วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 482 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 33  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้....กรรมอะไร...บังตาบังใจ...จากที่เชื่อหลวงตา..พาไปเชื่อใครก็ไม่รู้..นิ :b12: :b12:

ฟัง..นะดีที่สุด...แล้ว...

แต่ปัญหา..ว่า...ไปฟังใคร..นี้แหละ

อ่านพระธรรมขององค์สมเด็จเอง..ฟังเอง..เลยคุณโรส....ตรงธรรมของจริง....

ไม่ใช่ธรรมลึกของปลอม..ๆ อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
ทุกคำในพระไตรปิฏกมีแล้ว
ตาไม่บอดก็ดูให้เข้าใจชัดๆสิคะ
สีดับแล้วส่งต่อในมืดไปดับทางมโนทวาร
มีจิตทางอื่นเกิดดับสืบต่อในมืดส่งต่อมโนทวารทุกครั้ง
12ขณะของ6ทางก่อนกะพริบตามีสว่างแค่ตอนแสงสะท้อนสีเข้าตา1/จาก2.3.4.5...ถึง12มืดค่ะมืด
อ่านแค่5บรรทัดนี้ก็รู้แล้วล่ะค่ะว่าตนเห็นผิดจากคำสอนอย่างไรบ้างเพราะกำลังมีจิตเห็นตรงขณะแต่มืดบอด
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 21:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่รู้....กรรมอะไร...บังตาบังใจ...จากที่เชื่อหลวงตา..พาไปเชื่อใครก็ไม่รู้..นิ :b12: :b12:



อย่าคิดมากค่ะ ว่าเป็นกรรมอะไร
ยากที่จะคิด
เพราะอาจจะเป็นทุกข์ที่เกาะกิน และเขาต้องการธรรมที่เข้ามาเยียวยา
การกระทำใดที่ทำให้เกิดการเยียวยาได้ไว เปลี่ยนอารมณ์ทุกข์ได้ไว
การกระทำนั้นจะถูกนำมายึดเหนี่ยวไว้

เพียงแต่เมื่อเข้าไปยึดเหนี่ยวอะไรเอาไว้
ก็ต้องให้รู้ว่าเข้าไปยึดเหนี่ยวสิ่งนั้นเพื่ออะไร
และเมื่อแข็งแรงขึ้น ก็ต้องรู้จักที่จะปล่อยวางสิ่งที่ยึดเหนี่ยวไปตามลำดับ

:b1:

เหมือนคนข้างบ้านเอกอน เขาก็ทุกข์กับเรื่องลูก
ลูกที่ยังไม่เป็นโล้เป็นพาย ยังไม่เป็นผู้เป็นคน ติดยา
เขาทุกข์ ด้วยเรื่องลูกคนนี้มาก
จากคนที่ไม่เคยมีแววว่าจะปฏิบัติธรรมได้
แต่ก็หันหน้าเข้าหาธรรมเพื่ออุทิศบุญกุศลนั้นให้กับลูก
เพื่อกุศลผลบุญใดจะดลใจให้ลูกได้กลับตัวกลับใจ ตั้งต้นชีวิตใหม่

ซึ่งทุกวันนี้เขาเลยกลายเป็นแนวหน้าแม่ขาวไปแล้ว

เพราะ ลูกเป็นแรงผลักดัน

:b1:

เอกอนเห็นแล้วก็ อมยิ้มเป็นสุข ไปกับเขา
ถึงแม้ลูกเขาจะยังคงเกเหมือนเดิม แต่เขาก็เดินในเส้นทางธรรมแล้ว

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ทุกคำในพระไตรปิฏกมีแล้ว
ตาไม่บอดก็ดูให้เข้าใจชัดๆสิคะ
สีดับแล้วส่งต่อในมืดไปดับทางมโนทวาร
มีจิตทางอื่นเกิดดับสืบต่อในมืดส่งต่อมโนทวารทุกครั้ง
12ขณะของ6ทางก่อนกะพริบตามีสว่างแค่ตอนแสงสะท้อนสีเข้าตา1/จาก2.3.4.5...ถึง12มืดค่ะมืด
อ่านแค่5บรรทัดนี้ก็รู้แล้วล่ะค่ะว่าตนเห็นผิดจากคำสอนอย่างไรบ้างเพราะกำลังมีจิตเห็นตรงขณะแต่มืดบอด
onion onion onion

ok ค่ะ ดีใจจัง อ่านได้ 5 บรรทัดแล้ว ยังเหลืออีกหลายบรรทัดนะคะ
แต่ไม่ต้องท้อนะคะ ค่อย ๆ อ่านไป
อ่านหลาย ๆ รอบค่ะ :b16:

ไม่ต้องกลัวหมดนะคะ พระพุทธองค์ทิ้งไว้หลายพระสูตรมากค่ะ
แต่ละพระสูตรล้วนมีความงามในภาษา และทรงคุณค่าค่ะ

:b16:

Quote Tipitaka:
๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)

[๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึก
หน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทาง
ดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า
สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่ง
สฬายตนวิภังค์ ฯ

[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น
เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขา ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่าย
อุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัย
ความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล
เมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไป
แล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิด
โสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัย
เรือน
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดย
เป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่
เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ

[๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความ
ปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะ
ทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โทมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ ฯ

[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่
ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่
ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ

[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทาง
ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอ
จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
โทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖
ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ
ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอ
จงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย
คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ

[๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็น
ต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้
ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็น
หนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรา
กล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของ
สัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่
พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์
เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟัง
ด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และ
ไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการ
ตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน
หมู่ ฯ

[๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยง
คำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความ
ชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ
ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ

[๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่
ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้ง
สติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่
ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศ
ตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์
ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ
ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมา
สัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้
นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒
ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 23 ธ.ค. 2018, 21:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่


ถ้ามีปัญหาสายตา ฟังก็ได้ค่ะ
eragon_joe เขียน:
:b16: :b16: :b16:

นี่คะ เอาใจคนชอบฟัง



:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่

จิตเกิดดับสลับกันครบ6ทางเดี๋ยวนี้ดูชัดๆตาไม่บอด
จิตเห็นแสง+สี1สีดับ...ส่งต่อดับในจิตทางมโนทวารมืด
ต่อจากนี้มืดสนิทอีก5ทางสลับส่งต่อมโนทวารทุกครั้ง
มืดสนิทเลยนะมี2จิตได้ยิน1เสียงดับ...ส่งต่อมโนทวาร
มี3จิตรู้กลิ่น/มโนฯ/4จิตรู้รส/มโนฯ/5รับสัมผัส/มโนฯ/6จิตคิดนึก/มโนฯ
ตั้งแต่จิตได้ยินถึงคิดนึกมืดสนิทมาตั้งแต่จิตเห็นส่งต่อทางมโนทวารมาเลยทีละ1ขณะไม่ปนกันแม้แต่นิดเดียว
:b12:
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่

จิตเกิดดับสลับกันครบ6ทางเดี๋ยวนี้ดูชัดๆตาไม่บอด
จิตเห็นแสง+สี1สีดับ...ส่งต่อดับในจิตทางมโนทวารมืด
ต่อจากนี้มืดสนิทอีก5ทางสลับสื่อต่อมโนทวารทุกครั้ง
มืดสนิทเลยนะมี2จิตได้ยิน1เสัยงดับ...ส่งต่อมโนทวาร
มี3จิตรู้กลิ่น/มโนฯ/4จิตรู้รส/มโนฯ/5รับสัมผัส/มโนฯ/6จิตคิดนึก/มโนฯ
ตั้งแต่จิตได้ยินถึงคิดนึกมืดสนิทมาตั้งแต่จิเห็นส่งต่อทางมโนทวารมาเลยทีละ1ขณะไม่ปนกันแม้แต่นิดเดียว
:b12:
:b16: :b16:

เยี่ยม ...

งั๊นอ่านต่อนะคะ

:b1:

นี่เลยค่ะ ธรรมบทแรกที่มีผู้ฟังและบรรลุอรหันต์

ถ้าอ่านแล้วยังไม่รู้สึกว่าบรรลุอรหันต์ ก็ย้อนกลับไปอ่านพระสูตรข้างต้นที่นำมาลงทังหมดใหม่นะคะ
ก็อ่านซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ นะคะ
เพราะแสดงว่าที่อ่านมาต้องมีสภาวะรู้อะไรที่ยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่นะคะ

Quote Tipitaka:
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่

จิตเกิดดับสลับกันครบ6ทางเดี๋ยวนี้ดูชัดๆตาไม่บอด
จิตเห็นแสง+สี1สีดับ...ส่งต่อดับในจิตทางมโนทวารมืด
ต่อจากนี้มืดสนิทอีก5ทางสลับสื่อต่อมโนทวารทุกครั้ง
มืดสนิทเลยนะมี2จิตได้ยิน1เสัยงดับ...ส่งต่อมโนทวาร
มี3จิตรู้กลิ่น/มโนฯ/4จิตรู้รส/มโนฯ/5รับสัมผัส/มโนฯ/6จิตคิดนึก/มโนฯ
ตั้งแต่จิตได้ยินถึงคิดนึกมืดสนิทมาตั้งแต่จิเห็นส่งต่อทางมโนทวารมาเลยทีละ1ขณะไม่ปนกันแม้แต่นิดเดียว
:b12:
:b16: :b16:

เยี่ยม ...

งั๊นอ่านต่อนะคะ

:b1:

นี่เลยค่ะ ธรรมบทแรกที่มีผู้ฟังและบรรลุอรหันต์

ถ้าอ่านแล้วยังไม่รู้สึกว่าบรรลุอรหันต์ ก็ย้อนกลับไปอ่านพระสูตรข้างต้นที่นำมาลงทังหมดใหม่นะคะ
ก็อ่านซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ นะคะ
เพราะแสดงว่าที่อ่านมาต้องมีสภาวะรู้อะไรที่ยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่นะคะ

Quote Tipitaka:
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ

:b32:
ปัจจุปัฏฐานเดี๋ยวนี้ตาของเอกอนเห็นแค่สีหรือคะตถาคตบอกว่าจิตเห็นสีค่ะ
หรือเห็นคนสัตว์โทรสับตัวอักษรเรียกว่ากำลังเห็นผิดไงคะตรงไหมคะที่เห็นอยู่เนี่ย
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: ... ยังมีมาให้อ่านอีกเยอะค่ะ ไม่ต้องกลัวหมดนะคะ :b16:

Quote Tipitaka:
ชัมพุขาทกสังยุตต์
[๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ
ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตร
ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ
นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ
นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ
ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพาน
ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๔๙๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัตๆ ดังนี้ อรหัตเป็นไฉน ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรม
เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ
อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ
อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำอรหัตนั้น
ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๔๙๙] ดูกรท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครเป็นผู้
ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก อนึ่ง ท่านผู้ใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใดละแล้ว ถอน
รากเสียแล้วทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละราคะ
โทสะ โมหะนั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละราคะ
โทสะ โมหะนั้น ฯ
สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจ-
*ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ โทสะ
โมหะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๐] ดูกรท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะ
โคดม เพื่อประโยชน์อะไร ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด
รู้ทุกข์นั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้
ทุกข์นั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น
และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจๆ ดังนี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ
ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ
ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจ
ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ
นั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๒] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่งๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ
ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ
ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่ง
นั้นให้แจ้ง ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ
อย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๓] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า เวทนาๆ ดังนี้ เวทนา
เป็นไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ อย่าง นี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด
รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด
รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ
ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้เวทนา
๓ อย่างนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๔] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อาสวะๆ ดังนี้ อาสวะเป็นไฉน
หนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชา-
*สวะ อาสวะ ๓ อย่างนี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอาสวะ
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอาสวะ
เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอาสวะเหล่านั้น
และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๕] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็น
ไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความ
ดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๖] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ตัณหาๆ ดังนี้ ตัณหาเป็นไฉน
หนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ตัณหา ๓ ประการนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละตัณหา
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละตัณหา
เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละตัณหาเหล่านั้น
และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๗] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า โอฆะๆ ดังนี้ โอฆะเป็นไฉน
หนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ
อวิชโชฆะ โอฆะ ๔ ประการนี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละโอฆะ
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละโอฆะ
เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละโอฆะเหล่านั้น
และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อุปาทานๆ ดังนี้ อุปาทานเป็น
ไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อุปาทาน ๔ ประการนี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอุปาทาน
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละ
อุปาทานเหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น
และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๐๙] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ภพๆ ดังนี้ ภพเป็นไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภพ ๓ เหล่านี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด
รู้ภพเหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด
รู้ภพเหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่า
นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๑๐] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ทุกข์ๆ ดังนี้ ทุกข์เป็นไฉน
หนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือทุกข์
สภาพทุกข์คือสังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้แล ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้
สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้
สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่า
นั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สภาพ
ทุกข์เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๑๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า สักกายะๆ ดังนี้ สักกายะเป็น
ไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทานขันธ์คือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าสักกายะ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้
สักกายะนั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้
สักกายะนั้น ฯ
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สักกายะ
นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ
[๕๑๒] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำได้ใน
ธรรมวินัยนี้ ฯ
สา. บรรพชา ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดย
ยาก ฯ
สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไร อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดย
ยาก ฯ
สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็น
พระอรหันต์ได้นานเพียงไร ฯ
สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ ฯ
จบชัมพุขาทกสังยุตต์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
:b32:
ยังมองไม่ชัดหรือคะงั้นรอแพ็พอ่านใหม่

จิตเกิดดับสลับกันครบ6ทางเดี๋ยวนี้ดูชัดๆตาไม่บอด
จิตเห็นแสง+สี1สีดับ...ส่งต่อดับในจิตทางมโนทวารมืด
ต่อจากนี้มืดสนิทอีก5ทางสลับสื่อต่อมโนทวารทุกครั้ง
มืดสนิทเลยนะมี2จิตได้ยิน1เสัยงดับ...ส่งต่อมโนทวาร
มี3จิตรู้กลิ่น/มโนฯ/4จิตรู้รส/มโนฯ/5รับสัมผัส/มโนฯ/6จิตคิดนึก/มโนฯ
ตั้งแต่จิตได้ยินถึงคิดนึกมืดสนิทมาตั้งแต่จิเห็นส่งต่อทางมโนทวารมาเลยทีละ1ขณะไม่ปนกันแม้แต่นิดเดียว
:b12:
:b16: :b16:

เยี่ยม ...

งั๊นอ่านต่อนะคะ

:b1:

นี่เลยค่ะ ธรรมบทแรกที่มีผู้ฟังและบรรลุอรหันต์

ถ้าอ่านแล้วยังไม่รู้สึกว่าบรรลุอรหันต์ ก็ย้อนกลับไปอ่านพระสูตรข้างต้นที่นำมาลงทังหมดใหม่นะคะ
ก็อ่านซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ นะคะ
เพราะแสดงว่าที่อ่านมาต้องมีสภาวะรู้อะไรที่ยังขาด ๆ เกิน ๆ อยู่นะคะ

Quote Tipitaka:
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ

:b32:
ปัจจุปัฏฐานเดี๋ยวนี้ตาของเอกอนเห็นแค่สีหรือคะตถาคตบอกว่าจิตเห็นสีค่ะ
หรือเห็นคนสัตว์โทรสับตัวอักษรเรียกว่ากำลังเห็นผิดไงคะตรงไหมคะที่เห็นอยู่เนี่ย
:b32: :b32:


แน๊ะ ... จะมาสงสัยในเอกอนทำไมล่ะคะ เอกอนไม่ใช่พระสูตร :b32:
เห็นมั๊ยอ่านนิดเดียวจิตก็แว๊บมาหาเอกอนแล้ว :b16:
อย่าแว๊บสิ่คะ พระสูตรอยู่ตรงหน้า อย่าไหลไปนอกพระสูตรค่ะ

:b16: :b16: :b16:

Quote Tipitaka:
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ตาไม่บอดและไม่ได้ตาบอดสี
เห็นเกิน1สีและเป็นตัวตนทันทีคือเห็นผิด
จะไปรู้ตัวรู้ตนตอนไหนก็กำลังมีมิจฉามรรคอยู่ไงคะ
เพราะขาดการฟังและไม่ได้กำลังระลึกตามคำสอนได้อยู่ไงคะ
https://youtu.be/OpRqN6SAlfM
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ตาไม่บอดและไม่ได้ตาบอดสี
เห็นเกิน1สีและเป็นตัวตนทันทีคือเห็นผิด
จะไปรู้ตัวรู้ตนตอนไหนก็กำลังมีมิจฉามรรคอยู่ไงคะ
เพราะขาดการฟังและไม่ได้กำลังระลึกตามคำสอนได้อยู่ไงคะ
onion onion onion

:b1:

:b27:

ok ขาดการฟัง เอกอนก็เอาคลิปเสียงอ่านมาลงไว้ให้ด้วยแล้วนะคะ

ok เดี๋ยวเอามาลงให้ใหม่อีกเยอะ ๆ ก็ได้ค่ะ



:b16:



แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 23 ธ.ค. 2018, 22:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ตาไม่บอดและไม่ได้ตาบอดสี
เห็นเกิน1สีและเป็นตัวตนทันทีคือเห็นผิด
จะไปรู้ตัวรู้ตนตอนไหนก็กำลังมีมิจฉามรรคอยู่ไงคะ
เพราะขาดการฟังและไม่ได้กำลังระลึกตามคำสอนได้อยู่ไงคะ

onion onion onion


ใช่ค่ะ ดังนั้นต้องฟังให้มาก ๆ นะคะ



:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ตาไม่บอดและไม่ได้ตาบอดสี
เห็นเกิน1สีและเป็นตัวตนทันทีคือเห็นผิด
จะไปรู้ตัวรู้ตนตอนไหนก็กำลังมีมิจฉามรรคอยู่ไงคะ
เพราะขาดการฟังและไม่ได้กำลังระลึกตามคำสอนได้อยู่ไงคะ

onion onion onion


ใช่ค่ะ ดังนั้นต้องฟังให้มาก ๆ นะคะ



:b16: :b16: :b16:

เข้าใจใช่ไหมคะว่าปัจจุบันขณะ
ตรงปัจจุบันธรรมของการฟังบ่อยๆ
พหูสูตคือพหูพจน์ของสุตมยปัญญา
มีแต่เสียงที่ทำให้คิดถูกตามๆๆๆๆๆๆได้
:b17:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 482 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 33  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร