วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติตามลำดับขั้นของแต่ละหมวดของอานาปานสติภาวนา
มีทั้งหมด ๔ หมวด ๑๖ ขั้นตอน ดังนี้

หมวดที่ ๑ : กายานุปัสสนาภาวนา

การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องของกายโดยเฉพาะกายลม คือ ลมหายใจ ต้องศึกษาจนรู้จักธรรมชาติของลมหายใจทุกอย่างทุกชนิดอย่างถี่ถ้วนจนสามารถรู้ชัดว่า กายลมนี้ปรุงแต่งกายเนื้ออย่างไรและสามารถใช้กายลมบังคับกายเนื้อ (ร่างกาย) ได้ตามต้องการ (ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)


จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่ ๑ คือ กายานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อฝึกอบรมจิตให้มีความมั่นคงหนักแน่นอยู่ด้วย กำลังของสมาธิ


ขั้นที่ 1 ตามลมหายใจยาว
ขั้นที่ 2 ตามลมหายใจสั้น
ขั้นที่ 3 ตามรู้จัก - ศึกษาลมหายใจทุกชนิดที่ปรุงแต่งกายจนเห็นชัดว่าลมหายใจเป็น “กายสังขาร”
ขั้นที่ 4 ทำลมหายใจให้สงบระงับด้วยการเฝ้าดูจิตสงบนิ่ง
พร้อมอยู่ด้วยสติ- สมาธิอย่างหนักแน่น

หมวดที่ ๒ : เวทนานุปัสสนาภาวนา

การปฏิบัติหมวดนี้ คือการศึกษาเรื่องของเวทนาที่มีอำนาจอิทธิพลปรุงแต่งจิตของมนุษย์ให้ดิ้นรนระส่ำระสายมิให้มีความสงบเย็น จึงต้องศึกษาให้รู้ลักษณะอาการของเวทนาทุกอย่างทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนาอย่างละเอียดจนสามารถบังคับควบคุมเวทนาได้(ปฏิบัติทุกอย่างขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่๒ คือเวทนานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อฝึกอบรมจิตให้สามารถควบคุมเวทนา มิให้เวทนามีอิทธิพลปรุงแต่งจิตได้

ขั้นที่ 5 ศึกษาปีติแล้วทำปีติให้สงบระงับ
ขั้นที่ 6 ศึกษาสุขแล้วทำสุขเวทนานั้นให้สงบระงับ
ขั้นที่ 7 ศึกษาเวทนาทุกชนิดจนประจักษ์ชัดว่า เวทนาเป็น จิตตสังขาร
ขั้นที่ 8 ทำเวทนาให้สงบระงับ

หมวดที่ ๓ : จิตตานุปัสสนาภาวนา

การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องธรรมชาติของจิต เพื่อรู้จักลักษณะอาการของจิตให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกแง่มุม แล้วฝึกทดสอบกำลังในการบังคับจิต เพื่อเตรียมจิตให้เป็นจิตที่สงบ มั่นคง ว่องไวพร้อมที่จะพิจารณาธรรมต่อไป (ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่๓ คือ จิตตานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อศึกษาธรรมชาติของจิตจนรู้จักชัดเจน แล้วสามารถควบคุมบังคับจิตได้

ขั้นที่ 9 ศึกษาจิตจนรู้จักธรรมชาติของจิต
ขั้นที่ 10 บังคับจิตให้บันเทิงปราโมทย์
ขั้นที่ 11 บังคับจิตให้นิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ขั้นที่ 12 บังคับจิตให้ปล่อยเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือ
มั่นทั้งปวง

หมวดที่ ๔ : ธัมมานุปัสสนาภาวนา

การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องธรรมที่เป็นสัจจะของธรรม หรือ กฎของธรรมชาติ คือกฎไตรลักษณ์ กฎอิทัปปัจจยตา จนประจักษ์แจ้งในความจริงของธรรมชาติ แล้วจิตจะจางคลายจากความยึดมั่นถือมั่น จนถึงที่สุดคือดับเสียซึ่งความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในสิ่งทั้งปวงมีจิตที่เป็นอิสระมีความสุขสงบเย็นอยู่ด้วยสุญญาตาวิหาร(ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่ ๔ คือ ธัมมานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อศึกษาธรรม (กฎธรรมชาติ) จนประจักษ์แจ้ง จิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ทั้งปวง เป็นจิตที่มีแต่ความสุขสงบเย็นเยือกเย็นอันเกษมด้วยสุญญตาวิหาร

ขั้นที่ 13 ใคร่ครวญธรรม (ไตรลักษณ์-อิทัปปัจจยตา) จนประจักษ์ใจในธรรมนั้น
ขั้นที่ 14 เพ่งดูความจางคลาย (วิราคะ) ที่เกิดขึ้นในจิต
ขั้นที่ 15 เพ่งดูความดับ (นิโรธะ) ที่เกิดขึ้นในจิต
ขั้นที่ 16 เพ่งดูความสลัดคืน (ปฏินิสสัคคะ) ที่เกิดขึ้นในจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒]

อานาปานสติแบ่งตามกรรมฐาน

ข้อ 1 - 2 จัดว่าเป็นสมถกรรมฐาน (อานาปานสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์)
ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน (ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้)

อานาปานสติแบ่งตามขันธ์ห้า

ข้อ 3 - 4 เป็นรูปขันธ์
ข้อ 5 - 6 เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
ข้อ 7 - 8 เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร)
ข้อ 9 - 10 เป็นวิญญาณขันธ์
ข้อ 11 - 16 เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ (ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

1.หายใจออก-เข้ายาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4]

2.หายใจออก-เข้าสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่)

3.หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา)

4.หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ

5.หายใจออก-เข้า กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์)

6.หายใจออก-เข้า กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ)

7.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง)

8.หายใจออก-เข้า จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ

9.หายใจออก-เข้า พิจารณา จิต

10.หายใจออก-เข้า จิตบันเทิงร่าเริง ก็รู้

11.หายใจออก-เข้า จิตตั้งมั่น ก็รู้ (จิตมีสัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์))

12.หายใจออก-เข้า จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆ มี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์ (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์

13.หายใจออก - เข้า พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ (ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)

14.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)

15.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)

16.หายใจออก - เข้า พิจารณาสละคืนขันธ์ (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2020, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron