วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

พระเทวทัตจักเกิดในอบาย
[๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการ
ครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม
๘ ประการ เป็นไฉน คือ

---------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๑๖๖.
๑. เทวทัตมีจิตอันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก ตั้ง
อยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
๒. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๓. เทวทัตมีจิตอันยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๔. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๕. เทวทัตมีจิตอันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๖. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๗. เทวทัตมีจิตอันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๘. เทวทัตมีจิตอันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย
ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำ
ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้น
แล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3987&Z=4077&pagebreak=1
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
ภิกษุครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะ
ทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้น
แล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย
อาการอย่างนี้

ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
เมื่อเธอไม่ครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลาย ที่ทำ
ความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น

... ครอบงำ ย่ำยี ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้น
ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พึงครอบงำ ย่ำยี
ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...

---------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๑๖๘.
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
พึงครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาว่า พวกเราจักครอบงำ
ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
พวกเราจักครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

[๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ
ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:-
๑. ความปรารถนาลามก
๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำ
ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
นิคมคาถา

[๔๐๓] ใครๆ จงอย่าเกิดเป็นคนปรารถนาลามก ในโลก ท่านทั้งหลายจง
รู้จักเทวทัตนั้นตามเหตุแม้นี้ว่า มีคติเหมือนคติของคนปรารถนา
ลามก เทวทัตปรากฏว่า เป็นบัณฑิต รู้กันว่าเป็นผู้อบรมตนแล้ว

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3987&Z=4077&pagebreak=1
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
เราก็ได้ทราบว่าเทวทัตตั้งอยู่ดุจผู้รุ่งเรืองด้วยยศ เธอสั่งสมความ
ประมาทเบียดเบียนตถาคตนั้น จึงตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตู
อันน่ากลัว ก็ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาป
กรรม บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้น ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ
ผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร ด้วยยาพิษเป็นหม้อๆ ผู้นั้นไม่
ควรประทุษร้ายด้วยยาพิษนั้นเพราะมหาสมุทรเป็นสิ่งที่น่ากลัว

ฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดีแล้ว มีพระทัยสงบ
ด้วยกล่าวติเตียน การกล่าวติเตียนในตถาคตนั้นฟังไม่ขึ้น ฉันนั้น
เหมือนกัน ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า หรือสาวก
ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด พึงถึงความสิ้นทุกข์ บัณฑิตพึง
กระทำพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เช่นนั้นให้
เป็นมิตร และพึงคบหาท่าน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=3987&Z=4077&pagebreak=1
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
อสัทธรรม ๔ ประการ
คือความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้
หนักในการลบหลู่ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในลาภ
ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัท-
ธรรม ดังนี้.

ก็ความต่างกัน ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่ได้ด้วยปีติเลย ย่อมได้ตามแต่
จะได้แม้ในบททั้งปวง. ก็คำว่า ปีติ เป็นชื่อของปีติ. คำว่า จิตตํ เป็นชื่อ
ของจิต, ก็ปีติมีความแผ่ไปเป็นลักษณะ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็น
ลักษณะ. สัญญา มีความจำได้เป็นลักษณะ. เจตนา มีความตั้งใจในอารมณ์
เป็นลักษณะ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ. อนึ่ง ปีติ มีความแผ่ไป

เป็นกิจ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็นกิจ. สัญญา มีความจำได้เป็นกิจ
เจตนา มีความจงใจเป็นกิจ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นกิจ. พึงทราบ
ความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
ความต่างกันโดยการปฏิเสธ ไม่มีในบทปีติ แต่พึงทราบความต่างกัน
ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธอย่างนี้ว่า ในนิทเทสแห่งอโลภะเป็นต้น

ย่อมได้โดยนัยมีอาทิว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความเป็นผู้ไม่โลภ
ดังนี้ พึงทราบความต่างกันทั้ง ๔ อย่าง ด้วยบทที่ได้ในนิทเทสแห่งบท
ทั้งปวงด้วยอาการอย่างนี้.

อรรถกถาเล่ม ๖๕

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและ
สัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ผู้นั้นย่อมไม่สม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย. ส่วนผู้ใดคาย
กิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้งหลาย
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมสม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ท่านเรียก
กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้นได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอท่าน) อิสสา (ความริษยา)
มัจฉริยะ (ความตระหนี่) มายา (เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)
อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความ
เลินเล่อ) อกุสลธรรมทั้งหมด ทุจจริตทั้งหมด กรรมที่นำไปสู่

ภพทั้งหมด กิเลสพันห้า นี่ชื่อว่า กสาวะกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ท่านคิดว่าการไม่เคารพคำสอนของตถาคต
เป็นการกระทำที่เหยียบย่ำคำสอนไหมคะ
เพราะคำสอนเป็นองค์ธรรมแทนศาสดา
บวชไม่ทำตามสิกขาบททำด้วยกิเลส
ทำผิดแล้วมันเอากลับมาแก้ไม่ได้
ต้องมีหิริโอตัปปะเห็นโทษตน
คำสอนตรงจริงอาบัติคือทุศีล
ระหว่างรอปลงอาบัตินั้นน่ะ
แค่ครองผ้าเท่านั้นไม่ผ่านน๊าอาบัติทุกประเภทคือการย่ำยีตถาคต
ถ้าตายคาจีวรโดยไม่ปลงอาบัตินั้นมีอบายภูมิเป็นที่ไปแน่นอน
ถ้ารู้สึกตัวว่าทำตามสิกขาบทไม่ได้ต้องลาสิกขาจึงพ้นโทษอาบัติ
และจะกลับเข้าไปบวชใหม่อาบัติทั้งหมดก็กลับมาอีกเหมือนเดิมเลย
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาคำสอนให้เข้าใจก่อนบวชจะได้รู้ว่ามีอุปนิสัยที่จะบวชได้ไหม
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ท่านคิดว่าการไม่เคารพคำสอนของตถาคต
เป็นการกระทำที่เหยียบย่ำคำสอนไหมคะ
เพราะคำสอนเป็นองค์ธรรมแทนศาสดา
บวชไม่ทำตามสิกขาบททำด้วยกิเลส
ทำผิดแล้วมันเอากลับมาแก้ไม่ได้
ต้องมีหิริโอตัปปะเห็นโทษตน
คำสอนตรงจริงอาบัติคือทุศีล
ระหว่างรอปลงอาบัตินั้นน่ะ
แค่ครองผ้าเท่านั้นไม่ผ่านน๊าอาบัติทุกประเภทคือการย่ำยีตถาคต
ถ้าตายคาจีวรโดยไม่ปลงอาบัตินั้นมีอบายภูมิเป็นที่ไปแน่นอน
ถ้ารู้สึกตัวว่าทำตามสิกขาบทไม่ได้ต้องลาสิกขาจึงพ้นโทษอาบัติ
และจะกลับเข้าไปบวชใหม่อาบัติทั้งหมดก็กลับมาอีกเหมือนเดิมเลย
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาคำสอนให้เข้าใจก่อนบวชจะได้รู้ว่ามีอุปนิสัยที่จะบวชได้ไหม
:b16: :b16:



“บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ” นำทีมบวชพระที่อินเดีย 94 คน ถวายเป็นพระกุศลแก่สมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา 9 วัน

https://www.voicetv.co.th/read/H1_qaQzk ... yYj_fsIJrA

สาธุบวชอีกแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ท่านคิดว่าการไม่เคารพคำสอนของตถาคต
เป็นการกระทำที่เหยียบย่ำคำสอนไหมคะ
เพราะคำสอนเป็นองค์ธรรมแทนศาสดา
บวชไม่ทำตามสิกขาบททำด้วยกิเลส
ทำผิดแล้วมันเอากลับมาแก้ไม่ได้
ต้องมีหิริโอตัปปะเห็นโทษตน
คำสอนตรงจริงอาบัติคือทุศีล
ระหว่างรอปลงอาบัตินั้นน่ะ
แค่ครองผ้าเท่านั้นไม่ผ่านน๊าอาบัติทุกประเภทคือการย่ำยีตถาคต
ถ้าตายคาจีวรโดยไม่ปลงอาบัตินั้นมีอบายภูมิเป็นที่ไปแน่นอน
ถ้ารู้สึกตัวว่าทำตามสิกขาบทไม่ได้ต้องลาสิกขาจึงพ้นโทษอาบัติ
และจะกลับเข้าไปบวชใหม่อาบัติทั้งหมดก็กลับมาอีกเหมือนเดิมเลย
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาคำสอนให้เข้าใจก่อนบวชจะได้รู้ว่ามีอุปนิสัยที่จะบวชได้ไหม
:b16: :b16:



“บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ” นำทีมบวชพระที่อินเดีย 94 คน ถวายเป็นพระกุศลแก่สมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา 9 วัน

https://www.voicetv.co.th/read/H1_qaQzk ... yYj_fsIJrA

สาธุบวชอีกแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ท่านคิดว่าการไม่เคารพคำสอนของตถาคต
เป็นการกระทำที่เหยียบย่ำคำสอนไหมคะ
เพราะคำสอนเป็นองค์ธรรมแทนศาสดา
บวชไม่ทำตามสิกขาบททำด้วยกิเลส
ทำผิดแล้วมันเอากลับมาแก้ไม่ได้
ต้องมีหิริโอตัปปะเห็นโทษตน
คำสอนตรงจริงอาบัติคือทุศีล
ระหว่างรอปลงอาบัตินั้นน่ะ
แค่ครองผ้าเท่านั้นไม่ผ่านน๊าอาบัติทุกประเภทคือการย่ำยีตถาคต
ถ้าตายคาจีวรโดยไม่ปลงอาบัตินั้นมีอบายภูมิเป็นที่ไปแน่นอน
ถ้ารู้สึกตัวว่าทำตามสิกขาบทไม่ได้ต้องลาสิกขาจึงพ้นโทษอาบัติ
และจะกลับเข้าไปบวชใหม่อาบัติทั้งหมดก็กลับมาอีกเหมือนเดิมเลย
เพราะฉะนั้นต้องศึกษาคำสอนให้เข้าใจก่อนบวชจะได้รู้ว่ามีอุปนิสัยที่จะบวชได้ไหม
:b16: :b16:

:b8:

ความกลัว ไม่มีเลยก็ไม่ดี มีน้อยก็ยังไม่ดี
หรือมีมากไปก็มิดี ควรพอแต่พอประมาณ ปานกลาง
หรือที่พระองค์ตรัสทางสายกลางนั้นเอง คนเราทุก
คนล้วนแต่เคยทำผิดแบบตั้งใจแล้วมิได้ตั้งใจ แต่สิ่ง
สำคัญนั้นคือพยายามแก้ไขจุดอ่อน จุดบกพร่องของตน
นั้นจริงหรือไม่ ดีแค่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

จะกลายเป็นว่าคนคิดดีแต่กับกลัวจนไม่กล้าบวช
ส่วนคนคิดชั่วไม่กลัวแต่กับบวช ศาสนาเลยหาพระดีๆ
นับวันนับยากยิ่งขึ้น

เรื่องอดีตก็เคยมีพระองค์หนึ่ง ถูกสั่งสอนแนะนำสิกขา
มากมาย ท่านไม่สามารถจะรักษาได้ทั้งหมดเลยท้อคิดจะสึก
แต่พระพุทธเจ้า ทรงให้รักษาเพียงแค่ ๓ ข้อ ในที่สุดท่านก็
บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เช่นกัน

ความกลัวมากไปเป็นบ่อเกิดความความท้อแท้ และท้อถอยที่สุดก็มิกล้าลงมือ

หากคิดจะทำดีแล้วมิควรกลัว ที่ควรกลัวนั้นทำชั่วต่างหาก

หัตเดินยังต้องล้มลุกขึ้นตั้งตัวใหม่ เหตุไรปฏิบัติธรรมจะล้มบ้างมิได้

ทุกคนล้วนเริ่มจากศูนย์ อย่าให้ความขาดศูนย์ก่อนลงมือทำ

มองปัญหากว้างใหย่เกินไป บางทีก็ทำใจให้อ่อนล้าก่อนลงมือ

การลงมือทำครั้งแรกใช่จะสำเร็จและดีเลิศทุกครั้งทุกคนไป


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2018, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
:b8:

จะกลายเป็นว่าคนคิดดีแต่กับกลัวจนไม่กล้าบวช
ส่วนคนคิดชั่วไม่กลัวแต่กับบวช ศาสนาเลยหาพระดีๆ
นับวันนับยากยิ่งขึ้น

เรื่องอดีตก็เคยมีพระองค์หนึ่ง ถูกสั่งสอนแนะนำสิกขา
มากมาย ท่านไม่สามารถจะรักษาได้ทั้งหมดเลยท้อคิดจะสึก
แต่พระพุทธเจ้า ทรงให้รักษาเพียงแค่ ๓ ข้อ ในที่สุดท่านก็
บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เช่นกัน

ความกลัวมากไปเป็นบ่อเกิดความความท้อแท้ และท้อถอยที่สุดก็มิกล้าลงมือ

หากคิดจะทำดีแล้วมิควรกลัว ที่ควรกลัวนั้นทำชั่วต่างหาก

หัตเดินยังต้องล้มลุกขึ้นตั้งตัวใหม่ เหตุไรปฏิบัติธรรมจะล้มบ้างมิได้

ทุกคนล้วนเริ่มจากศูนย์ อย่าให้ความขาดศูนย์ก่อนลงมือทำ

มองปัญหากว้างใหย่เกินไป บางทีก็ทำใจให้อ่อนล้าก่อนลงมือ

การลงมือทำครั้งแรกใช่จะสำเร็จและดีเลิศทุกครั้งทุกคนไป


:b8:

:b1:
ความกลัวคือความขุ่นข้องหมองใจคือโทสะ+โมหะ
ความชอบพอใจอยากได้ติดใจอยากทำอีกคือโลภะ+โมหะ
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ปาณาติบาตนันมีองค ์๕ คือ สตัวม์ีชีวิต ๑ รู้อยู่ว่าสตัวม์ีชีวิต ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ ทาํความเพียรทีจะฆ่า ๑ สตัวต์ายดว้ยความเพียรนัน ๑


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ในบทว่า อทินฺนาทานํ นั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของอัน
เจ้าของเขาหวงแหน ซึ่งเป็นที่เจ้าของเขาทำได้ตามความปรารถนา ไม่ควร
แก่อาชญาและไม่มีโทษ. ก็เจตนาคิดที่จะลักที่ตั้งขึ้นด้วยความเพียรถือเอา
สิ่งนั้น ของผู้มีความสำคัญในของอันเจ้าของเขาหวงแหนนั้น ว่าเป็นของ

อันเจ้าของเขาหวงแหน ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ในวัตถุ
ที่เป็นของคนอื่นเลว มีโทษน้อย. ในวัตถุที่เป็นของคนอื่นประณีต มีโทษ
มาก. เพราะเหตุไร? เพราะวัตถุประณีต, เมื่อวัตถุเท่ากัน ในวัตถุที่เป็น
ของผู้ยิ่งด้วยคุณ มีโทษมาก, ในวัตถุที่เป็นของผู้มีคุณทรามกว่าคุณนั้น ๆ
โดยเทียบผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ มีโทษน้อย.

อทินนาทานนั้นมีองค์ ๕ คือ ของอันเจ้าของเขาหวงแหน ๑ รู้อยู่
ว่าของอันเจ้าของเขาหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ทำความเพียรเพื่อที่จะ
ลัก ๑ ได้ของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น ๑


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ก็ในบทว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ความประพฤติเมถุน หรือวัตถุแห่งเมถุน.

บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่ ความประพฤติลามก ซึ่งต้องตำหนิ
โดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐาน ที่เป็นไปทาง
กายทวาร ด้วยความประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร. ใน
กาเมสุมิจฉาจารนั้น จะกล่าวถึงอคมนียฐานของพวกบุรุษก่อนซึ่งได้แก่
หญิงที่มารดารักษา, หญิงที่บิดารักษา, หญิงที่มารดาบิดารักษา, หญิงที่

พี่ชายน้องชายรักษา. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา, หญิงที่ญาติรักษา,
หญิงที่โคตรรักษา, หญิงที่ธรรมรักษา, หญิงที่มีอารักขา, หญิงที่มีอาชญา,
รวมเป็นหญิง ๑๐ ประเภทมีหญิงที่มารดารักษาเป็นต้น. หญิงที่ช่วยมาด้วย
ทรัพย์. หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ, หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ, หญิงที่อยู่ด้วยผ้า,
หญิงที่ผู้ใหญ่จับมือคนทั้งสองจุ่มลงในน้ำแล้วมอบให้, หญิงที่บุรุษช่วยปลง

ภาระหนักแล้วมาอยู่ด้วย, หญิงที่เป็นทาสีแล้วยกขึ้นเป็นภรรยา, หญิงที่
เป็นลูกจ้างแล้วได้เป็นภรรยา, หญิงที่บุรุษไปรบชนะได้มา, หญิงที่เป็น
ภรรยาชั่วคราว, รวมเป็นหญิง ๑๐ ประเภท มีหญิงที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
เป็นต้น รวมทั้งหมดเป็นหญิง ๒๐ ประเภท. เป็นอคมนียฐานของพวก
บุรุษ.

ส่วนในสตรีทั้งหลาย บุรุษอื่น ๆ ชื่อว่าเป็นอคมนียฐานของสตรี ๑๒
ประเภท คือ หญิงที่มีอารักขา, และหญิงที่มีอาชญา ๒ ประเภท และหญิง
ที่ช่วยมาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ ประเภท. ก็มิจฉาจารนี้นั้น ในอคมนียฐาน
ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น มีโทษน้อย, ในอคมนียฐานที่สมบูรณ์ด้วยคุณ
มีศีลเป็นต้น มีโทษมาก.

กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ ๔ คือ วัตถุที่ไม่พึงถึง ๑ จิตคิดจะเสพ
ในวัตถุนั้น ๑ ปโยคะในการเสพ ๑ การยังมรรคต่อมรรคให้จดกัน ๑
มีปโยคะเดียวคือสาหัตถิปโยคะนั่นแล.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2018, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บทว่า มุสา ได้แก่ วจีปโยคะ หรือกายปโยคะ ซึ่งหักประโยชน์
ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะหรือวจีปโยคะซึ่งกล่าว
ให้ผิด ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดนั้น ด้วยความประสงค์จะกล่าวให้ผิด
ชื่อว่ามุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องไม่จริง ไม่แท้.
บทว่า วาโท ได้แก่ การให้รู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้นว่าจริงว่าแท้.
ก็โดยลักษณะเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยวิญญัติอย่างนั้นของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้
เรื่องไม่จริงว่าจริง ชื่อว่า มุสาวาท มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย, เพราะ
ประโยชน์ที่หักนั้นน้อย มีโทษมากเพราะประโยชน์ที่หักนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็น
ต้นว่า สิ่งของของตนไม่มี ด้วยความประสงค์จะไม่ให้เขา ดังนี้ มีโทษ
น้อย, มุสาวาทที่บุคคลเป็นพยานกล่าวเพื่อหักประโยชน์ มีโทษมาก,
สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยที่ได้น้ำมันหรือเนยใสแม้
น้อยมา แต่กล่าวว่าเต็ม ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะกันว่า วันนี้ใน

บ้านมีน้ำมันไหลเหมือนแม่น้ำ ดังนี้ มีโทษน้อย, แต่เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่
ไม่ได้เห็นเลย โดยนัยเป็นต้น ว่า เห็น ดังนี้ มีโทษมาก,มุสาวาท
นั้นมีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะพูดให้ผิด ๑ เพียรกล่าวปด
ออกไป ๑ ข้อความที่ตนกล่าวนั้น คนอื่นรู้เข้าใจ ๑.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร