ ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น ต่างจากศีลที่มองเห็น เช่น ปาณาติบาต ฆ่าคนตาย เห็นเลยว่าผิดศีล แต่ต้นแหล่งก็มาจากภายในนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เห็นเอาตอนฆ่าคนตายแล้ว ว่าผิดศีล
คนลักทรัพย์ ผิดข้ออทินนาทาน ผู้คนภายนอกมองเห็นว่าลักของเขา แต่มองเข้าไปข้างในซึ่งเป็นต้นกำเนิดนั่นไม่เห็น ฯลฯ

คริคริ

เอาอีกแล้ว คุณลุงกรัชกาย ไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก
เรยน๊อตหลวมซะแหล่ว
เมต้องไขให้แน่น หน่อย

ทาน เป็นความดีขั้นต้น ไม่ใช่ศีลค่ะ

พระพุทธองค์ตรัสถึงการบำเพ็ญความดี
คือ
ทานมัย เป็นความดีขั้นต้น
ศีลมัย เป็นความดีขั้นกลาง
ภาวนามัย เป็นความดีขั้นสูง

รวม เป็น ทาน .ศีล .ภาวนา ค่ะ



ก็ยกมาให้ดูทั้งสองแบบแว้ว ศีล สมาธิ ปัญญา หรือแบบ ทาน ศีล ภาวนา แล้วจะเอาอะไรกับลุงอีก ลุงนี่ปวดหัวปวดเฮดกับหลานจินๆ :b32:

หลักไตรสิกขา ศีล เป็นเบื้องต้น หลักบุญกิริยา ทาน เป็นเบื้องต้น ศีลตามมาที่สอง นี่ท่านเน้นสอนคฤหัสถ์ ส่วนไตรสิกขาเน้นภิกษุ เรื่องมันเป็นฉะอี้แล.

กันไว้ก่อน แม้ไตรสิกขา จะเน้นสอนภิกษุ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามว่าคฤหัสถ์ทำไม่ได้นะ แต่ต้องมีผู้รู้เรื่องนามธรรมภายใน คือ สมาธิ กับปัญญาแนะนำ

ดูจุดประสงค์ของไตรสิกขานิดหนึ่ง ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ เข้าใจไหมหลานเอ้ย

จบแข้งมั่ง ข่าว (เข่า) เจ็บ คิกๆๆ


คริคริ

คุณลุงกรัชกาย ไมได้เรียนพระไตรปิฎก ไม่ได้เรียนวิสุทธมรรค

เรยเข้าใจผิดๆ ในหลักไตรสิกขาว่า ศีลเป็นความดีขั้นต้น

เรยเดินเข่าอ่อนสะดุดขาตัวเองเจ็บ เดี๊ยวเมเรียกปอเต๊กตึ้งมาช่วยนะคะ

ในพระไตรปิฎก ในวิสุทธมรรคระบุว่า

จุดหมายจุดประสงค์ ของไตรสิกขา หมายเอาศีล สมาธิ ปัญญาที่กำลังเกิด พร้อมในอารมณ์เดียวกัน ค่ะ
ไม่ได้แยกเป็นเอกเทส ไม่ได้แยกเป็นขั้นๆค่ะ ว่าอะไรเกิดก่อนหลัง ไม่ได้แยก ว่าขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นโคม่า

แต่หมายถึงเกิดพร้อมในอารมณ์เดียวกันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Love J. เขียน:
ธรรมะ ประเภทนี้แหละที่ผมอยากได้ ขอบคุณครับคุณกรัชกาย
โมทนาสาธุ ครับ



สาธุด้วยความจริงใจ ธรรมะระดับนี้ อยู่ในระดับศีล เห็นเด่นในด้านสังคมมนุษย์

รอหน่อยจะตั้งกระทู้รวบรวมให้เห็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งก่อนบวชท่านเป็นกษัตริย์เป็นนักปกครองบ้านเมืองบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนในปกครองของท่าน มีเมียมีลูก

วางเค้าโครงให้เห็นภาพ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหลักนี้ ทาน ศีล ภาวนา เห็นไหมอ่ะ ศีลเป็นเบื้องต้น พึงมองศีลให้กว้างมองให้สุดความหมายของมัน

ส่วน สมาธิ กับ ปัญญา เป็นนามธรรมภายในด้านจิตใจ ซึ่งมองด้วยตาไม่เห็น ต่างจากศีลที่มองเห็น เช่น ปาณาติบาต ฆ่าคนตาย เห็นเลยว่าผิดศีล แต่ต้นแหล่งก็มาจากภายในนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เห็นเอาตอนฆ่าคนตายแล้ว ว่าผิดศีล
คนลักทรัพย์ ผิดข้ออทินนาทาน ผู้คนภายนอกมองเห็นว่าลักของเขา แต่มองเข้าไปข้างในซึ่งเป็นต้นกำเนิดนั่นไม่เห็น ฯลฯ

คริคริ

เอาอีกแล้ว คุณลุงกรัชกาย ไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนพระไตรปิฎก
เรยน๊อตหลวมซะแหล่ว
เมต้องไขให้แน่น หน่อย

ทาน เป็นความดีขั้นต้น ไม่ใช่ศีลค่ะ

พระพุทธองค์ตรัสถึงการบำเพ็ญความดี
คือ
ทานมัย เป็นความดีขั้นต้น
ศีลมัย เป็นความดีขั้นกลาง
ภาวนามัย เป็นความดีขั้นสูง

รวม เป็น ทาน .ศีล .ภาวนา ค่ะ



ก็ยกมาให้ดูทั้งสองแบบแว้ว ศีล สมาธิ ปัญญา หรือแบบ ทาน ศีล ภาวนา แล้วจะเอาอะไรกับลุงอีก ลุงนี่ปวดหัวปวดเฮดกับหลานจินๆ :b32:

หลักไตรสิกขา ศีล เป็นเบื้องต้น หลักบุญกิริยา ทาน เป็นเบื้องต้น ศีลตามมาที่สอง นี่ท่านเน้นสอนคฤหัสถ์ ส่วนไตรสิกขาเน้นภิกษุ เรื่องมันเป็นฉะอี้แล.

กันไว้ก่อน แม้ไตรสิกขา จะเน้นสอนภิกษุ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามว่าคฤหัสถ์ทำไม่ได้นะ แต่ต้องมีผู้รู้เรื่องนามธรรมภายใน คือ สมาธิ กับปัญญาแนะนำ

ดูจุดประสงค์ของไตรสิกขานิดหนึ่ง ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ เข้าใจไหมหลานเอ้ย

จบแข้งมั่ง ข่าว (เข่า) เจ็บ คิกๆๆ


คริคริ

คุณลุงกรัชกาย ไมได้เรียนพระไตรปิฎก ไม่ได้เรียนวิสุทธมรรค

เรยเข้าใจผิดๆ ในหลักไตรสิกขาว่า ศีลเป็นความดีขั้นต้น

เรยเดินเข่าอ่อนสะดุดขาตัวเองเจ็บ เดี๊ยวเมเรียกปอเต๊กตึ้งมาช่วยนะคะ

ในพระไตรปิฎก ในวิสุทธมรรคระบุว่า

จุดหมายจุดประสงค์ ของไตรสิกขา หมายเอาศีล สมาธิ ปัญญาที่กำลังเกิด พร้อมในอารมณ์เดียวกัน ค่ะ
ไม่ได้แยกเป็นเอกเทส ไม่ได้แยกเป็นขั้นๆค่ะ ว่าอะไรเกิดก่อนหลัง ไม่ได้แยก ว่าขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นโคม่า

แต่หมายถึงเกิดพร้อมในอารมณ์เดียวกันค่ะ




เอาอีกแระ นี่ถ้ามีกระพริบตาอีกอย่าง จะเหมือนคุณโรสเบย

มันจะเกิดได้ยังไง ถ้ายังไม่ทำ เกิดก่อนทำหรอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 19:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พุทธธรรมในการดำรงชีพ (แลกเปลี่ยนธรรมในการใช้ดำรงชีพ)

เป็นหัวข้อพื้นๆ ซึ่งใครมีงานอะไร มีอาชีพอะไรก็ไปทำกันไปตามอาชีพของตนๆ ทำงานให้สำเร็จลุล่วง ก็สมกับกระทู้แล้ว

แต่ไม่ ไม่เป็นหลักธรรมตามกระทู้นั้น ผ่าไปเอาธรรมะระดับลึกระดับนามธรรมลึกๆมาเซ็ดกัน มันจึง คิกๆๆ นี่ๆ จิตพวกเรายังตามหากันยังไม่เจอะเลย ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร :b32:


ก็แต่มีแค่พื้นๆเท่านั้นแล้วจะตั้งกระทู้ทำไมล่ะท่าน :b32: :b32: :b32: ต้องตั้งให้เอาพระพุทธธรรมมาใช้ดำรงชีพสิ ใช้ในกิจการงานได้ ดูฝรั่งเขาสิเขานำเอาศาสนาคริสต์มาพร้อมแนวทางปัญญาดำรงชีพในกิจการงานเขา แล้วเราศาสนาพุทธก็ไปว้าเอารุกล้ำกินศาสนาตน ขณะที่เราพูดอยู่นั้น เราทำอะไรได้บ้างล่ะท่านเอาแค่กอเลสตำหนิเขา หรือเราเอาธรรมสูงของพระพุทธเจ้าแสดงให้ดูว่าใช้ได้ไม่จำกัดกาลควรแก่การโอปนะยิโก ก็ถ้าท่านกรัซกายเห็นแค่นั้นมันก็ได้แค่นั้นเองครับ ผมวางไว้ไกลกว่าที่ท่านคิดเยอะ :b1: :b1:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 19:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
่ตัวอย่างพุทธธรรมในการดำรงชีพ




ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่า ตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จะขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขปัจจุบัน กล่าวคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

๑) อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ก็ดี พาณิชยกรรม ก็ดี โครักขกรรม ก็ดี ราชการทหาร ก็ดี ราชการพลเรือน ก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี เธอเป็นผู้ขยัน ชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

๒) อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร ราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพาไปเสีย ทายาทอัปรีย์ก็จะไม่พึงเอาไปเสีย นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

๓) กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีล ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา

๔) สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเลี้ยงชีวิพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้

“ถ้าหากกุลบุตร นี้ รายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ...กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...นี้เรียกว่า สมชีวิตา

"ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อบายมุข ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยลงอย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นได้เลย...

“ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อายมุข ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายดี ใฝ่ใจในกัลยาณชน เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำใหญ่ ใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความเพิ่มพูนอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร” (องฺ.อฏฺฐก.23/145/294)

@ จำง่ายๆ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตเหมาะสม



สาธุ ดีแล้วครับ ก็อย่างนี้แหละเจตนาที่ตั้งกระทู้ มีแนวอย่างนี้มาครับ

ที่ผมบอกไว้ในกระทู้ก่อนท่านก็แบบนี้แหละครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2019, 19:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถ้ายอมรับกันว่า นี่ก็เป็นธรรมะ (ไม่ยอมรับก็แล้วไป) แล้วหัวเราะได้ไหม ?


ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแสดงเหตุผลในการที่จะมีทรัพย์ หรือประโยชน์ที่ควรถือเอาจากทรัพย์สมบัติ แก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี โดยตรัสให้เหมาะกับสภาพสังคมสมัยนั้น พึงพิจารณาจับเอาสารัตถะตามสมควร ดังต่อไปนี้


"ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะทั้งหลาย มี ๕ ประการ ดังนี้ คือ


๑) ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมเลี้ยงตัวให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลตนให้เป็นสุขโดยชอบ ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา...บุตรภรรยา คนรับใช้กรรมกรคนงาน ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๑


๒) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมเลี้ยงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลาย ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๒


๓) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมป้องกันโภคะจากยันตราย ที่จะเกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอัปรีย์ ทำตนให้สวัสดี นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๓


๔) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมกระทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศผู้ล่วงลับ) ราชพลี (บำรุงราชการ-เสียภาษี) เทวตาพลี (ถวายเทวดาหรือบำรุงศาสนา) นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๔


๕) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมประดิษฐานทักขิณาอันส่งผลสูง อันอำนวยอารมณ์ดีงาม มีผลเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะ ซึ่งฝึกฝนตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้หายร้อนกิเลสได้ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๕

"คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะมี ๕ ประการเหล่านี้แล"


"ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะหมดสิ้นไป เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อันใดเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ประโยชน์เหล่านั้นเราก็ถือเอาแล้ว และโภคะของเราก็หมดสิ้นไป โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ

"และหากว่า เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะทรัพย์เพิ่มพูนยิ่งขึ้น โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ เป็นอันไม่มีความเดือดร้อนใจทั้งสองกรณี" *(องฺ.ปญฺจก.22/41/48)



สาธุท่านกรัซกาย ที่ท่านยกมานี้เข้สกับหัวข้อกระทู้ดีด้วยครับ แม้จะยกมาคุยแสดงกับท่านทริปเปิ้ลเอสก็มีประโยชน์มากครับ

ขออนุโมทนาครับ

เมื่อมีโภคะ ๕ ประการ ก็ต้องมี..
๑. หัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ
๒. หัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ
๓. ทรัพย์ ๕ ประการ
๔. อริยะทรัพย์ ๗ ประการ

ฯลฯ

..เชิญยกหัวข้อสนทนาครับเพื่อสติปัญญาในการดำรงชีพด้วยธรรม อันเป็นเหตุสะสมใน สุจริต ๓ นั่นเองซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ ที่กล่าวทั้งเหตุ กล่าวทั้งปัจจัย กล่างทั้งผล สาธยายให้เจริญง่าย และ สามารถเจริญเหตุสะสมได้ไม่ว่าฆราวาส หรือสงฆ์ ทำให้ธรรมมะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่น่าเบื่อปฏิบัติยากอักต่อไปครับ


คัดลอกมาจากหน้าทั่ ๑๐ ของกระทู้ ที้คุยกับท่านไว้

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2019, 22:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เราจะเห็นได้ว่ายุคสมัยนี้มีงานบริหาร บริษัท การทำงานต่างๆ รับมอบหมายงานต่างๆ เอกชน รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ คนทุกคนมีหลักการทำงานต่างๆกันไป มีสิทธิ์เติบโต เรียนรู้ ซึ่งผมได้มีโอกาสพูดคุยกับทั้งระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้า ลูกน้อง ปัญหาหลายๆอย่างจะเกิดขึ้นกับการสื่อสาร การทำความรู้ความเข้าใจ หลักการคิด แนวความคิดดำเนินงาน ทัศนคติ การดำเนินงาน การทำงานที่ตรงกัน

โดยผมนี้ได้เรียนรู้หลายๆอย่างมานิดหน่อย ทำให้เห็นว่าหลักบริหารหลายอย่างมันมีในพระพุทธธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วเยอะมาก ทั้งๆที่คนไทยเป็นชาวพุทธเพราะไม่ได้ศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ในพระพุทธศาสนาจึงมองเห็นแนวทางฝรั่งนี้ใหญ่เกิน บางคนถือพุทธในบัตรประชาชน แต่น้อมไปนับถือพระเจ้าเพราะเอาตามพวกฝรั่งที่เขาเผยแพร่ความรู้บริหารมามีเยอะมาก ก็นับจากนี้สิ่งนี้กระทู้นี้ถ้าคนมีปัญญามากมาคุยกันใช้หลักธรรมฆราวาสในพระพุทธศาสนาเข้าสู่หลักบริหารได้ พระพุทธศาสนาจะสูงมาก สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าสอนคนทุกชนชั้น ทุกฐานะมีทั้งการทำงาน ชาวนา พ่อค้า อำมาตย์ พระมหากษัตริย์ เพื่อการดำรงชีพมีมาก

ซึ่งในปัจจุบันที่คนที่นำพระธรรมคำสอนหลักพระพุทธศาสนามาใช้ทำงานตั้งแต่ชาวไร่ชาวนาถึงชนชั้นสูงทั้งในยุคนี้ มีเพัยงคนเดียวในโลก นั้นคือ พระภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ 9 ของประเทศไทย จึงเกิดเป็นศาสตร์พระราชาขึ้นมา แต่มีน้อยคนจะรู้จะเข้าใจหรือใฝ่ศึกษาด้วยเข้าใจแต่เพียงว่าเป็นหลักบริหารของพระราชา ซงแท้จริงแล้วสามารถเรียนรู้และนำมาใช้ได้ทุกชนชั้นทุกกาล ซึ้งพระภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ ๙ ของไทยก็ทรงแตกฉานในธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้ในอีก ๕ ชาติ ตามที่ครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์หลายท่านได้พยากรณ์ไว้

.. ทำให้ผมเห็นว่าหากเข้าใจธรรมแท้จริง รู้แจ้งแทงตลอดให้มาก ก็ไม่ยากที่จะนำมาใช้ประโยชนฺกัยตนเองและผู้อื่นเลย แม้ในทางโลกและทางธรรม จึงตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ด้วยหมายใจไว้ว่าหากคนที่ศึกษาธรรม หรือคนทั่วไปเห็นข้อง่ายๆย่อมเห็นว่าเหมาะสมแกjฐานะตน

.. แต่หากท่านใดที่มีทัศนคติเห็นว่าไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่เป็นไรครับ นานาจิตตังครับ แต่ถ้ามันเกิดประโยชน์ต่อใครได้ ให้ท่านรู้ไว้เลยว่าพนะธรรมของพนะพุทธเจ้าสูงค่ายิ่ง ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ควรแก่การโอปนะยิโก

.. ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าหากรู้ธรรมเยอะแต่ปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไม่ได้ หรือไม่อาจใช้ ไม่อาจต่อยอดได้ ทั้งในทางธรรม และในทางโลก ทำได้แค่ยกมาอ้างอวดกันทะเลาะกันอวดความโง่ตนทั้งๆที่ไม่เคยแทงตลอดในธรรมตามพระพุทธเจ้าตรัสสอนเลย พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมเพราะการนั้น มันก็น่าเสียดายที่เรียนรู้ท่องจำมา ผมจึงเห็นว่าสิ่งนี้จะเกิดประโยชน์กว่าพร่ำเพ้อโม้ธรรม หรืออวดธรรมกันไปมาอยู่มากโข

.. ถ้าท่านใดพร้อมที่จะทำแบบผม พร้อมจะแบ่งปันปัญญากัน ซึ่งจะเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปในตัว ก็ขอเชิญร่วมแจกจ่ายความรู้ แบ่งปันกันไป ..หากท่านคิดว่าไร้สาระไม่ร่วมแบ่งปันก็ไม่เป็นไร ครับตามแต่ความคิดเห็นของแต่ละท่าน

ด้วยเหตุข้างต้นนี้ๆ ผมจึงตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อให้เหฌนว่าคำสอนของพนะพุทธเจ้าคือปัญญา เป็นปรัชญาล้วนๆที่นักปราชญ์ทั้งหลายแสวงหาครับ


การทำงานกับคน คนเป็นสิ่งทีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก นึกคิด มีความแปรปรวนตามความต้องการของใจอยู่ตลอดเวลา ระดับผู้บริหาร ก็ต้องมีการประสานงานกับลูกค้า และผู้ใต้บังคับบัญชา ระดับผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ก็ต้องประสานงานกับนายระดับผู้บริหารและลูกค้าตลอดอยู่เวลา..รวมทั้งลูกน้องใต้บังคับบัญชาด้วย พนักงานทั่วไปบางกลุ่มมีโอกาสประสานงานลูกค้าน้อยแต่ต้องแบกรับคำสั่งผู้ใหญ่เบื้องต้น บางกลุ่มมีโอกาสประสานงานลูกค้ามากก็ต้องทนแบกรับสภาวะที่ต้องน้อมรับเสมอๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิต ย่อมมีแรงต่อต้าน แรงสะท้อนกลับทั้งหมด นั้นคือความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง ที่มีสะท้อนกลับจากการรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ..ดัวนั้น เมื่อรู้กระทบสัมผัสไรๆไม่ว่าจะเกิดมีความรู้สึกใดๆ สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไม่ว่าเราจะประกอบกิจการงานใดๆ หรืออยู่ในสถานะภาพใดๆ ก็คือ ใช้ปัญญา ไม่ใช้ความรู้สึก..
..เพราะบัญฑิตนักปราชญ์จะใช้ปัญญาแก้ปัญหาย่อมเห็นทางออกที่ดีมีคุณค่า ไม่รู้ก็ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากเปิดโลกทัศน์ตน ไม่เอาความรู้สึกชอบชังมาปะปนเพราะประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง
..ส่วนคนเขลาปัญญาจะใช้ความรู้ตามกิเลสแก้ไขย่อมเกิดภัยต่อตนเองและผู้อื่นอยู่ร่ำไป

..ดังนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ใช้ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจแจ้งชัดถูกต้องตามจริง จะเกิดเป็นวิธีการทำความรู้ความเข้าใจ จะเกิดเป็นแนวทางความคิดทัศนะคติสืบต่อมา จึงเกิดเป็นคำพูด การประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีพตนสืบต่อมา ธรรม ๔ อันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนที่สามารถกล่าวได้ว่าบุคคลหรืิอสัตว์เป็นทุกข์ เพราะไม่รู้จักธรรม ๔ อันสูงยิ่งนี้คือ พระอริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ในแต่ละระดับดังนี้คือ..

1. ขั้นต้น รู้จักโดยเป็นแนวทางวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ไว้ใช้ในกุศลปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมให้เป็นอุปนิสัย(ในที่นี้จะกล่างถึงส่วนนี้เ)็นหลัก)
2. ขั้นกลาง รู้จักโดยเป็นแนวทางวิธีคิดวิธีปฏิบัติ ในการอบรมจิตให้เจตนาเป็นกุศลถึงความสุจริต(ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนนี้ในบางอย่างที่เป็นประโยชน์แก้ผู้ปฏิบัติ)
3. ขั้นสุด รู้จักโดยเป็นกริยาที่จิตทำกิจตัดสังโยชน์ ทำให้ถึงที่สุดแห่งกองกิเลสทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ

..ซึ่งในขั้นแรก เรามารู้จักความหมายของแต่ละอย่างในพระอริยะสัจ ๔ อันเป็นธรรมสูง ธรรมเอกกันก่อน ทำไมเราจึงต้องรู้ความหมายของศัพท์ธรรมมะ นั่นก็เพื่อความรู้ความใจเข้าของภาษาและความหมายที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนนั้นเอง
..กล่าวอุปมาเหมือน..เราไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเรีย หรืออเมริกา เราก็ต้องเรียนรู้ภาษา คำพูด ความหมายของภาษาในแต่ละประเทศนั้นๆเพื่อที่เราจะได้สื่อสารกับเขาได้ถูกต้องและตรงกัน
..ยกตัวอย่างเหมือน เราคนไทย มีชาวต่างชาติมมาท่องเที่ยว เขาถามเราว่า Are you fine ?(อาร์ ยู ฟายน์) เราไม่เข้าใจภาษาคิดว่าเขาด่าเราควาย..นี่เป็นเรื่อง หรือไปตีความว่ามีมีไฟไหม..ก็แย่อีก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของภาษาบาลีข้อที่เราจะน้อมมาเรียนรู้ปฏิบัติให้ดีด้วย เหมือนเราศึึกษาเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษในวิชาเรียน หรือศัพท์ช่าง หรือศัพท์คำสนทนา หรือคำศัพท์คอมพิวเตอร์นั่นแหละ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ครับ..


อ้างคำพูด:
พระอริยะสัจ ๔ คือ

ทุกข์ (Sanskrit: Duhkha) คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

สมุทัย (Sanskrit: Samudaya ) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

นิโรธ (Sanskrit: Nirodha) คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

มรรค (Sanskrit: Marga) คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

ขอขอบคุณที่มาจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88_4


ขั้นที่ 1. ทำความรู้ชัดถึงการแก้ปัญหาในพระอริยะสัจ ๔ ด้วยตนเองก่อนดังนี้

๑. พระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ว่า..ทุกข์ควรกำหนดรู้
.. กำหนดรู้ทุกข์ในตน โดยดูความไม่สบายกายใจ ความอัดอั้น คับแค้นกายใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพันทั้งหลายเกิดมีที่ตนเป็นไฉน อย่างไร ..สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์นั้นคืออะไร

๒. พระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ว่า..สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ
.. ละสมุทัยในตน โดยเมื่อรู้สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์แล้วให้ทบทวนพิจารณาดูว่า ทำไมมันจึงทำให้เราเป็นทุกข์ได้ สาเหตุที่สิ่งนั้นๆมันทำให้เราเป็นทุกข์ได้เพราะอะไร แล้วละที่เหตุนั้น

๓. พระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ว่า..นิโรธควรทำให้แจ้ง
.. ทำนิโรธให้แจ้ง โดยความสุขของเราเป็นแบบไหน ความดับไปไม่มีทุกข์ของเราเป็นอย่างไร ความสุขโดยปราศจากทุกข์ของเราเป็นไฉน สุขที่ว่านั้นมันสุขอย่างไร สุขได้ด้วยอะไร อาศัยสิ่งใดทำให้เราไม่มีทุกข์ สิ่งที่เราอาศัยนั้นมันอยู่ยั่งยืนนานไหม ใช้มันดับทุกข์ได้ตลอดไปไหม เป็นสิ่งภายนอกหรือสิ่งภายในกายใจตน สามารถนำมาใช้ได้ทุกเมื่อหรือไม่ แล้วเราสามารถสุขโดยไม่อาศัยสิ่งนั้นมาทำให้สุขได้หรือไม่ ความยั่งยืนแห่งสุขนั้นเป็นอย่างไร เพราะอะไร

๔. พระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ว่า..มรรคควรเจริญให้มาก
.. ทำมรรคให้มาก โดยก็เมื่อรู้ชัดความสุขในแต่ละอย่างของตนว่าอิงอาศัยอะไร ในสถานะการณ์ สภาพแวดล้อมจิตใจอย่างไร สามารถหาสิ่งที่ทำให้สุขนั้นได้อย่างไร เอาสิ่งที่ดับทุกข์เรานั้นมาใช้ยังไงบ้าง ก็ให้พิจารณาลำดับแนวทางขั้นตอนที่ทำให้เราดับทุกข์นั้นมาเจริญปฏิบัติ ทำให้มากจนแจ้งในเป็นทางที่ถูกต้องดีพร้อม อีกประการเมื่อรู้ถึงความดับทุกข์โดยไม่อิงอาศัยแสวงหาต้องการสิ่งใดภายนอกมาทำให้สุขให้ยากให้ลำบากตนให้สูญเสียทรพย์สิน เงิน ทอง บริวาร ก็ความดับทุกข์นั้นเกิดขึ้นได้เพราะมีอะไรเป็นเหตุปัจจัยไปสู่ผลคือความดับทุกข์โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจนั้น ก็ทำเหตุนั้นให้มาก


-------------------------------------------------------------------------


ขั้นที่ 2. เมื่อรู้จัก พระอริยะสัจ ๔ ในตนดีแล้วก็ให้ฝึกใช้จนเป็นปัญญาแก่ตนจนเป็นอุปนิสัยของตนดังนี้..


การใช้เพื่อแก้ไขความทุกข์ของตนเอง ..ยกตัวอย่างนำมาใช้ได้ดังนี้

ทุกข์ของเราเป็นแบบไหน
(ทุกข์ของเราคืออะไร เราพบเจอสิ่งใด เรารับรู้สัมผัสกายใจอย่างไร มีอะไรทำให้เราเร่าร้อน กระวนกระวายกายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกาย เกิดความไม่สบายใจทั้งหลาย)

สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเรา
(เหตุที่ทำให้เราทุกข์นั้นอยู่นั้นเพราะอะไร ยินดี-ยินร้ายในสิ่งไหน สำคัญมั่นหมายใจไว้ต่อการกระทำนั้นๆจากสิ่งที่สร้างการกระทบนั้นๆไว้อย่างไร)

ความดับทุกข์ของเราเป็นอย่างไร
(ความสุขสำเร็จของเราในเรื่องนั้นๆคือสิ่งใด, ก็เมื่อหากเป็นไปตามที่ใจเราต้องการแล้วนั้นความทุกข์นี้จะไม่กำเริบขึ้นอีกหรือไม่ หรือจะยังคงวนเวียนอยู่ไม่รู้จบเพราะสิ่งใด)

สิ่งใดเป็นทางดับทุกข์ของเรา
(หนทางที่จะทำให้เราถึงซึ่งความสุขสำเร็จได้นั้นคือสิ่งใด แบบไหน มีทางใดบ้างที่จะให้ถึงสิ่งนั้นได้ หนทางความดับสิ้นซึ่งทุกข์ของเราอย่างถาวรหรือกลับกลอกแปรปรวนน้อยลงไม่กำเริบขึ้นอีกคือสิ่งใด มีอะไรบ้าง ลดสิ่งใด ละสิ่งใด เพิ่มสิ่งใด)

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 12 ก.พ. 2019, 03:00, แก้ไขแล้ว 14 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2019, 23:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นที่ 3. ที่นี้เมื่อรู้แนวทางพ้นทุกข์ ออกจากทุกข์ด้วยตนเองดีแล้ว เมื่อเราเจอปัญหาไรๆไม่ว่าจะต้องคอยตอบสนองความต้องการของใจผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย ลูกค้า ครอบครัว หรือตนเอง เพื่อแสวงหาคำตอบและทางออกของปัญหาได้ดีที่สุด.. โดยเมื่อเรานำมาประยุกต์ใช้กับทางโลกเพื่อกิจการงานการดำรีงชีพในชีวิตเรา เราสามารถพลิกแพลงใช้ได้ดังนี้..


ก. การใช้เพื่อการทำกิจการงานใดๆที่ตอบสนอความต้องการของใจคน ..ยกตัวอย่างนำมาใช้ได้ดังนี้

ทุกข์ของเขาเป็นแบบไหน
(เขาคิดแบบไหน,ทุกข์ร้อนยังไง, พบเจอยังไง, จึงแสดงออกมาอย่างนั้น)

สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเขา
(เหตุที่ทำให้เขาคิดและทำแบบนั้น คือสิ่งใด, สิ่งใดเป็นเหตุที่นำพาความทุกข์ร้อนมาสู่เขา เขายินดีหรือยินร้ายในสิ่งไหน, ชอบหรือชังในสิ่งไร, เขามีหรือขาดในสิ่งใด, เขาให้ความจดจำสำคัญมั่นหมายในใจไว้อย่างไรต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบ, เขาควรตั้งมั่นหรือปล่อยวางยังไง)

ความดับทุกข์ของเขาเป็นอย่างไร
(ความดับทุกข์และความหน่วงนึกคิดอันเร่าร้อนนั้นๆของเขาเป็นแบบไหน, อย่างไรจึงชื่อว่าเขาไม่มีทุกข์นั้น, การสนองตอบโจทย์ความต้องการของใจเขาให้ไม่เร่าร้อนคือสิ่งใด อะไรที่เมื่อเขามีดขาได้รับแล้วไม่มีทุกข์นั้นๆ)

สิ่งใดเป็นทางดับทุกข์ของเขา
(เหตุที่นำไปสู่ความสำเร็จประโยชน์สุขของเขาคือสิ่งใด, แสดงให้เห็นแบบไหน,สื่ออย่างไร, เขาต้องเติมส่วนที่ขาดสิ่งใด, เขาต้องละสิ่งที่เกินแบบไหน, เขาต้องคงไว้ซึ่งสิ่งที่เหมาะควรยังไง)

-ข้อนี้เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดท่าน..


-------------------------------------------------------------------------


ข. การใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะที่ตอบสนอความต้องการของใจคนไปในทิศทางเดียวกันกับเขา ..ยกตัวอย่างนำมาใช้ได้ดังนี้

ทุกข์ของเขาเป็นแบบไหน
(เขาเป็นคนแบบไหน มีนิสัยใจคออย่างไร(สังเหตุดูได้จากการแสดงออกของเขา หรือสิ่งที่เขาทำประจำๆ), สิ่งที่เขาชื่นชอบอยู่คืออะไร, เขากำลังทุกข์ร้อนกายใจในเรื่องใด, เรื่องราวที่ทำให้เขาทุกข์ร้อนคืออะไร)

สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเขา
(เรื่องราวที่ทำให้เขาทุกข์ร้อนกายใจอยู่นั้นเพราะมีสิ่งใด-ข้อใดเป็นเหตุ)

ความดับทุกข์ของเขาเป็นอย่างไร
(ความสุข-ความพึงพอใจของเขาที่มีต่อเรื่องราวนั้นๆเป็นแบบไหน, ความต้องการที่มีต่อเรื่องราวนั้นๆของเขาคืออะไร, เขาชื่นชอบให้เรื่องราวนั้นๆเป็นอย่างไร)

สิ่งใดเป็นทางดับทุกข์ของเขา
(สิ่งใดเป็นไปในทิศทางเรื่องราวเดียวกันกับเขา, สิ่งใดที่เมื่อเขาได้รับรู้แล้วไม่มีความครุ่นร้อนสะท้อนกลับมา สิ่งใดที่เขาคล้อยตามแล้วไม่มีโทษและไม่มีความรู็สึกที่สะท้อนกลับซึ่งเราสามารถดึงเขาออกมาสู่ความพึงพอใจและดับทุกข์ของเขาจากเรื่องราวๆนั้นๆได้)

- ข้อนี้เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดท่าน..อาฬวกยักษ์ ที่ทรงยอมให้ยักษ์ที่มีใจเกรี้ยวกราดหมายจะทำร้ายพระพุทธเจ้าได้ชี้สั่งให้พระพุทธเจ้า ลุกนั่ง เข้าออกจากบรรลังค์ได้ตามสมควรเมื่อยักษ์เจริญใจดีแล้วจิตพยาบาทลดลง พระพุทธศาสดาก็จึงกล่าวกะยักษ์ถึงจุดมุ่งหมายที่มาหาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเพื่อไถ่ภามปัญหาธรรมตามที่ต้องการ แล้วแสดงธรรม

๑๐. อาฬวกสูตร

ว่าด้วยอาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับกล่าวดังนี้ว่า “จงออกไป
สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำว่า “ได้ท่าน” แล้วเสด็จออกไป อาฬวกยักษ์
กล่าวอีกว่า “จงเข้ามา สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอีกว่า “ได้ท่าน”
แล้วเสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๒ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “จงออกไป
สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำว่า “ได้ท่าน” แล้วเสด็จออกไป อาฬวกยักษ์
กล่าวอีกว่า “จงเข้ามา สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอีกว่า “ได้ท่าน”
แล้วเสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “จงออกไป
สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำว่า “ได้ท่าน” แล้วเสด็จออกไป อาฬวกยักษ์
กล่าวอีกว่า “จงเข้ามา สมณะ” พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอีกว่า “ได้ท่าน”
แล้วเสด็จเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๔๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๑. อุรควรรค]


๑๐. อาฬวกสูตร

แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “จงออกไป
สมณะ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราจะไม่ออกไปอีกแล้ว ท่านจะทำอะไรก็เชิญเถิด”
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “สมณะ ข้าพเจ้าจะขอตั้งปัญหาถามท่าน ถ้าท่านตอบ
ข้าพเจ้าไม่ได้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย จะขยี้หัวใจท่านให้แหลก
สลาย หรือไม่ก็จะจับเท้าทั้งสองของท่านเหวี่ยงไปตกที่ฝั่งแม่น้ำคงคาฟากโน้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ยักษ์เอ๋ย เรายังไม่เห็นใครสักคนเลยในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ ผู้จะสามารถควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้งเสีย จะขยี้หัวใจเราให้แหลกสลาย
หรือไม่ก็จะจับเท้าทั้งสองของเราเหวี่ยงไปตกที่ฝั่งแม่น้ำคงคาฟากโน้นได้ เอาเถอะ
เชิญท่านถามปัญหาตามที่ท่านสงสัยเถิด”
ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๑๘๓] อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดของคนในโลกนี้
อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
อะไรเล่าเป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
บุคคลมีความเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
[๑๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดของคนในโลกนี้
ธรรม๑- ที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
สัจจะเท่านั้น เป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
บุคคลมีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา๒-
นักปราชญ์จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ๓-

@เชิงอรรถ :
@๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (สํ.ส.อ. ๑/๗๓/๙๔, ขุ.สุ.อ. ๑/๑๘๔/๒๖๒)
@๒ มีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา หมายถึงที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ยินดีข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ คือ ขยันทำการงาน
@นับถือพระรัตนตรัย ให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ และที่เป็นบรรพชิตก็ยินดีข้อปฏิบัติสำหรับบรรพชิต
@คือ รักษาศีลไม่ให้ขาด และเจริญภาวนา (ขุ.สุ.อ. ๑/๑๘๔/๒๖๔)
@๓ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๗๓/๘๐
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๔๓}


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๑. อุรควรรค]

๑๐. อาฬวกสูตร

[๑๘๕] (อาฬวกยักษ์ถามดังนี้)
คนจะข้ามโอฆะได้อย่างไร
จะข้ามห้วงมหรรณพได้อย่างไร
จะล่วงพ้นทุกข์ได้อย่างไร
และจะบริสุทธิ์ได้อย่างไร
[๑๘๖] (พระผู้พระภาคตรัสตอบดังนี้)
คนจะข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
จะข้ามห้วงมหรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท
จะล่วงพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร
และจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
[๑๘๗] (อาฬวกยักษ์ถามดังนี้)
คนทำอย่างไรจึงจะได้ปัญญา
ทำอย่างไรจึงจะได้ทรัพย์
ทำอย่างไรจึงจะได้เกียรติ
ทำอย่างไรจึงจะผูกใจหมู่มิตรไว้ได้
และทำอย่างไรเมื่อตายแล้วจะไม่เศร้าโศก
[๑๘๘] (พระผู้พระภาคตรัสตอบดังนี้)
คนต้องการบรรลุนิพพาน
เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอรหันต์
ไม่ประมาท รู้จักพินิจพิจารณา
ตั้งใจฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
[๑๘๙] คนปฏิบัติตนตรงต่อเวลา เอาธุระ
มีความขยันย่อมหาทรัพย์ได้
ย่อมได้เกียรติด้วยความสัตย์จริง
ผู้ให้ย่อมผูกใจหมู่มิตรไว้ได้
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๑. อุรควรรค]

๑๐. อาฬวกสูตร

[๑๙๐] คนผู้อยู่ครองเรือน มีศรัทธา
ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้คือ
สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ
ตายแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
[๑๙๑] เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่นดูเถิดว่า
ในโลกนี้ เหตุให้ได้เกียรติที่ยิ่งไปกว่าสัจจะก็ดี
เหตุให้มีปัญญาที่ยิ่งไปกว่าทมะ๑- ก็ดี
เหตุให้ผูกมิตรสหายไว้ได้ที่ยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี
เหตุให้หาทรัพย์ได้ที่ยิ่งไปกว่าขันติ๒- ก็ดี มีอยู่หรือไม่
[๑๙๒] (อาฬวกยักษ์กราบทูลดังนี้)
วันนี้ ข้าพระองค์ได้ทราบชัดถึงประโยชน์ที่จะพึงได้ในโลกหน้าแล้ว
ยังต้องถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่นอีกทำไม
[๑๙๓] พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองอาฬวี
เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้
ในวันนี้ข้าพระองค์ได้ทราบชัดถึงบุคคล
ที่ใครๆ ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๑๙๔] ข้าพระองค์นั้นขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
เที่ยวประกาศธรรมไปทุกหนทุกแห่ง
ตามหมู่บ้านหรือตามหัวเมืองน้อยใหญ่
อาฬวกสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ คำว่า “ธรรม” ในข้อ ๑๙๐ กับคำว่า “ทมะ” ในข้อ ๑๙๑ มีความหมายเดียวกัน คือ หมายถึงปัญญา
@ที่ได้จากการฟัง และปัญญานี้เองเป็นเหตุให้ได้ปัญญาที่เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ
@(ขุ.สุ.อ. ๑/๑๙๐-๑๙๑/๒๖๗-๒๖๘)
@๒ คำว่า “ธิติ” ในข้อ ๑๙๐ กับคำว่า “ขันติ” ในข้อ ๑๙๑ มีความหมายเดียวกัน คือ หมายถึงวิริยะ
@(ความเพียร) (ขุ.สุ.อ. ๑/๑๙๑/๒๖๘)
คำว่า “ธิติ” มีความหมายว่า 1. ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน
2. ปัญญา
@(ความเพียรด้วยสติปัญญา)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๔๕}


ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7531&Z=7663&pagebreak=1


-------------------------------------------------------------------------


ค. การใช้เพื่อชักจูงผู้อื่น ..ยกตัวอย่างนำมาใช้ได้ดังนี้

ทุกข์ของเราเป็นแบบไหน
สิ่งที่ขาดไปของเขาคือสิ่งไหน

สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเขา
เหตุที่ทำให้เขาขาดสิ่งนั้นไปคือสิ่งใด

ความดับทุกข์ของเขาเป็นอย่างไร
ความเติมเต็มของเขาเป็นแบบไหน สิ่งใดที่จะเป็นตัวเติมเต็มเขาได้

สิ่งใดเป็นทางดับทุกข์ของเขา
แนวทางที่จะเติมเต็มสิ่งที่เขาขาดคือแบบใด เหตุที่จะทำให้สิ่งที่เขาขาดนั้นเกิดมีขึ้นคือสิ่งใด เราจะนำสิ่งที่เขาขาดมาเติมเต็มเขานั้นให้ได้อย่างไรบ้าง

- ข้อนี้เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดท่าน..อุรุเวลละกัสสปะเถระ ชฏิล ๓ พี่น้อง ที่ทรงเข้าไปหาเขาก่อนซึ่งนอกจากจะเพราะเป็นบุญบารมีของ ชฏิลทั้ง ๓ พี่น้องที่สร้างสะสมมาเพื่อเป็นพระอรหันตสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสมณโคตมมหามุนีย์แล้ว อีกประการก็เพราะรู้ว่า ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นที่เรารพสักการะ เป็นเสาหลักของคนในเมืองนั้น หากแสดงธรรมโปรดให้คล้อยตามเป็นสาวกแล้ว ชนชาวเมื่อในที่นั้นก็จะหันมาในพระพุทธศาสนาตาม แล้วกล่าวสนทนาเรื่องราวไปในทิศทางเดียวกับเขา เช่น สมัยนั้นท่านอุรุเวลละกัสสปะสำคัญตนว่าบรรลุอรหันต์ และไม่ชอบใจพระพุทธเจ้า ต้องการผลักไส ลองของ พระพุทธเจ้าก็ทำตามแม้แสดงให้เห็นถึงพระอภิญญญาณที่ยิ่งกว่าแล้ว ก็ยังกล่าวไปในทิศทางเดียวกับการบูชาไฟว่า การเพ่งไฟนี้เป็นสิ่งดี ให้เกิดอภิญญาฤทธิ์เดชได้เป็นที่น่ายินดี เพื่อเป็นแบบนั้นท่านอุลุเวละกัสสปะที่ทำการเพ่งบูชาไฟก็ยินดีว่าเห็นพร้องต้องกันกับท่าน ก็เริ่มเปิดใจรับสนทนา มานะทิฏฐิแรงต้านลดลงจนหายไป แล้วพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มีการเพ่งไฟที่ยิ่งกว่านี้อีกมีฤทธิ์เดชยิ่งกว่าเพ่งกองไฟนี้ ท่านอุรุเวลาเมื่อบูชาไฟชอบเพ่งไฟก็สนใจเป็นปรกติ เพราะถูกจริตตน เป็นไปตามแนวของตน ดังนี้แล้วพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอน อาทิตปริยายสูตร ้เพ่งไฟภายในตน คือ ราคัคคิ(ไฟ คือ ราคะ) โทสัคคิ(ไฟ คือ โทสะ) โมหัคคิ(ไฟ คือ โมหะ) เพื่อความถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์


-------------------------------------------------------------------------


ง. PLAN คือ การใช้เพื่อวางแผนงาน หรือ เตรียมการดำเนินงาน ทั้งจัดทำรายงานวิทยานิพนธ์ในการเรียน และการประชุม ซึ่งจำเป็นต้องรู้จักการพิจารณาด้วยพระอริยะสัจในส่วนของผู้อื่นตั้งแต่ข้อ ก. จนถึง ค. ก่อนจุดนี้จึงจะทำออกมาได้ดี ชัดเจน ..ยกตัวอย่างนำมาใช้ได้ดังนี้

ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ผลที่แสดงให้เห็นภาพลักษณ์ได้ชัดเจน สามารถรับรู้สัมผัสได้ทันที ซึ่งทำให้เห็นความสูญเสีย หรือความผิดพลาด หรือความไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่เกิดขึ้นอยู่


สมุทัยควรละ คือ สิ่งที่นำไปสู่ผลที่แสดงภาพลักษณ์ให้รับรู้สัมผัสได้ถึงความสูญเสีย ผิดพลาด ไม่เป็นไปตามเป้าหมายอยู่นั้นคืออะไร เกิดจากสิ่งใด มีอะไรเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นส่วนที่เรามองข้าม เพราะเห็นเป็นส่วนเล็กน้อยแต่ผลของมันสะสมจนเกิดความสูญเสียมาก หรือแม้แต่จุดหลักๆใดๆไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ที่นำไปสู่ความเสื่อมสูญนั้น ปัญหาเหล่านั้นเราควรขจัดให้สิ้นไปให้มากที่สุด


นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ ผลแห่งความสำเร็จเป็นแบบไหน ทิศทางความสำเร็จที่ลุล่วงไปได้ด้วยดีเป็นอย่างไร(ความต้องการให้ผลสำเร็จแสดงออกมาไปในทิศทางเป็นแบบใด) ผ่านพ้นปัญหาไรๆไปได้บ้าง ต้องได้ผลประมาณเท่าไหร่จึงถือว่าสำเร็จ ความยั่งยืนในความสำเร็จนั้นเป็นเช่นไร


มรรคควรเจริญใจมาก คือ แนวทางอันนำไปสู่ผลแห่งความสำเร็จนั้นเป็นอย่างไร การทำความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามแนวทางนั้นๆต้องทำอย่างไร สิ่งใดเป็นเหตุ ใช้สิ่งใดเป็นหลักในการดำเนินงาน สามารถประเมิณความสำเร็จจากแนวทางนั้นๆยังไง

- หากทำ Presentation นำเสนอ Project ให้เรากล่าวแสดงถึงความต้องการของใจองค์กรก่อน แล้วแสดง นิโรธ คือ ผล ที่ทำให้ผู้ฟังหรือร่วมประชุมเกิดมองภาพความสำเร็จออกมาได้ เมื่อให้เขาเห็นภาพจับต้องได้ เป็นไปได้ เราก็แสดงถึงมรรค คือเหตุที่จะดำเนินไปอยู่นั้น หากเขาเห็นพร้องต้องกันตกลงตาม เราก็ค่อยชี้ให้เห็นทุกข์ คือ ผลสภาพความเป็นอยู่ของแผนก ฝ่าย และองค์กรในตอนนี้ ว่าเป็นอย่างไร แล้วกล่าวถึงสมุทัย เหตุปัจจับที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น

** โดยในข้อนี้ที่สำคัญจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต้องทำในมรรคด้วยปัญญาให้มากซึ่งจะมีกล่าวในข้อต่อไปในบทเรียนที่ ๔ **


-------------------------------------------------------------------------


ขันติ ความอดทน คือ ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ, ความหนักเอาเบาสู้ เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม
(ข้อ ๓ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๑ ในธรรมที่ทำให้งาม ๒, ข้อ ๖ ในบารมี ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 5
จาคะ การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ, การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ; การสละกิเลส
(ข้อ ๔ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๓ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๖ ในอริยทรัพย์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 5
ทมะ การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน,
การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ดีงาม สมควร เป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
(ข้อ ๒ ในฆราวาสธรรม ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 5
ธรรมของฆราวาส ๔ ดู ฆราวาสธรรม ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 5
สัจจะ
1. ความจริง มี ๒ คือ
๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. ความจริง คือ
จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
จริงการ ได้แก่ ทำจริง
(ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)

ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A6%C3%D2%C7%D2%CA%B8%C3%C3%C1+%F4&detail=on&original=1


-------------------------------------------------------------------------


ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ

ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ

สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ

-------------------------------------------------------------------------

อานิสงส์ของการมีสัจจะ - ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนหนักแน่นมั่นคง - มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน - ได้รับการเคารพยกย่อง - มีคนเชื่อถือ และยำเกรง - ครอบครัวมีความมั่นคง - ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง

อานิสงส์ของการมีทมะ - ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว - ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน - ไม่มีเวรกับใคร - ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้ - สามารถตั้งตัวได้ - มีปัญญาเป็นเลิศ

อานิสงส์ของการมีขันติ - ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ - ทำงานได้ผลดี - สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้ - สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้ - ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น - ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้ - ทำให้ได้ทรัพย์มา

อานิสงส์ของการมีจาคะ - ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง - เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป - ครอบครัวและสังคมเป็นสุข - มีกัลยาณมิตรรอบตัว สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อมีทมะย่อมได้รับปัญญา เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม

-------------------------------------------------------------------------

โทษของการขาดสัจจะ- ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนเหลาะแหละ - พบแต่ความตกต่ำ - มีแต่คนดูถูก - ไม่มีคนเชื่อถือ - ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆ ได้ - ไร้เกียรติยศชื่อเสียง

โทษของการขาดทมะ - ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง - ทำให้ขาดความสามารถในการทำงาน - สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - จะเกิดการทะเลาวิวาทได้ง่าย - จะจมอยู่กับอบายมุข - ครอบครัวเดือดร้อน - ไม่สามารถตั้งตัวได้ - เป็นคนโง่เขลา

โทษของการขาดขันติ - ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ - เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง - ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้ - หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น - เต็มไปด้วยศัตรู - ขาดความเจริญก้าวหน้า - ทำให้เสื่อมจากทรัพย์

โทษของการขาดจาคะ - ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ - ได้รับคำครหาติเตียน - เป็นทุกข์ใจ - ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม

ขอขอบพระคุณที่มาของฆราวาสธรรม ๔ จาก https://th.wikipedia.org

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 12 ก.พ. 2019, 22:07, แก้ไขแล้ว 14 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 274 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร