วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บัดนี้พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความที่ภิกษุ
นั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโกปิ หุตฺวา.
ในบทเหล่านั้นบทว่า เอโกปิ หุตฺวา - คือ แม้เป็นคนเดียว
ความว่า ตามปกติก่อนแสดงฤทธิ์เป็นคนเดียว.

บทว่า พหุธา โหติ - เป็นหลายคน คือ ประสงค์จะเดิน
จงกรมในสำนักของภิกษุมากก็ดี ประสงค์จะสาธยายก็ดี ประสงค์จะ
ถามปัญหาก็ดี เป็นร้อยก็ได้ เป็นพันก็ได้. ถามว่า เป็นอย่างนั้นได้
อย่างไร? ตอบว่า หากภิกษุนั้นยังธรรมอันเป็นบทมูลของบาทแห่งภูมิ
ของฤทธิ์ให้สมบูรณ์ แล้วเข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ครั้นออก

แล้วปรารถนาเป็นร้อยก็ทำบริกรรมว่า ขอเราจงเป็นร้อย ขอเราจง
เป็นร้อยแล้วเข้าฌานอันเป็นบาท ครั้นออกแล้วอธิฏฐาน พร้อมกับ
อธิฏฐานนั่นแหละจะเป็นร้อยได้. แม้ในพันเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. หากว่าไม่ปรารถนาอย่างนั้นควรทำบริกรรม อีกแล้วเข้าครั้งที่สอง
ครั้นออกแล้วจึงอธิฏฐาน.

ในอรรถกถาสังยุตท่านกล่าวว่า ควรเข้า ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ใน
การเข้านั้นจิตมีฌานเป็นบาท มีนิมิตเป็นอารมณ์. จิตบริกรรม มีร้อย
หรือมีพันเป็นอารมณ์. จิตเหล่านั้นแหละด้วยสามารถแห่งวรรณะ มิ
ใช่ด้วยสามารถแห่งบัญญัติ. แม้จิตอธิฏฐาน มีร้อยหรือมีพันเป็นอารมณ์

ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. จิตนั้นมีอารมณ์เดียวเท่านั้นเป็นรูปาวจรจตุตถ-
ฌาน ย่อมเกิดขึ้นในลำดับโคตรภู ดุจอัปปนาจิตครั้งแรก.

ในบทว่า พหุธา โหติ นั้น ผู้ที่นิรมิตได้มากย่อมเป็นเช่นเดียว
กันกับผู้มีฤทธิ์ เพราะนิรมิตไม่กำหนดไว้. ย่อมทำสิ่งที่ผู้มีฤทธิ์ทำได้ใน
การยืน การนั่งเป็นต้น หรือในการพูด การนิ่งเป็นต้น. หากประสงค์
จะทำรูปนิรมิตชนิดต่าง ๆ ทำบางพวกในปฐมวัย. บางพวกในมัชฌิมวัย.
บางพวกในปัจฉิมวัย. ทำบางพวกให้มีผมยาว โกนผมได้ครึ่งหนึ่ง

มีผมดอกเลา มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่ง สีขาวครึ่งหนึ่ง สวดบทภาณ
แสดงธรรมกถา สวดสรภัญญะ ถามปัญหา แก้ปัญหา ย้อมจีวร ต้มจีวร
เย็บและซักจีวร เป็นต้น ก็เหมือนกัน หรือประสงค์จะทำนานัปการ
อย่างอื่น. ครั้นออกจากฌานอันเป็นบาท ด้วยเหตุนั้นแล้วทำบริกรรม

โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุประมาณเท่านี้จงเป็นปฐมวัย แล้วเข้าสมาบัติอีก
ครั้นออกแล้วพึงอธิฏฐานพร้อมกับจิตอธิฏฐาน ภิกษุย่อมเป็นไปตาม
ที่ตนอธิฏฐานด้วยประการฉะนี้.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ในบทมีอาทิว่า พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ - หลายคนเป็น
คนเดียวก็ได้ ก็มีนัยนี้. แต่มีความต่างกันดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ภิกษุนี้
ครั้นนิรมิตรูปเป็นอันมากอย่างนี้แล้วคิดต่อไปว่า เราจักเดินจงกรมแต่ผู้
เดียวเท่านั้น. เราจักทำการสาธยาย. เราจักถามปัญหาดังนี้ก็ดี คิดว่า
วิหารนี้มีภิกษุน้อย. หากภิกษุบางพวกจักมา. ภิกษุประมาณเท่านี้เหล่านี้

จักอยู่ที่ไหน. จักรู้จักเราว่านี้อานุภาพของพระเถระแน่นอนก็ดี จึง
ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียวในระหว่าง เพราะเป็นผู้ปรารถนาน้อย
เข้าฌานเป็นบาท ครั้นออกแล้วจึงทำบริกรรมว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียว
แล้วเข้าฌานอีก ครั้นออกแล้วพึงอธิฏฐานว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียวเถิด.
ภิกษุนั้นก็จะเป็นรูปเดียวพร้อมกับจิตอธิฏฐานนั่นเอง. เมื่อไม่ทำอย่างนี้
ย่อมเป็นรูปเดียวด้วยตนเองเท่านั้นด้วยสามารถกาลตามที่กำหนดไว้.

บทว่า อาวิภาวํ คือ ทำให้ปรากฏ.
บทว่า ติโรภาวํ - ทำให้ปกปิดก็ได้. พึงเชื่อมด้วยบทก่อนว่า
อาวิภาวํ ปจฺจนุโภติ. ติโรภาวํ ปจฺจนุโภติ - แสดงให้ปรากฏก็ได้.
แสดงให้หายไปก็ดี. ในบทนี้ผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำให้ปรากฏ. ย่อมทำ

ความมืดให้สว่างได้. หรือทำที่ปกปิดให้เปิดเผยได้. หรือทำที่ไม่ใช่คลอง
สายตา ให้เป็นคลองสายตา. ถามว่า อย่างไร? ตอบว่า เหมือนอย่าง
ว่า ภิกษุนี้แม้อยู่ในที่กำบัง หรือแม้อยู่ในที่ไกล ก็ปรากฏได้ฉันใด.
ประสงค์จะแสดงตน หรือผู้อื่นให้ปรากฏก็ฉันนั้น ครั้นออกจากฌาน

เป็นบาทแล้วคำนึงว่า ขอที่กำบังนี้จงเปิดเผย. หรือขอที่มิใช่คลองจักษุ
นี้จงเป็นคลองจักษุเถิดดังนี้ แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแหละ. พร้อมกับอธิฏฐานย่อมเป็นไปตามที่อธิฏฐาน. ผู้อื่นแม้
ยืนอยู่ในที่ไกลก็เห็นได้. ประสงค์เห็นแม้ตนเองก็เห็นได้. ประสงค์

จะทำให้หายไป? ย่อมทำแสงสว่างให้มืดได้ หรือทำที่ไม่ปกปิดให้ปกปิด
ได้. หรือทำที่เป็นคลองจักษุ มิให้เป็นคลองจักษุได้. ถามว่าอย่างไร?
ตอบว่าเหมือนอย่างว่า แม้อยู่ในที่ปกปิด หรือแม้ยืนอยู่ในที่ใกล้ก็ไม่
ปรากฏฉันใด. ภิกษุประสงค์จะแสดงตน หรือผู้อื่นก็ฉันนั้น ครั้น


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ออกจากฌานเป็นบาทแล้ว คำนึงว่า ขอที่ไม่ปกปิดนี้จงปกปิด. หรือ
ขอที่เป็นคลองจักษุนี้ จงมิใช่คลองจักษุ แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานโดย
นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. พร้อมกับอธิฏฐาน ย่อมเป็นไปตามอธิฏฐาน
ทีเดียว. ผู้อื่นแม้ยืนอยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ. แม้ประสงค์จะไม่เห็นตนเอง
ก็ไม่เห็น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฏิหาริย์ที่ปรากฏแม้ทั้งหมด ชื่อว่าทำให้
ปรากฏ. ปาฏิหาริย์ที่ไม่ปรากฏ ชื่อว่าทำให้หายไป.

ในปาฏิหาริย์ทำให้ปรากฏนั้น ฤทธิ์ก็ดี ผู้มีฤทธิ์ก็ดี ย่อมปรากฏ.
พึงแสดงปาฏิหาริย์ที่ปรากฏนั้นด้วยยมกปาฏิหาริย์. ในปาฏิหาริย์ที่ไม่
ปรากฏ ฤทธิ์เท่านั้นย่อมปรากฏ ผู้มีฤทธิ์ไม่ปรากฏ. พึงแสดงปาฏิหาริย์
ที่ไม่ปรากฏนั้น ด้วยยมกสูตร และด้วยพรหมนิมันตนิกสูตร.*(มุ. มู. ๑๒
/๕๕๒.)

บทว่า ติโรกุฑฺฑํ - ภายนอกฝา. คือ ฝาอื่น. อธิบายว่า ส่วน
อื่น. ในภายนอกกำแพงภายนอกภูเขาก็มีนัยนี้. บทว่า กุฑฺโฑ คือ
ฝาเรือน. บทว่า ปากาโร คือ กำแพงล้อมเรือนวิหารและบ้านเป็นต้น.
บทว่า ปพฺพโต คือ ภูเขาดินหรือภูเขาหิน. อสชฺชมาโน คือ ไม่
ติดขัด. บทว่า เสยฺยถาปิ อากาเส คือ เหมือนไปในที่ว่าง.

อนึ่ง ผู้ประสงค์จะไปอย่างนี้ พึงเข้าอากาสกสิณ ครั้นออกแล้ว
คำนึงถึงฝาก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานว่า ขอ
จงเป็นที่ว่างเถิด. ย่อมเป็นที่ว่างได้ทีเดียว. ผู้ประสงค์จะลงไปเบื้องต่ำ
ก็ดี. ประสงค์ขึ้นไปเบื้องบนก็ดี ย่อมเป็นโพรง. ผู้ประสงค์จะทะลุไป
ย่อมเป็นช่อง

ภิกษุนั้นไปได้ไม่ติดขัดในที่นั้น. อนึ่ง หากว่าภูเขาก็ดี ต้นไม้
ก็ดี ขึ้นในระหว่างภิกษุนั้นอธิฏฐานแล้วไป. การเข้าฌานแล้วอธิฏฐาน
อีกไม่ผิดหรือ ไม่ผิด. เพราะการเข้าฌานแล้วอธิฏฐานอีกย่อมเป็นเช่น
กับการถือนิสัยในสำนักของพระอุปัชฌาย์. เพราะภิกษุนี้อธิฏฐานว่า

