ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56993
หน้า 2 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ม.ค. 2019, 20:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

แทรกทุกขอริยสัจ ซึ่งผู้เขียนยกมาข้างต้น แล้วก็อธิบายไปแง่หนึ่ง ลองพิจารณาอีกแง่มุมหนึ่ง



คัมภีร์วิสุทธิมรรค สัมโมหวิโนทนี และสัทธัมมปกาสินี (วิสุทฺธิ.3/81; วิภงฺค.อ.112 ปฏิสํ.อ.63/239) ได้ชี้แจงเหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า
เหตุใด พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ไว้ โดยเรียงลำดับข้ออย่างที่เรียนรู้กันอยู่นี้
ข้อความที่ท่านกล่าวไว้แม้จะสั้น แต่มีสาระหนักแน่น จึงขอนำมาเป็นเค้าความสำหรับกล่าวถึงอริยสัจ ๔ โดยสังเขปต่อไปนี้

ก) ยกทุกข์ขึ้นพูดก่อน เป็นการสอนเริ่มจากปัญหา เพื่อใช้วิธีการแห่งปัญญา

๑.ทุกข์ คือ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์มนุษย์ทุกคน เกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใด ก็เป็นจุดสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้นเมื่อนั้น แต่ว่าที่จริงมองกว้างๆ ชีวิตมีปัญหาและเป็นปัญหากันอยู่เรื่อยๆ เป็นธรรมดา ดังนั้น
ทุกข์จึงเป็นจุดสนใจปรากฏเด่นชัดอยู่ในชีวิตของทุกๆคน เรียกได้ว่า เป็นของรู้ง่ายเห็นง่าย จี้ความสนใจ เหมาะที่จะยกขึ้นเป็นข้อปรารภ คือ เป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงธรรม

ยิ่งกว่านั้น ทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว และน่าตกใจสำหรับคนจำนวนมากคอยหลีกเลี่ยง ไม่อยากได้ยิน แม้แต่คนที่กำลังเพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ไม่ตระหนักรู้ว่า ตนเองกำลังมีปัญหา และกำลังก่อปัญหา

เมื่อมีผู้มาชี้ปัญหาให้ ก็จะกระทบใจทำให้สะดุ้งสะเทือนและมีความไหวหวั่น สำหรับคนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้น
พระพุทธเจ้าทรงสอนปรารภเรื่องทุกข์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้เขาฉุกใจ ได้คิด เป็นทางที่จะเริ่มต้นพิจารณาแก้ปัญหาดับความทุกข์กันได้ต่อไป

เมื่อแสดงอริยสัจ โดยตั้งต้นที่ทุกข์ ก็เป็นการสอนที่เริ่มจากปัญหา เริ่มจากสิ่งที่เห็นง่ายเข้าใจง่าย เริ่มจากเรื่องที่น่าสนใจ และ
โดยเฉพาะเป็นการสอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย ไม่ใช่เรื่องคิดเพ้อฝัน หรือสักว่าพูดตีฝีปากกันไป เมื่อพูดกับใครก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนนั้น เมื่อพูดเป็นกลางๆ ก็เกี่ยวข้องกับทุกคน

พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์ เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ตลอดไป ชีวิตนี้ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่

ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง

แต่การดับทุกข์ หรือ แก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหา หรือปิดตาไม่มองทุกข์ ตรงข้าม ต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน
การรับรู้สู้หน้า มิใช่หมายความว่า จะเข้าไปแบกทุกข์ไว้ หรือ จะให้ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกำจัดมันได้
พูดง่ายๆว่า ไม่ใช่ไปเอาทุกข์มาใส่ในใจ แต่เอาปัญญาไปแก้ไขจัดการ

การรู้เท่าทันนี้ คือ การทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ ทำปริญญา คือ กำหนดรู้ ทำความเข้าใจสภาวะของทุกข์ หรือ ปัญหานั้น ให้รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเรานั้น คือ อะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน
(บางที คนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่า มีปัญหา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่า ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆ เครือๆ หรือพร่าสับสน) มีขอบเขตแค่ใด เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรค รู้จุดที่เป็นโรคแล้ว ก็หมดภาระ ไปขั้นหนึ่ง

เราไม่มีหน้ากำจัดทุกข์ เพราะทุกข์จะดับที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องแก้ที่เหตุของมัน

ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์ ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการ เช่น ให้ยาระงับอาการไว้ ก็ไม่ใช่แก้โรคไม่ได้จริง ต้องค้นหาสาเหตุต่อไป

แพทย์เรียนรู้โรค ต้องเรียนรู้เรื่องร่างกาย อันเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ฉันใด
ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิต อันเป็นที่ตั้งของทุกข์ ซึ่งรวมถึงสภาวะของสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย ฉันนั้น

สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ ๑ คือ รับรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ และมองดูรู้จักชีวิต รู้จักโลกตามที่มันเป็นจริง

(พุทธธรรม หน้า ๘๕๙)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 05:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

เรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข" เขียนโดยนายแพทย์

แทรก คคห.ภาคปฏิบัตินี้เทียบ คคห.บนไว้ด้วย โดย นศพ.ซึ่งเล่าประสบการณ์การปฏิบัติทางจิตของตนครั้งบวชไว้ แต่เมื่อประสบสภาวธรรมแล้วไปไม่เป็น (ป่านนี้ น่าจะจบเป็นหมอรักษาคนไข้อยู่ ณ รพ.ใด รพ.หนึ่งแล้ว)

ดังนี้

นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฏฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว

เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ

หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


อ้างคำพูด:
1.ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

(กำหนดรู้ตามที่มันเป็น)

อ้างคำพูด:
2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

(คือรู้ว่าชีวิต คือ กายและใจนี้มันเป็นอย่างนั้น เมื่อรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นแล้วจิตใจคลายการยึดติด นี่คือจุดหมายของวิปัสสนา)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 05:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ต่อ

ผู้เขียนอยากให้ท่านลองพิจารณาเรื่องราวที่ผู้เขียนได้รู้มาจากผู้ที่มีทุกข์ แล้วหาทางออกไม่ได้จึงได้ไปหาท่านอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานแห่งหนึ่ง แล้วขอให้ท่านตัดสินใจแก้ปัญหาให้

แต่แทนที่ท่านอาจารย์ผู้นั้นจะตัดสินใจ หรือชี้หัวชี้ก้อยให้อย่างที่อาจารย์ทั่วๆไปปฏิบัติ ท่านกลับยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบ แล้วให้มนุษย์ผู้ทุกข์นั้นเอาไปคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง

ปัญหามีดังนี้

ชีวิตการงานไม่สมหวัง ตั้งใจทำงานทุกอย่าง ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ แม้ทรัพย์สินส่วนตัว แต่ก็ไม่ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้ใหญ่ ผู้ร่วมงาน หรือ ลูกน้อง ลูกน้องเมินเฉยไม่กระตือรือร้นหรือให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ตนเองก็หวังผลเลิศในงานการของตนเอาไว้สูง แต่ผลงานนั้นก็ออกมาไม่ได้ดังใจนึก

สรุปแล้วคือผิดหวังในการงาน สิ่งแวดล้อมรอบด้านก็ดูเฉยเมย ไม่ตอบสนองความตั้งอกตั้งใจดีของตนเท่าที่ควร
จึงคิดจะหนีจากภาวะที่ไม่สบอารมณ์นั้น คือ ลาออกจากงานอนอยู่บ้านเฉยๆ แต่เพื่อความรอบคอบก็อุตส่าห์ได้เดินทางไประบายความเดือดร้อน ความทุกข์ ความไม่สมหวังกับท่านอาจารย์ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าจะให้เลือกเดินทางใด คือ ลาออกหรือไม่ลาออก

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 05:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ท่านอาจารย์ยิ้มอย่างใจเย็น แล้วก็ยกอุทาหรณ์อย่างน่าฟัง ซึ่งผู้เขียนใครจะถอดคำพูดของท่านอาจารย์ให้ท่านผู้อ่านได้ลองอ่านและวิเคราะห์อุทาหรณ์ของท่านให้ดีสักหน่อย ดังนี้

“เรานั้น ก็เหมือนคนมีหน้าที่ปลูกต้นมะม่วง การปลูกมะม่วงนั้นเรานึกถึงปัจจัยสำคัญๆ ที่จะต้องใช้ประกอบการปลูกต้นมะม่วงบ้างไหม? มีอะไรบ้าง? ค่อยๆ คิดดู


๑.เราอยากได้มะม่วงพันธุ์ดี ลูกโตลูกดก แล้วเราคัดเลือกแต่พันธุ์ดีๆ ได้ไหม ?
๒.ดินที่ใช้ปลูกเราเลือกได้ไหม ? ดินดี - ดินเลว
๓.ดินฟ้าอากาศที่ผันผวนแปรปรวน เรากำหนดได้ไหม ?
๔.เรารดน้ำพรวนดินให้มันหรือเปล่า ?
๕.เราใส่ปุ๋ยใส่โฮโมนให้มันรึเปล่า ?
๖.เราตบแต่งกิ่ง ฉีดย่าฆ่าแมลง หรือเชื้อราหรือเปล่า ?


ทีพอมะม่วงไม่ออกลูกหรือออกแต่ไม่ดก ลูกไม่โต เราเป็นทุกข์ เสียอกเสียใจ เจ็บใจตัวเองคิดลาออก


ความผิดของต้นมะม่วงหรือของดิน หรือของดินฟ้าอากาศหรือ ? ไปโกรธมันทำไม ? จะถูกต้องหรือ ? ไปทุกข์ร้อนมันเรื่องอะไรของมะม่วงมันเล่า

ทั้งหมดนี้ มันผิดที่ตัวเราเองทั้งสิ้น จงมองตนและแก้ที่ตนเอง เราจะปลูกมะม่วงเราก็เลือกพันธ์ เลือกดินที่จะปลูกไม่ได้ เขามีให้อย่างไรก็ต้องใช้อย่างนั้น อยู่ที่ว่าเรารดน้ำพรวนดิน ตบแต่งกิ่งก้านให้ปุ๋ยให้โฮร์โมนฉีดยาฆ่าแมลงให้มัน เราไม่ได้ทำ หรือทำไม่สม่ำเสมอ พอมันไม่ออกลูก ไปโกรธมันทำไม ทำไมไม่แก้ที่เราเล่า ?

ในที่สุดผู้ถามเก็บเอาไปคิด คิดรอบคอบแล้วจึงเปลี่ยนใจไม่ลาออก ตั้งหน้าตั้งตาปรับปรุงการงานด้วยความขยันหมั่นเพียรต่อไป ด้วยความสบายใจขึ้น ที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ ทุกคนก็มีความสุขสบายใจ ในที่สุด โชคดีไปไม่เสียคนดีด่วนลาออกไปอีกหนึ่งคน

อาจารย์ท่านนั้น คือ อาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 09:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

กรัชกาย เขียน:
เรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข" เขียนโดยนายแพทย์

แทรก คคห.ภาคปฏิบัตินี้เทียบ คคห.บนไว้ด้วย โดย นศพ.ซึ่งเล่าประสบการณ์การปฏิบัติทางจิตของตนครั้งบวชไว้ แต่เมื่อประสบสภาวธรรมแล้วไปไม่เป็น (ป่านนี้ น่าจะจบเป็นหมอรักษาคนไข้อยู่ ณ รพ.ใด รพ.หนึ่งแล้ว)

ดังนี้

นั่งสมาธิแล้วมีอาการหมุนเหวี่ยงจะอ้วก

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฏฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว

เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ

หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


อ้างคำพูด:
1.ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

(กำหนดรู้ตามที่มันเป็น)

อ้างคำพูด:
2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ

(คือรู้ว่าชีวิต คือ กายและใจนี้มันเป็นอย่างนั้น เมื่อรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นแล้วจิตใจคลายการยึดติด นี่คือจุดหมายของวิปัสสนา)


ความหมายถ้อยคำที่พูด "วิปัสสนา"

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิด รู้ผิดในสังขารทั้งหลายเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆ ก็ดี ที่ทำงาน ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย ตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา (ดู อภิ.วิ.35/612/337 ฯลฯ)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 09:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ต่อ

ต่อไปนี้ ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึง ความสุข ทั้งในทางโลก และความสุขในทางธรรม ตามหลักของพุทธศาสนา
ความสุขในทางโลกนั้น ส่วนใหญ่เรามักจะมองความสุขในด้านวัตถุ เพราะมองเห็นตัวอย่างได้ชัดแจ้ง เช่น เห็นตัวอย่างบุคคล ทรัพย์สมบัติ เงิน ทอง ยศศักดิ์ บริวาร เครื่องใช้สอย พาหนะ หรือเครื่องประดับต่างๆ มนุษย์ส่วนใหญ่มักหลงติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น
เมื่อหลงติดแล้วก็จะเกิดกิเลสตัณหา คือ ความอยากได้ ความโลภ ความไม่รู้จักพอ เพราะเกิดการเปรียบเทียบ ที่สุดก็อาจจะสร้างปัญหาบานปลายให้ต้องเกิดการกินโกงฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล ดังเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในที่สุดความโลภนั่นเอง ก็จะนำความทุกข์อย่างมหันต์มาให้แก่ตัวนั่นเอง
สรุปแล้ว ความสุขของมนุษย์ที่แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ มันเป็นเพียงเครื่องฉาบพรางความสุขอย่างแท้จริงเท่านั้นเอง ตรงกับคำกล่าวว่า ของแท้ของจริงนั้น พบยากหาได้ไม่ง่ายนัก

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 ม.ค. 2019, 09:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ความสุขมีมากมายหลายขั้นหลายระดับ

เพื่อให้มองให้รอบด้านไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง แทรก ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง เป็นต้นเทียบไว้

ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี


หลักการต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

“ดูกรคหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามสมัย ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) เป็นไฉน? คือกุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี่เรียกว่า อัตถิสุข

2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน? คือกุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงามอันเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรอัน เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรมเธอ ย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดย ธรรม เราก็ได้กิน ใช้ และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่า โภคสุข

3.อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน? คือกุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ เลยไม่ว่าน้อยหรือมาก นี้เรียกว่า อนณสุข

4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากกรรมดีงามไร้โทษ) เป็นไฉน? คืออริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข

“เมื่อตระหนักถึงความสุขจาก ความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา ถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุข ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ” (องฺ.จตุกฺก.21/62/90)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ต่อ

ตอนต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงเรื่องของความสุขในแง่ของธรรมะทางพุทธศาสนาบ้าง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนว่า ”นตฺถิ สนฺติปรมํ สุขํ” แปลว่า "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านสั่งสอนให้รู้จักแยกกาย และใจออกเป็นคนละส่วน ท่านสอนให้สงบกาย และวาจาด้วยศีล ซึ่งหมายถึงให้ขัดเกลากิเลสอย่างหยาบในตัวเอง เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น


ท่านสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วย สมาธิภาวนา หัดใจไม่คิดถึงเรื่องความกำหนัดอันได้แก่ ความรัก ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความกลัว และความฟุ้งซ่าน และขั้นต่อไป


ท่านสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ฝึกให้คิดให้เห็นด้วยปัญญา พิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ต้องเสื่อมสิ้นไปและแตกดับไป เรียกว่า เป็นทุกข์”

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

เมื่อเรารู้ความจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคงเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิตที่จะได้ทำกิจกรณีหน้าที่ของตนให้สำเร็จสมประสงค์ และนั่นแหละความสุขก็จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง สิ่งนี้แหละเรียกว่า เป็นสุขที่แท้จริงในทัศนะของผู้เขียน ท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ท่านอาจารย์ชา สุภัทโท ท่านกล่าวถึงไว้สั้นๆ ดังนี้ ความสุขตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ”สะอาดกาย สะอาดวาจา ด้วยการรักษาศีล และสอนให้รู้จักสะอาดใจ ด้วยการทำสมาธิ ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขสงบ อันเป็นสมบัติที่ปราศจากโทษ”

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

พุทธภาษิตอีกแบบหนึ่ง ของพระพุทธเจ้า คือ ”อโรคยา ปรมาลาภา” ซึ่งแปลว่า ”ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ความไม่มีโรคนี้จะถือเป็นความสุขหรือไม่
แน่นอนก็ต้องถือว่าเป็นความสุขอันประเสริฐ ความไม่มีโรคก็คือ ความสบายนั่นเอง ใช่หรือไม่ ? เพราะสมมติว่า มนุษย์ผู้นั้น มีสิ่งรอบด้านรอบกายอำนวยความสุขสำราญประการใด ก็ดี แต่ถ้ามนุษย์ผู้นั้นขี้โรค มีโรคร้ายประจำตัว เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ สามวันดีสี่วันไข้อย่างนี้ จะเรียกว่ามีความสุขหรือไม่ แม้ว่าเขาผู้นั้นมีสิ่งอำนวยความสุขอย่างพร้อมมูลหมดทุกอย่าง ทุกประการก็ตาม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

กล่าวโดยสรุปแล้ว ความสุขน่าจะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ได้ ๒ ประการ คือ

๑.ความไม่มีโรค ซึ่งหมายถึงความมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง ก็ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการให้ผลทางกายภาพ

๒.การมีจิตสงบ ซึ่งหมายความถึง การฝึกทำสมาธิจิตเป็นประจำ จะเป็นบ่อเกิดแห่งกำลังปัญญา ทำให้จิตมีพลังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมี "ธาตุรู้" เกิดขึ้นในใจ และไม่ประมาท

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 05:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้น คือ การมีร่างกายแข็งแรง และมีจิตสงบช่วยทำให้กิเลสตัณหา อันได้แก่ ตระกูลแห่งความชั่วทั้งสี่ คือ ความรัก โลภ โกรธ หลง ก็จะลดน้อยถอยลงไป และก็สามารถประกอบสัมมาชีพสร้างตัว และครอบครัวให้เกิดความสำเร็จราบรื่นมั่นคง และเจริญก้าวหน้าตามลำดับ อย่างนี้ นับว่าเป็นความสุขอันสุดยอดแล้วใช่หรือไม่ ?

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 10:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

ผู้เขียนใคร่จะอธิบายขยายความให้ชัดเจนสักเล็กน้อยว่า การออกกำลังกายที่จะมีผลให้เกิดความแข็งแรงสุขภาพอนามัยดี และการฝึกสมาธิจิตเพื่อให้จิตมีพลังนั้น

ท่านจะต้องปฏิบัติจนเป็นความจำเป็นขาดเสียมิได้ จึงจะบรรลุผล เปรียบเสมือนนักกีฬาที่เล่นกีฬานั้นๆ เป็นประจำทุกวัน หากวันใดไม่ได้เล่น จะรู้สึกว่าขาดกิจวัตรประจำบางอย่างไป ฉันใด
การฝึกกายและจิตให้ติดเป็นกิจวัตร หากวันใดไม่ได้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้สึก ฉันนั้น อย่างนี้ จึงจะเรียกว่า ผู้นั้นได้ฝึกกายและจิตเป็นประจำ ขาดไม่ได้
ผลที่ได้รับทางจิตสงบ ย่อมจะมีประสิทธิภาพสูง ทำนองเดียวกันกับผู้ที่ได้ฝึกทางกายอย่างนั้น ฉันนั้น

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 ม.ค. 2019, 10:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข (4)

การฝึกกายต้องเคลื่อนไหว

รูปภาพ

แต่ตรงข้ามกับการฝึกสมาธิ จิตต้องนิ่ง

รูปภาพ

นักกายกรรม หรือนักกีฬาที่ออกกำลังกาย หรือฝึกซ้อมกีฬานั้นๆ อยู่เสมอ เขาสามารถจะเล่นกีฬานั้นๆ อย่างชนิดที่คนไม่เคยฝึกคิดไม่ถึงว่า เขาสามารถทำได้อย่างไร ฉันใด ก็ดี

ผู้ที่ฝึกสมาธิจิต วิปัสสนากรรมฐาน หรือ แม้แต่เพียงทำจิตสงบเป็นประจำ เมื่อถึงจุดหนึ่งหรือเมื่อเกิดภาวะจำเป็น ผู้นั้น อาจจะสร้างพลังจิตขึ้น และมีสติรอบคอบ สามารถปล่อยวางไว้ตามสบายจริง ซึ่งคนไม่เคยฝึกปฏิบัติจะทำไม่ได้ เช่นนั้น และนึกไม่ถึงว่า เขาจะทำได้
สิ่งต่างๆ เหล่านี้นั้นเป็นกฎแห่งธรรมชาติ และเป็นวิทยาศาสตร์
หากแต่มนุษย์ทั่วไปยังให้ความสนใจลึกลงไปไม่ถึงเท่านั้นเอง จึงทำให้บางครั้งคิดว่าเป็นศาสตร์ลึกลับอะไรอย่างนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น

หน้า 2 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/