ขอจงเป็นที่ว่างเถิดดังนี้ย่อมเป็นที่ว่างทันที. ข้อที่ภูเขาก็ดี ต้นไม้ก็ดี
จักขึ้นตามฤดูกาลในระหว่างภิกษุนั้นด้วยกำลังอธิฏฐานมีมาก่อน มิใช่
ฐานะ. แต่การนิรมิตครั้งแรกย่อมเป็นกำลัง ในการที่ผู้มีฤทธิ์อื่นนิรมิต
แล้ว. ผู้มีฤทธิ์นอกนี้ควรไปเบื้องบนหรือเบื้องต่ำของภิกษุนั้น.

ในบทนี้ว่า ปฐวิยาปิ อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺชํ - ผุดขึ้นดำลงใน
แผ่นดินก็ได้มีความดังต่อไปนี้.
บทว่า อุมฺมุชฺชํ - ผุดขึ้น ได้แก่ โผล่ขึ้น.
บทว่า นิมฺมุชฺชํ - ดำลง ได้แก่ จมลง.
การผุดขึ้นและดำลง ชื่อว่า อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺชํ.

อนึ่ง ภิกษุประสงค์จะทำอย่างนี้เข้าอาโปกสิณ ครั้นออกแล้ว
กำหนดว่า ขอแผ่นดินในที่ประมาณเท่านี้ จงเป็นน้ำเถิดแล้วทำบริกรรม
พึงอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แผ่นดินย่อมเป็นน้ำในที่
ตามที่กำหนดไว้พร้อมด้วยการอธิฏฐาน.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ภิกษุนั้นย่อมทำการผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินนั้นเหมือนในน้ำ. มิ
ใช่เพียงการผุดขึ้นดำลงอย่างเดียวเท่านั้น ยังทำสิ่งปรารถนาจะทำก็ได้
เป็นต้น การอาบ การดื่ม การล้างหน้า และการล้างของใช้. อนึ่ง
มิใช่ทำแต่น้ำอย่างเดียวเท่านั้น ยังนึกถึงสิ่งที่ปรารถนาเป็นต้นว่า เนย

ใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยว่า ขอสิ่งนี้ ๆ จงเป็นสิ่งประมาณเท่านี้
เถิดดังนี้แล้วทำบริกรรมอธิฏฐาน ย่อมเป็นไปตามอธิฏฐานได้. เมื่อ
ยกขึ้นใส่ภาชนะ เนยใสก็เป็นเนยใสนั่นเอง. น้ำมันเป็นต้นก็เป็นน้ำ-
มัน น้ำก็เป็นน้ำ. ภิกษุนั้นประสงค์จะให้เปียกในน้ำนั้น ก็เปียก.
ประสงค์จะไม่ให้เปียก ก็ไม่เปียก.

อนึ่ง แผ่นดินนั้นเป็นน้ำแก่ภิกษุนั้น. เป็นแผ่นดินแก่ชนที่
เหลือ. บนแผ่นดินนั้นมนุษย์ยังเดินไปได้. ขับยานเป็นต้นได้. แม้
กสิกรรมเป็นต้น ก็ยังทำกันได้เช่นเดิม. หากภิกษุนี้ปรารถนาว่า
แผ่นดินจงเป็นน้ำแก่ชนเหล่านั้นเถิด. ก็ย่อมเป็นทีเดียว. ครั้นล่วง
เลยกาลที่กำหนดไว้ ที่ที่กำหนดไว้ที่เหลือเว้นน้ำในหม้อและในสระ
เป็นต้น ตามปกติก็ย่อมเป็นแผ่นดินได้.

ในบทนี้ว่า อุทเกปิ อภิชฺชมาเน คจฺฉติ - เดินไปบนน้ำไม่
แยกก็ได้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวน้ำที่เหยียบแล้วจมว่า ภิชฺ-
ชมานํ คือ น้ำแยก. น้ำตรงกันข้ามไม่แยก. ภิกษุประสงค์จะไปอย่างนี้
เข้าปฐวีกสิณ ครั้นออกแล้วกำหนดว่า ขอน้ำจงเป็นแผ่นดินในที่

ประมาณเท่านี้เถิดแล้วทำบริกรรม พึงอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแหละ. น้ำย่อมเป็นแผ่นดินในที่ตามที่กำหนดพร้อมด้วยอธิฏฐาน.

ภิกษุนั้นเดินไปบนน้ำนั้นดุจเดินไปบนแผ่นดิน. มิใช่เดินไป
อย่างเดียว. ยังให้สำเร็จอิริยาบถที่ปรารถนาได้. มิใช่ทำให้เป็น
แผ่นดินได้อย่างเดียวเท่านั้น. ยังนึกอธิฏฐานสิ่งที่ปรารถนาเป็นต้นว่า
แก้วมณี ทองคำ ภูเขาและต้นไม้ โดยนัยดังกล่าวแล้วได้อีกด้วย. ย่อม

เป็นไปตามที่อธิฏฐานนั่นแหละ. น้ำนั้นย่อมเป็นแผ่นดินแก่ภิกษุนั้น
เท่านั้น. ย่อมเป็นน้ำแก่ชนที่เหลือ. ปลาและเต่า และกาน้ำเป็นต้น
ย่อมเที่ยวไปได้ตามความพอใจ. หากว่าภิกษุนี้ปรารถนาจะทำแผ่นดิน
นั้นแก่มนุษย์ทั้งหลายอื่น ก็ย่อมทำได้. แต่ย่อมเป็นน้ำโดยล่วงเลยกาล
ตามที่กำหนดไว้.
บทว่า อากาเสปิ ปลฺลงฺเกน จงฺกมติ - เหาะไปในอากาศก็ได้
คือ ไปโดยนั่งขัดสมาธิโดยรอบบนอากาศก็ได้.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า ปกฺขี สกุโณ คือ นกมีปีก มิใช่นกที่มีปีกไม่สมบูรณ์
หรือนกปีกหัก. เพราะว่านกเช่นนั้นไม่สามารถบินไปบนอากาศได้.
ภิกษุผู้ประสงค์จะไปในอากาศอย่างนี้เข้าปฐวีกสิณ ครั้นออกแล้ว. หาก
ปรารถนาจะนั่งไป. ควรกำหนดที่ขนาดบัลลังก์ทำบริกรรมแล้วอธิฏฐาน
โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

หากประสงค์จะนอนไป. ควรกำหนดขนาดเตียง. หากประสงค์
จะเดินไป. ควรกำหนดระยะทาง. ครั้นกำหนดที่ตามสมควรอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้ แล้วควรอธิฏฐานว่า ขออากาศจงเป็นแผ่นดินโดย
นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. อากาศก็จะเป็นแผ่นดินพร้อมกับอธิฏฐาน
นั่นเอง.

อนึ่ง ภิกษุประสงค์จะไปในอากาศควรได้ทิพจักษุด้วย. เพราะ
เหตุไร? เพราะในระหว่างย่อมมีภูเขาและต้นไม้เป็นต้น อันเกิดตาม
ฤดูกาล. หรือนาคและครุฑเป็นต้น หวงห้าม สร้างไว้. เพื่อจะได้เห็น
สิ่งเหล่านั้น. ก็ครั้นเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้วควรทำอย่างไร? ควรเข้าฌาน
เป็นบาท ครั้นออกแล้วทำบริกรรมว่า ขอจงเป็นอากาศเถิดแล้วอธิฏ-
ฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้เพื่อจะลงในที่ว่างก็ควรได้ทิพจักษุนี้. เพราะ
หากว่าภิกษุนี้ลงที่ท่าอาบน้ำ หรือที่ประตูบ้านอันมิใช่ที่ว่าง. จะปรากฏ
แก่มหาชน. เพราะฉะนั้น มองดูด้วยทิพจักษุแล้วเว้นที่ไม่ว่าง ลงใน
ที่ว่างด้วยประการฉะนี้.

ในบทนี้ว่า อิเมปิ จนฺทิมสุริเย เอวํมหิทฺธิเก เอวํ มหา-
นุภาเว - ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์แม้เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมาก พึงทราบความดังต่อไปนี้. พึงทราบความมีฤทธิ์มากของ
พระจันทร์พระอาทิตย์ ด้วยการโคจรตลอดสี่หมื่นสองพันโยชน์. ความ

มีอานุภาพมากด้วยการทำแสงสว่างในขณะเดียวกัน ๓ ทวีป. หรือมี
ฤทธิ์มากด้วยการโคจรไปเบื้องบนและแผ่แสงสว่างไป ด้วยอาการอย่างนี้.
มีอานุภาพมากด้วยความมีฤทธิ์มากนั้นนั่นเอง.

บทว่า ปรามสติ คือ ลูบหรือสัมผัสในส่วนหนึ่ง,
บทว่า ปริมชฺชติ คือ คลำดุจคลำพื้นกระจกโดยรอบ.
อนึ่ง ฤทธิ์ของภิกษุนั้น นี้ย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งฌานมี
อภิญญาเป็นบาท. ในฤทธิ์นี้ไม่นิยมกสิณสมาบัติ. ผิว่า ภิกษุนี้ปรารถนา

จะไปลูบ. ก็ไปลูบได้. หากปรารถนาเพื่อจะนั่งหรือนอนลูบที่พระจันทร์
พระอาทิตย์นี้. ก็อธิฏฐานว่า ขอพระจันทร์พระอาทิตย์จงมีที่บ่วงมือ
เถิด. ด้วยกำลังอธิฏฐานภิกษุจะลูบพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมาปรากฏ
ที่บ่วงมือ ดุจผลตาลหลุดจากขั้วฉะนั้น. หรือเอื้อมมือไปลูบได้.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
อนึ่ง เมื่อภิกษุเอื้อมมือไปอุปาทินนกะ หรือว่า อนุปาทินนกะ
เอื้อมไป. อนุปาทินนกะเอื้อมไป เพราะอาศัยอุปาทินนกะ. ภิกษุทำ
อย่างนี้มิใช่ลูบพระจันทร์พระอาทิตย์ได้อย่างเดียว. หากปรารถนาทำให้
เป็นที่เช็ดเท้าก็ตั้งไว้ที่เท้า. ทำตั่งนั่งก็ได้. ทำเตียงนอนก็ได้. ทำหมอน
หนุนก็ได้. แม้จะมีอย่างอื่นอีกก็เหมือนมีอย่างเดียว. เพราะเมื่อภิกษุ

แสนรูปทำอย่างนี้ ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นย่อมสำเร็จอย่างนั้น แก่รูป
หนึ่ง ๆ เท่านั้น. การโคจรการทำแสงสว่างของพระจันทร์พระอาทิตย์
ย่อมมีเป็นปกติ. เหมือนอย่างว่ามณฑลพระจันทร์ย่อมปรากฏที่ถาด
ทั้งหมดอันเต็มด้วยน้ำตั้งพันถาด. การโคจรและการทำแสงสว่างของ
พระจันทร์ก็มีเป็นปกติฉันใด. ปาฏิหาริย์นี้ก็อุปมาฉันนั้น.

บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกาปิ กิเยน วสํ วตฺเตติ - ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ความว่า ทำพรหมโลกให้เป็นที่กำหนด
แล้วทำอภิญญาหลายอย่างในระหว่างนี้ใช้อำนาจ คือ ความเป็นอิสระ
ทางกายของตน. ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้ จักมีแจ้งในอิทธิกถา
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอิทธิวิธญาณนิทเทส


ในพระพุทธศาสนายังมีสิ่งดีอยู่อีกมากมายที่หลายท่าน
ยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจกันครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ไม่ง่ายนักที่จะทำญาณอภิญญาให้เกิด สำหรับผู้ครองเรือน
แต่ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากจะรู้ให้แจ้งเหมือนกัน ไม่ได้อยากมีฤทธิ์นะครับ
อยากรู้เฉย ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
:b8: :b8: :b8:
ไม่ง่ายนักที่จะทำญาณอภิญญาให้เกิด สำหรับผู้ครองเรือน
แต่ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากจะรู้ให้แจ้งเหมือนกัน ไม่ได้อยากมีฤทธิ์นะครับ
อยากรู้เฉย ๆ

:b8:

ครับ มีแต่ผู้ออกบวช หรือปลีกวิเวกคนเดียว ตัด
กิเลสเครื่องกังวนทางจิตทั้งปวง ย่อมจะง่ายกว่า

จะมีอยู่ในพวกกสินครับ ผมก็ว่าลองๆอยู่แต่ติด
ได้ตั้งสัจจะไว้ว่าจะอ่านหนังสือให้จบอยู่เลยไม่
ได้ฝึกเท่าไหร่ครับ

บางสิ่งแม้เราจะไม่อยากแต่ก็จำต้องมี เช่น
อุจจาระ ปัสสาวะ ใครบ้างอยากจะมี แต่เมื่อเรา
ยังต้องกินดื่มเราก็จำต้องมีครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2019, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ยุคนี้การที่จะช่วยหรือแนะนำ หรือเผยแพร่พระ
ธรรมคำสอนบอกให้คนทั่วไปเชื่อนั้นนี้ก็เป็นอีกวิธี
เอาฤทธิ์เป็นเหยื่อล้อให้คนติดเข้ามาแล้วค่อยๆ ต้อน
เข้าสู่หลักธรรม ให้เห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนและ
มิใช่ทางพ้นทุกข์ได้ด้วยฤทธิ์นั้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
(ต่อ)

Quote Tipitaka:
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงเรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงถึง
วิธีทำฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ของผู้มีฤทธิ์แม้อื่น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โส
ปกติวณณํ วิชหิตวา ผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ ภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีจิตอ่อนสมควรแก่
การงานที่ทำ ตามวิธีดังกล่าวแล้วในหนหลัง. หากภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำ
ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติ คือสัณฐานปกติของตน
แล้วแสดงเพศเป็นกุมารบ้าง. อย่างไร คือออกจากจตุตถฌานมีปฐวีกสิณเป็น

อารมณ์ มีอภิญญาเป็นบาท แล้วนึกถึงเพศกุมารที่ควรนิรมิตว่า เราจงเป็น
กุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อทำบริกรรมเสร็จจึงเข้าสมาบัติอีก ครั้นออก
แล้ว อธิฐานด้วยอภิญญาญาณว่า เราจงเป็นกุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้. ภิกษุ
ผู้มีฤทธิ์นั้นก็จะเป็นกุมารพร้อมกับอธิฐาน.

ท่านกล่าวไว้ในปฐวีกสิณในวิสุทธิมรรคว่า สมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ มีฌานเป็นบาท ย่อมสมควรในที่นี้ด้วยคำว่า ฤทธิ์ที่แผลงต่างๆ มี
อาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ด้วยอำนาจปฐวีกสิณ ฯลฯ
ย่อมสำเร็จดังนี้. อนึ่ง ในอภิญญานิเทศในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ ท่าน

กล่าวว่า ออกจากปฐวีกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ จากฌานมี
อภิญญาเป็นบาท ดังนี้ ด้วยฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ. อนึ่ง ในนิเทศนั้นนั่นแหละ
ท่านกล่าวว่า ควรคิดถึงเพศกุมารของตน. คำกล่าวนั้นดูเหมือนจะไม่สมควร
ในการนิรมิตมีนาคเป็นต้น. แม้ในการนิรมิตมีเพศนาคเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นาควณณํ เพศนาค คือมีสัณฐานคล้ายงู.
บทว่า สุปณณวณณํ เพศครุฑ. คือมีสัณฐานคล้ายครุฑ. บทว่า อินทวณณํ
เพศพระอินทร์ คือ มีสัณฐานคล้ายท้าวสักกะ. บทว่า เทววณณํ เพศเทวดา
คือ มีสัณฐานคล้ายเทวดาที่เหลือ. บทว่า สมุททวณณํ เพศสมุทร ย่อม

สำเร็จด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ. บทว่า ปตตึ พลราบ คือ พลเดินเท้า. บทว่า
วิวิธมปิ เสนาพยูหํ กองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ คือ หมู่ทหารหลายเหล่า
มีพลช้างเป็นต้น. แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวบทมีอาทิว่า แสดงแม้ช้างด้วย
เพื่อให้เห็นช้างเป็นต้น แม้ในภายนอก. ในวิสุทธิมรรคนั้นไม่พึงอธิฐาน
ว่า เราจงเป็นช้าง พึงอธิฐานว่า ช้างจงมี. แม้ในม้าเป็นต้นท่านก็กล่าวว่า

มีนัยนี้เหมือนกัน คำนั้นผิดด้วยบทเดิมกล่าวว่า ละเพศปกติ และด้วยความ
ที่ฤทธิ์แผลงได้ต่าง ๆ เพราะว่าการไม่ละเพศปกติตามลำดับดังกล่าวในบาลี
แล้ว แสดงเพศอื่นด้วยอำนาจอธิฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์ที่อธิฐาน. การละ
เพศปกติแล้วแสดงตนเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจอธิฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผลง
ได้ต่าง ๆ.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พึงทราบในวินิจฉัยในมโนมยิทธินิเทศดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า
อิมมหา กายา อญญํ กายํ อภินิมมินาติ ภิกษุนิรมิตกายอื่นจากกายนี้
ความว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำมโมยิทธิฤทธิ์ทางใจ ครั้นออกจากสมาบัติ
มีอากาศกสิณเป็นอารมณ์ มีฌานเป็นบาทแล้วนึกถึงรูปกายของตนก่อนแล้ว
อธิฐานว่าโพรงจงมี โพรงย่อมมี ต่อจากนั้นนึกถึงกายอื่นด้วยอำนาจปฐวี-
กสิณในภายในของโพรงนั้นแล้วทำบริกรรมอธิฐาน โดยนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแหละ กายอื่นย่อมมีภายในโพรงนั้น ภิกษุนั้นบ้วนกายนั้นออกจากปาก
แล้วตั้งไว้ภายนอก. บัดนี้พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะประกาศความนั้นด้วยอุปมา
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยยถาปิ ดังนี้. ในบทเหล่านี้ บทว่า มุญชมหา
คือ จากหญ้าปล้อง. บทว่า อีสิกํ ปวาเหยย พึงชักไส้ คือ ขุดหน่อ. บทว่า
โกสิยา คือจากฝัก. บทว่า กรณฑา จากกระทอ คือ จากคราบหนังเก่า.

อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทธเรยย พึงยกออก พึงทราบการยก
ออกแห่งกระทอนั้นด้วยจิตเท่านั้น เพราะธรรมดางูนี้ตั้งอยู่ในชาติของตน
อาศัยระหว่างท่อนไม้บ้าง ระหว่างต้นไม้บ้าง ด้วยกำลัง คือ การลอกคราบ
ออกจากตัว รังเกียจหนังเก่า ดุจเคี้ยวกินตัวย่อมละคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ

๔ ประการเหล่านี้. อนึ่ง ในเรื่องนี้ท่านกล่าวอุปมาเหล่านี้ไว้ เพื่อให้เห็นว่า
รูปสำเร็จแต่ฤทธิ์นี้ ของผู้มีฤทธิ์ย่อมเป็นเช่นกันด้วยอาการทั้งปวง เหมือนไส้
เป็นต้น ย่อมเป็นเช่นกันออกจากหญ้าปล้องฉะนั้น กายที่ทำด้วยใจ คือ
อภิญญาในบทนี้ว่า ผู้มีฤทธิ์เข้าไปด้วยฤทธิ์ ด้วยกายสำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า

มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ กายที่เกิดขึ้นด้วยใจ คือ ฌานในบทนี้ว่า
ผู้มีฤทธิ์เข้าถึงกายสำเร็จ แต่ใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มโนมยกาโย กาย
สำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ แต่ในที่นี้ กายเกิดขึ้นแล้วด้วยใจ คือ อภิญญา

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ชื่อว่า มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ. เมื่อเป็นเช่นนั้น
หากถามว่าชื่อว่า กายสำเร็จแต่ใจอันฤทธิ์ที่อธิฐานและอันฤทธิ์ที่แผลงได้
ต่าง ๆ ทำ ย่อมมีได้หรือ. ตอบว่า ย่อมมีได้ทีเดียว แต่ในที่นี้ การนิรมิต
จากภายในเท่านั้น ชื่อว่า มโนมยิทธิ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า เป็นฤทธิ์ที่
อธิฐานและเป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ เพราะทำให้พิเศษเป็นต่างหากของฤทธิ์
เหล่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในญาณวิปผารนิเทศดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ญาณวิป-
ผารา ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เพราะมีกำลังแผ่ไปแห่งญาณ. อนึ่ง ในบทนี้
พึงทราบว่าท่านพึงแสดงฤทธิ์อนุปัสสนา ๗ แล้วย่อฤทธิ์ที่เหลือตลอดถึง
อรหัตมรรค.

ในบทมีอาทิว่า ท่านพากุละมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ มีความว่าท่าน
พากุลเถระได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้เจริญในตระกูลทั้งสอง สะสมบุญบารมี
มาในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เป็นพระเถระที่ถึงพร้อมด้วยบุญสัมปทา. จริงอยู่
พระเถระนั้นเสวยมหาสมบัติ ท่องเที่ยวไปในเทวโลก มนุษยโลก บังเกิด
ในศาสนาของพระทศพลของเรา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงโกสัมพีก่อน.

ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิด พี่เลี้ยงพร้อมด้วยบริวารนำไปยังแม่น้ำยมุนาพร้อม
กับบริวารใหญ่ เพื่อสิริมงคล เล่นน้ำดำผุดดำว่ายอยู่. ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง
สำคัญว่า ทารกนี้เป็นอาหารของเรา จึงอ้าปากว่ายเข้าไปหา. พี่เลี้ยงทิ้งทารก
หนีไป. ปลาใหญ่กลืนกินทารกนั้น. สัตว์ผู้มีบุญไม่ได้รับทุกข์แต่อย่างไร

คล้ายเข้าไปยังห้องนอนฉะนั้น ด้วยเดชของทารก ปลาร้อนผ่าว ดุจกลืนกระ-
เบื้องร้อนว่ายไปด้วยความเร็วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์เข้าไปยังตาข่ายของชาวประมง
ชาวกรุงพาราณสี. ปลานั้นพอชาวประมงเอาออกจากตาข่ายเท่านั้นก็ตายด้วยเดช
ของทารกนั้น. ชาวประมงเอาปลานั้นใส่ตะกร้า คิดว่าจะขายในราคาพันหนึ่ง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เที่ยวไปในนคร ไปถึงประตูเรือนของเศรษฐี ไม่มีบุตร มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ
ได้ขายปลาให้ภรรยาเศรษฐี ๑ กหาปณะ. นาเอาปลาวางไว้บนแผ่นกระดาน
ด้วยตนเองแล้วผ่าข้างหลัง ครั้นเห็นทารกมีสีดุจทองคำในท้องปลาจึงตะโกนว่า
เราได้บุตรในท้องปลาแล้วนำทารกเข้าไปหาสามี. ทันใดนั้นเองเศรษฐีให้ตีกลอง

ประกาศ แล้วนำทารกมาเฝ้าพระราชากราบทูลเพื่อความให้ทรงทราบ. พระราชา
ตรัสว่า ทารกมีบุญ ท่านจงเลี้ยงทารกให้ดี. ตระกูลเศรษฐีที่เป็นมารดาบิดา
ครั้นทราบเรื่องราวนั้นจึงไป ณ ที่นั้น พูดว่า บุตรของเรา จึงโต้เถียงกันเพื่อ
จะเอาทารกไป. ทั้งสองก็ได้ไปเฝ้าพระราชา.

พระราชาตรัสว่า เราไม่อาจทำให้ตระกูลทั้งสองไม่ให้มีบุตรได้ ทารก
นี้จงเป็นทายาทของตระกูลทั้งสองเถิด. ตั้งแต่นั้นมาตระกูลทั้งสองก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยลาภมากมาย. เพราะทารกนั้นเป็นผู้เจริญด้วยสองตระกูลจึงตั้งชื่อว่า พากุล-
กุมาร. เมื่อพากุลกุมารนั้นรู้เดียงสาแล้ว มารดาบิดาจึงสร้างปราสาทแห่งละ
๓ หลังในนครทั้งสอง หาคนฟ้อนรำมาแสดงเป็นประจำ. พากุลกุมารอยู่ใน

นครหนึ่ง ๆ นครละ ๔ เดือน. เมื่อพากุลกุมารอยู่ในนครหนึ่งครบ ๔ เดือน
มารดาบิดาจึงสร้างมณฑปไว้ที่เรือนขนานแล้วให้พากุลมารพร้อมดวยนักฟ้อนรำ
ขึ้นไปอยู่บนเรือขนานนั้น แล้วนำพากุลกุมารซึ่งเสวยมหาสมบัติไปอีกพวกหนึ่ง
สองเดือนได้ครึ่งทาง. แม้นักฟ้อนชาวนครอีกนครหนึ่ง ก็เตรียมต้อนรับเหมือน

กัน ด้วยคิดว่า อีกสองเดือนพากุลกุมารจักมาถึงครึ่งทาง แล้วนำมานคร
ของตนอยู่ได้สองเดือน. พากุลกุมารอยู่ในนครนั้น ๔ เดือน แล้วกลับไปอีก
นครหนึ่งโดยทำนองนั้น. เมื่อพากุลกุมารเสวยสมบัติอยู่อย่างนี้ อายุครบ ๘๐ ปี.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบรรลุพระสัพพัญญตญาณแล้วทรง
ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกไปตามลำดับบรรลุถึงกรุงโกสัมพี.
พระมัชฌิมภาณจารย์ กล่าวว่า กรุงพาราณสี. แม้พากุลเศรษฐีก็ได้ยินว่า
พระทศพลเสด็จมา จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้วก็บวช. พระพากุละเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วันเท่านั้น
ในอรุณที่ ๘ ก็บรรลุรพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

ลำดับนั้น มาตุคามที่อยู่ในนครทั้งสอง มายังเรือนตระกูลของตน ๆ อยู่
ณ ที่นั้นทำจีวรส่งไปถวาย. พระเถระใช้จีวรที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวายทุก
กึ่งเดือน. ชาวกรุงโกสัมพีก็ส่งไปถวายทุกกึ่งเดือน โดยทำนองนี้ ได้นำสิ่งที่
อุดมในนครทั้งสองมาถวายพระเถระด้วยประการดังนี้. พระเถระบวชได้ ๘๐
พรรษาอย่างมีความสุข. อาพาธแม้มีประมาณน้อยเพียงครู่เดียวก็ไม่เคยมีแก่

พระเถระนั้น ในทั้งสองตระกูล พระเถระกล่าวพากุลสูตรในครั้งสุดท้ายแล้วก็
ปรินิพพาน ด้วยประการฉะนี้ . ความไม่มีโรคในท้องปลา ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยญาณ เพราะท่านพระพากุละมีภพคร้งสุดท้ายเกิดด้วยอานุภาพแห่งอรหัต-
ญาณที่ควรได้ด้วยอัตภาพนั้น. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ด้วยอนุภาพแห่ง
ปฏิสัมภิทาญาณที่บรรลุด้วยผลกรรมอันสุจริต.

แม้พระสังกิจจเถระก็เคยทำบุญไว้ก่อนบังเกิดในครรภ์ของธิดาตระกูล
มั่งคั่งในกรุงสาวัตถีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระธรรมเสนาบดีเถระ. ธิดานั้นเมื่อทารก
อยู่ในครรภ์ ได้ถึงแก่กรรมในขณะนั่นเอง ด้วยโรคอย่างหนึ่ง. เมื่อร่างของ
ธิดานั้นถูกเผา เนื้อที่เหลือไหม้เว้นเนื้อที่ครรภ์. ลำดับนั้น เนื้อที่ครรภ์ของนาง
หล่นลงจากเชิงตะกอน สัปเหร่อเอาหลาวแทงในที่ ๒-๓ แห่ง. ปลายหลาว

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2019, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ถูกหางตาของทารก. สัปเหร่อทั้งหลายแทงเนื้อที่ครรภ์แล้วเอาใส่ไว้ในกองเถ้า
เอาถ้ากลบแล้วกลับไป. เนื้อที่ครรภ์ไหม้. แต่บนยอดเถ้า ทารกคล้ายรูปทองคำ
ดุจนอนบนกลีบปทุม. จริงอยู่ เมื่อสัตว์มีภพครั้งสุดท้ายแม้ถูกภูเขาสิเนรุ
ทับ ก็ยังไม่สิ้นชีวิต เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต. วันรุ่งขึ้นสัปเหร่อคิดว่า

จักดับเชิงตะกอนจึงพากันมา เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์ไม่เคยมี
จึงพาทารกไปนครถามนักพยากรณ์. นักพยากรณ์กล่าวว่า หากทารกนี้จักอยู่
ครองเรือน พวกญาติจักรลำบากตลอด ๗ ชั่วตระกูล หากบวช จักมีสมณะ
๕๐๐ แวดล้อมเที่ยวไป. ตาได้เลี้ยงทารกนั้นจนเจริญ เมื่อทารกเจริญแม้พวก

ญาติก็พากันเลี้ยงดู ด้วยหวังว่าจักให้บวชในสำนักของพระคุณเจ้าของเรา.
เมื่อทารกมีอายุได้ ๗ ขวบ เขาได้ยินพวกเด็ก ๆ พูดกันว่า มารดาของท่าน
ถึงแก่กรรมเมื่อท่านยังอยู่ในครรภ์ เมื่อร่างของมารดาถูกเผา ท่านก็ไฟไหม้
จึงบอกแก่พวกญาติว่า นัยว่าฉันพ้นจากภัยเห็นปานนี้ ฉันจะไม่อยู่เป็น

ฆราวาสละ ฉันจักบวช. พวกญาติกล่าวว่า ดีแล้วพ่อคุณ จึงพาไปหาพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรได้มอบให้ว่า ขอพระคุณเจ้าให้กุมารนี้บวชเถิด. พระเถระ
ให้ตจปัญจกรรมฐานแล้วให้ทารกบวช. ทารกนั้นเมื่อจดปลายมีดโกนเท่านั้น

ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ครั้นอายุครบก็ได้อุปสมบทบวชได้
๑๐ พรรษา มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริหารเที่ยวไป. ความเป็นผู้ไม่มีโรคบนเชิง-
ตะกอนก่อด้วยฟืน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ฤทธิ์แผ่ไปด้วยญาณ
ของท่านสังกิจจะ.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร